นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน ข้อดี ข้อเสีย

นโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ


                 ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องการค้า เศรษฐกิจ และการ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติโดยตรง หน่วยงานสำคัญทาง เศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ต่างมีส่วนกำหนดให้ระบบเศรษฐกิจไทยมี การพัฒนาโดยการพึ่งพาต่างประเทศ

                 กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงิน ระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
                 การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศจะแตกต่างจากการค้าภายในประเทศคือ การค้าภายในประเทศ จะใช้เงินสกุลเดียวกันในการแลกเปลี่ยน แต่การค้าระหว่างประเทศจะต้อง ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ว่าจะใช้เงินสกุลใดในการแลกเปลี่ยน

สาเหตุของการเกิดการค้าระหว่างประเทศ

                 1. ปัจจัยในการผลิตแต่ละประเทศแตกต่างกัน แต่ละประเทศจะมีทรัพยากรธรรมชาติ กัน บางประเทศ มีทรัพยากรธรรมชาติบางอย่าง แต่มีอีกหลายประเทศไม่มีทรัพยากรนั้น
                 2. ความแตกต่างในเรื่องต้นทุนการผลิตและเทคโนโลยี การที่แต่ละประเทศมีเทคนิค การผลิตที่ แตกต่างกันก็สามารถทำให้เกิดสินค้าที่มีคุณภาพที่แตกต่างกัน

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

                 นโยบายการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง มาตรการที่รัฐวางไว้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับ การส่งออกและ นำเข้าระหว่างประเทศ แบ่งเป็น 2 นโยบาย ดังนี้

                 1. นโยบายการค้าเสรหมายถึง เป็นการค้าโดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาล ใน กิจการค้าระหว่างประเทศ ทำให้การแข่งขันในตลาดเป็นการแข่งขันอย่างสมบูรณ์และราคา สินค้าเป็นไปตาม กลไกของตลาด

ลักษณะของนโยบายการค้าเสรี
                                  1. การผลิตสินค้าจะใช้หลักการแบ่งงานกันทำ
                                  2. รัฐบาลแต่ละประเทศจะให้สิทธิแก่ทุกประเทศเหมือน ๆ กันในการค้า ระหว่างประเทศ
                                  3. ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บภาษีอากร หรือการจำกัดโควต้า

                 2. นโยบายการค้าคุ้มกันหรือการค้าคุ้มครอง หมายถึง การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงการค้า ระหว่างประเทศ เพราะเกรงว่าการผลิตภายในประเทศจะแข่งขันกับสินค้านำเข้าไม่ได้โดยใช้ มาตรการต่าง ๆ ดังนี้

                                  (1) การตั้งกำแพงภาษี สินค้านำเข้าที่ต้องการกีดกันจะตั้งภาษีนำเข้าสูง โดยการ กำหนด การเก็บอัตราเดียวไม่ว่าจะนำเข้าจากประเทศใดก็ตาม หรือกำหนดเป็นหลายอัตรา สำหรับเก็บกับประเทศต่าง ๆ ไม่เท่ากันก็ได้

                                  (2) การกำหนดโครงสร้างสินค้า คือการจำกัดสินค้านำเข้าและส่งออกมิให้เกินกว่า ที่รัฐบาล กำหนดไว้ เพื่อแก้ปัญหาขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมการผลิต ภายในประเทศ ทำให้ การจ้างงานขยายตัว รายได้สูง ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น เป็นต้น

                                  (3) กลุ่มผูกขาดระหว่างประเทศ หมายถึง การรวมกลุ่มของผู้ผลิตจากหลายประเทศ เพื่อ กำจัดการแข่งขันสินค้าชนิดเดียวกันให้เกิดอำนาจผูกขาดและได้รับกำไรสูงสุด ปัจจุบัน กลุ่มผูกขาด ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันส่งออกโอเปค

                                  (4) การทุ่มตลาด คือ การขายสินค้าในต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ภายในประเทศ

                                  (5) การให้เงินอุดหนุนสินค้าออก คือ การให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ส่งออกและผู้ผลิตภายใน ประเทศ เพื่อให้อยู่ในระดับแข่งขันกับต่างประเทศได้

                                  (6) รัฐทำการค้าเอง คือ การค้าระดับประเทศที่มีการวางแผนจากส่วนกลางโดย รัฐเป็น ผู้วางแผนหรือตัดสินใจนำเข้าหรือส่งออกสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด


Ref : http://www2.se-ed.net/nfed/economic/index_eco.html 14/02/2008

ข้อดีของนโยบายการค้าคุ้มกัน คือ อะไร

1. คุ้มครองสินค้าภายในประเทศ 2. ป้องกันการทุ่มตลาด 3. เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า 4. ให้ประเทศช่วยเหลือตนเองได้ยามฉุกเฉิน

นโยบายการค้าคุ้มกันมีผลเสียอย่างไร

ข้อเสีย ผลประโยชน์ของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เกิดภาวะการณ์ขาดดุลการค้า ซึ่งเกิดจากภาวะพื้นฐานของเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง การรวมกลุ่มผลประโยชน์ทางการค้าไม่เหมือนกัน มีข้อจำกัดในการนำไปใช้ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของประเทศนั้นๆ กับประเทศคู่ค้า ถ้าใช้นโยบายนี้เกินขอบเขตอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่สดใสราบรื่น

ทำไมถึงใช้นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน

1. ใช้นโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อคุ้มครองการผลิตในประเทศโดยมีมาตรการที่สำคัญ เช่น การตั้งกำแพงภาษีสินค้าเข้า การกำหนดโควตาสินค้านำเข้า และการให้เงินอุดหนุนการผลิตหรือส่งออก เป็นต้น 2. ให้เอกชนมีบทบาทในทางการค้ามากที่สุด โดยรัฐจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ แต่บางครั้งรัฐบาลก็อาจทำการค้ากับต่างประเทศโดยตรงบ้าง

นโยบายการค้าเสรีมีผลดีและผลเสียอย่างไร

ผลด้านบวก มีการขยายการผลิตในอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบและมีศักยภาพในการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปที่ใช้สินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ ทำให้เกิดการจ้างงานในทุกระดับการผล ผลด้านลบ - การเปิดเสรีทำให้อุตสาหกรรมหลายประเภทที่แข่งขันไม่ได้ต้องล้มเลิกไปส่งผลกระทบต่อคนงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน