กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ม. 2

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การมีสภาพบุคคลทางกฎหมายทำให้บุคคลนั้นย่อมได้รับสิทธิและมีหน้าที่ต่อรัฐ การที่บุคคลบางคนด้อยความสามารถ รัฐจำเป็นต้องจำกัดความสามารถของบุคคล ก็เพื่อประโยชน์ของบุคคลเหล่านั้น  

Show

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญมาก กฎหมายครอบครัวและมรดกมีส่วนในการช่วยให้นิติกรรมและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัวมีผลทางกฎหมาย การที่บุคคลมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในสถาบันครอบครัวเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ส 2.1 ม.2/1 อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงสภาพบุคคลได้อย่างถูกต้อง

2. ผู้เรียนสามารถระบุความแตกต่างและระบุเกณฑ์การแบ่งบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลได้อย่างถูกต้อง

3. นักเรียนสามารถอธิบายสาระสำคัญของกฎหมายการหมั้น การสมรส การหย่าและมรดกได้อย่างถูกต้อง

4. นักเรียนสามารถอธิบายหลักการสำคัญของกฎหมายมรดก และการรับบุตรบุญธรรมได้อย่างถูกต้อง

ด้านทักษะและกระบวนการ

  1. จากใบงานที่กำหนดให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของบุคคลได้อย่างถูกต้อง

  2. จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ผู้เรียนสามารถจำแนกสินสมรสกับสินส่วนตัวได้อย่างถูกต้อง

  3. จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ผู้เรียนสามารถระบุผู้รับมรดกได้อย่างถูกต้อง

ด้านคุณลักษณะ

1. ผู้เรียนสามารถบอกประโยชน์ของการจำกัดความสามารถของบุคคลได้อย่างสมเหตุสมผล

2. บอกประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

การวัดผลและประเมินผล

- คำถามสำคัญ

- กิจกรรมในชั้นเรียน

- ใบงานเรื่อง “บุคคลและความสามารถของบุคคล”

กฎหมายทั่วไป : "แจ้งเกิด แจ้งตาย ย้ายที่อยู่ รัฐจะอยากรู้ไปทำไม?"

      ความเป็นและความตายของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติที่เราต้องพบเจอกันอยู่ทุกวันแต่สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ
เรามีหน้าที่ตามกฏหมายอย่างไรบ้างที่ต้องกระทำเมื่อการเกิดและตายเกิดขึ้นมา

การเกิด

      โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่าเมื่อมีบุคคลเกิด พ่อแม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเกิดให้บุตรซึ่งต้องกระทำภายใน 15 วัน นับตั้งแต่บุตรเกิดมา

การตาย

      ในกรณีที่มีคนเสียชีวิตลง ก็ต้องมีการแจ้งต่อรัฐเช่นกันว่าบุคคลนี้ได้เสียชีวิตลงแล้ว โดยต้องกระทำภายใน 24 ชั่วโมง เหตุที่ต้องแจ้งต่อทางการในทั้งสองกรณี ก็ด้วยที่ว่าเราจะได้ทราบถึงจำนวนประชากรที่ลดลงและเพิ่มขึ้น เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการจัดสรรสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับประชาชนนั่นเอง

การมีสภาพบุคคล

      ตามกฏหมายถือว่า สภาพบุคคลได้เกิดขึ้นแล้วนับตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้น คลอดและอยู่รอดเป็นทารก ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้ต้องอยู่ร่วมกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ กล่าวคือ เด็กต้องคลอดออกมาจากครรภ์มารดาทั้งตัวและมีลมหายใจแม้จะเป็นเพียงเสี้ยววินาทีที่มีการหายใจก็ตาม สภาพบุคคลจึงเกิดขึ้น ซึ่งการมีสภาพบุคคลตามกฏหมายนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนั่นหมายความว่า เด็กที่เกิดขึ้นมาจะได้รับสิทธิ์และหน้าที่ที่เขาจะได้รับตามสภาพการเป็นบุคคล เช่น พ่อของเด็กได้เสียชีวิตลงในขณะที่เด็กยังอยู่ในครรภ์ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว เด็กทารกไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกของพ่อตนเอง
      แต่ถ้าเด็กทารกนั้นคลอดและอยู่รอดเป็นทารกแล้วล่ะก็ เด็กก็จะมีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตัวเองในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานนั่นเอง ซึ่งสิทธิที่จะได้รับมรดกนั้นจะเกิดทันทีที่เด็กคลอดพ้นออกจากครรภ์มารดาและหายใจแม้เพียง 3 นาที 

การสิ้นสภาพบุคคล

ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการสิ้นสภาพบุคคลซึ่งอาจเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ

1. ตายธรรมชาติ คือ แกนสมองตาย
2. ตายโดยผลของกฎหมายคือ เป็นบุคคลสาบสูญ
(หายไปจากบ้านโดยไม่มีผู้ใดพบตัวเลยติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ในกรณีปกติ หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ เช่น ไปทำสงคราม หรือ เกิดภัยพิบัติขึ้น)

การแจ้งย้ายที่อยู่

      เหตุที่กฎหมายต้องการให้มีการแจ้งย้ายที่อยู่ก็เพราะว่า ราต้องการทราบว่าในแต่ละพื้นที่มีคนอยู่จำนวนเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้จัดสรรสวัสดิการให้กับชุมชนในแต่ละพื้นที่ได้ดีขึ้น เพราะการเคลื่อนย้ายของประชากรนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ
      การแจ้งย้ายที่อยู่นั้นสามารถทำได้โดยแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ อาจเป็นเทศบาลหรืออำเภอก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าสถานที่ที่ย้ายออกนั้นขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการใด โดยต้องทำภายใน 15 วันนับตั้งแต่ย้ายออกจากพื้นที่เดิม

การหมั้น - การสมรส : ความสัมพันธ์แบบไทยที่ชัดเจนในสายตาของกฎหมาย?

      ความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เราตั้งคำถามกันอยู่เสมอ ซึ่งคำตอบนั้นอาจชัดเจนในความรู้สึก แต่ไม่แต่ไม่ชัดเจนในสายตาของกฏหมาย ซึ่งต้องบอกไว้ก่อนว่ากฎหมายไทยรับรองเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงเท่านั้น ก็หวังว่าในอนาคต รัฐไทยจะรับรองความสัมพันธ์ให้กับทุกเพศอย่างเท่าเทียมกัน

      เมื่อชายหญิงได้คบหากันมาระยะหนึ่ง และได้ตัดสินใจที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นขึ้น ในทางกฎหมายบุคคลอาจทำได้ 2 วิธีคือ การหมั้น หรือ การสมรส

การหมั้น

      ชายและหญิงอาจหมั้นกันไว้ก่อนเมื่อยังไม่พร้อมที่จะแต่งงานกัน โดยการหมั้นสามารถทำได้เมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปี โดยทั้งสองต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือบิดามารดาก่อน ไม่อย่างนั้นหมั้นกันไปก็เป็น โมฆียะคืออาจถูกบอกล้างการหมั้นได้ในภายหลัง เพราะทั้งสองยังมีสภาพเป็นผู้เยาว์อยู่ และการหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อชายส่งมอบของหมั้นให้แก่หญิง โดยของที่มอบให้จะเป็นอะไรก็ได้ เช่น ฝ่ายชายยื่นหนังสือให้ 1 เล่ม แล้วบอกว่า เราจะแต่งงานกันในอนาคต แล้วฝ่ายหญิงก็รับไปโดยไม่ติดเงื่อนไขเรื่องอายุและอยู่ภายใต้ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เช่นนี้สัญญาหมั้นก็เกิดขึ่นแล้ว

การบอกเลิกสัญญาหมั้น

      ทีนี้มาดูว่าถ้าหมั้นกันแล้วไปกันไม่รอด จะเลิกสัญญาหมั้นได้ไหม ซึ่งก็ทำได้โดยทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญากันไม่ต้องทำเป็นหนังสือสัญญาอะไรเลย เพียงแต่ฝ่ายหญิงส่งมอบของหมั้นคืนแก่ฝ่ายชาย จากนั้นทั้งสองก็จะกลับคืนสู่ฐานะเดิมเหมือนไม่เคยมีการหมั้นกันมาก่อน
      อย่างไรก็ดีหากอีกฝ่ายอยากเลิกแต่เราไม่อยากเลิก หรือเราอยากเลิกแต่เค้าไม่อยากเลิก จะทำอย่างไรได้บ้าง

      ต้องไปดูว่ามีเหตุเลิกสัญญาหมั้นหรือไม่ ซึ่งก็เอาง่ายๆ ว่าถ้าฝ่ายไหนผิดสัญญาฝ่ายนั้นก็มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับอีกฝ่าย เช่น ถ้าฝ่ายชายเปลี่ยนใจไม่อยากทำตามสัญญาหมั้นต่อไปแล้ว ฝ่ายชายต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายหญิง ส่วนของหมั้นนั้น เนื่องจากฝ่ายหญิงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดก็ไม่จำเป็นต้องคืนให้กับชาย ในทางกลับกัน ถ้าฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิด ฝ่ายชายมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกของหมั้นคืน พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายคืนจากฝ่ายหญิงได้

      อย่างไรก็ดี แม้เราอยากแต่งงานกับเขาตามสัญญาหมั้นที่มีต่อกัน แต่สัญญาหมั้นที่มีก็ไม่อาจใช้ร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้เขาแต่งงานกับเราได้ (เรื่องหัวใจนี่มันบังคับกันไม่ได้จริง ๆ)


การสมรส

      ทีนี้มาเรื่องของการแต่งงานหรือในทางกฎหมายเรียกว่าการสมรสนั่นเอง ซึ่งเมื่อชายหญิงตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยากันแล้ว สิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจนเพื่อที่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะถูกรับรองในสายตาของกฎหมาย ก็คือการจดทะเบียนสมรส นั่นเอง โดยผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสได้ ในสายตาของกฎหมายไทย คือ ชายและหญิงที่มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องจำไว้เสมอว่าถ้าทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ก็ต้องได้รับความยินยอมให้ทำการสมรสจากผู้แทนโดยชอบธรรมของทั้งสองฝ่ายอยู่ดี มิฉะนั้นการสมรสนั้นก็ตกเป็นโมฆียะ หรืออาจถูกบอกล้างได้ในภายหลังนั่นเอง
      เหตุที่ต้องได้รับความยินยอมก็เพราะว่า กฎหมายต้องการให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกคู่ครองผู้เยาว์นั่นเอง โดยการให้ความยินยอมนี้อาจทำเป็นหนังสือหรือทำด้วยวาจาก็ได้ เมื่อผู้เยาว์ได้ทำการสมรสกับผู้เยาว์ ก็จะกลายเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะไปโดยปริยาย โดยถือหลักที่ว่าบรรลุแล้วบรรลุเลย แม้สมรสกันเพียง 3 วัน แล้วไปจดทะเบียนหย่า บุคคลนั้นก็จะไม่กลับมาเป็นผู้เยาว์อีก

บุคคลที่ไม่อาจสมรสได้

      การที่กฎหมายห้ามไม่ให้บุคคลดังต่อไปนี้ คือ คนวิกลจริต คนที่เป็นญาติสืบสายโลหิตพี่น้องกัน ผู้รับบุตรบุญธรรม และคนที่สมรสอยู่แล้ว ทำการสมรส หากเกิดการฝ่าฝืน การสมรสของบุคคลเหล่านี้ตกเป็นโมฆียะ
ทุกกรณี
ก็ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. คนวิกลจริต อาจไม่มีความสามารถในการเลี้ยงดูตนเองอยู่แล้ว และเมื่อจะมีครอบครัวก็อาจไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะดูแลได้ ตามกฎหมายอยากให้ชีวิตครอบครัวสงบสุข หากแต่งงานกับคนจิตไม่ปกติแล้ว ชีวิตครอบครัวอาจมีปัญหาได้
2. คนที่เป็นญาติสืบสายโลหิตหรือพี่น้องกัน เช่น พ่อแต่งกับลูก อาแต่งกับหลาน ในทางการแพทย์ หากมีสายเลือดเดียวกันและแต่งงานกัน ทายาทรุ่นต่อไปจะรับเอาส่วนที่ไม่ดีของทั้งสองฝ่ายมา นอกจากนี้ประเพณีของสังคมไทยทั่วไปยังไม่ยอมรับการแต่งงานแบบนี้ด้วย
3. การสมรสระหว่างบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม ที่กฎหมายห้ามก็เพราะว่าจะได้ไม่สับสนในสถานะระหว่างบุคคลทั้งสองว่าจะเป็นสามีภรรยากัน หรือ เป็นบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมนั่นเอง อย่างไรก็ดีถ้ามองให้ลึกลงไป บุคคลทั้งสองจะแต่งงานกันก็ย่อมทำได้ เพียงแค่ต้องไปเลิกรับการเป็นบุตรบุญธรรมออกไป กล่าวคือ ต้องลบสถานะหนึ่งออกไปก่อนแล้วค่อยสร้างสถานะใหม่ขึ้นมา
4. กฎหมายห้ามชายหญิงที่สมรสกับผู้อื่นอยู่แล้วมาทำการสมรสอีก หรือที่เรียกว่า สมรสซ้อน ก็เพราะว่าไม่ต้องการให้เกิดปัญหาภายในครอบครัว นอกจากนี้กฎหมายไทยในปัจจุบันยังรองรับเพียงแค่ความสัมพันธ์แบบผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้น

      ทั้งนี้ต้องจำไว้เสมอว่า การสมรสนั้นเป็นเรื่องของความยินยอมของบุคคลทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ว่าเขาอยากแต่ง แต่เราไม่อยากแต่ง แล้วเราดันลงชื่อในทะเบียนสมรสไป
แบบนี้การสมรสเป็นโมฆะ หรือก็คือการสมรสนั้นไม่ได้เกิดขึ้น 
      ดังนั้น ในหนังหรือละครที่พระเอกกับนางเอกถูกคลุมถุงชนหรือถูกบังคับให้ลงชื่อในทะเบียนสมรสนั้น จริงๆ ในสายตาของกฎหมายการสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ

การสิ้นสุดการสมรส : อยากยุติความสัมพันธ์ต้องทำยังไง แล้วเรามีสิทธิ์จะได้อะไรบ้าง?

การสิ้นสุดการสมรส

      เมื่อความสัมพันธ์มาถึงจุดที่ต้องเลิกรากัน ไม่ว่าจะจากเป็นหรือจากตาย กฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่วันยังค่ำ ทีนี้สิ่งที่เราต้องพิจารณาอันดับแรกคือ มีเหตุหย่าตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเหตุหย่าตามกฎหมายที่ให้อำนาจอีกฝ่ายฟ้องหย่าได้ มีดังต่อไปนี้

      ผลของการหย่า

  • สามีหรือภรรยามีชู้ ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าถ้าเกิดการนอกใจกันขึ้นก็ย่อมยากที่จะอยู่ร่วมชายคากันต่อไปได้

  • ประพฤติชั่วทำให้อีกฝ่ายขายหน้าอย่างร้ายแรง 
    หากอยู่กันต่อไปจะถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น เป็นนักเลงหัวไม้ ค้ายาเสพติด เป็นต้น

  • ทิ้งร้างอีกฝ่ายเกิน 1 ปี ซึ่งการทิ้งร้างนี้ต้องเป็น
    การทิ้งร้างที่จงใจกระทำ ไม่ใช่ว่าทิ้งร้างไปเพราะ
    มีเหตุจำเป็น เช่น ต้องไปเกณฑ์ทหารแบบนี้ไม่ถือว่าเป็นการทิ้งร้าง

  • อีกฝ่ายต้องคำพิพากษาจำคุกเกิน 1 ปี กรณีนี้ศาลต้องมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก และต้องเป็นการจำคุกจริงๆ ไม่ใช่เป็นการรอลงอาญา ทั้งนี้ความผิดที่ฝ่ายนั้น
    ถูกลงโทษ สามีหรือภรรยาต้องไม่ได้มีส่วนรู้เห็น
    ในการกระทำผิดนั้นด้วย

  • แยกกันอยู่เกิน 3 ปี อาจทำโดยทั้งสองฝ่ายสมัครใจแยกกันอยู่ หรือศาลมีคำสั่งให้แยกกันอยู่ก็ได้

  • ทำร้ายหรือทรมานร่างกาย และจิตใจของอีกฝ่าย เช่น เหยียดหยามหมิ่นประมาทบุพการีของอีกฝ่าย

  • ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

  • เสียชีวิต

  • ไม่อุปการะเลี้ยงดูตามสมควร

  • เป็นคนวิกลจริตเกิน 3 ปี จนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้

  • ผิดทัณฑ์บนความประพฤติที่ทำข้อตกลงกันไว้

  • เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่ไม่อาจรักษาได้

  • อีกฝ่ายไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตลอดกาล

ผลของการหย่า มี 2 แบบ ดังนี้

1. ผลของการหย่าโดยความยินยอมของทั้งฝ่าย

      โดยการหย่าเช่นนี้ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมลงชื่อพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งหากต้องการตกลงกันเรื่องทรัพย์สิน หรืออำนาจในการปกครองบุตรก็สามารถตกลงกันได้เองในชั้นนี้ และเจ้าหน้าที่ผุ้มีอำนาจก็จะทำการบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไว้ในบันทึกข้อตกลงแนบท้ายทะเบียนการหย่าไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่อีกฝ่ายไม่ทำตามสิ่งที่ตกลงกันไว้ตอนที่ตกลงจะหย่ากัน ก็สามารถนำหนังสือแนบท้ายนี้ไปร้องขอต่อศาลให้ศาลบังคับให้อีกฝ่ายทำตามหน้าที่ที่ฝ่ายนั้นมีได้

  • ผลต่อบุตร
    กรณีนี้เป็นเรื่องที่สามารถตกลงกันได้ว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการใช้อำนาจปกครองบุตร ใครจะเป็นผู้อุปการะจ่ายค่าเลี้ยงดู ซึ่งถ้าตกลงกันได้ก็ดีไป แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ก็แน่นอนว่าต้องให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
  • ผลต่อสถานะความเป็นสามี ภรรยา
    ความเป็นสามีภรรยาย่อมสิ้นสุดลงทันทีและไม่มีหน้าที่ใดๆ ต่อกันอีก
  • ผลต่อทรัพย์สิน
    เรื่องเงินๆ ทองๆ นี่แหละที่ตกลงกันยาก แต่เอาง่ายๆ โดยทั่วไปทรัพย์สินก็จะแบ่งกันคนละครึ่ง โดยเอาจำนวนทรัพย์สิน ณ เวลาที่จดทะเบียนหย่ามาคำนวณสิ่งที่ต้องแบ่ง อย่างไรก็ดีทรัพย์สินบางอย่างอาจไม่สามารถนำมาแบ่งกันได้ เช่น ของที่อีกฝ่ายใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น สามีเป็นหมอฟัน จะเอาเก้าอี้ทำฟัน หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาแบ่งปันไม่ได้ หรือของที่เป็นของส่วนตัวที่อีกฝ่ายใช้ในชีวิตประจำวันก็เอามาแบ่ง
    ไม่ได้ เช่น น้ำหอม นาฬิกาข้อมือ เป็นต้น

2. ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

      การหย่าวิธีนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้หย่าได้ ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ไปจดทะเบียนหย่ากัน ก็ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลงแล้ว

  • ผลต่อบุตร
    ก็คือการตกลงกันเรื่องอำนาจในการเลี้ยงดูบุตรนั่นเอง ซึ่งส่วนมากฝ่ายที่ชนะคดีจะได้รับอำนาจเลี้ยงดูบุตรไป ทั้งนี้ศาลย่อมตัดสินโดยเอาประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ
  • ผลต่อสถานะความเป็นสามีภรรยา
    นี่คือสิ่งที่น้อยคนจะรู้ว่าหย่าแล้วเรามีสิทธิได้อะไรบ้าง อย่างไรก็ดีสิ่งที่จะได้ต่อไปนี้ ต้องเป็นฝ่ายที่ไม่ผิดถึงจะมีสิทธิได้ 
    1. หย่าแล้วเราสามารถเรียกค่าเสียหายจากคนที่เป็นชู้ของสามีหรือภรรยาของเราได้ ก็คือใครที่เป็นเหตุทำให้เราหย่าเราฟ้องเรียกเงินจากเขาได้นั่นเอง

    2. เรียกค่าเลี้ยงชีพจากคู่สมรสเดิม ถ้าการหย่าจะทำให้เรายากจนลง
      เพราะไม่มีรายได้มาจุนเจือตัวเอง เนื่องจากตอนสมรสทำหน้าที่เป็นพ่อบ้านหรือแม่บ้านอย่างเดียวไม่มีรายได้
      กรณีนี้ ฝ่ายที่ต้องยากจนลงสามารถเรียกค่าเลี้ยงชีพจากสามีหรือภรรยาของตนได้ด้วย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัวมีกฎหมายอะไรบ้าง พร้อมกับยกตัวอย่างมา 2 เรื่อง *

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์ซึ่งกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นเอกสารที่คนไทยต้องมีเพื่อใช้แสดงตน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวที่กำหนดเรื่องของการหมั้น การสมรส และการรับรองบุตรไว้

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองมีอะไรบ้าง

กฎหมายเกี่ยวกับตนเอง.
หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน 1.1 ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ... .
การขอมีบัตรประตัวประชาน บุคคลผู้ใดเมื่อมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ให้ไปติดต่อที่อำเภอ ที่ฝ่ายทะเบียน ... .
ความผิดและอัตราโทษของผู้ฝ่าฝืน ... .
บุคคลผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน.

กฎหมายคืออะไร ม.2

กฎหมาย คือข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุม ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้

ความสําคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง

กฎหมายทาให้เกิดความสงบและความเป็นระเบียบขึ้นในสังคม เพราะหลักกฎหมายเป็นลักษณะของ ข้อห้ามมีบทลงโทษสาหรับผู้ควรทาผิดที่ชัดเจน ดังนั้นกฎหมายจึงท าให้ประชาชนทุกคนมีความยาเกรงเพราะการฝ่าฝืนกฎหมายจะได้รับการลงโทษ อย่างเฉียบขาด เป็นเครื่องมือสาคัญที่ทาให้เกิดความสงบสุขของประเทศชาติ