ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นและจบลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 การปฏิวัติรูปแบบการปกครองในหลาย ๆ ประเทศ จนไปถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองส่วนกลาง และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา การเปลี่ยนแปลงที่มากมายเหล่านี้ทำให้พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 เป็นอีกช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยที่น่าสนใจมาก แต่รายละเอียดจะเป็นอย่างไร บทเรียนออนไลน์จาก StartDee ในวันนี้มีคำตอบ !

เพื่อน ๆ จะอ่านกันต่อที่นี่ หรือไปเรียนในรูปแบบวิดีโอได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee ได้เลยนะ

การเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของการเมืองการปกครองไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7

เมื่อการแสวงหาอาณานิคมในเอเชียเริ่มเบาบางลง ทำให้ประเทศไทยปลอดภัยจากการรุกรานดินแดนของมหาอำนาจตะวันตก สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถดำเนินนโยบายการต่างประเทศและการเมืองการปกครองได้อย่างอิสระ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จึงเป็นช่วงที่ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการเมืองการปกครอง “อย่างรวดเร็ว” ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองส่วนกลาง ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงเปลี่ยนผ่านเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ 6 จนมาถึงรัชกาลที่ 7 นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการเมืองการปกครองไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 จึงน่าสนใจ และทำไมเราต้องพิจารณาเหตุการณ์ในสองรัชสมัยนี้ต่อเนื่องกัน 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ค.ศ. 1910 - 1925)

ก่อนจะไปดูเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคของรัชกาลที่ 6 สิ่งแรกที่เราควรทำความเข้าใจคือผู้นำของประเทศในยุคนั้น ซึ่งก็คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) นั่นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถือเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ไปศึกษายังต่างประเทศ ทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักรตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษาเศษ และทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษเป็นระยะเวลานานกว่า 9 ปี ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร) ก็สำเร็จการศึกษาหลากหลายแขนง เช่น วิชาการทหารจากแซนเฮิสต์ ประวัติศาสตร์และกฎหมายจากวิทยาลัยไครสต์เซิร์ซ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

ในแง่ความสนใจอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความสนพระทัยในงานด้านอักษรศาสตร์ วรรณกรรม รวมถึงศิลปะและการละครเป็นอย่างมาก ทรงมีบทพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น มัทนะพาธา เวนิสวาณิช และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยใช้พระนามแฝง เช่น พระขรรค์เพชร (Phra Khan Bejra) ศรีอยุธยา (Sri Ayudhya, Sri Ayoothya) รามจิตติ และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีพระนามแฝงสำหรับงานเขียนประเภทการเมืองโดยเฉพาะ ชื่อว่า “อัศวพาหุ (Asvabhahu)” ทรงใช้นามปากกานี้แสดงแนวคิดและโต้ตอบกับนักเขียนที่วิจารณ์การเมืองและการปกครองของไทยในยุคนั้น* ผ่านบทพระราชนิพนธ์หลายบท เช่น เมืองไทยจงตื่นเถิด (Wake up Siam) ลัทธิเอาอย่าง (The Cults of Imitation) โคลนติดล้อ (Clogs on Our Wheels) และเมื่อมีผู้เขียนบทความแย้งตอบ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็ไม่โกรธแต่อย่างใดเพราะเห็นว่าเป็นการเสนอแนวทางในการบริหารประเทศ จึงนับว่าความสนใจในงานวรรณกรรมของพระองค์นั้นมีบทบาทด้านการเมืองอย่างมาก

*นักคิดนักเขียนที่มีบทบาทสำคัญตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ลงมา เช่น ก.ศ.ร. กุหลาบ (กุหลาบ ตฤษณานันท์) และเทียนวรรณ (ต.ว.ศ. วัณณาโภ) ทั้งสองมักเสนอบทความวิพากษ์วิจารณ์สังคมลงในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการ โดย ก.ศ.ร. กุหลาบมักเสนอบทความลงในหนังสือพิมพ์สยามประเภท ส่วน ต.ว.ศ. วัณณาโภมักเสนอบทความลงในหนังสือพิมพ์ตุลวิภาคพจนกิจและหนังสือพิมพ์ศิริพจนภาค ซึ่ง ก.ศ.ร. กุหลาบและเทียนวรรณถือว่าเป็นสมาชิกของ “กลุ่มหัวก้าวหน้า” ที่จะมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปด้วย

เหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองที่สำคัญในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6

ความขัดแย้งของจักรวรรดิในยุโรปก่อตัวเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในช่วงแรกสยามยังคงวางตัวเป็นกลางในสงครามนี้ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จะประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ถือเป็นการประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีอย่างเป็นทางการ สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะ สยามจึงอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ชนะสงครามและมีโอกาสแก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบหลายฉบับ เช่น ยกเลิกการสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับสหรัฐอเมริกา ยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริง นอกจากนี้ไทยยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ และได้รับการยอมรับมากขึ้นในระดับนานาชาติ

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

การส่งทหารไทยเข้าร่วมรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ขอบคุณรูปภาพจาก bangkokpost.com

ความกระด้างกระเดื่องในหมู่ทหาร กลุ่มหัวก้าวหน้า และเหตุกบฏ ร.ศ. 130

กลุ่มหัวก้าวหน้าคือกลุ่มนายทหารและชนชั้นกลางที่ได้รับการศึกษาสูง มีแนวคิดอย่างตะวันตก และสนใจการเมือง หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง ได้เกิดการเรียกร้องให้ปฏิรูประบอบการปกครองในหลาย ๆ ประเทศ เช่น รัสเซีย จีน และตุรกี กลุ่มหัวก้าวหน้าจึงเริ่มเปรียบเทียบพัฒนาการของสยามกับประเทศอื่น ๆ ที่ปฏิรูปแล้ว โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเพียงไม่นาน นอกจากนี้การจัดตั้ง “กองเสือป่า” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทำให้นายทหารหลายคนรู้สึกว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่สนับสนุนกิจการทหารบก เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่หลังจากเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแล้วทำให้อำนาจทางทหารปรากฏอย่างเด่นชัด

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

คณะพรรค ร.ศ. 130 ขอบคุณภาพจาก blockdit.com

ด้วยเหตุเหล่านี้เหล่าทหารหนุ่มในกลุ่มคณะพรรค ร.ศ. 130 (หรือที่เรียกอีกชื่อว่ากลุ่มยังเติร์ก: Young Turks เนื่องจากได้แนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจากตุรกี) จึงเริ่มเคลื่อนไหวและวางแผนที่จะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองประเทศ โดยใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 โดยคณะพรรค ร.ศ. 130 กลุ่มนายทหารบกและปัญญาชนที่มีจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แผนของคณะคือให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด แต่แผนการได้รั่วไหลและทำให้การปฏิวัติล้มเหลว คณะพรรค ร.ศ. 130 ถูกจับกุมทั้งหมดและต้องโทษสูงสุดคือประหารชีวิต แต่ก็ได้รับการลดหย่อนและพระราชทานอภัยโทษให้เหลือเพียงจำคุกในภายหลัง

*ถึงจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่เหตุการณ์ ร.ศ. 130 ก็ถือว่าเป็นการปูทางการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองให้กับคณะราษฎร ทั้งนี้เหตุการณ์ ร.ศ. 130 เป็นแรงผลักดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" 

การดำเนินการเพื่อลดการต่อต้าน

เพื่อลดการต่อต้านและการปฏิรูปประเทศในหมู่ทหาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการปฏิรูปการเมืองการปกครองในไทยหลาย ๆ ด้าน เช่น 

  1. ทรงจัดตั้งจิตรลดาสโมสร (หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่าสโมสรสามเหลี่ยม) สโมสรกึ่งการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างผู้ที่มีการศึกษาสูง คาดว่าได้แบบอย่างมาจาก Athenaeum Club ในอังกฤษ
  2. ทรงจัดตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตยขึ้นที่พระราชวังดุสิต โดยมีพระประสงค์เพื่อฝึกให้ขุนนางและข้าราชการได้ทดลองปกครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองท้องถิ่น
  3. ทรงปรับปรุงการปกครองส่วนกลาง เช่น ปรับปรุงระบบกระทรวงด้วยการจัดตั้งกระทรวงใหม่ เช่น กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมุรธาธรกลับมามีบทบาทอีกครั้งหลังจากถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย รวมถึงเปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคมเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย
  4. ทรงปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค เช่น รวมมณฑลที่อยู่ติดกันเป็นภาค และเปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด
Did you know ?: รู้หรือไม่ จริง ๆ แล้วดุสิตธานี “ตะเร้กกก” กว่าที่เราคิด

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

ขอบคุณรูปภาพจาก becommon.co

ถึงเมือง 'ดุสิตธานี' ณ พระราชวังดุสิตจะมีองค์ประกอบสำคัญแบบที่เมืองเมืองหนึ่งควรจะมีอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังไปจนถึงร้านซักรีด มีประชากรและคณะบริหารบ้านเมืองอย่างจริงจัง (ซึ่งก็คือข้าราชบริพารและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เอง) มีการแบ่งเขตการปกครองแบบตำบล ไปจนถึงการมี ‘พรรคการเมืองสมมติ’ อันเป็นองค์ประกอบที่ส่งเสริมให้ดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองประชาธิปไตยที่สมจริงอย่างที่สุด แต่สิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ก็คือ ‘จริง ๆ แล้วอาคารต่าง ๆ ในเมืองดุสิตธานีมีอัตราส่วน 1:20 เท่านั้นเมื่อเทียบกับของจริง’ ถึงจะมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามสมส่วนเหมือนสถานที่จริง แต่ด้วยขนาดที่เล็กมาก มนุษย์เลยไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้

ทว่าด้วยความที่มีอาคารบ้านเรือนกว่า 1,000 หลังคาเรือน ดุสิตธานีจึงมีพื้นที่รวมกว่า 2 ไร่ (แถมยังได้รับการขยับขยายเพิ่มเป็น 4 ไร่ในภายหลัง) ปัจจุบันมีการบูรณะอาคารบางส่วนของดุสิตธานีและจัดเก็บไว้ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ในหอสมุดแห่งชาติ

การเมืองการปกครองของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) (ค.ศ. 1925 - 1935)

ในช่วงต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ยังคงมีอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ และเนื่องจากเป็นช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลก ทำให้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมืองที่รุนแรง รวมถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจัยเหล่านี้จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรในเวลาต่อมา

เหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองที่สำคัญในรัชสมัยของรัชกาลที่ 7
คณะราษฎรและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

หลังจากปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาอย่างยาวนาน จุดเปลี่ยนของการปกครองไทยก็มาถึง เมื่อคณะราษฎรทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สาเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองมีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น

  1. ความบกพร่องของการปกครองในระบอบเก่า รวมถึงระบอบอุปภัมภ์ในหมู่ขุนนางราชสำนัก ที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงไม่มีโอกาสได้เข้าไปบริหารและพัฒนาบ้านเมือง
  2. ผลจากการเปิดประเทศมากขึ้นและชาวไทยที่มีโอกาสไปศึกษาในต่างประเทศ ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยจากโลกตะวันตกเติบโตในไทยมากขึ้น 
  3. อิทธิพลจากสื่ออิสระจากสมัยรัชกาลที่ 6 ที่วิพากษ์ปัญหาบ้านเมืองอย่างตรงไปตรงมา ทำให้การเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยของนักคิดนักเขียนต่าง ๆ เป็นไปอย่างเสรี และเข้าถึงประชาชนมากขึ้น
  4. เศรษฐกิจยุโรปเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้การค้าการส่งออกของไทยเป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อรวมกับปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมใหญ่ที่ส่งผลเสียต่อภาคการเกษตร ประเทศไทยจึงเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจที่คณะบริหารก็ไม่สามารถแก้ไขได้

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จึงเริ่มขึ้นโดยคณะราษฎร ประกอบด้วยกลุ่มทหารและพลเรือน ฝ่ายทหารนำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ฝ่ายพลเรือนนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) คณะราษฎรดำเนินการยึดกรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อตัดขาดช่องทางการสื่อสารระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโส และมีการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์ไว้เป็นองค์ประกัน 

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

คณะนายทหารผู้เริ่มการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ขอบคุณรูปภาพจาก blockdit.com

เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเสียเลือดเนื้อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงยินยอมปฏิบัติตามข้อเสนอของคณะราษฎร เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ คณะราษฎรจึงประกาศหลัก 6 ประการ อันประกอบไปด้วย

  1. หลักเอกราช: จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. หลักความปลอดภัย: จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. หลักเศรษฐกิจ: จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. หลักเสมอภาค: จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
  5. หลักเสรีภาพ: จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. หลักการศึกษา: จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฎร (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง)
ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวและรัฐธรรมนูญฉบับแรก

ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย โดยมีการแบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

  1. ฝ่ายนิติบัญญัติ: ประกอบด้วย ผู้แทนราษฎร 70 คนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะราษฎร
  2. ฝ่ายตุลาการ: ตุลาการและผู้พิพากษา มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินคดีความ
  3. ฝ่ายบริหาร: คณะกรรมการราษฎรที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศ (เทียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน) ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการราษฎร 1 คน และกรรมการราษฎร 14 คน ซึ่งมาจากสมาชิกสภาโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร จึงถือว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

โดยอำนาจทั้ง 3 ส่วนนี้จะแยกกันเป็นอิสระและมีการตรวจสอบเพื่อคานอำนาจกันอยู่เสมอ จากนั้นในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จึงมีการประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย และในทุกวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีจึงถือเป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งในอดีตจะมีการจัดเทศกาลฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

บรรยากาศการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญที่สวนลุมพินี ขอบคุณรูปภาพจากเฟสบุ๊ก weloveoldphoto

รัฐประหารครั้งแรก

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง การเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจหรือ “สมุดปกเหลือง” ของศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์ทำให้รัฐบาลกับคณะราษฎรขัดแย้งกัน เพราะรัฐบาลเห็นว่าเค้าโครงเศรษฐกิจนี้ “มีความเป็นคอมมิวนิสต์” ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่เป็นดั่งขั้วตรงข้ามของประชาธิปไตย (ตามความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ในสมัยนั้น) รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ทำการปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และมีการกระทำที่เข้าข่ายความเป็นเผด็จการ เช่น ออก พรบ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ สั่งปิดหนังสือพิมพ์ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ฯลฯ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ขัดกับเจตนารมณ์ของคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนาจึงต้องทำการรัฐประหารเพื่อให้อำนาจกลับมาอยู่ที่กลุ่มแกนนำคณะราษฎรในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

กบฏบวรเดช

นอกจากความขัดแย้งเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจ ยังมีความขัดแย้งเรื่องของพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบการปกครองใหม่นี้ด้วย ด้วยเหตุนี้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชจึงนำกำลังทหารเข้าล้มล้างรัฐบาลในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคืนพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ แต่รัฐบาลก็ปราบปรามคณะกบฏลงได้ เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “กบฏบวรเดช”

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ

การเกิดกบฏบวรเดชทำให้เกิดความบาดหมางระหว่างรัฐบาลและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากรัฐบาลเข้าใจว่าฝ่ายราชานิยมมีส่วนในการสนับสนุนกบฏบวรเดช เมื่อประกอบกับการทำงานของรัฐบาลที่มักทำการโดยไม่ปรึกษาพระองค์ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียพระทัย และประกาศสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (หากนับตามปฏิทินปัจจุบันจะเป็นวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478) ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์

สรุปการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 6 - 7
สมัยรัชกาลที่ 6
  • สถานการณ์การเมืองในหลายประเทศมีการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น ตุรกี จีน และรัสเซีย 
  • เกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 โดยกลุ่มนายทหารบกที่มีจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงการดำเนินการเพื่อลดการต่อต้านด้วยการปรับปรุงการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการปรับเปลี่ยนระบบกระทรวงให้ทันสมัย รวมมลฑลเป็นภาค และเปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด
สมัยรัชกาลที่ 7
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ประเทศไทยจึงมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกใช้ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มีการประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย
  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 เกิดการรัฐประหารครั้งแรกโดยคณะนายทหาร นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ (หากนับตามปฏิทินปัจจุบันจะเป็นวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478)

จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาถึงยุคการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประเทศของเราใช้เวลาเพียง 25 ปีเท่านั้น เพื่อน ๆ จะเห็นว่าในยุคสมัยของรัชกาลที่ 6 - 7 ประเทศของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาก รายละเอียดของเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็เยอะมากเช่นกัน แต่ถึงรายละเอียดจะเยอะแค่ไหนก็จำได้ด้วย เทคนิคการอ่านหนังสือสอบให้เข้าสมอง หรือถ้าอยากเรียนสบาย ๆ เข้าใจง่ายแบบไม่ต้องท่อง ต้องโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาลองเรียนดูแล้วล่ะ !

ความตกต่ำทางเศรษฐกิจสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งใด *

นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังสามารถไปเรียนรู้กันต่อได้ที่บทเรียนออนไลน์วิชาภาษาไทยเรื่องบทพากย์เอราวัณ ที่แปลเนื้อหากันมาอย่างละเอียดยิบ หรือจะเรียนภาษาอังกฤษกับบทความรากศัพท์กรีกและละติน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ก็ไม่น้อยหน้า คลิกอ่าน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล ได้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก: 

  1. โยฮันนา (ครูโย)
  2. สุรรังสรรค์ ผาสุขวงษ์ (ครูกอล์ฟ)

Reference:

Batson, B. A., ละอองศรี กาญจนี, & ชุมจันทร์ ยุพา. (2547). บทที่ 1 สยาม, ราชาธิปไตยกับมหาอำนาจตะวันตก. In เง่าธรรมสาร พรรณงาม, ขันติวรพงศ์ สดใส, & ณ อยุธยา ศศิธร รัชนี (Trans.), อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม: The End of the Absolute Monarchy in Siam (2nd ed., pp. 1–26). essay, มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และสมนุษยศาสตร์. 

นักรบ มูลมานัส. “ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยจิ๋ว แบบทดลองระบอบการปกครองใหม่ของ ร.6 เมื่อร้อยกว่าปีก่อน.” The Cloud, 2 Mar. 2020, readthecloud.co/dusit-thani-miniature-city-king-rama-vi/.

บทที่ 5 บทความ. In TH 399 (pp. 169–176). essay. Retrieved from: http://old-book.ru.ac.th/e-book/t/TH339/th339-5.pdf 

สิทธิโสภณ วิลาสินี. เหตุการณ์ ร.ศ. 130 เนื้อหาอภิปรายดูประวัติ. ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8._130.

รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง

เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การควบคุมงบประมาณ ตัดทอนรายจ่าย ลดอัตราเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงการลดจำนวนข้าราชการ ปรับปรุงระบบภาษี การเก็บภาษีเพิ่มเติม ยุบรวมจังหวัด ...

นโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือข้อใด

โดยทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวด และการหารายได้ใหม่ๆ เพิ่ม เช่น โปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้าน, ปลดข้าราชการออกจากตำแหน่ง, ยุบมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ, งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ, ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรบางรายการ, เรียกเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ ฯลฯ ...

ผลกระทบที่สำคัญจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างร้ายแรงในสมัยรัชกาลที่ 7 คือข้อใด

มาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ดังกล่าว ทำให้ราษฏประสบความเดือดร้อนมากขึ้น ประกอบกับการขาดแคลนโรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทำให้คนว่างงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นกิจการค้าทั้งหมดก็ตกอยู่ในกำมือของชาวต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าวจึงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศและกลาย เป็นสาเหตุสำคัญ ...

ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาเศรษฐกิจในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2453-2468 ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจทรุดโทรม ทั้งนี้เพราะเกิดความตกต่ำของรายได้และการขยายตัวของรายจ่ายไม่สมดุลกัน อันเนื่องมากจากมีการเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พม่า อินโดจีน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดในโลก กระทบกระเทือนต่อการผลิตข้าวใน ...