การพัฒนาศักยภาพครูในศตวรรษที่ 21

การพัฒนาศักยภาพครูในศตวรรษที่ 21

ที่มา : http://slideplayer.in.th/

การพัฒนาครูในศตวรรษที่ ๒๑

                ครูเป็นผู้เรียนที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองและได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีกฎหมาย/นโยบายว่า ครูทุกคนต้องได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานและพัฒนาตนเองทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องเข้ารับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องปีละ 100 ชั่วโมง ครูบรรจุใหม่ต้องผ่านการอบรมตามโปรแกรมการอบรมเพื่อฝึกหัดการสอนและได้รับเงินเดือนสูงระหว่างการอบรมด้วย การพัฒนาตนเองต้องอยู่ในการกํากับดูแลของศึกษานิเทศก์และผู้บริหารและต้องผ่านการทดลองงาน 1 ปีครูเก่าอายุงาน 10 ปีขึ้นไป ต้องเข้ารับการพัฒนาด้วย โดยมีองค์กรทําหน้าที่ด้านพัฒนาครูเป็นการเฉพาะ มีคูปองการพัฒนาความรู้เพื่อให้ครูเข้ารับการพัฒนาตนเองตามความต้องการทุกปีจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ มีการสร้างเครือข่ายการพัฒนา มีระบบพี่เลี้ยง/ครูต้นแบบ (master  teachers) มีการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และผู้เรียน เช่น การทําห้องเรียนให้เป็นห้องทํางานจําลอง การพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ทักษะการตั้งคําถาม รวมถึงทักษะการออกแบบการเรียนรู้แบบ active learning นั้นคือกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีโอกาสลงมือทํามากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว เช่น การให้ผู้เรียนได้อ่าน เขียน โต้ตอบ และวิเคราะห์ปัญหา ทักษะการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน โดยการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนแล้วนําสิ่งที่สังเกตได้มาให้ข้อมูลแก่นักเรียน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงของนักเรียน ทักษะการเรียนรู้เป็นทีม ทักษะการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนแบบรู้จริง ทักษะการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้กํากับการเรียนรู้ของตนเองได้ฯลฯ นอกจากนี้ต้องมีระบบการนิเทศ ติดตามและพัฒนาการทํางานของครูในชั้นเรียน การเรียนรู้และพัฒนาจากเพื่อนครูและการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน รวมทั้งมีการสร้างครูจิตอาสาเพื่อช่วยสอน มีการพัฒนาการเรียนการสอนของครูโดยเน้นการสอนของครูให้น้อยลงและให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และนํามาปฏิบัติด้วยตนเองมากขึ้น

การพัฒนาศักยภาพครูในศตวรรษที่ 21

ที่มา : http://lripsm.wix.com

บทบาทของครู ในยุคศตวรรษที่ 21

ครูในยุคศตวรรษ ที่ 21 คือ ครูในยุคโลกาภิวัฒน์ จะต้องมีความรู้กว้างไกลในเทคโนโลยี โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วย IT ครูจะต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดจึงจะทันโลกยุคใหม่ นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือของครูยุคใหม่ ที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี วิชาการ เพื่อนำนวัตกรรมไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและยังถือได้ว่า ครูเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

บทบาท ของครู ศตวรรษ ที่ 21 คือการช่วยเตรียมให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะที่เป็นไปของสังคม ครูคือผู้ที่ต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ หรือกล่าวอีกอย่างว่าต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพของเขา อาจสรุปบทบาทหน้าที่ของครูในยุคใหม่ได้ คือ ต้องสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงการที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพของเขาโดยสอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะความรู้และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วและล้าสมัยเร็ว ผู้คนในยุคใหม่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา ครูจะต้องฝึกนิสัยให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนความคิดได้ง่าย มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสอนวิธีเรียนมากกว่าสอนเนื้อหา เพราะเนื้อหาในยุคสมัยนี้จะมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้อย่างพอเพียง และข้อมูลและเนื้อหาก็เปลี่ยนแปลงเร็วทำให้การจดจำเนื้อหาความรู้เป็นสิ่งที่ใช้ได้และมีประโยชน์น้อย

ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความคิดที่กว้างไกลมีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน  และควรคำนึงถึงวัยของผู้เรียนและความเข้าใจในสื่อที่จะนำมาถ่ายทอด อย่างเช่น สื่อสำหรับเด็กอนุบาลก็ควรจะต้องมีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจ เพราะเด็กจะมีสมาธิสั้นก็ควรจะมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ เพื่อให้เด็กมีไหวพริบปฏิภาณที่ดี สำหรับเด็กประถมก็ควรจะหาสื่อการเรียนการสอนที่ยากมาอีกหน่อย อย่างเช่นเกมส์ และเด็กในวัยนี้สามารถเรียนการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ และเด็กมัธยมต้นก็ควรจะหาสื่อที่ยากกว่านี้คือการเรียนที่ทันสมัยขึ้นมาอีกหน่อย เพราะเด็กในวัยนี้มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมาก อาจจะให้เด็กสมัคร E-mail เป็นของตัวเองเพื่อส่งงานให้กับคุณครูผู้สอน ส่วนเด็กมัธยมปลายก็ควรจะใช้สื่อ Power Point ในการเรียนการสอน

ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำความรู้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน และใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนให้มากที่สุด

ที่มา : https://sites.google.com/site/krukook25/khru-stwrrs-thi-21

การพัฒนาศักยภาพครูในศตวรรษที่ 21

ที่มา : http://www.libraryhub.in.th/

บทบาทผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy
ดังนั้นผู้เรียนในศตวรรษที่ 21(21st Century Content)เป็นการเรียนรู้หลายทาง หรือการบูรณาการความรู้ต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอน สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ได้ โดยเฉพาะการใช้ ICT มาใช้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และการเรียนรู้การใช้ICTควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทักษะชีวิตและอื่นๆ ส่วน core subjects นั้นเป็นส่วนของเนื้อหาที่นำมาใช้ในการประกอบอาชีพ จะเป็นส่วนเสริมของสมรรถนะทั้ง 5 ด้านเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการศึกษาขั้นสูงต่อไป ดังนั้นวิธีการเรียนรู้จึงเปลี่ยนจากท่องจำเป็นการปฏิบัติและการบูรณาการหลายๆศาสตร์เข้าด้วยกัน
https://somjit1.wikispaces.com

บทบาทสื่อและแหล่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่21
ผู้เรียน

การรู้เทคโนโลยีและการรู้สารสนเทศ ในระดับพื้นฐานเพื่อสามารถเข้าถึงและสามารถใช้ไอซีทีเพื่อการค้นคว้า รวบรวม และประมวลผลจากแหล่งต่าง ๆ และเพื่อเการสร้างองค์ความรู้ใหม่
บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม
กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณค่า ทัศนคติ และจริยธรรมในเชิงบวกในการใช้ไอซีทีซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและกระบวนการคิดอย่างวิเคราะห์
ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง ใช้ และเรียนรู้ทักษะไอซีทีในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักสูตรพื้นฐาน
ต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสในการใช้และพัฒนาความรู้ไอซีทีในทุกสาขาวิชา และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนมีการใช้ไอซีทีให้มากขึ้น
กระบวนการเรียนการสอนต้องไม่จัดเฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น ผู้เรียนควรมีโอกาสสัมผัสโลกภายนอกผ่านเครือข่ายไอซีที การรู้ไอซีที และมีการพัฒนาการของทัศนคติที่ดีต่อไอซีทีตามความต้องการของแต่ละคน
นักเรียนทุกคนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 สามารถใช้โปรแกรมประมวลคำและตารางการคำนวณได้ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 สามารถเขียนโปรแกรมได้
นักเรียนทุกคนในโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 1-100 คนขึ้นไป ใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลได้
ผู้สอน

สมรรถนะด้านไอซีทีจะช่วยให้ผู้สอนมีความรู้อย่างกว้างขวาง มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเพื่อสามารถเป็นผู้แนะนำแกผู้เรียนได้
คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือหลักสำคัญสำหรับผู้สอนเพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียนการเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียน ผู้สอนคนอื่นๆและผู้บริหาร
ผู้สอนควรได้รับการอบรมในการใช้ไอซีทีและสามารถบูรณาการไอซีทีในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างวิเคราะห์และสร้างสรรค์
ผู้สอนควรติดตามพัฒนาการและความก้าวหน้าของไอซีทีเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้
ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ และต้องมีวิชาสอนด้วยการบูรณาการไอซีที
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 – sunisa_edu_ku

https://sites.google.com/site/sunisaeduku/

วีดีโอการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

https://www.youtube.com/watch?v=tE32HERiEs4