ในสมัย ธนบุรี ไทยเป็นฝ่าย ชนะ พม่าได้ โดย ตลอด เป็น เพราะ อะไร

ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี

From Wikipedia, the free encyclopedia

ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 15 ปีของอาณาจักรธนบุรี

ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี

ในสมัย ธนบุรี ไทยเป็นฝ่าย ชนะ พม่าได้ โดย ตลอด เป็น เพราะ อะไร

เรือใบบรรทุกทรัพยากร ทำการจิ้มก้องเพื่อยืนยันทำการค้าความสัมพันธ์ระหว่างสยาม–จีน

ในสมัย ธนบุรี ไทยเป็นฝ่าย ชนะ พม่าได้ โดย ตลอด เป็น เพราะ อะไร

พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก เป็นการรวบรวมกองกำลังของเจ้าตาก เพื่อขับไล่กองทัพพม่าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง อันส่งผลให้เกิดสภาพจลาจลโดยทั่วไป ราชอาณาจักรอยุธยาเดิมจึงถูกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่าง ๆ เป็นอิสระต่อกัน ราวปี พ.ศ. ๒๓๐๙ ก่อนเสียกรุง พระยาตากได้นำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง ในระหว่างนั้นยังได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมื่อถึงเมืองระยอง เมื่อ เจ้าตาก เตรียมกำลังรบจนพร้อมสรรพแล้ว จึงได้เคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังคงเหลืออยู่ออกไปได้สำเร็จ

การสงครามเพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เตรียมเรือและกำลังจะขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลก ครั้นถึงฤดูน้ำนอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกกำลังขึ้นไปทางเหนือ เจ้าพิษณุโลกให้หลวงโกษา ยัง คุมกำลังมาตั้งรับบริเวณปากน้ำโพ เมื่อฝ่ายธนบุรีมาถึง ก็ได้มีการรบพุ่งกัน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกปืน กองทัพธนบุรีจึงถอยกลับคืนพระนคร เจ้าพิษณุโลกทราบข่าวก็ตั้งตัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่อีก ๗ วันต่อมา ก็ถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกก็อ่อนแอลง ไม่นานก็ถูกผนวกรวมกับชุมนุมเจ้าพระฝางต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าแผ่นดิน "หุ่นเชิด"[ ของชุมนุมเจ้าพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ พระองค์จึงถูกนำตัวกลับมายังกรุงธนบุรี และทรงถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๑] ราวเดือน ๔ พ.ศ. ๒๓๑๒ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นแม่ทัพใหญ่ คุมกำลัง ๕,๐๐๐ คน ยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราชทางบก เมื่อยกไปถึงท่าหมาก แขวงอำเภอลำพูน แม่ทัพธนบุรีไม่สามัคคี ตีค่ายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชไม่พร้อมกัน จึงเสียที สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบและประเมินสถานการณ์แล้ว จึงเสด็จยกกองทัพเรือกำลัง ๑๐,๐๐๐ คน ยกลงไปช่วย ขึ้นบกแล้วเคลื่อนทัพต่อไปจนถึงเมืองไชยา ก่อนจะเข้าตีนครศรีธรรมราช ฝ่ายกองทัพเรือธนบุรีก็ไปถึงเช่นกัน กองทัพธนบุรีจึงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช  ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ตีได้เมืองพิษณุโลก แล้วตามไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้ไม่ได้ จึงนับได้ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบแล้ว

ในสมัย ธนบุรี ไทยเป็นฝ่าย ชนะ พม่าได้ โดย ตลอด เป็น เพราะ อะไร


การสงครามเพื่อปกป้องแผ่นดิน ครั้นพระเจ้ามังระทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้ง จึงได้มีพระบรมราชโองการให้ แมงกี้มารหญ้า เจ้าเมืองทวาย ยกทัพมาปราบปราม กองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรี มีกำลังตามพระราชพงศาวดาร ๒,๐๐๐ คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่าย กิตติศัพท์ที่ทรงรบชนะ ทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น ราวปี พ.ศ. ๒๓๑๑ พระองค์ก็ทรงยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกอีก แต่กระสุนปืนต้องถูกพระองค์ จึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร หลังหายจากพระอาการประชวรแล้ว ในระหว่างปี พ.ศ.๒๓๑๒-๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช และชุมนุมเจ้าพระฝางตามลำดับ เมื่อทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบแล้ว รัฐบาลจีนก็เริ่มให้การยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ นอกจากการต่อสู้เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัยทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง แต่ก็ทรงได้รับชัยชนะทุกครั้ง

สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๐

สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. ๒๓๑๓ 

สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๑๓ - พ.ศ. ๒๓๑๔

สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๑๕ 

สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๖ 

สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 พ.ศ. ๒๓๑๗

สงครามครั้งที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗

สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘

สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๙

การสงครามเพื่อขยายพระราชอาณาเขต

การขยายพระราชอาณาเขตไปยังหลวงพระบางและเวียงจันทน์

การขยายพระราชอาณาเขตไปยังกัมพูชา ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยนั้น