โจทย์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมเฉลย

    ตัวอย่าง (2) ในปี พ.ศ. 2560 นายเขียวทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งได้เงินเดือน ๆ ละ 50,000 บาท นายเขียวมีภรรยาจด            ทะเบียนตามกฎหมาย และบุตรผู้เยาว์ 2 คน ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนของรัฐบาลทั้ง 2 คน ตลอดปีภรรยาและบุตรของนายเขียวไม่มีเงินได้แต่อย่างใด นายเขียวต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดาของตนซึ่งอายุเกิน 60 ปี นายเขียวได้เอาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยา จำกัด มีกำหนดระยะเวลา 15 ปี ได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตไปในปี พ.ศ. 2560 เป็นเงิน 20,000 บาท ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินร้อยละ 4 ของค่าจ้าง ได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารเป็นเงิน 30,000 บาท สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย โดยจำนองบ้านที่ซื้อเป็นประกันการกู้ยืม ได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเงินร้อยละ 5 ของค่าจ้าง และได้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิสายใจไทยเป็นเงิน 15,000 บาท ให้คำนวณภาษีที่นายเขียวจะต้องเสีย    (ค่าจ้างที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเงินสมทบของผู้ประกันตนกำหนดเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

                                                                                                                                                           (หน่วย : บาท)

วิธีทำ   เงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 ของนายเขียว                                                           =            50,000 x 12

                                                                                                                                                =          600,000

หัก       เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนที่เกิน

            10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท (24,000-10,000)                                               =            14,000

            เงินได้พึงประเมินที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี                                                           =          586,000

หัก       ค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

            (586,000 x 50/100 = 293,000)                                                                                    =          100,000

            เงินได้หลังจากค่าใช้จ่าย                                                                                              =          486,000

หัก       ค่าลดหย่อนสำหรับนายเขียว                60,000

            ค่าลดหย่อนสำหรับภรรยานายเขียว      60,000

            ค่าลดหย่อนสำหรับบุตร 2 คน              60,000

            ค่าลดหย่อนสำหรับบิดานายเขียว         30,000

            ค่าลดหย่อนสำหรับมารดานายเขียว     30,000                                                             =          240,000

            เงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนตามสถานภาพของผู้มีเงินได้                                        =          246,000

หัก       ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต (ลดหย่อน 10,000 บาท

            ยกเว้น ส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 90,000 บาท

            ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินหลังค่าใช้จ่าย)                                                                  =            20,000

            เงินได้หลังจากหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต                                                                =          226,000

หัก       ลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพร้อยละ 4

            ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

            (600,000 x 4/100 = 24,000)                                                                                        =            10,000

            เงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุน

            สำรองเลี้ยงชีพ                                                                                                             =          216,000

หัก       ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (หักได้เท่าจำนวนที่จ่ายจริง

แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)                                                                                             =            30,000

            เงินได้หลังจากหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม                                                               =          186,000

หัก       ลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมร้อยละ 5

ของค่าจ้าง (15,000 x 5/100 x 12 = 9,000)                                                                  =              9,000

เงินได้หลังจากหักลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้าทองทุนประกันสังคม                        =          177,000

หัก       ลดหย่อนเงินบริจาค (หักได้เท่าจำนวนที่บริจาค

            แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือ)                                                                          =            15,000

            เงินได้สุทธิ                                                                                                                  =          162,000

            เงินได้สุทธิ      150,000   บาทแรก      ได้รับยกเว้นภาษี

            เงินได้สุทธิ       12,000    บาทที่เหลือ  เสียภาษีร้อยละ 5                                             =          600

            ภาษีเงินได้ที่นายเขียวจะต้องเสียทั้งปี                                                                          =          600