พรบ อํานวยความสะดวก วัตถุประสงค์

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับกรม

    • ประวัติ
    • ตราสัญลักษณ์
    • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการกรม อำนาจหน้าที่
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนปฏิบัติราชการ
    • หลักการทำงาน 4S และ 3DNA
    • ผู้บริหาร

  • ติตต่อกรม

    • หน่วยงานส่วนกลาง
    • หน่วยงานส่วนภูมิภาค

  • กฏหมายแรงงาน
  • คำถามบ่อย
  • ค่าจ้างขั้นต่ำ

    คุณอยู่ที่:  
  1. หน้าแรก
  2. พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯ
  3. พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

พรบ อํานวยความสะดวก วัตถุประสงค์
พรบ อํานวยความสะดวก วัตถุประสงค์

หน่วยงานสังกัดกรม

  • สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน
  • สำนักแรงงานสัมพันธ์
  • กองความปลอดภัยแรงงาน
  • กองคุ้มครองแรงงาน
  • กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองนิติการ
  • กองบริหารการคลัง
  • กองสวัสดิการแรงงาน
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

พรบ อํานวยความสะดวก วัตถุประสงค์

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558หรือกฎหมายกลางที่กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป (ยกเว้นมาตรา 17 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป) โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตจำนวนมาก การประกอบกิจการของประชาชน จะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตบางฉบับไม่ได้กำหนดระยะเวลา เอกสารและหลักฐานที่จำเป็น รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาไว้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคำขออนุญาตดำเนินการต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่จะกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต และมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำร้องและศูนย์รับคำขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาตซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน 

2. กฎหมายนี้ให้ใช้บังคับกับบรรดาการอนุญาต การจดทะเบียนหรือการแจ้ง ที่มีกฎหมายหรือกฎกำหนดให้ต้องขออนุญาต จดทะเบียน หรือแจ้ง ก่อนดำเนินการใด ทั้งนี้บทบัญญัติของกฎหมายใดที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายฉบับนี้ ให้ใช้กฎหมายฉบับนี้แทน

3. การยกเว้นการใช้บังคับกฎหมาย

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ไม่ใช้บังคับแก่กิจการหรือหน่วยงาน ต่อไปนี้

    3.1 รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี

    3.2 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล และการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์

    3.3 การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

    3.4 การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    3.5 การอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารด้านยุทธการ รวมทั้งตามกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยุทธภัณฑ์ และกฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน

การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กำหนดนี้แล้ว ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (ปัจจุบันยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นกิจการหรือหน่วยงานใดเพิ่มเติม)

4. การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต

ทุก 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (หรือปี พ.ศ. 2563 , 2568...) ผู้อนุญาตหรือผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจอนุญาต จะต้องพิจารณากฎหมายว่าสมควรปรับปรุง เพื่อยกเลิกการอนุญาต หรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาตหรือไม่ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็น จะพิจารณาปรับปรุงกฎหมายหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทน ในกำหนดระยะเวลาที่เร็วกว่ารอบ 5 ปีนี้ก็ได้

ผู้อนุญาตจะต้องเสนอผลการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณายกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต โดยให้คณะรัฐมนตรีรับฟังความคิดเห็นของ คณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบการพิจารณา

5. คู่มือสำหรับประชาชน

ผู้อนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต จะต้องจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อย่างน้อยประกอบด้วย 

    - หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ 

    - ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต 

    - รายการเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นพร้อมกับคำขอ 

    - จะกำหนดให้ยื่นคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการยื่นคำขอด้วยตนเองก็ได้ 

คู่มือสำหรับประชาชน ต้องปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ยื่นคำขอ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อประชาชนประสงค์จะได้สำเนาคู่มือดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดสำเนาให้ โดยจะคิดค่าใช้จ่ายตามควรแก่กรณีก็ได้ โดยให้ระบุค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนด้วย

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีหน้าที่ตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต ว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่ หากเห็นว่าล่าช้าเกินสมควร ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการให้ผู้อนุญาตแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็ว

ให้ส่วนราชการจัดให้มี ศูนย์บริการร่วม เพื่อรับคำขอและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ ไว้ ณ ที่เดียวกันตามแนวทางที่ ก.พ.ร. กำหนด

6. พนักงานเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ตรวจสอบคำขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานที่ยื่นให้ถูกต้องครบถ้วน หากเห็นว่าไม่ถูกต้องหรือขาดเอกสารหลักฐานให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบทันที

    - ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ขณะนั้น ให้แจ้งให้ดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วน

    - ถ้าเป็นกรณีไม่อาจแก้ไขหรือเพิ่มเติมในขณะนั้น ให้บันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารที่จะต้องยื่นเพิ่มเติม พร้อมกำหนดเวลาให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้น

พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมอบสำเนาบันทึกดังกล่าว ให้ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐาน

กรณีที่ผู้ยื่นคำขอ จัดทำคำขอถูกต้องและแนบเอกสารครบถ้วนตามคู่มือสำหรับประชาชนแล้ว หรือมีการแก้ไขหรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมครบถ้วนตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่แนะนำ หรือตามที่ปรากฏในบันทึกแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่นอีกไม่ได้ และจะปฏิเสธการพิจารณาคำขอโดยอาศัยเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์ของคำขอหรือความไม่ครบถ้วนของเอกสารไม่ได้ เว้นแต่เกิดจากความประมาทเลินเล่อหรือทุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นผลให้ไม่อาจอนุญาตได้ (ในกรณีนี้ ให้ผู้อนุญาตสั่งการตามที่เห็นสมควร และดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า)

7. กรณีผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขคำขอหรือไม่ส่งเอกสารเพิ่มเติม ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งหรือตามบันทึกดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่คืนคำขอพร้อมแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอให้ทราบด้วย

ผู้ยื่นคำขอจะอุทธรณ์คำสั่งคืนคำขอ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หรือจะยื่นคำขอใหม่ก็ได้ แต่ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นคำขอใหม่ภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย

8. ผู้อนุญาตต้องดำเนินการให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ

เมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ระบุในคู่มือสำหรับประชาชนแล้ว หากยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุก 7 วัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมส่งสำเนาการแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบทุกครั้ง

ถ้า ก.พ.ร. เห็นว่า ความล่าช้านั้น เกินสมควรแก่เหตุหรือขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ให้ ก.พ.ร. รายงานต่อคณะรัฐมนตรี พร้อมเสนอแนะให้มีการพัฒนาหรือปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการของหน่วยงานนั้น

การไม่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดังกล่าว ให้ถือว่าผู้อนุญาตกระทำการหรือละเว้นกระทำการเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เว้นแต่จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย

9. กรณีมีกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือข้อบังคับใด ออกใช้บังคับและมีผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ที่ปรากฏในคู่มือสำหรับประชาชน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่ให้ใช้บังคับกับการยื่นคำขอที่ได้ยื่นไว้แล้วโดยชอบก่อนวันที่กฎหมาย กฎ ระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ เว้นแต่กฎหมายนั้นจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่สำหรับในกรณีกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับนั้นจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นได้ ก็แต่เฉพาะในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำขอ

10. การชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต

กรณีกฎหมายกำหนดอายุใบอนุญาตไว้ และกิจการหรือการดำเนินการที่ได้รับอนุญาตนั้น มีลักษณะเป็นกิจการหรือการดำเนินการที่เห็นได้ว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตจะประกอบกิจการหรือดำเนินการนั้นต่อเนื่องกัน คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต ชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ แทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา 

เมื่อหน่วยงานซึ่งมีอำนาจออกใบอนุญาตได้รับค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว ให้ออกหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาตโดยเร็ว และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตได้รับการต่ออายุใบอนุญาตตามกฎหมายแล้ว

ก่อนตราพระราชกฤษฎีกา ให้คณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว หากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามิได้มีมติทักท้วง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกาต่อไป

ก.พ.ร. มีหน้าที่หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต ชำระค่าธรรมเนียมการต่อใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่อใบอนุญาตดังกล่าว

11. ผู้อนุญาตมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทาง การตรวจสอบการประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตกำหนด 

พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้อนุญาตมีหน้าที่ต้องตรวจสอบตามหลักเกณฑ์และแนวทางดังกล่าว

กรณีมีผู้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ หรือเสียหายจากการประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการของผู้ได้รับอนุญาต ไม่ว่าความจะปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เองหรือมีผู้ร้องเรียน ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการตรวจสอบและสั่งการตามอำนาจหน้าที่โดยเร็ว

12. ศูนย์รับคำขออนุญาต 

กรณีจำเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้คณะรัฐมนตรีมีมติจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับคำขอตามกฎหมาย

ศูนย์รับคำขออนุญาตดังกล่าว มีฐานะเป็นส่วนราชการ ตามมาตรา 18 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีสาขาของศูนย์ประจำกระทรวงหรือประจำจังหวัดด้วยก็ได้

พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้กำหนดรายชื่อกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตที่จะให้อยู่ภายใต้การดำเนินการของศูนย์รับคำขออนุญาต และจะกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอ ยื่นคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

13. การดำเนินการและผลทางกฎหมายของศูนย์รับคำขออนุญาต

    13.1 ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาต กำหนดให้ต้องยื่นคำขอหรือส่งเอกสารหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียมใด ณ สถานที่ใด ถ้าได้มีการยื่นคำขอหรือส่งเอกสารหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียม ณ ศูนย์รับคำขออนุญาตแล้ว ให้ถือว่าได้มีการยื่นคำขอหรือส่งเอกสารหลักฐาน หรือค่าธรรมเนียมโดยชอบตามกฎหมายนั้นแล้ว

    13.2 บรรดาเงินค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ศูนย์รับคำขออนุญาตได้รับไว้ดังกล่าว ให้ศูนย์รับคำขออนุญาตนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินในนามของหน่วยงานของผู้อนุญาต หรือส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี และแจ้งให้หน่วยงานของผู้อนุญาตทราบ

    13.3 กรณีที่หน่วยงานของผู้อนุญาตมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายจากเงินที่จะต้องนำส่งคลัง ให้ศูนย์รับคำขออนุญาตหักเงินดังกล่าวแทน และส่งมอบเงินที่หักไว้นั้นให้แก่หน่วยงานของผู้อนุญาต โดยให้ศูนย์รับคำขออนุญาตมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายของศูนย์รับคำขออนุญาตตามอัตราที่จะได้ตกลงกับหน่วยงานของผู้อนุญาต

    13.4 ระยะเวลาที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน ให้นับแต่วันที่ศูนย์รับคำขออนุญาต ส่งเรื่องให้ผู้อนุญาต โดยศูนย์รับคำขออนุญาตจะต้องส่งเรื่องให้ผู้อนุญาตไม่ช้ากว่า 3 วันทำการ และให้นำเรื่องการไม่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ให้ถือว่าผู้อนุญาตกระทำการหรือละเว้นกระทำการเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เว้นแต่จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย (ข้อ 8) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

    13.5 ผู้อนุญาตมีหน้าที่จะต้องส่งคู่มือสำหรับประชาชนที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันให้ศูนย์รับคำขออนุญาตตามจำนวนที่จำเป็น และดำเนินการให้มีการฝึกอบรมหรือชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์รับคำขออนุญาต เพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย

    13.6 เจ้าหน้าที่ของศูนย์รับคำขออนุญาตมีหน้าที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบคำขอและแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และต้องรับผิดชอบในฐานะเช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ (ข้อ 6)

14. ศูนย์รับคำขออนุญาต มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

    14.1 รับคำขอและค่าธรรมเนียม รวมทั้งคำอุทธรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต

    14.2 ให้ข้อมูล ชี้แจง และแนะนำผู้ยื่นคำขอหรือประชาชน ให้ทราบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต รวมทั้งความจำเป็นในการยื่นคำขออื่นใดที่จำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง ในการประกอบกิจการหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด

    14.3 ส่งคำขอ หรือคำอุทธรณ์ พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคอยติดตามเร่งรัดหน่วยงานดังกล่าว เพื่อดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ และคู่มือสำหรับประชาชนหรือตามกฎหมายที่ให้สิทธิในการอุทธรณ์

    14.4 กรณีที่เห็นว่าหลักเกณฑ์หรือวิธีการในการยื่นคำขอ มีรายละเอียดหรือกำหนดให้ต้องส่งเอกสารไม่จำเป็น หรือเป็นภาระเกินสมควรแก่ประชาชน ให้เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

    14.5 รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากการอนุญาต และการดำเนินการของศูนย์รับคำขออนุญาต เพื่อเสนอต่อ ก.พ.ร. เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป

    14.6 เสนอแนะในการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอน ระยะเวลา เกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ รวมถึงข้อเสนอในการออกกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการอนุญาต เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น

15. นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

#นักเรียนกฎหมาย

3 พฤศจิกายน 2563