จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ มักจะ เชื่อถือ ได้ ใน เรื่อง ใด มากที่สุด

จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ มักจะ เชื่อถือ ได้ ใน เรื่อง ใด มากที่สุด

  • มัธยมต้น
  • ประวัติศาสตร์

อยากได้คำอธิบายเป็นข้อๆแล้วก็คำตอบครับ

คุณครู Qanda - ครูพี่หงส์

บันทึกของชาวต่างชาติ ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในดินแดนประเทศไทยสมัยต่างๆ มีทั้งที่เป็น นักการทูต พ่อค้า ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม การดำรงชีวิต เป็นต้น ทำให้เราได้ทราบเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้นกว่สเดิม บันทึกที่สำคัญของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา เช่น พงษาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับฟาน ฟลีต หรือวัน วลิต พ่อค้าชาวฮอลัดดา


คุณครู Qanda - ครูพี่หงส์

หนังสือที่ชาวต่างชาติบันทึกเกี่ยวกับประเทศสยาม ตั้งแต่ในอดีตนั้น จัดเป็นสิ่งพิมพ์ที่หายากประเภทหนึ่ง เพราะเป็นหลักฐานสำคัญขั้นต้นที่ทำให้เราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศสยามในอดีต โดยผ่านข้อเขียน ของชาวต่างชาติเหล่านั้น ประเทศสยามมีความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ มาช้านานแล้ว ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุ ธยาเป็นราชธานี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าชาวโปรตุเกสเป็นฝรั่งพวกแรกที่เข้ามาในประเทศสยาม

คุณครู Qanda - ครูพี่หงส์

จดหมายเหตุคืออะไร

เผยแพร่เมื่อ: 09 เม.ย. 63จำนวนผู้เข้าชม:28407

จดหมายเหตุคืออะไร

โดยปกติเมื่อกล่าวถึง “จดหมายเหตุ” เรามักจะนึกถึงการบันทึกเรื่องราวความเป็นไปที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต ส่วนความหมายของ “จดหมายเหตุ” ที่จริงแล้วมีความหมายอย่างไร บทความนี้จะอธิบายให้ได้ทราบถึงความหมายของคำนี้

จดหมายเหตุในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า“archives” หมายถึง เอกสารจดหมายเหตุ สถานที่เก็บรักษาเอกสาร และสถาบันหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของเอกสารที่ใช้ปฏิบัติงาน ในระยะแรกนั้นยังจำกัดความหมายอยู่ที่เอกสารของหน่วยงานหรือองค์การของรัฐแต่ต่อมาความหมายนั้นรวมไปถึงเอกสารที่เก็บรักษาและรวบรวมโดยสถาบันเอกชนหรือครอบครัวด้วย

A Glossary of Archival and Records Terminology ได้ให้ความหมายของ archives ไว้ดังนี้

1. หมายถึง วัตถุใด ๆ ที่ผลิตหรือรับไว้โดยบุคคล ครอบครัว องค์กรภาครัฐหรือเอกชน อันเนื่องมาจากกิจกรรมหรือภารกิจและได้อนุรักษ์ไว้เนื่องจากสารสนเทศที่บันทึกไว้มีคุณค่าต่อเนื่อง หรือเป็นหลักฐานของภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ผลิตเอกสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุเหล่านั้นได้รับการดูแลรักษาไว้ซึ่งแหล่งกำเนิด ลำดับการจัดเรียง และควบคุมการรวบรวมให้เป็นเอกสารที่ถาวร (เทียบได้กับคำว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”)

2. หมายถึง หน่วยงานที่อยู่ภายใต้องค์กร ซึ่งรับผิดชอบในการดูแลรักษาเอกสารที่มีคุณค่าต่อเนื่องขององค์กรนั้น ๆ(เทียบได้กับคำว่า “ หน่วยงานจดหมายเหตุ” หรือ “หอจดหมายเหตุของหน่วยงาน” เช่น หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย... หอจดหมายเหตุกระทรวง...เป็นต้น)

3. องค์กรที่รวบรวมเอกสารของบุคคล ครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อรวบรวมเป็นเอกสารจดหมายเหตุ(เทียบได้กับคำว่า “หอจดหมายเหตุ ” หรือองค์กรที่ทำหน้าที่ด้านจดหมายเหตุ เช่น สมาคมจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุเฉพาะด้าน เป็นต้น)

4. วิชาการที่สอนเกี่ยวกับการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสารจดหมายเหตุและองค์กรจดหมายเหตุ(เทียบได้กับคำว่า “วิชาจดหมายเหตุ”)

5. อาคารหรือส่วนของอาคารที่จัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ(เทียบได้กับคำว่า “คลังเอกสารจดหมายเหตุ”)

6. กลุ่มของเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ในยุคสมัยใดสมัยหนึ่ง(เทียบได้กับคำว่า “เอกสารประวัติศาสตร์”)

แต่เดิมคำว่า “จดหมายเหตุ” มักจะใช้กับชุดเอกสารใดๆ ที่เป็นเอกสารเก่าหรือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ โดยไม่คำนึงถึงการรวมตัวของเอกสารว่ามีการรวมตัวอย่างไร ตามความหมายนี้เอกสารจดหมายเหตุจึงเป็นเอกสารเก่าที่อาจเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น วารสารเก่าทางการแพทย์ เป็นต้น ในปัจจุบันวิชาชีพจดหมายเหตุจะคำนึงถึงคุณสมบัติของเอกสารจดหมายเหตุ ซึ่งเกิดจากภารกิจหน้าที่ มีกระบวนการอันเกิดจากการผลิตหรือรับมอบเอกสารอันทำให้เอกสารจดหมายเหตุมีโครงสร้างที่แสดงให้เห็นถึงภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานเจ้าของเอกสารหรือแหล่งกำเนิดของเอกสารนั่นเอง

เอกสารจดหมายเหตุเป็นเอกสารที่เกิดจากการดำเนินงาน หรือดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานและบุคคล และได้รับการประเมินคุณค่าว่ามีคุณค่าทางจดหมายเหตุ (archival value ,permanent value, continuing value, enduring value) ซึ่งหมายถึง คุณค่าของเอกสารที่มีต่อการบริหารและดำเนินงาน, การเป็นหลักฐานในทางกฎหมาย, การแสดงสถานภาพทางการเงิน,การเป็นหลักฐานของการดำเนินงาน, การค้นคว้าวิจัยหรือทางประวัติศาสตร์และได้รับการประเมินว่าสมควรอนุรักษ์ไว้ตลอดไปในฐานะที่เป็นเอกสารจดหมายเหตุ

คุณค่าเหล่านี้มีประโยชน์ต่อทั้งเจ้าของเอกสารและผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเอกสารจดหมายเหตุเพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในด้านต่าง ๆ เอกสารจดหมายเหตุจะแบ่งออกเป็นสองประเภทตามลักษณะของความเป็นเจ้าของเอกสาร ได้แก่ เอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงาน และเอกสารส่วนบุคคล

คุณลักษณะของเอกสารจดหมายเหตุ คือ การเป็นเอกสารสำคัญที่มีอยู่ชิ้นเดียว มีความสมบูรณ์ครบถ้วน สะท้อนให้เห็นถึงภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานและบุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสาร และสะท้อนให้เห็นถึงสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และองค์ประกอบทางสังคมในยุคหรือสมัยใดสมัยหนึ่งที่เอกสารนั้นได้ผลิตขึ้น เอกสารจดหมายเหตุเป็นหลักฐานชั้นต้น (primary source) ที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยในด้านต่างๆ

เอกสารที่หน่วยงานหรือบุคคลผลิตหรือรับไว้ใช้ในการดำเนินกิจกรรมจะมีอายุการจัดเก็บที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นกับความจำเป็นของเอกสารต่อการอ้างอิง การเป็นหลักฐาน การแสดงถึงสิทธิตามกฎหมาย หรือหน่วยงานต้องจัดเก็บเอกสารตามระยะเวลาที่กฎหมาย หรือระเบียบกำหนดไว้ เป็นต้น เอกสารบางประเภทมีการอายุใช้งานหนึ่งปี ห้าปี สิบปี ยี่สิบปี หรือตลอดไป เช่น การกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บเอกสารของราชการที่ระบุไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 หมวดที่ 3 ว่าด้วยการเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ เอกสารที่ได้จัดทำหรือรับไว้เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมเมื่อมีการจัดเก็บจนครบกำหนดจะถูกกำจัดออกไปตามอายุการจัดเก็บ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการจัดเก็บเอกสารใหม่ที่ต้องใช้งาน

การกำจัดเอกสารมีสองวิธี คือ การทำลายหรือย้ายโอนเอกสารไปยังหน่วยงานจดหมายเหตุ เอกสารที่ไม่ได้รับการประเมินว่ามีคุณค่าถาวรจะถูกทำลาย ส่วนเอกสารที่ได้รับการประเมินว่ามีคุณค่าถาวรจะได้รับการย้ายโอนไปยังหอจดหมายเหตุ เพื่อดำเนินการตามหลักจดหมายเหตุ ได้แก่ การจัดเรียงเอกสาร (arrangement) การจัดทำคำอธิบายเอกสาร (description) การจัดทำเครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ (finding aids) การสงวนรักษาและอนุรักษ์(preservation and conservation) การให้บริการ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ (reference service and public relation activities)

การทำลายเอกสารมีหลักสำคัญในการทำลายคือ ต้องทำลายเอกสารไม่ให้สามารถอ่านหรือเข้าถึงสารสนเทศที่บันทึกในเอกสารเหล่านั้น โดยการนำไปย่อยสลายด้วยการตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือลบทิ้งจากระบบในกรณีของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

เอกสารจดหมายเหตุมีหลายประเภท ได้แก่ เอกสารลายลักษณ์ (textual records) เอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (audio-visual records)ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่ได้รับการบันทึกไว้ เอกสารประเภทแบบแปลน แผนที่ แผนผัง (cartographic and architectural records )และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (electronics records) ซึ่งการดำเนินงาน การจัดเก็บ การอนุรักษ์ การซ่อมสงวนรักษาเอกสารแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เอกสารเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง และวิจัยได้ตลอดไป

จดหมายเหตุจึงมีความสำคัญต่อประเทศทั้งในฐานะของเอกสารจดหมายเหตุ ในฐานะการดำเนินงานตามกระบวนการวิชาการจดหมายเหตุ และในฐานะของหน่วยงานจดหมายเหตุเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกสารจดหมายเหตุที่เป็นบันทึกความทรงจำของชาติ และมีความจำเป็นต่อประเทศเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติ สิทธิประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน และในฐานะของข้อมูลชั้นต้นที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า อ้างอิง และวิจัย เป็นข้อมูลสารนิเทศที่สะท้อนเรื่องราวต่างๆของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ประเพณี วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติประเภทหนึ่งซึ่งแสดงถึงพัฒนาการความเจริญรุ่งเรืองของชาติ จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ผู้เรียบเรียง: นางสาววรนุช วีณะสนธิ นักจดหมายเหตุชำนาญการ

จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ มักจะ เชื่อถือ ได้ ใน เรื่อง ใด มากที่สุด

จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ มักจะ เชื่อถือ ได้ ใน เรื่อง ใด มากที่สุด

จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ มักจะ เชื่อถือ ได้ ใน เรื่อง ใด มากที่สุด
จดหมายเหตุของชาวต่างชาติ มักจะ เชื่อถือ ได้ ใน เรื่อง ใด มากที่สุด