บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

foodpanda ประกาศเปิดตัว “ศิริภา จึงสวัสดิ์” ผู้บริหารหญิงที่มีประวัติการทำงานในวงการเทคโนโลยีมากว่า 21 ปี ไม่ว่าจะเป็น อูเบอร์ แฮปปี้เฟรช และซาโลร่า รวมทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซ ที่จะชูกลยุทธ์ ‘Human Centric’ กับจุดเด่น 3 ด้านคือ สร้างการเติบโตให้ Ecosystem สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้ผู้คน และ โอบรับความหลากหลาย เพื่อช่วยผลักดันให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จในแง่ธุรกิจ และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

การเดินทางใหม่ของ foodpanda ประเทศไทย

อเล็กซานเดอร์ เฟลเดอร์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ กล่าวแนะนำว่า “ศิริภามีประสบกาณ์ในการบริหารธุรกิจมามากกว่า 20 ปี เรามีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการสร้างการเติบโตให้ foodpanda ผมเชื่อว่าต่อจากนี้จะเป็นก้าวสำคัญของบริษัทฯ เพราะเรามีศิริภามานำองค์กร เปลี่ยนปัญหาเป็นความท้าทาย มุ่งหาโอกาสในการเปลี่ยนแปลง และสานต่อพันธกิจของ foodpanda ตั้งแต่วันแรกที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย คือ การมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า พันธมิตรร้านค้า และพันธมิตรไรเดอร์ และศิริภาจะทำให้ Ecosystem ของเราแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม”

ศิริภา จึงสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ foodpanda ประเทศไทย กล่าวว่า “การมารับไม้ต่อจากอเล็กซานเดอร์ในฐานะกรรมการผู้จัดการเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่และท้าทายอย่างมาก สำหรับวิสัยทัศน์ที่จะสร้างการเติบโตให้ foodpanda เราต่อยอดความเชี่ยวชาญที่เป็นรากฐานของธุรกิจ คือความเชี่ยวชาญด้านอาหารและของกินของใช้ มาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ ให้กับผู้คนนับล้าน ใน Ecosystem ของเรา ซึ่งรวมถึงลูกค้า พันธมิตร ร้านค้า และพันธมิตรไรเดอร์”

บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

แม้ foodpanda จะถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Food Delivery อันดับต้น ๆ แต่กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พร้อมรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องการแข่งขันและการรับมือกับช่วงหลังโควิด โดยปีนี้ ภายใต้การนำของศิริภา foodpanda ใช้กลยุทธ์ ‘Human Centric’ โดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ข้อ ดังนี้

  • สร้างการเติบโตให้ Ecosystem – foodpanda จะนำเทคโนโลยีและทรัพยากรที่มี มาขยายศักยภาพให้ ผู้ประกอบการ SMEs และธุรกิจในท้องถิ่น และยังคงมุ่งมอบโอกาสในการสร้างรายได้ ให้กับไรเดอร์อีกกว่าแสนคนทั่วประเทศ
  • สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้ผู้คน – ตั้งเป้ามีส่วนร่วมและเชื่อมต่อกับลูกค้าอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสรรค์เปาเปาขึ้นมา ในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์ ที่เป็นตัวแทนของ foodpanda ในการส่งพลังบวก สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม
  • โอบรับความหลากหลาย – foodpanda เปิดรับความเท่าเทียมและความหลากหลายในทุกรูปแบบ เรานำประสบการณ์และจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละคน เพื่อทำให้ทุกอย่างดีขึ้น 1% ทุกวัน

ชูความหลากหลายที่นำไปสู่การเติบโต

foodpanda เชื่อว่าความเท่าเทียมและความหลากหลายจะช่วยผลักดันให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จในแง่ธุรกิจ และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เราจึงมีนโยบายที่ตอบโจทย์พนักงานหลากหลายกลุ่มอย่างเท่าเทียม อาทิ สวัสดิการ “วันลาเพื่อพนักงานข้ามเพศ” 10 วัน เพิ่มจากวันลาปกติ โดยวันลาเพื่อพนักงานข้ามเพศมีให้สำหรับพนักงานที่มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านเพศสภาวะ

วัฒนธรรมความเท่าเทียมและยอมรับความหลากหลายไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในพนักงาน foodpanda เท่านั้น สำหรับทางฝั่งพันธมิตรไรเดอร์ foodpanda ก็มีนโยบายเปิดรับสมัครไรเดอร์ที่เป็นผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินและการพูด เพื่อสร้างการยอมรับในตัวเอง ให้พวกเขาสามารถทำงานสร้างรายได้ และมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคม นอกจากนี้ยังตั้งเป้าเพิ่มจำนวนไรเดอร์ผู้หญิงจาก 13.9% เป็น 15% เพราะ foodpanda เชื่อว่าทุกคนควรได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ วัฒนธรรม

“ใน Ecosystem ของ foodpanda เราให้ความสำคัญกับผู้คนมากที่สุด เราเชื่อมั่นว่าประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกว่า 10 ปี ของเรา จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับลูกค้า พันธมิตรร้านค้า และพันธมิตรไรเดอร์ พร้อมทำให้ foodpanda เป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนจะเติบโตและก้าวเดินไปพร้อม ๆ กัน” ศิริภา กล่าวทิ้งท้าย

foodpanda ได้ออกมาตอบกลับทวิตเตอร์ของผู้ใช้รายหนึ่ง จนเป็นเหตุให้เกิด #แบนfoodpanda ขึ้น ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 แล้วที่ foodpanda โดนกลุ่มเป้าหมายแบนเนื่องจากมีพฤติกรรมขัดต่ออุดมการณ์ทางการเมือง
  • foodpanda ถือกำเนิดขึ้นที่เยอรมนี โดยเป็นสตาร์ทอัพภายใต้การดูแลของบริษัทร่วมทุน (Venture) จอมก๊อปปี้อย่าง Rocket Internet ก่อนจะขายให้กับ Delivery Hero สตาร์ทอัพที่ดูแลแพลตฟอร์มเดลิเวอรีจากเยอรมนีในปี 2016 
  • foodpanda พยายามขยายธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันสูง ทั้งการเจาะตลาดต่างจังหวัดของไทย และการเข้าหาคนรุ่นใหม่ผ่านวงการเกม

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

    บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

    ในยุคที่การเดลิเวอรีอาหารและสินค้ากำลังได้รับความนิยมอย่างมากด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป การเติบโตที่รวดเร็ว การแข่งขันที่สูง “foodpanda” หนึ่งในผู้เล่นในตลาดนี้ ก็ได้โดนแบนจนเกิดเป็น #แบนfoodpanda ขึ้น

    การแบนในครั้งนี้ มาจากฝันร้ายที่เป็นช่องว่างของความผิดพลาดทางด้านประชาสัมพันธ์และการตลาด ที่เหมือนเป็น PR Nightmare ซึ่งรู้กันหรือไม่ว่า ฝันร้ายในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วกับฟู้ดแพนด้า โดยเฉพาะเมื่อ “กลุ่มเป้าหมาย” ไม่พอใจจุดยืนทางการเมืองของแบรนด์อย่างหนัก

    “foodpanda” เป็นสตาร์ทอัพจากเยอรมนี

    ฟู้ดแพนด้า เป็นสตาร์ทอัพจากเยอรมนี ก่อตั้งเมื่อปี 2012 ภายใต้การดูแลของบริษัทร่วมทุน (Venture) และผู้ปลุกปั้นสตาร์ทอัพ (Incubator) จากประเทศเดียวกันอย่าง “Rocket Internet” ที่เน้นการลงทุนในธุรกิจแวดวงอีคอมเมิร์ซ

    Rocket Internet มี “ชื่อเสียง” ในด้านไม่ดีนัก โดยมักจะ “ลอก” ธุรกิจที่มีอยู่แล้วในประเทศพัฒนาแล้ว และนำไปเปิดตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีธุรกิจเหล่านั้น เช่น Lazada เองก็เคยเป็นธุรกิจในการฟูมฟักของ Rocket Internet โดยมีหน้าตาและรูปแบบคล้ายกับอีคอมเมิร์ซเจ้าดังอย่าง Amazon ในตอนเปิดใช้ช่วงแรก

    ในส่วนของฟู้ดแพนด้า หน้าตาของแบรนด์ในขณะนั้นจะแตกต่างจากตอนนี้อยู่มาก ด้วยการออกแบบที่เต็มไปด้วยความเป็นจีน foodpanda เน้นการเจาะตลาดเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดย ฟู้ดแพนด้าเข้ามาดำเนินการในไทยตั้งแต่ปี 2012 และอายุครบ 9 ขวบไปเมื่อต้นเดือน ก.ค. 2021 ที่ผ่านมา

    บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

    ที่มา: Techcrunch.com

    ในปลายปี 2016 Rocket Internet ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในฟู้ดแพนด้าอยู่ 49.1% ได้ขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Delivery Hero ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ Rocket Internet ลงทุนอยู่ด้วยเช่นกัน โดยในการซื้อขายครั้งนั้น ทำให้ Rocket Internet เพิ่มการถือหุ้นใน Delivery Hero อีก 1.1% เป็น 37.7%

    จากนั้นเป็นต้นมา ฟู้ดแพนด้าจึงดำเนินการภายใต้การบริหารของ Delivery Hero ซึ่งใช้ชื่อในประเทศไทยว่า “บริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) จำกัด” 

    รีแบรนด์จากสีส้มเป็นสีชมพู

    ภายหลังการเปลี่ยนมือเจ้าของฟู้ดแพนด้าได้เปลี่ยนจากโลโก้สีส้มและตัวแพนด้าที่ไม่น่ารักเท่าไร ให้กลายเป็นสีชมพู พร้อมออกแบบสัญลักษณ์แพนด้าใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่า สีส้มเป็นสีที่มีแบรนด์ต่างๆ เลือกใช้มากอยู่แล้ว

    บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

    ที่มา: Positioningmag.com

    ไม่ใช่แค่ปรับเปลี่ยนสีของโลโก้เท่านั้น ฟู้ดแพนด้ายังได้ปรับเปลี่ยนหน้าตาของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเพื่อปรับให้มีการใช้งานที่ง่ายมากขึ้น โดยในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจฟู้ดแพนด้า พยายามลดระยะเวลาการจัดส่งและราคาการจัดส่งลง 

    พี่ทุยจำได้ว่าเคยสั่งอาหารในราคาค่าจัดส่งที่แพงเกือบร้อย ลดลงมาเหลือ 40 บาทในช่วงปี 2017 และยังลดลงอย่างต่อเนื่องจากการแข่งขันอันดุเดือดในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี จนปัจจุบันนี้พี่ทุยเห็นไม่ส่งฟรี ก็เริ่มต้นที่ 9 บาท

    สำหรับฟู้ดแพนด้า นอกเหนือจากการดำเนินในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ยังหนีการแข่งขันสูงเข้าไปดำเนินการในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทยไปเมื่อสิ้นปี 2020 ที่ผ่านมา โดยมีวิกฤตโควิดเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจได้รับการยอมรับมากขึ้น

    ผลงานของ “foodpanda” เป็นยังไงบ้าง ?

    เทรนด์ของฟู้ดเดลิเวอรียังคงอยู่ในช่วง “ลงทุนหนัก แย่งส่วนแบ่ง แต่ขาดทุนหนัก” อยู่ โดยบริษัท เดลิเวอรี่ ฮีโร่ (ประเทศไทย) มีรายได้และการขาดทุนดังต่อไปนี้

    ปี 2015
    รายได้ 121,453,406 บาท
    ขาดทุน 98,672,495 บาท

    ปี 2016
    รายได้ 135,083,182 บาท
    ขาดทุน 93,255,167 บาท

    ปี 2017
    รายได้ 210,210,534 บาท
    ขาดทุน 39,567,155 บาท

    ปี 2018 
    รายได้ 258,950,064 บาท
    ขาดทุน 138,795,391 บาท

    ปี 2019
    รายได้ 818,156,828 บาท
    ขาดทุน 1,264,503,584 บาท

    ในส่วนของบริษัทแม่เองก็อยู่ในช่วงเดียวกัน คือ เน้นการขยายตัวทั่วทั้งโลก โดยขณะที่ในเอเชียมี ฟู้ดแพนด้า เป็นตัวชูโรง ในด้านอเมริกาใต้ก็มี PedidosYa แพลตฟอร์มส่งอาหารภายใต้ Delivery Hero อยู่ และเพิ่งประกาศจะเอาฟู้ดแพนด้า มาบุกประเทศบ้านเกิดอย่างเยอรมนีในเดือน พ.ค. 2021 ที่ผ่านมา

    ผลงานของ “Delivery Hero” เป็นยังไงบ้าง ?

    ปี 2018 
    รายได้ 665.1 ล้านยูโร
    ขาดทุน 258.8 ล้านยูโร 

    ปี 2019 
    รายได้ 1237.6 ล้านยูโร
    ขาดทุน 663.4 ล้านยูโร

    ปี 2020
    รายได้  2471.9 ล้านยูโร
    ขาดทุน 1402.7 ล้านยูโร 

    เกิดอะไรขึ้น ? ที่เดินเกมธุรกิจผิดพลาดถึง 2 ครั้ง

    ในครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงเดือน ส.ค. 2020 ที่ผ่านมา โดยความโกรธของผู้บริโภคที่มีต่อสื่อในเครือ “สำนักข่าวเนชั่น” ได้ทำให้เกิดแฮชแท็ก #แบนโฆษณาเนชั่น ซึ่งในขณะนั้น ฟู้ดแพนด้าได้เป็นสปอนเซอร์หลักให้กับสถานีโทรทัศน์ “เนชั่น ทีวี”

    ในขณะนั้น ฟู้ดแพนด้าเร่งออกมารับมือด้วยการประกาศถอนตัวจากการเป็นสปอนเซอร์ให้กับช่อง “เนชั่น ทีวี” โดยระบุว่า

    “หลังจากพิจารณาและทบทวนปรับแผนการตลาดของฟู้ดแพนด้า ในช่องทางต่างๆ แล้ว foodpanda ประเทศไทยได้ตัดสินใจระงับการโฆษณาทางสำนักข่าวเนชั่น ทีวี” 

    ผู้ใช้ของฟู้ดแพนด้าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่แสดงออกซึ่งไม่พอใจการทำงานของรัฐบาลในขณะนี้ ดังนั้น กระแสลบบนโลกออนไลน์จึงส่งผลกระทบต่อฟู้ดแพนด้าอย่างหนัก

    หลังจากนั้นฟู้ดแพนด้าพยายามเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น การให้การสนับสนุนแวดวงอีสปอร์ต ทั้งผ่านนักแคสต์เกม นักแข่ง สโมสรอีสปอร์ต และการเข้าเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันให้กับเกมมือถือยอดฮิตของคนไทยอย่าง ROV หรือชื่อสากลคือ Arena of Valor (AOV)

    อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่โลโก้ของฟู้ดแพนด้ากำลังขึ้นเป็นผู้สนับสนุนการถ่ายทอดสดรอบชิงชนะเลิศการแข่งขัน Arena of Valor World Cup เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการชิงแชมป์ระหว่างทีม Dtac Talon ตัวแทนไทย และ Most Outstanding People ของไต้หวัน อีกด้านหนึ่งบนท้องถนนก็เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยความไม่พอใจการบริหารสถานการณ์การระบาดโควิด-19

    ในทวิตเตอร์มีผู้ใช้รายหนึ่ง ซึ่งต่อต้านการเดินขบวนประท้วงเมื่อวานนี้ ได้ทวีตคลิปเหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีภาพชายคนหนึ่งที่ขับรถจักรยานยนต์ซึ่งมีกล่องฟู้ดแพนด้าวางอยู่ด้านหลัง พร้อมข้อความว่า “ดูแลพนักงานหน่อยค่ะ กลัวสั่งอาหารแล้วมาเผาหอหนู งอแงแร้วนะ”

    บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

    ฟู้ดแพนด้าได้ออกมาตอบด้านล่างข้อความดังกล่าว ระบุว่า ทางเราจะเร่งดำเนินการตามกฎระเบียบขั้นเด็ดขาดของบริษัท โดยให้พ้นสภาพการเป็นพนักงานทันที 

    “ทางฟู้ดแพนด้ามีนโยบายต่อต้านความรุนแรงและการก่อการร้ายทุกรูปแบบ” ทวิตเตอร์ @foodpanda_th ระบุไว้ในข้อความตอบกลับ

    บริษัท ฟู้ดแพนด้า ไทยแลนด์ จํากัด เจ้าของ

    การตอบกลับดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรง จนเกิดการติดแฮชแท็ก #แบนfoodpanda และกว่าล้านทวิตด้านลบตลอดคืนเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ร้านอาหารหลายร้านประกาศถอนตัวออกจาก ฟู้ดแพนด้า และผู้ใช้รายหลายได้ลบบัญชีผู้ใช้ของฟู้ดแพนด้าทิ้ง

    ในเวลาต่อ ฟู้ดแพนด้าได้ออกมาขออภัยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอตรวจสอบเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ โดยระบุว่าได้มี “การตัดสินใจอย่างไม่ละเอียดถี่ถ้วน” เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ 

    อย่างไรก็ตาม ความเสียหายในวงกว้างได้เกิดขึ้นแล้ว เคสนี้ถือว่าเป็นอีกตัวอย่างของ Crisis Management ที่ดีอีกเคสนึงเลย โดยพี่ทุยมองว่าฟู้ดแพนด้าน่าจะจ้างเอเยนซี่สำหรับดูแลบัญชีทวิตเตอร์ให้กับแอคเคาท์ของตัวเอง ดังนั้น คงต้องกลับไปพิจารณาเรื่องการเลือกใช้เอเยนซี่ด้วยเช่นกัน