หน้าที่นักโภชนาการ โรงพยาบาล

ฝ่ายโภชนาการ เป็นหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญของโรงพยาบาลกลาง รับผิดชอบจัดบริการอาหารผู้ป่วย เพื่อเป็นการดำรงชีวิตให้อยู่รอด และมีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของนักโภชนาการ ที่จัดอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ และตามคำสั่งของแพทย์

ปัจจุบันฝ่ายโภชนาการมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาในหลายๆด้าน เพื่อให้องค์กรเจริญก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สิ่งที่หน่วยงานได้พัฒนาขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดคือ

1. พัฒนาด้านการบริหารงาน ได้จัดแยกหน่วยงานที่รับผิดชอบตามแผนงานโภชนาการ
และมาตรฐานวิชาชีพคือ
- หน่วยโภชนบำบัด (อาหารเฉพาะโรค, อาหารเหลว, อาหารสายยาง ฯลฯ)
- หน่วยบริการอาหาร (จัดสำรับอาหารพิเศษ, อาหารสามัญ)
- หน่วยประกอบอาหาร (ปรุงอาหาร, หุงข้าว)
- หน่วยจัดเลี้ยงอาหาร (จัดอาหารว่าง, อาหารกลางวัน สำหรับเลี้ยงเจ้าหน้าที่ในการประชุมอบรม ในวาระต่าง ๆ)

2. พัฒนาด้านโภชนบำบัด
- จัดทำเอกสารอาหารเฉพาะโรคต่าง ๆ โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ เผยแพร่โดยจัดปูถาดอาหารผู้ป่วย
- จัดทำเอกสารเผยแพร่ เช่น อาหารทางสายยาง โดยบอกสัดส่วนและวิธีทำเพื่อเป็นความรู้ สำหรับแจกให้ญาติผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการ รักษาในโรงพยาบาล และก่อนกลับบ้าน ญาติผู้ป่วยได้มาเรียนรู้อย่างถูกวิธีและ หลักโภชนาการ
- จัดนิทรรศการอาหารและโภชนาการ ร่วมกับกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลกลาง สำหรับผู้ป่วยนอก ชื่อโครงการ “การพัฒนาคุณภาพ การบริบาลผู้ป่วยนอก โรคเบาหวานแบบสหสาขาวิชาชีพ” เดือนละ 1 ครั้ง (นักโภชนาการให้ความรู้ สาธิต แนวปฏิบัติตัวด้านเบาหวาน “ใส่ใจเพื่อนเบาหวาน”
- เข้าร่วมกับกลุ่มงานอายุรศาสตร์ PCT มะเร็ง

3. พัฒนาด้านวิชาการ และบุคลากร
- จัดนักโภชนาการ, โภชนากร, เข้าร่วมประชุมวิชาการโภชนาการ, อบรมหลักสูตรนักกำหนดอาหาร, หลักสูตรโภชนบำบัด, อบรมการให้ความรู้โรคเบาหวาน, อบรมอาหารเพื่อสุขภาพ,อบรมความก้าวหน้าของโครงการโภชนบำบัด ฯลฯ

สำหรับสายรักสุขภาพ นอกจากอาชีพเทรนเนอร์แล้ว ก็ต้องอาชีพ นักโภชนาการ นี่แหละ ที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพมากที่สุด เพราะการที่เราจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้นั้น ไม่ใช่แค่การออกกำลังกายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การรับประทานอาหารที่ดี ถูกกับร่างกายของเราด้วย โดยนักโภชนาการจะเป็นผู้ดูแลในส่วนนั้น หากคุณอยากรู้ว่า อาชีพนี้ เป็นอย่างไร ทำงานอะไรบ้าง เดี๋ยว JobsChiangrai จะพาไปทัวร์เอง

รู้จักอาชีพ ‘นักโภชนาการ’

หน้าที่นักโภชนาการ โรงพยาบาล

นักโภชนาการ (Nutritionist) หนึ่งในสายอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งเป็นอีกสายงานที่กำลังมาแรงในยุคที่ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น หากให้เปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ ‘อาหารคลีน’ เมนูสุขภาพที่หลายคนกินกัน โดยมีนักโภชนาการเป็นผู้คิดค้นและพัฒนาสูตรอาหารเหล่านี้ เพื่อให้อาหารที่กินไปได้คุณค่าทางโภชนาการอย่างถูกต้อง มีหน้าที่ตั้งแต่การวางแผน ให้คำปรึกษา คิดสูตรอาหาร เตรียมอาหารตามร่างกายของผู้รับประทาน สามารถเป็นบุคคลทั่วไปหรือเป็นผู้ป่วยก็ได้ รวมไปถึงการเผยแผ่ความรู้ทางด้านโภชนาการให้แก่ประชาชน

ลักษณะงานของนักโภชนาการ

หน้าที่นักโภชนาการ โรงพยาบาล

ส่วนใหญ่แล้ว นักโภชนาการ มักจะทำงานอยู่ในโรงพยาบาล โดยมีหน้าที่หลัก คือ จัดอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการให้กับคนไข้แต่ละประเภท ตามใบคำสั่งแพทย์ โดยจัดสรรวัตถุดิบต่างๆ ให้กับพ่อครัวแม่ครัวในโรงพยาบาล เพื่อปรุงอาหารออกมาให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมกับผู้ป่วย

หากนักโภชนาการทำงานในส่วนของคลินิก จะต้องมีการตรวจสอบคนไข้เกี่ยวกับภาวะขาดสารอาหารของผู้ป่วยบางราย เช่น การฉายรังสี การใช้เคมีบำบัด อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น มีการทำงานคู่กับแพทย์ โดยให้คำแนะนำในเรื่องของอาหารการกิน เพื่อฟื้นฟูร่างกายของคนไข้ให้แข็งแรงสมบูรณ์

นอกจากนี้ นักโภชนาการยังทำหน้าที่ในการให้ความรู้พื้นฐานทางด้านสุขอนามัยเกี่ยวกับโภชนาการให้กับประชาชนทั่วไป มีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และทำการเผยแผ่ออกไปให้กับผู้บริโภค ต้องทำงานร่วมกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

คุณสมบัติของการเป็นนักโภชนาการ

หน้าที่นักโภชนาการ โรงพยาบาล

  1. มีความเอาใจใส่ต่อผู้อื่น เข้าใจคนอื่น
  2. มีความอดทน อดกลั้น
  3. เป็นคนละเอียดรอบคอบ ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
  4. สามารถรับแรงกดดันได้เป็นอย่างดี
  5. มีการค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ สามารถปรับใช้ความรู้ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
  6. มีความสามารถในการพูดคุย เพราะบางครั้งต้องคุยกับคนไข้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
  7. สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าเกิดผักบางชนิดหมด สามารถผักชนิดไหน ในการทำอาหาร แล้วมีคุณค่าทางโภชนาการเหมือนกันได้บ้าง
  8. ความสามารถในการคิดคำนวณสิ่งต่างๆ เพื่อคำนวณสารอาหารที่คนไข้แต่ละคนควรได้รับ

อยากเป็นนักโภชนาการ ต้องเรียนอะไรบ้าง

ในระดับการเรียนชั้นมัธยม ผู้ที่ต้องการจะเป็นนักโภชนาการ ต้องมีเรียนจบมัธยมปลาย สายวิทย์-คณิต เท่านั้น จากนั้น จึงเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย สาขาที่มีความเกี่ยวกับโภชนาการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

หน้าที่นักโภชนาการ โรงพยาบาล

  • คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเกษตร สาขาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ)
  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคหกรรมศาสตร์ การกำหนดอาหารและโภชนบำบัด หลักสูตรอาหารปลอดภัยและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร)
  • คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร มหาวิทยาลัยพะเยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหารและอาหารปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

เงินเดือนนักโภชนาการ

แม้ว่าส่วนใหญ่ นักโภชนาการจะทำงานตามโรงพยาบาลต่างๆ แต่ก็มีบางส่วนที่ออกไปทำตามองค์กรเช่นกัน โดยสามารถแบ่งเรทเงินเดือนโดยประมาณ ได้ตามนี้

หน้าที่นักโภชนาการ โรงพยาบาล

  • ทำงานโรงพยาบาล เงินเดือนเริ่มต้นที่ 20,000 บาท หากทำงานวิจัย จะสามารถเลื่อนขั้นหรือเพิ่มเงินเดือนได้มากขึ้น
  • ทำงานองค์กรเอกชน เงินเดือนเริ่มต้นที่ 18,000 – 30,000 บาท
  • ทำงานทางด้านการให้ความรู้ หรือ การไปเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ทางด้านโภชนาการตามองค์กรต่างๆ มักได้เงินแบบเป็นรายครั้ง ประมาณ 5,000 – 6,000 บาทต่อครั้ง

หน้าที่นักโภชนาการ โรงพยาบาล

สรุป

นักโภชนาการ ผู้วางแผนการกินอาหารของเรา เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง การกินอาหาร ถือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก แต่มีหลายครั้งที่เรามักจะมองข้ามไปเสมอ การได้รับสารอาหารที่ดี เหมาะสมกับร่างกาย และได้สารอาหารที่ครบถ้วน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสารอาหารที่ดี จะช่วยฟื้นฟูร่างกายของเราได้อย่างรวดเร็ว และหน้าที่เหล่านั้น ก็เป็นของนักโภชนาการ ส่วนใหญ่จะทำงานในโรงพยาบาล ทำงานใกล้ชิดกับหมอ โดยเฉพาะในบางกรณี ที่ต้องการโภชนาการมากเป็นพิเศษ เช่น คนที่ป่วยเป็นมะเร็ง หรือ คนที่มีอาการไม่สู้ดีนัก โดยนักโภชนาจะทำการคำนวณว่า ควรทำอาหารแบบใด ใส่อะไรลงไปบ้าง เพื่อช่วยให้ร่างกายของคนไข้ฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว

นักโภชนาการ มีหน้าที่อะไรบ้าง

“หน้าที่หลักของนักโภชนากร คือ การใช้โภชนบำบัด ได้แก่ การทำอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะโรค ซึ่งจะต้องมีการคำนวณค่าของสารอาหารให้เหมาะสมตามที่แพทย์ต้องการ โดยนักโภชนากรจะต้องดูว่า ผู้ป่วยที่เข้ามาแต่ละคนมีภาวะขาดสารอาหารชนิดใดบ้าง หรือ เป็นโรคอะไรมา เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งอาจจะต้องมีการควบคุม ...

ผู้ช่วยพยาบาลมีบทบาทหน้าที่ด้านโภชนาการอย่างไร

1) ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย รวมทั้งร่วมกับแพทย์ในการวางแผนให้การดูแลด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วย 2) ติดตามประสานงานกับแพทย์ในการติดตามประเมินผลการบริโภคอาหารของผู้ป่วย และร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

นักโภชนาการในโรงพยาบาล เรียนอะไร

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) สาขาอาหารและโภชนาการ และมีประสบการณ์การทำงานด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ปี ปริญญาตรี สาขาอาหารและโภชนาการ และได้รับปริญญาใดปริญญาหนึ่งดังต่อไปนี้ วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) โภชนาการและการกำหนดอาหาร (Nutrition and Dietetics), โภชนศาสตร์, โภชนวิทยาหรือเทียบเท่าหรือ

นักกําหนดอาหารต่างจากนักโภชนาการอย่างไร

แต่นักโภชนาการจะเป็นนักกำหนดอาหารเลยทันทีไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะนักกำหนดอาหารถือเป็นวิชาชีพเฉพาะ โดยผู้ที่สามารถเป็นนักกำหนดอาหารได้ต้องเรียนจบด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารมาโดยตรง และต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนนักกำหนดอาหารวิชาชีพ (CDT – Certified Dietitian of Thailand)