การร่างระบบบัญชีใหม่

ขั้นตอนของการวางระบบบัญชี

การร่างระบบบัญชีใหม่
วางแผนการสำรวจและวิเคราะห์ ก. ผังองค์การ นโยบายของบริษัท จะต้องทราบถึงการบริหารงานภายในองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นระดับพนักงาน หัวหน้า ผู้จัดการ ผู้อำนวยการหรือกรรมการของกิจการ อีกทั้งควรทราบนโยบายการบริหารงานอำนาจการอนุมัติ ข. รายละเอียดของสินค้า/บริการ การสำรวจข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป

Show

หรือการให้การบริการแก่ลูกค้า การตั้งราคา การกำหนดต้นทุน การคำนวณหาสินค้าคงเหลือของกิจการ

ค. แยกประเภทของงานบัญชี การเงิน งบการเงิน กำหนดรูปแบบงานบัญชีตามประเภทของการดำเนินงาน แนวทางการจัดทำรายการต่างๆ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร การจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม

ง. ผังแสดงการเดินทางของข้อมูล เอกสาร พิจารณาดูการเดินทางของเอกสารต่างๆ ว่ามีการเดินทางไปแหล่งที่เกี่ยวข้องถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่เริ่มออกเอกสารจนสิ้นสุดกระบวนการไม่ว่จะเป็น ใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือการออกเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

จ. รายละเอียดของการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินงาน การใช้ทรัพย์สิน การจัดซื้อหรือการคิดค่าเสื่อมราคา

ฉ. ข้อมูลทางการตลาด การขาย การประชาสัมพันธ์ การวางแผนการตลาด การกำหนดขั้นตอนในการจำหน่าย การจ่ายค่านายหน้า หรือค่าใช้จ่ายของพนักงานขาย แนวทางการประชาสัมพันธ์

ช. รายละเอียดของการกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมเงิน การตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย วันครบกำหนด การชำระดอกเบี้ยหรือคืนเงินต้น วงเงินกู้ หรือเบิกเงินเกินบัญชี

การออกแบบและกำหนดระบบของบัญชี

ก. ผังบัญชี และรหัสบัญชี ผังบัญชีและรหัสบัญชีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดทำบัญชีสะดวกง่ายต่อการพิจารณา รายการค้าให้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น หากสมารถทำคำอธิบายชื่อบัญชีในแต่ละบัญชีได้ ก็จะทำให้ผู้จัดทำบัญชีดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ข. สมุดบัญชีต่างๆ ที่ใช้ในการบันทึกบัญชี การกำหนดรูปแบบของสมุดบัญชีต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายบัญชี ส่วนรูปร่างหน้าตาของสมุดบัญชี ในทางปฏิบัติมักจะนิยมใช้สมุดบัญชีรายวันให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจสอบ และควบคุมภายในได้เป็นอย่างดี

ค. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี การออกแบบใบสำคัญจ่าย-รับเงิน เพื่อช่วยในการบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ผู้ออกแบบจะต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบายของกิจการ และคำนึงถึงการตรวจอสอบ และควบคุมภายในได้เป็อย่างดี

ง. การจัดทำรายงาน การออกแบบรายงานเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ การพิจารณาหรือการนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหาร

จ. การรองรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นๆ ในกรณีที่กิจการต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออยู่นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องพิจารณาถึงเอกสารใบกำกับภาษี รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

การวางแผนการนำออกมาใช้

ก. ทดลองการใช้เอกสาร เส้นทางการเดินของเอกสาร เมื่อได้ออกแบบและกำหนด แนวทางเดินของเอกสารขึ้นมาเรียบร้อยแล้วก็จะเป็นการนำ รูปแบบของเอกสารต่างๆ ออกมาใช้เพื่อพิจารณาดูการเดินของเอกสารว่ามีปัญหาในจุดหรือแหล่งใด หรือผู้ปฏิบัติได้เขียนหรือใช้เอกสารได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่

ข. การลงรายการต่างๆ ในสมุดบัญชี หรือคอมพิวเตอร์ การนำเอกสารรายการค้าบันทึกในสมุดบัญชีหรือคอมพิวเตอร์จะต้องจัดเตรียมข้อมูล เอกสารเพื่อบันทึกลงในสมุดบัญชีต่างๆ ได้ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดอย่างไร

ค. การทดลองรายงาน การออกแบบรายงานแล้วนำออกมาใช้มักจะพบปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ รายงานที่นำออกมาใช้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้บริหาร ดังนั้น เมื่อมีการทดลองออกรายงานทางการเงิน ผุ้ออกแบบจะต้องให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแนะนำหรือระบุความต้องการเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำรายงานออกไปใช้ให้เกิดประโยชน์

การติดตามผลและปรับปรุงแก้ไขระบบบัญชี

ก. การลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป ขั้นตอนในการออกเอกสาร การอนุมัติ การเบิก จ่ายเงินการบันทึกรายการบัญชี หากพบว่าขั้นตอนใดซ้ำซ้อน หรือไม่มีความจำเป็นทำให้เกิด ความยุ่งยากเสียเวลาก็ให้ตัดรายการ หรือขั้นตอนนั้นออกไป

ข. ผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบบัญชีมักจะมีผลกระทบต่อการทำงานในระยะเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติยังไม่เคยชิน จะต้องอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่าจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งจึงจะไม่ล่าช้าหรือเสียเวลา

ในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็วเพื่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องวางกลยุทธ์เพื่อให้อยู่เหนือคู่แข่ง การวางระบบบัญชีเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้กิจการมีระบบบัญชีและมีระบบการควบคุมภายในที่ดี ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลทางบัญชีที่ถูกต้องทันเวลา สามารถนำไปวางแผน ตัดสินใจ ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและเติบโตได้ 

ระบบบัญชี คือ อะไร

ระบบบัญชี คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลทางบัญชี ประกอบด้วยเอกสารต่างๆ ทางบัญชี บันทึกทางการบัญชี รายงานทางบัญชีและการเงิน รวมถึงวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานและการเงินของกิจการให้แก่ฝ่ายจัดการนำไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ และเพื่อเสนอข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่ต้องการใช้ข้อมูล เช่น กรมสรรพากร 

การร่างระบบบัญชีใหม่

วัตถุประสงค์ของการออกแบบระบบบัญชี

วัตถุประสงค์ของการออกแบบระบบบัญชี  แบ่งออกเป็น 5 ด้านดังนี้

1.  เพื่อดูแลรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัย

ระบบบัญชีที่ออกแบบไว้เป็นอย่างดีจะช่วยรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัยจากการถูกขโมยหรือถูกทำลาย กระบวนการในการรักษาความปลอดภัยของระบบต้องมีการกำหนดนโยบาย ข้อมูลและวิธีดำเนินงาน การจัดให้มีระบบการป้องกันที่เหมาะสม มีการประเมินความเสี่ยงตามช่วงเวลา และต้องมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

2.  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของระบบบัญชี

ประสิทธิผลในการออกแบบระบบบัญชี คือ การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของกิจการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อเวลาและเชื่อถือได้ ระบบบัญชีที่ดีเป็นเครื่องมือสำหรับฝ่ายบริหารในการวางแผนและนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ

3.    เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงาน

ประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงาน เป็นการใช้ข้อมูลและรายงานทางบัญชีจากระบบบัญชีมาใช้วางแผนและปะเมินเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ บรรลุผลตามเป้าหมายที่กิจการได้วางไว้ ช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนผลิตและการให้บริการ

4.  เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบายของกิจการ

การออกแบบระบบบัญชีจะช่วยให้เกิดการสนับสนุนการปฏิบัติงานในทุกกิจกรรมขององค์กร เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในวิธีการทำงานที่ตรงกัน การปฏิบัติงานในทุกกระบวนการธุรกิจ ได้แก่กระบวนการขาย ซื้อ  การจ่ายเงิน การรับเงิน เป็นต้น เป็นไปตามนโยบายของกิจการ 

5.  เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล

การออกแบบระบบบัญชีทำเพื่อตอบสนองการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานประกันสังคม กรมสรรพสามิต เป็นต้น

ความสำคัญของการวางระบบบัญชีที่ดี

การจัดให้มีระบบบัญชีที่ดีมีความสำคัญต่อกิจการดังต่อไปนี้

1. ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ มีความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ วางแผน และกำหนดเป้าหมายขององค์กร

2. ระบบบัญชีที่ดีเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร เพราะข้อมูลที่ได้จากระบบบัญชีจะช่วยให้เห็นว่าส่วนงานต่างๆ ดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่

3. ระบบบัญชีที่ดีช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรบุคคล การเงิน เป็นต้น

4. ระบบบัญชีที่ดีช่วยให้การเก็บรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลมีความเป็นระบบ ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดทำบัญชี รวมทั้งเพิ่มความถูกต้องในการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินไปยังผู้ใช้งบการเงินทุกกลุ่ม 

5. ระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้การมอบหมายงาน การควบคุมและการประสานงาน รวมทั้งการวัดผลและ การประเมินผลมีประสิทธิภาพ 

6. ระบบบัญชีที่ดีเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงอันเกิดจากการทุจริต ช่วยสร้างความเชื่อถือจากผู้ใช้งบการเงินและผู้ใช้รายงานทางการเงิน

สิ่งที่ควรพิจารณาในการวางระบบัญชี

ในการพัฒนาและวางระบบบัญชีมีต้นทุน และมีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว จึงมีสิ่งที่กิจการควรนำมาพิจารณาดังนี้

1. ในการวางระบบบัญชี วัตถุประสงค์ในการออกแบบต้องมีความชัดเจน ผู้ประกอบการต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทำการประเมินความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ มีการประเมินข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นจากการออกแบบระบบบัญชี

2. ระบบบัญชีของแต่ละธุรกิจมีความแตกต่างกัน การวางระบบบัญชีต้องมีความสอดคล้องกับประเภทหรือลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งจะมีผลต่อความคุ้มค่า ความยากง่าย กระบวนการและวิธีการในการออกแบบระบบบัญชี

3. เวลาที่ใช้ในการออกแบบระบบบัญชี ขึ้นอยู่กับประเภทของการวางระบบบัญชี ได้แก่ การออกแบบระบบบัญชีใหม่ทั้งหมด สำหรับกิจการที่เพิ่งเริ่มต้นดำเนินกิจการ และการวางระบบบัญชีบางส่วน สำหรับการปรับปรุงพัฒนาระบบบัญชีที่ใช้อยู่ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งใช้เวลามากน้อยแตกต่างกัน นอกจากนี้เวลาที่ใช้ในการออกแบบยังขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ

4. บุคลากรที่ใช้ในการวางระบบบัญชี นอกจากนักบัญชีแล้วจำเป็นต้องอาศัยทีมพัฒนาและวางระบบจากทั้งบุคลากรภายในองค์กรและภายนอกองค์กรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ

5. การวางระบบบัญชีควรมีเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานเดิมให้น้อยที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการใช้งานของผู้ใช้งาน เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้งานระบบบัญชียอมรับและมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้งานระบบบัญชี

6. การวางระบบบัญชีต้องมีการออกแบบเอกสารประกอบในระบบบัญชีที่เหมาะสม มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของระบบบัญชี แผนผังทางเดินเอกสาร รวมทั้งแผนการฝึกอบรมและติดตามผลกระทบที่เกิดจากการวางระบบบัญชี

การร่างระบบบัญชีใหม่

กลยุทธ์ในการวางระบบบัญชี

เพื่อให้ได้ระบบบัญชีที่ดี ในการวางระบบบัญชี มีเทคนิค 5 ประการดังต่อไปนี้

1. การวางแผนการสำรวจและวิเคราะห์

ในการเริ่มต้นวางระบบบัญชีต้องมีการวางแผนการสำรวจและวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยจั้นตอนดังต่อไปนี้ 

1.1   การสำรวจข้อมูล

ในการวางระบบบัญชี ผู้วางระบบบัญชีจะทำการสำรวจขั้นต้นเสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของผู้ใช้งานและฝ่ายจัดการขององค์กรรวมทั้งขอบเขตของงานที่จะต้องทำ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ก.การวิเคราะห์สภาพปัญหาของระบบบัญชีปัจจุบัน

โดยอาศัยเครื่องมือดังต่อไปนี้

  • การวิเคราะห์เอกสาร 

ผู้วางระบบบัญชีจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเอกสารของระบบงานเดิม ประกอบด้วย แบบฟอร์มหรือรายการที่ถูกสร้างขึ้นจากระบบเดิมที่ใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกรายการค้า 

  • การสังเกตการณ์

เป็นการวิเคราะห์ปัญหาหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติงาน โดยการสังเกตการณ์การทำงานของพนักงานในขณะปฏิบัติงาน ทำให้เห็นขั้นตอนการปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงาน ในขณะเดียวกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ออกแบบระบบกับผู้ใช้งาน

  • การใช้แบบสอบถาม

เป็นการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มคนจำนวนมากด้วยคำถามที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มคนจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็วกว่าเครื่องมืออื่น

  • การสัมภาษณ์

เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบข้อมูลโดยละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับการสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ซึ่งในการสัมภาษณ์จะต้องบันทึกคำสัมภาษณ์ และสรุปข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ไว้อย่างเป็นระบบ ข้อดีของการสัมภาษณ์ คือได้รับข้อมูลตอบกลับทันทีและมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยตรง   

ข. รูปแบบและลักษณะของธุรกิจ      

รูปแบบธุรกิจส่งผลต่อขั้นตอนหริอกระบวนการในการดำเนินกิจการรวมถึงการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจการ ซึ่งจะใช้วิธีการบัญชีที่แตกต่างกันไป รูปแบบธุรกิจโดยทั่วไป ได้แก่ธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจผลิตสินค้า ธุรกิจให้บริการ

ค. โครงสร้างองค์กรและการกำหนดหน้าที่

โครงสร้างองค์กรหรือผังการจัดสายงานขององค์กร แสดงให้เห็นถึงการแบ่งหน่วยงานและกำหนดความรับผิดชอบตามชนิดของงาน ซึ่งจะทำให้ทราบว่างานเริ่มต้นจากส่วนงานใด ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ใครเป็นผู้อนุมัติ เอกสารจะต้องส่งให้ใครบ้าง

1.2   การศึกษาความเป็นไปได้

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะนำมาใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อนำมาใช้พิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม ประกอบด้วย

ก.      การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค

เป็นความรู้ทางบัญชี วิธีปฏิบัติทางด้านบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ความรู้ด้านบริหารธุรกิจที่ใช้ในการออกแบบระบบบัญชี สภาพแวดล้อมของระบบบัญชีเดิมและระบบบัญชีใหม่ รวมถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญของทีมออกแบบและพัฒนาระบบบัญชี

ข.      การศึกษาความเป็นไปได้ด้านต้นทุนและผลตอบแทน

เป็นการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนวางระบบบัญชีใหม่ว่าคุ้มค่ากับต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือไม่ ต้นทุนที่เกิดขึ้น หมายถึง ต้นทุนในการพัฒนาระบบและต้นทุนในการนำระบบบัญชีไปทดลองใช้ ส่วนผลตอบแทนวัดได้จากผลตอบแทนที่ประเมินที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ ยอดขายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในกระบวนการทำงานน้อยลง หรือประเมินจากผลตอบแทนที่ประเมินค่าไม่ได้ ได้แก่        ส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้น มีการปรับปรุงงานบริการดีขึ้น หรือสินค้าและบริการเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ค.      การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติงาน

การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติงาน เป็นการศึกษาความสามารถในการติดตั้งหรือเชื่อมต่อกับระบบปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเมื่อนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ รวมถึงการสนับสนุนของผู้บริหารในการวางระบบบัญชีใหม่ว่ามีมากน้อยเพียงใด ผลกระทบจากการออกแบบระบบบัญชีจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างไร

ง. การศึกษาความเป็นไปได้ด้านเวลา

เป็นการศึกษาเวลาที่ใช้ในการออกแบบระบบบัญชี การพิจารณาว่าระบบัญชีใหม่จะสามารถพัฒนาและพร้อมใช้งานในเวลาที่กำหนด

1.3   การจัดทำหนังสือเสนอโครงการ (Proposal) 

หลังจากที่ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการวางระบบบัญชีมีผลตอบแทนคุ้มค่ากับต้นทุนในการวางระบบ ขั้นตอนต่อไปเป็นการยื่นขออนุมัติ โดยจัดทำหนังสือเสนอโครงการเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งประกอบด้วยข้อมูลวัตถุประสงค์และขอบเขตของงาน ปัญหาและความจำเป็นของการวางระบบบัญชี แนวทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการของการวางระบบบัญชี แผนงานการออกแบบระบบบัญชี ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

1.4 การจัดตั้งทีมงานในการวางระบบบัญชี

     เมื่อข้อเสนองานได้รับอนุมัติ ทีมงานวางระบบบัญชีจะจัดตั้งกลุ่มการทำงาน มีการกำหนดขอบเขต ในการวางระบบบัญชีโดยพิจารณาถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆ มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการวางแผน กำหนดเวลาในการวางระบบ การควบคุมและการตรวจสอบ รวมทั้งการรายงาน

2. การกำหนดความต้องการของระบบบัญชี

ในการกำหนดความต้องการของระบบบัญชี ให้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

2.1. ความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานด้านบัญชี

โดยพิจารณาคุณภาพของข้อมูลทางบัญชีที่ต้องการว่าเป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและนำเสนองบการเงิน และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ระบบบัญชีหรือไม่ โดยจะต้องทำความเข้าใจในระบบงานเดิม พร้อมกับการกำหนดสิ่งที่จะปรับปรุงใหม่ลงไป เพื่อตอบสนองผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกแบบระบบบัญชี ได้แก่ ผู้บริหาร นักบัญชี ผู้ตรวจสอบภายในที่ตรวจสอบกระบวนการและกิจกรรมในการควบคุม หน่วยงานภาครัฐที่ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อบังคับต่างๆ

2.2. การจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการออกแบบระบบบัญชี

กิจการสามารถจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการออกแบบระบบบัญชี โดยการจัดซื้อ การพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเอง หรือการว่าจ้าง Outsource โดยพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดหา ความสามารถของผู้ขายหรือผู้ให้บริการและระบบการสนับสนุนเทคโนโลยีจากผู้จำหน่าย 

3. การกำหนดแนวทางในการวางระบบบัญชี

แนวทางในการวางระบบบัญชี ได้แก่ 

3.1 การออกแบบเอกสาร แบบฟอร์ม สมุดรายวันและรายงานทางบัญชี

โดยมีหลักที่ควรพิจารณาดังนี้

ก. ในการวางระบบบัญชี ต้องมีการสำรวจเอกสารจากระบบบัญชีเดิม เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบเอกสารในระบบบัญชีใหม่

ข. มีการจำแนกประเภทของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ เรียงลำดับจากแหล่งที่น่าเชื่อถือของเอกสารจากน้อยไปหามาก ได้แก่ เอกสารที่เกิดจากแหล่งภายในกิจการและกิจการนำมาใช้เอง เอกสารที่เกิดจากแหล่งภายในที่ถูกรับรองโดยบุคคลภายนอก และเอกที่สารที่เกิดขึ้นจากแหล่งภายนอก

ค. เอกสารที่ออกแบบต้องมีการระบุข้อความที่จำเป็นต่างๆ ให้ครบถ้วน เช่น ชื่อเอกสาร ชื่อที่อยู่กิจการ เล่มที่และเลขที่เอกสาร วันที่ออกเอกสาร เป็นต้น

3.2 การออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารและการบันทึกบัญชี

โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้

ก. การออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารและการบันทึกบัญชีทีละระบบงาน

ข. การเข้าสำรวจกิจกรรมการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้การออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารตรงกับความต้องการมากที่สุด

ค. การร่างแผนภาพทางเดินเอกสารโดยอาศัยการแบ่งแยกหน้าที่ตามแผนผังโครงสร้างองค์กร

ง. การร่างแผนภาพทางเดินเอกสารต้องเน้นการอธิบายการ Flow ของเอกสารประกอบระบบ

จ. หลังจากที่ได้ออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารแล้ว ผู้วางระบบต้องมีการทดลองปฏิบัติ เพื่อนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานจริง

3.3 การออกแบบกิจกรรมการควบคุมภายใน

การวางระบบบัญชีต้องมีการออกแบบกิจกรรมการควบคุมภายใน ด้วยหลักการที่ว่าเอกสารและการบันทึกบัญชีมีความถูกต้อง ได้แก่ การให้ลำดับเลขที่เอกสาร เอกสารต้องระบุผู้จัดทำและผู้อนุมัติเป็นคนละคนกัน เป็นต้น

3.4 การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของระบบบัญชี

คู่มือการปฏิบัติงานของระบบบัญชี คือ รายละเอียดการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีที่ระบุถึง วิธีการใช้คู่มือ ผังการจัดองค์กรของหน่วยงาน วัตถุประสงค์ของระบบงาน ระเบียบปฏิบัติ ผังบัญชี ระบบรายงาน การควบคุมภายในเฉพาะระบบงานที่สำคัญ แผนภาพทางเดินของเอกสาร ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยละเอียด เอกสารประกอบระบบบัญชี 

4. การนำระบบบัญชีใหม่มาใช้

ในการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

4.1 การตรวจสอบความถูกต้องและทดสอบระบบบัญชี

ก่อนนำระบบบัญชีใหม่ออกใช้ปฏิบัติต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำระบบบัญชีออกใช้ปฏิบัติ

โดยมีขั้นตอนดังนี้

ก. การทดลองใช้เอกสาร เป็นการตรวจสอบว่าเอกสารที่ใช้ในระบบบัญชีว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

ข. ตรวจสอบแผนภาพทางเดินของเอกสารและการบันทึกบัญชี ทางเดินเอกสารเริ่มตั้งแต่แหล่งกำเนิดของเอกสารจนถึงแหล่งจัดเก็บเอกสาร มีระบบการควบคุมภายในด้านเอกสารและการอนุมัติเอกสารที่เหมาะสมเพียงพอหรือไม่

ค. การทดสอบการบันทึกรายการบัญชี เป็นการตรวจสอบว่าการบันทึกรายการบัญชีมีเอกสารประกอบการบันทึกรายการบัญชีครบถ้วน เชื่อถือได้หรือไม่

ง. การทดลองการออกรายงานจากระบบบัญชีใหม่

4.2 การเตรียมความพร้อมทางด้านเอกสาร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และบุคลากร

หลังจากมีการทดสอบระบบแล้ว กิจการควรเตรียมความพร้อมโดยจัดเตรียมแบบฟอร์มและเอกสารต่างๆ และจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เพียงพอและสามารถรองรับระบบบัญชีใหม่ให้พร้อมก่อนการนำระบบใหม่มาใช้จริง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือควรจัดให้มีการฝึกอบรมการใช้งานระบบบัญชีใหม่และวิธีการใช้แบบฟอร์มต่างๆ ของระบบใหม่ให้แก่พนักงานผู้ใช้งานเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้รวมทั้งอบรมการใช้งานสำหรับผู้มีอำนาจอนุมัติด้วย

4.3 การนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ในกิจการ

หลังจากกิจการมีความพร้อมทั้งระบบบัญชีใหม่ เอกสาร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และบุคลากรแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำระบบบัญชีมาใช้ในกิจการ ซึ่งมีด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่

ก. แบบขนาน

เป็นการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ควบคู่กับระบบบัญชีเดิมในช่วงเวลาเดียวกัน 

ข. แบบทันที

เป็นการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้แทนระบบเก่าทันที หลังจากระบบบัญชีใหม่ได้รับการพัฒนาเสร็จแล้ว 

ค. แบบทีละช่วง

เป็นนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ โดยแบ่งออกเป็นระบบย่อยๆ ทำการปรับใช้ทีละระบบจนกว่าจะครบทุกระบบ

หลังจากกิจการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้วางระบบบัญชีควรมีการติดตามและประเมินผลว่าระบบบัญชีใหม่ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีขั้นตอนการประเมินผลดังนี้

5.1 การติดตามประเมินผลในการยอมรับของผู้ใช้งาน

เป็นการสำรวจและวิเคราะห์การยอมรับของผู้ใช้งานสำหรับระบบบัญชีที่ได้พัฒนาขึ้นใช้ในกิจการ

5.2 การติดดามประเมินผลทางด้านประสิทธิภาพของระบบบัญชี

การประเมินผลประสิทธิภาพของระบบบัญชี ต้องใช้เครื่องมือในการประเมินผลที่เหมาะสม

5.3 การติดตามประเมินผลทางด้านการควบคุมภายใน

การประเมินผลทางด้านการควบคุมภายใน เป็นการติดตามกิจกรรมที่อยู่ในระบบบัญชีว่าสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในทรัพย์สินของกิจการ

5.4 การติดตามประเมินผลด้านต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับ

เป็นการประเมินผลประโยชน์ที่ได้รับว่าคุ้มค่ากับต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม

ระบบบัญชีที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้กิจการ SMEs สามารถจัดทำบัญชีและยื่นภาษีได้ครบถ้วน ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ยังทำให้กิจการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน และช่วยป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้

PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ

อ้างอิง

การออกแบบระบบบัญชี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุเทน เลานำทา

ระบบบัญชี, วิไล วีระปรีย จงจิตต์ หลีกภัย ประจิต หาวัตร