พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ม.6 สรุป

ประเภทพฤติกรรมของสัตว์

          พฤติกรรมของสัตว์  แบ่งออกได้เป็น  2  ประเภทใหญ่  คือ

          1.พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด  (inherited  behavior  หรือ innate behavior)                    2.พฤติกรรมการเรียนรู้  (learned  behavior  หรือ  acquired  behavior)

พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด 

ลักษณะสำคัญของพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด

          1.เป็นพฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตแสดงออกมาได้โดยไม่ต้องผ่านการเรียนรู้หรือฝึกฝนมาก่อน   

          2.เป็นพฤติกรรมที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ถูกกำหนดด้วยหน่วยพันธุกรรมหรือยีน  (gene)  ให้มีแบบแผนของการตอบสนองที่คงที่แน่นอน  (stereotyped)  ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด                 

          3.อาจถูกปรับปรุงหรือพัฒนาให้เหมาะสมมากขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้ภายหลัง                   

          4.มีแบบแผนที่แน่นอน  ในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันทุกตัวจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกันหมด

ชนิดของพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด

    1.พฤติกรรมการเคลื่อนที่หรือโอเรียนเตชัน  (orientation)  เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อปัจจัยทางกายภาพทำให้เกิดการวางตัวที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต  เช่น  ปลาว่ายน้ำในลักษณะที่หลังตั้งฉากกับแสงอาทิตย์  ทำให้ศัตรูที่อยู่ในระดับต่ำกว่ามองไม่เห็นเป็นการหลีกเลี่ยงศัตรูได้  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการรวมกลุ่มของสัตว์ในบริเวณที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของสัตว์ชนิดนั้นๆ อีกด้วย  ทำให้สามารถพบสัตว์ต่างชนิดในต่างบริเวณ  พฤติกรรมแบบโอเรียนเตชันแบ่งได้ 2  รูปแบบ  ได้แก่

               1.1ไคนีซิส  (kinesis)  เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการเคลื่อนที่ทุกส่วนของร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกของสิ่งมีชีวิตพวกโพรทิสต์  (protist)  สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว  หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิดที่ยังไม่มีระบบประสาท  หรือมีระบบประสาทแล้วแต่ยังไม่เจริญดีพอ  เป็นการเคลื่อที่ซึ่งไม่มีทิศทางไม่แน่นอน  ไม่มีความสัมพันธ์ ไม่ถูกควบคุมด้วยทิศทางของสิ่ง เช่น

          -  การเคลื่อนที่ของแมลงสาบ  เมื่ออยู่ตามที่แคบที่มีผิวสัมผัสใกล้กับตัวมันมาก  เช่น  ตามซอกบ้านมันจะอยู่นิ่งกับที่แต่เมื่ออยู่ในที่โล่งมันจะเคลื่อนที่รวดเร็วและไม่มีทิศทางแน่นอน  เพราะตัวมันไม่สามารถรับความรู้สึกจากผิวสัมผัสที่ห่างไกล                                                                         

          1.2แทกซิส  (taxis)  เป็นพฤติกรรมที่พบในโพรทิสต์ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด  แสดงออกด้วยการเคลื่อนที่ทุกส่วนของร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น  โดย มีทิศทางการเคลื่อนที่ที่แน่นอนหรือสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า เช่น           

          -  การบินตรงเข้าหาดวงอาทิตย์ขณะหนีศัตรูของผีเสื้อชนิดหนึ่ง  โดยผีเสื้อชนิดนี้เมื่อพบศัตรูมันจะบินเข้าหาดวงอาทิตย์เพื่อให้ตาของศัตรูพร่า  การที่มันหันไปอยู่ในทิศตรงเข้าหาดวงอาทิตย์ได้  เพราะตาของมันถูกกระตุ้นโดยแสงอาทิตย์เท่ากันทั้ง  2  ข้าง                                              

    2.พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์  (reflex  หรือ  simple  reflex  action)  เป็นพฤติกรรมพื้นฐานซึ่งพบในสัตว์ที่มีระบบประสาททุกชนิด  แสดงออกด้วยการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกที่มากระตุ้นอย่างทันทีทันใด  โดยมีแบบแผนการตอบสนองที่แน่นอนคงที่  ไม่ซับซ้อน  ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายได้อย่างรวดเร็ว  การตอบสนองต่อสิ่งเร้าจึงเกิดได้เองโดยอัตโนวัติและไม่ต้องใช้เวลาในการรับส่งกระแสประสาทมาก  มี  2  ประเภทหลักๆ  คือ

          2.1  รีเฟล็กซ์ในการงอแขนขา  (flexion  หรือ  withdrawal  reflex)  เป็นการตอบสนองเพื่อป้องกันตัวจากสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย   เช่น  ถ้าเอามือไปจับสิ่งของที่ร้อนจัดจะกระตุกงอแขนหนีออกจากสิ่งของนั้นทันที                                  

          2.2  รีเฟล็กซ์ในการเหยียดแขนขา  (stretch  reflex)  เป็นการการตอบสนองเพื่อช่วยในการทรงตัว  เช่น  เมื่อ ลื่นหกล้มเราจะเหยียดแขนออกไปยังพื้นเมื่อเท้าข้างหนึ่งสะดุดกับวัตถุกับ วัตถุที่อยู่ตามพื้นขาอีกข้างหนึ่งจะเหยียดตรงเพื่อยันพื้นเอาไว้ไม่ให้หกล้ม     

    3.พฤติกรรมรีเฟล็กซ์แบบต่อเนื่อง  (chain  of  reflex)  หรือ  ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์แบบซับซ้อน  (complex  reflex  action)  ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้                                     

           3.1  มีมาแต่กำเนิด  ซึ่งสัตว์สามารถแสดงออกมาได้โดยไม่ต้องผ่านการเรียนรู้  หรือมีประสบการณ์มาก่อนเหมือนกับพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์  แต่ต่างกันตรงที่มีความซับซ้อนมากกว่า                            

          3.2  มีแบบแผนของการแสดงออกที่แน่นอน  และมีลักษณะเฉพาะในสัตว์แต่ละชนิด  (species)  ซึ่งเรียกว่า  fixed  action  patterns  (FAP)  แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้บ้างตามสภาพทางสรีรวิทยาของสัตว์และสิ่งแวดล้อม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ที่มีระบบประสาทที่เจริญดี  อาจจะถูกดัดแปลงบางส่วนไดด้วยประสบการณ์จากการเรียนรู้                              

           3.3  เป็นการตอบสนองด้วยพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์หลายพฤติกรรมเกิดต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ โดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอันดับแรกจะไปกระตุ้นให้มีพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์อื่นๆ ตามมาเช่น    

          -  การสร้างรังของนกประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยๆ  หลายพฤติกรรม  เช่น  การหาวัสดุที่นำมาสร้างรัง  การหาที่ที่เหมาะที่จะสร้างรัง  และแบบของรังที่จะสร้าง  ซึ่งมีลักษณะเฉพาะในนกแต่ละชนิด   

            พฤติกรรม รีเฟล็กซ์แบบต่อเนื่องนี้มีประโยชน์โดยตรงต่อสัตว์ในแง่การช่วยดำรงเผ่าพันธุ์ของสัตว์ให้คงอยู่ต่อไป  ซึ่งพบว่าเป็นผลมาจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกประเภทต่างๆ ร่วมกับสภาพการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญ  2  ระบบ  คือ                                                        

          1.  ระบบประสาทที่ควบคุมแบบแผนการแสดงออกให้เป็นไปอย่างมีแบบแผน            

          2.  ระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนทำหน้าปรับสภาพในร่างกายให้พร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมบางอย่าง  เช่น   พฤติกรรมการสืบพันธุ์จะไม่แสดงออก  ถ้ามีระดับฮอร์โมนเพศไม่เพียงพอ                       

พฤติกรรมการเรียนรู้

        พฤติกรรมการเรียนรู้  เป็นพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับระบบประสาท  สัตว์จะต้องมีความสามารถในการจำ  สัตว์ที่มีวิวัฒนาการของระบบประสาทสูงจะมีความสามารถในการจำมากขึ้น  ทำให้มีการเรียนรู้ได้มากขึ้น                                        

          ประเภทของพฤติกรรมการเรียนรู้ได้แก่                                                                                                                           
          1.การเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชันหรือความเคยชิน  (habituation)                                    
          2.การเรียนรู้แบบฝังใจ  (imprinting)

          3.การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข  (conditioning  หรือ  conditioned  response  หรือ  conditioned  reflex)                 

          4.การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (trial  and  error  learning )

          5.การเรียนรู้แบบใช้เหตุผล  (reasoning  หรือ  insight  learning)

-การเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน

        การเรียนรู้แบบแฮบชูเอชันเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้แบบที่ง่ายที่สุด คือ  การตอบสนองของสัตว์ต่อสิ่งเร้าใดๆ ที่ไม่มีผลอะไรสำหรับมันที่เกิดซ้ำซาก  โดยการค่อยๆ ลดการตอบสนองลง  จนในที่สุดจะหยุดการตอบสนองทั้งๆ ที่การกระตุ้นจากสิ่งเร้ายังคงมีอยู่  เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความจำเป็นพื้นฐาน  คือ  จำสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้  จึง                                                             

-การเรียนรู้แบบฝังใจ

              1.เป็นพฤติกรรมที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและการเรียนรู้  โดยช่วงเวลาการเรียนรู้จะถูกควบคุมโดยพันธุกรรม  ทำให้สัตว์แต่ละชนิดช่วงเวลาในการเรียนรู้แบบฝังใจต่างกัน  แต่จะเหมือนกันในสัตว์ชนิดเดียวกัน  ซึ่งเรียกช่วงระยะเวลานี้ว่า  ระยะวิกฤติ  (critical  period  หรือ  sensitive  period

             2.อาจแสดงในระยะแรกเกิด  หรือภายหลังเมื่อเจริญเติบโตแล้วขึ้นแล้ว  จะไม่แสดงออกหรือถูกปิดบังไปโดยพฤติกรรมการเรียนรู้แบบอื่นๆ                                                           

             3.ความฝังใจที่เกิดขึ้นอาจจำไปตลอดชีวิต  หรืออาจฝังใจเพียงระยะหนึ่ง พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ  แบ่งออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ                                                      

          1.  การเรียนรู้แบบฝังใจที่เกิดในระยะแรกเกิดของสัตว์  (parental  imprinting)  ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่มีการติดตามพ่อแม่  เช่น  การเดินตามแม่ห่านของลูกห่านเมื่อแรกเกิด  พฤติกรรมแบบนี้จะทำให้เกิดความผูกพันระหว่างลูกกับแม่  การอยู่ใกล้ชิดกันจะช่วยให้พ่อแม่สามารถป้องอันตรายให้แก่ลูก  และลูกจะได้มีโอกาสเรียนรู้จากแม่  ทำให้รู้จักเพื่อนร่วมสปีชีส์  จะส่งผลให้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ถูกต้องเมื่อเติบโตขึ้น

          2.  การเรียนรู้แบบฝังใจที่เกิดในระยะหลังเมื่อเจริญเติบโตขึ้น (sexual  imprinting)  เป็นพฤติกรรมที่ต่อเนื่องมาจาก  parental  imprinting  ที่ทำให้สัตว์แต่ละชนิด  จดจำพวกเดียวกันได้  เมื่อถึงระยะสืบพันธุ์  จึงมีการเลือกสัตว์เพศตรงข้ามที่เป็นสปีชีส์เดียวกันได้อย่างถูกต้อง 

ข้อสังเกต

        พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจนี้  บางพฤติกรรมอาจเกิดขึ้นภายหลัง แม้จะมีการเรียนรู้ในระยะแรกก็ตามการพิจารณาว่าพฤติกรรมนั้นๆ ของสัตว์เป็นการเรียนรู้แบบฝังใจหรือไม่นั้น  จึงต้องอาศัยการทดลอง  เพราะพฤติกรรมแบบนี้อาจแสดงในภายหลังจากการเรียนรู้ผ่านไปแล้วเป็นเวลานานๆ ก็ได้ 

-การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข                                                      

          การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข  เป้นพฤติกรรมของสัตวืที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า  2  ชนิดที่มากระตุ้นตามลำดับ  ดังนี้                                                                  

              1.  เมื่อมีสิ่งเร้าชนิดแรกซึ่งเรียกว่า  สิ่งเร้าแท้จริงหรือสิ่งเร้าที่ไม่มีเงื่อนไข  (unconditioning  stimulus)  มากระตุ้นสัตว์จะแสดงการตอบสนองที่มีแบบแผนปกติต่อสิ่งเร้ารั้น                                              

              2.  ขณะที่คงมีการกระตุ้นจากสิ่งเร้าชนิดแรก เมื่อนำสิ่งเร้าชนิดที่  2  ซึ่งเรียกว่า  สิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข  (conditioning  stimulus)  มากระตุ้นพร้อมกับสิ่งเร้าชนิดแรกและให้มีการกระตุ้นจากสิ่งเร้าชนิดที่  2   เพียงอย่างเดียว  สัตว์จะมีการตอบสนองที่มีการตอบสนองที่มีแบบแผนเหมือนกับที่กระตุ้นด้วยสิ่งเร้าชนิดแรก ทั้งๆ ที่โดยปกติแล้ว  สิ่งเร้าชนิดที่  2  ไม่ทำให้เกิดการตอบสนองเลย             

-การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก

        เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกด้วยการที่สัตว์มีโอกาสทดลองการตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยที่ยังไม่รับรู้ว่าเมื่อตอบสนองไปแล้วจะเกิดผลดีหรือผลเสียหรือไม่  ผลของการของการตอบสนองจะทำให้สัตว์เกิดการเรียนรู้ที่เลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มีผลดีต่อตัวเอง  และหลีกเลี่ยงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดผลเสีย  พฤติกรรมการเรียนรู้แบบนี้ในสัตว์ต่างชนิดกันจะใช้เวลาไม่เท่ากัน  สัตว์ ที่มีระบบประสาทเจริญดีจะสามารถเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกได้รวดเร็วและ สามารถเรียนรู้จากสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้มากกว่าสัตว์ที่มีระบบประสาทเจริญ ด้อยกว่า  เนื่องจากมีการพัฒนาของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจำดีกว่า  การพิจารณาว่า  สัตว์มีพฤติกรรมเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกได้ดีหรือไม่นั้น  ดูได้จากจำนวนครั้งที่ผิดน้อยลง  และสามารถเรียนรู้จากสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้

-การเรียนรู้แบบใช้เหตุผล

        การเรียนรู้แบบใช้เหตุผล  เป็น พฤติกรรมการเรียนรู้ขั้นสูงสุดที่แสดงออกด้วยการแก้ไขปัญหาที่พบเห็นได้ อย่างถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการทดลองทำถึงแม้ว่าปัญหานั้นจะเป็นสิ่ง ที่เคยพบเห็นมาก่อนหรือไม่ก็ตามสัตว์ที่จะแสดงพฤติกรรมแบนี้ได้แก่สัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมเพราะมีสมองส่วนเซรีบรับเจริญดีกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆมีความ สามารถในการรับรู้ (perception) ว่าปัญหาหรือสิ่งเร้านั้นคืออะไรแล้วยังมีความสามารถในการสร้างแนวคิดเห็น (concept) สำแก้ปัญหาตลอดจนมีการใช้ความจำ (memory) ในสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนจากประสบการณ์แก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้อย่างเหมาะสม


 แบบทดสอบ เอาไว้ฝึกทำกัน ตามลิงค์นี่เลย

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/8/biology/unit10t2.html