หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ป.6 พว

Description: flipbook (undefined description)

Read the Text Version

No Text Content!

ประวัติศาสตร หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วุฒิชัย มูลศิลป ๕๒ .- ชั้นประถมศึกษาปที่ ๖ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุมสาระการเรียนรูสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ». ๖ á¼¹¼Ñ§¤ÇÒÁ¤Ô´ÊÒÃСÒÃàÃÕ¹ÃÙŒÃÒ» ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ »ÃÐÇѵÔÈÒʵÏ » Ÿ ² “ š ³ ƒ ³ ¤ „ ® ‰  ˜ £ « ¢ ² £ ¤ ² – š À ƒ « µ š ˜ ¤ q  ¦ ‰ ³ š „ ® ‰ › ¹ † † ¦ « Ë ³ † ² ç « ¢ ² £ ¤ ² – š À ƒ « µ š ˜ ¤ q ¡ º ¢ µ œ z ç ç ³ « ¢ ² £ ¤ ² – š À ƒ « µ š ˜ ¤ q ƒ ³ ¤ © · ƒ ª ³ œ ¤ ± ¨ ² – µ © ³ « – ¤ q œ ¤ ± ¾ ˜ © ¾ Ÿ ¸ Æ ® š › n ³ š † ¨ ³ ¢ ¤ m ¨ ¢ ¢ ¸ ® Á š ¡ º ¢ µ ¡ ³ † ¾ ® ¾ Œ ¶ £ – ± ¨ ² š ® ® ƒ ¾ ‹ þ £ ‰ Á – n ¨ µ ™ ¶ ƒ ³ ¤ ˜ ³ ‰ œ ¤ ± ¨ ² – µ © ³ « – ¤q ¬ ¦ ² ƒ ‘ ³ š ˜ ³ ‰ œ ¤ ± ¨ ² – µ © ³ « – ¤ q ƒ ³ ¤ © · ƒ ª ³ œ ¤ ± ¨ ² – µ © ³ « – ¤q « ¢ ² £ ¤ ²– š À ƒ « µ š ˜ ¤ q – ² ¨ ® £ m ³ ‰ ƒ ³ ¤ š Ë ³ ¨ µ ™ ¶ ƒ ³ ¤ ˜ ³ ‰ œ ¤ ± ¨ ² – µ © ³ « – ¤ q ¢ ³ Á Œ n † ¨ ³ ¢ ¤ ºn Ÿ ¸Ç š ‘ ³ š „ ® ‰ ¾ ¾ – m ¦ ± œ ¤ ± ¾ ˜ © œ ¤ ± ¨ ² – µ † ¨ ³ ¢ ¾ œ | š ¢ ³ „ ® ‰ ® ³ ¾  ¶ £ š † ¨ ³ ¢ « ² ¢ Ÿ ² š ™ q ˜ ³ ‰ ¾ © ¤ ª ‘ ƒ µ Š ¾ ¾ ¦ ± « ² ‰ † ¢ ˜ ¶ Æ – ²Ç ‰ „ ® ‰ œ ¤ ± ¾ ˜ © † ¨ ³ ¢ ¾ ¬ ¢ ¸ ® š ¾ ¾ ¦ ± † ¨ ³ ¢ ¾ ¾ – ƒ – m ³ ‰ • n ³ š ƒ ³ ¤ ¾ ¾ Ÿ ˜ £ q ¿  š  ˜ £ • n ³ š © µ ¦ œ ƒ ¤ ¤ ¢ • n ³ š ® ² ƒ ª ¤ © ³ « – ¤ q ¬ šm ¨ £ ˜¶Æ Ï ¨µ ™¶ ƒ ³ ¤ ©· ƒ ª ³ œ ¤ ± ¨² –µ © ³ « – ¤q ¬ šm ¨ £ ˜¶Æ Ñ † ¨ ³ ¢ ¾ œ| š ¢ ³ „ ® ‰ Œ ³ –µ  ˜ £ ¬ šm ¨ £ ˜¶Æ Ð ¾ Ÿ¸Æ ® š ›n ³ š „ ® ‰ ¾ ¤ ³ ¢ ‘ . « Ò . Ï ¢ ‘ . « Ò . Ñ ¢ ‘ . « Ò . Р˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ¥²©³—¶ª´¬—¥q ».ö ¤ ² Œ ƒ ³ ¦ ˜ ¶Æ Ï « ¢ ¾ • Å Š Ÿ ¤ ± › ¨ ¤ ¤ ³ Œ ¾ Š n ³ ¢ ¬ ³ « ¹ ¤ « µ ‰ ¬ š ³ ˜ ¤ ² Œ ƒ ³ ¦ ˜ ¶Æ Ó ¤ ² Œ ƒ ³ ¦ ˜ ¶Æ Ò ƒ ³ ¤ « — ³ œ š ³ ® ³ ” ³ Š ² ƒ ¤ œ z Š Š ² £ ˜ ¶Æ « m ‰ ¾ « ¤ µ ¢ † ¨ ³ ¢ ¾Š ¤ µ è ˜ ³ ‰ ¾ © ¤ ª ‘ ƒ µ Š ¾ ¾ ¦ ± ƒ ³ ¤ œ ƒ † ¤ ® ‰ Ÿ ² “ š ³ ƒ ³ ¤ „ ® ‰  ˜ £ « ¢ ² £ ¤ ² – š À ƒ « µ š ˜ ¤ q á¼¹¼Ñ§¤ÇÒÁ¤Ô´ÊÒÃСÒÃàÃÕ¹ÃÙŒÃÒ » Õ Ë¹Ñ§Ê×ÍàÃÕ¹ »ÃÐÇѵÔÈÒʵÏ . ๖ ช�อ ………………………………………………………………… นามสกุล ……………………………………………………………… เลขประจำตัว ………………………………………………… ………………………………… ชั้น เลขที่ ……………………………. โรงเรียน ……………………………………………………………………………………………………………………………………… หนังสือเลมนี้เปนของ กรอบบันทึกนี้ สำนักพิมพจัดทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแกการใชงานของนักเรียน เป้าหมายการเรียนรู้ประจ�าหน่วยที่ ๑ เมื่อเรียนจบหน่วยนี้ ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถต่อไปนี้ ๑. อธิบายความส�าคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างง่ายๆ (มฐ. ส ๔.๑ ป.๖/๑) ๒. น�าเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการท�า ความเข้าใจเรื่องราวส�าคัญในอดีต (มฐ. ส ๔.๑ ป.๖/๒) ÇÔ¸Õ¡Òà ÈÖ¡ÉÒ »ÃÐÇѵÔÈÒʵÏ หนวย การเรียนรูที่ ñ การศึกษาประวัติศาสตร กิจกรรมนําสูการเรียน แนวคิดส�าคัÞ วิ¸ีการทางประวัติศาสตร์ เป็นวิ¸ีการ ศึกษาค้นคว้าที่เราสามารถน�าไปใช้ศึกษาได้ทั้ง ประวัติศาสตร์ชาติและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์จะมีทั้ง หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง ในการรวบรวม หลักฐานเราต้องรวบรวมหลักฐานที่หลากหลาย และครบถ้วน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือเรื่องราวที่มีความ ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ÍҳҨѡÃÊØ⢷Ñ มี»รÐÇัµÔ¤Çามเ»šนมา Í‹ҧäà ñ บทที่ 2 ๑ วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ ขั้นตอนหรือวิธีการที่เราใช้เพื่อศึกษา ค้นคว้า เเละเรียบเรียงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานต่างๆ วิธีการทางประวัติศาสตร์ช่วยท�าให้เราได้ข้อมูลหรือเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ที่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง สมบูรณ์ เเละมีความน่าเชื่อถือ เราสามารถน�าวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของ ชาติและท้องถิ่นได้ โดยมีวิธีการค้นคว้า ๕ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ การก�าหนดหัวข้อที่สนใจ เป็นการก�าหนดหัวข้อที่เราสนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นมาของ ชาติเเละท้องถิ่น โดยอาจตั้งค�าถามกว้างๆ เช่น  สถานที่ที่เราต้องการศึกษามีประวัติความเป็นมาอย่างไร  ชื่อของสถานที่มีที่มาอย่างไร  สภาพความเป็นอยู่ของคนในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นอย่างไร  บุคคลที่เราต้องการศึกษามีประวัติเเละผลงานส�าคัญอะไร  ท้องถิ่นของเรามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ขั้นตอนที่ ๒ การรวบรวมหลักฐาน เป็นการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เรา ต้องการศึกษาค้นคว้า ซึ่งหลักฐานเเบ่งเป็น ๒ ชั้น ดังนี้ ๑) หลักฐานชั้นต้น เป็นหลักฐานร่วมสมัยกับบุคคลหรือเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในอดีต นั่นก็คือ เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นจริงๆ เช่น หลักฐานชั้นต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ที่มีมากมายให้เรา เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เช่น กฎหมายพระราชพงศาวดาร บันทึกประจ�าวัน ภาพถ่าย เเถบบันทึกภาพ เเถบบันทึกเสียง หนังสือพิมพ์ เอกสารราชการ สถาปัตยกรรมของพระที่นั่ง อาคารบ้านเรือนเเบบตะวันตก เป็นต้น ซึ่ง เป็นการเเสดงถึงการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในสังคมไทย 3 หลักฐานชั้นต้นของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นก็เป็นหลักฐาน ร่วมสมัยกับบุคคลหรือเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น เอกสารทางราชการที่มีขึ้นในอดีตของแต่ละจังหวัด โบราณวัตถุ โบราณ- สถานที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น สถาปัตยกรรมหรือสิ่งปลูกสร้างในอดีตที่ยัง เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น อาคารจีนเเบบตะวันตก หรืออาคารชิโน-โปรตุกีส จังหวัดภูเก็ต อาคารแบบตะวันตกบริเวณถนนราชด�าเนินและส�าเพ็ง กรุงเทพมหานคร อาคารไม้ที่ตลาดร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีอยู่ในสมัยนั้น เช่น เรือพระราชพิธี นาฬิกา พัดลม วิทยุ เป็นต้น อาคารชิโน-โปรตุกีส จังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่สร้าง ขึ้นในสมัยที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นสมุหเทศาภิบาลส�าเร็จราชการมณฑลภูเก็ต สมัยรัชกาลที่ ๕ จัดเป็นหลักฐานชั้นต้น เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งเป็นเรือล�าแรกที่ สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหา- ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จัดเป็น หลักฐานชั้นต้น ๒) หลักฐานชั้นรอง เป็นหลักฐานที่สร้างขึ้นมาในภายหลัง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น เช่น หนังสือ บทความ หรือบันทึกความทรงจ�าที่เขียนขึ้นหลังเหตุการณ์ส�าคัญในประเทศไทย อนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนเเปลงการปกครองเป็น ระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น 4 ขั้นตอนที่ ๓ การตรวจสอบหลักฐาน เป็นการตรวจสอบหลักฐานที่หามาได้ว่า มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ เพียงใด เช่น ข้อมูลที่ได้จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ย่อมน่าเชื่อถือมากกว่าผู้ที่ ได้รับการบอกเล่าต่อกันมาโดยไม่ได้เห็นด้วยตนเอง หลักฐานทางราชการ ย่อมน่าเชื่อถือมากกว่าบุคคลทั่วไป หลักฐานที่เป็นต้นฉบับย่อมถูกต้อง มากกว่าฉบับคัดลอก เป็นต้น การตรวจสอบหลักฐานจะท�าให้ผู้ใช้หลักฐาน รู้ว่า หลักฐานใดมีความถูกต้องกว่า สมบูรณ์กว่า เเละน่าเชื่อถือมากกว่า นอกจากนี้ ในบาง ท้องถิ่นอาจจะยังมีต�านานหรือ เรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาที่เกี่ยวกับ ความเป็นมาของท้องถิ่น ที่มา ของชื่อสถานที่ ซึ่งถือว่าต�านาน หรือเรื่องเล่าเหล่านี้เป็นหลักฐาน ชั้นรองด้วย เช่น  ต�านานจามเทวีวงศ์ เกี่ยวกับ การสร้างเมืองหริภุญไชย (ล�าพูน)  ต�านานเรื่องพระยากงพระยาพาน เกี่ยวกับการสร้างพระปฐมเจดีย์และ พระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม  ต�านานหนองโสน เกี่ยวกับการสร้างเมืองอยุธยา  ต�านานจ่านกร้อง จ่าการบูรณ์ เกี่ยวกับการสร้างเมืองพิษณุโลก  ต�านานเมืองโยนกนครไชยบุรีศรีช้างแสน เกี่ยวกับการสร้างเมือง เชียงราย 5 อนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจัน จ.สิงห์บุรี สร้างโดยกรมศิลปากร จัดเป็นหลักฐานชั้นรอง นายทองเหม็น นายอิน นายโชติ นายเเท่น นายทอง เเสงใหญ่ ขุนสรรค์ นายจัน ¡Ô จกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ ñ ขั้นตอนที่ ๔ การตีความหลักฐาน เป็นการน�าข้อมูลจากหลักฐานที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องเเละ ความน่าเชื่อถือ แล้วน�ามาจัดเป็นหมวดหมู่เเละตีความว่าจะได้รับความรู้ หรือเรื่องราวใดจากข้อมูลนั้นบ้าง โดยเรียงล�าดับข้อมูลตามความส�าคัญ ตามล�าดับเวลาก่อนหลัง หรือเรียงตามหัวข้อ เพื่อความสะดวกในการน�า ข้อมูลที่ได้จากหลักฐานมาใช้ ขั้นตอนที่ ๕ การเรียบเรียงและน�าเสนอข้อมูล เป็นการน�าข้อมูลจากหลักฐานที่ได้มาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว เพื่อ ตอบข้อสงสัยหรือประเด็นที่ตั้งไว้ โดยน�ามาเรียบเรียงอย่างมีเหตุเเละผล มีหลักฐานอ้างอิงที่สามารถเชื่อถือได้ ไม่ล�าเอียง จากนั้นน�าเสนอความรู้ ที่ค้นคว้ามาได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น น�ามาเขียนเรียงความ เล่าให้ผู้อื่นฟัง จัดนิทรรศการ เป็นต้น ร่วมกันอภิปรายว่าการตรวจสอบหลักฐานเเละการตีความข้อมูลมีความส�าคัญอย่างไร การจัดนิทรรศการ เป็นวิธีการหนึ่งในการน�าเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้ามาได้ 6 นักเรียนสามารถน�าวิธีการทางประวัติศาสตร์ มาใช้ในการศึกษาค้นคว้า เรื่องราวของท้องถิ่น ดังนี้ ๑ . การก�าหนดหัวข้อที่สนใจ สมมุติว่านักเรียนเป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ และมีความสนใจในการ ศึกษาประวัติของจังหวัดบุรีรัมย์ นักเรียนอาจจะก�าหนดหัวข้อที่สนใจ เช่น  ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์  ที่มาของชื่อจังหวัดบุรีรัมย์  สถานที่ส�าคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์  ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ ๒ . การรวบรวมหลักฐาน การศึกษาเกี่ยวกับจังหวัดบุรีรัมย์สามารถศึกษาได้จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ดังนี้ ๑) หลักฐานชั้นต้น เช่น ปราสาทหินเมืองต�่า แหล่งเตาเผา โบราณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง ราชกิจ- จานุเบกษา เล่ม ๑๖ ร.ศ. ๑๑๘ เป็นต้น ๒) หลักฐานชั้นรอง เช่น  สถานที่ เช่น ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดบุรีรัมย์ อนุสาวรีย์เราสู้ เป็นต้น  หนังสือ เช่น บุรีรัมย์ มาจากไหน ของสุจิตต์ วงษ์เทศ สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน ของมูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรม- ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น  ประเพณีวัฒนธรรม เช่น งานมหกรรมว่าวอีสาน งาน ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง งานเครื่องเคลือบพันปีประเพณีบ้านกรวด งาน เทศกาลข้าวหอมมะลิ เป็นต้น ๒ ตัวอย่างการน�าวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษา เรื่องราวในท้องถิ่น 7 ¡Ô จกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ ò ๓ . การตรวจสอบหลักฐาน น�าหลักฐานที่ได้มาพิจารณาว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ และควรพิจารณาจากหลักฐานหลายชิ้นประกอบกัน แล้วเลือกเอาข้อมูลที่ ตรงกันทุกแหล่งข้อมูล ๔ . การตีความหลักฐาน น�าหลักฐานที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าน่าเชื่อถือ มาแยกประเภท จัดหมวดหมู่ โดยเรียงล�าดับตามเวลาก่อนหลัง และความส�าคัญของข้อมูล ที่ส�าคัญผู้ตีความต้องท�าใจเป็นกลาง ไม่อคติ และไม่น�าความคิดเห็นส่วนตัว เข้าไปใช้ในการตีความ ต้องตีความจากหลักฐานเท่านั้น จึงจะเป็นข้อมูล ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ๕ . การเรียบเรียงและการน�าเสนอข้อมูล น�าข้อมูลที่ตีความแล้วมา น�าเสนอความจริงและข้อเท็จจริงให้ ผู้อื่นรับทราบ ซึ่งการน�าเสนอข้อมูล มีหลายวิธี เช่น การเขียนรายงาน การจัดนิทรรศการ การเล่าข้อมูลที่ ได้ศึกษามาให้ผู้อื่นฟัง เป็นต้น ทั้งนี้ ความรู้เสริม ภาพถ่าย เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพ การด�ารงชีวิตของคนไทยในสมัยนั้น สามารถ ใช้ประกอบหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ ภาพถ่ายที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือ ภาพถ่าย ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แบ่งกลุ่ม น�าวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง จากนั้น ออกมารายงานหน้าชั้นเรียน  บุคคล เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอ�าเภอ ผู้ใหญ่บ้าน ก�านัน คนในชุมชน เป็นต้น ควรจะน�าเสนอข้อมูลที่มีเหตุมีผล และมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เพื่อความ น่าเชื่อถือของข้อมูล 8 ๓ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ สมัยรัตนโกสินทร์ นักเรียนสามารถศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ดังนี้ ๑ . หลักฐานชั้นต้น ๑) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น  โบราณสถาน เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพน- วิมลมังคลารามฯ พระที่นั่งอนันตสมาคม  โบราณวัตถุ เช่น พระพุทธไตรรัตนนายก พระพุทธไสยาสน์ ๒) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น  จารึก เช่น จารึกต�ารายา วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ  พงศาวดาร เช่น พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ พระราช- พงศาวดารกรุงสยามจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ พงศาวดารท้องถิ่น  จดหมายเหตุ เช่น จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๑-๓  กฎหมาย เช่น กฎหมายตราสามดวง รัฐธรรมนูญ  เอกสารทางราชการ เช่น ประกาศราชการ ประกาศส�านัก พระราชวัง จดหมายราชการ เอกสารการทูต รายงานการประชุม  พระราชหัตถเลขา เช่น พระราชหัตถเลขาของพระมหา- กษัตริย์รัชกาลต่างๆ  พระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์ เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน ในรัชกาลที่ ๕ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ  หนังสือพิมพ์ เช่น บางกอกรีคอร์เดอร์ กรุงเทพเดลิเมล์  บันทึกส่วนตัว เช่น ความทรงจ�าในสมเด็จฯ กรมพระยา- ด�ารงราชานุภาพ บันทึกพระยาทรงสุรเดช เป็นต้น 9 ๒ . หลักฐานชั้นรอง ๑) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น  อนุสาวรีย์ เช่น อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบรมรูปทรงม้า อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ๒) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น  ต�านาน เช่น ต�านานพระแก้วมรกต  หนังสือและวารสาร เช่น หนังสือประวัติศาสตร์กรุง รัตนโกสินทร์ วารสารประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม  วรรณคดีและวรรณกรรม เช่น นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่องรัตนโกสินทร์ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสี่แผ่นดิน  เอกสารงานวิจัย เเละวิทยานิพนธ์ เช่น เอกสารงานวิจัย เเละวิทยานิพนธ์ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร ๓ . เเหล่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถหาได้จากเเหล่งต่างๆ ดังนี้  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา  พิพิธภัณฑสถานประจ�าจังหวัด เช่น พิพิธภัณฑสถาน จังหวัดก�าแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดก�าเเพงเพชร พิพิธภัณฑ์ อูบค�า จังหวัดเชียงราย  สถานที่ราชการ เช่น ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอ�าเภอ กระทรวง กรม ส�านักงานเขต  แหล่งโบราณคดีในจังหวัดต่างๆ เช่น วัด พระราชวัง พระที่นั่ง  หอสมุดหรือห้องสมุด เช่น หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ แห่งชาติ หอสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดประจ�าสถานศึกษา 10 ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ได้จากหลักฐานชั้นต้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ การสร้างพระนคร “㹨ØÅÈÑ¡ÃÒª ññôõ »‚à¶ÒÐ àºÞ¨È¡ (¾.È. òóòö) â»Ã´ãËŒµÑ駡ͧÊÑ¡àÅ¡ ไพร่หลวงสมก�ำลังและเลกหัวเมืองทั้งปวง แล้วให้เกณฑ์ท�ำอิฐขึ้นใหม่บ้ำง ให้ไปรื้อ อิฐก�ำแพงเมืองกรุงเก่ำลงมำบ้ำง ลงมือก่อสร้ำงพระนครทั่วพระบรมมหำรำชวังและ พระรำชวังบวรสถำนมงคลในปีนั้น... ... และขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระแกอีกคลองหนึ่ง พระรำชทำนนำมว่ำ คลอง มหำนำค เป็นที่ส�ำหรับประชำชนชำวพระนครจะได้ลงเรือไปประชุมเล่นเพลงและ สักวำในเทศกำลฤดูน�้ำ เหมือนอย่ำงครั้งกรุงศรีอยุธยำเก่ำ และวัดสระแกนั้น... พระรำชทำนนำมเปลี่ยนใหม่ว่ำ วัดสระเกศ...” ตัวอย่าง (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ข�า บุนนาค), กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๕, หน้า ๒๒) จากข้อมูลที่ระบุไว้ในพระราชพงศาวดารฯ รัชกาลที่ ๑ ท�าให้ทราบว่าพระบรม- มหาราชวัง สร้างใน พ.ศ. ๒๓๒๖ โดยใช้ก�าลังไพร่หลวง และไพร่สม โดยเกณฑ์ไพร่ทั้ง ในกรุงและในหัวเมือง อิฐที่ใช้สร้างพระนครมีทั้งอิฐที่ท�าขึ้นใหม่ และอิฐที่รื้อมาจากก�าแพง เมืองอยุธยา จากข้อมูลนี้เราอาจตีความต่อไปได้ว่า ในขณะนั้นกรุงศรีอยุธยาเหลือเพียง ซากปรักหักพัง มีผู้คนอยู่น้อย และยังไม่จ�าเป็นต้องฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยา เพราะบ้านเมือง ยังไม่ปลอดภัยจากกองทัพข้าศึก เเละการเผาอิฐใหม่อาจเสียเวลาและสิ้นเปลืองแรงงาน จึงรื้ออิฐก�าแพงเมืองอยุธยามาใช้ประโยชน์ ส่วนข้อมูลเรื่องการขุดคลองและการเล่นเพลง เล่นสักวาในฤดูน�้าหลาก แสดงให้เห็น ว่าการละเล่นเช่นนี้เป็นประเพณีที่นิยมกันมากตั้งเเต่สมัยอยุธยา นอกจากนี้เราสามารถ ตีความได้อีกว่า การที่ผู้ปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์พยายามสร้างกรุงเทพฯ ให้มีรูปแบบ เหมือนกรุงศรีอยุธยา ทั้งในด้านผังเมือง คูคลอง พระบรมมหาราชวัง ชื่อสถานที่ที่เหมือน กับสถานที่ในกรุงศรีอยุธยา และการฟื้นฟูประเพณีให้เหมือนอย่างสมัยอยุธยาก็เพื่อสร้าง ขวัญก�าลังใจให้ราษฎร และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่ากรุงเทพมหานครสืบทอดอ�านาจ การปกครองและวัฒนธรรมจากสมัยอยุธยา 11 »ÃЪØÁ»ÃСÒÈÃѪ¡ÒÅ·Õè ô “»ÃСÒÈ͹ØÞÒµãËŒªÒÇ¡ÃØ§Ï ÃѺ¨ŒÒ§½ÃÑè§ (¾.È. òóùù)” “มีพระบรมราชโองการ...ให้ประกาศรู้ทั่วไปแก่บรรดาราษฎรที่อยู่ในพระ- ราชอาณาจักร...ให้ทราบจงทั่วกันว่า บัดนี้มหานครใหญ่นอกประเทศทั้งสาม เมือง ได้เข้ามาท�าสัญญาทางพระราชไมตรี แลการค้าขายกับด้วยพระมหานคร นี้...มีลูกค้าพาณิชคนผิวขาวที่เรียกว่าฝรั่งหลายพวกหลายคนเอาเงินเอาทองเป็น อันมากเข้ามา...แลจ้างคนฝ่ายไทยใช้ให้เป็นครูสอนภาษาแลท�าการงานต่างๆ พระเจ้าแผ่นดินแลเสนาบดีก็มีความยินดี ว่าราษฎรฝ่ายไทยที่ยากจนจะได้ช่อง เพื่อจะค้าขาย แลรับจ้างท�าการหาเงินทองเป็นประโยชน์เจริญแก่บ้านเมือง... ...เพราะฉะนั้นจึงประกาศมาบัดนี้...ไทย จีน ญวน พม่า มอญ เขมร ลาว แขกมลายู แขกจาม แลลูกหลานฝรั่งโปรตุเกสเดิม ทั้งปวงทั้งหญิงชาย ใครจะ ไปรับจ้าง... ไปท�าการของคนนอกที่เรียกว่าฝรั่ง...โปรดให้ท�าหมดทุกอย่างมิได้ ห้ามคนทั้งปวงที่อยากจะใคร่รับจ้าง จงได้ค่าจ้างเป็นผลประโยชน์ของตัวเลี้ยง ชีวิตเถิด ไม่มีความผิดอันใดเพราะที่รับจ้างคนนอกที่เรียกว่าฝรั่งนั้นเอย ประกาศมา ณ วันเสาร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค�่า ปีมะโรง นักษัตร อัฐศก” (ตรงกับวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๙) จากข้อมูลในประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ฉบับนี้ ท�าให้เราทราบว่าประกาศฉบับนี้ ออกมาใน พ.ศ. ๒๓๙๙ หลังจากมีการท�าพันธสัญญาทางการค้าและพระราชไมตรีกับชาติตะวันตก ๓ ชาติ คือ อังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๓๙๙ ท�าให้มีชาวตะวันตก หรือฝรั่งเข้ามาที่กรุงเทพฯ มากขึ้น และมีความต้องการจ้างราษฎรไทยให้ท�างานต่างๆ ทั้งสอนภาษาไทย ติดต่อการค้า ฯลฯ แต่ราษฎรอาจจะเกรงว่าทางการจะไม่อนุญาตให้ ท�างานกับฝรั่ง จึงทรงมีประกาศอนุญาตว่าให้ราษฎรท�างานรับจ้างฝรั่งได้ 12 ในประกาศยังระบุว่าราษฎรเชื้อชาติต่างๆ ที่ถือเป็นราษฎรของไทย ท�าให้เราได้ ข้อมูลว่าในกรุงสยาม (ประเทศไทย) มีราษฎรหลากหลายเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันและ อยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ไทย นอกจากนี้ในประกาศระบุถึง “ลูกหลาน ฝรั่งโปรตุเกสเดิม” หมายถึง ราษฎรที่สืบเชื้อสายมาจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาตั้งแต่สมัย อยุธยา และตั้งรกรากอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และต่อมาอพยพมายังกรุงเทพฯ พร้อมราษฎร ไทยเชื้อชาติอื่นๆ แสดงถึงความเก่าแก่ของชุมชนเชื้อสายโปรตุเกสในเมืองไทย ¡Ô จกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ ó ๑. เเบ่งกลุ่ม ส�ารวจหลักฐานชั้นต้น (หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร) ในท้องถิ่นของ ตนเอง จากนั้นออกมารายงานหน้าชั้นเรียน ๒. เเบ่งกลุ่ม ส�ารวจหลักฐานชั้นรอง (หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร) ในท้องถิ่นของตนเอง จากนั้นออกมารายงานหน้าชั้นเรียน ๓. แบ่งกลุ่ม ส�ารวจชุมชนของตนว่ามีแหล่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดบ้าง และให้ข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งใด จากนั้นออกมารายงานหน้าชั้นเรียน ๔. เเบ่งกลุ่ม ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น ในสมัยรัตนโกสินทร์มา ๑ อย่าง เเละ ร่วมกันอภิปรายว่าหลักฐานนั้นให้ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร จากนั้นออกมารายงานหน้าชั้นเรียน ๕. เเบ่งกลุ่ม ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐานชั้นรอง ในสมัยรัตนโกสินทร์มา ๒ อย่าง เเละ เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากหลักฐานทั้ง ๒ ชิ้น จากนั้นออกมารายงานหน้าชั้นเรียน ประชุมประกาศ เป็นเอกสารที่พระมหากษัตริย์ใช้ติดต่อกับราษฎร เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเป็นการ เข้าถึงราษฎรมากขึ้น 13 ๔ การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ เราสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ สมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ในสมัยนี้ และเห็นพัฒนาการของบ้านเมืองได้ ซึ่งนักเรียนสามารถน�าวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ ๕ ขั้นตอน มาใช้ได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ การก�าหนดหัวข้อที่สนใจ หัวข้อที่สนใจ คือ การปรับปรุงบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๔ ขั้นตอนที่ ๒ การรวบรวมหลักฐาน เมื่อก�าหนดหัวข้อได้แล้ว เราจะต้องค้นคว้าหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ซึ่งมีทั้งหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง เช่น หลักฐานชั้นต้น หลักฐานชั้นรอง  พระราชพงศาวดารสมัยรัชกาลที่ ๔  ราชกิจจานุเบกษา  ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔  เอกสารราชการ เช่น รายงาน การประชุม  หนังสือพิมพ์  ภาพถ่าย  หนังสือเรื่อง ประวัติศาสตร์กรุง รัตนโกสินทร์ เล่ม ๒ รัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๗๕ ของคณะกรรมการ ช�าระประวัติศาสตร์ไทย ส�านักนายก รัฐมนตรี จัดพิมพ์เนื่องในการสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕  หนังสือเรื่อง ใต้ร่มพระบารมี จักรี นฤบดินทร์สยามินทราธิราช ของ คณะบรรณาธิการจัดท�าสารานุกรม ประวัติศาสตร์ไทย ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๗ 14 ถนนเจริญกรุง เป็นถนนสายเเรกของเมืองไทย สองฟากของถนนเป็นที่ตั้งร้านค้าของคนจีนเเละห้างฝรั่ง นักเรียนควรเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหลักฐานชั้นรอง คือ หนังสือที่ เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๔ เช่น หนังสือเรื่อง ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒ รัชกาลที่ ๔ - พ.ศ. ๒๔๗๕ และหนังสือเรื่อง ใต้ร่มพระบารมี จักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราช ในบทที่เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๔ เพื่อศึกษา เรื่องราวในหัวข้อที่ต้องการค้นคว้า เมื่อมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับหัวข้อนี้แล้ว นักเรียนสามารถค้นคว้า ข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสารชั้นต้น เช่น ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ โดยเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงบ้านเมืองมาอ่านเพิ่มเติม เช่น ความรู้เสริม ถนนเจริÞกรุง เดิมมีชื่อว่า “นิวโรด” เริ่ม ตั้งแต่ถนนสนามไชยจนถึงแม่น�้าเจ้าพระยาที่ ดาวคะนอง กรุงเทพมหานคร ใช้เทคนิคการสร้าง แบบตะวันตก ค�าว่า “เจริÞกรุง” มีความหมายว่า ความเจริÞรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อ ถนนบ�ารุงเมืองและถนนเ¿„›องนคร ที่รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกัน ประกาศเรื่องให้ประชาชนช่วยกัน รักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะและ ซากสัตว์ลงแม่น�้าล�าคลอง ประกาศ เรื่องการตัดถนนสายใหม่ เช่น ถนน เจริญกรุง ถนนบ�ารุงเมือง เป็นต้น 15 ขั้นตอนที่ ๓ เเละ ๔ การตรวจสอบเเละตีความหลักฐาน เมื่อได้หลักฐานเเล้วนักเรียนสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ หลักฐานได้ด้วยการเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง เพื่อดูว่ามีข้อมูลที่ สอดคล้องหรือขัดแย้งกันหรือไม่ อย่างไร เเล้วจัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อให้ ใช้งานได้สะดวก เช่น จัดข้อมูลตามประเภทของหลักฐาน จัดข้อมูลตาม หัวข้อ เป็นต้น ขั้นตอนที่ ๕ การเรียบเรียงเเละน�าเสนอข้อมูล ถ้าหัวข้อที่นักเรียนเลือก คือ การปรับปรุงบ้านเมือง สมัยรัชกาลที่ ๔ อาจท�าได้ ดังนี้ ส่วนที่ ๑ นักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเรื่อง พระราชประวัติ เพื่ออธิบายว่า เพราะเหตุใดรัชกาลที่ ๔ จึงทรงมีแนวคิดที่จะปรับปรุง บ้านเมือง ส่วนที่ ๒ นักเรียนอาจน�าเสนอเรื่องการปรับปรุงบ้านเมืองในสมัย รัชกาลที่ ๔ โดยแยกเป็นหัวข้อย่อย เช่น  การปรับปรุงบ้านเมืองด้านสุขอนามัย  การปรับปรุงบ้านเมืองด้านการก่อสร้าง  การปรับปรุงบ้านเมืองด้านการเปลี่ยนแปลงความคิดเก่าๆ ของราษฎร ถนนบ�ารุงเมือง เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิค การสร้างแบบตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ ๔ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ 16 ¡Ô¨¡ÃÃÁÃǺÂÍ´ แบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มก�าหนดหัวข้อที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มา ๑ หัวข้อ จากนั้นใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวและจัดท�าเป็นรายงาน เเละส่งตัวแทน ออกมาน�าเสนอหน้าชั้นเรียน ส�าหรับการน�าเสนอข้อมูล นักเรียนอาจท�าได้ด้วยการเขียนเรียงความ การจัดนิทรรศการ หรือการจัดสนทนากับเพื่อนร่วมชั้น ¡Ô จกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ ô ร่วมกันอภิปรายว่า นักเรียนจะสามารถหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้จากที่ใดบ้าง การสนทนากับเพื่อนร่วมชั้น เป็นวิธีหนึ่งในการน�าเสนอข้อมูล 17 เป้าหมายการเรียนรู้ประจ�าหน่วยที่ ๒ เมื่อเรียนจบหน่วยนี้ ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถต่อไปนี้ ๑. อธิบายสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ ประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน (มฐ. ส ๔.๒ ป.๖/๑) ๒. บอกความสัมพันธ์ของกลุ่มอาเซียนโดยสังเขป (มฐ. ส ๔.๒ ป.๖/๒) à¾×è͹ºŒÒ¹¢Í§àÃÒ หนวย การเรียนรูที่ ò ประเทศเพื่อนบาน กิจกรรมนําสูการเรียน แนวคิดส�าคัÞ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเ©ียงใต้เป็นภูมิภาค ที่มีความหลากหลายทางด้านประชากร ภาษา ศาสนา แต่ก็มีรากฐานวั²น¸รรมหลักร่วมกัน คือ วั²น¸รรมอินเดียและจีน ประเทศไทยเป็นประเทศ ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเ©ียงใต้ มีเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกันหลายชาติ ในบาง ครั้งประเทศไทยอาจจะมีป˜Þหาความสัมพัน¸์กับ ประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในภาพรวมแล้ว ประเทศไทย มีความสัมพัน¸์ที่ดีกับประเทศในเอเชียตะวันออก- เ©ียงใต้ »รÐเทÈäทยµัé§Íย‹ู ãกÅ้กัº»รÐเทÈã´º้า§ ñ บทที่ 19 อินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน สิงคโปร์ ติมอร์-เลสเต เมียนมา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของไทย ฟลิปปนส์ ตั้งอยู่ระหว่างทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิก ลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ลาวเป็น ประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล เวียดนาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของลาวและกัมพูชา บรูไน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บอร์เนียว กัมพูชา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของไทย สิงคโปร์ ตั้งอยู่บนปลายแหลมมลายู มาเลเซีย ประกอบด้วยดินแดน ๒ ส่วน คือ มาเลเซียตะวันตก และมาเลเซียตะวันออก มีทะเลจีนใต้เป็นตัวแบ่ง มาเลเซียตะวันตกตั้งอยู่ทางใต้ของไทย มาเลเซียตะวันออกตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว เป็นที่ตั้งของรัฐซาราวักและซาบาห์ ติมอร์-เลสเต ตั้งอยู่ระหว่างทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะ อินโดนีเซีย ไทย ตั้งอยู่ติดกับเมียนมา ลาว กัมพูชาและ และมาเลเซีย อินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ใกล้กับทวีปออสเตรเลีย ๑ ที่ตั้งของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ดินแดนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศทั้งหมด ๑๑ ประเทศ แยกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรหรือแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ เมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เเละ มาเลเซีย และ ประเทศที่เป็นเกาะหรือหมู่เกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟลิปปนส์ เเละ ติมอร์-เลสเต 20 ๑ . ความคล้ายคลึงกันในด้านต่างๆ ของประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ภาษา และลักษณะการเมืองการปกครอง แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันหลาย ด้าน เช่น  มีรากฐานอารยธรรมจีนและอินเดียเหมือนกัน  มีทรัพยากรธรรมชาติคล้ายคลึงกัน เช่น เป็นแหล่งปลูกข้าว ของโลก มีป่าไม้ ยางพารา เครื่องเทศ และแร่ต่างๆ เช่น ดีบุก ทอง เงิน อัญมณี เป็นต้น  ประชากรส่วนใหญ่ท�าเกษตรกรรม  ศาสนาหลักในภูมิภาค คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์  บางประเทศพูดภาษาคล้ายคลึงกัน เช่น ภาษาไทยกับภาษาลาว ภาษาบาฮาซามาเลเซียกับภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย เป็นต้น  ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความ สัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความร่วมมือกันเป็น สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน เพื่อ ร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ความรู้เสริม สัÞลักษณ์ของอาเ«ียน คือ รูปรวงข้าวสีเหลือง ñð มัด ที่ถูกมัดรวมกันไว้ บนพื้นสีแดง ล้อมรอบ ด้วยวงกลมสีขาวและพื้นที่สี่เหลี่ยมสีน�้าเงิน รวงข้าว ñð มัด ที่ถูกมัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิก ñð ประเทศ ได้รวมตัวกัน เพื่อ มิตรภาพและความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกัน สีเหลือง หมายถึง ความเจริÞรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาÞและความ ก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุท¸ิì สีน�้าเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สัญลักษณ์ธงอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติ เเห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 21 ๒ . ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ประเทศไทยมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ได้เเก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา เเละมาเลเซีย ไทย เมียนมา ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ »ÃÐà·Èä·Â µิดกับประเทศ กัมพูชำทำงทิศ µะวันออกเเละทิศ µÐÇѹÍÍ¡ เ©ียงเหนือ นอกจากนี้ไทยยังมีประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันอีก ได้เเก่ เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เเละติมอร์-เลสเต ¡Ô จกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ ñ สืบค้นชื่อเมืองหลวงของประเทศไทยและเมืองหลวงของประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดน ติดกับประเทศไทย จากนั้นบันทึกลงในสมุด ประเทศไทยµิดกับ ประเทศเมียนมำ ทำงทิศเหนือเเละ ทิศµะวันµก »ÃÐà·Èä·Â µิดกับประเทศลำว ทำงทิศเหนือเเละ ทิศµะวันออก เ©ียงเหนือ ประเทศไทย ติดกับประเทศ มาเลเซียทางทิศใต้ 22 ๒ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๑ . สาธารณรัฐเเห่งสหภาพเมียนมา เมืองหลวง คือ เนปยีดอ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเทศเมียนมา เดิมเป็นที่ตั้งของ อาณาจักรโบราณ ได้แก่ อาณาจักรพยูหรือศรีเกษตร ซึ่งนับถือพระพุทธ- ศาสนา ทางตอนเหนือเป็นที่ตั้งของอาณาจักรพุกาม ทางใต้เป็นอาณาจักร มอญ อาณาจักรพุกามมีกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือ พระเจ้าอโนรธาหรือ อนิรุทธ์ ทรงขยายอ�านาจได้กว้างใหญ่ และทรงท�านุบ�ารุงพระพุทธศาสนา เมียนมาได้ท�าสงครามกับอังกฤษหลายครั้งจนตกเป็นอาณานิคม ของอังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๒๙ และได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ หลังจากได้รับเอกราช เมียนมาประสบกับปัญหาทางการเมืองมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันเมียนมาจัดให้มีการเลือกตั้ง พร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมให้เจริญรุดหน้าควบคู่กัน การเมืองการปกครอง ปัจจุบันประเทศเมียนมาปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้า ฝ่ายบริหาร * พุกาม ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ * เดิมไทยเรียกประเทศพม่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ กระทั่งภายหลังการประชุมสภาเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (The Republic of the Union of Myanmar) ที่มาของภาพ : www.unsplach.com การที่ประเทศเมียนมาอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร มานานกว่า ๕๐ ปี ท�าให้เกิดปัญหาการเรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้ง ซึ่งการเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งส�าคัญในพม่า เช่น ใน พ.ศ. ๒๕๓๒ เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต�่า และการละเมิดสิทธิของประชาชน ท�าให้นักศึกษา รวมทั้งประชาชนที่ไม่พอใจการผูกขาดอ�านาจของทหาร เดินขบวนประท้วง แต่รัฐบาลปราบปรามอย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และถูกคุมขัง เป็นจ�านวนมาก ในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลทหารพม่า มีผู้น�า คือ นางอองซาน ซูจี เลขาธิการพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (NLD) ซึ่งเคยชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. ๒๕๓๓ แต่รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับ ผลการเลือกตั้ง และสั่งกักบริเวณนางซูจี ซึ่งปัจจุบันนางซูจีได้รับการปล่อยตัว และยังรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองจากรัฐบาล ทหารพม่าอย่างไม่ย่อท้อ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ประชาชนเมียนมาได้เดินขบวนประท้วงรัฐบาล ครั้งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งรัฐบาลยังคงใช้วิธีการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ท�าให้ รัฐบาลเมียนมาถูกคว�่าบาตรจากประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เป็นต้น จึงส่งผลให้รัฐบาลทหารเมียนมาปิดประเทศไม่ติดต่อ กับชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่ติดต่อกับประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น ปัจจุบันการเมืองในประเทศเมียนมาได้คลี่คลายลงหลังจากที่ รัฐบาลทหารได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสนับสนุนระบอบ ประชาธิปไตย และจัดให้มีการเลือกผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไปใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ปรากฏว่า พลเอก เต็ง เส่ง หัวหน้าพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ได้รับชัยชนะ และด�ารงต�าแหน่งประธานาธิบดี ส่วนนางอองซาน ซูจี เป็นผู้น�าฝ่ายค้าน 24 จนมาถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ตามวาระใน พ.ศ. ๒๕๕๘ พรรค สันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ (NLD) ชนะการเลือกตั้ง และถ่ายโอน อ�านาจจากรัฐบาลเดิม ไปสู่รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การน�าของพลเรือน เป็นครั้งแรกในรอบ ๕๐ ปี กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุนส่วนใหญ่มีรัฐบาลเป็น ผู้ผูกขาด เเละให้สัมปทานหรือสิทธิในการท�าธุรกิจแก่เอกชนในบางกิจการ สังคมเเละวัฒนธรรม ประเทศเมียนมามีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า รองลงมาคือ ชาวไทยใหญ่ กะเหรี่ยง ยะไข่ มอญ และความหลากหลายนี้ จึงท�าให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ปัญหาชนกลุ่มน้อยในเมียนมามีมานานหลายสิบปีแล้ว สาเหตุ ของความขัดแย้ง มาจากชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มต้องการสิทธิในการปกครอง ตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีประชากรมาก เช่น ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ เป็นต้น แต่รัฐบาลทหารไม่ยอม ท�าให้ชนกลุ่มน้อยประท้วงด้วยการก่อความ ไม่สงบและตั้งองค์กรของตนเองขึ้นมาเพื่อรวบรวมผู้คนและอาวุธในการ ต่อสู้กับรัฐบาล ซึ่งเริ่มต่อสู้กันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยรัฐบาลทหารได้ใช้ นโยบายปราบปรามอย่างหนัก ท�าให้ชนกลุ่มน้อยชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยง ที่มีถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ได้อพยพเข้ามาอยู่ในฝั่งไทย ที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และตาก ท�าให้ประเทศไทยต้องช่วยรับดูแล ผู้อพยพเหล่านั้น และหลายครั้งที่คนไทยบริเวณชายเเดนต้องได้รับ ความเดือดร้อนจากการต่อสู้ระหว่างทหารกับชนกลุ่มน้อย ¨Ñ§ËÇÑ´¢Í§ä·Â·ÕèÁÕªÒÂá´¹µÔ´¡ÑºàÁÕ¹ÁÒ ä´Œá¡‹ àªÕ§ÃÒ àªÕ§ãËÁ‹ áÁ‹Î‹Í§Ê͹ µÒ¡ ¡ÒÞ¨¹ºØÃÕ ÃÒªºØÃÕ à¾ªÃºØÃÕ »ÃШǺ¤ÕÃբѹ¸ ªØÁ¾Ã áÅÐÃйͧ 25 เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ชาวพม่ามีศรัทธาในพระพุทธศาสนา อย่างสูง นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวพม่า พุทธศาสนิกชนชาว พม่านิยมไปท�าบุญและปฏิบัติธรรมที่วัดเป็นประจ�า ทั้งในวันธรรมดา ความรู้เสริม เจดีย์ชเวดากอง มาจากค�าว่า “ชเว” คือ ทอง “ดากอง” คือ ชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง จึง หมายความว่า “เจดีย์ทองแห่งเมืองดากอง” ¼ู้ที่ เข้าไปนมัสการเจดีย์นี้จะต้องถอดรองเท้า «ึ่งเป็น การป¯ิบัติที่เคร่งครัดของชาวพม่า มหาเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศ เมียนมา เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า จ�านวน ๘ เส้น และวันส�าคัญทางศาสนา สถานที่ ส�าคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น มหาเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นศาสน- สถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวพม่า ๒ . สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมืองหลวง คือ เวียงจันทน์ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเทศลาว เดิมเป็นที่ตั้งของ อาณาจักรล้านช้าง ต่อมาอาณาจักรล้านช้างได้แยกออกเป็น ๓ ส่วน คือ หลวงพระบาง (ตอนเหนือ) เวียงจันทน์ (ตอนกลาง) และจ�าปาศักดิ์ (ตอนใต้) ลาวได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ปลาย สงครามโลกครั้งที่ ๒ ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และได้รับเอกราชใน พ.ศ. ๒๔๙๗ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ลาวก็ได้มีปัญหาภายใน ประเทศ เช่น การแย่งชิงอ�านาจทางการเมือง จนใน พ.ศ. ๒๕๑๘ พรรค ประชาชนปฏิวัติได้ปกครองลาวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การเมืองการปกครอง ประเทศลาวปกครองในระบอบสังคมนิยม โดยมีประธานประเทศเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล เศรษฐกิจ ประชาชนชาวลาวมีรายได้ไม่สูงมากนัก พื้นฐานทาง เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก มีพืชที่ส�าคัญ เช่น ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย ไม้สัก ยาสูบ เป็นต้น มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดีบุก ยิปซัม ตะกั่ว เหล็ก สังกะสี เป็นต้น มีแม่น�้าสายส�าคัญ คือ แม่น�้าโขง ลาวเป็นประเทศ ที่ยังมีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ท�าให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนท�า อุตสาหกรรมไม้เเปรรูปเเละผลิตภัณฑ์จากไม้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุนส่วนใหญ่มีชาวต่างชาติเป็น ผู้ลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยและชาวจีน เนื่องจากมีพรมแดนติดกัน การผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคของลาวยังมีน้อย จึงต้องน�าเข้าสินค้า จากจีนและไทย เพื่อใช้ในชีวิตประจ�าวัน 27 ในปัจจุบันลาวได้พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ มากขึ้น เมืองท่องเที่ยวที่ส�าคัญของลาว เช่น เมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็น เมืองมรดกโลก นครเวียงจันทน์ เมืองปากเซ แขวงจ�าปาศักดิ์ เป็นต้น เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติไปท่องเที่ยวจ�านวนมาก ซึ่งจุดเด่นของ การท่องเที่ยวของประเทศลาว คือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ เเหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สังคมและวัฒนธรรม ประชากรของลาวมีหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวลาว ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ละว้า ไท ม้ง เย้า ศาสนาประจ�าชาติ คือ พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาลาว และภาษาท้องถิ่นของชนกลุ่มน้อย เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีความสงบสุข การตักบาตรข้าวเหนียว เป็นเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของประเทศลาว ลาวไม่มีพรมแดนติดทะเล จึงต้องสร้างเส้นทางเชื่อมกับเพื่อนบ้าน (เวียดนามและไทย) เช่น สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ ๑ เป็นต้น ชาวลาวมีความเป็นมิตร มีวิถีชีวิต เรียบง่าย และรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี โดยเฉพาะประเพณีทาง พระพุทธศาสนา ซึ่งชาวลาวปฏิบัติ กันอย่างเคร่งครัด สิ่งเหล่านี้ล้วน เป็นเอกลักษณ์เด่นของชาวลาวที่ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา ยังประเทศลาว และนักท่องเที่ยว ยังต้องการเข้าไปชื่นชมด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวลาวด้วย โดย เฉพาะที่หลวงพระบางซึ่งเป็นเมือง มรดกโลก 28 ๓ . สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมืองหลวง คือ ฮานอย ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเทศเวียดนาม เดิมเป็นที่ตั้ง ของอาณาจักรนามเวียด ซึ่งได้ถูกจีนยึดครองเป็นระยะเวลานานนับพันปี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๔๕ เปลี่ยนชื่อเป็น “เวียดนาม” โดยบริเวณตอนกลาง ของเวียดนามเป็นที่ตั้งของอาณาจักรจามปา ซึ่งอาณาจักรนี้ได้ท�าสงคราม กับขอมและเวียดนาม สุดท้ายอาณาจักรนี้ได้ล่มสลาย เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๔๑ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เพราะฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อ ขบวนการเวียดมินห์ ของเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ภายหลังเวียดนามได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เวียดนามเหนือ พยายามรวมเวียดนามใต้ให้เป็นประเทศเดียวกัน* จึงเกิดเป็นสงคราม เวียดนาม แต่ก็สามารถรวมประเทศได้ส�าเร็จใน พ.ศ. ๒๕๑๙ และ ได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามขึ้น ซึ่งเป็นการรวมประเทศ เวียดนามอย่างเป็นทางการ การเมืองการปกครอง ประเทศเวียดนามปกครองในระบอบ สังคมนิยม โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า รัฐบาล เศรษฐกิจ พื้นฐานทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการเกษตร พืชหลัก ที่ปลูก คือ ข้าว ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของ โลก และเป็นคู่แข่งการค้าข้าวรายส�าคัญของไทย มีทรัพยากรธรรมชาติมาก เช่น น�้ามัน แร่ อัญมณี เป็นต้น * ได้มีการจัดประชุมนานาชาติที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งลงมติแบ่งเวียดนามออกเป็น ๒ ส่วน คือ เวียดนามเหนือ ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ และเวียดนามใต้ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย 29 สังคมและวัฒนธรรม เวียดนามมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม ที่เหลือเป็นชาวจีน ไท เขมร ม้ง ประชากร เวียดนามได้รับการส่งเสริมเรื่องการศึกษา ท�าให้ประชากรมีคุณภาพ สามารถพูดภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสได้ มีวินัย ชาติตะวันตกจึงสนใจเข้าไป ลงทุน ท�าให้ปัจจุบันเศรษฐกิจเวียดนามเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ศาสนาประจ�าชาติ คือ พระพุทธศาสนา นิกายมหายานแบบจีน ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาเวียดนาม ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่น เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเทศเวียดนามมีลักษณะทาง วัฒนธรรมคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมจีน เห็นได้จากสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น พระราชวัง วัด สุสาน เป็นต้น ส่วนอาคารบ้านเรือนในสมัยหลังได้รับ อิทธิพลจากวัฒนธรรมฝรั่งเศส ชุดประจ�าชาติของเวียดนาม ที่เรียกว่า ชุดอ๋าวหญ่าย เป็นชุดคลุมยาว ผ่าข้าง คอตั้ง กางเกงขายาวหรือกระโปรง ซึ่งเป็นชุดที่ชาวเวียดนามใส่ไปเรียนและท�างาน อาหารของชาวเวียดนาม จะเน้นผักเป็นหลัก เช่น แหนมเนือง เปาะเปียะ เฝอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการแสดงหุ่นน�้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเวียดนามที่มี ชื่อเสียงไปทั่วโลก เอกลักษณ์ของคนเวียดนาม คือ สวมหมวกกุบ เเละใส่ชุดอ๋าวหญ่ายซึ่งเป็นชุดประจ�าชาติ ในปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศที่มีต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุน จ�านวนมาก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การส�ารวจ และขุดเจาะน�้ามัน เป็นต้น ท�าให้เศรษฐกิจของเวียดนามพัฒนาไปอย่าง รวดเร็ว ๔ . ราชอาณาจักรกัมพูชา เมืองหลวง คือ พนมเปญ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเทศกัมพูชา เดิมเป็นที่ตั้ง ของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งเกิดความแตกแยกภายใน อาณาจักรขอมหรือเขมร โบราณจึงเข้ามามีอ�านาจแทน กัมพูชาได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๐๖ เเละ ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ เจ้าสีหนุ ประมุขในขณะนั้นได้ท�าการเคลื่อนไหวกดดัน เพื่อเรียกร้องเอกราชคืนจากฝรั่งเศส โดยมีเวียดนามเป็นก�าลังหลักในการ ต่อสู้ นั่นคือ “สงครามเดียนเบียนฟู” กัมพูชาจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ใน พ.ศ. ๒๔๙๖ ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ โดยพรรคสังคมราษฎร์นิยม ของเจ้าสีหนุชนะการเลือกตั้ง ท�าให้เจ้าสีหนุได้เป็นผู้น�าสูงสุดติดต่อกันมา ยาวนานกว่า ๑๐ ปี แต่ถูกกดดันจากพรรคคอมมิวนิสต์ จนต้องลี้ภัยไปยัง ประเทศฝรั่งเศส กัมพูชาจึงได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐ ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ เขมรเเดงภายใต้การน�าของพอลพตได้ขึ้นมาเป็นผู้น�า ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ กองก�าลังสหประชาชาติจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้น ซึ่งนับเป็นการเลือกตั้งครั้งเเรกของกัมพูชา มีเจ้ารณฤทธิ์เเละฮุนเซนเป็น นายกรัฐมนตรี ต่อมาฮุนเซนท�าการยึดอ�านาจจากเจ้ารณฤทธิ์ จนได้ครอง อ�านาจการปกครองกัมพูชามาจนถึงปัจจุบัน การเมืองการปกครอง ประเทศกัมพูชาปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ และมีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล เศรษฐกิจ เนื่องจากกัมพูชาต้องเผชิญกับภัยสงครามกลางเมือง นับสิบปี เมื่อบ้านเมืองมีความสงบ จึงเริ่มฟื้นฟูประเทศและได้เร่งรัดพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สาธารณูปโภค สนามบิน เป็นต้น 31 นครวัด มรดกโลกที่เป็นสัญลักษณ์ของกัมพูชา นอกจากนี้กัมพูชายังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ส�าคัญ คือ ปราสาทหิน จ�านวนมาก โดยเฉพาะนครวัด ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดกโลก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงเป็นหนึ่งในรายได้ส�าคัญของกัมพูชา ปัจจุบันกัมพูชาส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยการให้เอกชนท�าธุรกิจและ เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ประเทศไทยได้เข้าไปลงทุนในกิจการ หลายประเภท เช่น การสื่อสาร การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นต้น สังคมและวัฒนธรรม ประชากรของกัมพูชามีหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชาหรือเขมร ที่เหลือเป็นชาวจีน เวียดนาม และอื่นๆ ศาสนาประจ�าชาติ คือ พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาเขมร และภาษาฝรั่งเศส เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเทศกัมพูชามีประวัติศาสตร์ที่ รุ่งเรือง มีอารยธรรมเก่าแก่ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต คือ ปราสาทหินจ�านวนมาก เเละโบราณวัตถุต่างๆ ปราสาทหิน เช่น นครวัด นครธม ตาพรม เป็นต้น เป็นเสมือนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกัมพูชา ซึ่งเป็นมรดกของชาติ เเละของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราสาทนครวัด ได้รับการยกย่องด้านความงดงามของสถาปัตยกรรม พื้นฐานทางเศรษฐกิจของกัมพูชาขึ้นกับเกษตรกรรม พืชหลัก คือ ข้าว ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก ทองแดง อัญมณี ป่าไม้ เป็นต้น ๕ . สหพันธรัฐมาเลเซีย เมืองหลวง คือ กัวลาลัมเปอร์ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเทศมาเลเซีย เดิมเป็นที่ตั้ง ของอาณาจักรโบราณ เช่น อาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่ง เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าเป็นอย่างมาก มาเลเซียได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๒๙ เเละได้ รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีตนกู อับดุล ราห์มาน พุตรา อัลฮัจ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก การเมืองการปกครอง ประเทศมาเลเซียปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ซึ่งมาจากการเลือกตั้งสุลต่านหรือ ผู้ปกครองรัฐจาก ๙ รัฐ ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันด�ารงต�าแหน่งประมุข ของประเทศองค์ละ ๕ ปี และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เศรษฐกิจ มาเลเซียมีฐานะทางด้านเศรษฐกิจที่มั่นคง เศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรที่ส�าคัญ คือ มะพร้าว น�้ามันปาล์ม ยางพารา ผลไม้ พริกไทย ไม้แปรรูป ทรัพยากรธรรมชาติที่ส�าคัญ คือ น�้ามันปิโตรเลียม และดีบุก ส่วนภาคอุตสาหกรรม มาเลเซียส่งออกรถยนต์ เหล็กกล้า และ ซีเมนต์ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพราะมี แหล่งธรรมชาติทั้งทะเลและป่าไม้ รวมทั้งแหล่งประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม มาเลเซียมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์ ที่เหลือเป็นชาวจีน อินเดีย และอื่นๆ »ÃÐà·ÈÁÒàÅà«ÕÂä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹»ÃÐà·È·Õè Ê‹§ÍÍ¡á˴պء໚¹Íѹ´ÑºË¹Ö觢ͧâÅ¡ 33 ในอดีตมาเลเซียเคยประสบกับปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ระหว่างชาวมาเลย์กับชาวจีน ท�าให้ชาวจีนจ�านวนหนึ่งแยกออกไปตั้งเป็น ประเทศสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติได้ลดน้อยลง เนื่องจากมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีและรัฐบาลมีความมั่นคง และประชากร ส่วนใหญ่มีฐานะดี มีระดับการศึกษาสูง เพราะรัฐบาลให้เงินสนับสนุนด้าน การศึกษา ศาสนาประจ�าชาติ คือ ศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้ ได้แก่ ภาษามาเลย์หรือบาฮาซา ภาษามลายู ภาษา จีน ภาษาอังกฤษ ภาษาทมิฬ และภาษาถิ่น เอกลัักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเทศมาเลเซียมีคนหลายเชื้อชาติ อาศัยอยู่ จึงมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น วัฒนธรรมของชาวมาเลย์ที่ นับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมของชาวมาเลย์เชื้อสายไทย วัฒนธรรม ของชาวมาเลย์เชื้อสายจีน หรือที่เรียกว่า ชาวเปอรานากัน ซึ่งพูดภาษา มาเลย์ผสมกับจีน มีเครื่องแต่งกาย อาหาร และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมจีนผสมตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้จากอาคารต่างๆ ที่มีลักษณะ เป็นอาคารแบบตะวันตก ประดับประดาด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปต่างๆ โบสถ์คริสต์เเละอาคารเเดง บริเวณจัตุรัสดัตช์ ในอดีตเคยเป็นย่านที่อยู่ของชาวดัตช์ ปัจจุบันเป็น เเหล่งท่องเที่ยวที่ส�าคัญของเมืองมะละกา โดยเฉพาะดอกไม้ หรือกระเบื้อง แบบจีน เป็นรูปแบบอาคารที่มีชื่อว่า ชิโน-โปรตุกีส เช่น อาคารที่เมือง มะละกา ซึ่งเป็นเมืองมรดกโลก เมืองปีนัง เป็นต้น หมู่บ้าน หรือที่ชาวมาเลเ«ียเรียกว่า “กัมปุง” สร้างด้วยไม้ มีชั้นเดียว ยกพื้นสูง ¼นังท�าจากไม้ หรือไม้ไ¼่ หลังคามุงจาก «ึ่งเป็นลักษณะเ©พาะของ ชาวพื้นเมือง ความรู้เสริม 34 ๖ . เนการาบรูไนดารุสซาลาม หรือ บรูไน เมืองหลวง คือ บันดาร์เสรีเบกาวัน ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ในอดีตประเทศบรูไนเคยเป็น รัฐสุลต่านที่มีอาณาเขตตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวเกือบทั้งหมด และส่วนหนึ่ง ของเกาะซูลู ซึ่งในปัจจุบันเป็นดินแดนของประเทศฟิลิปปินส์ การเข้ามา ของสเปน ฮอลันดา และอังกฤษ ท�าให้บรูไนเสียดินแดนไปจนเหลือพื้นที่ เท่าในปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ บรูไนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และในช่วง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ถูกญี่ปุ่นยึดครอง บรูไนได้รับเอกราชสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ การเมืองการปกครอง ประเทศบรูไนปกครองในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และไม่มีสภาที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน มีสมเด็จพระราชาธิบดี ฮัญจี อัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ เป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ ๒๙ ของบรูไน เเละบรูไนยึดถือแนวทางการปกครองตามหลักศาสนาอิสลาม ประมุขของประเทศหรือสุลต่านเป็นผู้น�าการบริหาร ทรงด�ารง ต�าแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และมีเจ้านาย ในราชวงศ์ด�ารงต�าแหน่งทางการเมืองด้วย นอกจากนี้รัฐธรรมนูญบรูไนยังก�าหนดว่านายกรัฐมนตรีต้องเป็น ชาวบรูไนที่มีเชื้อสายมาเลย์โดยก�าเนิด และต้องนับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ เศรษฐกิจ บรูไนมีฐานะทางเศรษฐกิจดี และเป็นประเทศที่ร�่ารวย เพราะมีทรัพยากรน�้ามันและแก๊สธรรมชาติ ºÃÙä¹à»š¹»ÃÐà·È¼ÙŒ¼ÅÔµ¹íéÒÁѹÃÒÂãËÞ‹Íѹ´Ñº ô ã¹ àÍàªÕµÐÇѹÍÍ¡à©Õ§㵌 «Öè§Ãͧ¨Ò¡ÍԹⴹÕà«Õ àÇÕ´¹ÒÁ áÅÐÁÒàÅà«Õ 35 สังคมและวัฒนธรรม บรูไนมีประชากรน้อยที่สุดในภูมิภาคนี้ ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีการศึกษาดี เพราะรัฐบาลมีสวัสดิการให้ ประชาชน ทั้งการรักษาพยาบาลและการศึกษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องจ่ายภาษี ศาสนาประจ�าชาติ คือ ศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้ คือ ภาษามาเลย์ และภาษาอังกฤษ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม สถาบันกษัตริย์นั้นมีบทบาทส�าคัญ ในการบริหารประเทศ เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ในฐานะที่บรูไนเป็นประเทศ ที่ร�่ารวย รัฐบาลบรูไนได้ส่งเสริมด้านวัฒนธรรม โดยสร้างสรรค์งานศิลปะ ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาอิสลามและความหรูหราของสถาบันกษัตริย์ โดยได้ สร้างพระราชวังทองค�า มัสยิดทองค�า พิพิธภัณฑสถานที่เก็บรักษาและ จัดแสดงงานศิลปะและเครื่องทอง ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ โดดเด่นและมีชื่อเสียงของบรูไน พระราชวังอิสตานา นูรูล อิมาน มีหลังคาเป็นทองค�า เป็นพระราชวังของกษัตริย์เเห่งบรูไน เเละเป็นท�าเนียบรัฐบาลของบรูไน รัฐบาลส่งเสริมอุตสาหกรรมป่าไม้ ประมง และแร่ ส่งเสริม อุตสาหกรรมขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ เเละประมง เพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าส่งออกหารายได้เข้าประเทศ เเทนที่ทรัพยากร น�้ามันที่อาจหมดไป พืชเกษตรที่ส�าคัญ คือ ข้าวและกล้วย ๗ . สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมืองหลวง คือ สิงคโปร์ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เดิมสิงคโปร์มีชื่อว่า “เทมาเส็ก” หมายความว่า “นครแห่งทะเล” ต่อมากษัตริย์ไตรภูวนาถแห่งอาณาจักร ศรีวิชัย ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สิงหะปุระ” หมายความว่า “เมืองของสิงห์” ซึ่งเป็นเมืองท่าส�าคัญของอาณาจักรศรีวิชัย ใน พ.ศ. ๒๓๖๒ เซอร์ สแตมป์ฟอร์ด แรฟเฟิลส์ เจ้าหน้าที่ของ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้ขอเช่าสิงคโปร์จากสุลต่านยะโฮร์ ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ สิงคโปร์ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และใน พ.ศ. ๒๕๐๘ สิงคโปร์ได้แยกตัวออกจากมาเลเซีย การเมืองการปกครอง ประเทศสิงคโปร์นั้นมีการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของ รัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุด ประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับตั้งแต่ตั้งประเทศมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรค เดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากมาโดยตลอด รัฐบาลและนักการเมืองสิงคโปร์ได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลที่ซื่อสัตย์ สุจริต เน้นประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก ท�าให้สิงคโปร์ ได้รับการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วของโลก เศรษฐกิจ สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้า เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า ปลอดภาษี ท�าให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก 37 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ให้ความส�าคัญกับการพัฒนาประเทศ เพราะ ต้องการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านต่างๆ เช่น การ บริการทางการแพทย์ การบิน การท่องเที่ยว การศึกษา เป็นต้น ปัจจุบัน สิงคโปร์มีท่าเรือน�้าลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และ ยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อย จึงต้องพึ่งพาแรงงานจากต่างชาติ สังคมและวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นชาวจีน รองลงมาคือ ชาวมาเลย์ อินเดีย และอื่นๆ ชาวสิงคโปร์มีคุณภาพชีวิตดี เพราะมีการศึกษาดีจึงมีรายได้สูง รัฐบาลให้การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังส่งเสริมการศึกษาระดับสูง โดยมหาวิทยาลัย ในสิงคโปร์มีคุณภาพสูงติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นน�าของโลก นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ส่งเสริมให้ประชากรที่มีการศึกษาได้ แต่งงานและมีบุตร เพื่อผลิตประชากรที่มีคุณภาพ มีสวัสดิการให้เเก่คู่สมรส ของชาวจีนที่มีการศึกษาสูง ศาสนา ประชากรนับถือศาสนาต่างๆ ทั้งพระพุทธศาสนา ศาสนา คริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เเละศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้ ได้เเก่ ภาษามาเลย์ อังกฤษ จีน และภาษาทมิฬ ส่วน ภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ลักษณะเด่นทางด้านวัฒนธรรมของ สิงคโปร์ คือ เป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างประชากรเชื้อชาติต่างๆ และเป็นสังคมที่ยอมรับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ซึ่งจะเห็นได้จากความ หลากหลายของภาษาที่ใช้ในชีิวิตประจ�าวัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษา มาเลย์ ภาษาจีน มีอาหารที่เป็นของคนเชื้อชาติต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแกง หรือลักซา เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของสิงคโปร์ เเละมีอาคารบ้านเรือน ที่มีทั้งอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก จีน และมาเลย์ 38 ๘ . สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมืองหลวง คือ จาการ์ตา ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเทศอินโดนีเซียเดิมเป็นที่ตั้ง ของอาณาจักรมัชปาหิต และอาณาจักรมะตะรัม ฮอลันดาหรือเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศตะวันตกประเทศแรกที่ เข้ามาในประเทศอินโดนีเซีย ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ ญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดนีเซีย จนได้ประกาศเอกราชได้ใน พ.ศ. ๒๔๘๘ ภายใต้การน�าของซูการ์โน และ ดร.โมฮัมมัด ฮัตตา ภายหลังการประกาศเอกราช อินโดนีเซียมีปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจ มีการปฏิวัติที่น�าไปสู่การนองเลือด ปัญหาการเมืองภายใน ที่ส�าคัญ คือ การเรียกร้องแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ต่างๆ เช่น อาเจะห์ ซึ่งยังคงเป็นปัญหามาถึงปัจจุบัน การเมืองการปกครอง ประเทศอินโดนีเซียปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ หัวหน้าฝ่ายบริหาร เศรษฐกิจ อินโดนีเซียมีพื้นที่มากที่สุดในภูมิภาคนี้ ประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่ต่างๆ มากกว่า ๑๓,๖๗๗ เกาะ เกาะที่ส�าคัญ ได้แก่ เกาะ สุมาตรา เกาะชวา เกาะบอร์เนียว เเละเกาะบาหลี พื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ เกษตรกรรม พืชที่ส�าคัญ ได้แก่ ข้าว ชา กาแฟ และปาล์มน�้ามัน แร่ต่างๆ เช่น ดีบุก ทองแดง เป็นต้น รวมทั้งน�้ามัน เเละแก๊สธรรมชาติ อินโดนีเซียเปิดรับการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมจากต่างชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ได้เข้าไปลงทุนมาก เพราะมีค่าจ้าง แรงงานถูก 39 สังคมและวัฒนธรรม ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรมากที่สุด ในภูมิภาค คือ มากกว่าสองร้อยล้านคน เป็นชาวชวา ซุนดา อินโดนีเซีย จีน มาดูรา และชาวเกาะต่างๆ ประชากรเชื้อสายอินโดนีเซียส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจการค้า ศาสนาประจ�าชาติ คือ ศาสนาอิสลาม เป็นประเทศที่มีประชากร นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย และภาษาพื้นเมือง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม อินโดนีเซียมีวัฒนธรรมด้านศิลปะการ แสดงและนาฏศิลป์ที่เก่าแก่และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ซึ่งนับเป็นศิลปะ ประจ�าชาติ คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่น ที่เรียกว่า วายัง หรือวายัง ปูร์วา มีโบราณสถานที่ส�าคัญ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก คือ โบโรบูดูร์หรือบุโรพุทโธ บนเกาะชวา เป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน และปรัมบานัน บนเกาะชวา เป็นศาสนสถานของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู มหาสถูปบุโรพุทโธหรือโบโรบูดูร์ เป็นศาสนสถานของ พระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก องค์การยูเนสโกประกาศ ให้เป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ๙ . สาธารณรัฐฟลิปปนส์ เมืองหลวง คือ มะนิลา ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เฟอร์ดินาน แมกเจลแลน ซึ่งเป็น นักเดินเรือชาวโปรตุเกส เป็นผู้ค้นพบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ได้ตกเป็นอาณานิคมของสเปนหลายร้อยปี เเละได้รับ เอกราชจากสเปนใน พ.ศ. ๒๔๔๑ เเละต่อมาได้ตกเป็นอาณานิคมของ สหรัฐอเมริกา จนได้เอกราชอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ การเมืองการปกครอง ประเทศฟิลิปปินส์มีการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้า ฝ่ายบริหาร เศรษฐกิจ ประเทศฟิลิปปินส์ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ต่างๆ มากกว่า ๗,๐๐๐ เกาะ เกาะที่ส�าคัญ ได้แก่ เกาะลูซอน เเละเกาะมินดาเนา ฟิลิปปินส์มีีบริเวณที่ราบน้อย ประชากรจึงมีปัญหาเรื่องที่ดินใน การเกษตร พืชเศรษฐกิจหลัก คือ ข้าว และป่าน มีแร่มาก เช่น ทองค�า ทองแดง เหล็ก เป็นต้น ด้านอุตสาหกรรม ฟิลิปปินส์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ และเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ สิ่งที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ คือ แรงงาน ราคาถูกที่มีทักษะการช่างที่ดีและพูดภาษาอังกฤษได้ดี สังคมและวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวตากาล็อก และ ชาวพื้นเมืองต่างๆ ศาสนาประจ�าชาติ คือ ศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้ ได้เเก่ ภาษาตากาล็อก ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน และภาษาท้องถิ่นของชนกลุ่มต่างๆ ¿ÅÔ»»¹ÊÁÕÀÒÉÒ·ŒÍ§¶Ôè¹ÁÒ¡¡Ç‹Ò ñ÷ð ÀÒÉÒ «Öè§à»š¹¢Í§ª¹·ŒÍ§¶Ô蹡ÅØ‹Áµ‹Ò§æ 41 เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรม แตกต่างจากประเทศอื่นในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การ ที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนา ประจ�าชาติ และมีวัฒนธรรมที่ได้รับ อิทธิพลจากชาติตะวันตกมากกว่า ประเทศอื่น เนื่องจากเคยถูกสเปน ปกครองอยู่ ๔๐๐ ปี และสหรัฐอเมริกาปกครองอยู่ ๒๐๐ ปี วัฒนธรรมหนึ่ง ที่โดดเด่นของชาวฟิลิปปินส์ คือ การเล่นเครื่องดนตรีและการขับร้องที่มี เอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถ ในด้านดนตรีและเพลงที่ใช้ท�านองและภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาตากาล็อก ผสมผสานท�านองเพลงของสเปน มีความไพเราะและเป็นเอกลักษณ์ของ ฟิลิปปินส์ ๑๐ . สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต หรือติมอร์ตะวันออก เมืองหลวง คือ ดิลี ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ประเทศติมอร์-เลสเตตกเป็น อาณานิคมของโปรตุเกส ใน พ.ศ. ๒๕๑๘ ติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชจาก โปรตุเกส ต่อมาฮอลันดาเข้ามาปกครองได้ระยะหนึ่งก็ถอนตัวออกไป จึง เป็นโอกาสของอินโดนีเซียที่จะเข้าครอบครอง และผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ ๒๗ ของอินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเตแยกตัวจากอินโดนีเซีย โดยมีสหประชาชาติคอยดูแล ให้ความช่วยเหลือภายหลังจากที่ชาวติมอร์-เลสเตได้ถูกรัฐบาลอินโดนีเซีย ปราบปรามอย่างรุนแรง เเละในที่สุดรัฐบาลอินโดนีเซียก็ได้ยินยอมให้ ติมอร์-เลสเตแยกตัวเป็นเอกราชเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ โบสถ์ไบนอนโด เป็นศาสนสถานทางศาสนาคริสต์ ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา 42 เศรษฐกิจ ประเทศติมอร์-เลสเต พึ่งพาการเกษตรจากภายใน ประเทศ และการช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นหลัก การลงทุนในติมอร์-เลสเตที่ส�าคัญ คือ ไร่กาแฟ การประมง ธุรกิจ การท่องเที่ยว มีทรัพยากรธรรมชาติ คือ น�้ามันดิบ และเเก๊สธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม ติมอร์-เลสเต มีประชากรจ�านวนประมาณ หนึ่งล้านคน ประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวติมอร์ ชาวอินโดนีเซีย และชาวพื้นเมืองอื่นๆ ศาสนาประจ�าชาติ คือ ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ภาษาที่ใช้ ได้แก่ ภาษาโปรตุเกส ภาษาอังกฤษ และภาษาพื้นเมือง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ติมอร์-เลสเต เป็นประเทศที่ได้รับ อิทธิพลจากตะวันตก คือ โปรตุเกส อย่างมาก ทั้งในด้านภาษาและการ นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งต่างจากประเทศอื่นๆ ในหมู่เกาะใกล้เคียงที่ได้รับ อิทธิพลจากศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมของติมอร์-เลสเตจึงเป็นวัฒนธรรม ที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมโปรตุเกสกับวัฒนธรรมพื้นเมือง การเมืองการปกครอง ประเทศติมอร์-เลสเตมีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ในปัจจุบันติมอร์-เลสเตยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านความ มั่นคงจากสหประชาชาติ เนื่องจากมีก�าลังคนไม่เพียงพอ ¡Ô จกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ ò แบ่งกลุ่ม สืบค้นข้อมูลความสัมพันธ์ของประเทศไทยที่มีต่อประเทศในภูมิภาคเอเชีย- ตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นจัดท�าเป็นรายงาน 43 ๓ ตัวอย่างความเหมือนและแตกต่างระหว่างประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน ๑ . ด้านการปกครอง ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีระบอบการ ปกครองที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้  ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็น ประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝายบริหาร คือ สิงคโปร์ เเละติมอร์-เลสเต  ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข คือ ไทย กัมพูชา เเละมาเลเซีย  ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้าฝายบริหาร คือ เมียนมา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  ประเทศที่ปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ บรูไน  ประเทศที่ปกครองโดยระบอบสังคมนิยม คือ เวียดนาม และลาว 44 ๒ . ด้านเศรษฐกิจ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความแตกต่างกันด้าน เศรษฐกิจ ดังนี้  ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก ได้เเก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน  ประเทศที่มีการเกษตรเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจ เเละมีการพัฒนาใน ภาคอุตสาหกรรม ได้เเก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย เเละฟิลิปปินส์  ประเทศที่ต้องพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก ได้เเก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา เเละติมอร์-เลสเต ๓ . ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะพึ่งพา ภาคการเกษตรเป็นหลัก มีทรัพยากรธรรมชาติคล้ายคลึงกัน เช่น  ประเทศที่ผลิตข้าวได้มาก คือ ไทย เวียดนาม และลาว  ประเทศที่ปลูกยางพารามาก คือ มาเลเซีย ไทย และ อินโดนีเซีย  ประเทศที่ปลูกปาล์มน�้ามันมาก คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย  ประเทศที่มีแร่ดีบุกมาก คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย  ประเทศที่มีทรัพยากรป่าไม้มาก คือ ลาว เมียนมา กัมพูชา และอินโดนีเซีย  ประเทศที่มีน�้ามันมาก คือ บรูไน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย  ประเทศที่มีการท�าประมงน�้าเค็ม คือ ทุกประเทศ ยกเว้น ลาว เพราะลาวไม่มีพรมแดนติดทะเล 45 ๔ . ด้านสังคมและวัฒนธรรม ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีรากฐานวัฒนธรรมจากจีน และอินเดีย แต่มีความแตกต่างกันบ้าง เช่น  ประเทศที่รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน คือ เวียดนาม  ประเทศที่รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย คือ ไทย กัมพูชา ลาว เเละเมียนมา  ประเทศที่รับอิทธิพล จากวัฒนธรรมอินเดีย แต่ต่อมาได้ รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอิสลาม คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เเละบรูไน  ประเทศที่รับอิทธิพล จากวัฒนธรรมตะวันตก คือ ฟิลิปปินส์ ติมอร์-เลสเต เพราะชาติตะวันตกเคย ปกครองมานาน วัดที่ตั้งอยู่ในเมืองดาลัด ประเทศเวียดนาม เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศจีน ¡Ô จกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ ó จงเปรียบเทียบความเเตกต่างด้านเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ¡Ô¨¡ÃÃÁÃǺÂÍ´ แบ่งกลุ่ม สืบค้นข้อมูลของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มา ๑ ประเทศ แล้วน�ามาเปรียบเทียบกับประเทศไทย 46 กิจกรรมนําสูการเรียน ´าÇเทียมª‹ÇยãË้เกÔ´ ¤Çามร‹Çมม×ÍãนÀูมÔÀา¤ เÍเªียµÐÇันÍÍกเ©ีย§ãµ้ ä´้Íย‹า§äร ò บทที่ ความรวมมือในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต แนวคิดส�าคัÞ ป˜จจุบันประเทศในภูมิภาคนี้ได้รวมกลุ่มกัน เพื่อพั²นาภูมิภาคทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เมื่อประเทศใดประสบป˜Þหา ประเทศสมาชิกอื่นæ ก็ได้ให้ความช่วยเหลือ การรวมกลุ่มกันท�าให้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเ©ียงใต้มีความ แข็งแกร่งและมั่นคง 47 ๑ ประวัติความเป็นมาของอาเซียน ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมกลุ่มกันตั้งองค์กร ขึ้นมา คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations-ASEAN) ซึ่งได้ตั้งขึ้นตาม “ ปฏิญญาอาเซียน ” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ สมาชิกแรกเริ่มมี ๕ ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เเละต่อมาได้มีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก- เฉียงใต้เข้าเป็นสมาชิก คือ บรูไน (พ.ศ. ๒๕๒๗) เวียดนาม (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลาว (พ.ศ. ๒๕๔๐) เมียนมา (พ.ศ. ๒๕๔๐) เเละกัมพูชา (พ.ศ. ๒๕๔๒) รวมเป็น ๑๐ ประเทศ ส่วนประเทศที่ยังไม่ได้เข้าร่วมในอาเซียน คือ ติมอร์-เลสเต วัตถุประสงค์หลักของอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเเละ ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี เเละการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพเเละความมั่นคงของภูมิภาค ส�านักเลขาธิการอาเซียนอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เลขาธิการอาเซียน คนปัจจุบัน คือ นายดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ๊อก ฮอย จากประเทศบรูไน มีวาระการด�ารง ต�าเเหน่ง ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕) พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ประกาศใช้ กฎบัตรอาเซียน เพื่อการรวม เป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ธงประจ�าชาติของประเทศ สมาชิกอาเซียน 48


Author

หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ป.6 พว

Top Search