องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น

��ʹ� �ѷ�� �������� �ԡ�� �Ըա��� >>

��������оط���ʹ�

องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น
��������оط���ʹ�㹷�ջ�����
องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น
��������оط���ʹ�㹻�������û
องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น
��������оط���ʹ�㹷�ջ����ԡ��˹��
องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น
��������оط���ʹ�㹷�ջ���������

��������оط���ʹ�㹻�������û

��ǧ��ѧ�ط�ȵ���ɷ�� 21 �����㹷�ջ���û��ǧ���ҳҹԤ� �����㹷�ջ����µ����ҳҹԤ��ͧ�����㹷�ջ���û�ҧ��ǹ��;¾��������㹻�������û ��觤�����ҹ��Ѻ��;�оط���ʹ� ��������������� �礧��оĵԻ�ԺѵԵ����ѡ�������͹㹾�оط���ʹ� ����������û�Դ����ʹ� �֡�Ҥ鹤��Ҿ���ûԮ���Ф�������ҧ � ������� ����;���Ҿ�оط���ʹ�����ʹҷ�������躹��ѡ�˵ؼ� �������Թ���Ե�����ҧ�ը֧�Դ�������������ѹ�ҹѺ��;�оط���ʹ�

������ѧ���
��оط���ʹ���������������������ѧ��� ����ҳ �.�. 2393 �� ����໹���� ����� ������˹ѧ�����ʹ�ѡ���觺�þҷ�� �͡��������ռ��ʹ��ҡ�ѡ ����з�� ��������Թ �����Ŵ� ����¹˹ѧ��� ��зջ�������� ������͡�¨����Ѻ����ʹ㨨ҡ����ѧ��� �������ʵ�Ҩ���� �� �Ѻ����� ��� ��Դ�� ��Ѵ�����Ҥ����ջ�ó��� �����ѵ�ػ��ʧ�����ͨѴ��������ûԮ��������ѧ����͡��

��оط���ʹ��ѧ���㹻Ѩ�غѹ ������ѧ����դ�������ѹ��Ѻ��Ǿط�㹻������ �·�˹ѧ��ͼ�ҹʶҹ�͡�Ѥ��Ҫ�ٵ�� ��Шӡ�ا�͹�͹ ���ԭ���᷹ʧ���¾��������͸Ժ�ա�������ʹ��Թ�ҧ任�����ѧ��� ���ͷӡ�������оط���ʹ���ШѴ��ѡ�ٵá���֡�Ҹ��� �������ͧ������Ѻ͹��ѵ������Թ��èҡ Ͼ�� ��¡�Ѱ����� �.�. 2507 ��������ա�����ҧ�Ѵ�� ��е����ŹԸԾ�оط���ʹҢ�� � ��ا�͹�͹ �Ѵ���Ѵ�á ����Ѵ�ط���ջ �վ��ʧ��������Ӿ���� ��л�Сͺ��ʹ�Ԩ ����ҡ����Ѵ�µ�駢���ա������� �� �Ѵ��ҨԵ����ǡ ����ͻ������Ŵ� �Ѵ����ѹ�Ը��� ���ͧ������� ��ź�ؤ �繵�

 

������������
��Ǿط�������á�������� ���� ��.����� �ࡹʵԡ���� ���͵����Ҥ����͡������ط���ʹ��������� ��鹷�����ͧ�Ż�ԡ ����� �.�. 2446 ���������оط���ʹ�㹻����������� �͡�ҡ����ա�èѴ�ʴ��Ұ��Ҹ������ʹ��Ҹ�������ǡѺ��оط���ʹ��繻�Ш� ˹ѧ�������ǡѺ��оط���ʹҷ���ժ������§�ҡ ��� ˹ѧ��;�оط�Ǩ�� �����˹ѧ��ͷ����������º���§�ҡ���Һ��� �����������ѹ �¾���ԡ�ت�������ѹ ��ҹ�ҳ��š ˹ѧ�������������Ѻ��õվ������������� � ���� 10 ���� ������������

㹻� 2491 ��Ҥ����⾸������ѧ�� ��С����Ҿط���Ҥ���ǹԡ���Ңҷ����ط���Ҥ���� � ���������ա���֡�Ҿ�оط���ʹҤ�� ����Է�������� �������յ��ѹ�� ��û���ҹ�ѹ�Ѻ�ҧ����ѧ���ҡ��� ��е�ҧ����Ѥ�������ҢҢͧ��Ҥ����⾸Դ��Թ������͡��õ�ҧ �

�����������Ź��
��оط���ʹ�����������������������Ź�� �¼�ҹ�ҧ��ͤ�Ҫ�Ǵѵ�� ��Ъ�Ǿ�����ͧ�ҡ���������ѧ�� ����Թ�ҧ��֡���������¹㹻����������Ź��

��ѧ�ҡʧ�����š���駷�� 2 ���� ���ժ�Ǿط�㹡�ا�Ρ���鹿پ�оط���ʹҢ�����ա����˹�� �¡�èѴ��駪�����Ǿط��ѵ���� �ըش���ʧ���������ٹ���ҧ㹡�þ����ѧ��ä�ͧ�ط���ʹԡ��㹻����������Ź�� ���ʹ��Թ���������С�зӡԨ������ҧ � �����ѡ�ͧ��оط���ʹ�

��оط���ʹһ����������Ź��㹻Ѩ�غѹ ������á���ա�èѴ���ͧ��� ���;ط���Ҥ�������������ٹ���ҧ㹡�õԴ��;����ѧ��ä�������ҧ��Ǿط����¡ѹ ����Ҩ���ա�ô��Թ�������Ǣ�ͧ�Ѻ��оط���ʹ� �� ���Ҿ��оط���ʹ����������� �ٹ������ѡ���觻������Ե�����Ź�� ��Ҥ�������觾�оط���ʹ�㹿Թ�Ź�� �ط���Ҥ����ഹ �繵� ��觾ط���Ҥ���С������Ǿط���ҧ � �ѧ������ҹ����ͺ�ء��������ž���ûԮ���Ф����������ҧ��оط���ʹҨҡ���Һ�����������Ңͧ����ȹ�� � ���������ա�èѴ�������è����õ�ҧ � �͡��

�͡�ҡ���ط���ʹԡ��㹷�ջ���û����繪���¡����ҧ�Ѵ㹻���ȵ�ҧ � 㹷�ջ���û�����Ѵ ���� �Ѵ����������� ���ͧ��ǫ� ������ ����Ƚ������ �Ѵ�ط����� ���ͧ����Ǥ �����������Ź�� �����ŹԸ��Ѵ�����ͧ���Ԥ �������Ե�����Ź��

องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น
องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น
องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น
องค์กร ทาง พระพุทธ ศาสนา หรือ พุทธ สมาคม ในประเทศฝรั่งเศส เช่น

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย

                ทวีปเอเชียนับเป็นดินแดนแห่งแรกที่พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่3ซึ่งพระพุทธศาสนาที่ได้เผยแผ่เข้ามานั้น แบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายเถรวาท และนิกายอาจาริยวาท ต่อมาได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่นของแต่ละ ประเทศ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการเป็นพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ หลายนิกาย เช่น นิกายเถรวาทเดิม นิกายตันตระ นิกายสุขาวดี เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศต่าง ๆในทวีปเอเชียจึงแตกต่างกันออกไป ดังนี้

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังลังกาทวีป(ศรีลังกา ปัจจุบัน) ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ( พ.ศ235-275)ผู้ครองเมืองอนุราธปุระ โดยการนำของพระมหินทเถระและคณะสมณทูต ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีปได้ทรงส่งมาในคราวทำสังคยานาครั้งที่ 3 ซึ่งได้รับการต้อนรับจากพระมหากษัตริย์และประชาชนเป็นอย่างดี ได้มีการส่งสมณทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศกมหาราช และได้ทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาสู่ลังกาทวีปด้วย ต้นโพธิ์นี้ปัจจุบันเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากที่สุดในโลก พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะยังทรงสร้างมหาวิหารและถูปาราม อันเป็นเจดีย์องค์แรกของลังกาไว้ ณ เมืองอนุราธปุระด้วย       ในสมัยนั้นลังกาทวีปมีประชาชนอยู่ 2 เผ่า คือ เผ่าสิงหล และเผ่าทมิฬ ชนผ่าสิงหลทั่วไปนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนชนเผ่าทมิฬไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาเมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าเทวานัม ปิยติสสะแล้วลังกาทวีปก็ตกอยู่ในอำนาจของกษัตริย์ทมิฬ   พระพุทธศาสนาในลังกาบางครั้งก็เจริญรุ่งเรือง บางครั้งก็เสื่อมลงจนถึงสูญสิ้นสมณวงศ์สลับกันไปเช่นนี้ ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์ของชนผ่าใดในระว่างสิงหลกับทมิฬขึ้นมามีอำนาจ

                ครั้นต่อมาเมื่อพระเจ้าวิชัยสิริสังฆโพธิ ทรงกอบกู้ราชบัลลังก์จากพวกทมิฬได้ และทรงจัดการทางฝ่ายราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้วก็ได้หันมากอบกู้ฟื้นฟูพระพุทธ ศาสนา และส่งทูตไปขอพระภิกษุสงฆ์จากพม่ามาทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกา ทำให้สมณวงศ์ในลังกาได้กลับมีขึ้นอีกครั้ง

                ในสมัยรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชปกครองสงฆ์ทั้งประเทศเป็นครั้งแรก และสร้างวัดวาอารมอีกมากมายจนลังกาได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธ ศาสนา แต่ภายหลังพวกทมิฬก็มารุกรานอีกและมีอำนาจเหนือชาวสิงหล ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงอีกครั้ง

ระหว่างที่ลังกาอ่อนแอลงชนชาติโปรตุเกสและ ฮอลันดาก็ได้เข้ามาผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอำนาจซึ่งชนทั้งสองพยามยาม ประดิษฐานคริสต์ศาสนาแต่ก็ไม่สำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกลงสู่จิตใจของชาวลังกามาเป็นเวลา ช้านาน

                ใน พ.ศ.2293 พระเจ้ากิตติสิริราชสีห์ ได้ส่งราชทูตไปขอพระสงฆ์จากประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุง ศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศทรงส่งพระอุบาลีและพระอริยมุนี พร้อมด้วยคณะสงฆ์ 12 รูป เดินทางไปลังกา และได้ทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวสิงหล พระสงฆ์ที่บรรพชาอุปสมบทใหม่หนี้เรียกว่า อุบาลีวงศ์หรือสยามวงศ์ หรือสยามนิกาย ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ของลังกามาจนกระทั่งทุกวันนี้

                ในปี พ.ศ.2358 อังกฤษได้เข้ามายึดครองลังกา ทำให้วงศ์กษัตริย์ลังกาสูญสิ้นไป เป็นเวลากว่า 100 ปีที่ชาวลังกาได้ต่อสู้จนได้อิสรภาพจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2490 พระพุทธศาสนาจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้น และได้ส่งพระสงฆ์ออกไปประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรปและอเมริกาด้วย

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

                เท่าที่ปรากฏหลักฐาน พบว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีนเมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยของพระจักรพรรดิมิ่งตี่ แห่งราชวงศ์ฮั่น โดยพระองค์ส่งสมณทูตไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย และเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษ์ รวมทั้งคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย

                เมื่อพระเถระ 2 รูป พร้อมด้วยคณะทูตมาถึงนครโลยาง พระจักรพรรดิมิ่งตี่ได้ทรงสั่งสร้างวัดให้เป็นที่อยู่ของพระเถระทั้ง 2 และตั้งชื่อว่า วัดแปะเบ้ยี่ ซึ่งแปลว่าเป็นไทยว่า วัดม้าขาว ซึ่งเป็นอนุสรณ์ให้ม้าตัวที่บรรทุกพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากับพระเถระทั้ง 2 รูป

                ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นที่เลื่อมแต่ยังจำกัดอยู่ในวงแคบคือในหมู่ข้า ราชการและชนชั้นสูงแห่งราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า จนกระทั่งโม่งจื้อนัก ปราชญ์ผู้มีความสามารถได้แสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้ชาวเมืองได้เห็นถึง ความจริงให้ชาวจีนเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากกว่า ลัทธิศาสนาอื่น ๆ

                จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161-1450) พระพุทธศาสนาก็เจริญสูงสุดและได้มีการส่งพระเถระเดินทางไปสืบพระพุทธใน อินเดียและอัญเชิญพระไตรปิฎก กลับมายังจีน และได้มีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาจีนอีกมากมาย

พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อพระเจ้าบู๊จง ขึ้น ปกครองประเทศ เพราะพระเจ้าบู๊จงนับถือลัทธิเต๋า ทรงสั่งทำลายวัด บังคับให้พระภิกษุลาสิกขา ทำลายพระพุทธรูป เผาคัมภีร์ จนถึง พ.ศ.1391 เมื่อพระเจ้าชวนจง ขึ้นครองราชย์ ทรงสั่งห้ามทำลายวัด และนำประมุขลัทธิเต๋ากับพวกไปประหารชีวิต พร้อมกันนั้นก็ได้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง  พระพุทธศาสนาในประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองสลับกับเสื่อมโทรมตามยุคสมัยของราชวงศ์ที่จะทรงนับถือลัทธิหรือศาสนาใด

                ใน พ.ศ.2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนา แต่กลับสนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ จนใน พ.ศ.2465 พระสงฆ์ชาวจีนรูปหนึ่งชื่อว่า ไท้สู ได้ทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ขึ้นที่ วูชัง เอ้หมึง เสฉวน และหลิ่งนาน และจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน ขึ้น ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้น

                พ.ศ.2492 สาธารณรัฐจีน ได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่ง เป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน ปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมีคำสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่าง มากรัฐบาลได้ยึดวัดเปนของราชการ ทำลายพระคัมภีร์ต่าง ๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเกือบสูญสิ้นไปจากประเทศจีนเลยทีเดียว เมื่อประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ.2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีน คือ เติ้งเสี่ยวผิง คลายความเข้มงวดลงบ้าง และให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น สภาวการณ์ทางพระพุทธศาสนาจึงเริ่มกลับฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง รัฐบาลจีนให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนและสภาการศึกษาพระ พุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งด้วย ปัจจุบันชาวจีนนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือลัทธิขงจื้อและลัทธิ เต๋า

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี

                พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ.915 โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโกคุริโอ คือประเทศเกาหลีในปัจจุบัน

                พ.ศ.1935 พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมลงเมื่อราชวงศ์โซซอน ขึ้นมามีอำนาจ ราชวงศ์นี้เชิดชูลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติ    พ.ศ.2453 ประเทศเกาหลีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ราชวงศ์เกาหลีสิ้นสุดลง ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดเกาหลีจากญี่ปุ่น เกาหลีจึงถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศ ทางตอนเหนืออยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลของสหภาพโซเวียต มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ทางตอนใต้อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกา มีชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐเกาหลี พระพุทธศาสนาในเกาหลีเหนือไม่สามารถที่จะรู้สถานการณ์ได้ เพราะเกาหลีเหนือปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ได้มีมีการฟื้นฟูขึ้น ได้ยกเลิกข้อบังคับสมัยที่ญี่ปุ่นยึดครองมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลี คือ มหาวิทยาลัยดงกุก

                ในปี พ.ศ.2507 คณะสงฆ์เกาหลีใต้ได้จัดตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีขึ้นเรียกว่า ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยดงกุก ประชาชนในเกาหลีใต้นับถือพระพุทธศาสนานิกายเซนผสมกับความเชื่อในพระอมิตาภพุทธะ และ พระศรีอารยเมตไตรย หรือพระเมตตรัยโพธิสัตว์

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

                พระพุทธศาสนาเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี โดย พระเจ้าเซมาโวแห่งเกาหลีส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระจักรพรรดิกิมเมจิพร้อม ด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์ะพุทธธรรมและพระราชสาร์นแสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระจักรพรรดิกิม เมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ซึ่งเจริญเป็นอย่างมาก หลังจากพระจักรพรรดิกิมเมจิสิ้นพระชนม์แล้ว จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนา จนถึงสมัยของพระจักรพรรดินีซุยโกได้ทรงสถาปนาเจ้าชายโชโตกุ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เจ้าชายพระองค์นี้เองที่ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่นและสร้าง สรรค์วัฒนธรรมพร้อมทั้งทรงเชิดชูพระพุทธศาสนา และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1137พระองค์ได้ประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่นจนได้ชื่อว่า ยุคโฮโก คือ ยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ หลัง จากเจ้าชายโชโตกุ สิ้นพระชนม์ ประชาชนรวมใจกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าองค์เจ้าชายโชโตกุขึ้น 1 องค์ ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดโฮริวจิ

                หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็แบ่งเป็นหลายนิกาย จนถึงยุคเมอิจิพระ พุทธศาสนาก็เสื่อมลงอย่างหนักลัทธิชินโตขึ้นมาแทนที่ และศาสนาคริสต์ก็เริ่มเผยแผ่พร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาใน ญี่ปุ่นทำให้การศึกษาเจริญขึ้น พระพุทธศาสนาถูกยกขึ้นมาในแง่ของวิชาการ

                ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไป กับศาสนาชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย แต่นิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ นิกายเทนได นิกายชินงอน นิกายโจโด (สุขาวดี) นิกายเซน (ธฺยาน หรือฌาน เป็นที่นิยมมากที่สุด) และนิกายนิจิเรน

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศทิเบต

                แต่เดิมชาวทิเบตนับถือลัทธิบอนโป ซึ่งเป็นลัทธิที่นับถือผีสางเทวดา ต่อมาพระเจ้าสรองสันคัมโป ทรงขึ้นครองราชย์ ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเนปาลและเจ้าหญิงจีน ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ทิเบต และแพร่หลายในรัชสมัยของกษัตริย์ทิเบตพระองค์ที่ 5 กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา แทบทุกพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศานาทำให้พระพุทธศาสนาได้รับการ อุปถัมภ์บำรุงอย่างดี พุทธศตวรรษที่ 16 พระทีปังกรศรีชญาณ(พระอตีศะ)จาก มหาวิทยาชลัยวิกรมศิลา แคว้นพิหาร                 ประเทศอินเดีย ได้รับการอาราธนาเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคง เป็นศาสนาประจำชาติทิเบตในเวลาต่อมา

                พระพุทธศาสนาในทิเบตมีหลายนิกาย นิกายเก่าที่นับถือพระปัทมสัมภวะนั้นต่อมาได้ชื่อว่า นิกายหมวกแดง ต่อมาพระตสองขะปะ ได้ปฎิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงนี้แล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้น ชื่อว่า นิกายเกลุกปะ หรือ นิกายหมวกเหลือง นิกายนี้ได้รับการยกย่องจากผู้ปกครองมองโกลว่าเป็นผู้นำทางจิตใจ และต่อมาถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย

                ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ได้พบประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ของนิกายเกลุกปะ ชื่อ สอดนัมยาโส พระองค์ เกิดความเชื่อว่าพระสอดนัมยาโสนี้เป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อนจึงเรียก พระสอดนัมยาโสว่า ดะเล หรือ ดะไล (Dalai ) ตั้งแต่นั้นมาประมุขสงฆ์ของธิเบตจะพูกเรียกว่า ดะไลลามะ ดะไลลามะบางองค์ได้รับมอบอำนาจจากผู้นำมองโกลให้ปกครองประเทศธิเบตทั้งหมดทำ ให้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง จนถึงองค์ที่ 7 (พ.ศ.2351-2401) ทิเบตเข้าสู่ยุคของการปิดประตูอยู่โดดเดี่ยวเนื่องจากได้รับความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จีนแดงเข้าครอบครองในปี พ.ศ.2494

                ขณะนี้ดะไลลามะประมุขสงฆ์ของทิเบตองค์ปัจจุบัน เป็นองค์ที่ 14 ทรงพำนักลี้ภัยอยู่ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ทรงเดินทางหลบหนีออกจากทิเบต พ.ศ.2505เป็นต้นมา

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล

                พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนปาลทางประเทศ อินเดีย แต่เดิมนั้นประเทศเนปาลเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า คือ สวนลุมพินีวัน อยู่ในเขตประเทศเนปาลปัจจุบัน

                ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้พระราชทานพระราชธิดา พระนามว่า จารุมตี ให้แก่ขุนนางผู้ใหญ่ชาวเนปาล พระเจ้าอโศกมหาราชและเจ้าหญิงจารุมตีได้ทรงสร้างวัดและเจดีย์หลายแห่ง ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่นครกาฐมาณฑุในปัจจุบัน ในสมัยที่ชาวมุสลิมเข้ารุกรานแคว้นพิหารและเบงกอล ในประเทศอินเดีย พระภิกษุจากอินเดียต้องหลบหนีภัยเข้าไปอาศัยอยู่ในเนปาล ซึ่งพระภิกษุเหล่านั้นก็ได้นำคำภีร์อันมีค่ามากมายไปด้วย และมีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ และเมื่อมหาวิทยาลัยลันทา(ในประเทศอินเดีย) ถูกทำลายซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากอินเดียแล้ว ก็ส่งผลให้พระพุทธศาสนาในเนปาลพลอยเสื่อมลงด้วย คุณลักษณะพิเศษที่เป็นเครื่องประจำพระพุทธศาสนา เช่น ชีวิตพระสงฆ์ในวัดวาอาราม การต่อต้าน การถือวรรณะ การปลดเปลื้องความเชื่อไสยศาสตร์หายไป

                พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล ในยุคแรกเป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือแบบเถรวาท ต่อมาเถรวาทเสื่อมสูญไป เนปาลได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระซึ่งใช้คาถาอาคม และพิธีกรรมแบบไสยศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีนิกายพุทธปรัชญาสำนักใหญ่ ๆ เกิดขึ้นอีก 4 นิกาย คือ สวาภาวิภะ ไอศวริกะ การมิกะ และยาตริกะ

                ปัจจุบันได้มีการฟื้นฟูการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทขึ้นในประเทศเนปาลโดยส่งพระภิกษุสงฆ์สามเณรไปศึกษาในประเทศที่นับถือ พระพุทธศาสนา เช่น ประเทศไทย พม่า ศรีลังกา โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้นพระภิกษุสามเณรชาวเนปาล ซึ่งได้อุปสมบาทและบรรพชาแบบเถรวาทได้มาศึกษาปริยัติธรรมและศึกษาใน มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในประเทศเนปาลเองมีสมาคมแห่งหนึ่งชื่อธรรโมทัย สภาได้อุปถัมภ์ให้พระภิกษุสงฆ์จากประเทศศรีลังกาและพระภิกษุสงฆ์ในประเทศ เนปาลที่ได้รับการอบรม มาจากประเทศศรีลังกา ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง พร้อมทั้งมีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็นภาษาท้องถิ่นพิมพ์ออกเผยแพร่เป็น จำนวนมากด้วย

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก 

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป

 การเผยแผ่และการนับถือศาสนาในทวีปยุโรป

          พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าไปในทวีปยุโรป  โดยผ่านทางประเทศกรีซก่อนในช่วงพุทธสตวรรษต้น ๆ  แต่ทว่ายังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนักจนกระทั่งหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา  เมื่อชาวยุโรปได้ประเทศต่าง ๆ  ในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า เขมร ลาว และบางส่วนของจีนเป็นอาณานิคมแล้ว ก็พบว่าชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา  ซึ่งมีหลักธรรมคำสั่งสอนอันลึกซึ้ง  มีเหตุมีผลถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ จึงบังเกิดความสนใจและเมื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ  เพิ่มเติม  ก็ประจักษ์ว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง

                 จึงมีการนำหลักธรรมดังกล่าวออกเผยแพร่ในหมู่ชาวยุโรปด้วยกัน เหตุผลที่ทำให้ชาวยุโรปเริ่มสนใจพระพุทธศาสนาก็เพราะประทับใจ  หลักการของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้บุคคลอย่าเชื่อถือคำสอนของพระองค์โดยทันที จนกว่าจะได้ใคร่ครวญพิจารณาหรือทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อเห็นผลแล้วจึงค่อยเชื่อ นอกจากนี้ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็เน้นถึงความมีเมตตากรุณา ความรัก การไม่เบียดเบียนต่อกัน ส่งเสริมเสรีภาพ ภราดรภาพ และความเสมอภาค จึงส่งผลให้มีชาวยุโรปประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถแบ่งรายละเอียดเป็นประเทศๆ ได้ดังนี้

   
 การเผยแผ่ศาสนาในประเทศอังกฤษ

                การเผยแผ่ในประเทศอังกฤษเริ่มต้นขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2393  โดยนายสเปนเซอร์  อาร์ดี ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ”  ออกเผยแผ่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก จนกระทั่งเมื่อ เซอร์ เอ็ดวิน  อาร์ดนลด์เขียนหนังสือเรื่อง ประทีปแห่งเอเชียออกสู่สายตามหาชนใน พ.ศ.2422  นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  ชาวอังกฤษก็เริ่มตื่นตัวหันมาสนใจในพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ  โยชาวอังกฤษได้ร่วมมือกับชาวพุทธในประเทศต่าง ๆ    ก่อตั้งสมาคมเพื่อดำเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษขึ้นหลายสมาคมที่สำคัญได้แก่สมาคมบาลีปกรณ์  จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ  พุทธสมาคมระหว่างชาติ (สาขาลอนดอน)  ของพม่า  ตีพิมพ์หนังสือชื่อ  พระพุทธศาสนาพุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตนและไอร์แลนด์ออกวารสารชื่อ พุทธศาสตร์ปริทัศน์”  สมาคมมหาโพธิ์ (สาขาลอนดอน)  ของศรีลังกาออกวารสารชื่อ ชาวพุทธอังกฤษและ ธรรมจักรเป็นต้นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษนี้ถึงแม้พุทธสมาคมต่าง ๆ  จะนับถืนิกายแตกต่างกัน  เช่น  นิกายเถรวาท นิกายมหายาน  นิกายเซน  นิกายสุขาวดี ฯลฯ  แต่ทุกสมาคมก็สมัครสมานสามัคคีกันดี  โดยมีการจัดกิจกรรมและประชุมกันบ่อยครั้ง ทั้งนี้เพื่อทำให้พระพุทธศาสนาสามารถเผยแผ่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง  

อนึ่งได้มีการจัดตั้งวิหารทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายแห่งในประเทศอังกฤษ เป็นต้นว่าพุทธวิหารลอนดอนของประเทศศรีลังกา  วัดของมูลนิธิสงฆ์อังกฤษที่ถนน      แฮมสเตท และมีวัดของชาวพุทธศรีลังกา  ที่ตำบลซิลิค กรุงลอนดอน วัดทิเบตที่บิดดอล์ฟ ประเทศสกอตแลนด์  วัดไทยพุทธประทีปที่กรุงลอนดอนเกิดขึ้น  ต่อมาก็มีวัดอื่น ๆ  เช่น วัดป่าจิตตวิเวก เมืองแฮมไชร์ วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค วัดอมราวดี และวัดสังฆทาน เมืองเบอร์มิงแฮม

                พระภิกษุไทยได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา  สอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ชาวพุทธในประเทศอังกฤษ  โดยเฉพาะป่า จิตตวิเวก  วัดอมราวดี และวัดป่าสันติธรรม ได้มีชาวอังกฤษมาบวชศึกษาปฏิบัติจากหลวงพ่อชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียง  แล้วกลับไปเผยแผ่ยังประเทศของตน งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงกระจายไปได้อย่างรวดเร็ว    นอกจากนี้พระเขมธัมโม  ได้เข้าไปสอนนักโทษตาม        ทัณฑสถานต่าง ๆ  โดยความร่วมมือของรัฐ  ผลักดันให้คุกเป็น สถานปฏิบัติธรรมของนักโทษ  และโครงการองคุลีมารเพื่อช่วย เหลือนักโทษ  โดยมิได้แบ่งว่านับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น  ๆ

                กล่าวโดยสรุป  ปัจจุบันมีชาวอังกฤษประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นเรื่อย ๆ  และจากรายงานในวารสาร  ทางสายกลาง”   ของ   พุทธสมาคมลอนดอนระบุว่า มีสมาคมและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษแล้วประมาณ 32 แห่ง

 การเผยแผ่ศาสนาในประเทศเยอรมนี

                ชาวเยอรมันได้ยอมรับพระพุทธศาสนาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว แต่เป็นเพียงชนส่วนน้อยเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อลัทธินาซีเรืองอำนาจ พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมไปจากประเทศเยอรมนี

                หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2  เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2  ประเทศ พระพุทธศาสนาค่อย ๆ  ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมันตะวันตก) โดย ดร.คาร์ล ไซเกนสิตคเกอร์ และ ดร.ยอร์จ  กริมม์   ได้ร่วมมือตั้งพุทธสมาคมเยอรมันขึ้นที่เมืองไลป์ซิก  เมื่อ พ.ศ. 2464  เพื่อทำการเผยแผ่หลักธรรมและดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา 

                การเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศเยอรมันตะวันตก ดำเนินการโดยเอกชนร่วมมือกับภิกษุสงฆ์จาก ญี่ปุ่น ไทย ศรีลังกา ไทย ทิเบต จัดพิมพ์วารสารแลจุลสารออกเผยแผ่ เช่นกลุ่มชาวพุทธเก่าตีพิมพ์วารสารชื่อ  ยานสมาคมพระธรรมทูตศรีลังกาและชาวพุทธในเมืองฮัมบูร์ก ออกวารสารพระพุทธศาสนาฉบับภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ก็มีการจัดแสดงปาฐกถาอภิปราย และสนทนาธรรมที่กรุงเบอร์ลินตะวันตกประมาณ 5 – 10 ครั้งต่อเดือน รวมทั้งยังมีศาสตราจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องราวทางด้านพระพุทธศาสนานิกายสุขาวดีอยู่ในกรุงเบอร์ลินตะวันตก เมืองมิวนิกและฮัมบูร์ก เป็นประจำอีกด้วย

                เมื่อเยอรมนีตะวันตกได้รวมเข้ากับเยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศเดียว  ก็พอที่จะคาดการณได้ว่าคงจะมีชาวเยอรมันประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองฮัมบูร์ก  เบอร์ลิน  สตุตการ์ต  มิวนิก  โคโลญ และ แฟรงค์เฟิร์ต  ส่วนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ มักจะกระทำกันที่  ศาสนสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน

                  ปัจจุบันนี้ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีวัดไทย 3 วัด  คือ   วัดพุทธวิหาร  ที่เมืองเบอร์ลิน  วิตเตนัว วัดไทยมิวนิค ที่เมือง มิวนิค และวัด พุทธารามเบอร์ลิน  ซึ่งเป็นศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี

การเผยแผ่ศาสนาในประเทศฝรั่งเศส

                การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสเริ่มขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 2471  โดยกลุ่มพุทธศาสนิกชนชาวฝรั่งเศส ซึ่งมี นางสาวคอนสแตนต์  ลอนสเบอรี เป็นผู้นำ ได้ร่วมกันจัดตั้งพุทธสมาคม ชื่อ เล ซามี ดู บุดดิสเมขึ้นที่กรุงปารีส พุทธสมาคมแห่งนี้นอกจากจะทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนิกายเถรวาทแล้ว ก็ยังได้จัดให้มีการแสดงธรรมอภิปรายเรื่องราวของธรรมะ ออกวารสารพระพุทธศาสนารายเดือน ฝึกอบรมการนั่งสมาธิและวิปัสสนาให้แก่ผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังได้นิมนต์พระสงฆ์จากประเทศไทย พม่า ลาว เดินทางไปแสดงพระธรรมเทศนาที่กรุงปารีส และนางสาวคอนสแตนต์ ก็ยังเป็นผู้ริเริ่มการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย

                ปัจจุบันสถานะของพระพุทธศาสนาในฝรั่งเศสยังไม่รุ่งเรืองนัก  การเผยแผ่และการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาดำเนินการโดยพระภิกษุจากไทย ญี่ปุ่น ศรีลังกา  กลุ่มพุทธศาสนิกชน  จากประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ  และเมื่อถึงวันวิสาขบูชา ของทุก ๆ ปี ชาวพุทธในกรุงปารีสจะประกอบพิธีเวียนเทียนกัน ที่วิหารของพุทธสมาคม โยมีวัดไทยตั้งอยู่ 2 แห่ง

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต

                สหภาพโซเวียตจัดเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก  โดยมีดินแดนครอบคลุมถึง 2 ทวีป คือ  ยุโรปและเอเชีย  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่สหภาพโซเวียตซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า  รุสเซีย”  เมื่อครั้งที่พวกมองโกลภายใต้การนำของพระจักพรรดิเจงกิสข่าน  ยกทัพมารุกราน ยุโรปเมื่อ พ.ศ. 1766  และสามารถปกครองรุสเซีย อยู่เป็นเวลานานประมาณ 250 ปี แต่ทว่ามีชาวรุสเซียเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยอมรับพระพุทธศาสนา

                 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1  ได้มีผู้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในรุสเซียอีก เช่น มาดามเชอร์บาตรสกี และ มร. บี.เอ็น.  โตโปรอฟ  แปลหนังสือธรรมบทจากภาษาบาลีเป็นภาษารุสเซีย  นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นในรุสเซียด้วย  มีชื่อว่า  บิบลิโอเธคา พุทธิคา”  แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ทำได้ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากสหภาพโซเวียตมีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์  จึงสั่งห้ามมิให้บุคคล  องค์การ  สมาคม  ทำการโฆษณาเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของศาสนาจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากทางการเสียก่อน การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ที่จัดทำขึ้นในสหภาพโซเวียต ก็คืองานเฉลิมฉลอง 25     พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. 2500 ที่กรุงมอสโก

                ปัจจุบันเมื่อมีการแยกตัวเป็นรัฐเอกราชต่าง ๆ  ก็ทำให้ชาวพุทธกระจายกันออกไปแต่ละรัฐ เช่น สหพันธรัฐเซีย  สาธารณรัฐลิทัวเนีย  สาธารณรัฐคาซัคสถาน  เป็นต้น  ซึ่งโดยมากมักจะนับถือนิกายตันตระ  ส่วนวัดมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งโดยวัดส่วนใหญ่จะถูกดัดแปลงทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา  และบางแห่งก็ถูกดัดแปลงทำเป็นสถานที่ราชการ  วัดสำคัญ ๆ  ได้แก่ วัดไอโวกินสกีมหายานและวัดอีโวลกาในสหพันธ์รัสเซีย เป็นต้น

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์

                พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยผ่านมาทางพ่อค้าชาวดัตช์และชาวพื้นเมืองจากประเทศอินโดนีเซียและศรีลังกา  ซึ่งเดินทางเข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัม แต่ทว่าก็มีผู้นับถืออยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

                หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ชาวพุทธในกรุงเฮก ได้ฟื้นฟูชมรมชาวพุทธขึ้นมาใหม่เมื่อ  พ.ศ. 2498  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์กันของพุทธศาสนิกชนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ชมรมนี้จะเปิดประชุมทุกวันอังคาร สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ซึ่งในการประชุมทุกครั้งจะเริ่มต้นด้วยการบรรยายหลักธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วอ่านพระสูตรพร้อมกับอธิบายความหรือขยายความเพิ่มเติม และก่อนเปิดประชุมจะมีการฝึกสมาธิก่อน

                ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์  ดำเนินงานโดยพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทย  ศรีลังกา  และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่  และมีวัดไทยเกิดขึ้น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ   วัดพุทธราม และวัดพุทธวิหารอัมสเตอร์ดัม โดยพระ   ธรรมทูตที่ผ่านการอบรมจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปอยู่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นที่คาดกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้คงจะมีชาวดัตช์หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมากเรื่อย

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาเหนือ

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา

                พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เริ่มจัดพิมพ์หนังสือสำคัญๆ ของตะวันออก ซึ่งมีเรื่องราวของพระพุทธศาสนารวมอยู่ด้วย เช่น Buddhist Legends ของ อี. ดับบลิว. เบอร์ลิงเกม Buddhism in Translation ของ เอช. ซี. วอเรน ทำให้ชาวอเมริกันโดยเฉพาะปัญญาชนหันมาสนใจพระพุทธศาสนา นอกจากนี้หนังสือ ประทีปแหงเอเชีย ของ เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ก็มีส่วนทำให้ชาวอเมริกันสนใจพระพุทธศาสนา เฉพาะหนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกามากกว่า 80 ครั้ง   บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในสหรัฐอเมริกาช่วงแรกๆ คือ พันเอก เฮนรี สตีล ออลคอตต์

                พันเอก เฮนรี สตีล ออลคอตต์ เป็นนักกฎหมายชาวอเมริกัน ได้เดินทางไปยังประเทศศรีลังกา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2423 และได้ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชนพร้อมทั้งได้ตั้งสมาคมพุทธเทวนิยมขึ้น เพื่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กชาวพุทธ เมื่อกลับถึงอเมริกาได้แต่งหนังสือชื่อ ปุจฉาวิสัชนาทางพระพุทธศาสนา (Buddhist Catechism) ขึ้นเผยแผ่และได้รับความสนใจจากชาวเมริกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในคราวประชุมสภาพโลกของศาสนา ในเมืองชิคาโก เมื่อ พ.ศ. 2436 ท่านยังได้รับเชิญให้บรรยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในที่ประชุม สุนทรพจน์ของท่าเป็นที่ซาบซึ้งใจแก่ผู้ฟังจำนวนมาก

                ในปี พ.ศ. 2442 ท่านโซกัว โซนาดะ พร้อมคณะได้นำพระพุทธศาสนาแบบมหายานนิกายต่างๆ ไปเผยแผ่ในเมืองซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 ได้มีการสร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้น ณ เมืองแห่งนี้ แบะวัดนี้ก็ได้กลายเป็นที่ทำการใหญ่ของนิกายซินหรือสุขาวดีแห่งญี่ปุ่น   ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ทว่ามั่นคงศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สำคัญๆ ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองซานฟรานซิสโก ลอสอแอนเจลิส และซีแอตเติล

                ในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นในวอชิงตัน ดี.ซี. มีชื่อว่า สหายพุทธศาสนา (Friend of Buddhism) สมาคมแห่งนี้ถือว่าเป็นสมาคมที่มีกำลังมากที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา

                ในปี พ.ศ. 2501 พระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถระ) ได้รับเชิญจากขบวนการ เอ็ม. อาร์. เอ ไปร่วมประขุมสุดยอดของขบวนการ ขณะที่ท่านพำนักอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในหมู่ชาวอเมริกันและชาวไทยในอเมริกาพอสมควร

                ในช่วงปี พ.ศ. 2502-2512 การเผยแพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีพระสงฆ์ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมหรือปาฐกถาธรรมอยู่เสมอ

                จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 ได้มีกลุ่มคณะพุทธศาสนิกชนชาวไทยในสหรัฐอเมริการ่วมกันก่อตั้ง พุทธสมาคมไทย-อเมริกันขึ้น ณ นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้นิมนต์พระสงฆ์ไทยจำนวน 3 รูป มาจำพรรษาชั่วคราว หลังจากออกพรรษาแล้วได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างวัดพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบไทยขึ้น

                ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 นายพูนศักดิ์ ซอโสตถิกุล ได้ทำพิธีถวายโฉนดที่ดินให้แก่คณะสงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างวัด และในวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ได้วางศิลาฤกษ์สร้าง วันไทยลอสแอนเจลิส เป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา

                หลังจากที่ได้สร้างวัดไทยลอสแอนเจลิสขึ้นเป็นแห่งแรกแล้ว การดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง พระสงฆ์ไทยก็ได้รับการนิมนต์ให้ไปทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามรัฐต่างๆ มากขึ้น และมีการสร้างวัดไทยเพิ่มขึ้นในรัฐต่าง ๆ เช่น วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. วัดวชิรธรรมปทีป ในนิวยอร์ก วัดพุทธาราม ในเดนเวอร์ วัดพุทธาวาส ในฮิวส์ตัน เป็นต้น

การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดา

พระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดาก็มีลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา คือเริ่มเผยแผ่เข้าสู่แคนาดาโดยมีชาวเอเชียจากประเทศต่าง ๆ เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในแคนาดาซึ่งชาวเอเชียเหล่านี้ก็ได้นำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ต่อชาวพื้นเมืองด้วยโดยเฉพาะในปัจจุบันนี้มีชาวเกาหลี เวียดนาม เขมรและลาวจำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศแคนาดา     จึงทำให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาด้วยเหตุนี้จึงทำให้จำนวนชาวพุทธเพิ่มมากขึ้น   

องค์กรที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดา     ได้แก่   พุทธสมาคมแห่งออตตาวา       กลุ่มชาวพุทธแห่งโตรอนโต  คณะพระธรรมทูตแห่งอเมริกาเหนือ เป็นต้น
                ปัจจุบัน พระพุทธศาสนาในประเทศแคนาดาส่วนใหญ่ยังคงนับถือกันในกลุ่มคนเอเชียที่ไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดา ชาวแคนาดาไม่ค่อยให้ความสนใจในพระพุทธศาสนามากนัก วัดทางพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่จึงเป็นวัดของนิกายสุขาวดีและนิกายเซนแบบญี่ปุ่น

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาใต้

                ประเทศบราซิล

                ชาวเอเชียจากประเทศจีน  เกาหลี  ญี่ปุ่น  เป็นบุคลกลุ่มแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่เข้ามาในประเทศบราซิล  ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่  2  ชาวพุทธเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมืองเซาเปาลู  และรีโอเดจาเนโร  ปัจจุบันมีการสร้างวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานตามเมืองต่าง  ๆ  ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของประเทศประมาน  30  แห่ง  รวมทั้งมีการจัดตั้งองค์การทางพระพุทธศาสนาขึ้นด้วย  เช่น  สมาคมสหายพระพุทธศาสนา  สหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งบราซิล  และชมรมชาวพุทธญี่ปุ่น  เป็นต้น  อย่างไรก็ตามการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศบราซิลก็ยังจำกัดอยู่แต่เฉพาะในกลุ่มเอเชียเท่านั้น  ส่วนชาวพื้นเมืองที่มีความศรัทธานับถือพระพุทธศาสนายังมีจำนวนน้อย

                ประเทศอื่นในทวีปอเมริกาใต้

                ประเทศอื่นในทวีปอเมริกาใต้มีการปฏิบัติธรรมและการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนากันอยู่บ้างในกรุงบัวโนสไอเรส  เมืองหลวงของประเทศอาเจนตินา  กรุงการากัส  เมืองหลวงของประเทศเวเนซุเอลา  และกรุงมอนเตวิเดโอ  เมืองหลวงของประเทศอุรุกวัย  เพราะมีชาวพุทธเชื้อชาติจีนและญี่ปุ่นอาศัยร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก  ๆ  กล่าวได้ว่า  การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง  ๆ  ของวีปอเมริกาใต้ยังอยู่ในขอบเขตจำกัด  และคงต้องใช้เวลาอีกนับเป็น  สิบ ๆ ปีถึงทำการเผยแผ่ไปได้ทั่ว

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในออสเตรเลีย

                พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในทวีปออสเตรเลียตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยพระภิกษุชาวอังกฤษ ชื่อ ศาสนชะ (มร.อี.สตีเวนสัน) ท่านผู้นี้ได้อุปสมบทที่ประเทศพม่า ท่านได้เดินทางเข้าสู่ประเทศออสเตรเลีย และเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวออสเตรเลียโดยแนะนำแต่เพียงว่าพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาจิตใจ
     หลังสงครามโ,กครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลียก็มีการเคลื่นไหวอย่างคึกคัก ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ รัฐควีนสแลนด์ นิวเซาท์เวลส์ และวิกตอเรีย ได้จัดตั้งพุทธสมาคมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พุทธสมาคมแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ก็ได้จัดพิมพ์วารสารเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาออกเผยแพร่ให้กับผู้สนใจและในปี ๒๔๙๘ ก็มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งรัฐแทสเมเนียขึ้น

ในขณะเดียวกัน คือ ในปี ๒๔๙๗ - ๒๔๙๙ อันเป็นระยะเวลาที่ประเทศพม่ากำลังมีการสังคายนาครั้งที่ ๖ พระเถระชาวพม่าชื่อ อู ฐิติละ ได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศออสเตรเลีย มีผู้สนใจฟังการบรรยายธรรมเป็นอัมมาก ท่านอูฐิติละได้จัดอบรมกรรมฐานแก่ชาวออสเตรลียด้วย มีผู้บริจาคเงินซื้อที่ดินจะสร้างวัด เพื่อให้มีวัดและพระสงฆ์อยู่ประจำ แต่ท่านอูฐิติละไม่ได้กลับไปออสเตรเลียอีก การสร้างวัดจึงไม่เป็นผลสำเร็จ

ในเวลาต่อมาพุทธสมาคมต่างๆ ทั่วประเทศออสเตรเลีย ได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลียขึ้นโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงแคนเบอร์รา ทั้งนี้ก็เพื่อจะทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมีระบบโดยสหพันธ์แห่งนี้จัดให้เป็นสถานที่จัดแสดงปาฐกถาธรรม สัมมนาทางวิชาการ อ๓ิปรายธรรม และใช้เป็นศูนย์รวมในการประกอบศาสนกิจตามประเพณีของพระพุทธศาสนาทำให้มีผู้หันมานับถือพระพุทธศาสนามากขึ้นเป็นลำดับ

สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้น   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกับของประเทศออสเตรเลีย            แต่พระพุทธศาสนาในประเทศนิวซีแลนด์ยังไม่รุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับเหมือนในประเทศออสเตรเลีย    ส่วนใหญ่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะดำเนินการ โดยพระภิกษุสงฆ์ชาวญี่ปุ่น  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพุทธสมาคมแห่งเมืองฌอคแลนด์

พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลียในปัจจุบัน

พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาติอื่นๆ ได้เไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปออสเตรเลียมากขึ้น ชาวออสเตรเลียได้มาอุปสมบทในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มีการสร้างวัดไทยขึ้นทั้งในประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น วัดธรรมรังสี  วัดรัตนประทีป  วัดป่าพุทธรังสี   วัดป่าสุญญตาราม บันดานูน   วัดธรรมธารา

ใบความรู้

เรื่อง  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่าง  ๆ ทั่วโลก

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแอฟริกา

ประเทศอียิปต์

                การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอียิปต์นั้น  ส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปแบบอย่างไม่เป็นทางการ กล่าวคือ เกิดจากการที่มีชาวพุทธโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น เกาหลี ไทย ศรีลังกาอินเดียเดินทางเขาไปทำงาน ศึกษา ท่องเที่ยงในอียิปต์  แล้วบุคคลเหล่านี้ก็ค่อยๆ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาให้กับชาวอียิปต์รุ่นใหม่  ซึ่งไม่ใคร่ยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนมากนัก  ให้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาด้วย  แต่ก็ยังมีจำนวนไม่มากนักประมาณว่าไม่น่าจะเกิน 10,000 คนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงไคโร  และเมืองอะเล็กซานเดรีย นอกจากนั้นก็มีชาวพุทธที่ไปอาศัยอยู่ในอีกจำนวนหนึ่ง

                ในช่วงวันวิสาขบูชาชาวพุทธที่อียิปต์จะมารวมตัวกัน  ณ สถานทูตของประเทศตนหรือสมาคมที่ชาวพุทธเป็นเจ้าของ  เพื่อปฏิบัติศาสนกิจด้วยการเวียนเทียนกันเป็นกลุ่มเล็กๆ  และเชิญผู้ทรงภูมิมาแสดงธรรมเป็นเวลาสั้นๆ ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในอียิปต์ยังเผยแผ่ได้น้อย  เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านวัฒนธรรม

ประเทศเคนยา

                พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศเคนยา  ผ่านมาทางชาวพุทธอินเดีย  และศรีลังกาที่เดินทางเข้าไปทำงานในไร่การเกษตรของชาวอังกฤษ  ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็จำกัดขอบเขตที่ผู้นับถือเฉพาะชาวเอเชียเท่านั้น  ภายหลังชาวเคนยาซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนหนึ่งที่นับถือลัทธิภูตผีปีศาจ  ได้หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาบ้าง แต่ยังคงเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยอาศัยอยู่ตามเมืองท่าทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ

                ภายหลังจากการประชุมศาสนาและสันติภาพของโลก ที่นครไนโรบีเมื่อเดือนสิงหาคม  พ.ศ.2527 การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเคนยาเริ่มมีรูปแบบมากขึ้น เมื่อมีความพยายามที่จะก่อตั้งชมรมชาวพุทธในเคนยาขึ้นมาและมีการนิมนต์พระสงฆ์จากญี่ปุ่น จีน ไทยเพื่อให้เดินทางเข้ามาเผยแผ่หลักธรรมในประเทศนี้แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆ  และไม่ประสบความสำเร็จคืบหน้ามากนัก เนื่องจากสถานภาพในประเทศเคนยาก็มีปัญหาทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ  รวมทั้งชนพื้นเมืองบางกลุ่มมีความไม่เป็นมิตรนักสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาแตกต่างไปจากตน  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนี้จึงค่อนข้างมีปัญหามาก ปัจจุบันในประเทศเคนยามีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวอินเดียและศรีลังกา นอกจากนั้นก็มีชาวพื้นเมืองอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งจำนวนไม่มากนัก