ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก

หลักการของ Roberta Duvall ทำให้คุณครูหันเหความสนใจไปที่การทำเครื่องหมายที่มีสีและทำเครื่องหมายภายใต้คอลัมน์ที่มีป้ายกำกับว่า “ชื่อ/ใบหน้า” “บางสิ่งที่เป็นเรื่องส่วนตัว” “ เรื่องส่วนตัว/เรื่องราวครอบครัว” “ชื่อเสียงทางวิชาการ” เพื่อทราบว่าพวกเขารู้จักเด็กเพียงแค่ชื่อหรือรู้มากกว่านั้น

“หลักการนี้เป็นรากฐานของโรงเรียนมัธยมของเรา”

Roberta Duvall แสดงถึงการวิจัยได้ว่า นักเรียนคนที่ไม่มีความสัมพันธ์ผูกติดเชื่อมต่อกับโรงเรียน อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางพฤติกรรม การลาออก และแม้แต่การฆ่าตัวตาย

กิจกรรมนี้ผลักดันให้คุณครู มองข้ามบทเรียนของพวกเขาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า พวกเขารู้จักนักเรียนของเขาดีแค่ไหนผลักดันให้พวกเขาสร้างการเชื่อมต่อสัมพันธ์แบบจริงที่สามารถสร้างความแตกต่างในอนาคตของเด็กได้

“สองเหตุผลใหญ่ๆที่นักเรียนออกจากโรงเรียน’’

คือ พวกเขาไม่มีความสัมพันธ์กับครูกับผู้ใหญ่ในโรงเรียน และไม่มีใครรู้จักชื่อของพวกเขาหรือไม่รู้ว่าจะออกเสียงชื่อว่าอย่างไร”

กิจกรรมนี้ไม่ใช่แค่ทำให้เกิดความรู้สึกดีเรารู้ผ่านการวิจัยว่าความสัมพันธ์และการเชื่อมต่อถึงกันจะทำให้เด็กๆใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนมากขึ้น

แรงบันดาลใจจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ทักษะทางอารมณ์และสังคม เช่น ความขยันหมั่นเพียรและความเอาใจใส่ สามารถปรับปรุงความสำเร็จด้านการศึกษา และความสำเร็จของนักเรียนโดยรวม 

ความเติบโตของห้องเรียน

นักเรียนเข้าเรียนมากขึ้นและประสบความสำเร็จในชั้นเรียนมากขึ้นโดยเฉพาะนักเรียนที่เคยมีปัญหาในโรงเรียนหรือมาจากสถานการณ์ที่มีปัญหาจากที่บ้าน

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งโรงเรียนและพัฒนาไปมากกว่าการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน เจ้าหน้าที่ธุรการ พนักงานโรงอาหาร ผู้ปกครองและอาสาสมัครก็มีส่วนร่วมมากขึ้นและมีความเชื่อมโยงติดต่อกับนักเรียนเช่นกัน

สำหรับครูผู้สอน การเชื่อมต่อสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งที่พวกเขากำลังสร้างขึ้นกับนักเรียนก็มีมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น

Donna Selyn หรือที่รู้จักกันใน Cold Springs ในชื่อ "Grandma Donna" แต่เดิมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือครูและเจ้าหน้าที่สำนักงานในระหว่างวันที่โรงเรียน แต่ตอนนี้งานของเธอเกี่ยวข้องกับนักเรียนมาก บ่อยครั้งในช่วงอาหารเช้าและอาหารกลางวันเราสามารถพบคุณยายดอนน่าได้ในโรงอาหาร เธอช่วยสอนให้เด็ก ๆ ทำการบ้าน ยติการทะเลาะเบาะแว้ง และการมอบกอดให้แก่เด็กๆ

และสี่วันต่อสัปดาห์ทีมผู้นำเรียนของโรงเรียน กลุ่มนักเรียนเกรดแปด (ม.2) จำนวน 30 คนจะจัดเกมสำหรับนักเรียนที่อายุน้อยกว่า ‘’เพื่อทำความรู้จักพวกเขาเป็นรายบุคคลและช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ทักษะ SEL ‘’เช่น ความร่วมมือและการสื่อสาร นักเรียนเกรดแปดและ Moises Aguilar สมาชิกทีมผู้นำกล่าวว่าเขารู้สึกมีความรับผิดชอบในการเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นสมาชิกของทีม

โจทย์การบ้านวันนี้ : ให้นักเรียนเขียนถึงความรู้สึกของการเรียนออนไลน์ในครึ่งเทอมนี้ มีอะไรอยากระบาย อยากบอกเล่าให้ครูฟัง พิมพ์มาได้เต็มที่เลย

นี่เป็นโจทย์การบ้านจริงของเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่คุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบให้พวกเขาได้รับบทผู้พูด ระบายความในใจจากการเรียนออนไลน์เต็มระบบมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเทอม ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกพรากช่วงชีวิตในวัยเรียนและความทรงจำที่มีค่าไป เด็กไทยต้องปรับตัวเรียนออนไลน์ทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ทั้งสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียน และที่น่าเสียดายคือพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เจอคุณครู ไม่มีโอกาสเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนักเรียนบางคนที่ย้ายโรงเรียนหรือขึ้นระดับชั้นใหม่ อาจจะไม่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนร่วมห้องตัวเป็นๆ ด้วยซ้ำ
นี่คือคำตอบของเด็กที่มีตัวตนจริงๆ ซึ่งล้วนระบายความรู้สึกออกมาจากใจ จนทำให้เราคิดถึงวัยเด็กอีกครั้ง ถ้าฟังเสียงของพวกเขาจบแล้ว เราอยากชวนให้ทุกคนกลับมาฟังเสียงของลูกหลานในบ้าน และหันกลับไปถามความรู้สึกของพวกเขากันว่าวันนี้ “หนูเหนื่อยไหม?”

ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
หนูเรียนออนไลน์จนตาจะพังแล้ว


เราล้วนโตมากับคำเตือนของผู้ใหญ่ว่า อย่าจ้องหน้าจอคอมและโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้สายตาเสีย หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์นานเกิน 2 ชั่วโมง 

ทว่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเด็กต้องอยู่หน้าจอคอมเพื่อเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ​ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตาล้า (Digital eye strain) ปวดตา ตาแห้ง แสบตา หรือบางคนอาจจะถึงขั้นปวดศีรษะร่วมด้วย และคำว่าเรียนออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะนั่นหมายถึงการมีอุปกรณ์การเรียนที่มากกว่าสมุดและปากกา คือคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โต๊ะ และเก้าอี้ในการเรียนของเด็ก บ้านที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ เด็กก็ต้องใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งไม่เอื้ออำนวยเอาเสียเลย และในท้ายที่สุดโรคออฟฟิศซินโดรมอาจจะกลายเป็นโรคที่เด็กรุ่นนี้ได้เผชิญไวกว่ากำหนด จากการนั่งหลังขดหลังแข็งเรียนออนไลน์

ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
หนูอยากไปโรงเรียน เจอคนที่ชอบ อยากใช้ชีวิตวัย 15 ปี


คำว่า ‘การใช้ชีวิต’ อาจดูเป็นคำยิ่งใหญ่ที่พวกเราอาจจะไม่เคยคิดถึงมันมาก่อนเมื่อวัยมัธยมฯ แต่คำตอบของตังค์ชวนให้เราฉุกคิดและย้อนความทรงจำ ความรู้สึก กลับไปสมัยมัธยมฯ ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่เราเริ่มรู้จักโลกและรู้จักตัวเอง เริ่มมีเพื่อนสนิทกลุ่มแรก เริ่มรู้จักสิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่าความรัก ยังจำความรู้สึกตื่นเต้น หน้าแดง กระวนกระวายเหมือนผีเสื้อบินวนในท้องเวลาเดินผ่านคนที่ชอบได้อยู่ไหม?

ช่วงเวลานั้นความสุขเล็กๆ ในแต่ละวันอาจเป็นเพียงการเดินผ่านห้องเรียนของคนที่เราแอบชอบ เพื่อเหลือบมองเขา เพียงเท่านี้ก็มอบความอิ่มเอมใจ และสร้างกำลังใจให้ใครหลายคนอยากไปโรงเรียนในทุกๆ วัน ทั้งหมดเป็นการเรียนรู้นอกตำราแบบหนึ่ง แต่การเรียนออนไลน์กำลังพรากเหตุการณ์ที่เล่ามาทั้งหมดไป กำลังพรากรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความทรงจำระหว่างเพื่อนสนิท พรากโอกาสที่จะตกหลุมรัก และกำลังพรากการใช้ชีวิตวัยรุ่นของพวกเขา

ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
หนูเหนื่อยทั้งกายและใจเมื่อที่บ้านไม่เข้าใจการเรียนออนไลน์ 


การเรียนออนไลน์ของเด็ก นอกจากเด็กต้องปรับตัวแล้ว อีกหนึ่งคนที่ควรจะปรับตัวและเรียนรู้คนต่อมาก็คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ร่วมบ้านที่ต้องคอยให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเด็ก เพราะเด็กคงต้องเหนื่อยเป็น 2 เท่าหากเรียนออนไลน์แล้วที่บ้านไม่เข้าใจ น้องมายด์เขียนระบายความในใจที่เด็กหลายคนต้องเผชิญ อย่างการที่พ่อแม่ไม่เข้าใจรูปแบบการเรียนออนไลน์ 

ผู้ใหญ่หลายคนมักคิดว่าทุกครั้งที่ลูกหลานเปิดคอมพิวเตอร์และนั่งอยู่หน้าจอนานๆ เท่ากับการเล่นเกมหรือแชตกับเพื่อน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วนอกจากจะต้องเรียนออนไลน์ ทำการบ้าน หรือการหาข้อมูลต่างๆ ก็ล้วนต้องทำออนไลน์เช่นกัน ทำให้เด็กต้องอยู่หน้าจอตลอดทั้งวัน

เราเชื่อว่า สถานการณ์ตอนนี้เด็กไทยยังต้องเรียนออนไลน์กันอีกยาวๆ ก่อนที่ผู้ปกครองจะว่ากล่าว ลองเปลี่ยนเป็นถามก่อนไหมว่า ตอนนี้เรียนวิชาอะไรอยู่ หรือมีการบ้านกี่วิชา จะได้รู้ว่าทำไมเขาต้องอยู่หน้าคอมทั้งวัน คำถามที่ไร้ซึ่งความเห็นใจจากผู้ใหญ่ อาจทำให้เด็กคนหนึ่งเครียด อึดอัด และลำบากใจ จนทำให้บ้านไม่ใช่ Comfort zone ที่พวกเขาสบายใจ และมีระยะห่างกับคนในครอบครัว

ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
การบ้านหนูต้องไม่ขาด งานบ้านหนูต้องไม่พร่อง


และเด็กๆ คงจะยิ่งเหนื่อยเป็น 2 เท่าถ้าต้องทำทั้งการบ้านออนไลน์และงานบ้านไปพร้อมๆ กัน เมื่อผู้ใหญ่ยังคงไม่เข้าใจการเรียนออนไลน์ เด็กหลายคนเจอปัญหา ‘อยู่บ้าน = ว่าง’ พ่อแม่ใช้กวาดบ้าน ถูบ้าน หยิบข้าวหยิบของระหว่างการเรียนหนังสือตลอด จนพ่อแม่กลายเป็นอุปสรรคที่รบกวนการเรียนมากกว่าเพื่อนที่เคยนั่งข้างๆ กันไปเสียแล้ว 

ผู้ใหญ่ทุกคนล้วนเคยผ่านช่วงเวลาการเป็นเด็ก และเชื่อว่ายังคงจำความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการเรียนวันละ 6 – 8 ชั่วโมงได้ว่ามันเหนื่อยแค่ไหน (และบางครั้งเรายังแอบหลับหลังห้องได้) แต่เมื่อเด็กต้องเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์ ทำให้จากเดิมที่เนื้อหาเข้าใจยากอยู่แล้ว จึงยิ่งต้องใช้สมาธิในการโฟกัสมากขึ้นอีก 

เป็นที่มาของการที่เด็กยุคนี้กำลังตั้งคำถามว่า พวกเขาควรไปต่อหรือพอแค่นี้ดีกว่า? ดร็อปเรียนก่อน ไว้รอสถานการณ์ดีขึ้นแล้วค่อยกลับไปเรียนในห้องเรียนดีไหม จบช้าแต่ได้ความรู้อาจจะไม่เป็นไร เพราะเรียนทั้งๆ ที่ไม่เข้าใจก็ไม่ได้อะไรเลยเหมือนกันถ้าไม่อยากเห็นเด็กเครียดหรืออยากดร็อปเรียน ผู้ปกครองอาจจะต้องเห็นใจและเข้าใจเด็กที่กำลังเจอปัญหาแบบน้องแสตมป์หน่อยนะ 

ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
หนูเหนื่อยกับการจัดการของรัฐ ที่ทำให้ไปโรงเรียนไม่ได้สักที


ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ที่โหยหาชีวิตปกติ เด็กมัธยมฯ เองก็เหมือนกัน พวกเขาตระหนักรู้ถึงปัญหาความล่าช้าในการจัดการของภาครัฐไม่น้อยไปกว่าคนที่ (เคลมว่า) อาบน้ำร้อนมาก่อนถึงแม้ว่ารัฐจะเคยออกนโยบายเพื่อเอื้ออำนวยให้เด็กๆ กลับมาเรียนในระบบได้ใกล้เคียงแบบเดิมมากที่สุด เช่นการสลับชั้นมาเรียนวันคู่วันคี่ที่โรงเรียน ซึ่งเคยเป็นความหวังเล็กๆ แต่ทั้งหมดก็ต้องพังทลายเมื่อการระบาดของโควิด-19 กลับมาอีกครั้ง และมียอดผู้ติดเชื้อสูงถึงหลักหมื่นคนต่อวัน ทำให้ทุกโรงเรียนต้องกลับไปเรียนออนไลน์เต็มระบบ และงดกิจกรรมทุกรูปแบบ

ท่ามกลางข่าวดีของทั่วโลก ที่นานาประเทศเริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันปกติ คลายล็อกดาวน์ ประชาชนในประเทศอิสราเอล สวีเดน สหรัฐอเมริกา ถอดหน้ากากใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้แล้ว หรือแม้กระทั่งจัดคอนเสิร์ตจุคนเป็นพันโดยไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม แต่เด็กไทยต้องมาพบสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่ไปไหน ยังคงถกเถียงกันเรื่องจะให้เด็กนักเรียนทั่วประเทศหยุดเรียน 1 ปีดีไหม เหตุเพราะการเรียนออนไลน์ไร้ประสิทธิภาพ 

รวมถึงการจัดการเยียวยาที่ยากลำบาก เช่น มาตรการเงินเยียวยา 2,000 บาทให้เด็กนักเรียน ใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าไฟฟ้า แต่ขั้นตอนกลับยุ่งยาก ต้องใช้ทั้งบัตรประชาชนนักเรียนและผู้ปกครอง หน้าสมุดบัญชีธนาคาร จนกลายเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งคำถามต่อภาครัฐว่า ทำงานเร็วกว่านี้ได้มั้ย?

ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
หนูอยากเรียน แต่การเรียนออนไลน์ทำให้หนูหมดไฟ


ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่กำลังหมดไฟในการทำงานที่บ้าน เด็กเองก็กำลังหมดแพสชันในการเรียนออนไลน์เช่นกัน สำหรับเรา คำตอบของน้องลูกหยีที่ดูเหมือนการระบายสิ่งที่อยู่ในใจและให้กำลังใจตัวเองไปพร้อมกัน เป็นประโยคที่ทั้งน่าเศร้าและน่าเห็นใจ

ข้อความนี้ทำให้เราเห็นว่า การเรียนออนไลน์ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะไม่มีทางที่ผู้สอนทุกคนจะสอนออนไลน์ได้สนุกหรือน่าสนใจได้เท่าในห้องเรียน ทำให้เด็กที่เคยเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นในการเรียนค่อยๆ หมดไฟ ด้วยอุปสรรคของการเรียนออนไลน์ ที่บางครั้งทำให้เด็กหลายคนตามไม่ทันเนื้อหา แต่ไม่กล้าแม้แต่จะเปิดไมค์เพื่อสอบถาม และปัญหาสำคัญคือสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เพราะบ้านอาจไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะกับการเรียนหนังสือของเด็กแต่ละคน 

บ้านบางคนอาจเต็มไปด้วยสิ่งเร้าที่รบกวนการเรียน จนเรียนได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เด็กที่เคยเรียนดี กระตือรือร้นในการเรียน เปลี่ยนมาตั้งเป้าเพียงแค่สอบผ่านก็พอ เพราะแค่เอาชีวิตและสุขภาพจิตให้รอดก็เหนื่อยมากแล้วสำหรับเด็กยุคนี้

ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
ให้ นักเรียน เขียน ความ รู้สึก
หนูโดนขโมยเวลาและความสุข


การเรียนออนไลน์นอกจากสร้างความเหนื่อยล้าสะสม ยังทำให้เด็กเบื่อหน่าย ขาดจินตนาการ และขาดโอกาสในการทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะชีวิต 50% คือการเรียนออนไลน์ และอีก 50% ที่เหลือคือการทำการบ้าน ทำให้แทบไม่มีเวลาพักผ่อนหรือแบ่งให้กิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างความสุขในชีวิตได้เลย เพราะตื่นมาก็ต้องอยู่หน้าคอมและอยู่อย่างนั้นทั้งวัน แทบจะไม่ได้เปลี่ยนบรรยากาศ

ต่างจากการไปโรงเรียน ที่ที่เรายังมีโอกาสได้พักสายตา ได้เตรียมตัวก่อนเข้าห้อง แวะซื้อขนมก่อนเข้าเรียน ช่วงเบรกยังมีสนามหญ้าให้วิ่งเล่นออกกำลังกายกับเพื่อนๆ มีห้องสมุดไว้ขลุกตัวอ่านหนังสือ มีห้องซ้อมดนตรีที่เคยเต็มไปด้วยเสียงเพลง และมีห้องชมรมต่างๆ ให้พวกเขาได้ค้นหาตัวเองจากสิ่งที่สนใจในช่วงวัยรุ่น

ตอนนี้พื้นที่กิจกรรมเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยการเรียนออนไลน์ งานอดิเรก ความชอบ และเวลาของพวกเขาถูกแทนที่ด้วยการบ้านมหาศาล ที่ใช้เป็นคะแนนเก็บและวัดระดับความเข้าใจในห้องเรียนออนไลน์รูปแบบใหม่ ซึ่งครูหลายคนไม่เคยคิดเผื่อเลยว่ามันจะเยอะเกินไปสำหรับพวกเขาหรือเปล่า?

ที่เราหยิบยกมาเป็นเพียงเสียงของเด็กส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีเด็กไทยอีกมากที่กำลังเหนื่อยล้าเพราะการเรียนออนไลน์ โดยที่ไม่มีใครเงี่ยหูรับฟังเสียงเล็กๆ ของพวกเขา 

หากคุณเป็นคุณครูหรือทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา เราอยากให้ลองหันมาถามความเห็นจากเด็กๆ ดูว่า การเรียนออนไลน์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? เข้าใจเนื้อหาที่เรียนไหม? การบ้านที่ให้ไปเหมาะสมหรือเปล่า? ที่สำคัญ พ่อแม่เองก็ต้องช่วยสนับสนุนเด็กๆ ได้ด้วยการดูแลสภาพชีวิตและจิตใจอย่างเข้าใจ ลองใช้คำถามง่ายๆ อย่าง ‘หนูเหนื่อยไหม? มีอะไรอยากให้ช่วยหรือเปล่า?’ เพื่อให้บ้านคือที่พึ่งอย่างแท้จริง ไม่ให้รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้งให้ต้องต่อสู้กับสถานการณ์นี้โดยลำพัง 

เพราะ “เด็กคืออนาคตของชาติ” ไม่ใช่แค่ประโยคสวยหรูฉลองวันเด็ก แล้วหมดวันหมดหน้าที่ แต่เป็น ‘ข้อเท็จจริง’ ที่ผู้ใหญ่ในวันนี้ควรต้องตระหนักให้มาก ก็โลกที่ ‘คุณ’ และ ‘เรา’ จะมีชีวิตอยู่ จะอยู่ในมือของพวกเขาในวันหนึ่งนี่นา…