ธนาคารที่ไม่ คุ้มครองเงินฝาก

เปิดรายชื่อ 35 ธนาคาร ที่ได้รับคุ้มครองเงินฝาก โดยวงเงินคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท สามารถครอบคลุมการคืนเงินให้กับผู้ฝากแบบเต็มจำนวน คิดเป็นร้อยละ 98.03 ของผู้ฝากทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย

ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป เงินฝากจะได้รับความคุ้มครองในวงเงิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน โดยนับรวมทุกสาขาและทุกบัญชีของสถาบันการเงินแห่งนั้น ซึ่งการเข้าสู่วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาทในครั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายที่บัญญัติไว้เดิม โดยวงเงินคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท สามารถครอบคลุมการคืนเงินให้กับผู้ฝากแบบเต็มจำนวน คิดเป็นร้อยละ 98.03 ของผู้ฝากทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย

.

สำหรับผู้ฝากที่มีเงินฝากเกินกว่าวงเงินคุ้มครอง สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) ก็ให้ความคุ้มครอง 1 ล้านบาทแรกด้วย สำหรับส่วนที่เหลือ มีโอกาสได้รับเงินคืนเพิ่มเติมภายหลังจาก DPA ชำระบัญชีและขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินดังกล่าวเสร็จสิ้น

.

หากสงสัยว่าสถาบันการเงินที่คุณฝากเงินไว้ ได้รับความคุ้มครองจาก DPA อยู่หรือไม่ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่



Line : bit.ly/3t41fR5

Twitter : https://bit.ly/2Ow2cTj

Blockdit : bit.ly/2PJn3mE

Website : www.dpa.or.th




รายชื่อสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง 35 แห่ง ดังนี้


ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)


ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)


สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)


ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส

ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

ธนาคารซิตี้แบงก์

ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด

ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น

ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

ธนาคารดอยซ์แบงก์

ธนาคารมิซูโฮ จำกัด

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์

ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์


บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)


บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)


บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)


บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด



ธนาคารที่ไม่ คุ้มครองเงินฝาก



สำหรับ กรณีมีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาทอยู่ในธนาคารของรัฐ เช่น ธ.อ.ส. ออมสิน หรือ กรุงไทย ตามรายชื่อทั้ง 3 สถาบันการเงินนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) ไม่คุ้มครอง ธ.อ.ส. และ ธนาคารออมสิน เนื่องจากเป็นสถาบันการเงินภายใต้การดูแลของภาครัฐ นโยบายการคุ้มครองเงินฝากของสถาบันเหล่านั้นจะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ ณ ตอนนั้น

.

กรณีธนาคารกรุงไทย อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองในวงเงิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน หากมีเงินฝากเกินหนึ่งล้านบาท ส่วนที่เกินวงเงินต้องรอกระบวนการชำระบัญชีก่อน เมื่อถึงตอนนั้นผู้ฝากมีโอกาสได้ส่วนที่เหลือคืน



สำหรับบัญชีร่วม หากมีการกำหนดสัดส่วนเจ้าของเงินฝากไว้จะแบ่งตามสัดส่วนนั้น แต่หากไม่มีการกำหนดสัดส่วนจะหารเท่ากัน อย่างไรก็ตาม เงินฝากส่วนของตนที่อยู่ในบัญชีร่วม จะต้องถูกนำไปรวมกับบัญชีอื่นๆ ของตนเองที่อยู่ในสถาบันการเงินเดียวกันด้วย วงเงินคุ้มครองในลักษณะ 1 ล้านบาท ต่อรายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน

ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2564 เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครองเงินฝากที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้ความคุ้มครองจะกลับเข้าสู่ระดับ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการพูดถึงในโซเชียลมีเดียมาเป็นระยะ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า  เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดไว้ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สถาบันการเงินไทยยังแข็งแกร่ง หยุดแชร์ข่าวปลอม ลดคุ้มครองเงินฝาก เพราะธนาคารไทยเสี่ยงล้ม

ลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก "ไม่กระทบประชาชน" ผู้ออม 98.03% ยังได้รับความคุ้มครอง

ธนาคารที่ไม่ คุ้มครองเงินฝาก

การกำหนดวงเงินความคุ้มครองเงินฝากของไทย เป็นไปตามหลักการสำคัญของระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิผล (Core Principle for Effective Deposit Insurance Systems) ซึ่งเป็นหลักการสากล โดยครอบคลุมกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศ และส่งเสริมการสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ระบบการเงินทั้งระบบทั้งในส่วนของผู้ฝากเงินจะเกิดความตระหนักในการบริหารจัดการความเสี่ยง และในส่วนสถาบันการเงินที่จะต้องบริหารจัดการการดำเนินกิจการให้มีประสิทธิภาพ

คลอบคลุมบัญชีเงินฝาก  98% ของผู้ฝากเงินทั้งระบบของสถาบันการเงิน

วงเงินความคุ้มครองเงินฝากดังกล่าว สามารถคุ้มครองกลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศได้ กว่า 98% ของผู้ฝากเงินทั้งหมดของระบบสถาบันการเงิน ซึ่งพบว่าผู้ฝากส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนทั้งระบบอยู่แล้ว

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า กลุ่มผู้ที่ฝากเงินส่วนใหญ่ของประเทศไม่เกิน 1 ล้านบาทสัดส่วน 98% หรือ 82 ล้านราย ขณะที่กลุ่มที่มีเกินฝากเกิน 1 ล้านบาท มีสัดส่วน 2%  

โดยมีวิธีนับ คือ จำนวนผู้ฝากเงินแต่ละรายที่มีบัญชีอยู่ในสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เช่น

- นาย ก มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร A จำนวน  2 บัญชี นับเป็น 1 ราย 

- นาย ข มีบัญชีเงินฝากกับ 3 ธนาคาร นับเป็น 3 ราย 

ซึ่งวงเงินที่กฎหมายกำหนดของประเทศไทยมีความใกล้เคียงกันกับค่าเฉลี่ยสัดส่วนจำนวนผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวนตามกฎหมายของประเทศต่างๆ

เกณฑ์นี้คลอบคลุมกี่สถาบันการเงิน? 

ความคุ้มครองเงินฝากระดับ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน จะคลอบคลุม 35 สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ไทย 19 แห่ง ธนาคารต่างประเทศ 11 แห่ง บริษัทเงินทุน 2 แห่ง บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง

โดยเฉพาะธนาคารที่ประชาชนใช้บริการกันอยู่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ / ธนาคารกรุงไทย / ธนาคารกสิกรไทย / ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น 

เงินฝากประเภทไหนได้รับความคุ้มครอง?

- เงินฝากกระแสรายวัน 

-เงินฝากออมทรัพย์ 

-เงินฝากประจำ

-บัตรเงินฝาก

-ใบรับฝากเงิน

แล้วส่วนเงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาททำอย่างไร?

เงินส่วนเกิน ยังมีสิทธิได้รับคืนแต่ต้องรอการชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นจะได้รับคืนตามลำดับการชำระคืนเจ้าหนี้ตามกฎหมาย

เลื่อนลงทะเบียน "ซิโนฟาร์ม" เป็น 11 โมงและจองได้ผ่านเว็บไซต์ช่องทางเดียว

 

เกณฑ์ดังกล่าวออกมาเพราะสถาบันการเงินกำลังมีปัญหา? 

ธนาคารแห่งประเทศไทย และ กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทย ยังคงมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ ทั้งในส่วนของระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) อยู่ที่ระดับ 20% ซึ่งสูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาค ประกอบกับการมีสภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง และสามารถรองรับความผันผวนของสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายเวลาวงเงินความคุ้มครองเงินฝากเดิมออกไปอีกนอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเกิดความเชื่อมั่นในระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิภาพ

โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวสรุปว่า กระทรวงการคลัง สถาบันคุ้มครองเงินฝาก และธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการประเมินร่วมกันแล้วว่า การคุ้มครองเงินฝากดังกล่าวมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ฝากเงินในระบบสถาบันการเงิน

ในอดีตปรับเกณฑ์ คุ้มครองเงินฝาก มาแล้วกี่ครั้ง? 

การลดวงเงินคุ้มครอง เป็นไปตามแผนที่กำหนดเดิมของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก โดยตั้งแต่ปี 2551 ได้กำหนดวงเงินคุ้มครองลดลงเป็นขั้นบันไดมาเป็นลำดับ 

ตั้งแต่ปี 2551 คุ้มครองเต็มจำนวน

ปี 2555         คุ้มครอง 50 ล้านบาท

ปี 2558         คุ้มครอง 25 ล้านบาท

ปี 2559         คุ้มครอง 15 ล้านบาท

ปี 2561         คุ้มครอง 10 ล้านบาท

ปี 2562         คุ้มครอง  5 ล้านบาท

ปี 2564         คุ้มครอง 1 ล้านบาท

ซึ่งเดิม เคยกำหนดจะปรับลดลงวงเงินเหลือ 1 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2555 แต่ขยายเวลามาเรื่อยๆ จากความผันผวนของตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ กฎหมายไม่ได้กำหนดวงเงินคุ้มครองที่ต่ำกว่านี้แล้ว