ตัวอย่าง คำให้การในชั้นสอบสวน

คําให้การสอบสวนเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้ ถือเป็นเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

Show
  • คดีอาญา
คําให้การสอบสวนเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้ ถือเป็นเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

January 23, 2019

4049

ตัวอย่าง คำให้การในชั้นสอบสวน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

คําให้การสอบสวนเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้ ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๔/๑ วรรคหนึ่ง จะทําให้ คําให้การในชั้นสอบสวนในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเสียไปด้วยหรือไม่

คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๘๐/๒๕๖๐ 

จําเลยฎีกาอ้างว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ นำคําให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของ จําเลยมาฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมแล้วฟังลงโทษจําเลยไม่ชอบ เพราะก่อนถามคําให้การจําเลยเพิ่มเติมพนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหาทนายความให้จําเลย หรือคําให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจ้าเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจรับฟังเป็นพยาน หลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจําเลยนั้น

เห็นว่า แม้คําให้การในชั้นสอบสวนเพิ่มเติมของจําเลย พนักงานสอบสวนไม่ได้จัดหา ทนายความให้จําเลยเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๔๑ วรรคหนึ่ง แต่ก็ไม่ทําให้คําให้การในชั้นสอบสวนของจําเลยในครั้งแรกที่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วนั้นเสียไปด้วยแต่อย่างใด, พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมประกอบกันมีน้ําหนัก มั่นคง รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจําเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จําเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า ผู้อื่น

ในคดีอาญานั้นการ ” ให้การชั้นสอบสวน “ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้กับพนักงานสอบสวนในครั้งแรก  เมื่อถูกจับกุม หรือให้ปากคำครั้งแรก เป็นสิ่งสำคัญมาก

เพราะคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อรูปคดีในชั้นพิจารณาทั้งคดี และยังมีผลอย่างมากต่อการวางแนวต่อสู้คดีของทนายความจำเลยในชั้นศาล

เนื่องจากศาลมักจะเชื่อคำให้การในชั้นสอบสวนในครั้งแรก ที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยให้ไว้กับพนักงานสอบสวน มากกว่าคำเบิกความในชั้นศาล

เพราะการเบิกความในชั้นศาลมักจะเป็นการเบิกความหลังเกิดเหตุเป็นเวลานาน ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีเวลาในการปรับแต่งและบิดเบือนคำให้การของตัวเองได้

คำให้การชั้นศาลจึงไม่น่าเชื่อถือเท่ากับการให้การชั้นสอบสวนครั้งแรก ที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ให้ไว้กับพนักงานสอบสวนในเวลาใกล้เคียงกับเวลาเกิดเหตุ เพราะจำเลยยังไม่มีโอกาสคิดตกแต่งเรื่องราวหรือบิดเบือนความจริงได้

ดังนั้น การวางแนวทางต่อสู้คดีของทนายความ ควรจะต้องสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหา หากทนายความวางแนวทางต่อสู้คดีแตกต่างจากคำให้การชั้นสอบสวนในสาระสำคัญ ย่อมทำให้รูปคดีของจำเลยไม่น่าเชื่อถือ

ตัวอย่างเช่น ในคดีพยายามฆ่า จำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย แต่ไม่ได้ลงมือกระทำผิด เช่นนี้ในชั้นศาล ทนายความย่อมไม่อาจตั้งรูปคดีทำนองว่า จำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุได้ เพราะจะขัดกับคำให้การชั้นศาลในสาระสำคัญ

ดังนั้นการให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งตัวผู้ต้องหาและทนายความเอง จะต้องวางแผนให้ดีก่อนให้การ   

การให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหา อาจแบ่งได้เป็นสองแบบกว้างๆ คือ

แบบแรก คือ ให้การชั้นสอบสวน แบบ “ปฏิเสธลอย”

การให้การลักษณะนี้ ผู้ต้องหาจะให้การเพียงว่าตนเองไม่ได้กระทำผิดเท่านั้น แต่จะไม่ให้การถึงรายละเอียดในการปฏิเสธ ตัวอย่างเช่น

ในคดีฆ่า จำเลยจะให้การเพียงว่า ตนเองไม่ได้กระทำผิด แต่จะไม่ให้การว่า วันเกิดเหตุตนเองอยู่ในที่เกิดเหตุหรือไม่ ตนเองมีสาเหตุโกรธเคืองอะไรกับผู้ตายหรือไม่ อาวุธปืนที่ก่อเหตุเป็นของตนเองหรือไม่ วันเกิดเหตุจำเลยพักอาศัยเหตุอยู่ที่ไหน 

คดีรับของโจร จำเลยจะให้การปฏิเสธเพียงว่า ตนเองไม่ได้กระทำผิด แต่จะไม่ให้การว่า ตนเองซื้อทรัพย์ของกลางจากใคร ซื้อมาในราคาเท่าไหร่ ทำไมจึงตัดสินใจรับซื้อ รู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ได้มาจากกระทำผิด 

ในคดีหมิ่นประมาท จำเลยจะให้การปฏิเสธเพียงว่าตนเองไม่ได้กระทำความผิด แต่จะไม่ให้การว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นธรรม จึงไม่เป็นความเป็นผิด 

โดยการให้การปฏิเสธลอยแบบนี้มักจะทิ้งท้ายด้วยการใช้คำทำนองว่า “รายละเอียดผู้ต้องหาจะไปให้การในชั้นศาล”

แบบที่สอง คือ ให้การชั้นสอบสวน แบบ “ให้รายละเอียดครบถ้วน”

การให้การลักษณะนี้ ผู้ต้องหา จะให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด พร้อมกับให้รายละเอียดในการปฏิเสธไปพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น

ในคดีฆ่า จำเลยจะให้การว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิด วันเกิดเหตุจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ได้ลงมือกระทำผิด หรืออาจให้การว่า จำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุเลย วันเกิดเหตุจำเลยพักอาศัยอยู่ที่อื่น หรือให้การว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นเหตุบันดาลโทสะ 

ในคดีรับของโจร จำเลยจะให้การว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิด โดยจำเลยไม่มีเจตนา เนื่องจากจำเลยรับซื้อของกลางมาในราคาท้องตลาด จำเลยไม่ได้รับซื้อในราคาต่ำเกินสมควร สภาพของกลางไม่มีตำหนิหรือพิรุธใดๆ ให้จำเลยรับรู้ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด

ในคดีหมิ่นประมาท จำเลยให้การว่าตนเองไม่ได้กระทำผิด เนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิของตนเองโดยชอบหรือเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นธรรม 

โดยการให้การแบบละเอียดนี้ ควรจะต้องส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กับพนักงานสอบสวนไปด้วย พร้อมทั้งขอให้พนักงานสอบสวน สอบสวนพยานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  

ข้อดีและข้อเสียของการให้การชั้นสอบสวน ในแต่ละแบบ 

ข้อดี – ข้อเสีย ให้การชั้นสอบสวน “แบบปฏิเสธลอย”

ข้อดี  – ทำให้ทนายความสามารถตั้งรูปคดีได้กว้างขวาง ไม่ถูกผูกมัดอยู่กับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยในครั้งแรก  ตัวอย่างเช่น คดีฆ่า ถ้าจำเลยให้การปฏิเสธลอยไว้ ในชั้นศาลทนายความจำเลยอาจจะดูรูปคดีและพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ก่อน

แล้วจึงค่อยตั้งรูปต่อสู้คดีว่า จะสู้คดีโดยอ้างฐานที่อยู่ หรือโดยอ้างว่าไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิด หรืออ้างว่าเป็นเหตุบันดาลโทสะหรือป้องกันตัว ทนายความจำเลยก็สามารถตั้งรูปสู้คดีได้อย่างกว้างขวางไม่ถูกผูกมัดกับคำให้การชั้นสอบสวนครั้งแรก 

ข้อเสีย – ก็คือ จะทำให้คำให้การในชั้นพิจารณาของจำเลย มีน้ำหนักลดลง เพราะศาลจะมองเป็นข้อตำหนิว่า หากเรื่องราวเป็นอย่างที่จำเลยให้การในชั้นพิจารณาจริง ทำไมจำเลยถึงไม่ให้การถึงรายละเอียดดังกล่าว ตั้งแต่แรกในชั้นสอบสวน

ตัวอย่างเช่น คดีฆ่า จำเลยให้การในชั้นศาลว่าวันเกิดเหตุพักอยู่ที่บ้าน แต่ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนสอบถามจำเลยแล้วว่า วันเกิดเหตุอยู่ที่ไหน จำเลยไม่ยอมให้การถึงรายละเอียด เช่นนี้ ศาลก็จะมาเป็นตำหนิถึงความน่าเชื่อในคำให้การของจำเลย ว่าไม่ยอมให้รายละเอียดตั้งแต่แรก 

นอกจากนี้ การให้การปฏิเสธลอย แทบไม่มีโอกาสเลยที่พนักงานสอบสวนหรืออัยการ จะสั่งไม่ฟ้องคดีผู้ต้องหา ในชั้นสอบสวน เพราะทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการ ไม่มีข้อมูลประกอบการในการทำความเห็นสั่งไม่ฟ้องจากฝั่งผู้ต้องหา

ข้อดี – ข้อเสีย ให้การชั้นสอบสวน “แบบละเอียด”

ข้อดี  –  การให้การแบบละเอียดตั้งแต่ต้น จะทำให้คำให้การในชั้นพิจารณาของจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากขึ้น ถ้าคำให้การชั้นศาลสอดคล้องกับคำให้การในชั้นสอบสวน

ตัวอย่างเช่น ในคดีฆ่า ถ้าจำเลยให้การแบบละเอียดตั้งแต่ในชั้นสอบสวนว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิด จำเลยอ้างฐานที่อยู่โดยจำเลยพักอาศัยอยู่ที่หอพัก มีพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยัน

ในชั้นศาลเมื่อจำเลยให้การแบบเดียวกันโดยสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญ ก็จะทำให้คำให้การชั้นศาลของจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ 

นอกจากนี้ข้อดีอีกอย่าง ก็คือ ถ้ามีพยานหลักฐานที่ชัดเจน และผู้ต้องหาให้การอธิบายถึงสาเหตุแห่งการปฏิเสธแบบละเอียดตั้งแต่ต้น พนักงานสอบสวนและอัยการอาจจะสั่งไม่ฟ้องคดีผู้ต้องหาไปเลยก็ได้

ข้อเสีย – ถ้าคำให้การในชั้นพิจารณาขัดแย้งกับคำให้การชั้นสอบสวน ก็จะทำให้คำให้การในชั้นพิจารณานั้นเสียน้ำหนักน่าเชื่อถือไปเลย

  ตัวอย่างเช่น ในคดีฆ่า ถ้าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุ แต่ไม่ได้ลงมือกระทำผิด แต่ในชั้นศาลจำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ เช่นนี้น้ำหนักคำให้การของฝ่ายจำเลยจะลดลงอย่างมาก

นอกจากนี้ ข้อเสียอีกอย่างของการให้การแบบละเอียดตั้งแต่ชั้นสอบสวน ก็คือ ทำให้ทนายความจำเลยไม่สามารถวางรูปคดีได้อย่างอิสระโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ เพราะจะถูกมัดด้วยคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย 

สรุปแล้วควรให้การชั้นสอบสวน แบบไหนดี ?

จะเห็นได้ว่า การให้การชั้นสอบสวนแต่ละแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธลอยหรือให้รายละเอียด ต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป 

ดังนั้นแล้วในการทำงานของทนายความ การจะแนะนำให้ลูกความให้การปฏิเสธลอย หรือให้การแบบละเอียดนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับรูปคดีและสถานการณ์เป็นเรื่องๆไป 

แต่จากประสบการณ์ของผม สามารถแนะนำแนวทางการให้การในชั้นสอบสวนโดยสังเขปโดยพิจารณาจากรูปคดีได้ ดังนี้

1.ถ้าดูแล้วรูปคดียังมีความก้ำกึ่ง ยังมีหน้าต่อสู้คดีได้หลายแนว

ถ้าข้อเท็จจริงในดคียังไม่นิ่ง หรือพยานหลักฐานดูแล้วยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องได้

เช่นนี้ ควรแนะนำให้ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธลอยไปก่อน เพื่อรอดูพยานหลักฐานของฝ่ายผู้กล่าวหาหรือฝ่ายโจทก์ในชั้นศาล หรือรอรวบรวมพยานหลักฐานและออกหมายเรียกพยานเอกสารหลักฐานต่างๆมาตรวจสอบก่อน เพื่อให้ได้ความแน่ชัด

แล้วจึงค่อยตั้งรูปต่อสู้คดีตามพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ชัดเจนต่อไป 

2.ถ้าดูรูปคดีแล้ว มีพยานหลักฐานชัดเจน

ถ้ารูปคดีชัดเจนว่า ผู้ต้องหาไม่ผิด โดยมีพยานหลักฐานชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ ที่ชี้ชัดว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด

ควรจะให้การแบบละเอียดตั้งแต่ต้น พร้อมกับ เตรียมพยานเอกสารพยานวัตถุและพยานบุคคลให้พนักงานสอบสวนนำเข้าสู่สำนวนไปพร้อมกันเลย

เพราะในกรณีที่มั่นใจว่าพยานหลักฐานชี้ให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องกั๊กพยานหลักฐานไว้ไม่แสดง

เพราะหากชี้แจงแบบละเอียดตั้งแต่ต้นพนักงานสอบสวนหรืออัยการอาจจะสั่งไม่ฟ้องคดีให้เราเลย ซึ่งจะทำให้ลูกความได้ประโยชน์ นอกจากนี้ การให้การอย่างละเอียดตั้งแต่ต้น ย่อมทำให้การสู้คดีในชั้นศาล มีน้ำหนักมากขึ้น

3.ถ้าจะให้การปฏิเสธแบบให้รายละเอียด ควรจะให้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ให้การกับพนักงานสอบสวนเลย

ถ้าคิดจะให้การแบบละเอียด เราก็ควรเตรียมตัวเตรียมข้อมูลไปให้พร้อมตั้งแต่การพบพนักงานสอบสวนครั้งแรก

เพราะหากไปขอให้รายละเอียดในการสอบสวนภายหลัง ก็อาจจะทำให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือลดลงไป เพราะโดยทั่วไปแล้ว ศาลมักจะเชื่อคำให้การสอบสวนครั้งแรกที่ใกล้เคียงกับเวลาเกิดเหตุมากที่สุด 

4.พิมพ์ไปเลยก็ดี

ในการให้การชั้นสอบสวนแบบละเอียดนั้น ทางปฏิบัติแล้ว ทนายความสามารถขอกับพนักงานสอบสวนว่า จะทำคำให้การแบบละเอียด เป็นข้อความใส่ flash drive ไว้ให้พนักงานสอบสวนนำไปปรับใช้ในการสอบสวน ซึ่งจะทำให้การสอบสวนเป็นไปได้โดยเร็วและสะดวกกับทุกฝ่าย

ซึ่งพนักงานสอบสวนส่วนใหญ่ก็ยินดีที่จะให้เราทำคำให้การใส่ flash drive เป็นรายละเอียดไว้เบื้องต้น ประกอบกับการสอบสวนอยู่แล้ว เพราะจะทำให้การทำงานเป็นไปโดยรวดเร็ว (แต่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนทุกคนจะอนุญาตให้กระทำแบบนี้ได้ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของพนักงานสอบสวนครับ) 

สรุป

เมื่อถูกจับกุมดำเนินดคีอาญา หรือถูกออกหมายเรียกให้ไปให้การกับพนักงานสอบสวน สิ่งที่ท่านจะต้องพบเจออย่างแน่นอน ก็คือการสอบคำให้การโดยพนักงานสอบสวน

และการจะให้การแบบไหน ต้องขึ้นอยู่กับรูปคดีและสถานการณ์แต่ละเรื่องไป

โดยหากท่านเป็นผู้ต้องหา ท่านไม่ควรอย่างยิ่งที่จพไปพบพนักงานสอบสวนโดยลำพัง แต่ควรจะปรึกษาทนายความก่อนเพื่อวางแนวทางการให้การในชั้นสอบสวน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง

เพราะในคดีอาญา การวางรูปคดีตั้งแต่ต้นในชั้นสอบสวน เป็นเรื่องสำคัญมากครับ หากท่านไปให้การด้วยตนเอง แล้วขัดแย้งกับรูปคดี ขัดแย้งกับความจริง ก็เป็นการยากที่แก้ไขภายหลัง 

คำให้การคืออะไร

น. ถ้อยคำหรือข้อความที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้อง รับ ภาคเสธ ปฏิเสธ หรือแก้ข้อหาในคดีที่ถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องในคดีอาญา หรือที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่งหรือในคดีปกครอง. กะหลาป๋า ๑

ผู้ต้องหาและจำเลยต่างกันอย่างไร

ผู้ต้องหา หมายความถึง บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด หรือมีหลักฐานชัดเจนว่าได้กระทำความผิด แต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องคดี จำเลย หมายควมถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องไปยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด

นัดสอบคำให้การคืออะไร

3. นัดสอบคำให้การจำเลย เมื่อจำเลยมาศาลแล้วศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าจะให้การอย่างไร ถ้าจำเลยปฏิเสธก็จะมีการนัดสืบพยานต่อไป

คดีทางอาญา มีอะไรบ้าง

คดีที่กฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดและมีโทษทางอาญา เช่น 1. ประมวลกฎหมายอาญา เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส พยายาฆ่า ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้