Organization Development คือ

1.OD หรือ Organization Development คือกระบวนการของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างมีแผนการ (Planned Change) และต้องใช้เวลาระยะยาว (Long-Range effort)

2.เป็นการมุ่งมองทุกๆ ส่วนขององค์กร ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสม (Organization-Wide)

3.ได้รับการสนับสนุนและขับเคลื่อนจากผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)

4.มุ่งให้องค์กรมีประสิทธิผลในการทำงาน (Effectiveness) และมีสุขภาวะองค์กรที่ดี (Healthy)

5.มีการเข้าดำเนินการอย่างมีแผนการ (Planned interventions)

6.ใช้องค์ความรู้แบบสหวิทยาการ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (Interdisciplinary)

วิธีการทำ Organization Development มีอยู่หลายแนวทางองค์กรอาจเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งหรือหลายแนวทางเพื่อทำ OD ได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวได่แก่

1.Negative OD — Problem-based
– Action Research
– Diagnosis Problem identification
– Root cause analysis

Approach นี้เป็น OD แบบ Hard-side มุ่งใช้เครื่องมืออย่างเป็นระบบเป็นวิทยาศาสตร์ แก้ไขปัญหาและพัฒนาเฉพาะเรื่อง มีข้อมูลสนับสนุนมากมาย OD ในประภาทนี้เช่น QC, Kaizen, Lean, Six Sigma เป็นต้น

2.Contextual OD — Situation-based
– Scenario planning
– Environmental scanning
– SWOT analysis
– Strategic fit

Approach นี้เป็น OD แบบ Hard-side ที่ต้องอาศัยการมองแบบยุทธศาสตร์มี Strategics Thinking หรือแนวคิดเชิงกลยุทธ์ มองเห็นโอกาส มองเห็นอนาคต แล้วมาคิดเรื่องการปรับปรุงองค์กร แนวทางนี้คนทำต้องเป็นมนุษย์ตัว T คือคิดกว้าง เข้าใจลึก

3.Best Practice — Model-based
– Benchmarking
– Baldrige Excellence Framework TQA PMQA SEPA
– The Best Company, The Most Innovation, TIM

Approach นี้เป็น OD แบบ Hard-side ที่เน้นการหยิบตัวแบบใดตัวแบบหนึ่ง (Framework) ที่เหมาะสมมาพัฒนาองค์กร ใช้ผลการเปรียบเทียบ (Benchmarking) เน้นการวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุงการพัฒนาองค์กรอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามระดับการพัฒนา

4.Positive OD — Strength-based
– Appreciative Inquiry (AI)
– Positive core analysis

Approach นี้เป็น OD แบบ Soft-side มองจากจุดแข็งภายในองค์กร หรือคนในองค์กร ค้นหาสิงที่ดีๆ ผ่านกิจกรรมต่างๆ แปลงจากสิ่งที่แข็งให้ดูอ่อนลงเพื่อเข้าถึงจิตใจ ผ่าน Model 4D Discovery Dream Design Delivery ในหลายองค์กรเรียกการทำ กิจกรรม Team building ว่าเป็นกิจกรรม OD ก็คือความหมายของการทำ OD ในเชิง Soft-side นั่นเอง

มุ่งสู่ยอดเขา (เป้าหมายของธุรกิจ) โดย “คน” ที่มีความสามารถและพฤติกรรมในการทำงานหลาประเภท ทั้ง ยอดมนุษย์พนักงาน มนุษย์เจ้าปัญหา มนุษย์กินแรง จอมยุทธ์ฉุดรั้ง และการทำงานที่ไม่เป็นระบบ ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน 


แตกต่างจากเกวียน Working & Co. Inc. ที่ “คน” มุ่งมั่นและออกแรงสุดความสามารถด้วยความพร้อมเพรียงสามารถวิ่งแซง Struggle & Co. Inc ทั้งๆ ออกตัวทีหลัง

นับว่าโชคดีของ Struggle & Co. Inc ที่ผู้นำยอดมนุษย์หยุดคิด พินิจ วินิจฉัยประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรค  และปรับกระบวนการทำงานภายใน จัดวางกำลังคนทำงานใหม่ตามสามารถของคน  และ (No) Struggle & Co.Inc. เร่งเครื่องนำพาเกวียนสู่เป้าหมายได้


การพัฒนาองค์การ (OD: Organization Development) คือกระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จในด้านผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนบุคลากรในองค์การเกิดความเข้าใจ และต้องการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง จนทำให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นวัฒนธรรมองค์การในเวลาต่อมา โดยทั่วไปมักจะหมายถึงภาพรวมทั้งองค์การและมุ่งเน้นให้ความสำคัญในด้าน

§พฤติกรรมองค์การด้านพฤติกรรมศาสตร์ (OB:Organization Behavior) 

§กลยุทธ์(Strategies) โครงสร้าง(Structure) กระบวนการ (Process)


กระบวนการพัฒนาองค์การ  (OD Process)

Organization Development คือ


1.  Problem Identification: ระบุปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมาย

2.  Collection of Data: รวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหาจากการสัมภาษณ์ สอบถาม หรือ สังเกต

3. Diagnosis: การวินิจฉัย: วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับทัศนคติสมมติฐานทรัพยากรที่มีอยู่ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยองค์การที่นิยม เช่น  SWOT Analysis,  PEST Analysis, 7’s Model, Five-Force Model, 9 Cells, SHINDAN, Head Hand Heart, Nadler and Tushman Congruence Model, Heart, Six Box Model เป็นต้น 

4. Planning & Implementation: การวางแผน กำหนดกิจกรรมต่างๆ และการดำเนินกิจกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

5. Evaluation Feedback: ประเมินผล ตรวจสอบว่ากิจกรรมต่างๆ ได้นำไปสู่การปฏิบัติตามเจตนารมณ์แล้วหรือไม่ และผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การมากน้อยเพียงใด และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามที่คาดหวังจะต้องมีการจัดการให้เกิดความคงทน ไม่กลับไปสู่สภาวะเดิมภายในระยะเวลาอันสั้น 


.*.* สภาวะในปัจจุบัน องค์การ(บริษัท) ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงและความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก ทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี วงจรชีวิตของสินค้า ความต้องการของผู้บริโภค องค์การจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมด้วยการพัฒนาสมรรถนะขององค์การ (Organizational Competency) เพื่อสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้องค์ความรู้ที่องค์การมีอยู่เพื่อสร้างสินค้าหรือบริการที่มีคุณสมบัติสูงกว่าเดิมหรือมีต้นทุนที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

.*.การที่องค์การสามารถสร้างนวัตกรรมออกมาได้นั้น "คน" ที่มีศักยภาพที่ดีเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะการดำเนินงานขององค์การต้องอาศัย "คน" แทบทั้งสิ้น ตั้งแต่ การจัดวางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน การตัดสินใจ การวิจัยและพัฒนา กระบวนการผลิต การจัดจำหน่ายไปจนถึงการให้บริการลูกค้าหลังการขาย หาก "คน" ในแต่ละส่วนมีความสามารถในการทำงานที่ดี ก็จะส่งผลให้ความสามารถขององค์การ (Organization Capabilities) ในการดำเนินงานขององค์การสูงขึ้นไปด้วย ซึ่ง ISO9001:2015 ให้ความสำคัญในเรื่องนี้และเพิ่มข้อกำหนดในข้อ 7.16 และ 7.2 และกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 17 ตุลาคม 2559 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 กันยายน 2561

ครูพี่ตุ้ม 13-01-2561
อ้างอิง:  
★ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/0311/08%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882.pdf

★ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ราชกิจจานุเบกษา ISO9001:2015 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/299/9.PDF 


 ゚      '゚・..:* *.:*'゚・..:* *.:*¨ ..:* *.:*¨ ..:*

#OD #Organization Development #Organizational Efficiency #การพัฒนาองค์การ #ความสามารถขององค์การ #สมรรถนะขององค์การ #ISO9001: 2015

การพัฒนาองค์การมีอะไรบ้าง

สรุปได้ว่า ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ มีขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างความตระหนักและยอมรับปัญหา 2) การตรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ และวิเคราะห์ปัญหา 3) การวางแผนเพื่อก าหนดเป้าหมายและวิธี การในการแก้ปัญหา 4) การสร้างกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์การ 5) การลงมือปฏิบัติโดยสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนา องค์การ 6) การน าเทคนิคการพัฒนาองค์การมาใช้แก้ ...

ข้อใดคือการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์กรคือ การนำกิจกรรมเข้ามาสอดแทรกในองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรม และการปฏิบัติงานของพนักงานหรือยกระดับองค์กรอย่างสร้างสรรค์และให้เกิดประสิทธิผล โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าของพนักงานและความก้าวหน้าขององค์กรควบคู่กันไป เทคนิคในการพัฒนาองค์กรโดยการใช้กิจกรรมสอดแทรกต่าง ๆ (OD Interventions) เช่น การสอน ...

HROD ทำอะไรบ้าง

ตอบ HROD (Human Resource and Organization Development) ในความหมาย ตามเกณฑ์ประเมินผล SE-AM หมายถึง การพัฒนาองค์กรโดยใช้เครื่องมือด้านทรัพยากรมนุษย์งาน HROD จะเน้นเรื่องของการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพงาน (Quality improvement) ของแต่ละ สายงานในองค์กรโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน HR โดยการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงาน

การพัฒนาองค์การเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบใด

การพัฒนาองค์การเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้นำการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งทำหน้าที่สำรวจวินิจฉัยปัญหาขององค์การ วางแผนการเปลี่ยนแปลง และติด ตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นบุคคลที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ที่มีอำนาจอิทธิพลในตีความ ...