ข้อสอบวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากล ม.3 พร้อมเฉลย

  1. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม
    1.  ฐานะทางสังคม
    2.  ช่วงชั้นทางสังคม
    3.  สถานภาพทางสังคม
    4. บรรทัดฐานทางสังคม
  2. สถาบันใดมีหน้าที่หลักในการเป็นที่พึ่งทางจิตใจ โดยการนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต 
    1. สถาบันศาสนา
    2. สถาบันการศึกษา
    3. สถาบันครอบครัว
    4. สถาบันทางเศรษฐกิจ
  3. พินิจใส่ชุดดำไปร่วมงานศพของคนในหมู่บ้าน แสดงว่าพินิจปฏิบัติตามบรรทัดฐานสังคมในข้อใด
    1. จารีต
    2. กฎหมาย
    3. วิถีชาวบ้าน
    4. ข้อบังคับหมู่บ้าน
  4. วิทยามีลูก 2 คน ในทุก ๆ วัน เขาต้องส่งลูกไปโรงเรียน และส่งภรรยาไปทำงานที่โรงพยาบาล ก่อนที่จะไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จากข้อความนี้ ข้อใดไม่ใช่สถานภาพของวินัย
    1. พ่อ
    2. สามี
    3. อาจารย์
    4. นักศึกษา
  5. ประโยชน์ของบรรทัดฐานทางสังคมคืออะไร
    1. สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
    2. สังคมมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
    3. คนในสังคมได้พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่
    4. คนในสังคมได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
  6. การขัดเกลาทางสังคมมีความสำคัญอย่างไร
    1. ช่วยลดปัญหาการแบ่งชนชั้นของคนในสังคม
    2. ช่วยให้คนปรับตัวและปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่สังคมกำหนด
    3. ช่วยให้รัฐสามารถพัฒนาท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน
    4. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของความเจริญระหว่างชุมชนเมืองและชุมชนชนบท
  7. ครูสอนให้นักเรียนเป็นคนดี จัดเป็นการขัดเกลาทางสังคมหรือไม่ เพราะอะไร     
    1. เป็น เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความเคยชิน
    2. เป็น เพราะเป็นการสอนให้คนเรียนรู้และนำไปปฏิบัติตาม
    3. ไม่เป็น เพราะไม่ได้เป็นการพัฒนาคน
    4. ไม่เป็น เพราะวิธีนี้เป็นการเรียนรู้กันทางตรงเท่านั้น
  8. ข้อใดเป็นการขัดเกลาขั้นทุติยภูมิ
    1. แม่สอนลูกทำอาหาร
    2. พ่อสอนลูกให้พูดคำสุภาพ
    3. ครูสอนวิชาสังคมศึกษาแก่นักเรียน
    4. แม่เก็บของเข้าที่อย่างเรียบร้อยให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง
  9. ครอบครัวไทยในชนบทส่วนใหญ่มีลักษณะอย่างไร
    1. ครอบครัวเดี่ยว
    2. ครอบครัวขยาย
    3. ส่วนใหญ่ยกย่องให้ภรรยาเป็นหัวหน้าครอบครัว
    4. ส่วนใหญ่จะอยู่กันเพียงพ่อ แม่ ลูก มักไม่มีญาติคนอื่นอยู่รวมกัน
  10. บรรทัดฐานทางสังคมในข้อใดกำหนดบทลงโทษผู้ที่ทำการละเมิดไว้อย่างชัดเจน
    1. จารีต
    2. กฎหมาย
    3. วิถีประชา
    4. วิถีชาวบ้าน
  11. สถาบันสังคมใดมีหน้าที่ออกกฎหมายมาใช้ในการจัดระเบียบสังคม
    1. สถาบันศาสนา
    2. สถาบันเศรษฐกิจ
    3. สถาบันการศึกษา
    4. สถาบันการเมืองการปกครอง
  12. เพราะอะไรสังคมไทยจึงมีความหลากหลายในด้านศาสนา
    1. เป็นต้นกำเนิดของศาสนาต่าง ๆ
    2. ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
    3. เป็นประเทศมีศาสนสถานมากที่สุดในโลก
    4. เทคโนโลยีต่าง ๆ ยังไม่ก้าวหน้า ทำให้คนหันมาพึ่งศาสนา
  13. สิ่งใดที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากแบบพอยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการตลาด  
    1. สนธิสัญญาเบาว์ริง
    2. สนธิสัญญาโตเกียว
    3. สนธิสัญญาเบอร์นีย์
    4. สนธิสัญญาแวร์ซายส์
  14. หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บทบาทของพระมหากษัตริย์ทรงเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร  
    1. เป็นเสมือนเทวราชา
    2. เป็นเสมือนเจ้าชีวิตของประชาชน
    3. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของปวงชน
    4. ทรงเป็นผู้บริหารประเทศด้วยพระองค์เอง
  15. ข้อใด ไม่ใช่  ปัญหาทางด้านประชากรของไทย      
    1. ทารกขาดสารอาหาร
    2. เด็กขาดความอบอุ่น
    3. เด็กขาดวินัยของการเป็นพลเมืองดี
    4. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานปกติ
  16. ปัญหาสุขภาวะของประชาชนไทยเกิดจากสาเหตุใด   
    1. ไม่ออกกำลังกาย
    2. โรคติดต่อในรูปแบบใหม่
    3. การบริโภคอาหารจานด่วน
    4. ถูกทุกข้อ
  17. แรงงานในกลุ่มใดที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม
    1. กลุ่มลูกจ้างในบริษัทเอกชน
    2. คนขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง
    3. ลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม
    4. กลุ่มผู้ที่เริ่มต้นทำงานยังไม่ครบ 1 ปี
  18. ข้อใดเป็นภัยธรรมชาติใดที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทย
    1. ไฟป่า
    2. สึนามิ
    3. ภัยแล้ง
    4. แผ่นดินไหว
  19. แผนพัฒนาฯ ฉบับใดที่เริ่มเห็นความจำเป็นในการกำหนดแนวความคิดในการพัฒนาที่ยั่งยืน
    1. ฉบับที่ 7
    2. ฉบับที่ 8
    3. ฉบับที่ 9
    4. ฉบับที่ 10
  20. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ยึดสิ่งใดเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ
    1. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
    3. เศรษฐกิจแบบพึ่งพาการส่งออก
    4. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี
  21. อะไรเป็นตัวกำหนดความประพฤติของมนุษย์ในแต่ละสังคม
    1. ความเชื่อ
    2. ประเพณี
    3. วัฒนธรรม
    4. ระเบียบแบบแผน
  22. ข้อใดเป็นปัจจัยทางวัฒนธรรมที่เป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคม 
    1. ความเชื่อ
    2. ความจงรักภักดี
    3. ความขยัน อดทน
    4. ความผูกพันเป็นพวกเดียวกัน
  23. “น้อยพบกับพี่สาวเพื่อนจึงยกมือไหว้พร้อมกับพูดว่าสวัสดีค่ะ” ข้อความนี้เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยทางใด
    1. ทางวัตถุ
    2. ทางจิตใจ
    3. ทางภาษาและวรรณคดี
    4. ทางขนบธรรมเนียมประเพณี
  24. ไซ เครื่องปั้นดินเผา จัดเป็นวัฒนธรรมทางใด
    1. ทางวัตถุ
    2. ทางจิตใจ
    3. ทางสุนทรียะ
    4. ทางภาษาและวรรณคดี
  25. “นักเรียนแต่งกายเรียบร้อยปักชื่อที่หน้าอกเสื้อตามระเบียบปฏิบัติของโรงเรียน” จัดเป็นวัฒนธรรมทางใด
    1. ทางวัตถุ
    2. ทางจิตใจ
    3. ทางสุนทรียะ
    4. ทางจารีตหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
  26. “จิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้วแสดงออกทางความงามที่หาดูได้ยาก” จัดเป็นวัฒนธรรมทางใด
    1. ทางวัตถุ
    2. ทางจิตใจ
    3. ทางสุนทรียะ
    4. ทางภาษาและวรรณคดี
  27. “มาลีไปเที่ยวพักผ่อนที่จังหวัดบุรีรัมย์และชมความงามของปราสาทหินพนมรุ้ง” ข้อความนี้เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมใด
    1. ทางสุนทรียะ
    2. ทางจารีตประเพณี
    3. ทางภาษาและวรรณคดี
    4. ทางธรรมเนียมประเพณี
  28. นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า สังคมไทยในปัจจุบันนี้มีวัฒนธรรมทางวัตถุเจริญกว่าวัฒนธรรมทางจิตใจ
    1. ไม่เห็นด้วยเพราะเศรษฐกิจและสังคมไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
    2. เห็นด้วย เพราะเน้นความเจริญทางเศรษฐกิจมากกว่าทางจิตใจ
    3. ไม่เห็นด้วย เพราะทั้งคนและสังคมมีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
    4. เห็นด้วย เพราะความเจริญทางวัตถุต้องมาก่อนความเจริญทางจิตใจ
  29. วัฒนธรรมของไทยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีลักษณะอย่างไร
    1. ประกอบอาชีพบริการ
    2. มีชีวิตเรียบง่าย ประกอบอาชีพอุตสาหกรรม
    3. มีวิถีชีวิตเรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
    4. มีชีวิตความเป็นอยู่สลับซับซ้อนประกอบอาชีพค้าขาย
  30. ลัทธิเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของไทยในช่วงใด
    1. ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
    2. หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
    3. ช่วงก่อนสงครามเย็น
    4. ช่วงหลังสงครามเย็น
  31. ในฐานะนักเรียนจะช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอย่างไรจึงจะเหมาะสม
    1. รีบไปแจ้งความเห็นคนตัดเศียรพระพุทธรูป
    2. เห็นคนทุบโบราณสถานไม่สนใจเพราะไม่ใช่หน้าที่
    3. เห็นเพื่อนรื้อเจดีย์ที่หลังวัดเพื่อหาสมบัติจึงเข้าไปช่วย
    4. ไม่มีข้อใดถูก
  32. วัฒนธรรมทางความเชื่อและค่านิยมของไทยและสากลแตกต่างกันอย่างไร
    1. วัฒนธรรมไทยเชื่อในความยุติธรรมวัฒนธรรมสากลเชื่อเรื่องประสบการณ์
    2. วัฒนธรรมไทยนิยมความเคารพในสิทธิและเอกศักดิ์ของบุคคล  วัฒนธรรมสากลนิยมความเสียสละ
    3. วัฒนธรรมไทยเชื่อโชคลางเคารพผู้อาวุโส วัฒนธรรมสากลเชื่อหลักเหตุผลความถูกต้องตามกฎหมาย
    4. วัฒนธรรมไทยเชื่อในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ วัฒนธรรมสากลเชื่อในความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์
  33. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกรับวัฒนธรรมสากลเข้ามา
    1. รับทุกวัฒนธรรมที่เข้ามา
    2. ไม่ยอมรับวัฒนธรรมสากลเข้าประเทศ
    3. เลือกรับเฉพาะวัฒนธรรมที่ดีและเหมาะสม
    4. รับเฉพาะวัฒนธรรมของประเทศในแถบเอเชียเท่านั้น
  34. วัฒนธรรมไทยมีลักษณะอย่างไร  
    1. เป็นวัฒนธรรมการพึ่งพา
    2. เป็นวัฒนธรรมที่โดดเดี่ยว
    3. เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน
    4. ไม่มีข้อใดถูก
  35. ข้อใดไม่ใช่อวัจนภาษา
    1. การชี้นิ้ว
    2. อักษรไทย
    3. การโบกมือ
    4. การโอบกอด
  36. “ผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาเมื่อกระทำผิดจึงไปทำพิธีรับศีลล้างบาป” จากข้อความนี้อยู่ในวัฒนธรรมสาขาใด
    1. วัฒนธรรมทางวัตถุ
    2. วัฒนธรรมสุนทรียะ
    3. วัฒนธรรมทางจิตใจ
    4. วัฒนธรรมทางธรรมเนียมประเพณี
  37. กระแสวัฒนธรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นอย่างไร   
    1. มีวิถีชีวิตเรียบง่าย
    2. สังคมคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    3. สังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
    4. คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  38. “นักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียนซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติสืบต่อกันมา” ข้อความนี้เป็นวัฒนธรรมทางด้านใด 
    1. ทางวัตถุ
    2. ทางจิตใจ
    3. ทางภาษาและวรรณคดี
    4. ทางจารีตหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
  39. ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีที่สุด     
    1. ไปร่วมงานประเพณีอย่างสม่ำเสมอ
    2. ศึกษาให้เข้าใจและเผยแพร่ให้ถูกต้อง
    3. สกัดกั้นการไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ
    4. จัดตั้งองค์กรเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมที่สูญหายไป
  40. การเลือกรับวัฒนธรรมอย่างมีวิจารณญาณควรคำนึงถึงอะไร   
    1. การทำให้เกิดความสมดุล
    2. การคัดสรรและสร้างสรรค์
    3. การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
    4. ถูกทุกข้อ
  41. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของวัฒนธรรม
    1. ช่วยแก้ปัญหาแก่มนุษย์
    2. ทำให้สังคมขาดระเบียบ
    3. ทำให้สังคมเป็นเอกภาพ
    4. เป็นสิ่งสะท้อนเอกลักษณ์ของชาติ
  42. สิ่งใดเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ
    1. อาวุธ
    2. เสื้อผ้า
    3. ศีลธรรม
    4. ยารักษาโรค
  43. วัฒนธรรมไทยมีความสำคัญอย่างไร
    1. ช่วยธำรงความเป็นไทย
    2. ช่วยให้ชาติไทยมีเอกลักษณ์
    3. สร้างความเจริญแก่ชาติไทย
    4. ถูกทุกข้อ
  44. วัฒนธรรมไทยหลัง พ.ศ. 2475 เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
    1. ได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์
    2. มีการรับวัฒนธรรมตะวันตกมาอย่างรวดเร็ว
    3. ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีอย่างใหญ่หลวง
    4. ได้รับผลกระทบอย่างอย่างมากจากระบอบทุนนิยมเสรี
  45. ใครจำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
    1. เด็ก
    2. นักเรียน
    3. นักการเมือง
    4. คนในสังคมทุก ๆ คน
  46. วัฒนธรรมทางครอบครัวของไทยในข้อใดที่ต่างจากวัฒนธรรมสากลมากที่สุด     
    1. การเคารพพ่อแม่
    2. ความซื่อสัตย์สุจริต
    3. การสอนให้พึ่งตนเอง
    4. การให้ความสำคัญกับการศึกษา
  47. ข้อใดเป็นลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่ต่างจากวัฒนธรรมสากล
    1. เชื่อมั่นในตนเอง
    2. เชื่อในพรหมลิขิต
    3. เชื่อในหลักเหตุผล
    4. เชื่อในความเท่าเทียมกันของมนุษย์
  48. ข้อใดไม่ใช่วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากลอย่างมีวิจารณญาณ
    1. การเข้าสู่โลกแห่งอนาคต
    2. การทำให้เกิดความสมดุล
    3. การทำให้เกิดความแตกต่าง
    4. การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา
  49. วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลมาจากข้อใด
    1. วัฒนธรรมจีน
    2. วัฒนธรรมอินเดีย
    3. วัฒนธรรมตะวันตก
    4. ถูกทุกข้อ
  50. วัฒนธรรมคืออะไร
    1. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงาม
    2. สิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
    3. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
    4. ถูกทุกข้อ
  51. พลเมืองดีคืออะไร
    1. ผู้ที่มีชื่อเสียง
    2. ผู้ที่มีฐานะร่ำรวย
    3. ผู้ที่มีคนยกย่องนับถือ
    4. ผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและศีลธรรม
  52. พลเมืองดีมีลักษณะอย่างไร
    1. ฐานะดี
    2. มีชื่อเสียง
    3. มีอำนาจบารมี
    4. มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  53. ครเป็นพลเมืองดี
    1. พิเชษฐ์เป็นตำรวจ
    2. วิชาญเป็นผู้ใหญ่บ้าน
    3. น้อยพาเพื่อนไปเลี้ยงวันเกิด
    4. อ้อยบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมและช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนเสมอ
  54. การเป็นพลเมืองดีควรเริ่มตั้งแต่ระดับใด
    1. ระดับสากล
    2. ระดับประเทศ
    3. ระดับโรงเรียน
    4. ระดับครอบครัว
  55. ใครไม่ปฏิบัติตนตามกฎหมาย  
    1. สัญญายกพวกไปตีกันที่ข้างโรงเรียน
    2. ฉัตรชัยเอาเสื้อไว้นอกกางเกงไปโรงเรียน
    3. จันทนาใส่เสื้อสายเดี่ยวไปทำบุญวันเกิดที่วัด
    4. สัจจาชวนเพื่อนไปติววิชาคณิตศาสตร์ที่บ้าน
  56. การกระทำใดละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น        
    1. แม่ใช้ลูกไปซื่อของ
    2. แม่ลดเงินค่าขนมลูก
    3. พ่อขังลูกไว้ในห้องมืด
    4. ครูสั่งให้นักเรียนทำการบ้าน
  57.  การกระทำใดไม่ถูกต้อง
    1. เอกนับถือศาสนาที่แตกต่างจากเพื่อน
    2. ครูสั่งให้นักเรียนที่มาโรงเรียนสายวิดพื้น
    3. กิ่งชวนเพื่อนวิ่งรอบสนามโรงเรียนด้วยกัน
    4. ป้องปีนไปดื่มน้ำในบ้านเพื่อนขณะที่เพื่อนไม่อยู่บ้าน
  58. ถ้าทุกคนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีจะเกิดผลอย่างไร    
    1. ประเทศมีความเจริญรุ่งเรือง
    2. ประชาชนอยู่กันอย่างสันติสุข
    3. สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
    4. ถูกทุกข้อ
  59. เหตุใดจึงต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียน  
    1. เพื่อให้ทุกคนตั้งใจเรียน
    2. เพื่อให้โรงเรียนสวยงาม
    3. เพื่อให้โรงเรียนมีชื่อเสียง
    4. เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  60. สิ่งใดที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของพลเมืองให้อยู่ในขอบเขตได้ดีที่สุด
    1. กฎ
    2. ระเบียบ
    3. กฎหมาย
    4. ขนบธรรมเนียมประเพณี
  61. เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าไปรื้อค้นบ้านของสุพจน์โดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิด้านใด
    1. เสรีภาพในเคหสถาน
    2. เสรีภาพในการสื่อสาร
    3. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
    4. เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่
  62. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    1. นำข้อมูลมาตัดสินใจ
    2. สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
    3. สนองความต้องการของตนเอง
    4. ประสานความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย
  63. เมื่อได้ข้อสรุปจากการรับฟังความคิดเห็นแล้วควรนำไปทำอะไร
    1. นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ
    2. เก็บไว้ในที่มิดชิด ไม่ต้องใส่ใจ
    3. นำไปเผยแพร่ให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ่าน
    4. นำไปใช้ต่อรองทางการเมือง
  64. หากปัจจุบันนักเรียนมีอายุ 17 ปี จะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งในท้องถิ่นได้อย่างไร
    1. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
    2. รณรงค์การเลือกตั้ง
    3. ลงสมัครรับเลือกตั้ง
    4. สมัครเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  65. กรณีใดที่เสรีภาพในการสื่อสารต้องถูกจำกัดลง    
    1. เมื่อเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
    2. เมื่อบ้านเมืองประกาศกฎอัยการศึก
    3. เมื่อกระทำอย่างละเมิดในที่สาธารณะ
    4. เมื่อวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล
  66. การเกณฑ์แรงงานสามารถทำได้ในกรณีใด
    1. เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่
    2. เมื่อมีภัยพิบัติสาธารณะ
    3. เมื่อมีวันสำคัญทางศาสนา
    4. เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ
  67. ข้อใดเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองที่ถูกต้อง
    1. เด็กนักเรียนร่วมเขียนป้ายรณรงค์ให้คนไปเลือกตั้ง
    2. ชาวบ้านไปใช้สิทธิเลือกตั้งหลังจากที่มีการนับคะแนนแล้ว
    3. นายดำให้เงินเพื่อนบ้านไปเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนชอบ
    4. ต้นไม่ไปเลือกตั้งเพราะเห็นว่าไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นคนดีเลย
  68. การกระทำของใครแสดงถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่
    1. นทีทำบุญตักบาตรทุกวัน
    2. กีรติช่วยเพื่อนทำงาน แม้ว่างานของตนจะยังไม่เสร็จ
    3. วารีตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถจนเสร็จทันกำหนด
    4. พาณีเป็นคนรู้จักประนีประนอมผ่อนสั้นผ่อนยาวให้อภัยเพื่อนทุก ๆ คน เสมอ
  69. หากเรากับเพื่อนมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เราควรปฏิบัติอย่างไร        
    1. ห็นด้วยกับเพื่อนทันที
    2. ยึดถือความคิดของตนเป็นสำคัญ
    3. ต่อว่าเพื่อนที่คิดไม่เหมือนตนเอง
    4. พิจารณาความคิดเห็นของเพื่อนด้วยเหตุผล
  70. ใครปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีได้อย่างถูกต้อง        
    1. อ้อมใช้สาธารณสมบัติอย่างทะนุถนอม
    2. ก้อยดื่มสุราในวัดโดยไม่ส่งเสียงรบกวนผู้
    3. พุกนำถังขยะสาธารณะที่ไม่มีใครใช้มาไว้ในบ้านของตนอื่น
    4. นิดจอดรถในที่ห้ามจอดเพราะต้องส่งรีบซื้อของไปให้แม่
  71. นักเรียนมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองการปกครองของรัฐบาลได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
    1. ไม่ได้ เพราะยังเป็น เด็กไม่มีสิทธิที่จะวิจารณ์การเมือง
    2. ไม่ได้ เพราะยังมีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะวิจารณ์
    3. ได้ เพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นไม่ใช่การตรวจสอบมการทำงานของรัฐบาล
    4. ได้ เพราะในระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาคกัน
  72. ใครมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง
    1. ขิมจัดตั้งมูลนิธิช่วยเหลือเด็กพิการ
    2. หน่อยร่วมลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
    3. ก้อยจัดเวทีสัมมนาเรื่องคนรุ่นใหม่กับการศึกษาทางการเมือง
    4. จุ๋มรับจ้างขับรถให้ตัวแทนของประเทศต่าง ๆ ที่มาประชุมเปิดการค้าเสรีกับรัฐบาลไทย
  73. ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลได้อย่างไร
    1. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
    2. ลงสมัครรับเลือกตั้ง
    3. สมัครเข้ารับราชการทหาร
    4. เข้าชื่อเสนอถอดถอนนักการเมืองที่ทุจริต
  74. ใครมีคุณธรรมจริยธรรมด้านการพัฒนาตน
    1. สุดาทำงานเสร็จตรงตามเวลา
    2. มารีย์ใช้เวลาว่างด้วยการอ่านหนังสือ
    3. มีนายอมรับในความสามารถของเพื่อน
    4. อารักษ์ตั้งใจทำงานและมีความละเอียดรอบคอบ
  75. ใครมีคุณธรรมในด้านการพัฒนาสังคม
    1. ปุ้มเชื่อฟังพ่อแม่
    2. ปูไม่เล่นการพนันทุกชนิด
    3. ปอยพูดจาไพเราะอ่อนหวาน
    4. ป้อมเก็บขยะบนพื้นถนนทิ้งลงในถังขยะ
  76. หากบางจังหวัดต้องประสบกับอุทกภัย  ในฐานะที่นักเรียนเป็นพลเมืองดีของสังคมควรปฏิบัติตนอย่างไร
    1. ต่อว่าคนที่ตัดไม้ทำลายป่า
    2. อยู่เฉย ๆ เพราะทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรม
    3. ร่วมบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
    4. แถลงการณ์เรียกร้องให้ชาวต่างประเทศบริจาคเงินมาช่วยเหลือ
  77. ใครเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ        
    1. ต้อยตักบาตรเป็นประจำ
    2. รินชวนเพื่อนบ้านไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกัน
    3. หน่อยดื่มสุราในวัดโดยไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
    4. อ้อทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามเวลาทุกครั้ง
  78. ใครมีคุณธรรมจริยธรรมด้านการพัฒนาสังคม   
    1. มาลีมาทำงานตรงต่อเวลา
    2. วินัยยอมรับในความสามารถของนิด
    3. สมชายเห็นเพื่อนทำไม่ถูกจึงตักเตือน        
    4. วิชัยช่วยรักษาสาธารณสมบัติของชุมชน
  79. ใครใช้เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ได้อย่างถูกต้อง        
    1. พุกสร้างบ้านบนที่ดินสาธารณประโยชน์
    2. ตุ่นเดินทางไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัดในเวลากลางคืน
    3. จอมเข้าไปตั้งบ้านพักอาศัยในที่ดินซึ่งไม่ปรากฎชื่อคนครอบครอง
    4. ถูกทุกข้อ
  80. ในการทำงานร่วมกัน พลเมืองดีควรยึดถือความคิดเห็นของใคร        
    1. ตนเอง
    2. หัวหน้ากลุ่ม
    3. ผู้ที่อาวุโสที่สุด
    4. สมาชิกทุกคนของกลุ่ม 

Show

Advertisement

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...