วันอัฏฐมีบูชา กิจกรรม ที่ชาวพุทธ ควร ปฏิบัติ

วันนี้เป็นวันพระ และเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ถ้าใครเคยอ่าน Blog ที่ผ่านมาของ น้องเอ๋ ได้เขียนไปแล้ว วันอัฏฐมีบูชา แต่อยากเขียนอีก เพราะวันนี้เป็นแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ให้พวกเราชาวพุทธจะไปทำบุญ และเวียนเทียนที่วัดแถวบ้านกันเป็นประจำ และน้อมรำลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน นับจากวันวิสาขบูชา มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์ อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานได้พร้อมกันกระทำกระทำการถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์แห่งนครกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้า เพราะการสูญเสียแห่งพุทธสรีระ เมื่อวัน แรม ๘ ค่ำ เืดือน ๖ พวกเราชาว พุทธต้องวิปโยคและสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวช และระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธา
นุสสติภาวนามัยกุศล
พิธีอัฏฐมีบูชา : การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำ ได้แก่ การฟังเทศน์ การฟังธรรม และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ แต่ละปี ชาวพุทธ และพระสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา แห่งวัดนั้นๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีขึ้นเป็นการเฉพาะภายในวัด แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน แต่ปัจจุบันยังถือปฏิบัติกันอยู่ และปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวันวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น
จึงขอเชิญชวนทุกท่าน เข้าวัด ฟังธรรม และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ
ที่มา พิทูร มลิวัลย์. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา, ๒๕๒๒.
หน้า ๑๕๐ – ๑๕๓.

Show

             วันนี้ (3 มิ.ย. 64) เป็น “วันอัฏฐมีบูชา” วันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งที่อาจไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก โดยวันอัฏฐมีบูชาคือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าหลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน ตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ

วันอัฏฐมีบูชา กิจกรรม ที่ชาวพุทธ ควร ปฏิบัติ

            ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) แล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์ ผู้ครองนครกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระบรมศพพระพุทธองค์หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเป็นเวลา 7 วัน ครั้นถึงวันที่ 8 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงได้อัญเชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง

           กุสินารา เป็น สังเวชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอุตระประเทศ ประเทศอินเดีย ที่นี่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน

          ในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินารา ตั้งอยู่ในแคว้นมัลละ และสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์ อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ นั่นเอง

          สำหรับความสําคัญของวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย ยังคงมีประชาชนในบางจังหวัดที่ประกอบพิธีทางศาสนาในวันอัฏฐมีบูชา ด้วยการจัดประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลอง เช่น วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์, วัดใหม่สุคนธาราม อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นต้น

วันอัฏฐมีบูชา สะท้อนหลักธรรมข้อใดบ้าง?

           วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันสำคัญที่ชาวพุทธควรตระหนักถึง “ความไม่เที่ยงของชีวิต” การเกิด แก่ เจ็บ และตาย ล้วนเป็นสิ่งธรรมดาที่คู่กับมนุษย์ ไม่เว้นแม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัจธรรมเหล่านึ้จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น ดังนั้น การใช้ชีวิตในแต่ละวัน จึงควรยึดหลัก “สุจริต 3” ในการปฏิบัติตน ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต หมายถึงการประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และใจ อยู่ในทำนองคลองธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั่นเอง

การปฏิบัติตนในวันอัฏฐมีบูชา

             กิจกรรมวันอัฏฐมีบูชา 2564 จะมีลักษณะคล้ายกับพิธีกรรมทางศาสนาในวันวิสาขาบูชา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา ทำจิตใจให้ผ่องใส ซึ่งในบางพื้นที่ก็อาจจัดประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองให้ประชาชนเข้าสักการะบูชา

วันอัฏฐมีบูชา กิจกรรม ที่ชาวพุทธ ควร ปฏิบัติ

              วันอัฏฐมีบูชา อาจจะเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่หลายคนไม่คุ้นเคยมากนัก แต่เมื่อได้ศึกษาที่มา และความสำคัญของวันนี้แล้ว จะพบว่าเป็นวันที่สะท้อนหลักธรรมเรื่องความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน เพื่อไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง.

 

ภาพ -ข้อมูล..สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,ผู้จัดการออนไลน์

วันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย)

 

ความสำคัญ

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 7 วัน มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา   เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้น เวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วนได้ประกอบพิธีบูชาขึ้น มีการเวียนเทียนเป็นต้น แต่ไม่ทั่วไปทั่วราชอาณาจักร โดยจะประกอบพิธีในบางวัดเท่านั้น ตามแต่ความศรัทธาของท้องถิ่น

 

ประวัติพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพุทธประวัติ

วันอัฏฐมีบูชา กิจกรรม ที่ชาวพุทธ ควร ปฏิบัติ

พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออกของพระนครเพื่อถวายพระเพลิง 

 

พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูปโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด

 

หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้

 

กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี

กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์

กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ

กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม

มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ

กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา

พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์

มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา

กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน

โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า ตุมพะ แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป)

 

สำหรับกรณีของกษัตริย์เมืองโมริยะนั้น ได้ส่งผู้แทนมาหลังจากที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทั้ง 8 เมืองไปแล้วจึงได้อัญเชิญพระอังคารไปแทน ส่วนโทณพราหมณ์ ก็ได้สร้างสถูปบรรจุทะนานที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุสำหรับตนเอง และผู้คนได้สักการะดังที่ได้กล่าวไป

 

 

ประเพณีวันอัฏฐมีบูชาในประเทศไทย

ในประเทศไทย พบประเพณีการถวายพระเพลิงพระบรมศพจำลองมีเพียงบางวัดเท่านั้น  เช่น วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประเพณีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ในปัจจุบันประเพณีนี้ได้รับการสนับสนุนจากทางหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยจัดเป็นงาน "วันอัฏฐมีบูชารำลึก เมืองทุ่งยั้ง" ณ วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดจัดงานในวันวิสาขบูชา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวม 9 วัน กิจกรรมภายในงานมีการแสดง แสง สี เสียง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน จนถึงพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า(จำลอง) มีประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียงเข้าชมเป็นจำนวนมาก

 

นอกจากนี้ยังพบประเพณีการจำลองถวายพระเพลิงอีกแห่งหนึ่งในภาคกลาง คือที่ วัดใหม่สุคนธาราม จัดโดย องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่มีการสืบสานประเพณีนี้มายาวนาวกว่า 120 ปี ซึ่งถือเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในลุ่มน้ำภาคกลาง ที่รักษาประเพณีนี้มายาวนานที่สุด เป็นประเพณีพื้นบ้านที่ชาวบ้านร่วมกันจัดขบวนแห่เครื่องสักการะ ตะไล บั้งไฟ มาจุดเพื่อเป็นพุทธสักการะ และมีขบวนพุทธประวัติ จำลองหลักธรรมคำสอน ก่อนที่จะมีพิธีการจำลองการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งมีประชาชนในชุมชนและทั่วไปแห่แหนกันมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

 

พิธีอัฏฐมีบูชา 

   การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น 

 

คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา

 

ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา. 

 

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.