จุด ประสงค์ ที่แท้จริง ที่นายล้ำมาหาพระยาภักดี คือ อะไร

นางในวรรณคดี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลออ: ความดีงามอันนำไปสู่ความเห็นแก่ลูก

ผู้เขียน สายป่าน ปุริวรรณชนะ
บรรณาธิการ ชนัญญา เตชจักรเสมา

ในบรรดา “นางเอก” จากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้เลือกนำมาแนะนำให้รู้จักในครั้งนี้ “แม่ลออ” คงเป็นตัวละครที่มีบทบาทน้อยที่สุด เหตุเพราะเรื่องราวของเธอมาจากบทละครพูดองก์เดียวเรื่อง เห็นแก่ลูก ซึ่งมีตัวละคร “พระยาภักดีนฤนาถ” กับ “นายล้ำ (ทิพเดชะ)” บิดาเลี้ยงและบิดาแท้ๆ ของเธอเป็นตัวเดินเรื่อง ดังนี้

พระยาภักดีนฤนาทรับแม่ลออ บุตรีวัย ๒ ปีของนายล้ำ อดีตข้าราชการราชทินนาม “ทิพเดชะ” ผู้เคยเป็นเพื่อนสนิทของตนมาเป็นบุตรบุญธรรม เนื่องจากนายล้ำต้องโทษจำคุกฐานทุจริต ๑๕ ปีให้หลังนายล้ำกลับมาทวงสิทธิ์ความเป็นพ่อที่แท้จริงของแม่ลออจากพระยาภักดีฯ ด้วยหวังว่าจะให้ลูกสาวอุปการะเลี้ยงดูตน พระยาภักดีฯ ไม่อยากให้แม่ลออต้องอับอายที่มีพ่อเป็นอดีตนักโทษ หนำซ้ำยังอาจถูกครอบครัวของคู่หมายซึ่งเป็นชายหนุ่มชาติตระกูลดีและคนอื่นๆ ในวงสังคมชั้นสูงรังเกียจจึงพยายามเสนอให้นายล้ำรับเงิน ๑๐๐ ชั่งเป็นค่าปิดปาก แต่นายล้ำดึงดันจะเปิดเผยความจริง พระยาภักดีเกือบจะทำร้ายนายล้ำ ทว่าแม่ลออกลับมาถึงบ้านเสียก่อน เมื่อนายล้ำได้พูดคุยกับลูกสาวและรู้ว่าแม่ลออวาดภาพ “พ่อที่แสนดี” ไว้ในใจก็นึกละอาย สุดท้ายก็จากไปโดยไม่บอกแม่ลออว่าตนเป็นใคร

ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้นายล้ำผู้หวังจะมา “เกาะลูกสาวกิน” เปลี่ยนใจด้วยเกิดสำนึกละอายนั้นจะได้แก่คำพูดไม่กี่ประโยคของแม่ลออว่า

		ถ้ายังงั้นดิฉันก็ยิ่งดีใจมากขึ้นที่ได้พบคุณ ก็คุณพ่อดิฉันที่ตายล่ะคะรู้จักไหม? (นายล้ำพยักหน้า.) 
	ถ้ายังงั้นคุณก็ดีกว่าดิฉัน ดิฉันไม่รู้จักเลย,เคยเห็นแต่รูปที่ในห้องคุณแม่รูปร่างสูง ๆ หน้าอกกว้าง ดิฉันช่าง
	ชอบหน้าเสียจริง ๆ หน้าตาเป็นคนซื่อ ใจคอกว้างขวาง, ถ้าใครบอกดิฉันว่าเป็นคนไม่ดี ดิฉันไม่ยอมเชื่อ
	เป็นอันขาดเทียว แต่ท่านก็เป็นคนดีจริง ๆ อย่างที่ดิฉันนึกเดาเอาในใจ คุณพ่อนี่ก็ได้บอกดิฉันว่างั้น จริง
	ไหมคะ คุณพ่อ?  

น่ายินดีที่จิตใจอันดีงามซึ่งสะท้อนผ่านการกระทำและคำพูดของลูกสาวทำให้ “พ่อที่ (เคย) เห็นแก่ตัว” อย่างนายล้ำ รู้จัก “เห็นแก่ลูก” ขึ้นมาได้ และก็น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้นายล้ำเลิกพฤติกรรมไม่ดีไม่งามในอดีต กลับตัวกลับใจเพื่อจะเป็น “พ่อที่ดี” ให้สมแก่ภาพของพ่อในหัวใจของลูกสาวได้ด้วย

สันนิษฐานว่าบทละครเรื่องนี้เป็นบทละครพูดพระราชนิพนธ์ภาษาไทยเรื่องแรกที่มิได้ทรงแปลจากบทละครต่างประเทศ ทรงใช้พระนามแฝงว่า “พระขรรค์เพชร” พร้อมทั้งพระราชทานชื่อเรื่องภาษาอังกฤษว่า “For His Child” ต่อมาหลังจากทรงตั้งทวีปัญญาสโมสรและสร้างโรงละครทวีปัญญาในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นละครเรื่องหนึ่งในสองเรื่อง (อีกเรื่อง คือ ละครจากพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “เกินต้องการ”) ของรายการ “ละครสราญรมย์” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ซึ่งเป็นรายการเดียวที่มีหลักฐานยืนยันว่าได้จัดแสดงในโรงละครทวีปัญญาสโมสร มีรายนามผู้แสดงดังนี้ หลวงเทพรัตนนรินทร์ รับบทพระยาภักดีนฤนารถ นายจำนงราชกิจ รับบทนายล้ำ ทิพเดชะ หลวงสวัสดิ์เวียงไชย รับบท อ้ายคำ นายช่วง รับบท แม่ลออ

อนึ่ง ในการนั้นโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ละครสราญรมย์ ได้แก่ นายวรการบัญชาทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั่วไป นายจำนงราชกิจทำหน้าที่เลขานุการ หลวงบุรีนวราษฐ์ทำหน้าที่ผู้จัดการแผนกฉาก หลวงพิทักษ์มานพทำหน้าที่ผู้จัดการแผนกโยธา ขุนประสานดุริยศัพท์ทำหน้าที่ครูผู้อำนวยการวงปี่พาทย์ ส่วนเครื่องเรือนประกอบฉากนำมาจากกองมหันตโทษ

หลังจากคราวละครสราญรมย์ ละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกได้นำมาจัดแสดงอีก ๒ ครั้งในรัชกาล ได้แก่ แสดงใน “เวรอันเต” ของหม่อมหลวงปิยบุตร์ และทรงเรียกบทไปทอดพระเนตรเพื่อจัดการฝึกซ้อมเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกยังได้รับความนิยมแม้ภายหลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังเช่นเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีการจัดแสดงละครพูดเรื่องนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในการเปิดชุมนุมดนตรีและละครของคุรุสภา ผู้ที่รับบทเป็นนายล้ำ (ทิพเดชะ) ได้แก่ นายขาว โกมลมิศร์ เล่ากันว่าท่านผู้นี้เข้าถึงบทบาทมากจนกระทั่งน้ำตาไหลขณะแสดง

แม้ว่าบทพระราชนิพนธ์เรื่อง เห็นแก่ลูก จะมีความยาวไม่มากนัก แต่กลับเป็นที่จับใจของผู้ที่ได้อ่านและได้ชมละครเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากที่มีการแสดงละครเรื่องนี้ซ้ำหลายรอบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และยังคงได้รับการกล่าวถึง ตลอดจนบรรจุเป็นบทอ่านในหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในปัจจุบัน

บรรณานุกรม

ปิ่น มาลากุล, หม่อมหลวง. งานละครของสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม.
	กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. เห็นแก่ลูก หนามยอกเอาหนามบ่ง คดีสำคัญ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 
	๒๕๑๓.

เชิญพบกับลออได้ใน เห็นแก่ลูก ฉบับดิจิทัลออนไลน์เปิดอ่านได้ฟรี
จุด ประสงค์ ที่แท้จริง ที่นายล้ำมาหาพระยาภักดี คือ อะไร

http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=K6-00049

จุด ประสงค์ ที่แท้จริง ที่นายล้ำมาหาพระยาภักดี คือ อะไร

มีคำกล่าวว่าความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้นยิ่งใหญ่ที่สุด เพื่อน ๆ เห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ไหม

แน่นอนว่าต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บทเรียนออนไลน์จาก StartDee ในวันนี้จึงอยากพาเพื่อน ๆ ไปอ่านบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก บทละครที่ถ่ายทอดความรักอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อทั้งสองที่มีต่อลูก อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงสงสัยว่า ‘ทำไมถึงมีคุณพ่อตั้งสองคนล่ะ ?’ เรื่องราวจะเป็นมาอย่างไร ติดตามต่อได้ในบทความนี้เลย ! 

หรือจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee เพื่อรับชมแอนิเมชันสนุก ๆ ก็ได้เช่นกัน

จุด ประสงค์ ที่แท้จริง ที่นายล้ำมาหาพระยาภักดี คือ อะไร

ประวัติความเป็นมาและผู้แต่งบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกเป็นบทละครพูดขนาดสั้นที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยใช้พระนามแฝงว่า ‘พระขรรค์เพชร’ หากเพื่อน ๆ ลองสังเกตงานพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ก็จะพบว่าทรงมีพระนามแฝงหลายพระนามมาก และนามแฝงเหล่านี้จะมีไว้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน อย่างเช่น อัศวพาหุที่เป็นนามแฝงสำหรับบทความเกี่ยวกับการเมือง และพระขรรค์เพชรที่เป็นนามแฝงสำหรับบทละคร โดยบทละครเหล่านี้มักสอดแทรกแนวคิดเพื่อชี้นำสังคม และทำหน้าที่เป็น ‘เครื่องอบรมจิตใจประชาชน’ เสมอ ๆ 

สำหรับพล็อตเรื่อง รัชกาลที่ ๖ ทรง ‘คิดพล็อต’ บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกขึ้นเองทั้งหมด โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลสันนิษฐานว่า บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกนั้นเป็นบทละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยมิได้ดัดแปลงมาจากเรื่องอื่นในภาษาอื่น เนื้อเรื่องและฉากของบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกจึงสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย แต่ก็มีกลิ่นอายความเป็นบทละครพูด ‘อย่างตะวันตก’ อย่างที่ทรงโปรด

บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกนั้นมีความยาวเพียงองก์เดียว (ตอนเดียว) มีฉากเดียว และมีปมเรื่องที่ไม่ซับซ้อน แต่ก็มีความสนุกสนานและให้ข้อคิดที่ดี และหลังจากเผยแพร่เป็นภาษาไทย บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกยังได้รับการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกกว่า ๑๓ ภาษา เช่น ภาษาเกาหลี จีน ญี่ปุ่น นอร์เวย ฝรั่งเศส มาเลย์ รัสเซีย สเปน สิงหล (ภาษาที่ใช้ในประเทศศรีลังกา) อังกฤษ อาหรับ อินโดนีเซีย และภาษาฮินดี (ภาษาที่ใช้ในประเทศอินเดียตอนกลางและตอนเหนือ)

แนะนำตัวละครในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

ด้วยความที่เป็นบทละครพูดเพียงองก์เดียว ตัวละครในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกจึงมีไม่มาก ดังนี้ 

นายล้ำ (ทิพเดชะ)

นายล้ำคือพ่อที่แท้จริงของแม่ลออ ในอดีตนายล้ำเคยรับราชการมีราชทินนามว่า ‘ทิพเดชะ’ แต่เนื่องจากถูกจับได้ว่าทุจริตนายล้ำจึงต้องโทษจำคุก และเมื่อพ้นโทษก็ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ปัจจุบันนายล้ำจึงเป็นชายวัยกลางคน อายุราว ๔๐ ปี หน้าตาทรุดโทรมและการแต่งกายซอมซ่อเนื่องจากติดสุราหนักและฐานะไม่ค่อยจะดีนัก

พระยาภักดีนฤนาถ

พระยาภักดีนฤนาถเป็นเกลอ (เพื่อน) เก่าของนายล้ำตั้งแต่สมัยที่รับราชการอยู่ด้วยกัน ปัจจุบันพระยาภักดีนฤนาถก็ยังรับราชการอยู่และได้เป็นใหญ่เป็นโต นอกจากนี้พระยาภักดีนฤนาถยังเป็น ‘พ่อบุญธรรม’ ของแม่ลออ บุตรของนายล้ำอีกด้วย

แม่ลออ

แม่ลออเป็นหญิงสาวอายุ ๑๗ ปี มีกิริยามารยาทที่เพียบพร้อม เป็นบุตรของนายล้ำและแม่นวล แต่นายล้ำทิ้งแม่ลออไปตั้งแต่ ๒ ขวบและไม่เคยได้เลี้ยงดูแม่ลออในฐานะพ่อเลย ปัจจุบันแม่ลออกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำ ลูกชายของเจ้าคุณรณชิตซึ่งเป็นเศรษฐี

อ้ายคำ

คนใช้ของบ้านพระยาภักดีนฤนาถ เป็นคนซื่อสัตย์ รู้หน้าที่ และไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ

เรื่องย่อบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

นายล้ำไปหาพระยาภักดีนฤนาถที่บ้าน แต่ขณะนั้นพระยาภักดีนฤนาถยังไม่กลับจากที่ทำงาน นายล้ำจึงได้เจอกับ ‘อ้ายคำ’ คนใช้ของบ้านพระยาภักดีนฤนาถ นายล้ำตัดสินใจนั่งรอจนกว่าพระยาภักดีนฤนาถจะกลับ อ้ายคำก็เฝ้านายล้ำอยู่ไม่ไปไหน เพราะการแต่งกายและลักษณะหน้าตาของนายล้ำนั้นดูไม่น่าไว้ใจ อ้ายคำก็กลัวว่าจะเป็นโจร

จนกระทั่งพระยาภักดีนฤนาถกลับมาถึงบ้าน นายล้ำจึงกล่าวทักทายพระยาภักดีนฤนาถ แต่ด้วยความที่ไม่ได้พบกันนานและนายล้ำก็เปลี่ยนไปมาก พระยาภักดีนฤนาถจึงต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะจำนายล้ำได้ จากนั้นทั้งสองจึงพูดคุยถามไถ่ความเป็นอยู่กันและกัน

นายล้ำเล่าถึงชีวิตของตนหลังออกจากคุกจนต้องหนีไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเพราะไม่กล้าสู้หน้าใคร นายล้ำต้องการงานใหม่ที่สบายและได้ผลกำไรดี ในช่วงแรกนายล้ำพยายามหางานตำแหน่งเสมียนบาญชี (พนักงานบัญชี) แต่ก็ไม่มีใครรับ นายล้ำจึงหันไปทำการค้าขายฝิ่นกับจีนกิมและจีนเง็ก เกือบโดนจับแต่ก็รอดมาได้เพราะได้หมอความ (ทนายความ) ฝีมือดีช่วยแก้ต่างให้

พระยาภักดีนฤนาถจึงถามนายล้ำว่าที่มาหาถึงบ้านนั้นต้องการอะไร นายล้ำที่หมดหนทางทำกิน และได้ข่าวว่าแม่ลออ ลูกสาวแท้ ๆ ของตนกำลังจะแต่งงานกับลูกเศรษฐี จึงตั้งใจมาหาแม่ลออเพื่อเปิดเผยความจริงว่าตนเป็นพ่อและหวังให้แม่ลออเลี้ยงดู แต่พระยาภักดีนฤนาถก็ไม่เต็มใจให้นายล้ำพบกับแม่ลออ เกิดการโต้เถียงกันขึ้นมาใหญ่โต นายล้ำตัดพ้อว่าตนไม่ใช่ผู้เดียวที่เคยทำผิดพลาด พร้อมประชดว่าพระยาภักดีนฤนาถไม่เคยติดคุก คงไม่เข้าใจความลำบากนี้ คนที่เคยมีประวัติไม่ดี ทำดีไปก็ไม่มีใครสนใจ สู้ประพฤติชั่วไปเลยยังจะดีเสียกว่า พร้อมบอกว่าอยากเห็นหน้าแม่ลออ และต้องการมาช่วยงานแต่งงานที่จะถึงนี้ด้วย แต่พระยาภักดีนฤนาถไม่อยากให้แม่ลออมาคบค้าสมาคมกับคนมีมลทินอย่างนายล้ำ พร้อมโต้กลับไปว่าแม่ลออนั้นใช่ลูกของนายล้ำจริง ๆ หรือ เพราะนายล้ำเองก็ติดคุก ไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออตั้งแต่ยังเล็ก แม่ลออเองก็เคยเห็นนายล้ำแค่ในรูปถ่าย และก่อนแม่นวล (เมียของนายล้ำ ซึ่งเป็นแม่ของแม่ลออ) จะตาย แม่นวลก็ฝากฝังแม่ลออไว้กับพระยาภักดีนฤนาถ พระยาภักดีนฤนาถเองก็รักและเลี้ยงดูแม่ลออเหมือนลูกแท้ ๆ มาตลอด และบอกว่าพ่อที่แท้จริงของแม่ลออนั้นเสียชีวิตไปแล้ว นายล้ำรู้ตัวว่าตนบกพร่องในหน้าที่ของพ่อจึงอยากจะขอโอกาสอีกครั้ง แต่พระยาภักดีนฤนาถก็เห็นว่าสายไปเสียแล้ว และรู้ทันว่านายล้ำต้องการเงิน พระยาภักดีนฤนาถจึงเสนอเงินให้นายล้ำพร้อมขอให้กลับไปเสีย แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเพราะเห็นว่าเงินนี้ใช้เดี๋ยวเดียวก็หมด ไม่ยั่งยืนเท่าการอยู่ให้แม่ลออเลี้ยงดูปูเสื่อ พระยาภักดีนฤนาถจึงเริ่มโกรธจึงไล่นายล้ำให้ออกจากบ้านไปซะ ยิ่งนายล้ำหัวเราะเยาะก็ยิ่งยั่วให้พระยาภักดีนฤนาถโมโหจนหยิบแส้มาไล่ฟาดนายล้ำ

ขณะที่เหตุการณ์กำลังวุ่นวาย แม่ลออก็กลับมาถึงบ้านพอดี เมื่อเห็นคนแปลกหน้าอยู่ในบ้าน แม่ลออจึงถามพระยาภักดีนฤนาถว่านายล้ำเป็นใคร พระยาภักดีนฤนาถจึงตอบว่านายล้ำเป็นเพื่อนเก่า เคยเห็นแม่ลออตั้งแต่ยังเล็ก ๆ และรู้จักแม่นวลเป็นอย่างดี เมื่อได้ยินดังนั้นแม่ลออจึงสอบถามนายล้ำว่ารู้จักพ่อของตนที่ตายไปแล้วบ้างไหม พ่อของตนมีมีนิสัยใจคออย่างไร เพราะตนเองเคยเห็นพ่อแต่ในรูปถ่าย และมั่นใจว่าพ่อของตนจะต้องเป็นคนดีแน่นอน หากใครบอกว่าพ่อของตนเป็นคนไม่ดีนั้นก็คงไม่เชื่อเด็ดขาด

นายล้ำได้ยินดังนั้นก็รู้สึกละอายใจและไม่อยากลบภาพพ่อในอุดมคติที่แม่ลออคิดไว้ จึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงกับแม่ลออ เพื่ออนาคตที่ดีของแม่ลออ นายล้ำคิดว่าตนควรเดินออกจากชีวิตของลูกไปคงจะดีกว่า ดังนั้นเมื่อแม่ลออชวนนายล้ำมารดน้ำสังข์ในงานแต่งของตน นายล้ำจึงปฏิเสธว่าต้องไปทำธุระที่พิษณุโลก แต่ได้ฝากแหวนของแม่นวลไว้เพื่อเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงานของแม่ลออ และกำชับกับพระยาภักดีนฤนาถว่าอย่าบอกความจริงกับแม่ลออเป็นอันขาดว่าตนเป็นพ่อ และด้วยความปรารถนาดีต่อเพื่อนเก่า ก่อนจากกัน พระยาภักดีนฤนาถจึงมอบเงินให้นายล้ำไปตั้งตัวใหม่ พร้อมมอบรูปของแม่ลออไว้ให้นายล้ำดูต่างหน้า

จุด ประสงค์ ที่แท้จริง ที่นายล้ำมาหาพระยาภักดี คือ อะไร

วิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

ตัวละครทุกตัวในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกนั้นมี ‘คาแรกเตอร์’ ที่ชัดเจน การวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละครจึงทำให้เห็นความเป็นเหตุเป็นผลในการกระทำต่าง ๆ ของตัวละครในเรื่องได้เป็นอย่างดี ลักษณะนิสัยที่โดดเด่นของตัวละครในเรื่องมีดังนี้

นายล้ำ (ทิพเดชะ)

๑. ความเห็นแก่ตัว ทั้งตอนค้าฝิ่นที่โยนความผิดให้จีนกิมจีนเง็ก และเมื่อหมดทางหากินก็หวังจะมีชีวิตที่สุขสบายด้วยการให้แม่ลออเลี้ยงดู

๒. ความเสียสละเพื่อลูก แม้จะไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออมาตั้งแต่เด็ก แต่นายล้ำก็ยังมีความรู้สึก ‘เห็นแก่ลูก’ อยู่ เพราะเมื่อสำนึกได้ นายล้ำก็ยอมเสียสละและทิ้งหนทางสบายเพื่อให้ลูกได้มีอนาคตที่ดี

๓. รักความสบาย นายล้ำรักความสบาย ชอบทางลัด และเลือกทำงานที่ได้เงินเร็วทั้งการทุจริตและการค้าฝิ่น และเมื่อหมดหนทางทำมาหากิน นายล้ำก็ยังหวังว่าแม่ลออจะเลี้ยงดูตน

๔. ฉลาดแกมโกง ความรักสบายของนายล้ำทำให้เลือกทำงานไม่สุจริต และเมื่อตอนค้าฝิ่นก็เกือบจะโดนจับได้ แต่นายล้ำก็รอดมาได้ด้วยความฉลาดแกมโกง โยนความผิดให้จีนกิมจีนเง็กจนตัวเองพ้นผิดไปได้

พระยาภักดีนฤนาถ

๑.​ มีความเมตตากรุณา

พระยาภักดีนฤนาถมีความเมตตากรุณา และเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน จะเห็นได้จากความเมตตาที่เลี้ยงแม่ลออจนเติบใหญ่ รวมถึงความเมตตาที่มีต่อนายล้ำ ดังจะเห็นได้จากการสนับสนุนให้เพื่อนเก่าได้โอกาสตั้งตัวใหม่ 

๒. มีจิตวิญญาณของความเป็นพ่อและปรารถนาจะให้แม่ลออมีอนาคตที่ดี 

๓. เป็นคนที่มีวาจาสัตย์ เมื่อรับปากแม่นวลไว้ว่าจะเลี้ยงแม่ลออให้ดี ก็ทำได้ตามที่รับปาก

แม่ลออ

๑. มีกิริยามารยาทงดงาม รู้จักกาลเทศะ สะท้อนถึงการเลี้ยงดูของพระยาภักดีนฤนาถที่ใส่ใจและอบรมสั่งสอนบุตรเป็นอย่างดี

๒.​  เป็นคนมองโลกในแง่ดี แม้จะไม่รู้จักนิสัยใจคอของพ่อที่แท้จริง แต่แม่ลออก็คิดว่าพ่อของตนเป็นคนดีไว้ก่อน

๓. พูดจาสุภาพอ่อนหวาน เคารพผู้หลักผู้ใหญ่

ข้อคิดจากบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

นอกจากเรื่องราวจะสนุกเข้มข้นชวนติดตาม บทละครเรื่องเห็นแก่ลูกยังแฝงข้อคิดไว้มากมาย เช่น

๑. บุพการีพร้อมจะเสียสละเพื่อลูก ทั้งนายล้ำที่แม้จะทำหน้าที่ของพ่อไม่สมบูรณ์ และไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออจนเติบใหญ่ แต่นายล้ำก็รักลูกมาก จึงเลือกเสียสละเดินออกมาจากชีวิตของแม่ลออเพื่อให้ลูกสาวของตนมีอนาคตที่สดใส

๒. ไม่มีความรักใดยิ่งใหญ่เท่าความรักที่บุพการีมีต่อบุตร ทั้งนายล้ำที่เป็นพ่อที่แท้จริงและพระยาภักดีนฤนาถที่เป็นพ่อบุญธรรม ต่างก็ปรารถนาดีต่อแม่ลออและอยากให้แม่ลออมีอนาคตที่สดใส

๓. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทั้งพระยาภักดีที่รับปากแม่นวลไว้ว่าจะดูแลแม่ลออ จึงเลี้ยงแม่ลอออย่างดีประหนึ่งลูกแท้ ๆ และอ้ายคำที่ปฏิบัติหน้าที่ของคนใช้เป็นอย่างดี นั่งเฝ้านายล้ำตลอดไม่ยอมลุกไปไหนก็ถือว่าเป็นการรับผิดชอบต่อหน้าที่เช่นเดียวกัน

๔. ความซื่อสัตย์สุจริตทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ส่วนความโลภมากและการทุจริตจะทำให้ชีวิตเจอแต่ความยากลำบาก เหมือนกับพระยาภักดีนฤนาถที่ตั้งใจรับราชการอย่างสุจริตจนได้เป็นใหญ่เป็นโตในหน้าที่การงาน กลับกันกับนายล้ำที่ทุจริตจนต้องโทษอยู่หลายปี และเมื่อพ้นโทษและอยากเริ่มต้นใหม่ก็พบแต่เรื่องที่ยากลำบาก

๕. การให้โอกาสต่อผู้ที่สำนึกผิด ในท้ายที่สุด เมื่อนายล้ำสำนึกผิดจริง ๆ พระยาภักดีนฤนาถก็ให้โอกาสและสนับสนุนให้นายล้ำได้ตั้งตัวใหม่อีกครั้ง

รู้หรือไม่ ?: คำศัพท์น่ารู้และคำทับศัพท์ในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก

นอกจากรูปแบบของบทละครพูดที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก คำศัพท์ในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูกก็มี คำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ เช่นกัน อย่างเช่นคำว่าออฟฟิศ (Office) ที่หมายถึงสำนักงาน ก็ปรากฏให้เห็นในบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก 

จากเรื่องราวทั้งหมดเราจึงเข้าใจได้ว่า ‘เห็นแก่ลูก’ นั้นหมายถึงความปรารถนาดีของบุพการีที่มีต่อบุตร ทั้งนายล้ำที่เป็นพ่อผู้ให้กำเนิดแต่ไม่ได้เลี้ยงดูแม่ลออ และพระยาภักดีนฤนาถที่คอยเลี้ยงดูแม่ลออไม่ต่างจากลูกแท้ ๆ ถึงจะแตกต่างกัน แต่พ่อทั้งสองคนก็รักและปรารถนาดีต่อลูกไม่แพ้กันเลย และนอกจากบทละครเรื่องเห็นแก่ลูก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ยังมีวรรณคดีสนุก ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร บทพากย์เอราวัณ และ อิศรญาณภาษิต อย่าลืมไปตามอ่านกันให้ครบนะ !

ขอบคุณข้อมูลจาก:

1. ธีรศักดิ์ จิระตราชู (ครูหนึ่ง)