ให้ยกตัวอย่างเครื่องมือในงานประดิษฐ์มา 5 ชนิดพร้อมอธิบายวิธีการใช้ การดูแล และการจัดเก็บ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องที่ 1

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับงานประดิษฐ์

  1. ผู้ประดิษฐ์จะต้องมีความพึงพอใจ มีความรักในงาน
  2. มีความอดทนฝึกปฏิบัติงานจนเกิดทักษะแล้วมีความชำนาญ
  3. มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะ การใช้สี การออกแบบรูปทรงการใช้เส้น รวมถึงการมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่จะนำมาใช้ประดิษฐ์ในงานนั้นๆ

ความหมายของงานประดิษฐ์

ชิ้นงานที่สร้างขึ้น หรือจัดทำให้เหมือนของจริงโดยใช้วัสดุชนิดเดียว หรือหลายชนิดประกอบกันเป็นชิ้นงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการหนึ่ง

ความสำคัญ คุณค่า ประโยชน์ของงานประดิษฐ์

  1. งานประดิษฐ์มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทย
  2. งานประดิษฐ์มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีทางศาสนา
  3. งานประดิษฐ์ช่วยให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ
  4. งานประดิษฐ์ช่วยให้การทำงานของสมอง และประสาทสัมผัสประสานสัมพันธ์กัน

หลักการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์

  1. หมั่นศึกษาหาความรู้ในงานที่ตนเองสนใจ
  2. ศึกษาหลักการ วิธีการ หรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  3. ทดลองปฏิบัติการประดิษฐ์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องที่ 2

อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้

ความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์

  1. สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆได้อย่างปลอดภัย
  2. สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ส่งเสริมให้สามารถสร้างงานประดิษฐ์ออกมาได้อย่างสวยงามและมีคุณภาพ
  4. ประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการประดิษฐ์ผลงาน

หลักการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ในงานประดิษฐ์อย่างปลอดภัย

  1. ควรศึกษาวิธีและข้อจำกัดของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ชนิดนั้นๆให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน
  2. ขณะใช้เครื่องมือ ควรแต่งกายให้รัดกุมและไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจจะเป็นอันตรายหรือขัดขวางการทำงาน
  3. มัดผมหรือเก็บผมให้เรียบร้อยก่อนการใช้อุปกรณ์
  4. ขณะใช้เครื่องมือไฟฟ้า หรือของมีคม ควรอยู่ในภาวะอารมณ์ปกติ และมีสมาธิ
  5. หากมีอาการง่วงนอนหรืออ่อนเพลียให้หยุดใช้เครื่องมือทันที

ประเภทของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ (ลักษณะ วิธีการใช้ และการเก็บดูแลรักษา)

อุปกรณ์ที่ใช่ในการวัด

  1. สายวัด
  2. คลับเมตร
  3. ไม้บรรทัด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะ

  1. สว่าน

♣       สว่านมือ

♣       สว่านไฟฟ้า

อุปกรณ์ในการตัด

  1. กรรไกร

♣       กรรไกรตัดกระดาษ

♣       กรรไกรตัดผ้า

♣       กรรไกรตัดโลหะ

  1. เลื่อย

♣       เลื่อยฉลุ

♣       เลื่อยลันดา

  1. มีด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปทรง

  1. ค้อน

♣       ค้อนเหล็ก

♣       ค้อนไม้

  1. คีม

♣       คีมปากแหลม

♣       คีมตัด

♣       คีมดัด

♣       ปากคีบ

หลักการเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์

  1. ควรเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประดิษฐ์ชิ้นงานที่มีจำหน่ายในท้องถิ่น
  2. ควรเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประดิษฐ์ชิ้นงานที่มีความทนทาน
  3. ควรเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่สะดวกต่อการใช้งาน มากกว่าคำนึงถึงเรื่องราคาเพียงอย่างเดียว
  4. ควรเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีการรับรองคุณภาพ

เส้นดิ่ง เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง สง่าสงบไม่เคลื่อนไหวคงอยู่ตลอดไป
เส้นขนาน เส้นนอนให้ความรู้สึกสงบราบเรียบ ไม่มีที่สิ้นสุดหลับสนิท
เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง กำลังล้ม อันตราย ห้ามไม่สมดุล
เส้นหยัก ให้ความรู้แหลมคม ทำลายมีพลัง
เส้นโค้งให้ความรู้สึกอ่อนน้อม ยอม เศร้า อ่อนแอไม่มีที่สิ้นสุด
เส้นขยุกขยิก ให้ความรู้สึกสับสน วุ่นวายยุ่งเหยิง

งานประดิษฐ์มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันอย่างไร-เกิดจากดำรงชีวิตของคนไทย

ข้อใดคือความหมายของงานประดิษฐ์-ชิ้นงานที่สร้างขึ้น

งานประดิษฐ์ชนิดใดที่คิดว่าเป็นงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย-งานประดิษฐ์ด้วยดอกไม้ ใบตอง

ข้อใดเป็นงานประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ-งานประดิษฐ์จากเปลือกหอย

ประเภทของงานประดิษฐ์ตามลักษณะของงานมี กี่ประเภท-3 ประเภท

ผลงานประดิษฐ์ท่แสดงถึงความอบอุ่น ร่าเริง แจ่มใสคือ-สีแดง,สีส้ม

งานประดิษฐ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือประเภทใด-งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย

ถ้าเราต้องการให้ชิ้นงานท่เราสร้างมีความอ่อนไหว นิ่มนวล เราควรเลือกใช้เส้นลักษณะใดออกแบบ- เส้นโค้ง

งานประดิษฐ์มีความแข็งแรง มั่นคง ควรเลือกใช้เส้นลักษณะใดในการออกแบบ-เส้นแนวตั้ง,แนวดิ่ง

การออกแบบงานประดิษฐ์ควรนำหลักเกณฑ์เรื่องสีมาใช้ โดยมีวรรณะของสี แบ่งออกเป็นกี่วรรณะ-2 วรรณะ

งานประดิษฐ์แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ

1.งานประดิษฐ์ประเภทของเล่น

2.งานประดิษฐ์ประเภทของใช้

3.งานประดิษฐ์ประเภทของประดับตกแต่ง

4.งานประดิษฐ์ประเภทเครื่องนุ่งห่ม

5.งานประดิษฐ์ประเภทของใช้ในงานพิธี

ลักษณะของงานประดิษฐ์ ลักษณะของงานประดิษฐ์สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
1.งานประดิษฐ์ทั่วไป
เป็นงานประดิษฐ์ที่ไม่มีความเป็นมาจากบรรพบุรุษหรือท้องถิ่น กล่าวคือเป้นงานประดิษฐ์ที่บุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้และนำไปประดิษฐ์ได้โดยอาศัยการศึกษาจากตำราเช่นดอกไม้จากเศษวัสดุเหลือใช้ หมวก ตุ๊กตาเครื่องเล่นต่างๆ
2.งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
เป็นงานประดิษฐ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหรือเป็นงานประดิษฐ์ที่มีเฉพาะในท้องถิ่นนั้
นๆโดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวมาสู่ลูกหลานงาน ประดิษฐ์หลายอย่างทำขึ้นเพืองานประเพณีทางศาสนา เช่น พานพุ่ม มาลัยเครื่องแขวนบายศรี และบางอย่างก้ทำขึ้นเพื่อความสวยงาม สนุกสนาน ภายในครอบครัว เช่นว่าวไทย รถลาก ตุ๊กตา

การแกะสลัก

งานใบตอง

ดอกไม้สด

งานปั้น

งานจักสาน

     มาลัย   หมายถึง   ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง  โดยการนำดอกไม้  กลีบดอกไม้  ใบไม้ และส่วนต่าง ๆ  ของดอกไม้ที่ร้อยได้  มาร้อยเป็นพวง  มีลักษณะต่าง ๆ กันมากมายหลายแบบ  ตั้งแต่แบบดั่งเดิมจนถึงแบบสมัยใหม่  ซึ่งก็ดัดแปลงมาจากแบบดั่งเดิมนั่นเอง

ประโยชน์ของมาลัย

1.ใช้สำหรับคล้องคอเป็นเกียรติแก่เจ้าของงาน ถ้าจัดงานเป็นพิธีก็มักจะนิยมใช้มาลัยสองชายชนิดสำหรับคล้องคอ  เพื่อเป็นการแสดงถึงการให้เกียรติแก่บุคคลนั้น ๆ เป็นสำคัญ

2.ใช้สำหรับคล้องคอเพื่อแสดงความยินดีหรือต้อนรับแขก  เพื่อเป็นการบ่งบอกหรือแสดงออกถึงความยินดีที่บุคคลนั้น ๆ ได้มาเยี่ยมเยือน

3.ใช้สำหรับคล้องคอ  หรือสวมคอเพื่อแสดงความยินดี   หรือเป็นเกียรติแก่ผู้มีชัยชนะในการประกวดต่าง ๆ  ส่วนใหญ่มักนิยมใช้มาลัยสองชาย   หรืออาจเป็นมาลัยพวงดอกไม้สวย ๆ  ก็ได้

4.ใช้สำหรับมอบให้กับบุคคลผู้มีชื่อเสียง  เพื่อเป็นการรับขวัญ  หรือเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความรักและศรัทธา  ความนิยมชมชอบ  ส่วนใหญ่นิยมใช้มาลัยสองชายสำหรับสวมคอ  หรือมาลัยคล้องมือ

6.ใช้สำหรับทูลเกล้าฯ  ถวายในการรับเสด็จในการเข้าเฝ้าตามโอกาสที่เหมาะสม  ส่วนใหญ่ก็นิยมใช้มาลัยคล้องมือ  ที่เรียกว่า  มาลัยข้อพระกร

7.ใช้สำหรับมอบให้แก่ประธานหรือแขกผู้ใหญ่ในงาน  ซึ่งมักจะใช้มาลัยคล้องมือหรือมาลัยมือถือ

8.ใช้สำหรับเป็นของชำร่วยแก่แขกที่มาในคือ  มาลัยชำร่วยขนาดเล็กกระจุ๋มกระจิ๋มหรือมาลัยตัวสัตว์ขนาดเล็กก็น่ารักและสวยงามดี

9.ใช้สำหรับสวมคอในงานประเพณีพื้นบ้านของไทยบางท้องถิ่น

10.ใช้แขวนประตู  หน้าต่าง  หรือเพดานตามช่องแคบ ๆ  แทนเครื่องแขวนชนิดเล็ก

11.ใช้ห้อยแทนเฟื่องดอกรัก

12.ใช้บูชาพระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ

13.ใช้แขวนหรือห้อยประดับเครื่องดนตรีไทยในเวลาที่จะเล่น

14.ใช้ในการประกอบท่ารำของการรำไทยบางชุด

15.ใช้ในพิธีบวงสรวงเทพยดาต่าง

16.ใช้สำหรับตกแต่งรัดมวยผม

17.ใช้ประดิษฐ์เป็นดอกไม้สำหรับจัดแจกัน  หรือจัดตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ

18.ใช้ในการคารวะผู้ที่เคารพนับถือ  ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว

19.ใช้ในการประดับตกแต่งงานดอกไม้สดต่าง ๆ

20.ใช้ในการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ  บางโอกาส

21.ใช้แขวนหรือห้อยหน้ารถ   หัวเรือ   รูปปั้นอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ   หรือสิ่งที่เคารพบูชาต่าง  ๆ  ส่วนใหญ่นิยมใช้มาลัยสองชายหรือมาลัยชายเดียว

22.ใช้ในการตกแต่งประดับเวที  หรือสถานที่ในงานพิธี    ฯลฯ   ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้   คือ   มาลัยกลม   มาลัยแบน   มาลัยรี  มาลัยตัวหนอน   และมาลัยตุ้ม

ดอกไม้และใบไม้สำหรับร้อยมาลัย        

         1.ชนิดของดอกไม้และใบไม้ที่ใช้ร้อยมาลัย

ดอกไม้ที่ใช้ร้อยทั้งดอก  ได้แก่  ดอกพุดตูม  มะลิตูม  บานไม่รู้โรย  พุทธชาด  ดอกรัก  เล็บมือนาง  เขี้ยวกระแต  ชบาหนู  ประทัด  ฯลฯ

ดอกไม้ที่ใช่กลีบร้อย  ได้แก่  กุหลาบ  บานบุรี  หงอนไก่  รักเร่  เฟื่องฟ้า  แพงพวย  ฯลฯ

ใบไม้ที่ใช้ร้อยมาลัย  ได้แก่   ใบกระบือ   ใบโกสน   ใบแก้ว   ใบมะยม   ชบาด่าง   ใบตองอ่อน  กาบพลับพลึง   ใบก้ามปู  ฯลฯ

         2.การเก็บรักษาดอกไม้และใบไม้

การเก็บดอกไม้จากต้น  ควรเก็บตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น  หรือตอนพลบค่ำ  การตัดใบตองควรตัดทิ้งไว้ล่วงหน้าก่อนใช้เพื่อให้ใบตองนิ่ม  โดยผึ่งไว้ในที่ร่ม

ดอกพุดตูม  ให้ล้างด้วยน้ำแกว่งสารส้ม  ใส่ตะแกรงเกลี่ยไว้ในที่ร่ม

ดอกกุหลาบ  ตัดก้านกุหลาบเฉียง ๆ  ในน้ำเพื่อช่วยให้ก้านดูดน้ำได้มากขึ้น  ควรใช้กรรไกรคม ๆ  ตัดแล้วห่อก้านด้วยใบตองแช่น้ำที่สะอาด ๆ ไว้วางในที่อากาศโปร่งเย็น  ไม่มีลมโกรก  คอยพรมน้ำอยู่เสมอ

ดอกรัก  อย่าพรมน้ำ  ใส่ตะแกรงคลุมด้วยผ้าขาวบางที่พรมน้ำพอชื้น

ดอกพุทธชาดและดอกเขี้ยวกระแต  ห่อรวมกันแน่น ๆ  ใส่กระทงไว้ไม่ต้องพรมน้ำ  วางไว้ในที่เย็น

ดอกบานไม่รู้โรย  ไม่ต้องแก้มัดออก  ตัดก้านให้เท่ากันแล้วแช่ก้านไว้ในน้ำ  พรมน้ำที่ดอก  ใช้ผ้าขาวบางพรมน้ำให้ชุ่มปิดไว้

ดอกจำปีดอกจำปา   เด็ดเกสรข้างในออก   ดอกจะไม่บาน   ใส่กระทงหรือถ้าต้องการรักษารูปทรงให้เรียงดอกห่อด้วยใบตองแน่นแล้วพรมน้ำ หรือใช้ผ้าขาวบางพรมน้ำคลุมไว้

ดอกกล้วยไม้  ไม่ควรพรมน้ำที่ดอก  เพราะจะทำให้ดอกเปลี่ยนสี  เช่น  ดอกแวนด้าสีม่วง  จะกลายเป็นสีขาว

การเลือกดอกไม้  ใบไม้  และวัสดุตกแต่ง

นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึง  เช่น  การปลิดกลีบกุหลาบไม่ให้ช้ำจะช่วยให้สดอยู่ได้นานทีเดียวมีขั้นตอนดังนี้  มือซ้ายจับก้านกุหลาบคว่ำลง  มือขวาจับกลีบกุหลาบชั้นบนแล้วค่อยดึงเข้าหาตัว  หมุนก้านกุหลาบออกข้างนอกอย่างช้า ๆ กลีบกุหลาบก็จะหลุดออกโดยไม่บอบช้ำตามที่ต้องการ

การพับกลีบกุหลาบโดยพับเอาโคนกลีบออกข้างนอกเวลาร้อย   การพับกลีบกุหลาบ  ควรเลือกกุหลาบที่มีโคนกลีบสวย   ไม่มีรอยเว้าแหว่ง    ถือโคนกลีบขึ้นข้างบน    พับทบครึ่งตามความยาวของกลีบ

( เอาด้านสีเข้าไว้ข้างใน )  แล้วพับกลีบกลับออกมาทั้งสองข้าง

การพับกลีบใบไม้  ใบไม้ที่ใช้ในการร้อยมาลัย   มีวิธีในการพับกลีบในแบบต่าง ๆ  ขึ้นอยู่กับชนิด  ลักษณะ   และรูปทรงของดอกไม้และใบไม้ที่เรามีอยู่ว่า   เหมาะสมกับการพับแบบใดมากที่สุด  ก็ควรใช้วิธีการพับแบบนั้น  ๆ   ตามโอกาสอันควรด้วย    เพราะดอกไม้   ใบไม้   แต่ละท้องถิ่นแต่ละฤดูกาลนั้นย่อมหาได้ง่ายและยากไม่เหมือนกัน

ความสดของดอกไม้

ดอกไม้และใบไม้ที่ใช้ในการร้อยมาลัย  ควรต้องสดและใหม่อยู่เสมอ  ควรได้รับการดูแลรักษาที่ดีอย่างถูกต้องตามธรรมชาติของดอกไม้ชนิดนั้น ๆ ด้วย  ควรหลีกเลี่ยงการจับต้องอย่างแรง  และในระหว่างการร้อยมาลัยนั้นก็ควรจับต้องดอกไม้  ใบไม้อย่างเบามือ  เพื่อจะได้ไม่เกิดรอยช้ำเหี่ยวเฉาง่าย  สามารถจะคงความสดสวยอยู่ได้นานเท่าที่ควร

ความสวยงามของมาลัย

ความสวยงามของมาลัยนั้นย่อมจะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้

1.สัดส่วนของมาลัย

2.สีสันของมาลัย     ควรจะใช้สีที่มีความกลมกลืนเข้ากันได้แต่บางส่วนที่ควรจะเน้นให้เกิดจุดเด่น

3.ฝีมือการร้อย    ควรจะต้องมีความประณีตตั้งแต่การตัด

4.ความสดของพวงมาลัย

วิธีการแต่งตัวมาลัย

เมื่อร้อยมาลัยครบทุกส่วนแล้วจึงนำส่วนประกอบต่าง ๆ  นั้นมาผูกมัดเข้าด้วยกันจนกระทั่งสำเร็จเป็นพวงที่สมบูรณ์  ซึ่งมีหลักทั่วไปดังนี้

1.สำรวจและตกแต่งตัวมาลัยให้เรียบร้อย

2.ผูกอุบะกับตัวมาลัย

3.ผูกมาลัยซีกปิดรอยต่อระหว่างอุบะกับมาลัย

4.ผูกมาลัยกับริบบิ้น ( ถ้าเป็นมาลัยที่ผูกกับริบบิ้น  เช่น  มาลัยสองชาย  มาลัยชายเดียวผูกกับริบบิ้นสำหรับถือ  และมาลัยชำร่วย )

การเก็บรักษามาลัยที่ทำเสร็จแล้ว

1.วางในถาดที่รองด้วยใบตอง    แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดให้หมาด  ๆ  เก็บไว้ในที่เย็น

แต่ลมไม่โกรก  วิธีนี้นิยมใช้กับการเก็บระยะเวลาไม่นานนัก

2.ใส่ถุงพลาสติกวางหรือแขวนไว้ในที่เย็น    แต่ลมไม่โกรก   วิธีการนี้นิยมใช้กับการเก็บในระยะเวลานานกว่าวิธีการแรก

3.ใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้ในช่องเก็บผักสดของตู้เย็น    วิธีการนี้ใช้กับวิธีการเก็บในระยะเวลานาน

สักหน่อย   เช่น    การเก็บนานหลาย ๆ ชั่วโมงหรือการเก็บค้างคืน

การทำดอกข่า

ดอกข่า  คือ  ดอกไม้ที่ประดิษฐ์จากกลีบดอกไม้ให้มีรูปร่างลักษณะเป็นตุ้มค่อนข้างยาวปลายรีแหลมคล้ายกับดอกข่าจริง  ใช้สำหรับทำดอกตุ้มของอุบะ

ดอกไม้ที่นิยมใช้ทำดอกข่า  ได้แก่   กุหลาบ   พุด   มะลิ   ดอกไม้อื่นบางชนิด   ก็สามารถนำมาทำดอกข่าได้   แต่ว่ายังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย   เนื่องจากว่าใช้เวลาในการประดิษฐ์มาก  หรือทำแล้วไม่คงทนต่อการใช้เท่าที่ควร

วิธีการทำดอกข่ามี  2  วิธี

1.การเย็บ

ประเภทของมาลัย

         1.ถ้าแบ่งตามหน้าที่ใช้สอยมีดังนี้

1.1มาลัยชายเดียว   หมายถึง  มาลัยที่มีลักษณะเป็นพวงกลมมีอุบะห้อยเป็นชายเพียงพวงเดียว

ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า  มาลัยมือ,  มาลัยข้อมือ, หรือ  มาลัยคล้องแขน   ก็ได้   ถ้าใช้ในการทูลเกล้าฯ  ถวาย

ก็เรียกว่า  มาลัยข้อพระกร   มาลัยชายเดียวนี้ใช้สำหรับคล้องมือ  คล้องแขน  หรือบูชาพระ

1.2.มาลัยสองชาย  หมายถึง  มาลัยที่นิยมผูกต่อกับริบบิ้น  หรือโบว์ทั้งสองชาย  และมีอุบะห้อยชายมาลัยข้างละพวง    มาลัยสองชายนี้   ใช้สำหรับคล้องคอบุคคลสำคัญในงานนั้น ๆ    ใช้แขวนหน้ารถ

หรือหัวเรือก็ได้   บางคนเรียกมาลัยประเภทนี้ว่า   มาลัยคล้องคอ   ถ้าใช้คล้องคอเจ้าบ่าวเจ้าสาว   เรียกว่า  มาลัยบ่าวสาว

1.3มาลัยชำร่วย   หมายถึง  มาลัยขนาดเล็ก ๆ น่ารักกระจุ๋มกระจิ๋ม  สำหรับมอบให้กับบุคคลจำนวนมากเป็นของชำร่วย  ตอบแทนการขอบคุณที่มาร่วมงานนั้น ๆ

        2.ถ้าแบ่งตามลักษณะรูปแบบของการร้อย  มีดังนี้คือ

2.1มาลัยซีกหรือ มาลัยเสี้ยว   หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเพียงครึ่งวงกลม หรือน้อยกว่านั้น

2.2มาลัยกลม  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นวงกลมรูปทรงตามยาวตรง  และขนานกันไปตลอดเข็ม

2.3มาลัยแบน  หมายถึง  มาลัยที่มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นรูปยาวตามกลีบ  ปลายกลีบของด้านตรงข้ามยาวประมาณจดแนวเส้นรอบวง  แต่ปลายกลีบของด้านขวางและด้านตรงข้ามแคบ

2.4มาลัยรี  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นรูปรี  รูปทรงตามยาวตรงขึ้นไปตลอดเข็ม

2.5มาลัยสามเหลี่ยม   หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นรูสามเหลี่ยมด้านเท่า  รูปทรงตามยาวทั้งสามด้านตรงขึ้นไปตลอดเข็ม

2.6มาลัยสี่เหลี่ยม  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  รูปทรงตามยาวทั้งสี่ด้านตรงขึ้นไปตลอดเข็ม

2.7มาลัยตุ้ม   หมายถึง   มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นรูปวงกลมขนาดเล็ก

แล้วค่อย  ๆ  ใหญ่ขึ้นทีละน้อย   ช่วงกลางป่องโค้งมนแล้วค่อย  ๆ  ลดให้เล็กลงทีละน้อยจนมีขนาดเท่ากับตอนขึ้นต้น   รูปทรงตามยาวหัวท้ายเรียวช่วงกลางโค้งมน

2.8มาลัยตัวหนอน   หมายถึง   มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นวงกลม   จากเล็ก

แล้วค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นทีละน้อยช่วงกลางป่องโค้งมน    แล้วค่อย ๆ  ลดลงจนกระทั่งเล็กเท่ากับตอนขึ้นต้น

รูปทรงตามยาวหัวท้ายเรียวช่วงกลางป่องโค้งมน  คล้ายมาลัยตุ้มแต่ยาวกว่า

2.9มาลัยตัวหนอนคู่   หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นรูปกลมเล็กแล้วค่อย ๆ  ใหญ่ขึ้น  ช่วงกลางป่องโค้งมนแล้วค่อย ๆ ลดให้เล็กลง  จนกระทั่งเท่ากับตอนขึ้นต้น  ซึ่งคล้ายกับมาลัยตุ้ม  รูปทรงตามยาวเหมือนมาลัยตุ้มสองตุ้ม  ร้อยต่อในเข็มเดียวกันนั่นเอง

2.10มาลัยสามกษัตริย์  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยด้วยดอกบานไม่รู้โรยกรองเป็นชั้น ๆ ขนาดเท่ากันทุกชั้น  ร้อยคล้องต่อกันสามวงโดยใช้ดอกบานไม่รู้โรยสามสี  คือ สีแดง  ชมพู  และขาว

2.11มาลัยพวงดอกไม้  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยด้วยดอกไม้เรียงต่อกันเป็นสายยาวแล้วนำมาผูกมัดต่อกันเป็นวง

         3.ถ้าแบ่งตามลักษณะโครงร่างโดยทั่วไปมีดังนี้

3.1มาลัยตัวสัตว์   หมายถึง   มาลัยที่ร้อยให้เป็นรูปร่างลักษณะคล้ายตัวสัตว์   เช่น  หนู   กระรอก  กระแต   กระต่าย   ชะนี  ฯลฯ

3.2มาลัยลูกโซ่   หมายถึง   มาลัยที่ร้อยจากมาลัยกลมหรือมาลัยซีก  แล้วนำเอามาผูกคล้องต่อกันตั้งแต่สองวงขึ้นไป  ให้มีลักษณะเป็นห่วง ๆ  คล้องกันคล้ายโซ่

3.3มาลัยเปีย  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยจากมาลัยกลม และมาลัยตุ้ม  นำมาประกอบเข้าเป็นพวง  โดยเอามาลัยกลมผูกต่อกันเป็นวงอยู่ตรงกลาง  ส่วนบนและล่างร้อยต่อด้วยมาลัยตุ้มด้านละ  1  ตุ้ม

3.4มาลัยเถา  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยจากมาลัยซีกแล้วนำมาผูกต่อกันเป็นวงกลม  วงละขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่และค่อย ๆเล็กลงตามลำดับ  โดยวางเรียงซ้อนกันลักษณะเป็นเถา

3.5 มาลัยครุย   หมายถึง   มาลัยที่ร้อยจากมาลัยกลมขนาดใหญ่   มีอุบะห้อยตุ้งติ้งคล้ายระบาย

เป็นครุยโดยรอบทั้งด้านในและด้านนอก   ใช้สำหรับสวมสะพายจากไหล่ขวามาซ้ายคล้ายกับการห่ม

สไบเฉียงเมื่อนุ่งจูงกระเบนนั่นเอง

3.6มาลัยดอกกล้วยไม้  หมายถึง  มาลัยที่ร้อยด้วยดอกกล้วยไม้ล้วน ๆ  เป็นส่วนของตัวมาลัย  ไม่ต้องร้อยดอกอย่างอื่นแซมเป็นลวดลายใด ๆ ทั้งสิ้น

ส่วนประกอบของมาลัย

1.ตัวมาลัย

2.อุบะ

3.ซีก

4.ริบบิ้น

1.ตัวมาลัย  อาจใช้เป็นมาลัยกลม  มาลัยแบน  มาลัยรี  มาลัยสามเหลี่ยม  มาลัยสี่เหลี่ยม  มาลัยตุ้ม  ฯลฯ

2.อุบะ ที่นิยมใช้ห้อยประดับพวงมาลัย ได้แก่  อุบะแขก อุบะพู่  และอุบะตุ้งติ้ง ( สำหรับห้อยมาลัยตุ้ม )

3.ซีก  ที่ใช้ผูกรัดรอยต่อระหว่างตัวมาลัยกับอุบะนั้น  ควรเป็นซีกที่มีขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมกับตัวมาลัย  แต่ก็ไม่ควรเล็กจิ๋วหรือใหญ่โตเทอะทะเกินไป  ซึ่งมองดูแล้วจะทำให้สัดส่วนของพวงมาลัย ไม่ดีเท่าที่ควร

4.ริบบิ้น  นับว่าเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่ง  สำหรับพวงมาลัยที่ใช้คล้องคอ  มาลัยชำร่วย  มาลัยมือถือที่ให้แก่ประธานหรือแขกผู้ใหญ่ ( ในบางแบบ )

ความหมายของคำต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานมาลัย

1.เข็มมาลัย

ใช้กับงานละเอียด  ส่วนขนาดใหญ่ใช้กับงานดอกไม้ดอกใหญ่หรือดอกไม้ที่มีกลีบใหญ่ ๆ

2.เข็มสั้นหรือเข็มมือ

หมายถึง  เข็มสั้นธรรมดาใช้สำหรับเย็บดอกข่า  เย็บโบว์  หรือร้อยอุบะ

3.ด้าย

ด้ายที่ใช้ในงานมาลัยมี  2  ขนาด  คือ  ขนาดใหญ่  และขนาดเล็ก

ด้ายร้อยมาลัย  ใช้เส้นใหญ่ ( สีขาว ) ควรใช้ด้ายคู่

ด้ายร้อยอุบะ  ใช้เส้นเล็ก ( สีขาว )  เบอร์  40  หรือ เบอร์  60

ด้ายสำหรับเย็บหรือมัดดอกข่า  ใช้เส้นเล็ก  ควรใช้สีเดียวกับกลีบดอกไม้ที่ใช้ทำตุ้มดอกข่า

4.ดอกตุ้ม

เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งของอุบะที่อยู่ส่วนล่างสุด   เช่น   ดอกกุหลาบตูม   ดอกจำปี  ดอกจำปา  ดอกบานไม่รู้โรย   ดอกชบาหนู   ดอกกล้วยไม้   หรือดอกข่าประดิษฐ์  ฯลฯ

 5.ดอกข่า

เป็นดอกไม้ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายดอกข่าใช้แทนดอกตุ้มของอุบะ   อาจประดิษฐ์จากกลีบกุหลาบ   ดอกพุด   ดอกมะลิ  ฯลฯ

6.อุบะ

เป็นส่วนที่ใช้สำหรับห้อยชายมาลัย  เพื่อให้เกิดความสวยงาม  น่ารักยิ่งขึ้น

7.ซีก

เป็นมาลัยประเภทหนึ่งที่มีลักษณะรูปทรงตามขวางเพียงเสี้ยวหนึ่งถึงครึ่งวงกลม  สำหรับนำไปผูกรัดเป็นมาลัยลูกโซ่  หรือสำหรับผูกปิดรอยต่อของมาลัยเพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น

8.แป้น

หมายถึง   ส่วนที่เป็นที่สำหรับรองรับดอกไม้ที่ร้อยอยู่ในเข็มมาลัย  และยังใช้สำหรับปิดท้ายของการร้อยมาลัยเมื่อจบเข็มแล้วเป็นการช่วยกันมิให้ดอกไม้ชั้นสุดท้ายรวนหรือหลุดล่วงไปได้ง่าย  ในขณะทำการรูดมาลัยออกจากเข็ม

9.ส่งกลีบหรือส่งก้าน

หมายถึง  ความยาวช่วงระยะระหว่างปลายกลีบ  หรือปลายดอกถึงจุดที่เข็มแทง

10.หน้าเรียบ

หมายถึง   การส่งกลีบหรือส่งก้านดอกให้ปลายเสมอกัน   มองดูแล้วได้ระดับเรียบร้อยสวยงาม

ไม่สูง ๆ  ต่ำ ๆ  หรือโค้งเว้าเป็นคลื่น

11.กรอง

หมายถึง  วิธีการประดิษฐ์ดอกไม้วิธีหนึ่ง  โดยการนำเอาดอกไม้บางชนิด  เช่น  ดอกบานไม่รู้โรยมาเฉือนให้เป็นแว่นบาง ๆ ด้วยมีดคม ๆ แล้วนำมาร้อยด้วยเข็มทีละแว่นว้อนกันจนยาวพอต้องการที่จะนำไปใช้ในงานนั้น ๆ  ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า  กรองดอกบานไม่รู้โรย

12.ประคำดอกรัก

หมายถึง  วิธีการประดิษฐ์ดอกรักให้มีรูปร่างลักษณะกลม ๆ คล้ายลูกประคำ  โดยการเลือกดอกรักสีเดียวกัน  ขนาดดอกเท่ากันจำนวน  2  ดอก  ผ่าตามกลีบทั้งห้าสักเล็กน้อยแล้วนำมาประกบกัน  ประคำดอกรักนี้สามารถจะนำมาเรียงเถาแล้วร้อยเป็นสายอุบะก็ได้

13.แต่งตัว

หมายถึง  การนำส่วนต่าง ๆ  ของมาลัยมาประกอบเข้าด้วยกันจนสำเร็จตามลำดับขั้นตอนให้มีรูปร่างครบถ้วนถูกต้องได้สัดส่วน  และสวยงามตามแบบของมาลัยประเภทนั้น ๆ

14.วาสลิน

เป็นน้ำมันชนิดหนึ่งใช้สำหรับทาเข็มมาลัยก่อนร้อย  ขณะร้อยเพื่อให้การรูดมาลัยออกจากเข็มได้ง่าย  สะดวกขึ้น  และสำหรับไว้ทาเข็มมาลัยที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว  ซึ่งเป็นการรักษาเข็มอย่างถูกวิธีด้วย

15.ริบบิ้นหรือโบว์

หมายถึง  ส่วนที่จะใช้ผูกติดกับมาลัยสำหรับคล้องคอ  หรือใช้มือถือก็ได้  อาจเป็นริบบิ้นที่ทำจากผ้า  ไนลอน   ฟาง   พลาสติก   หรือริบบิ้นเงิน   ริบบิ้นทอง

วัสดุและอุปกรณ์ในการร้อยมาลัย

1.ดอกไม้    ดอกไม้ที่ใช้ในการร้อยมาลัย  ได้แก่    กุหลาบ    มะลิ    เฟื่องฟ้า    บานบุรี    กล้วยไม้  ผกากรอง  (ดอกตูม )   กะเม็ง   พุด   พุทธชาด   เขี้ยวกระแต   หางนกยูง ( ดอกตูม )   ดอกหญ้า   พังพวย  เล็บมือนาง   มากาเร็ต ( ดอกตูม )   เบญจมาศน้ำ ( ดอกตูม )   บานไม่รู้โรย   ประทัด   พิกุล   ดอกรัก  ฯลฯ

2.ใบไม้   ใบไม้ที่ใช้ร้อยมาลัย   ได้แก่    ใบกระบือ    ใบแก้ว    ใบมะยม   ใบพังพวย   ใบจามจุรี

ใบดอนหญ้าขาว   ใบดอนหญ้าแดง   ใบหมากผู้หมากเมีย   ใบชบา   ใบโกสน  ฯลฯ

3.เข็มมาลัย   มีสองขนาด   คือ   ขนาดเล็กและขนาดใหญ่

4.เข็มสั้นหรือเข็มมือ

5.ด้าย   มีสองขนาด   คือ  ใหญ่และเล็ก    ขนาดใหญ่สำหรับร้อยมาลัย   ขนาดเล็กสำหรับร้อยอุบะ

เย็บหรือมัดดอกข่า   และเย็บริบบิ้นหรือโบว์

6.ใบตอง  สำหรับไว้ปูพื้นก่อนวางดอกไม้  ใบไม้  ห่อดอกไม้  และทำแป้น

7.กระดาษทราย  สำหรับไว้ขัดเข็มมาลัย  เข็มมือเมื่อมีสนิมเกาะ

8.มีดเล็ก  มีดบางคม ๆ สำหรับไว้ตัดดอกไม้  เช่น  ดอกบานไม่รู้โรย

9.กรรไกร  ควรมี  2  ขนาด  คือ  ขนาดเล็กและขนาดกลาง

9.1ขนาดเล็กปลายแหลมคม   ใช้สำหรับตัดกลีบดอกไม้   ใบไม้

9.2ขนาดกลาง    สำรับตัดใบตองและด้ายในบางโอกาส

10.คีม  สำหรับไว้จับเข็มมาลัย  ขณะที่ทำการรูดมาลัยออกจากเข็ม

11.น้ำมันวาสลิน    สำหรับไว้ทาเข็มมาลัยก่อนร้อย   ขณะร้อยและก่อนจะรูดมาลัยออกจากเข็ม

( ควรทาตั้งแต่จากใต้แป้นใบตองมายังก้นเข็มตรงร้อยด้าย )

12.กะละมัง   สำหรับไว้พักดอกไม้  ใบไม้

13.ถาด   สำหรับใส่ดอกไม้   ใบไม้   และอุปกรณ์ในการร้อยมาลัย

14.แก้วน้ำหรือขันน้ำเล็ก   สำหรับใส่น้ำไว้พรมดอกไม้ขณะร้อย

15.ทีฉีดน้ำ   ควรใช้ชนิดที่ปรับให้เป็นละอองฝอย ๆ ได้  สำหรับไว้พรมดอกไม้  ใบไม้จำนวนมาก

16.ผ้าขาวบาง   สำหรับไว้คลุมดอกไม้เพื่อให้สดอยู่ได้นาน

ขั้นตอนต่าง ๆ ในการร้อยมาลัย

การเตรียมเข็มมาลัย

1.ตรวจดูเข็มมาลัยว่าตรงหรือไม่

2.ตรวจดูว่าเข็มเป็นสนิมหรือไม่

3.ใช้น้ำมันวาสลินทาเข็มให้ลื่น  แล้วเช็ดให้สะอาด

การเตรียมแป้นใบตอง

ก่อนอื่นจะต้องสำรวจดูว่าจะร้อยมาลัยอะไรบ้าง   จำนวนกี่เข็ม   ก็ควรทำแป้นให้ครบ   โดยถือหลักเกณฑ์ว่าการร้อยมาลัย   1   เข็ม   จะต้องใช้แป้นใบตอง   2   อัน   ขนาดเท่ากัน   คือ  ขนาดใหญ่กว่ามาลัย

ที่จะร้อยเล็กน้อย

การถือเข็มมาลัย

จะต้องถือเข็มด้วยมือซ้าย  ควรถือให้ถนัดแน่นและมั่นคง  จะอยู่ระหว่าง  3.5  นิ้ว  นับจากก้นเข็มขึ้นมา  เวลาจะพับกลีบดอกไม้ในการร้อยมาลัยจะต้องใช้มือขวาพับ  เพราะว่ามือซ้ายยังต้องถือเข็มอยู่  แต่ใช้วิธีดังนี้คือ  ใช้นิ้วนางและนิ้วก้อยมือซ้ายจับเข็มปัดเข็มให้เหออก  แล้วใช้มือซ้ายเพียงหัวแม่มือและนิ้วชี้ช่วยมือขวา  จับปลายกลีบดอกที่พับไว้เท่านั้น

การปลิดกลีบกุหลาบ

นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องทำให้ถูกวิธี   เพื่อให้กลีบที่ปลิดออกมาแล้วจะได้ไม่บอบช้ำ

ซึ่งจะช่วยคงความสวยสดอยู่ได้นานทีเดียว   มีขั้นตอนละวิธีการดังนี้คือ  ใช้มือซ้ายจับก้านดอกกุหลาบ

คว่ำลง   มือขวาจับกลีบกุหลาบชั้นบนแล้วค่อยดึงเข้าหาตัว   หมุนก้านกุหลาบออกข้างนอกอย่างช้า  ๆ

กลีบกุหลาบก็จะหลุดออกโดยไม่บอบช้ำตามที่ต้องการ

การตัดกลีบดอกไม้และใบไม้

ดอกไม้และใบไม้บางอย่างที่ใช้ร้อยมาลัย  เช่น  ดอกเฟื่องฟ้า  ดอกบานบุรี  ใบกระบือ  ใบแก้ว  ใบมะยม  ใบชบา ฯลฯ  ก่อนจะนำมาร้อยต้องตัดกลีบให้มีขนาดรูปทรงดังนี้ก่อน

การพับกลีบดอกไม้

1.การพับกลีบ  โดยพับเอาโคนกลีบออกข้างนอกในเวลา

2.การพับกลีบโดยพับเอาปลายกลีบออกข้างนอกในเวลาร้อย

3.การพับกลีบดอกไม้โดยวิธีพับแบบเอาปลายกลีบออกข้างนอกอีก

การพับกลีบใบไม้

1.การพับกลีบทบครึ่งแล้วทบกลีบออกมาทั้งสองข้าง  การ พับกลีบแบบนี้จะต้องตัดใบไม้ให้มีรูปทรงดังนี้ก่อนควรวางด้านปลายใบขึ้นข้าง บนเสมอและควรหลีกเลี่ยงเส้นกลางใบด้วยเพราะถ้ามีเส้นกลางใบติดอยู่ที่กลีบ                                                                                 จะทำให้มองดูรู้สึกแข็งกระด้างเกินไป  และไม่ควรใช้ใบอ่อนจะเหี่ยวง่าย

2.การพับกลีบใบแบบทบครึ่งธรรมดาโดยไม่ต้องทบกลีบออกข้าง  จะต้องตัดใบก่อนแล้วพับดังนี้                                                                                 การพับกลีบแบบนี้จะเห็นได้ว่า  ถึงแม้จะเป็นใบไม้ที่ เล็กหรือแคบก็ใช้ได้ใบไม้ที่แข็งกรอบแตกง่าย

3.การพับกลีบใบแบบม้วนเป็นหลอดกลมเหมือนกับการพับกลีบดอกในข้อ 3  แต่การพับแบบนี้จะต้องตัดกลีบดังนี้  และใบไม้ควรมีความกว้างและความยาวพอเพียง

การทำแป้นใบตอง

1.ฉีกใบตองขนาดเท่ากัน  2  ชิ้น ( ขนาดกว้าง 1.5  นิ้ว )  ตัดหัวและปลายให้เรียบร้อย  วางซ้อนทางด้านแข็งทำมุมฉากซึ่งกันและกัน

2.พับริมใบตองด้านแข็งชิ้นที่  1  ทบเข้ามาเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากับขนาดความกว้างของใบตอง

ที่ฉีกไว้

3.พับริมใบตองชิ้นที่  2  ทบลงมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากับความกว้างของใบตองเช่นกัน

4.มือขวาจับใบตองชิ้นที่  1  ด้านขวามือทบมาทางซ้าย

5.ใช้มือขวาจับใบตองชิ้นที่  2  ทบขึ้นไปทางด้านบน

6.กลับใบตองหงายขึ้นใช้มือขวาจับชิ้นที่  1  ทบมาทางซ้าย

7.จับใบตองชิ้นที่  2  ทบลงมาด้านล่าง

8.กลับใบตองหงายขึ้น  มือขวาจับชิ้นที่  2 ทบลงมา  และมือซ้ายจับชิ้นที่  1  ทบลงมาทางขวา

9.กลับใบตองหงายขึ้น  ตัดปลายใบตองชิ้นที่  2  ส่วนที่เหลือทิ้งไป ( ถ้าใบตองช่วงยาวเกินไป )

10.ตัดริมทั้งสองของปลายใบตองชิ้นที่  1ให้เล็กลงนิดหน่อย  เพื่อสะดวกและง่ายต่อการสอดเก็บปลายให้เรียบร้อย

วิธีการร้อยมาลัย

ก่อนที่จะร้อยมาลัยจะต้องใส่หรือร้อยแป้นใบตองก่อน  1  แป้น  อยู่ในระดับเหนือมือที่จับเข็มมาลัย  ใช้วาสลินทาเข็มให้ลื่นแล้วจึงเริ่มร้อยกลีบแรก  โดยต้องร้อยจากทางด้านซ้ายสุดแล้วกลีบต่อ ๆ มา  ค่อยหมุนตามเข็มนาฬิกา  แต่ละชั้นก็ควรให้สับหว่างกันด้วยขณะร้อย  ต้องหมั่นทาวาสลินที่เข็มด้วย  โดยเฉพาะดอกไม้ใบไม้ที่มียางมาก ๆ และต้องพรมน้ำบางตามความเหมาะสม  เมื่อร้อยจบเข็มแล้ว  จะต้องใส่หรือร้อยแป้นใบตองปิดทับอีก  1  แป้น

วิธีการรูดมาลัยออกจากเข็ม

1.พรมน้ำดอกไม้ให้ทั่วเข็มกะว่าให้เปียกถึงเข็ม ( ถ้าเป็นดอกพุดไม่ต้องพรมเพราะดอกพุดจะบานง่าย )

2.ทาน้ำมันวาสลินตั้งแต่ใต้แป้นใบตองจนถึงก้นเข็ม

3.คนหนึ่งจับคีมหนีบเข็มมาลัยด้านปลายเอาไว้ให้มั่นคง  อีกคนหนึ่งใช้มือขวาจับเข็มหลวม ๆ ด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้  แต่ใช้นำหนักจากนิ้วกดลงบนแป้นใบตองที่ปิดคลุมมาลัยอยู่  ส่วนมือซ้ายจับเข็มหลวม ๆ ใต้แป้นด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้  ดันแป้นใบตองขึ้นเล็กน้อย  พร้อมกับเอานิ้วกลางละนิ้วนางเข้าหนีบประกบเข็มไว้ด้วย  เพื่อกันมิให้มาลัยรวนเสียรูปทรงและลวดลาย

4.ตกลงให้สัญญาณซึ่งกันและกันทั้งสองคนว่าจะดึงเข็มและรูดมาลัยพร้อม  ๆ  กัน  โดยอาจใช้วิธีนับ

1 , 2, 3     ก็ได้  เมื่อมาลัยหลุดออกพ้นเข็มแล้วให้หยุดดึงได้  แต่คนที่ดึงหรือรูดมาลัยยังจะต้องค่อย ๆ ประกอบมาลัยอยู่ระหว่างช่วงกลางของด้าย  แล้วจัดดอกให้เรียงเข้าที่เดิมให้เรียบร้อยด้วย

5.ถ้ารูดมาลัยออกจากเข็มแล้ว  เกิดการหดหรือเบียดแน่นเกินไป  ก็ควรตกแต่งปรับรูปทรงให้ดีขึ้น  โดยใช้วิธีถือปลายด้ายข้างละมือทั้ง  2  คน   แล้วขยับเขยื้อนดึงด้ายไปมาเล็กน้อย   มาลัยก็จะคลายขยายตัวออกได้แต่ไม่ควรดึงมาก  จะทำให้มาลัยยืดยานเกินไปก็เสียรูปทรงได้เช่นกัน

มาลัยซีก

มาลัยซีกหรือเสี้ยว   หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเพียงครึ่งวงกลมหรือน้อยกว่า  ซึ่งมีหลายขนาดด้วยกัน

มาลัยซีกขนาดเล็กที่สุด  หรือเรียกมาลัยเสี้ยว หรืออาจเรียกว่า มาลัย  2 – 1 ก็ได้  คือ มาลัยซีกสามหลัก

มาลัยซีกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  คือ  มาลัยซีกสิบเอ็ดหลัก   หรืออาจเรียกว่า   มาลัย  6 – 5 ก็ได้

การเรียกชื่อมาลัยแต่ละชนิดนั้น  จะเรียกตามลักษณะแนวตามยาวเป็นหลัก  เช่น  มาลัยซีกสามหลัก  มาลัยซีกห้าหลัก  มาลัยซีกเจ็ดหลัก  มาลัยซีกเก้าหลัก  แต่บางคนจะเรียกสั้น ๆ ว่า  ซีก  3 ,  ซีก  5 ,  ซีก  7

ซีก  9  และบางครั้งก็เรียกตามลักษณะของการร้อยเช่น  2 – 1  ( สองหนึ่ง )  มาลัย  3 – 2 ,  มาลัย  4 – 3  และมาลัย  5 – 4

ดอกไม้ที่นิยมใช้ร้อยมาลัยซีกโดยทั่วไป  ได้แก่  ดอกกุหลาบ  ดอกพุด  กลีบดอกรัก  แกนกลางดอกรัก  เปลือกดอกรัก  และดอกมะลิ

ดอกไม้  ใบไม้ที่นิยมร้อยเป็นลายมาลัยซีก  ได้แก่  ดอกกะเม็ง  ดอกผกากรอง  ( ดอกตูม )  และใบไม้ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับร้อยมาลัย

มาลัยซีกมี  2  แบบ  คือ  แบบพื้นล้วน ๆ  และแบบมีลาย

หน้าที่ใช้สอยของมาลัยซีก

1.ใช้รัดปิดรอยต่อมิให้เห็นปม  หรือความไม่เรียบร้อย

2.ใช้คล้องต่อกันเป็นมาลัยลูกโซ่

3.ใช้ทำเป็นมาลัยลูกโซ่

4.ใช้ทำเป็นมาลัยเถา

5.ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกทัดหู

6.ใช้ผูกรัดทำเป็นดอกไม้สำหรับปักแจกัน  หรือ  จัดดอกไม้แบบต่าง ๆ

7.ใช้รัดมวยผม

8.ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทยบางอย่าง

มาลัยตุ้ม

มาลัยตุ้ม   หมายถึง   มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นรูปกลม

มาลัยตุ้มมี   2   แบบ

1.แบบมีลาย

2.แบบไม่มีลาย

    หน้าที่ใช้สอยของมาลัยตุ้ม

1.ใช้เป็นมาลัยชำร่วยให้แก่แขกที่มาในงาน     เช่น    งานหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลสมรส  หรือในโอกาสต่าง ๆ

2.ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งในงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทย    เช่น   งานเครื่องแขวนดอกไม้สดของไทย

3.ร้อยใส่ไม้ไผ่แหลม ๆ  ต่อก้านแล้วปักแจกัน  หรือจัดดอกไม้สดในโอกาสต่าง ๆ

4.ใช้เป็นส่วนประกอบของมาลัยเปีย

5.ใช้เป็นส่วนประกอบของมาลัยครุย

6.ใช้ประกอบเป็นมาลัยคล้องมือ

มาลัยกลม

มาลัยกลม   หมายถึง  มาลัยที่ร้อยให้มีลักษณะรูปทรงตามขวางเป็นวงกลม  และรูปทรงตามยาวตรง  และขนานกันไปตลอดเข็ม   นิยมร้อยตั้งแต่ขนาด   6   กลีบขึ้นไป   จนถึง   12   กลีบ   หรือมากกว่านี้ก็ได้  ย่อมแล้วแต่ชนิดของดอกไม้  ถ้าดอกเล็กหรือกลีบเล็กก็จะใช้จำนวนกลีบมาก  แต่ถ้าดอกไม้ดอกใหญ่หรือกลีบใหญ่ก็ใช้จำนวนกลีบน้อย

มาลัยกลมแบ่งออกเป็น  2  แบบใหญ่ ๆ  ด้วยกัน คือ

1.มาลัยกลมแบบไม่มีลาย  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  มาลัยเกลี้ยง  หรือ  ตอน   หมายถึง  มาลัยกลมที่ร้อยด้วยกลีบดอกไม้    หรือดอกไม้   หรือใบไม้ล้วน  ๆ  ไม่มีลวดลายใด  ๆ   และเป็นสีเดียวกันตลอด

2.มาลัยกลมแบบมีลาย  หรือบางคนเรียกว่า  มาลัยกลมยกดอก   หมายถึง   มาลัยกลมที่ร้อยใส่ลวดลายต่าง ๆ  ลงไป

    หน้าที่ใช้สอยของมาลัยกลม

1.ใช้ทำเป็นมาลัยคล้องคอ

2.ใช้ทำเป็นมาลัยมือ  หรือมาลัยคล้องแขน

3.ใช้ทำเป็นมาลัยแขวนหน้ารถ   แขวนหัวเรือ

4.ใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งงานประดิษฐ์ดอกไม้สดของไทยบางอย่าง

งานจักสาน

บทนำ

สังคม ไทยโบราณ มีการรวมตัวอยู่เป็นชุมชนน้อย ชุมชนใหญ่เป็นปึกแผ่นแน่นหนา อาศัยอยู่สืบต่อกันมา เป็นเวลา หลายร้อยปีแล้ว ผุ้คนต่างก็เลือกถิ่นที่อยู่ สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศที่เหมาะสมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ และความ เจริญมั่งคั่งของแต่ละชุมชน ซึ่งล้วนมีอารยธรรมภาษาพูด การแต่งกาย ความเป็นอยู่ รูปแบบการสร้าง ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ความเชื่อหรือศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่ม หรือ มีความใกล้เคียงกัน ด้วยการถ่ายเททางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน บางครั้งมีการสู้รบขับไล่กันบ้าง เพื่อแย่งชิงอำนาจ และความอุดมสมบูรณ์ ในโภคทรัพย์ บางชุมชนก็แตกกระจายออกไป บางชุมชนก็ใหญ่ขึ้นจากผู้อพยพหลบภัย การถ่ายเททางวัฒนธรรมเกิดขึ้น ตลอดเวลา และมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

เครื่อง จักรสาน เป็นงานศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านของภาคเหนือมาช้านาน ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่หาได้ ในท้องถิ่นมาผลิต เช่น หวาย ไม้ไผ่ ใบตองตึง ทางมะพร้าว กก เป็นต้น เพื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร สานมีความจำเป็น และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับชีวิตของชาวชนบท และมีการสร้างสรรค์ สืบทอดต่อเนื่องมาแต่ อดีตนับตั้งแต่ การออกแบบ ลวดลาย รูปทรง โครงสร้าง ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ ทำให้เครื่องจักรสาน มีเอกลักษณ์ แตกต่างกันไป เป็นการสะท้อนถึงลีลาของชีวิต และสภาพสังคมทั่วไป ของชาวชนบท ในด้านต่างๆได้อย่างดี ปัจจุบันการ ทำเครื่องจักรสานกลายเป็นอาชีพรองเมื่อว่างจากการทำการเกษตกรรม เพื่อเพิ่มรายได้ แก่ครอบครัว สอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

ลาย จักรสานนั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของการขึ้นโครงสร้างผลิตภัณฑ์ ประเภทเครื่องจักรสาน จัดเป็นขบวน การความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เป็นระบบ ลายจักรสานของไทยนั้น มีลวดลาย และรูปแบบ แตกต่างกันอย่างมาก ทั้งที่แตกต่างกัน ด้วยลักษณะของวัสดุที่ใช้ในการจักรสานด้วย ดังนั้นการเลือกใช้ลายจักรสานใด จึงขึ้นอยู่กับความเหมาะ สม สนองประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ เช่น อาจใช้ลายขัดธรรมดา เพื่อให้เกิดความแข็งแรงทนทาน และความสะดวกใน การสาน หรือถ้าต้องการสานภาชนะที่มีตาต่างๆเช่น ชะลอม เข่ง ก็มักจะสานด้วยลายเฉลว เป็นต้น

เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโครงสร้างเครื่องจักรสาน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ที่เรียงตามลำดับ ขั้นตอนดังนี้
– ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย
– วัสดุ
– ทัศนคติ ความเชื่อ วัฒนธรรม
– ลายสานและวิธีสาน
– รูปทรง

องค์ ประกอบทั้งห้านี้ต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องระหว่างกัน และสะท้อนออกมา ในรูปแบบเครื่องจักรสาน ที่เป็นรูปธรรม ให้เราสังเกตเห็น และสัมผัสได้ด้วยความรู้สึก เป็นการแสดงออก ของคุณค่าเครื่องจักรสานโดยแท้จริง

หลัก เกณฑ์การแบ่งแม่ลายจักรสาน สามารถทำได้หลายลักษณะ ตามความคิดเห็นของนักวิชาการ จาการศึกษา รวบรวมข้อมูล มีการจำแนกหลักเกณฑ์ตัวอย่าง อย่างน้อย 3 ลักษณะ ดังนี้

ลักษณะที่ 1ใช้หลักเกณฑ์แบ่งแม่ลายจักรสานเป็น 4 แม่ลาย คือ

– ลายขัด
– ลายทะแยง
– ลายขด
– ลายอิสระ
การแบ่งแม่ลายตามลักษณะนี้ ดูจากการวางแนวเส้นตอกหรือวัสดดุอื่นที่ใช้สานตามแนวต่างๆ เช่น แนวตั้ง แนวนอน แนวทะแยง

ลักษณะที่ 2ใช้หลักเกณฑ์แบ่งแม่ลายจักรสานออกเป็น 10 ลาย คือ
– ลายขัด
– ลายเฉลว
– ลายสอง
– ลายสาม
– ลายคุป
– ลายเวียนรัศมี
– ลายสุ่ม
– ลายไพล
– ลายกลม
– ลายเบ็ดเตล็ด
การแบ่งแม่ลายลักษณะนี้ แบ่งตามวิธีการสานและตามชื่อลายสานที่ปรากฏเป็นลวดลายสำเร็จรูปและแบ่งการพัฒนาลายสานออกเป็น 3 ลักษณะคือ ลายแม่บท ลายพัฒนา ลายประดิษฐ์

ลักษณะลายที่ 3 ใช้หลักเกณฑ์แบ่งแม่ลายจักรสานเป็น 4 แม่ลาย คือ
– ลายขัด
– ลายเหลี่ยม
– ลายพระจันทร์
– ลายก้นหอย

1.ลายขัด
การขัดลายเบื้องต้น จะประกอบด้วยเส้นตั้งหรือเส้นยืนและเส้นนอน จำนวน 2 เส้น ขัดกันเสมอ

วิธีการดังกล่าวนี้ ถือได้ว่าเป็นลวดลายที่ง่ายที่สุด นับเป็นพื้นฐานของการทำเครื่องจักรสานซึ่งอาจจะเป็น แม่ลายเบื้องต้นของการทำเครื่องจักรสานที่เก่าแก่ที่สุดก็ได้ลาย ขัดนี้ได้วิวัฒนาการจากการสานขัดกัน ระหว่างเส้นตอก แนวตั้งและแนวนอน อย่างละเส้นมาเป็นการใช้เส้นตอกแนวละหลายๆเส้นขัดกันทำให้เกิดลายใหม่ๆขึ้น อาจจะสอดทะแยง เข้าไปในระหว่างเส้นตั้งและเส้นนอนก็ได้ จะได้ลายใหม่ขึ้นเช่นกัน ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

2.ลายเฉลว
การขึ้นลายเบื้องต้น จะประกอบด้วยเส้นตอกที่ใช้สานจำนวน 3 เส้น วางขัดกันในแนวทะแยงเสมอ แล้วสานลายโดยขัดตอก ที่มุมของสามเหลี่ยม ที่เกิดขึ้นกระจายไปรอบๆลายเฉลวนี้จะไม่มีเส้นตั้งฉากซึ่งกันและกัน เหมือนอย่างลายขัด

อนึ่ง แม่ลายเฉลวนี้สามารถพัฒนาแตกลวดลายออกไปได้มากตามลักษณะ ประโยชน์ใช้สอยต่างๆ และยังเป็น แม่ลาย ที่มีความเกี่ยวข้อง กับคตินิยมความเชื่อของคนไทย ที่มีมาแต่โบราณกาลอีกด้วย เช่น สานเป็นเฉลวพระเจ้า 5 พระองค์ หรือ เฉลวสำหรับปักปากหม้อยาไทย ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่ง หรือใช้เป็นเฉลวบอกเหตุปักไว้ตามทาง หรือที่ที่ต้องการห้ามผู้อื่นเข้าไป คล้ายกับเป็นเครื่องหมาย ซึ่งมีมาแต่โบราณ

3. ลายหัวสุ่ม
การขึ้นลายเบื้องต้น ประกอบด้วยเส้นตอกจำนวนหลายๆเส้น แล้วแต่ขนาดที่ต้องการ การวางเส้นตอกจะวางขัดกันเป็น ส่วนโค้งแล้วสานบรรจบกันเป็นรูปวงกลม โดยเว้นช่องว่างตรงกลาง การสานลายประเภทนี้ จะสานวนออกจาก ศูนย์กลาง แล้วกระจายออกไปเป็นรัศมี

กล่าว อีกนัยหนึ่งว่า ลายหัวสุ่ม เป็นแม่ลายของการเริ่มต้นการทำเครื่องจักรสาน ซึ่งมีลักษณะการใช้สอย เฉพาะอย่าง ตามแต่รูปทรงของเครื่องจักรสานบังคับ เช่น เครื่องจักรสานทรงกะทะ ที่ต้องการช่องว่างตรงกลาง อันเกิดจากการ เริ่มต้นของลาย ได้แก่ สุ่มไก่ โครงงอบ โครงกุป เป็นต้น ส่วนวิวัฒนาการของลายหัวสุ่ม ที่พัฒนาออกไปนั้นมีไม่มากนัก

4. ลายก้นหอย
การขึ้นลายเบื้องต้น ประกอบด้วยเส้นตอกจำนวนหลายเส้นวางพาดทับกันตรงกลาง แล้วกระจายเป็นรัศมีออกเป็นวงกลม และมีเส้นตอกหรือมีวัสดุอื่นที่มีความเหนียวพอ สานขัดกันระหว่างเส้นตอกดังกล่าว ซึ่งเป็นเสมือนเส้นยืน โดยเริ่มจากจุด ศูนย์กลางแล้วสานขัดวนไปรอบๆต่อเนื่องกัน

ลาย ก้นหอย เป็นแม่ลายของการเริ่มต้นการทำเครื่องจักรสาน เช่นเดียวกับลายหัวสุ่ม แต่เมื่อสานขยายออกไปแล้ว จะมีลักษณะลายออกมาเป็นลายขัด ซึ่งพบเห็นกันได้ตามภาชนะเครื่องจักรสานทั่วไป เช่น กระบุ ตะกร้า กระจาด เป็นต้น

นอก จากแม่ลายที่กล่าวมายังมีลายจักรสานอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ ลายจักรสานแบบขด ซึ่งเป็นวิธีการสานขึ้นรูป ทรง ด้วยการขดตัวของวัสดุซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วใช้วัสดุที่มีความเหนียว เช่น หวาย ย่านลิเพา เป็นตัวเชื่อมเข้าด้วยกัน คล้ายการเย็บ หรือ ถัก หรือ มัด ระหว่างเส้นวัสดุเพื่อให้ยึดติดกันแน่น ลายจักรสานประเภทนี้ ไม่นำมารวมเป็นแม่ลาย สาน เนื่องจากเห็นว่าวิธีการนี้ เป็นการถักหรือพัน ไม่ใช่สาน แต่ก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการทำเครื่องจักรสานพื้นเมือง ของไทยด้วย

ไม้ ไผ่ วัสดุหลักในการทำจักรสาน ส่วนมากได้จากป่าโดยการเข้าไปตัดแล้วชักลากออกมา แต่ละครั้งจำนวนพอ ทำงานในครั้งหนึ่งๆ จะนำมาสะสมไม่ได้ ถ้าลำไผ่แห้งตอกที่จักรสานจะออกมากรอบและไม่เหนียว หรือจะจักตอกเก็บไว้ มากๆก็ไม่ได้ เมื่อนำไปแช่น้ำใหม่ก็จะกรอบเวลาสานหรือบิด ตอกจะขาดสู้ตอกที่จักมาใหม่ๆแล้วนำมาสานไม่ได้ มีความเหนียว อ่อนตัวตามความต้องการ ไม้ไปไผ่ที่ใช้ทั่วไปในการสานมี 3 ชนิด

ไผ่ซาง

เป็นไผ่ขนาดเล็กลำมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 9 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอไม่แน่น บริเวณโคนของลำจะมีการแตกกิ่ง กิ่งตรง กลางจะมีขนาดใหญ่กว่ากิ่งอื่น และเจริญตั้งฉากกับลำ ลำแก่จะมีสีเขียวอมเหลือง

ไผ่ ซางใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง นอกจากใช้ทำต่างแล้วหน่อใช้เป็นอาหาร ลำใช้เป็นด้ามเครื่องมือ เครื่องเรือน เครื่องจักรสานชนิดต่างๆ ทำฟ่กปูพื้น ฝาบ้าน ผ่าทำไม้ซีก วางขายตามทางใกล้ป่าใช้ทำรั้วเล้าไก่ ขัดรั้วบ้านหรือเรือน เพาะชำ ไม้บง เป็นไผ่พันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย ขึ้นปะปนกับไม้พันธุ์อื่นๆในป่าเบญจพรรณภาคเหนือ และภาคกลาง ของประเทศ มักขึ้นในที่มีความชื้นค่องข้างสูงและดินอุดมสมบูรณ์ มีผู้มาปลูกขยายพันธุ์เพื่อใช้ประโยชน์เท่านั้น

ไผ่บง

เป็นๆไผ่ขนาดกลาง มีลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 8 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอแน่นและมีการแตกกิ่งปลายยอดของลำ กิ่งใหญ่จะแตกตั้งได้ฉากกับลำบริเวณข้อของลำในส่วนที่ใกล้โคน จะมีรากฝอยแตกออกมาโดยรอบ เนื่องจากมีการ แตกกิ่งจำนวนมาก ลำของไผ่บงจึงแลดูคดงอเป็นส่วนใหญ่ ผิวของลำไม่เรียบจะเห็นเป็นลักษณะคล้ายขนสีนวลหรือเทา บางครั้งจะมีลักษณะคล้ายแป้งติดอยู่ที่ลำไผ่บง หน่อใช้รับประทาน ลำใช้ในการก่อสร้างและจักรสาน

ไม้ไผ่ที่นำมาสานนั้น จะใช้ไม้ไผ่ประเภทไผ่ซางและไผ่บงเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ไม้ 2 ชนิดนี้ ขึ้นอยู่ทั่วๆไป ตามดอย ตามหมู่บ้านชายป่า ฯลฯ ขึ้นได้ดีทั้งตามเชิงดอยและที่ราบทั่วไป จึงเป็นไม้ไผ่หลักๆของการทำจักรสาน

ไม้หก

เป็น ไม้ไผ่ขนาดใหญ่เนื้อหนาพอสมควร มักจะเลือกที่ขึ้นอยู่ตามหุบเขาชื้นและงอกงามในป่าดิบ ป่าชุ่มชื้น ลำต้นใหญ่ ปล้องยาว คือ มีลำตรงเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 – 18 เซนติเมตร ปล้องยาว 30 – 50 เซนติเมตร ลำยาว 15 – 20 เมตร กิ่งจะมีตามข้อตอนปลายของลำ ส่วนโคนจะไม่มีกิ่ง หน่ออ่อนกินได้ ใช้ประโยชน์ในการทำโครงสร้างบ้านเรือน สับฟาก สานเสื่อ ทำจักรสาน ทำบวบแพ เป็นต้น ผู้ที่จะใช้ไม้หกต้องอยู่ใกล้หุบเขา ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้น และการชักลากก็ยากลำบาก โดยที่ไม้หกมีลำใหญ่ยาว อาจต้องตัดครึ่งลำหรือแบก 2 คน หามหัวท้ายก็เป็นการยากลำบากในการนำออกมาจากป่ารก ขึ้นเขาลงห้วยอีกหลายครั้งกว่าจะถึงหมู่บ้านก็ลำบากยากเย็นพอสมควร ผู้จะใช้ไผ่หกต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบจึงจะพอดี

ตอกปื้น

เป็น ตอกที่จักโดยการผ่าเป็นแนวขนานกับผิวไผ่ ตอกชนิดนี้จะได้ผิวไผ่เต็มหน้า ตอกเนื้อไผ่และท้องไม้ไผ่ จะได้ตอกกว้างพิเศษ ท้องไผ่จะไม่ใช้ ขนาดตอก 1 ส่วน 4 ถึง 1 นิ้ว มักจะให้ความทนทานแข็งแรงมาก

ตอกตะแคง

จักโดยการหันปลายมีด หรือด้ามมีดเข้าหาศูนย์กลางเส้นรอบวงของลำไม้ไผ่ จะได้ตอกกว้างตามความหนาของเนื้อไม้ไผ่

ตอกกลม

จะ จักเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า หรือผืนผ้าเล็กน้อย แล้วเหลาตามความยาวโดยรอบ จะได้ตอกหน้าตัดเป็นรูปวงกลม หรือรูปไข่ให้ความแข็งแรงและสวยงาม แต่เปลืองแรงงานและเวลามาก. เลื่อยมือ ฟันละเอียด ใช้ตัดลำไผ่ตามขวางให้มีขนาดความยาวเท่ากันก่อนที่จะผ่าเป็นไม้ซีก ทำตอกปื้นเป็นตอกตัว ยืนของต่าง ยาวประมาณ 30 นิ้ว หรือ 1.5 ศอก

2.มีดโต้ สำหรับฟัน ตัด ลิดกิ่ง เลาะปล้อง ผ่าไม้ เป็นมีดขนาดใหญมีสันคมหนา น้ำหนักมาก มีความยาว 40 -50 เซนติเมตร มี 2 ชนิด คือ ชนิดสันโค้ง และสันตรง ใช้จักตอบหยาบ หนา

3.มีดจักตอกเป็นมีดรูปเรียวแหลมค่อนข้างบาง คมปลายแหลม คมมีดโค้งตามสมควร ด้านกลมยาว 12 -14 นิ้ว งอนไปตามข้อ ศอก เพื่อสามารถสอดเข้าไปขัดตามท้องแขน ช่วยในการบังคับคมมีดในขณะเหลาตอก ใช้จักตอก ละเอียดและบาง มีน้ำหนักเบา บาง ช่างจะใช้เป็นมีดประจำตัว เพราะในขณะใช้งานจะมีความถนัดในมุมของใบมีดและ ด้ามที่ช่างใช้อยู่เป็นประจำ

4.เหล็กหมาด มี 2 ชนิด คือ ปลายแหลมและปลายแบน ลักษณะคล้ายๆไขควง แต่เส้นเล็กกว่าและมีด้ามไม้จับขนาด เหมาะมือ ทั้งเหล็กและด้ามยาวประมาณ 8 นิ้ว

ปลายแหลมใช้เจาะรูร้อยเส้นตอกหรือเส้นหวาย

ปลายแบนใช้งัดหรือแงะเข้าไประหว่างเส้นตอกที่สานไว้แล้วเพื่อร้อยเส้นตอกต่างหากหรือร้อยเชือกก็ได้

5.ไม้ทุบ เป็นไม้แบนมีด้ามจับขนาด 3 นิ้ว หนา 1.5 นิ้ว ยาว 40 -50 เซนติเมตร เหลาด้ามจับในการทุบ เคาะให้ตอกที่ สานขัดกันไว้ให้กระชับ ขยับตัวแน่น หรือตีไม้ซังที่ไม่เป็นระเบียบให้ขยับตัวเป็นระเบียบอยู่ในแถว ถ้าใช้ค้อนหรือขวาน เคาะตอกจะเยิน เสียรูปทรง