โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ doc

           -ร้อยละนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนบ้านเขาตะเภาทองมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี                                                                                                                            

การประชุมชี้แจงการจัดสรรงบประมาณ ดำเนินงานการจัดงานโครงการ "สานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรัง เขต 2" ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2565

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ doc
ร่วมแสดงความยินดี

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ doc
ร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ภาคใต้ จังหวัดสตูล

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ doc
การประชุมคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะวิชาการ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา "งานสานฝันพัฒนาคุณภาพนักเรียน สพป.ตรัง เขต 2" ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2565

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ doc
ร่วมรับชมรายการ “ พุธเช้าข่าว สพฐ.” ครั้งที่ 44/2565 และประชุมทีมบริหารของ สพป.ตรัง เขต 2

โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ doc
ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการลูกเสือในโครงการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ 4 ภูมิภาค (ภาคใต้) หลักสูตรวิชาการจัดค่ายพักแรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้

ประเภทของการแนะแนว

1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)

2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)

3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)

บริการแนะแนว

1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)

2. บริการสนเทศ (Information Service)

3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว

4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)

5. บริการติดตามผล

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

          ด้านความสามารถ  การเรียน อื่นๆ

ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม

          ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน

2. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)

          ปกติ

กลุ่มเสี่ยง

3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ

4. การป้องกันและแก้ปัญหา

ใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา

5. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)

การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา

1. ความหมายของการแนะแนว

2. การแนะแนว VS การแนะนำ

3. การแนะนำ 3 ด้าน การศึกษา อาชีพ ส่วนตัว

4. บริการที่จัดในโรงเรียน 5 บริการ

5. บริการให้คำปรึกษาเป็นหัวใจของการบริการแนะแนว

6. ความหมายของการให้คำปรึกษา

7. Individual Counseling and Group Counseling

8. การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และการแสดงออก

9. การเข้าใจธรรมชาติของปัญหา (3 kinds of problem 7 cells)

10. จรรยาบรรณของการให้คำปรึกษา

11. ขั้นตอนในการให้คำปรึกษา

12. เทคนิคการให้คำปรึกษา และ Role Play

การแนะแนว

การแนะแนวเบื้องต้น.พนม ลิ้มอารีย์. หน้าที่ 3 – 16 .2548.

การแนะแนวเป็นวิชาการที่เกิดขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีอายุเกือบหนึ่งร้อยปีแล้วก็ตาม แต่ถ้าเปรียบเทียบกับศาสตร์แขนงอื่นๆ กล่าวได้ว่าได้วิชาการแนะแนวมีอายุน้อยกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ไม่ว่าวิชาการที่ศาสตร์    บริสุทธิ์ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือ ศาสตร์ทางด้านสังคม เช่น ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยารัฐศาสตร์ หรือแม้แต่ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ซึ่งได้แก่ จิตวิทยา เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทย วิชาการแนะแนวยิ่งมีอายุน้อยมาก คือมีอายุประมาณ 53 ปี เท่านั้นโดยเริ่มนำเข้าไปใช้ในโรงเรียนเป็นการทดลองครั้งแรกเมื่อปี พ. ศ. 2469 ที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์จังหวัดฉะเชิงเทรา

แต่วิชาการแนะแนวก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นแขนงวิชาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคลและประเทศชาติเป็นอย่างมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีปรัชญาจุดมุ่งหมาย กระบวนการจรรยาบรรณ และการวิจัยที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ และผู้ที่จะกอบอาชีพเป็นนักแนะแนวจำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะเป็นระยะเวลาเวลายาวนานพอสมควรจึงสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักแนะแนวได้

ที่มาของคำว่าการแนะแนว

การแนะแนวเป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา ซึ่งบัญญัติมาจากคำว่า Guidance กับคำว่า Counseling แต่คำว่าศัพท์ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้นปัจจุบันคำว่า Guidanceจะแปลว่า การแนะแนว ส่วนคำว่าCounselingจะแปลว่า การให้คำปรึกษา

ความหมายของการแนะแนว

การแนะแนวสามารถให้ความหมายได้ 3 นัย ด้วยกันคือ

1.ความหมายตามรูปศัพท์ การแนะแนวหมายถึง การชี้แนะการชี้ช่องทางให้ การบอกแนวทางให้ทางให้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาตัดสินใจได้ แต่มิใช่การแนะนำ ( Advise ) เพราะการแนะนำนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือจะหน้าที่เป็นผู้เลือก หรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้ ส่วนการแนะแนวนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือนักแนะแนวไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นผู้เลือกหรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลต่างๆ แล้วให้ผู้ที่มีปัญหาทำหน้าที่เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง

2.ความมายในแง่กระบวนการ ( Process ) การแนะแนว หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้เข้าใจตนเองและโลกของตน

จากความหมายของการแนะแนวในแง่กระบวนการนี้มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่ 4 ประเด็น คือ

ประการแรก  กระบวนการ ( Process ) หมายถึง ปรากฏการณ์ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และคำว่ากระบวนการการแสดงให้รู้ว่า การแนะแนวมิใช่เหตุการณ์เดียวกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับชุดของการกระทำหรือลำดับขั้น ซึ่งก้าวหน้าไปเรื่อยๆ สู่เป้าหมาย

ประการที่สอง  การช่วยเหลือ ( Helping ) หมายถึง การช่วย การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์การให้ประโยชน์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ ( Helping Occupations ) เป็นจำนวนมาก เช่น จิตแพทย์นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต่างมีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ที่การป้องกัน ( Prevention ) การซ่อมเสริม ( Remediation ) และการเยียวยาแก้ไข( Amelioration ) ความยุ่งยากและความยากลำบากของมนุษย์

ประการที่สาม  บุคคล ( Individuals )  หมายถึงนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา และยิ่งไปกว่านั้นการแนะแนวจัดว่าเป็นการช่วยเหลือที่จัดให้กับนักเรียนปรกติ ( Normal ) ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ สำหรับพัฒนาการที่เป็นปรกติ

ประการสุดท้าย การเข้าใจตนเองและโลกของตน ( Understand themselves and their world ) หมายถึงการที่บุคคลรู้ว่าตนเป็นใคร รู้ถึงเอกลักษณ์ของตน ( Personal Indentity )  รับรู้ธรรมชาติของตนอย่างกระจ่าง มีประสบการณ์ เกี่ยวกับโลกของตน สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและผู้คนที่ตนมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์

3.ความหมายในแง่บริการ (Servicc) การแนะแนวเป็น บริการอย่างหนึ่งที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ สามารถเลือกและตัดสินใจได้ฉลาดแก้ปัญหาต่างๆ ของตนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

จากความหมายของการแนวแนวในแง่บริการ มีสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือในการจัดโครงการ แนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้นมีบริการต่างๆ ที่จะต้องจัดเพื่อให้บริการแก่นักเรียนอยู่หลายบริการ แต่พอจะจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ บริการหลัก และบริการเสริม

บริการหลัก จัดว่าเป็นบริการที่สำคัญของการจัดโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนซึ่งเป็นบริการที่จะขาดเสียมิได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 บริการ คือ

1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)

2. บริการสนเทศ (Information Service)

3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว

4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)

5. บริการติดตามผล

ในการจัดโครงการบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ถ้าจะให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องจัดให้มีบริการหลักทั้ง 5 บริการนี้อย่างครบท้วน

บริการเสริม หมายถึงบริการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องการแนะแนวโดยตรง แต่เป็นบริการที่จะช่วยให้โครงการแนะแนวของโรงเรียนได้ผลดีมากขึ้น ซึ่งได้แก่บริการต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. บริการจัดหาให้และให้ทุน

2. บริการอาหารกลางวัน

3. บริการสอนซ่อมเสริม

4. บริการสุขภาพ

5. บริการที่พัก

จะเห็นได้ว่าบริการต่างๆ ที่จัดเป็นบริการเสริมของโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนนั้นเป็นบริการที่จะช่วยจัดปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้มาก สมควรที่ทางโรงเรียนจะได้จัดให้มีขึ้นในโรงเรียนของตน ควบคู่กับการจัดบริการแนะแนว เพราะจะช่วยให้ความช่วยเหลือนักเรียนของทางโรงเรียนเป็นไปอย่างได้ผลดีและสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง

ความสำคัญของการแนะแนว

ปัจจุบันการแนะแนวได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก การแนะแนวมีจุดมุ่งหมายและหลักการที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ การช่วยให้เยาวชนของชาติเป็นผู้ที่คิดเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกๆ ด้าน มุ่งสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ได้มีกำหนดให้มีกิจกรรมแนะแนวอย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และยังได้กล่าวไว้หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรว่า โรงเรียนต้องจัดให้มีบริการแนะแนวส่วนตัว แนะแนวการเรียนและการศึกษาต่อ เพื่อใช่ให้แก้ปัญหาให้นักเรียนสามารถเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล

นอกจากนี้กิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น หลักสูตรยังได้ระบุอีกว่ากิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นนี้จะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ของการแนะแนว คือ การแนะแนวการศึกษาการแนะแนวอาชีพ การแนะแนวบุคลิกภาพและการปรับตน โดยเฉพาะด้านประพฤติ

การที่วิชาการแนะแนวหรือปัจจุบันนี้นิยมเรียกว่า จิตวิทยาการแนะแนวเข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ก็เนื่องจากเยาวชนเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ เพราะจะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งจะต้องรับผิดชอบประเทศชาติต่อไป จึงสมควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์สังคมและจิตใจ เพื่อช่วยให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวอยู่ในสักคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข และเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นที่พึงประสงค์ของประเทศชาติ

ความมุ่งหมายขอกการแนะแนว

ความมุ่งหมายของการแนะแนวสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1.ความมุ่งหมายทั่วไป

2.ความมุ่งหมายเฉพาะ

ความมุ่งหมายทั่วไป หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวโดยส่านรวมนั่นคือ การ

แนะแนวไม่ว่าจะจัด ณ สถานที่ใดก็ตามย่อมจะมีความมุ่งหมายทั่วไปเหมือนกัน หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน้าที่ของการแนะแนวก็ได้ ซึ่งมี 3 ประการด้วยกัน

         1.เพื่อป้องกันปัญหา ( Prevention ) นั้นคือการแนะแนวมุ่งป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดปัญหาหรือความยุ่งยากในการดำเนินชีวิตของตนเพราะปัญหาและความยุ่งยากต่างๆ นั้น สามารถป้องกันได้และการปล่อยให้นักเรียนเกินปัญหาขึ้นมาแล้วค่อยตามแก่ไขช่วยเหลือภายหลังนั้นทำได้ยากและต้องใช้เวลานาน ในบางกรณีอาจจะแไขไม่ได้อีกด้วย

          2.เพื่อแก้ไขปัญหา ( Curation ) นั้นคือ การแนะแนวมุ่งจะให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตน เพราะถ้าปล่อยให้นักเรียนประสบปัญหาโดยไม่ให้ความช่วยเหลือแล้ว นักเรียนย่อมจะไม่สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างปรกติสุขได้ และในบางครั้งอาจจะมีการปรับตัวที่ผิดๆ ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น

         3.เพื่อส่งเสริมพัฒนา ( Development ) นั่นคือการแนะแนวมุ่งจะให้การส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้เกิดความเจริญงอกงามมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนจะได้รับการส่งเสริมและแสดงความสามารถในด้านต่างๆ ของตนออกมาอย่างเต็มที่ โดยไม่มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาการของนักเรียน

           ความมุ่งหมายเฉพาะ หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวที่สถานศึกษาซึ่งจัดให้มีการบริการแนะแนวเป็นผู้กำหนดขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญา เป้าหมายหลักสูตร และสภาพสังคมของสถานศึกษานั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมายเฉพาะของการแนะแนวสำหลับสถานศึกษาแต่ละแห่งจะคล้ายคลึงกันไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น

           1. เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ( Self-Understanding ) คือการช่วยให้นักเรียนรู้ถึงความต้องการ ความคิด ความสามารถ ความถนัด และข้อจำจัดต่างๆ ของตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษา อาชีพ การดำเนินชีวิตของนักเรียน

          2. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักปรับตัว  ( Self-Adjustment ) ให้เหมาะสมกับตนเองและสภาพแวดล้อมคือ การช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีปฏิบัติตนเพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและเป็นสุข

          3. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักนำตนเอง ( Self-Direction ) คือการช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักใช้สติปัญญาความสามารถของตนเองแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉลาดและเหมาะสม สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคต และสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

         4. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้วิจารณญาณคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และรู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยกะทันหัน

           5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เพราะการมีสัมพันธภาพที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานของโรงเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

          6. เพื่อช่วยฝึกในเรื่องประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนของชาติ เพราะการฝึกให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน และมีการปฏิบัติจริง จะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

          7. เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนานักเรียนในที่สุด

ประเภทของการแนะแนว

การแนะแนวสามารถจำแนกได้หลายประเภทตามลักษณะของปัญหาที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือจากทางโรงเรียน เช่น ถ้านักเรียนมีปัญหาทางด้านการเรียน การศึกษาต่อ การอ่านหนังสือการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดไห้กับนักเรียนเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ก็เรียนกว่า การแนะแนวการศึกษาถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ การหางาน การปรับตัว ให้เข้ากับงานการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดให้ก็เรียกว่า การแนะแนวอาชีพ ถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการสุขภาพอนามัยการช่วยเหลือของทางโรงเรียนเรียกว่า การแนะแนวสุขภาพ ถ้านักเรียนมีปัญหา เกี่ยวกับการแสดงออกเกี่ยวกับการคบเพื่อน เกี่ยวกับมารยาทสังคมการช่วยเหลือของทางโรงเรียนก็เรียกว่าการแนะแนวด้านสังคม เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการแบ่งประเภทของการแนะแนวนั้น สามารถแบ่งได้มากมายตามลักษณะปัญหาของนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ก็พอจะสรุปแบ่งกันแนะแนวออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

1.การแนะแนวการศึกษา

2.การแนะแนวอาชีพ

3.การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม

การแนะแนวการศึกษา ( Educational Guidance )หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น แนวทางการศึกษาต่อ การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียน หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของโรงเรียน การค้นคว้าเขียนรายงาน การอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสร้างสมาธิในการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร

การให้บริการแนวแนวการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในเรื่องการศึกษาเล่นเรียนของตน ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนการศึกษาต่อของตนได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

จุดมุ่งหมายของการแนะแนวการศึกษา

             1.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนการวักผลประเมินผล ตลอดจนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

             2.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รูจักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกแผนการเรียนได้อย่างถูกต้องตรงกับความเข้าใจ ความต้องการ ความถนัดและความสามารถของตน

             3.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับข้อสนเทศทางการศึกษาต่อในด้านต่างๆ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา วิธีการเข้าการศึกษา จำนวนที่รับ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา เป็นต้น

             4.เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจักขึ้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ความสามารถพิเศษของนักเรียนปรากฏเด่นชัดและได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเต็มที่

             5.เฟื่อช่วยให้นักเรียนได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาตามแผนการเรียนของตน

การแนะแนวอาชีพ ( Vocational Guidance )หมายถึงกระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินใจเลือกอาชีพ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้คนพบอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และสภาพร่างกายของตน

การให้บริการแนะแนวอาชีพ จะช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบและตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องซึ่งจะเป็นผลให้นักเรียนมีความพึงพอใจในงานของตน และมีชีวิตการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นการช่วยให้ทรัพยากรมนุษย์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง

จุดมุ่งหมายของการแนะแนวอาชีพ

1. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มองเห็นความสำคัญของอาชีพ

2. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และในโลกกว้าง

3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสิ่งต่างๆ เช่น ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพระดับสติปัญญา สภาพร่างกาย ที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพ

4. เพื่อให้ข้อสนเทศแก่นักเรียนเกี่ยวกับอาชีพที่นักเรียนสนใจ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจในอาชีพนั้นๆ ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

5. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีการแสวงหางาน วิธีการสมัครงานวิธีการปรับตัวให้เข้ากับงานและวิธีการปฏิบัติตนให้มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน

6. เพื่อช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่สุจริตทุกอาชีพ

การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม ( Personal and Social Guidance )หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียน ในเรื่องที่นอกเหลือจากด้านการศึกษาและอาชีพ เป็นการช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจตนเองและสภาพแวดล้อม ทำให้สามารถมีชีวิตและปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

จุดมุ่งหมายของการแนะแนวด้านสวนตัวและสังคม

          1. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะและบุคลิกภาพที่เหมาะสมเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น

          2. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเอง ยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง และรู้จักปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

          3. เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความเข้าใจผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

         4. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเองให้ดีอยู่เสมอเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของตน

         5. เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นผู้มีเจตคติ ค่านิยมและจริยธรรมที่ถูกต้อง ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสีย

         6. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างและใช่จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์แก่ตนอย่างแท้จริง

ในการแบ่งประเภทของการแนะแนวออกเป็น 3 ประเภท คือ การแนะแนว การศึกษา การแนะแนวอาชีพ และการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม นั้น เป็นการจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูลหรือข้อสนเทศ ที่ทางโรงเรียนนำมาให้การแนะแนวแก่นักเรียน แต่การแนะแนวทั้ง 3 ประเภทนี้ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น การช่วยเหลือนักเรียนในการวางแผนเกี่ยวกับอาชีพ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษาของนักเรียน และยังต้องศึกษาองค์ประกอบด้านส่วนตัวและสังคมของนักเรียนพร้อมกันด้วยการเพ่งเล็งให้การแนะแนวแก่นักเรียนเพียงด้านเดียว จะไม่ช่วยให้นักเรียนเกิดความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการสมบูรณ์ครบท้วนอย่างแท้จริง

ปรัชญาของการแนะแนว

ปรัชญา ก็คือแนวความคิดหรือทัศนะความคิดซึ่งได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์สมควรยึดถือเป็นหลักในการดำเนินงาน

ดังนั้น ปรัชญาของการแนะแนว หมายถึง แนะแนวความคิดหรือทัศนะความคิดเห็น ซึ่งได้รับการพิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามีประโยชน์ สมควรยึดถือเป็นหลักในดำเนินงานแนะแนวซึ่งมีอยู่ 7 ประการด้วยกัน คือ

1.แนวความคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences) จัดว่าเป็นแนวความคิดหลักของการแนะแนว เพราะเป้าหมายสูงสุดของการแนะแนวก็คือการส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล   การช่วยให้บุคคลแต่ละคนได้มีความเจริญงอกงามและพัฒนาการอย่างมีบูรณาการสุดขีดความสามารถของตน

2.แนวความคิดเรื่องทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่งเพราะสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีคุณค่ามากสักเพียงใดก็ตามล้วนเกิดจากคิดค้นสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้น สถาบันต่าง ๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นบ้าน  โรงเรียน   วัด  หน่วยงานของรัฐบาล  ตลอดจนหน่วยงานของเอกชนควรจะได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีความเจริญงอกงาม และมีพัฒนาการสูงขึ้นในทุก ๆ ด้าน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์และเพื่อที่จะได้ใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. แนวความคิดเรื่องความร่วมมือ (Cooperation) ไม่ใช่การบังคับ (Compulsion) ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือของการแนะแนวจะต้องเป็นไปในลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้ให้ความร่วมช่วยเหลือและผู้รับความช่วยเหลือ จะไม่ใช้วิธีการบังคับและจะเน้นที่การให้บุคคลผู้มีปัญหาได้ปลดปล่อยแรงจูงใจภายในของตนออกมา และการช่วยเหลือนี้จะต้องช่วยให้บุคคลผู้มีปัญหาเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ในที่สุด (Help him to help himself)

4. แนวความคิดเรื่องคุณค่า (Worth) และให้เกียรติ (Dignity) ของบุคคล นั่นคือในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่ามนุษย์ทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณค่าและมีเกียรติเท่าเทียมกัน ไม่ควรได้รับการดูถูกเหยียดหยามไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ที่มีปัญหาหรือไม่ก็ตาม   และทุกคนก็มีสิทธิ์และมีอิสระภาพในการเลือกเป้าหมายชีวิตของคน (Freedom to Choose)

5. แนวความคิดเรื่องพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุ (Cause) และจุดมุ่งหมาย (Purpose)   ในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมทุกพฤติกรรมย่อมมีสาเหตุและจุดมุ่งหมาย ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ผิดปรกติหรือเบี่ยงเบนไปของนักเรียน   จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงสาเหตุแห่งความผิดปรกตินั้นๆ เสียก่อน  เมื่อค้นพบสาเหตุแล้วย่อมจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ถูกจุดและทำได้ง่าย

6. แนวความคิดเรื่องพัฒนาการด้านส่วนตัว (Personal Development) นั่นคือในการแนะแนวมีความคิดเห็นว่างานของการศึกษาเป็นการพัฒนามนุษย์ทางด้านสมองหรือสติปัญญาเท่านั้น  แต่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาการด้านส่วนตัวด้วย ซึ่งถือว่าเป็นงานของการแนะแนวโดยเฉพาะเป็นการช่วยให้มนุษย์ได้รู้จักและเข้าใจตนเอง

7. แนวความคิดเรื่องการแนะแนวเป็นกระบวนการทางการศึกษาที่มีลำดับขั้นและต่อเนื่อง (Continuous)  นั่นคือในทางการแนะแนวมีความคิดเห็นว่าการแนะแนวมิได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขั้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง   แต่เป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาและก้าวเข้าสู่โลกของงาน (World of Work)

หลักการที่สำคัญของการแนะแนว (Basic Principles of Guidance)

          การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน   ถ้าต้องการให้ได้ดีมีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามหลักการที่สำคัญต่อไปนี้     

1. การจัดบริการแนะแนวโรงเรียนจะต้องมุ่งให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุกคน   เนื่องจากนักเรียนทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือจากโรงเรียนของตน   และเป็นการให้บริการด้วยความเสมอภาคเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน

          2.การจัดบริการแนะแนวจะต้องกระทำอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง   คือ   จัดอย่างเป็นระบบมีระเบียบแบบแผน   มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ทุกขั้นตอน   จนกระทั่งบุคคลที่ได้รับความช่วยเหลือสามานำตนเองได้   ช่วยตนเองได้

          3.ผู้ทำงานแนะแนวจะต้องยอมรับในความเป็นเอกัตบุคคล (Individual) ของนักเรียน   นั่นคือจะต้องมีความเข้าใจและยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Differences)   ซึ่งมีประเด็นสำคัญ   ดังนี้

3.1 บุคคลแต่ละบุคคลย่อมมีลักษณะเฉพาะของตนเองจะไม่เหมือนคนอื่น   ไม่ว่ารูปร่าง   สติปัญญา   ความสามารถ   อุปนิสัย   ค่านิยม   ความสนใจ

3.2 บุคคลแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการไปตามลักษณะเฉพาะของตน   อย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่อง

3.3 บุคคลแต่ละคนย่อมมีกระบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลงตน   ตามประสบการณ์ที่ตนเองประสบมาและตามแนวทางหรือแผนการของตนที่วางไว้สำหรับอนาคต

4. การแนะแนวเป็นงานที่วางอยู่บนพื้นฐานกระบวนการการพฤติกรรมของบุคคลและเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์ ดังนั้นการแนะแนวจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและกลวิธีต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นแบบทดสอบและไม่ใช่แบบทดสอบ เพื่อจะได้เข้าใจบุคคลแต่ละคน และเพื่อช่วยให้บุคคลได้เข้าใจตนเอง เพื่อจะได้สามารถควบคุมพัฒนาการส่วนตัวของนักเรียนได้

5. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแต่ละคน  นั่นคือจะต้องอยมรับว่านักเรียนแต่ละคนมีอิสรภาพที่จะเลือกแนวทางชีวิตของตนเอง การเลือกและการตัดสินใจของนักเรียนควรเกิดจากการใช้วิจารณญาณของนักเรียนเอง ไม่ใช่การบังคับ

6. การแนะแนวถือว่าเป็นส่วนของกระบวนการของการศึกษา  ดังนั้นการแนะแนวควรจะสอดแทรกอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้มีพัฒนาตนเองทุกด้านอย่างมี

บูรณาการ (Integration)

7. การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ  ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นแนะแนว (Counselor)  จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมทางการแนะแนวมาโยเฉพาะ   มีทั้งความรู้ (Knowledge)   และทักษะ   (Skills) ที่เหมาะสมและมีการจัดดำเนินการแนะแนวอย่างมีระบบ (Systematical Guidance)

          8. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีมีความเป็นประชาธิปไตยเป็นผู้ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

9. การจัดบริการแนะแนวจะได้ผลดีมีประสิทธิภาพ จะต้องเกิดจากความร่วมมือและความสมัครใจจากบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน และนักเรียนผู้มารับบริการจะต้องมาด้วยความเต็มใจให้ความร่วมมือด้วย

10. ผู้ทำงานด้านการแนะแนวจะต้องเป็นผู้ที่สามารถเก็บรักษาความลับได้เพราะถ้าเป็นผู้ที่ไม่สามารถเก็บรักษาความลับก็จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยทำให้ขาดความไว้วางใจและไม่ยินดีที่จะมารับความช่วยเหลือ

สาเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องมีการแนะแนว

การที่ทางโรงเรียนมีความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการปรับตัว เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้แก่

1.การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ  เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างระรัดตัว   เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการครองชีพสูง  เป็นเหตุให้ทั้งบิดามารดาต้องออกไปประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะช่วยครอบครัวอยู่อย่างมีความสุข ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปทางบ้าน  ทำให้บิดามารดาไม่มีเวลาที่จะดูแลบุตรหลานของตนได้อย่างใกล้ชิดเช่นแต่ก่อน เด็กจึงมีอิสระมากขึ้นในการคบเพื่อน   หรือกระทำกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการแนะแนวขึ้น  เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ได้รู้จักเลือกคบเพื่อน  รู้จักใช้เวลาว่างให้เหมาะสมและสามารถตัดสินใจอย่างฉลาด

2.การเปลี่ยนแปลงด้านงานอาชีพ ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีเจริญเพิ่มขึ้นมาก ก่อให้เกิดการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้เกิดอาชีพใหม่เพิ่มขึ้นมากมายและอาชีพแต่ละอย่างก็ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติ  มีความรู้  ความสามารถ  แตกต่างกันไป  ผู้ที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้จะเป็นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาในด้านนั้นโดยเฉพาะ  ดังนั้นการแนะแนวจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านนี้  เนื่องจากจะต้องช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนและตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   สอดคล้องกับความสามารถ  ความถนัด  ความสนใจ  ของนักเรียนแต่ละคน

3.การเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนประชากร ปัจจุบันประชากรของประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอัตราการเกิดจะลดลงแล้วก็ตาม  ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ   มีการแข่งขันกันสูง  เนื่องจากเกิดสภาวะคนล้นงาน ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานมีเพิ่มมากขึ้น  ปัญหาจำนวนนักเรียนล้นชั้นเรียน  โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและอยู่ในเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามโรงเรียนที่อยู่ในชนบทหรือโรงเรียนเล็ก ๆ กลับไม่ค่อยมีนักเรียนเข้าเรียน เนื่องจากผู้ปกครองมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา เพราะได้พบเห็นว่าผู้ที่ศึกษาสูง ๆ แต่เมื่อสำเร็จออกมากลับไม่มีงานทำ  ต้องเหลือนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และเพื่อจะได้ชี้แจงให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์

4.การเปลี่ยนแปลงด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม เนื่องจากปัจจุบันนี้กาเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เด็กเกิดความสงสัยและเกินความสับสนวุ่นวายในจิตใจ เนื่องจากสิ่งที่ทางบ้านและทางโรงเรียนสอนให้เด็กประพฤติปฏิบัติ กับสิ่งที่เด็กได้พบเห็นในสังคมนั้นไม่สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน ทำให้เด็กเกิดความลังเลว่าตนควรจะเชื่อคำสั่งสอนของทางบ้านและโรงเรียนดี หรือควรจะเชื่อตามความเป็นไปของสังคม ด้วยเหตุนี้ทำให้เด็กไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรถูก อะไรไม่ถูก ด้วยเหตุนี้การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นบริการที่จะช่วยให้เด็กสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและถูกต้อง

5.ความเปลี่ยนแปลงด้านปรัชญาการศึกษาและหลักสูตร ปรัชญาการศึกษาปัจจุบันเน้นให้เด็กคิด ทำเป็น แก้ปัญหา และยังมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ดังนั้น หลักสูตรจึงมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา คือ หลักสูตรการศึกษาจึงเป็นหลักสูตรแบบกว้างเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเลือกเรียนวิชาต่างๆ ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล แต่การที่เด็กจะสามารถเลือกวิชาหรือสายการเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จำที่เด็กจะต้องรู้จักและเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน ดังนั้น การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่ทางโรงเรียนจะละเว้นเสียไม่ได้เพราะบริการแนะแนวจะช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รู้แนวทางในการศึกษาต่อในการประกอบอาชีพ และรู้จักที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพอีกด้วย 

ประโยชน์ของการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน

ในการจัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้น ถ้าโรงเรียนสามารถให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างได้ผลดีมีประสิทธิภาพ จะเกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้

1.ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี รู้จักเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและเหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ตนประสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคตของตนเองและสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความเจริญงอกงามทุกด้านอย่างมีบูรณาการ

2.ช่วยให้คณะครูได้รู้จักนักเรียนของตนแต่ละคนอย่างลึกซึ้ง ทำให้ยอมรับนักเรียนในฐานะเป็นเอกัตบุคคล เข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น สติปัญญา สภาพร่างกาย ความถนัด ความสนใจ ค่านิยม ทำให้ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนและจิตกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และช่วยให้ปัญหาของโรงเรียนที่เกิดจากนักเรียนลดน้อยลงไปอีกด้วย

3.ช่วยให้บิดามารดาและผู้ปกครองของนักเรียนรู้จักและเข้าใจเด็กของตนดีขึ้น ยอมรับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับบุตรหลานของตนในฐานะที่เป็นบุคคลคนหนึ่งซึ่งแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ และให้ความร่วมมือแก่ทางโรงเรียนในการส่งเสริมพัฒนาบุตรหลานของตน

4.ช่วยให้สังคมและประเทศชาติได้รับประชากรที่มีคุณภาพ ไม่เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและช่วยเพิ่มพูนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเด็กได้เรียนและได้ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตน

ปัญหาของนักเรียนที่ควรได้รับแนะแนว

ปัญหาต่างๆ ของนักเรียนที่เกิดขึ้นและสมควรจะได้รับการแนะแนวนั้นมีอยู่มากมายแต่พอจะจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 8 ประเภท คือ

1.ปัญหาที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายและสุขภาพ

1.1 ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

1.2 สุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว

1.3 รูปร่างไม่ดี ขาดอาหาร อ้วนหรือผอมเกินไป

1.4 การรับประทานอาหาร การดื่ม การออกกำลังกายและการพักผ่อน

1.5 การรักษาความสะอาดและการป้องกันโรค

1.6 การขับถ่ายของเสีย

1.7 การใช้ยา

2.ปัญหาเกียนกับการศึกษาเล่าเรียน เช่น

2.1 ไม่ชอบครูบางคน เนื่องจากดุเกินไป หรือไม่ให้ความยุติธรรม

2.2 ไม่ชอบเรียนวิชาบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย

2.3ขาดนิสัยและทักษะในการเรียนที่จำเป็น เช่น การอ่านหนังสือ การค้นคว้าเขียนรายงาน การ      เตรียมตัวสอบ การทำตารางประจำวัน หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น

2.4 รู้สึกประหม่าเมื่อถูกครูถาม หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น

2.5 ขี้เกียจ ชอบลอกงานเพื่อน ไม่พยามยามทำงานอย่างเต็มความสามารถของตน

2.6 ท้อถอย ไม่สู้งาน ชอบหนีเรียน

3.ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว

3.1 มีความรู้สึกขัดแย้งกับบิดามารดาของตน เนื่องจากถูกบังคับมากเกินไป

          3.2 มีความรู้สึกขาดความอบอุ่น เนื่องจากบิดามารดาไม่เอาใจใส่

3.3 มีความรู้สึกขาดเพื่อน เนื่องจากเป็นลูกคนเดียว

3.4 มีงานต้องช่วยบิดามารดาทำมากเกินไป

3.5 ขาดความสามัคคีในหมู่พี่น้อง

3.6 ไม่ได้รับความยุติธรรมจากบิดามารดา

3.7 ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ดี  มีสภาพบ้านแตก

3.8 บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน

3.9 บิดามารดาปฏิบัติต่อนักเรียนเหมือนเด็กเล็ก

4.ปัญหาด้านการเงิน เช่น

4.1 ขาดผู้อุปการะส่งเสียให้เล่าเรียน

4.2 ต้องทำงานหารายได้ช่วยตนเองเพื่อใช้เป็นทุนในการซื้ออุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน

4.3 ต้องการหารายได้ช่วยเหลือตนเอง

4.4 ต้องการรู้จักวิธีการใช้จ่ายเงินที่เหมาะสม

4.5 ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเป็นก้อน เพื่อตนจะได้รับผิดชอบการใช้จ่ายเอง

4.6 ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเพิ่มขึ้น

5.ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนต่างเพศ

5.1 การปรับตัวด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เช่นความรัก การเกี้ยวพาราสี                                  การกอดจูบ การแต่งงาน

5.2 การมีนัดกับเพื่อนผู้ชายที่เป็นบิดามารดา หรือผู้ปกครองไม่รู้จัก

5.3 บิดามารดาไม่อนุญาตให้ออกไปเทียวกับเพื่อนต่างเพศ

5.4 การปฏิเสธการนัดของเพื่อนต่างเพศ โดยไม่ทำให้เขารู้สึกเจ็บปวด

6.ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสังคม

6.1 ต้องการให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป

6.2 ต้องการเป็นคนที่มีกิริยามารยาทงาม

6.3 ต้องการให้กิริยาท่าทาง การแต่งกาย และน้ำเสียงของตนเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น

6.4 เข้ากับคนอื่นไม่ได้

6.5 อารมณ์อ่อนไหว ใจน้อย โกรธง่าย

6.6 ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

6.7 การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ

6.8 ปรัชญาชีวิต เช่น ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม

6.9 ความเป็นพลเมืองดี

7.ปัญหาเกี่ยวกับการใช้เวลาว่าง

    7.1 การทำตารางประวันเพื่อเป็นการวางแผนใช้เวลาในแต่ละวัน

    7.2 การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ

7.3 การทำงานศิลปะและการฝีมือ

7.4 การสมาคมและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

7.5 การมีเวลาว่างมาก

8.ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพ

8.1 ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจเลือกเรียนต่ออะไรดี

8.2 ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจประกอบอาชีพอะไรดี

8.3 อยากเลือกเรียนอาชีพบางอย่างแต่ขาดทุนทรัพย์

8.4 อยากเรียนต่อแต่ผู้ปกครองจะให้ออกไปประกอบอาชีพเจริญรอยตามผู้ใหญ่

8.5 อยากเรียนวิชาชีพอย่างหนึ่งแต่บิดามารดาต้องการให้เรียนอีกอย่างหนึ่ง

8.6 ขาดความรู้เกี่ยวกับการหางาน

8.7 ขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้าสมัครงาน

ความหมายของการแนะแนว

หลักการแนะแนว . อนนต์  อนนต์ตรังสี. หน้าที่ 1 – 4 . .2521.

คำว่า  “การแนะแนว”  เป็นคำที่บัญญัติขึ้นใช้ให้ตรงกับในภาษาอังกฤษว่า  “ Guidance ”  ซึ่งมีความหมายว่า  “การชี้แนวทาง”  หรือ  “การชี้บ่อทาง”  แต่ความหมายที่แท้จริงนั้น  ได้มีผู้ให้นิยามหรือคำจำกัดไว้มากมายหลายอย่าง  ซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้ต่างกัน  ดังนี้

Carter V. Coodได้อธิบายความหมาย “การแนะแนว” ว่า

1.การแนะแนว คือแบบของการช่วยเหลือที่มีระเบียบแบบแผนอย่างหนึ่ง (นอกเหนือจากการสอนตามปกติ) แก่นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลอื่นๆ เพื่อให้เขารู้จักแสวงหาความรู้ ความฉลาดปราศจากการบังคับใดๆเป็นการนำทางให้เขารู้จักการนำตนเอง

2.การแนะแนว หมายถึงกลวิธีในการนำ เด็กไปสู่จุดหมายที่เขาปรารถนา โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สนองความต้องการมูลฐานของเขา และช่วยให้ความต้องการของเขาสัมฤทธิผล

3.การแนะแนว คือ วิธีการที่สำคัญวิธีหนึ่งในการสอบแบบพิพัฒนาการ (Progressive Teaching) โดยการที่ครูเป็นผู้นำเด็กให้รู้จักค้นคว้า และช่วยให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง

William M. Proctor นักศึกษาของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมาย “การแนะแนว” ไว้ว่า คือบริการซึ่งจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ทั้งที่ยังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนและที่ออกจากโรงเรียนไปแล้ว เพื่อช่วยให้เขาสามารถปรับตนได้ดีที่สุด และรู้จักตัดสินใจในการเลือกอาชีพ สันทนาการ สุขภาพ และการสังคมได้อย่างเหมาะสมที่สุด

Arthur J. Jones กล่าวว่า การแนะแนวหมายถึงการช่วยเหลือให้บุคคลรู้จักสัดสินใจว่า เขาต้องการจะไปที่ไหน เขาต้องการจะทำอะไร ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจได้ว่า เขาจะทำให้ความหวังหรือจุดมุ่งหมายของเขาสัมฤทธิผลโดยสมบูรณ์ได้อย่างไร ช่วยให้เขาสามารถแก้ปัญหาต่างๆซึ่งเขาต้องประสบในชีวิตได้ด้วยดี

Robert H. Knapp นักการศึกษาอีกผู้หนึ่ง กล่าวว่า การแนะแนวเป็นกรรมวิธีที่ซับซ้อน เป็นกรรมวิธีที่ช่วยให้ความต้องการของเด็กได้ประสบผลสำเร็จ ช่วยให้เด็กได้เข้าใจตนเอง รู้จักเลือกและรู้จักปรับตนด้านการเรียน การสังคม ความประพฤติ อารมณ์ สุขภาพ อาชีพ รวมตลอดถึงการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การแนะแนวเป็นกรรมวิธีหรือกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเป็นกระบวนการที่ต้องทำติดต่อกัน เพราะความเจริญเติบโตของเด็กต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา

Leonard Carmichael กล่าวว่า การแนะแนวมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างแยกไม่ออก และเขาสรุปความหมายไว้ดังนี้

1.การศึกษาที่ประสิทธิภาพ ก็คือ การแนะแนว (Effective education is guidance)

2.การศึกษาที่แท้จริง ก็คือการสอนให้คนรู้จักการนำตนเอง (True education is always in a sense self-direction)

3.การแนะแนวที่แท้จริง ก็คือการแนะแนวตนเอง (Realistic guidance is self-guidance)

Lester D. Crow and Alice Crow ไดให้คำนิยามของการแนะแนวว่า การที่ผู้ให้คำปรึกษาที่มีความสามารถ (Competent Counselor) ได้ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลนั้นๆ จะมีอายุในวัยใดๆ ก็ตามให้เขาสามารถช่วยตัวของเขาเองได้ ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ด้วยตนเองได้ และรับผิดชอบในปัญหาต่างๆ ของตนเองได้ด้วย

จากความหมายของการแนะแนวที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ พอจะสรุปได้ว่า การแนะแนวก็คือการบริการอย่างหนึ่งซึ่งโรงเรียนจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนแต่ละคนให้รู้จักตนเองอย่างดี รู้ถึงความสามารถและขอบเขตแห่งความสามารถของตน ตลอดจนรู้โอกาสและช่องทางต่างๆ ที่จะใช้ความสามารถที่ตนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และแก่สังคมที่อาศัยอยู่ให้มากที่สุดเท่ามีจะมากได้ หรืออาจสรุปให้เป็นข้อความที่สั้นที่สุดได้ว่าคือการช่วยเหลือนักเรียนให้รู้จักช่วยตนเอง

จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของการแนะแนว เพ่งไปที่การช่วยนักเรียนแต่ละคนให้สามารถแก้ปัญหาสามารถเลือกสามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างที่สุด อย่างฉลาดที่สุด สามารถดำเนินชีวิต และปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ ให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี จนมีความสุข ความเจริญและความก้าวหน้าในชีวิต

ปรัชญาของการแนะแนว

บริการแนะแนวที่ถือปฏิบัติกันอยู่ในเวลานี้ ได้อาศัยทัศนะหรือแนวคิดดังต่อไปนี้เป็นรากฐานคือ

1.บุคคลแต่ละคนที่เกิดมาย่อมมีความแตกต่างกันทั้งในทางร่างกาย สังคม อารมณ์ ความรู้ เชาว์ ความถนัดตามธรรมชาติ เจตนคติ ความสนใจ ความสามารถ ฯลฯ และระดับของคุณสมบัติต่างๆ ก็ไม่เสมอหรือเท่าเทียมกัน อันมีผลกระทบไปถึงความสามารถที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมในด้านต่างๆ กัน ถ้าบุคคลทุกคนได้ใช้ธรรมชาติที่มีมาในทางที่เหมาะสม ก็ย่อมจะประสบในความก้าวหน้า และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมเป็นอเนกประการณ์ แต่ถ้าใช้ฝืนธรรมชาติ ผลที่ได้รับย่อมตรงกันข้าม

2.มนุษย์เป็นทรัพยาการที่มีค่าสูงยิ่ง ฉะนั้น โรงเรียนก็ดี หรือสถาบันต่างๆในสังคมก็ดี จะต้องร่วมมือกันพัฒนาคนให้เจริญขึ้นในทุกๆ ด้าน เพื่อเป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) เพื่อจะได้ใช้พลังมนุษย์ให้ได้ผลสูงสุด

3.บุคคลจะมีความสุขก็ในเมื่อแต่ละบุคลได้รับการศึกษาจนสุดขีดแห่งสติปัญญาและความสามารถของเขา มีแผนการดำเนินชีวิตที่ถูกหลักวิชา สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งกำลังเผชิญหน้าอยู่และซึ่งอาจจะต้องเผชิญในอนาคต และใช้ความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และต่อสังคมให้มากที่สุด

4.บุคคลทุกคนย่อมต้องการความช่วยเหลือไม่มากก็น้อย ไม่คราวใดก็คราวหนึ่งในชีวิต คนบางคนต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นบ่อยๆ และบางคนก็ต้องการความช่วยเหลืออยู่ตลอดชีวิต แต่บางคนต้องการความช่วยเหลือเฉพาะบางช่วงของชีวิตซึ่งมีปัญหาหรือมีความทุกข์เกิดขึ้นเท่านั้น สำหรับเยาวชนหรือนักเรียนซึ่งยังอ่อนต่อโลกนั้น ย่อมจะแก้ปัญหาต่างๆ ตามลำพังตนเองได้โดยยาก จึงจำเป็นย่อมได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการแก้ปัญหา หรือการสนองความต้องการต่างๆของตน

5.บุคคลแต่ละคนย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว ถ้าหากได้รับการชี้ช่องทางหรือแนวทางที่ถูกที่ควร เขาก็สามารถช่วยตัวของตัวเองได้ หรือเจริญงอกงามไปในทางที่ดีได้

4.หลักที่สำคัญของการแนะแนว (Principles of Guidance)

หลักสำคัญๆ ของการแนะแนวที่ควรยึดถือในการดำเนินงานมีดังนี้

4.1 การแนะแนวเป็นงานส่วนหนึ่งของงานจัดการศึกษาจะแยกจากกันมิได้ยากที่จะขีดเส้นแบ่งลงไปว่า นี่เป็นงานด้านการเรียนการสอน และนี่คือการแนะแนว เพราะงานแนะแนวย่อมสอดแทรกอยู่ในงานด้านการเรียนการสอน และการอบรมนักเรียนของโรงเรียนด้วย เป็นงานบริการที่ช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่ถูกต้อง

4.2 การแนะแนวจัดขึ้นเพื่อบุคคลแต่ละคน จึงเป็นการช่วยเหลือสังคมไปด้วยเพราะสังคมย่อมประกอบขึ้นด้วยตัวบุคคล

4.3 การแนะแนวเป็นกระบวนการที่ต้องมีอยู่ตลอดชีวิตของคนเรา บิดา มารดา ญาติพี่น้องมิตรสหายของเรา ครู พระสงฆ์ ตลอดจนผู้ชำนาญการในสาขาวิชาชีพต่างๆ จำเป็นต้องให้ความอนุเคราะห์ตามสมควร แต่ถ้าหากบุคคลเรามีปัญหาส่วนตัวที่สำคัญ อาจต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญพิเศษในด้านนั้นๆ เป็นผู้ให้การช่วยเหลือหรือแนะแนวโดยเฉพาะ

4.4 การแนะแนว เน้นความสำคัญในเรื่องการเข้าใจตนเอง (Self-understanding) การตัดสินใจด้วยตนเอง (Self-determination) และการปรับตนของตนเอง (Self-adjustment) ผู้แนะแนวควรยอมรับว่า บุคคลแต่ละคนย่อมมีคุณค่าและมีความสามารถติดมากับตัวผู้แนะแนวจึงควรพยายามหาทางให้ผู้รับแนะแนวได้รู้ความจริงเกี่ยวกับตนเองซึ่งผู้รับอาจแนะนำตัวของตัวเองไม่ออก หรืออาจไม่เข้าใจตนเองในตอนแรก เมื่อเขาได้รับการแนะแนวที่ถูกทางแล้ว เขาย่อมช่วยตัวของเขาเองได้ พึ่งตนเองได้ในที่สุด

4.5 การแนะแนะควรจะเน้นในเรื่องการป้องกันการปรับตัวไม่เข้าหรือการปรับปรุงตัวคลาด (Prevention of maladjustment) ยิ่งกว่าการแก้ไขหรือการรักษา บริการแนะแนวนั้นควรจัดเพื่อนักเรียนทุกคน คือทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่ปรับตัวไม่เข้าด้วย อันที่จริงนั้นงานแนะแนวมุ่งหมายให้บริการแก่นักเรียนประเภทที่เรียกว่า นักเรียนระดับปานกลาง นักเรียนทั่วไป หรือนักเรียนปกติ (average, typical, or norrnalpupil) เพราะนักเรียนที่เป็นเด็กปกตินั้นก็ย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสามารถ ความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ ความต้องการและลักษณะอื่นๆด้วย

4.6 ผู้ที่ทำหน้าที่แนะแนวจะต้องผู้ที่มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและแปลความหมายของข้อมูลต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนจะต้องจัดเก็บไว้อย่างมีระเบียบ และพร้อมที่จะหยิบใช้ได้ในเมื่อถึงคราวที่จะต้องนำเอาออกมาใช้

4.7 การแนะแนวเป็นกระบวนการรวม (Unified process) ซึ่งในการพิจารณาทั้งคนหรือทั้งตัว (as a whole) ดังนั้นจึงควรพิจารณากันถึงการแนะแนวชีวิต (Life guidance) มากกว่าการที่จะมาพิจารณากันว่าตอนนี้ตอนนั้นเป็นการแนะแนวการศึกษา การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวสุขภาพ การแนะแนวการใช้เวลาว่าง การแนะแนวปัญหาส่วนตัว การแนะแนวเศรษฐกิจ หรือการแนะแนวอื่นๆ เพราะการแนะแนวย่อมช่วยให้บุคคลเราเกิดการบูรณาการ (Integration) ในเรื่องต่างๆ ของชีวิตรอบด้าน

4.8 ในการดำเนินการแนะแนวนั้น ถ้าจะให้ได้ผลดีประสิทธิภาพจะต้องได้ผู้บริหารที่ดีมีความสามารถในการเป็นผู้นำ กล่าวคือผู้บริหารงานนับตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมต่างๆ ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการอำเภอ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ตลอดจนผู้ช่วยครูใหญ่ เหล่านี้จะต้องให้การสนับสนุนและร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงานตามแนะแนวที่จัดตั้งขึ้นในสถาบันการศึกษาต่างๆ

4.9 ครูทุกๆ คนในโรงเรียนจะต้องมีบทบาทหรือมีหน้าที่บางประการในโครงการแนะแนวของโรงเรียน การแนะแนวมิใช่บริการให้ความช่วยเหลือของบุคคลผู้ทำหน้าที่แนะแนวโดยเฉพาะเพียงคนหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น การแนะแนวเป็นบริการของครูในโรงเรียนทั้งคณะ (Guidance is staff service) ซึ่งครูทุกๆ คนจะต้องให้ความร่วมมือตามควรแก่ตำแหล่งหน้าที่ บริการแนะแนวจะดีได้จะต้องอาศัยบุคลากรของโรงเรียนทั้งหมด (the entire school personnel) บทบาทหรือหน้าที่ของบุคลากรทั้งหลายในโครงการแนะแนวของโรงเรียนมีอย่างไรบ้าง จะต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจน ครูทุกๆคนในโรงเรียนจะต้องทราบดีว่าบริการแนะแนวจัดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อันใดบ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวทุกๆ คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูประจำชั้น จำเป็นต้องได้รับการศึกษาหรือฝึกอบรมเกี่ยวกับการแนะแนวด้วย การฝึกอบรมอาจจะใช้วิธีฝึกอบรมในงาน หรือที่เรียกว่าฝึกในระหว่างประจำการ (In-service training) ก็ได้ ถ้าหากวิธีหมุนเวียนส่งไปเข้ารับการอบรมวิชาการแนะแนวก็ได้จะเป็นวิธีที่ดี

4.10 การแนะแนวจะได้ผลดีก็ต่อเมื่อได้บุคลาการแนะแนวที่มีคุณสมบัติดี ได้รับการฝึกอบรมแล้วเป็นอย่างดีเป็นผู้ดำเนินงาน ความเข้าใจของบางคนที่ว่าใครๆ ก็ทำหน้าที่แนะแนวได้นั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด เท่าๆ กับที่เข้าใจว่าผู้ชำนาญการแนะแนวเท่านั้นจึงจะแนะแนวได้ จริงอยู่ผู้ที่ฝึกตนเองโดยศึกษาจากตำราหรือวารสารต่างๆ เกี่ยวกับการแนะแนว อาจจะทำการแนะแนวได้พอสมควร แต่จะตั้งตนเป็นผู้ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลโดยไม่ได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการแนะแนวให้สูงพอแล้วอาจเป็นอันตรายแก่นักเรียนได้ เพราะการแนะแนวเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะซึ่งต้องศึกษาเล่าเรียนกันจริงจัง

4.11 โครงการแนะแนวจะให้ผลดีก็ต่อเมื่อได้จัดให้มีบริการต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็นไว้ในโครงการ เช่น บริการสำรวจตัวนักเรียน (Individual inventory service) บริการสนเทศ (Information service) บริการให้คำปรึกษา (Counseling service) บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement service) บริการติดตามผล (Follow-up service) บริการแก่คณะครู (Service to the staff) บริการด้านวิจัย (Research service) และบริการประเมินผล (Evaluation service) เป็นต้น

4.12 ในการดำเนินงานแนะแนวนั้น ควรมีการประเมินผลงานของโครงการแนะแนวเป็นระยะๆ เพื่อดูว่าโครงการแนะแนวของโรงเรียนที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ผลแก่พฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างไรบ้าง มีข้อบกพร่องที่สมควรแกไขปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

การให้คำปรึกษา (Counseling)

ผศ. ดร. ทศพร  ประเสริฐสุข

http://www.google.co.th/url?sa=t&source=web&cd=2&ved=0CB4QFjAB&url=http%3A%2F%2Fimages.jibsutthinun.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FSq8EngoKCnoAAEOsQ6o1%2F%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B0%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A7.doc%3Fkey%3Djibsutthinun%3Ajournal%3A20%26nmid%3D283249479&rct=j&q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7&ei=f7kZTdOuDtDtrQfk2LD7Cw&usg=AFQjCNEeciRQKqIyUxwFuEJLf_a4Y152sQ&cad=rja.สืบค้นเมื่อวันที่28/12/2010.

ความหมาย

กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอคำปรึกษา เพื่อให้เขาได้ใช้ความสามารถที่เขามีอยู่จัดการกับปัญหาของเขาได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้

กระบวนการให้คำปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 3 ประการ

1. ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)

2. ผู้มาขอรับคำปรึกษา (Counselee)

3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee

จิตวิทยาการให้คำปรึกษา

ต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

1. การเข้าใจตนเอง (Counselor)

2. การเข้าใจผู้มาของรับการปรึกษา

3. การเข้าใจธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ (Human interaction Model)

4. เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา

5. เข้าใจลักษณะการให้คำปรึกษา จรรยาบรรณการให้คำปรึกษา

6. ขั้นตอนการให้คำปรึกษา

7. เทคนิคการคำปรึกษา

8. ฝึกปฏิบัติ (Practicum)

คนที่จะประสบความสำเร็จ

ต้องเก่งอย่างน้อย 3 เก่ง

1.เก่งงาน (Task Ability)

คุณสมบัติของคนเก่งงาน

                1.1 ต้องมีความรู้และความชำนาญในงานนั้น

                1.2 ต้องมีความรับผิดชอบสูง

                1.3 รวดเร็ว ถูกต้อง

                1.4 มองการณ์ไกล มี Vision

2.เก่งคน (Social Ability)

คุณสมบัติของคนเก่งคน

                2.1 เข้าใจตน เข้าใจคนอื่น

                2.2 ปรับตน ปรับคนอื่น

3.เก่งคิด (Conceptual Ability)

Human Approaching

U  =p+c  (พูดน้อย)

N  =p+l+c

O  =  L+C  (พูดมาก)

C = Concern ให้ความสำคัญ - เป็นสิ่งที่ครูควรจะปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก

P = Persuasion ชักชวนพูดคุย หลัก พูดเรื่องของเขา, อย่าขัดคอ, คุยเรื่องที่เขาเด่น/เก่ง, คุย                    เรื่องแปลก

L = Listening การฟัง หลัก ตั้งใจ สนใจ ฟัง, สายตามองคู่สนทนาแต่ไม่จ้อง, แสดงอาการตอบ                  รับ ทั้งกายและวาจา, ทวนคำ

ชนิดของปัญหา (3 Kinds of Problems)

       1. ข้อเท็จจริง (Factual Problem) เช่น ปัญหารถสตาร์ทไม่ติด

       2. อารมณ์ (Emotional Problem) เช่น ปัญหาคู่สมรส

       3. ผลประโยชน์ (Beneficial Problem)

ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา

      1. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)

      2. เริ่มต้นการให้คำปรึกษา (Opening the Interview)

      3. การกำหนดปัญหา (Setting Problems)

4. การรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)

5. การร่วมแก้ปัญหา (Solving the Problem)

6. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

7. ขั้นสรุปและปิดการสนทนา (Summarization & Closed Case)

เทคนิคการให้คำปรึกษา

1. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)

2. การถาม (Asking)

3. การฟัง (Listening)

4. การให้ความกระจ่าง (Clarification)

5. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

6. การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)

7. การสะท้อนเนื้อหา (Reflection of Content)

8. การสรุป (Summarization)

9. การเงียบ (Silence)

การให้คำปรึกษาวัยรุ่น(Counseling for Teenager)

ผศ. นพ. พนม เกตุมาน  สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.psyclin.co.th/new_page_55.htm.สืบค้นเมื่อวันที่28/12/2010.

                การให้คำปรึกษา  คือการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้  ด้วยการใช้เทคนิคต่าง  ของการสร้างความสัมพันธ์  การสื่อสาร  ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา  ประกอบด้วย  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี   การสำรวจปัญหา และเลือกเรื่องที่จะทำงานร่วมกัน  การประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ  การแก้ปัญหากระตุ้นให้มองหาทางเลือก  ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ และการให้ตัดสินใจ การทดลองปฏิบัติ และติดตามผลด้วยตนเอง         ก่อนจะยุติการช่วยเหลือ

                การให้คำปรึกษาวัยรุ่น นอกจากจะมีความรู้และทักษะการให้คำปรึกษาแล้ว  ควรมีความรู้ความเข้าใจวัยรุ่น  ได้แก่พัฒนาการตามปกติของวัยรุ่น  ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในวัยรุ่น

พัฒนาการปกติของวัยรุ่น

วัยรุ่น จะเริ่มต้นตอนอายุประมาณ  12-13 ปี  แม้ว่าบางคนจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว  เช่น  บางคนอายุ  9-10  ปีอาจเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว  ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ  สมัยนี้มีแนวโน้มจะเป็นวัยรุ่นเร็วกว่าสมัยก่อน  เนื่องจากความสมบูรณ์ทางร่างกายที่ดีขึ้น   เพศหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเพศชายประมาณ 2 ปี ในชั้นประถมปลาย  ป.5-6  จะเห็นผู้หญิงจะเป็นสาวมากกว่าผู้ชาย   เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว  พัฒนาการของวัยรุ่นจะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ  18 ปี จึงจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่  ในช่วงวัยรุ่นนี้จะสังเกตตัวเองได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  ในพัฒนาการด้านต่างๆ  ดังนี้

1.พัฒนาการทางร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย   การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั่วไป  และการเปลี่ยนแปลงทางเพศ   เนื่องจากวัยนี้ มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนของการเจริญเติบโตอย่างมากและรวดเร็ว

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย   ร่างกายจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แขนขาจะยาวขึ้นก่อนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอื่นประมาณ 2 ปี เพศหญิงจะไขมันมากกว่าชาย   ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่า  ทำให้เพศชายแข็งแรงกว่า

การเปลี่ยนแปลงทางเพศ  สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน  คือวัยรุ่นชายจะเป็นหนุ่มขึ้น  นมขึ้นพาน(หัวนมโตขึ้นเล็กน้อย  กดเจ็บ)  เสียงแตก  หนวดเคราขึ้น  และเริ่มมีฝันเปียก (การหลั่งน้ำอสุจิในขณะหลับและฝันเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ)  การเกิดฝันเปียกครั้งแรกเป็นสัญญานของการเข้าสู่วัยรุ่นของเพศชาย  ส่วนวัยรุ่นหญิงจะเป็นสาวขึ้น  คือ เต้านมมีขนาดโตขึ้น  ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รูปร่างมีทรวดทรง  สะโพกผายออก  และเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก    การมีประจำเดือนครั้งแรก เป็นสัญญานบอกการเข้าสู่วัยรุ่นในหญิง

ทั้งสองเพศจะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ  ซึ่งจะมีขนาดโตขึ้น และเปลี่ยนเป็นแบบผู้ใหญ่  มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ  มีกลิ่นตัว  มีสิวขึ้น

2. พัฒนาการทางจิตใจ

สติปัญญา  วัยนี้สติปัญญาจะพัฒนาสูงขึ้น  อย่างมาก  และรวดเร็ว  จนมีความคิดเป็นแบบรูปธรรม  นั่นคือมีความสามารถเรียนรู้  เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ  ได้ลึกซึ้งขึ้น   มีความสามารถในการคิด  วิเคราะห์  และสังเคราะห์สิ่งต่างๆได้มากขึ้นตามลำดับ   จนเมื่อพ้นวัยรุ่นแล้ว  จะมีความสามารถทางสติปัญญาได้เหมือนผู้ใหญ่  แต่ในช่วงระหว่างวัยรุ่นนี้ ความคิดยังอาจขาดความรอบคอบ  ขาดการยั้งคิดหรือไตร่ตรองให้รอบคอบ   มีความคิดที่รวดเร็วแบบหุนหันพลันแล่นมากกว่า  เมื่อโตขึ้นกว่านี้  จะมีความคิดที่สมบูรณ์ขึ้น  คิดรอบด้านได้มากขึ้น  โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆในชีวิตนั่นเอง

ความคิดเกี่ยวกับตนเอง   วัยนี้จะเริ่มมีความสามารถในการรับรู้ตนเอง ด้านต่างๆ   ดังนี้

เอกลักษณ์  จะเริ่มแสดงออกถึงสิ่งตนเองชอบ  สิ่งที่ตนเองถนัด  ซึ่งจะแสดงถึงความเป็นตัวตนของเขาที่โดดเด่น  ได้แก่  วิชาที่ชอบเรียน  กีฬาที่ชอบเล่น  งานอดิเรก  การใช้เวลาว่างให้เกิดความเพลิดเพลิน   กลุ่มเพื่อนที่ชอบและสนิทสนมด้วย  โดยจะเลือกคบคนที่มีส่วนคล้ายคลึงกัน  หรือเข้ากันได้   และจะเกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดแบบอย่างจากกลุ่มเพื่อนนี้เอง  ทั้งแนวคิด  ค่านิยม  ระบบจริยธรรม  การแสดงออกและการแก้ปัญหาในชีวิต  จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ของตน  และกลายเป็นบุคลิกภาพนั่นเอง   สิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ตนเองยังมีอีกหลายด้าน  ได้แก่  เอกลักษณ์ทางเพศ แฟชั่น  ดารา  นักร้อง  การแต่งกาย    ทางความเชื่อในศาสนา  อาชีพ  คติประจำใจ  เป้าหมายในการดำเนินชีวิต   วัยรุ่นที่ไม่เกิดเอกลักษณ์ของตน  จะมีความสับสนในตนเอง  ขาดแนวทางหรือเป้าหมายในชีวิตตน และขาดความสุขในการการดำเนินชีวิตต่อไป

การได้รับการยอมรับจากผู้อื่น   วัยนี้ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนอย่างมาก  การได้รับการยอมรับจะช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคง  ปลอดภัย  เห็นคุณค่าของตนเอง  มั่นใจตนเอง  วัยนี้จึงมักอยากเด่นอยากดัง อยากให้มีคนรู้จักมากๆ    อาจทำอะไรเพื่อให้คนอื่นสนใจ ถ้ามีจุดดีจุดเด่นให้เพื่อนๆยอมรับได้  จะเป็นที่รักของเพื่อนๆ  การมีจุดเด่นนี้  ไม่จำเป็นต้องดีเด่นชนะคนอื่น  ไม่ควรจะเด่นจากการแข่งขันให้เหนือกว่าใครๆ  แต่สามารถดีเด่นในเรื่องการเป็นคนดี  มีประโยชน์  โอบอ้อมอารี  เต็มใจช่วยเหลือเพื่อน  มองเพื่อนในแง่ดี  มีการสื่อสารที่ดีต่อกัน

ความภาคภูมิใจตนเอง   วัยรุ่นจะพอใจและภูมิใจ  ที่ตนเองเป็นที่ยอมรับของเพื่อนและคนอื่นๆได้  รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า  เป็นคนดีและมีประโยชน์แก่ผู้อื่นได้  ทำอะไรได้สำเร็จ  การทำประโยชน์แก่เพื่อนๆ  เป็นทักษะสำคัญที่ควรมี  การมีเพื่อนดี  จะช่วยกันสร้างความภาคภูมิใจให้แก่กันได้  การเลือกคบเพื่อนที่ดี  เพื่อนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  จะช่วยให้มีความภูมิใจตนเองได้

ความเป็นตัวของตัวเอง   วัยนี้จะรักอิสระ  เสรีภาพ ไม่ค่อยชอบอยู่ในกฎเกณฑ์กติกาใดๆ  ชอบคิดเอง  ทำเอง  พึ่งตัวเอง  เชื่อความคิดตนเอง   มีปฏิกิริยาตอบโต้ผู้ใหญ่(เช่นพ่อแม่  หรือครูอาจารย์)ที่บีบบังคับสูง    ความอยากรู้อยากเห็นอยากลองจะมีสูงสุดในวัยนี้  ทำให้อาจเกิดพฤติกรรมเสี่ยงได้ง่าย  บางคนจะขาดการยั้งคิดที่ดี  เมื่อตัวเองคิดอย่างไรแล้วก็อยากจะทำตามความคิด  โดยขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบ  จึงต้องระมัดระวังตัว  สร้างและแสดงความเป็นตัวของตัวเอง  โดยมีการควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎเกณฑ์กติกาของส่วนรวมด้วย

การควบคุมตนเอง   วัยนี้จะเรียนรู้ที่จะควบคุมความคิด  ควบคุมอารมณ์  ควบคุมการกระทำ  ให้อยู่ในกรอบกติกา  ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  การรู้จักยั้งคิด การคิดให้เป็นระบบ  จะเป็นประโยชน์ที่ทำให้สามารถใช้ความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

อารมณ์   หลายคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีอารมณ์ปั่นป่วน  เปลี่ยนแปลงง่าย  หงุดหงิดง่าย  เครียดง่าย  โกรธง่าย   อาจเกิดอารมณ์ซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุได้ง่าย  อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมเกเร  ก้าวร้าว   มีผลต่อการเรียนและการดำเนินชีวิตได้ ในวัยรุ่นตอนต้น  การควบคุมอารมณ์ยังไม่ค่อยดีนัก  บางครั้งยังทำอะไรตามอารมณ์ตัวเองอยู่บ้าง  แต่จะค่อยๆดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น  นอกจากนี้จะมีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ทางเพศ   ทำให้มีความสนใจใฝ่รู้เรื่องทางเพศ  หรือมีพฤติกรรมทางเพศ  เช่น  การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง  เป็นการระบายความรู้สึกทางเพศ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติในวัยนี้  แต่พฤติกรรมบางอย่างอาจเป็นปัญหาตามมา เช่น  เบี่ยงเบนทางเพศ กามวิปริต หรือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น  ควรรู้ว่า  ควรควบคุมอารมณ์อย่างไรดี   เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในวัยนี้

จริยธรรม   วัยนี้จะมีความคิดเชิงอุดมคติสูง  เพราะสามารถแยกแยะความผิดชอบชั่วดีได้  มีระบบมโนธรรมของตนเอง   ต้องการให้เกิดความถูกต้อง  ความชอบธรรมในสังคม  ชอบช่วยเหลือผู้อื่น   ต้องการเป็นคนดี  เป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น    และจะรู้สึกอึดอัดคับข้องใจกับความไม่ถูกต้องในสังคม  หรือในบ้าน  แม้แต่พ่อแม่ของตนเองก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้ดีสมบูรณ์แบบเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว  บางครั้งอาจจะแสดงออก  วิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่หรือ ครูอาจารย์ตรงๆอย่างรุนแรง  การต่อต้าน  ประท้วงจึงเกิดได้บ่อยในวัยนี้เมื่อวัยรุ่นเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง  หรือมีการเอาเปรียบ เบียดเบียน  ความไม่เสมอภาคกัน   ในวัยรุ่นตอนต้นการควบคุมตนเองอาจยังไม่ดีนัก  แต่เมื่อพ้นวัยรุ่นนี้ไป  การควบคุมตนเองจะดีขึ้น  จนเป็นระบบจริยธรรมที่สมบูรณ์เหมือนผู้ใหญ่

3. พัฒนาการทางสังคม

วัยนี้จะเริ่มห่างจากทางบ้าน  ไม่ค่อยสนิทสนมคลุกคลีกับพ่อแม่พี่น้องเหมือนเดิม  แต่จะสนใจเพื่อนมากกว่า  จะใช้เวลากับเพื่อนนานๆ  มีกิจกรรมนอกบ้านมาก  ไม่อยากไปไหนกับทางบ้าน   เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม  สนใจสังคมสิ่งแวดล้อม  ปรับตัวเองให้เข้ากับกฎเกณฑ์กติกาของกลุ่ม  ของสังคมได้ดีขึ้น   มีความสามารถในทักษะสังคม  การสื่อสารเจรจา  การแก้ปัญหา  การประนีประนอม  การยืดหยุ่นโอนอ่อนผ่อนตามกัน  และการทำงานร่วมกับผู้อื่น  พัฒนาการทางสังคมที่ดีจะเป็นพื้นฐานมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  และบุคลิกภาพที่ดี  การเรียนรู้สังคมจะช่วยให้ตนเองหาแนวทางการดำเนินชีวิตที่เหมาะกับตนเอง  เลือกวิชาชีพที่เหมาะกับตน  และมีครอบครัวที่ดี  ช่วยกันดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อตนเองและส่วนรวมในอนาคตต่อไป

เป้าหมายของการพัฒนาวัยรุ่น

เป้าหมายของพัฒนาการวัยรุ่น  ควรประกอบด้วย   

          1. ร่างกายที่แข็งแรง  ปราศจากความบกพร่องทางกาย  มีความสมบูรณ์  มีภูมิต้านทานโรคและปราศจาภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางกายต่างๆ  ควรเอาใจใส่กับร่างกาย  ไม่ปล่อยให้อ้วนไป  ผอมไป  หรือขาดอาหารบางอย่าง  ควรมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ให้ร่างกายสดชื่น  แข็งแรง  มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ

2. เอกลักษณ์แห่งตนเองดี มีทักษะส่วนตัว  และทักษะสังคมดี  มีบุคลิกภาพดี   มีเอกลักษณ์ส่วนตัว  และเอกลักษณ์ทางเพศเหมาะสม     มีการเรียนและอาชีพ ได้ตามศักยภาพของตน  ตามความชอบความถนัด และความเป็นไปได้  ทำให้มีความพอใจต่อตนเอง     การดำเนินชีวิต  สอดคล้องกับความชอบความถนัด  มีการผ่อนคลาย  กีฬา  งานอดิเรก  มีความสุขได้โดยไม่เบียดเบียนคนอื่น  มีการช่วยเหลือคนอื่นและสิ่งแวดล้อม มีมโนธรรมดี  เป็นคนดี

3.มีการบริหารตนเองได้ดี  สามารถบริหารจัดการตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น

4.มีความรับผิดชอบ   มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง  ต่อผู้อื่น  ต่อประเทศชาติ และต่อสิ่งแวดล้อมได้ดี

5.มีมนุษย์สัมพันธ์กับคนอื่นได้ดี  เลือกคบเพื่อนที่ดี  รักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ได้ยืนยาว

ความหมายของการให้คำปรึกษา

กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษา  ใช้เทคนิคการสื่อสาร  ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงสาเหตุของปัญหา ใช้ศักยภาพของ ตนเองในการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

ประเภทของการให้คำปรึกษา

1.Informative counseling

2.Directive counseling

3. Advocacy counseling

4. Supportive counseling

หลักการให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือรูปแบบหนึ่ง  ที่อาศัยความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษา  เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา ได้ความรู้และทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นอย่างเพียงพอมีสภาพอารมณ์และจิตใจที่พร้อมจะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง

วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา จึงประกอบด้วยการช่วยให้วัยรุ่น

1.เกิดแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูล

2.เข้าใจและเห็นปัญหาของตนเอง

3.อยากแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาตนเอง

4.ดำเนินการแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาตนเอง

เทคนิคการให้คำปรึกษา

 เทคนิคการให้คำปรึกษา  สามารถนำมาใช้ตั้งแต่เริ่มการสัมภาษณ์วัยรุ่น ขั้นตอน ดังนี้

1.การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

2. การสำรวจลงไปในปัญหา หรือสาเหตุที่ทำให้ต้องมาพบกัน

3.สรุปและเลือกประเด็นที่สำคัญร่วมกัน  ที่จะทำงานร่วมกัน

4.ตั้งเป้าหมายในการทำงานต่อไปด้วยกัน  คือการแก้ไขปัญหา

5.การดำเนินการช่วยเหลือ การฝึกฝนทักษะต่างๆ

6. การสรุปและยุติการให้คำปรึกษา

เทคนิคที่ใช้

เทคนิคการให้คำปรึกษา ตามลำดับขั้นมีดังนี้

1.การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

การจัดสิ่งแวดล้อม  ห้องตรวจควรความมิดชิด เป็นสัดส่วน ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีคนเดินผ่านบรรยากาศมีความสงบและเป็นกันเองท่านั่ง  ควรเป็นลักษณะตั้งฉากกัน ไม่ควรเผชิญหน้ากันตรงๆ  เยื้องกันเล็กน้อย ใกล้กันพอที่จะแตะไหล่ได้   ก่อนการเริ่มต้นสัมภาษณ์  ควรจัดลำดับการสัมภาษณ์ให้ดี  (ควรพบวัยรุ่นพร้อมพ่อแม่สั้นๆ  เพื่อทำความเข้าใจปัญหาเบื้องต้นก่อน  หลังจากนั้นจึงขอสัมภาษณ์วัยรุ่นตามลำพัง) เปิดการสนทนานำให้เกิดความผ่อนคลาย เป็นกันเอง(small talk) “วันนี้มากันกี่คนครับ  มาอย่างไร  รถติดหรือไม่  นั่งรอนานหรือไม่  อากาศเป็นอย่างไร...ฯลฯ” แนะนำตัวเอง  สถานที่ วัตถุประสงค์ของการคุยกัน  เวลาที่จะคุยกัน“ผมชื่อ........ เป็นแพทย์ทำงานที่นี่”

                “ห้องนี้เป็นห้องสัมภาษณ์  มีหมอและผู้ช่วยอีกหนึ่งคนเท่านั้น  ห้องนี้มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด แต่ขณะนี้หมอจะไม่ใช้   ถ้ามีการใช้เมื่อใดจะขออนุญาตทุกคนก่อนทุกครั้ง”

                “ช่วงแรกนี้ หมอขอคุยด้วยกับทุกคนทั้งหมดสั้นๆก่อน  หลังจากนั้นจะขอคุยส่วนตัวกับ........(ชื่อวัยรุ่น)ตอนหลัง”

                “วันนี้มีใครมากันบ้าง    หมออยากรู้จักทุกคน ขอให้ช่วยแนะนำตัวกันก่อน ดีไหมครับ”

การสัมภาษณ์วัยรุ่น  แพทย์ควรแนะนำครอบครัวว่า  จะขอสัมภาษณ์วัยรุ่นตามลำพังด้วย  ถ้ามีสิ่งที่วัยรุ่นไม่กล้าเล่ากับพ่อแม่  เขาจะได้มีโอกาสพูดได้อย่างสบายใจ และเป็นเรื่องปกติที่แพทย์จะขอคุยกับวัยรุ่นตามลำพัง

                “หมอขอคุยกับ.....   ตามลำพังสักครู่   หลังจากนั้นจะขอคุยกับพ่อแม่ในตอนท้ายอีกที”

การพบกับพ่อแม่ในช่วงสุดท้าย  เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมด และอาจมีสิ่งที่พ่อแม่อยากเล่าให้แพทย์ฟังเพิ่มเติมที่ไม่อยากเล่าต่อหน้าเด็ก ช่วงสุดท้ายจะเป็นโอกาสที่แพทย์สรุปผลที่ได้ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ และวางแผนการช่วยเหลือต่อไป ก่อนจบควรเปิดโอกาสให้พ่อแม่ซักถาม

การใช้ภาษาพูด  น้ำเสียง  การเน้นคำ  การใช้ สรรพนาม  การทำความเข้าใจภาษาของวัยรุ่น  ควรใช้ภาษาที่เข้าใจกันง่าย เป็นกันเอง พยายามเข้าใจและยอมรับภาษาวัยรุ่น แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาวัยรุ่น

·        เรื่องที่วัยรุ่นไม่อยากเล่าในช่วงแรก แพทย์ควรข้ามไปก่อน แต่ทิ้งท้ายไว้ว่ามีความสำคัญที่น่าจะกลับมาคุยกันอีกในโอกาสต่อไป

        “เรื่องนี้น่าสนใจมาก อาจมีส่วนสำคัญทีเดียว   แต่....ยังไม่อยากเล่าในตอนนี้ ก็ไม่เป็นไร เอาไว้เมื่อพร้อมที่จะเล่าแล้วค่อยเล่าก็ได้ หมอจะขอคุยเรื่องอื่นก่อน แล้วจะขอย้อนกลับมาคุยเรื่องนี้ตอนหลัง ดีไหม”

·        การใช้ภาษากาย การสัมผัส สีหน้า แววตา  ท่าทาง ให้เกิดความเป็นกันเอง อยากเข้าใจ อยากช่วยเหลือ ไม่ตัดสินความผิด หรือแสดงการไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมหรือสิ่งที่วัยรุ่นเปิดเผย

2. การสำรวจลงไปในปัญหา หรือสาเหตุที่ทำให้ต้องมาพบ

การรักษาความลับ(confidentiality) ก่อนการสำรวจลงลึกในประเด็นปัญหา  ควรสังเกตท่าที  ความร่วมมือ  การเปิดเผยข้อมูล  ว่าวัยรุ่นมีความไว้วางใจแพทย์มากน้อยเพียงไร  มีเรื่องใดที่วัยรุ่นยังกังวล เช่นเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลของวัยรุ่น ควรให้ความมั่นใจเรื่องนี้

                “เรื่องที่คุยกันนี้  หมอคงไม่นำไปบอกพ่อแม่ หรือคนอื่นๆฟัง   ถ้ามีเรื่องที่หมอจะบอกพ่อแม่  หมอจะขอบอก....ก่อน และเรื่องที่จะบอกคงเป็นเรื่องที่.....ยินยอมแล้ว”

เทคนิคการถาม  ในตอนต้นควรสอบถามถึงความเข้าใจถึงการมาพบแพทย์  มาได้อย่างไร  พ่อแม่บอกว่าอย่างไร  คิดอย่างไรในตอนแรก

“เมื่อสักครู่พ่อแม่เล่ามา  คิดอย่างไรบ้าง  มีตอนไหนที่ไม่เห็นด้วย  ไม่เป็นความจริงบ้างหรือไม่  มีอะไรที่จะเล่าเพิ่มเติมตรงไหนอีกบ้าง”

                 “ช่วยเล่าให้หมอฟังว่าเกิดอะไรขึ้น”

                “เป็นอย่างไร ถึงมาพบหมอที่นี่”

                “ลองเดาดูว่า เหตุใดพ่อแม่ถึงพามาพบหมอ”

                “คิดว่าพ่อแม่เป็นห่วงเรื่องอะไร”

                “หมอทราบจากพ่อแม่ว่า.....................  ..........คิดอย่างไรบ้าง”

                “แล้วปัญหาในความคิดของ........... คืออะไร”

                “อยากให้พ่อแม่เข้าใจอย่างไร  อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นในบ้าน”

ประเภทของคำถาม

คำถามปลายเปิด (open-ended question)เป็นคำถามที่มีคำตอบได้หลากหลาย มักใช้ในการสอบถามเบื้องต้น ในระยะแรกๆของการสัมภาษณ์ ที่ยังไม่แน่ใจว่าวัยรุ่นจะตอบอย่างไร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                “อยากให้หมอช่วยเรื่องอะไร”

                “เรื่องอะไรที่ทำให้ไม่สบายใจ”

                คำถามปลายเปิด มักจะได้คำตอบที่ตรงกับสิ่งที่วัยรุ่นคิด กังวล เป็นห่วง หรือรู้สึกว่าเป็นปัญหาอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากปัญหาที่วัยรุ่นคิด อาจไม่ตรงกับปัญหาที่พ่อแม่เป็นห่วงอยู่

คำถามปลายปิด (close-ended question)เป็นคำถามที่คาดหวังคำตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ เท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบว่า มีหรือไม่มีสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์สงสัยอยู่ ไม่ควรใช้ในช่วงแรกๆของการสัมภาษณ์ เพราะอาจปิดกั้นการระบายปัญหาที่แท้จริงของวัยรุ่น ตัวอย่างคำถามปลายปิด

                “นอนหลับดีไหม”

                “เบื่ออาหารหรือไม่”

                “ท้อแท้ไหม”

                คำถามปลายปิดมักใช้ในการสำรวจปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อตรวจสอบว่าวัยรุ่นมีหรือไม่มีอาการหรือปัญหาที่สงสัย มักใช้ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์

คำถามนำ (leading question)เป็นคำถามที่ส่งเสริมให้ตอบไปในทิศทางนั้น มักใช้ในกรณีที่วัยรุ่นลังเลที่จะตอบ เช่น

                “เพื่อนเคยชวนให้ลองใช้ยาเสพติดเหมือนกันใช่ไหม”

                “ยาบ้านี่รสชาติเป็นอย่างไร  ชอบไหม”

การกระตุ้นให้เล่าเรื่อง(facilitation)

                “หมอทราบเบื้องต้นมาว่า..................  คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเป็นห่วงที่..................”

                “ที่จริงคุณพ่อคุณแม่เล่าให้หมอฟังบ้างแล้ว แต่หมออยากฟังจาก.........(ชื่อ)เอง  ลองเล่าให้หมอฟังว่าเกิดอะไรขึ้น”

                “พ่อแม่กังวลว่า................................”

                “พ่อแม่อยากจะทำความเข้าใจปัญหามากขึ้น จึงชวน......มาคุยกับหมอ”

                “คิดอย่างไรบ้าง    รู้สึกอย่างไร  ยังโกรธพ่อแม่หรือไม่เมื่อรู้เหตุผลอย่างนี้แล้ว”

การยอมรับ (unconditioned positive regard)

                “เรื่องใดที่พูดลำบาก หรืออธิบายไม่ได้ ขอให้บอกหมอด้วย”

                “ใครๆที่อยู่ในสภาพเดียวกับ......   คงจะทำใจยอมรับได้ลำบากเหมือนกัน”

                “บางทีมันก็ยากที่จะเล่า เรื่องที่ค่อนข้างส่วนตัวอย่างนี้  เอาไว้พร้อมแล้วค่อยเล่าก็ได้”

                “เรื่องไหนที่ยังไม่พร้อมจะคุย ขอให้บอกหมอ”

การสำรวจลงลึก (exploration)

                 “มีอะไรที่ทำให้รู้สึกหนักใจ กังวลใจ หงุดหงิดใจ”

                “ถ้าเป็นไปได้ อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรในบ้าน”

                “อยากให้พ่อแม่เป็นอย่างไร”

                “ปัญหาอื่นๆในบ้านละ  มีอะไรหนักใจหรือไม่”(ลองสำรวจในเรื่องอื่นๆ ในตอนท้าย เช่นเรื่องความสัมพันธ์ของพ่อแม่  ความสัมพันธ์กับน้อง หรือญาติคนอื่นๆ)

                “วางแผนไว้อย่างไรบ้าง ระยะสั้น  ระยะยาว”

การสะท้อนความรู้สึก  (reflection of  feeling)

                “......รู้สึกไม่พอใจที่คุณแม่ยึดโทรศัพท์มือถือไป”

                “......โกรธที่ถูกทำโทษ”

                “........อึดอัดใจที่หมอถามถึงเรื่องนี้”

                “............กังวลใจจนนอนไม่หลับ”

                การสะท้อนความรู้สึกจะช่วยให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกว่าแพทย์เข้าใจความรู้สึก เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การสะท้อนความรู้สึกช่วยในการตอบคำถาม หรือตอบสนองบางสถานการณ์ได้ เช่น

                วัยรุ่น(พูดอย่างโกรธๆว่า)    “หมอไม่เข้าใจผมหรอก”

                แพทย์(ใช้เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก )     “.......คงรู้สึกหมดหวัง ที่จะมีใครเข้าใจปัญหานี้”

การสะท้อนความคิด  ความเห็น  ความเชื่อ (reflection of  thinking, attitudes, believes)บางครั้งการสะท้อนความคิดวัยรุ่น จะช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันกับแพทย์ และช่วยให้วัยรุ่นหยุดคิดถึงสิ่งที่ตนเองคิด และในหลายโอกาสช่วยให้วัยรุ่นเห็นความสัมพันธ์ของความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนเองได้  ตัวอย่างเช่น

                “...........คิดว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ”

                “...........คิดว่าถ้าขออนุญาตก่อน พ่อคงปฏิเสธ”

                บางจังหวะ  การสะท้อนความคิดก็ช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้ เช่น

                วัยรุ่น(พูดอย่างโกรธๆว่า)    “หมอไม่เข้าใจผมหรอก”

                แพทย์(ใช้เทคนิคการสะท้อนความคิด ) “..........คิดว่าปัญหานี้ยาก  จนคนอื่นคงไม่เข้าใจ

                วัยรุ่น(พูดอย่างโกรธๆว่า)    “ลองหมอมาเป็นผมบ้างสิ หมอจะทำอย่างไร”

                แพทย์(ใช้เทคนิคการสะท้อนความคิด)  “..........คงคิดว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นกับใคร ก็คงยากที่จะตัดสินใจ”

การถามความคิดและความรู้สึก (exploring the feeling and thinking) นอกจากเทคนิคการสะท้อนความคิดความรู้สึกข้างต้นแล้ว บางครั้งการสอบถามความคิด ความรู้สึก จะช่วยให้แพทย์เข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น และสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันได้มาก เช่น

                “คุณแม่ทำแบบนั้น  ..............คิดอย่างไรบ้าง”

                “โดนเหตุการณ์แบบนั้น  ............รู้สึกอย่างไร”

แสดงทัศนคติที่ดีต่อวัยรุ่น (rapport, nonjudgmental attitude)แพทย์ควรมีความเข้าใจ(understanding)  ยอมรับ, (unconditional positive regard)  มองในแง่ดีเป็นกลาง (neutral)  อยากช่วยเหลือ (empathy)  เห็นใจ (sympathy)

                “ความสนใจเรื่องเพศในวัยรุ่น ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ  ......มีความสนใจเรื่องนี้บ้างไหม”

                “เพื่อนบางคนอาจมียาเสพติดมาชักชวนกัน  .......เคยเห็นบ้างไหม  เคยลองบ้างไหม”

แสดงสิ่งที่ทีมแพทย์จะช่วยเหลือได้ (hope)เช่น สร้างความเข้าใจกัน  วิธีการบางอย่างพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ  ทำไม่ถูก  มีการจัดการไม่ดี  เรื่องบางอย่างที่หมอช่วยได้ทันที  เช่นการให้ความรู้พ่อแม่ การฝึกทักษะต่างๆ  เมื่อช่วยแล้วจะเกิดผลดีอย่างไร  ถ้าไม่ช่วยจะเกิดผล(เสีย)ตามมาอย่างไร

การให้วัยรุ่นได้ระบายความรู้สึก(ventilation)

                “บางทีการร้องไห้ หรือได้ระบายความทุกข์ใจไม่สบายใจก็ช่วยให้ใจสบายขึ้น”

                “หมออยากให้.....เล่าเรื่องที่อาจไม่สบายใจ  แต่อาจทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์ดีขึ้น”

สรุปความ(summarization)

                “ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่ง คือคุณแม่ไม่ค่อยเข้าใจความต้องการของ.....”

                “หลายครั้งที่........ก็ทำอะไรด้วยอารมณ์  แต่ก็มาคิดเสียใจทีหลัง”

แปลความหมาย(interpretation)

                “เวลาโกรธพ่อแม่ ก็แกล้งให้พ่อแม่หงุดหงิด”

การชมเชย(positive reinforcing)

                “หมอคิดว่าเป็นการดีมาก   ที่...อยากจะเข้าใจตัวเอง   .......อยากแก้ไขเปลี่ยนแปลง”

                “ดีนะที่.....มีความสนใจในเรื่องการเรียน”

การสำรวจปัญหาอย่างเป็นระบบ(system review)

รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากอาการต่างๆ และปัญหาที่ได้จากวัยรุ่นและครอบครัว ข้อมูลของครอบครัว การเลี้ยงดูตั้งแต่เกิด พัฒนาการ การเรียน ความสัมพันธ์กับครอบครัวและกับโรงเรียน ปัจจัยสาเหตุ ปัจจัยกระตุ้นและส่งเสริมให้เป็นปัญหา หรือปัจจัยป้องกัน ข้อดีและจุดเด่นจุดแข็งของวัยรุ่น

3.สรุปและเลือกประเด็นที่สำคัญร่วมกัน  ที่จะทำงานต่อไป

                การเลือกประเด็นที่สำคัญ และวัยรุ่นยอมรับเพื่อทำงานร่วมกัน ควรเป็นเรื่องต่อไปนี้

เรื่องที่วัยรุ่นรู้สึกว่าเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือ เช่น อาการทางร่างกายจากความเครียด อาการย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ซึมเศร้า ความไม่เข้าใจของพ่อแม่ การถูกจำกัดสิทธิต่างๆ

เรื่องที่วัยรุ่นอยากให้เปลี่ยนแปลง  เช่นความสัมพันธ์ภายในบ้านที่ไม่ค่อยดี  การยินยอมให้ในสิ่งที่วัยรุ่นต้องการ  เช่น เวลาไปกับเพื่อน  เงิน  โทรศัพท์

การเลือกเรื่องมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เข้าถึงปัญหาที่แท้จริง การเลือกควรให้วัยรุ่นมีส่วนร่วม เช่น

 “เราจะตั้งเป้าหมายเรื่องใดก่อนดี”

 “เรื่องเวลาเครียด แล้วอาการปวดหัว น่าสนใจเหมือนกัน ไม่ทราบว่า....คิดอย่าง”

 “เรื่องความไม่เข้าใจกันในบ้าน มีความสำคัญต่อ......จนอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงไหม”

 “.....คงอยากให้ผลการเรียนดีขึ้นกว่านี้”

 “ปัญหาการเรียนน่าจะเป็นผลของอารมณ์  คิดอยากจะแก้ไขอย่างไร”

 “ลองช่วยกันเลือกเรื่องที่น่าจะแก้ไขกันได้ก่อน”

 “เคยคิดจะแก้ไขอย่างไรแล้วบ้าง”

 “สรุปแล้วคิดว่าเราน่าจะมุ่งประเด็นนี้.....  ก่อนจะดีไหม”

หลักการในการตั้งประเด็นที่น่าจะเป็นเป้าหมาย ควรให้สอดคล้องกับความต้องการของวัยรุ่น แพทย์อาจช่วยโน้มน้าวให้วัยรุ่นมองเห็นปัญหาที่แท้จริง และมีทิศทางที่ถูกต้อง

4.ตั้งเป้าหมายในการทำงานต่อไปด้วยกัน

               เมื่อผู้สัมภาษณ์ได้ข้อมูลเพียงพอแล้ว ต่อไปคือการแก้ไขปัญหา โดยวิธีการ เป้าหมายร่วมกับวัยรุ่น ควรช่วยกันคิดและให้ออกมาเป็นความต้องการของวัยรุ่นจริงๆ และควรจะครอบคลุมประเด็นหลักๆของปัญหา

          การแก้ไขต่อไปจะเกิดในด้านต่างๆ คือ

·        การเปลี่ยนแปลงของตนเอง เช่น การสังเกตอารมณ์ตนเองให้มากขึ้น  มีการจัดการกับอารมณ์ได้ดี  ควบคุมตัวเองได้ ยั้งใจตัวเองได้มากขึ้น  จัดระเบียบวินัยของตัวเอง เอาใจใส่เรื่องส่วนตัวมากขึ้น รับผิดชอบส่วนรวมมากขึ้น

·        สร้างแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง

                “หมอคิดว่า  ถ้า....แสดงความรับผิดชอบโดย.......  คุณพ่อคุณแม่  คงจะไว้วางใจมากขึ้น  การจะขออนุญาตไปกับเพื่อนน่าจะง่ายขึ้นด้วย”

·        ให้ความหวังและโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

                “หมอจะช่วยอธิบายให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจความต้องการของวัยรุ่นมากขึ้น  แต่...ก็ต้องช่วยหมอทำให้พ่อแม่ไว้ใจ เช่น การรักษาคำพูด  ถ้าเราพยายามแล้วพ่อแม่ยังไม่เปลี่ยนแปลง  ขอให้กลับมาเล่าให้หมอฟังด้วย”

·        อธิบายสิ่งที่จะวางแผนร่วมกับพ่อแม่(clarification)

                “หลังจากนี้หมอจะคุยกับพ่อแม่ สิ่งที่หมอจะพูดคือ อธิบายให้ท่านเข้าใจว่า....................  และจะช่วยให้ท่านยืดหยุ่นกับ......บ้างเช่น อาจจะอนุญาตให้ไปกับเพื่อนได้ในวันหยุด แต่จะขออนุญาต ต้องบอกกันก่อนในเรื่องรายละเอียด เช่น ไปที่ไหน กับใคร เวลาใด จะกลับเมื่อไร  อย่างนี้จะดีไหม  ฯลฯ”

                “หมอยังไม่แน่ใจว่าจะพูดให้พ่อแม่เปลี่ยนแปลงได้มากน้อยแค่ไหน  แต่เท่าที่คุยกับเขาแล้ว ก็เห็นว่าน่าจะรับฟังหมอบ้าง แต่นิสัยใจคอคนตามปกตินั้น จะเปลี่ยนแปลงทันทีคงยาก แต่ก็น่าทดลองดู ให้โอกาสท่านเปลี่ยนแปลงก่อน  ถ้าไม่สำเร็จเราจะกลับมาคุยกันใหม่”

5.การช่วยกันในทางปฏิบัติ (Working through)

เป็นกระบวนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง คิด ตัดสินใจ ฝึกฝนตนเอง เพื่อให้แก้ไขปัญหา สร้างสิ่งใหม่ มักจะเกิดขึ้นในระยะเวลาต่อมา ที่เริ่มมีความสัมพันธ์ดีต่อกันแล้ว ผู้ให้คำปรึกษาจะใช้เทคนิคต่างๆที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว ขั้นตอนนี้มักใช้เวลานานพอสมควร กว่าจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ในการสัมภาษณ์นั้น เมื่อแพทย์จะรวบรวมข้อมูลมากพอ จนสามารถวางแผนการช่วยเหลือต่อไปได้แล้ว ต่อไปก็จะพยายามโน้มน้าว ให้วัยรุ่นมีแรงจูงใจที่จะแก้ไขในขั้นตอนแรกนี้ และในการพบกันครั้งต่อไป การเริ่มการช่วยเหลือจะทำได้ง่าย

ในการสัมภาษณ์วัยรุ่นครั้งแรก ไม่ควรพยายามแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ได้ทันที การให้คำแนะนำที่เร็วเกินไป นอกจากจะไม่ได้ผล วัยรุ่นมักไม่เชื่อแล้ว อาจรบกวนความสัมพันธ์ที่เป็นเป้าหมายหลักของการสัมภาษณ์ในระยะแรก เนื่องจากวัยรุ่นอาจจะรู้สึกว่า แพทย์ทำตัวเหมือนพ่อแม่ หรือครูของเขา แพทย์ควรอธิบายให้วัยรุ่นเข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา ขั้นตอนการช่วยเหลือต่อไป เช่น

                “จากข้อมูลที่เล่ามาทั้งหมด หมอคิดว่า อาการต่างๆเกิดจากอารมณ์ซึมเศร้า อาการนี้พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ แต่สามารถรักษาได้ การช่วยเหลือต่อไปคือ.....................”

                “ความคิดที่วนเวียนเช่นนี้ คืออาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ หมอคิดว่าน่าจะมีการตรวจเพิ่มเติม คือ..............”

                “ความไม่เข้าใจกันภายในบ้านมีมาก จนทำให้ทุกคนเกิดความเครียด ปัญหานี้น่าจะแก้ไขโดย................”

                “หมอคิดว่า การตรวจทดสอบบางอย่างอาจจะช่วยให้เข้าใจสาเหตุของปัญหามากขึ้น จะแนะนำว่าน่าจะ..........”

                “หมอยังไม่ค่อยเข้าใจบางอย่างในบ้าน อยากจะขอพบคุณพ่อในการนัดครั้งต่อไป   .......คิดอย่างไร”

6. การสรุปและยุติการสัมภาษณ์หรือการให้คำปรึกษา(Termination)

ในการสัมภาษณ์ทุกครั้ง  การยุติการสนทนาในตอนท้ายการสัมภาษณ์  มีความสำคัญมากเช่นกัน ในการสรุปสิ่งที่ได้คุยกัน  การวางแผนต่อไปว่าจะทำอะไร  ตอบคำถามที่วัยรุ่นอาจจะมี  กำหนดการนัดหมายครั้งต่อไป การยุติการสัมภาษณ์ได้ดีจะช่วยให้วัยรุ่นร่วมมือมาติดตามการให้คำปรึกษา  และให้ร่วมมือในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือ ร่วมมือในการรักษาต่อไป

การสัมภาษณ์ครั้งแรกไม่จำเป็นต้องให้ได้ข้อมูลทุกอย่างครบ บางเรื่องที่วัยรุ่นยังไม่พร้อมจะเปิดเผย อาจต้องรอให้วัยรุ่นเกิดความไว้วางใจ และเปิดเผยในครั้งที่สองหรือครั้งที่สามก็ได้

 “คุยกันมานานแล้ว ไม่ทราบว่า ......อยากจะถามอะไรหมอบ้าง”

“หมอดีใจที่....ให้ความร่วมมือดีมาก หมออยากจะพบเพื่อคุยกันอีกหลังจากนี้”

“หลังจากนี้แล้ว หมอจะพบกับพ่อแม่สั้นๆ อธิบายให้ท่านเข้าใจ หลังจากนั้นจะนัดพบกันครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า”

ในกระบวนการให้คำปรึกษาระยะยาว การสิ้นสุดการให้คำปรึกษาควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อให้วัยรุ่นเตรียมใจยุติการพบปะกัน ซึ่งอาจเกิดความวิตกกังวลต่อการพลัดพราก และอาจเกิดอาการของความวิตกกังวลได้มาก ทำให้ยุติการให้คำปรึกษาได้ยาก เกิดภาวะติดผู้ให้คำปรึกษา

เทคนิคการสื่อสารที่ดี

1.หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า  “ทำไม”

การใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า  “ทำไม.....”  เช่น  “ทำไมเธอมาโรงเรียนสาย”  จะสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจได้ 2  แบบ คือ

·        เธอทำไม่ดีเลย  ทำไมจึงทำเช่นนั้น    และ

·        ถ้ามีเหตุผลดีๆ  การกระทำเช่นนั้นก็อาจเป็นที่ยอมรับได้

ผลที่ตามมาคือ เด็กจะพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตนเองมากขึ้น  เพื่อพยายามยืนยันว่า  ความคิดและการกระทำของเขาถูกต้อง  เป็นการสอนให้เด็กเถียงแบบข้างๆคูๆ  แล้วครูก็จะโมโหเด็กเสียเอง  ทั้งๆที่เป็นคนเริ่มต้นให้เด็กหาเหตุผล  แต่เมื่อเด็กแสดงเหตุผล  ก็ไม่ยอมรับเหตุผลของเขา

ถ้าต้องการทราบเหตุผลจริงๆของพฤติกรรมเด็ก  ควรถามดังนี้

“ครูอยากรู้จริงๆว่าอะไรทำให้เธอทำอย่างนั้น”

“พอจะบอกครูได้ไหมว่า  เธอคิดอย่างไรก่อนที่จะทำอย่างนั้น”

“เกิดอะไรขึ้น  ทำให้เธอมาโรงเรียนสายในวันนี้”

“มันเกิดอะไรขึ้น  ไหนลองเล่าให้ครูเข้าใจหน่อย”

2.ตำหนิที่พฤติกรรม  มากกว่า ตัวเด็ก 

ถ้าครูจะตำหนิเด็ก  ต้องระวังการต่อต้านไม่ยอมรับ  วิธีการที่ทำให้เด็กยอมรับ  และไม่เสียความรู้สึกด้านดีของตนเอง  สามารถทำได้ด้วยการตำหนิที่พฤติกรรมนั้น  ดีกว่าตำหนิที่ตัวเด็ก  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

“ การมาโรงเรียนสาย  เป็นสิ่งที่ไม่ดี”     ดีกว่า     “เธอนี่แย่มาก  ขี้เกียจจังเลยถึงมาสาย”

“ การทำเช่นนั้น  ไม่ฉลาดเลย”    ดีกว่า    “เธอนี่โง่มากนะ  ที่ทำเช่นนั้น”

“ครูไม่ชอบที่เธอไม่ได้ช่วยงานกลุ่ม   งานนี้ทุกคนต้องช่วยกัน “   ดีกว่า    “เธอนี่เป็นคนเอาเปรียบเพื่อนนะ”

                ไม่ควรใช้คำพูดทำนองว่า  เป็นนิสัยไม่ดี  หรือสันดานไม่ดี  เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน  หรือแกล้งเป็นอย่างนั้นจริงๆ  หรือลามไปถึงพ่อแม่  เช่น  “อย่างนี้พ่อแม่ไม่เคยสอน  ใช่ไหม”

3.ฝึกใช้คำพูดที่ขึ้นต้น  “ฉัน......”   มากกว่า  “เธอ.............”  ( I-YOU  Message)   ได้แก่

“ครูไม่ชอบการที่นักเรียนมาสาย”      ดีกว่า  “เธอนี่แย่มากที่มาสาย”

“ครูอยากให้นักเรียนมาเช้า”

“ครูไม่ชอบพูดเวลานักเรียนไม่ตั้งใจฟัง”

“ครูอยากให้นักเรียนหยุดฟัง  เวลาครูพูด”

“ครูเสียใจที่เธอทำเช่นนั้น”

“ครูอยากให้เธอ..................”

“ครูจะดีใจมากที่................”

4.บอกความคิด  ความรู้สึก  ความต้องการ

ฝึกให้เด็กมีทักษะในการสื่อสาร  ความกล้าพูด  กล้าบอกสิ่งที่ตัวเองคิด  รู้สึก  และต้องการอย่างสุภาพ  เข้าใจกัน  ทั้งต่อครู  และต่อเพื่อนๆด้วยกันเอง  ไม่ควรอาย  หรือกลัวเพื่อนโกรธ  บางคนกลัวเพื่อนไม่ยอมรับ  เลยยอมตามเพื่อน  ถูกเพื่อนเอาเปรียบ

ครูช่วยกระตุ้นเรื่องนี้ได้  ด้วยการฝึกรายบุคคล

“เธอคิดอย่างไร  เรื่องนี้............”

“เธอรู้สึกอย่างไร  ลองบอกครู...........”

“เธอต้องการให้เป็นอย่างไร...........”

 ครูควรรับฟังเด็กมากๆ  ให้เขารู้สึกว่า  การพูดบอกเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ  และสามารถบอกกับเพื่อนๆได้ด้วย

5.ชมบนหลังคา  ด่าที่ใต้ถุน

ครูควรมีเทคนิคในการชม  ให้เกิดความภาคภูมิใจตนเอง   ควรชมให้ผู้อื่นทราบด้วย  หรือร่วมชื่นชมด้วย    และเมื่อชมแล้ว  อาจเสริมให้เด็กรู้สึกต่อไปว่า  เขาคงจะพอใจที่ตัวเองเป็นคนดีด้วย   ต่อไปเด็กจะชื่นชมตัวเองเป็น  ไม่ต้องรอให้คนอื่นเห็นความดีของตน  หรือรอให้คนอื่นชมเสมอไป  ดังตัวอย่างนี้

“ครูดีใจมากที่เธอช่วยเหลือเพื่อน  เธอคงรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ทำเช่นนั้น  ใช่ไหม”

“พวกเราภูมิใจที่เธอได้รางวัลครั้งนี้  ช่วยกันตบเมือให้หน่อย  เธอคงภูมิใจในตัวเองเหมือนกันใช่ไหมจ๊ะ”

แต่เวลาเตือน อย่าให้เกิดความอับอาย  ให้ค่อยๆคิด  และยอมรับด้วยตัวเอง  อย่าให้เสียความรู้สึก  ควรเตือนเป็นการส่วนตัว  ก่อนจะเตือน  ควรหาข้อดีของเขาบางอย่าง  ชมตรงจุดนั้นก่อน  แล้วค่อยเตือนตรงพฤติกรรมนั้น เช่น

“ ครูรู้ว่าเธอเป็นคนฉลาด  แต่การที่เธอเอาของเพื่อนไปโดยไม่บอกนี่ไม่ถูกต้อง”

“ครูเห็นแล้วว่าเธอมีความตั้งใจมาก  แต่งานนี้เป็นงานกลุ่มที่ต้องช่วยกันทำทุกคนนะจ๊ะ”

6.ถามความรู้สึก  สะท้อนความรู้สึก  เช่น

“หนูคงเสียใจ  ที่คุณครูทำโทษ” (สะท้อนความรู้สึก)

“หนูรู้สึกอย่างไรบ้าง  ที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน” (ถามความรู้สึก)

“เธอรู้สึกอย่างไรบ้าง  เมื่อถูกเพื่อนแกล้ง”  (ถามความรู้สึก)

“เธอคงโกรธที่ถูกเพื่อนแกล้ง”  (สะท้อนความรู้สึก)

“เรื่องที่คุยกันนี้คงจะกระทบความรู้สึกของหนูมาก  ครูจะคุยกันต่อได้ไหม” (สะท้อนความรู้สึก)

7. ถามความคิดและสะท้อนความคิด  เช่น 

“เมื่อเธอโกรธ  เธอคิดจะทำอย่างไรต่อไป”  (ถามความคิด)

เมื่อเด็กตอบว่า  “ผมอยากกลับไปชกหน้ามัน”  ควรพูดต่อไปว่า

“เธอโกรธมากจนคิดว่าน่าจะกลับไปชกหน้าเขา”  (สะท้อนความคิด)

การถามและสะท้อนความรู้สึกและความคิด  จะได้ประโยชน์มาก  เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่า  เราเข้าใจ(ความคิด และความรู้สึก)ของเขา  ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี  เป็นพวกเดียวกัน  และจะเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น  ชักจูงได้ง่ายขึ้น

8.การกระตุ้นให้คิดด้วยตนเอง

ในการฝึกให้เด็กคิดและแก้ปัญหานั้น  ควรฝึกให้เด็กคิดเองก่อนเสมอ  เมื่อเด็กคิดไม่ออก  ไม่รอบคอบ  ไม่กว้าง  ครูอาจช่วยชี้แนะให้ในตอนท้าย  เช่น

“เธอคิดว่าปัญหาอยู่ที่ไหน”  (ให้คิดสรุปหาสาเหตุของปัญหา)

“แล้วเธอจะทำอย่างไรต่อไปดี”  (ให้คิดหาทางออก)

“ทางออกแบบอื่นละ  มีวิธีการอื่นหรือไม่”  (ให้หาทางเลือกอื่นๆ  ความเป็นไปได้อื่นๆ)

“ทำแบบนี้  แล้วคาดว่าผลจะเป็นอย่างไร”  (ให้คิดถึงผลที่ตามมา)

“เป็นไปได้ไหม  ถ้าจะทำแบบนี้....(แนะนำ).......เธอคิดอย่างไรบ้าง”

การให้คำปรึกษาครอบครัว  (Family  Counseling)

·สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว

· แสวงหาข้อมูลจากครอบครัว

· วิเคราะห์ครอบครัว  ปัญหาของครอบครัว  จุดอ่อน  จุดแข็ง  หน้าที่ของครอบครัว บทบาท  การสื่อสาร  การเข้าใจความรู้สึก

· ชักจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในโครงสร้าง  และหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว

· ชี้แนะช่องทางของการเปลี่ยนแปลง

· ฝึกทักษะที่เป็นปัญหา

· ใช้หลักพฤติกรรมบำบัด ร่วมด้วยเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การให้คำปรึกษาเพื่อน(Peer Counseling)

·สร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันแบบกลุ่ม  ไม่โดดเดี่ยว  ไม่เอาตัวรอดคนเดียว  เพื่อนมีหน้าที่ช่วยเหลือกัน

·สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นห่วงเป็นใยกัน  เมื่อมีใครหายไปเพื่อนควรสนใจ  เป็นห่วงเป็นใย  ติดตามข่าวสาร  พยายามดึงเพื่อนเข้ากลุ่ม  มีการแบ่งปันกัน  ช่วยเหลือกัน

·เมื่อมีเพื่อนทำผิด  เพื่อนที่ดีควรช่วยเตือน และชักจูงให้เปลี่ยนแปลง  เลิกทำผิด  กลับมาทำดี โดยไม่โกรธกัน  มองกันในทางที่ดี

·ฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี  บอกความคิด  ความต้องการ  ความรู้สึก  เมื่อไม่พอใจมีวิธีบอกให้เพื่อนเข้าใจ  และสนองความต้องการกันได้ตรงจุด

·ฝึกทักษะสังคมทางบวก  การให้  การรับ  การขอโทษ  การขอบคุณ  การเข้าคิว  รอคอย  การทำดีต่อกัน  การพูดดีๆ  สุภาพ  อ่อนโยน  ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อกัน  

ประวัติการแนะแนวในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกานั้น เป็นประเทศที่ได้มีการศึกษาวิจัยและดำเนินการแนะแนวมาเป็นเวลานาน จนในปัจจุบันศาสตร์แห่งการแนะแนวในประเทศได้พัฒนาไปมาก อาจกล่าวได้ว่าสหรัฐอเมริกานั้น เป็นแม่บทแห่งการแนะแนว โดยได้เริ่มเป็นรูปแบบขึ้นเมื่อ “แฟรงค์พาร์สันส์” (Frank Parsons) ได้ก่อตั้ง “สำนักงานการอาชีพ” (Vocational Bureau) ขึ้นที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1908 เขาได้แต่งหนังสือเรื่อง “การเลือกอาชีพ” (Choosing a Vocation) และบัญญัติศัพท์ “การแนะแนวอาชีพ” (Vocational Guidance) ขึ้น พาร์สันส์ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการแนะแนวอาชีพ เขายึดหลักในการแนะแนวอาชีพดังนี้ คือ

1. การวิเคราะห์บุคคล นักแนะแนวจะช่วยผู้มารับบริการวิเคราะห์คุณสมบัติต่างๆ เช่น ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด บุคลิกภาพ

2. การวิเคราะห์อาชีพ นักแนะแนวจะช่วยให้ผู้รับบริการมีความรู้เกี่ยวกับอาชีพ เช่น มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะอาชีพ ความต้องการของตลาดเกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ เวลาและทุนทรัพย์ที่ใช้ในการเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ

3. การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกอาชีพ นักแนะแนวช่วยให้ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกอาชีพ โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์อาชีพประกอบกัน

นับได้ว่าพาร์สันส์เป็นผู้นำแนวความคิดในการพิจารณาวิเคราะห์คุณสมบัติ ของบุคคลก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ ต่อจากนั้นมีการตื่นตัวเกี่ยวกับการใช้กลวิธีต่างๆ ในการวิเคราะห์บุคคล ทั้งกลวิธีที่ใช้แบบทดสอบและไม่ใช้แบบทดสอบ ได้มีผู้จัดทำแบบทดสอบต่างๆ ขึ้น เช่น แบบทดสอบสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ และมีผู้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพขึ้นเพื่อใช้ในการแนะแนวอาชีพ[2]

การให้คำปรึกษา (Counseling)

ทองเรียน  อมรัชกุล.เทคนิคเบื้องต้น ในการให้คำปรึกษา. หน้าที่ 8-11.2524.

ความหมาย

กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอคำปรึกษา เพื่อให้เขาได้ใช้ความสามารถที่เขามีอยู่จัดการกับปัญหาของเขาได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้

จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษา

จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษาก็ได้แก่การช่วยให้ผู้มาขอให้คำปรึกษาได้ช่วยตัวเอง  ในแง่ของการมีบูรณการ  การปรับตัว  การอยู่ร่วมกับผู้อื่น  ในปัจจุบันนี้เด็กหนุ่มสาวกำลังตกอยู่ในภาวะถูกบีบคั้นในด้านต่างๆ  และกำลังหาทางออกที่เหมาะสมอยู่  การให้คำปรึกษาจึงเป็นความหวังของบุคคลโดยเฉพาะผู้มาขอรับคำปรึกษาที่มีปัญหาจะได้เสริมสร้างความงอกงามและพัฒนาความเป็นบุคคลของตนขึ้น  ช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม  และยอมรับความเป็นเอกภาพของบุคคล

กระบวนการให้คำปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 3 ประการ

1. ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)

2. ผู้มาขอรับคำปรึกษา (Counselee)

3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee

ธรรมชาติของการให้คำปรึกษา

Patterson  ได้กล่าวถึงการให้คำปรึกษาในเชิงบวก ดั้งนี้

1. การให้คำปรึกษาเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลด้วยความสมัครใจอย่างเป็นอิสระของผู้มาขอรับคำปรึกษา

2. จุดมุ่งหมายของการศึกษาก็เพื่อจัดสภาพต่างๆ  ที่ช่วยให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยความสมัครใจซึ่งสภาพดังกล่าวก็ได้แก่การที่มีสิทธิ์จะเลือก  การมีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวของตัวเอง

3. การให้คำปรึกษานั้นมีข้อจำกัดอยู่ที่จุดมุ่งหมายและกระบวนการให้คำปรึกษา

4. สภาพที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มาขอรับคำปรึกษา  ส่วนใหญ่จะกระทำโดยการสัมภาษณ์

5. การให้คำปรึกษาต้องใช้การฟังแม้ว่าการฟังทุกอย่างไม่ใช่การให้คำปรึกษาการฟังในแง่ให้คำปรึกษานั้นจะต้องมีความเข้าใจในแง่คุณภาพมากกว่าปริมาณ

6.การให้คำปรึกษาต้องดำเนินไปหรือจัดให้มีขึ้นโดยมีลักษณะเป็นเรื่องส่วนตัวและการอภิปรายหรือพูดคุย

Patterson  ได้สรุปถึงธรรมชาติของการให้คำปรึกษาว่าการให้คำปรึกษาเป็นการจัดสภาพอย่างเป็นการส่านตัวเพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ตนเลือกหรือตัดสินใจทั้งนี้ถือว่าผู้มาขอรับคำปรึกษาเป็นผู้มีปัญหาทางด้านจิตวิทยาส่วนผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้มีความชำนาญในด้านการให้คำปรึกษา   Patterson  เห็นด้วยกับ Blocherว่าการให้คำปรึกษานั้นเป็นกระบวนการติดต่อสัมพันธ์  เพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสามารถสร้างจุดมุ่งหมายและค่านิยมซึ่งเป็นรากฐานของพฤติกรรมของตนเองในอนาคต

บริการให้คำปรึกษา

การบริการให้คำปรึกษาหมายถึงการจัดให้บุคคลได้ศึกษาตัวของเขาเองในส่วนที่เกี่ยวกับโอกาสในอาชีพ  การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประกอบอาชีพและการวางแผนงานต่างๆในการประกอบอาชีพและการวางแผนงานต่างๆในการประกอบอาชีพโดยการใช้การสำภาษณ์เป็นรายบุคคลและการให้การแนะแนวเป็นกลุ่ม

ในปัจจุบันนี้ได้มีการให้คำปรึกษาในครอบครัวเป็นที่แพร่หลายในสหรัฐอเมริกาการให้บริการนี้อาจรวมอยู่ในศูนย์บริการ ชุมชนหรือาจจะจัดตั้งขึ้นมาเป็นเอกเทศก็ได้การให้คำปรึกษาในครอบครัวมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้มีการสื่อสารติดต่อกันภายในครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งมีการแบ่งขั้นตอนดั้งนี้

                1. การเริ่มให้คำปรึกษา

                2. การให้คำปรึกษาโดยการยึดเอาลูกๆในบ้านเป็นศูนย์กลาง

                3. การให้มีการติดต่อทางสังคมระหว่างบิดามารดาและลูกๆ

                4. การให้มีการติดต่อทางสังคมระหว่างบิดาและมารดา

                5. การให้มีการติดต่อทางสังคมระหว่างพี่ๆน้องๆกัน

                6. การยุติการให้คำปรึกษา

Hinsieและ Campbell ให้ความเห็นว่าสมมติฐานเบื้องต้นในการให้คำปรึกษาแบบนี้คือ บุคคลทุกคนจำเป็นต้องเจริญเติบโตอย่างพอเหมาะพอดีและเป็นไปตามกระบวนการของการพัฒนาเป็นขั้นๆจนบรรลุวุฒิภาวะคือจะต้องไม่ถูกสกัดกั้นด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเกิดความรู้สึกเป็นศัตรู การกดความไม่สบายใจ

กระบวนการในการให้คำปรึกษา

ทองเรียน  อมรัชกุล.เทคนิคเบื้องต้น  ในการให้คำปรึกษา.หน้าที่ 49 - 175.2524.

สามารถสรุปได้ดังนี้  คือ

1. มีคำถามริเริ่มการกำหนดข้อวินิจฉัย  (infernce) การตั้งข้อสมมุติ

2. การทำข้อตกลง  (agreement)  กับผู้มาขอรับคำปรึกษา

3. ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เกิดผลลัพธ์ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้

ขั้นตอนในกระบวนการให้คำปรึกษา

Brammer  (1973-55)  ได้สรุประบวนการในการให้คำปรึกษาว่ามีอยู่  8  ขั้น  ได้แก่

1. การเตรียมการให้คำปรึกษา

2. การให้เกิดความชัดเจน

3. การกำหนดรูปแบบการให้คำปรึกษา

4. การสร้างความสัมพันธ์

5. การค้นคว้าศึกษา

6. การสร้างความเป็นปึกแผ่น

7. การทำแผนปฏิบัติการ

8. การสุดสิ้นการให้คำปรึกษา

ขั้นที่  1 การเตรียมการให้คำปรึกษา (Preparation  and Entry)

1. ตระหนักถึงความรู้สึกของผู้มาขอรับคำปรึกษา

2. ควรจะได้พิจารณาถึงพฤติกรรมของผู้มารับขอคำปรึกษาตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้อย่างชัดเจน               เกี่ยวกับการขอคำปรึกษา

ผู้ให้คำปรึกษาอาจะให้กลยุทธและเหตุเชิงสติปัญญาอภิปรายปัญหาร่วมกันตามธรรมดาแล้วผู้ให้คำปรึกษาจะใช้วิธีการเพิกเฉยเสียเมื่อมีปฏิกิริยาต่อต้านเพียงเล็กน้อยจากผู้มาขอรับคำปรึกษาทั้งนี้เพื่อลดความรู้สึกรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น  มีข้อสังเกตดังนี้

1. ในขณะที่ระดับของความไว้ใจเพิ่มขึ้น  ปฏิกิริยาของการต่อต้านจากผู้มาขอรับคำปรึกษาจะค่อยลดหายไป

2. ทำอย่างไรผู้ให้คำปรึกษาจึงจะสร้างระดับความเชื่อมั่นใจขึ้นในการให้คำปรึกษา

อย่างไรก็ตามผู้ให้คำปรึกษาจะต้องตระหนักถึงความจริงของการให้คำปรึกษา  เป็นสัมพันธภาพใหม่ดังต่อไปนี้

1. การที่จะไปขอรับคำปรึกษามิใช่เรื่องจ่ายอย่างที่คิดไว้

2. เป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง

3. เป็นสิ่งที่ยอมไม่ได้ที่จะต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ให้คำปรึกษา

วิธีการที่จะช่วยให้ผู้มารับคำปรึกษาเกิดความพร้อมที่จะมาขอรับความช่วยเหลือ

1. ความรู้อยู่แล้ว (awareness) เกี่ยวกับความวิตกกังวลของผู้มาขอรับคำปรึกษา

2.ศึกษาถึงจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนพฤติกรรมในการเปลี่ยนรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของผู้มาขอรับ    คำปรึกษา

ขั้นที่  2  การทำให้เกิดความชัด  (Clarification)

1. การใช้คำถาม  (use of question)  ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เกิดความชัดเจนใน ระยะแรก

2. ผู้ให้คำปรึกษาต้องพยายามจี้ให้ผู้มารับคำปรึกษาเข้าใจว่าเป็นเจ้าของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ใน           ปัจจุบัน

ขั้น  3  การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา  (Structure)

การกำหนดรูปแบบการให้คำปรึกษา  หมายถึงการกำหนดจุดมุ่งหมายโครงสร้าง  ตามธรรมชาติและข้อจำกัดของการให้คำปรึกษา

ขั้นที่  4  การสร้างความสัมพันธ์  (Relationship)

ทักษะสำคัญในขั้นนี้คือความเงียบซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง  แม้ว่าการหยุดหรือเงียบ  (silence)  จะใช้ได้ทุกขั้นตอนในการให้คำปรึกษา

ขั้นที่  5  การศึกษาสืบค้น  (Exploration)

ทักษะการยอมรับ  (assertative)  ผู้มาขอรับคำปรึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญกล่าวคือในระยะแรกต้องเข้าใจว่าผู้มาขอรับคำปรึกษามีความเข้าใจตนเองแค่ไหน  อย่างไร  รวมทั้งมีโลกทัศน์เป็นอย่างไร  ผู้ให้คำปรึกษาอาจจะใช้หูฟัง  การวิเคราะห์และการซักถามอย่างเป็นราชการ  ความจริงแล้วผู้มาขอรับคำปรึกษาควรได้รับคำปรึกษาควรจะมีมโนภาพดีว่า  ตนคือใคร  ต้องการอะไร  และต้องการได้รับคำปรึกษาอย่างไรแล้วดังกล่าวในขั้นต่าง ๆ ข้างต้น

ขั้นที่  6 การสร้างความเป็นปึกแผ่น (Consolidation)

การแสวงหาทางเลือก  การวางแผน  และการตัดสินใจลงมือปฏิบัติ ก็อาจจะย้ำเฉพาะการรวบรวมทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น   การวางแผนแก้ปัญหา และการตัดสินใจ  (decision - making) อันเกิดจากการวิเคราะห์ความรู้สึก  การหาทางเลือกและฝึกฝนทักษะที่จะต้องใช้  ทั้งนี้โดยละเว้นการลงโทษตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแต่มุ่งมั่นดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย

ขั้นที่  7  การทำแผนปฏิบัติการ  (Planning) รวมทั้งปฏิบัติตามหลักแผนในการให้คำปรึกษา

ขั้นที่  8  การยุติการให้คำปรึกษา  (Termination)

ปัญหาสำคัญในกระบวนการให้คำปรึกษา

การต่อต้าน

วิธีการแก้ไขการต้านทาน

1.การไม่แสดงความสนใจผู้ให้คำปรึกษา  ข้อนี้ใช้ในทางกรณีของการต่อต้านในระดับต่ำมมาก  โดยที่ผู้ให้คำปรึกษาไม่แสดงความสนใจและให้คิดว่าเป็นธรรมชาติของการเกิดความวิตกกังวล

2.การลดระดับการต่อต้านหรือป้องกันตนเองลง  วิธีการนี้เป็นการถอนการต่อต้านจากส่วนลึกให้มาอยู่ในความรู้สึกส่วนตื้น  หรือกล่าวอีกในหนึ่งว่า  เป็นการลดความดันลงไป  เช่น  แทนที่จะพูดว่า  “ นี้คุณ.........คุณมีความรู้สึกในทางลบต่อน้องคุณ  เพราะคุณคิดว่า  น้องเป็นผู้มาแย่งความรักจากบิดามารดาของคุณ”

3. การใช้อารมณ์ขัน  จริงอยู่การใช้อารมณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติย่อมจะช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ที่ตรึงเครียดได้มาก

4. การเผชิญหน้า  วิธีการนี้จะใช้ในกรณีจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้อื่นมาขอรับคำปรึกษาหลีกเลี่ยงตลอดเวลาแม้ว่าจะคลายความวิตกกังวลแล้วก็ตาม

5. การค่อยเปลี่ยนเรื่อง การเปลี่ยนเรื่อง  การเปลี่ยนวิธีการหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปในรูปอื่นที่แตกต่างไปจากเดิม

6.การท้าทาย  การบีบบังคับให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เข้าใจตนเองตลอดจนให้ทำความเข้าใจปัญหาของตนให้แจ่มแจ้งวิธีนี้จะใช้กรณีที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาไม่ยอมร่วมมือในการแก้ปัญหา

ลักษณะทั่วไปของการเกิดการถ่ายโยงมีดังนี้

1. เป็นสภาพอารมณ์ที่เกิดจากการรับรู้

2. เกิดจากการขาดสภาวะสมดุลทางจิตใจ

3. เกิดจากการมาอยู่ในสภาพที่มีคนยอมรับ  ให้ความอบอุ่น

4. เกิดจากจิตใจของผู้มาขอรับคำปรึกษาถูกคุมคามมาถึงจุดที่เขารู้สึกอึดอัดใจจากการให้คำปรึกษา

ชนิดของการเชื่อมโยง

1. การถ่ายทอดความรู้สึกในทางบวก  เช่น  ผู้มาขอรับคำปรึกษาปฏิบัติต่อให้คำปรึกษาคล้ายเป็นอดีตคู่รับ  ทั้งนี้เกิดจากความรู้สึกซาบซึ่งในบริการที่ผู้ให้คำปรึกษาได้มีต่อตนเองในยามทุกข์

2. การถ่ายโยงความรู้สึกทางลบ  เช่น  การที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาเคยถูกหยามหน้ามาในอดีต  แต่ในตอนนั้นไม่อาจจะแสดงออกได้  พอได้โอกาสในขณะให้คำปรึกษาจึงแสดงออกทันที

3. การถ่ายโยงความรู้สึกในทางพึ่งพาผู้อื่น  เช่น  มักจะพูดว่า  คุณคิดว่า  ผมควรจะปฏิบัติอย่างไรกับเขาดี  ซึ่งในกรณีนี้ถ้าผู้ให้คำปรึกษาแนะนำก็จะมีผลทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษา  ทำอะไรด้วยตนเองเขาเองไม่ได้ต่อไปเลย

ทักษะของการให้คำปรึกษาว่าด้วยความเข้าใจ

กลุ่มของทักษะของการให้คำปรึกษาว่าด้วยความข้าใจนั้น  มีทักษะย่อยอยู่7ประการได้แก่ กลุ่มทักษะเกี่ยวกับการฟัง  การนำ  การสะท้อนกลับ  การสรุป  การเผชิญหน้ากัน  การแปลความหมายและการให้ข้อสนเทศ  ในบทนี้จะขออธิบายทักษะย่อยเหล่านั้น  พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบตามลำดับ

กลุ่มทักษะที่ 1 ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการฟัง

คำว่าการฟังListening ในที่นี้หมายถึงพฤติกรรมเชิงรับ  Passive  อันเนื่องจากความพร้อมที่จะรับเอาเนื้อหาที่ผู้มาขอให้คำปรึกษาสื่อความหมายนอกจากนี้ยังรวมเอากระบานการที่จะตอบสนองต่อข่าวสารที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาสื่อความหมายมาด้วย  ดังนั้นการฟังจึงไม่ได้หมายเฉพาะถึงการที่เสียงเข้ามาในหูแล้วพิจารณารวมทั้งการใช้สายตาสังเกตภาษาทางร่างกายแต่หมายถึงความเข้าใจทั้งหมด  ดังนั้น Reikได้ใช้วลีที่ว่าฟังโดยหูที่สาม ( Listening  with the third ear ) ซึ่งหมายความว่าการฟังจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อการเงียบ เพื่อพิจารณาเนื้อหาสาระให้รอบคอบและใช้สายตาเพื่อการสังเกต  การเงียบและการฟังนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เล่าหรือพูดในสิ่งที่ตนมีความเข้าใจอยู่โดยที่ผู้ให้คำปรึกษาเป็นฝ่ายเงียบและฟังด้วยความสนใจทั้งนี้ผู้ให้คำปรึกษาอาจจะแสดงออกด้วยท่าทาง ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และยอมรับในสิ่งที่มาขอรับคำปรึกษาได้เล่า ขณะเดียวกันก็หวังว่า ผู้มาขอให้คำปรึกษาจะพูดต่อไปอีก เมื่อการเงียบหมายถึงการที่มาขอรับคำปรึกษากำลังรวบรวมความคิดหรือคำพูดผู้ให้คำปรึกษาเองก็อาจจะใคร่ครวญถึงการสนทนาบางตอนในกรณีที่เกิดการเงียบจากผู้มาขอรับคำปรึกษาเป็นบางครั้งบางคราวผู้ให้คำปรึกษาไม่ควรตกใจหรือพยายามทำลายความเงียบโดยการชักชวนคุยไม่หยุด ทั้งนี้เพราะเป็นการขัดขวางความรู้สึกที่กำลังจะหลั่งไหลออกมาส่งที่ควรทำได้แก่การขอให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้พูดถึงเรื่องที่พูดกล่าวมาในตอนต้นเพื่อเป็นแนวในการที่จะดำเนินต่อไปอย่างไรก็ตามผู้ให้คำปรึกษาควรทราบว่า เมื่อไรควรพูด  ควรถาม ควรฟังและควรเงียบทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ความเหมาะสมกับกาลเทศะเป็นเรื่องสำคัญการที่ผู้ให้คำปรึกษาสามารถที่จะตอบปัญหาเกี่ยวกับผู้มาขอรับคำปรึกษาได้อย่างละเอียด เช่นมีอะไรเกิดขึ้นกับผู้มาขอรับคำปรึกษาขณะนั้นรวมทั้งชีวิตที่ผ่านมาของเขาถ้าผู้ให้คำปรึกษาสามารถที่จะตอบคำถามดั้งกล่าวได้เป็นอย่างดี ก็แสดงว่าผู้ให้คำปรึกษาฟังด้วยความเข้าใจอย่างเต็มที่ ทักษะที่เกี่ยวกับการฟังนี้ถือว่าเป็นหลักเบื้องต้นในการให้คำปรึกษาทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาเพื่อให้ข่าวสาร การแสวงหาข้อเท็จจริง หรือเป็นการให้คำปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการก็ได้

การตั้งใจฟัง (Attending )มีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ

1. องค์ประกอบแรกได้แก่การปะทะติดต่อ (contact)ด้วยสายตาหรือการสังเกต

2. องค์ประกอบประการที่สองได้แก่ทาทางอาการ (posture)

3. องค์ประกอบประการที่สามได้แก่การแสดงกริยาอาการ (gesture)

4. องค์ประกอบที่สี่ได้แก่คำพูด (verbal behavior)

สรุปแนวปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการตั้งใจฟังได้แก่

1. การสร้างความสัมพันธ์ติดต่อโดยสังเกตผู้มาขอรับคำปรึกษาในขณะที่พูด

2. การทำตนให้มีความสงบเสงี่ยมเป็นปกติธรรมชาติ

3. การแสดงกริยาอาการเป็นปกติ

4. ใช้ประโยคบอกเล่าธรรมดา

การเรียบเรียงถ้อยคำใหม่ให้ได้เนื้อความตรงกับความหมายเดิม (Paraphrasing)

การเรียบเรียงถ้อยคำใหม่เกี่ยวให้ตรงกับสิ่งที่พูดนี้ หมายถึงวิธีการบอกข่าวสารของผู้มาขอรับคำปรึกษาในรูปใหม่ง่ายแก่การเข้าใจทั้งนี้ให้มีความหมายคงเดิม จุดมุ่งหมายประการแรกคือเพื่อให้ผู้ให้คำปรึกษาได้ทดสอบความเข้าใจว่าผู้มาขอรับคำปรึกษาได้ผู้อะไรออกมารวมทั้งเป็นการทดสอบความตั้งใจของผู้ให้คำปรึกษาด้วย จุดมุ่งหมายประการที่สองได้แก่ เป็นการสื่อความหมายให้ผู้รับคำปรึกษาได้ทราบว่าได้มีความพยายามเข้าใจข่าวสารเบื้องต้นที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้พูดและถ้าหากได้รับความสำเร็จก็จะเป็นการช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้อธิบายสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในตนเองได้  ประการสุดท้าย  การเรียบเรียงถ้อยคำใหม่จะทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เกิดความพออกพอใจ ซึ่งจะเป็นหนทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจตนเองต่อไปได้

สรุปแนวในการเรียบเรียงถ้อยคำใหม่โดยให้ได้ใจความเดิมมีดังนี้

       1.  การฟังโดยให้ทราบถึงเนื้อหาข่าวสารเบื้องต้นของผู้มารับข่าวสาร

       2.  การนำข่าวสารในข้อแรกมาพูดหรือเขียนเสียใหม่ให้อยู่ในรูปที่ง่ายแก่การเข้าใจ

       3.  ให้ตั้งข้อสังเกตจับแนวทางหรือการตั้งคำถามเพื่อให้ตอบซึ่งจะทำให้ผู้มาขอรับคิดความปรึกษายืนยันหรือปฏิเสธความถูกต้องของเนื้อหาข่าวสารเบื้องต้นที่พูดทั้งนี้โดยการยึดถือเอาการช่วยส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจดีต่อตัวเขาเองเป็นสำคัญ

การทำให้เกิดความสว่างชัดเจน

            การทำให้เกิดความสว่างชัดเจนนั้น หมายถึงการนำสิ่งที่กล่าวไว้อย่างคุมเครือมาทำให้เกิดความเฉพาะเจาะจงการทำให้เกิดความกระจ่างชัดเจน จุดมุ่งหมายของเทคนิคข้อนี้ก็เพื่อทำให้

1.ความคิดของผู้มาขอรับคำปรึกษาเกิดความกระจ่างชัดเจนต่อตัวเขาจริงๆ

2.ทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาทราบว่าผู้อื่นเข้าใจตัวเขาเอง

3. เป็นการเปิดโอการให้เขาได้ทำความกระจ่างเกี่ยวกับสิ่งที่ตนได้กระทำผิดพลาด ถ้ามี

4.ทำให้เป็นการมองเห็นสิ่งที่ตนได้พูดหรือแสดงออกมา

การทำให้เกิดความสว่างชัดเจนนี้ทำได้หลายวิธีการ ดังนี้

1. การทำให้เกิดความสว่างชัดเจนโดยยกตัวอย่างเรื่องส่วนตัวมาประกอบ

2. การทำให้เกิดความสว่างชัดเจนโดยยกตัวอย่างเรื่องที่มิใช่ส่วนตัวมาประกอบ

3. การทำให้เกิดความสว่างชัดเจนในด้านการเข้าใจความหมายของภาษา

4.  การทำให้แจ่มแจ้งโดยการสรุป

สรุปแนวทางในการให้ความกระจ่างชัดเจนมีดังนี้

1. รูปแบบของการทำให้เกิดความสว่างชัดเจนมีหลายอย่างเช่นการทำให้เกิดความสว่างชัดเจนโดยการสรุป และยกตัวอย่างเป็นต้น

2. การยอมรับความสับสนในส่วนที่เกี่ยวกับความหมายที่ได้รับจากผู้มาขอรับคำปรึกษา

3. การพยายามที่จะกล่าวอธิบายหรือซักถามเพื่อก่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจน การกล่าวซ้ำคำเดิมหรือมีการอธิบายเพิ่มเติมก็ได้

การตรวจสอบการกำหนดความรู้

การตรวจสอบการกำหนดความรู้ได้แก่การซักถามผู้มาขอรับคำปรึกษาให้ได้พิสูจน์หรืออ้างอิงหลักฐานประกอบในสิ่งที่ตนได้แสดงออกมาด้วยการพูดหรือเขียนการสอบถามถึงการส่งผลย้อนกลับก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ทราบถึงความถูกต้องของสิ่งที่ได้ฟัง เหตุผลสำคัญที่ให้มีการตรวจสอบการกำหนดความรู้ก็ได้แก่ การเสริมสร้างทักษะในการฟัง

สรุปแนวทางในการกำหนดความรู้

1. การเรียบเรียงถ้อยคำสิ่งที่ได้ฟังมาแต่ต้นเสียใหม่ให้มีความเท่าเดิม

2. การซักถามเพื่อให้เกิดความมั่นใจในแง่ความเข้าใจที่ถูกออกมาจากผู้มาขอรับคำปรึกษาโดยตรง

3. การยอมให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มีโอกาสแก้ความเข้าใจเสียใหม่ถ้าหากความเข้าใจเดิมยังไม่เป็นที่ถูกต้อง

สรุปการฟังถือว่าเป็นหัวใจของทักษะในกลุ่มนี้และการฟังจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นไปตามธรรมชาติที่มากสุด

กลุ่มทักษะที่ 2 การนำทาง

จุดมุ่งหมายของการนำทางก็เพื่อกระตุ้นส่งเสริมหรือน้อมนำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้สนองตอบอย่างเปิดเผยแม้ทักษะในการนำจะใช้กันทั่วไปในกระบวนการให้คำปรึกษาแต่ทักษะนี้มีคุณค่าและจำเป็นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการริเริ่มการให้คำปรึกษาการติดต่อสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้มีการพูดจาสนทนากันผู้ให้คำปรึกษาจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการดึงเอาความคิดของผู้มาขอรับคำปรึกษาเพื่อให้ได้มีการพูดหรือแสดงออกอย่างเต็มที่ ดังนั้นการนำทางของผู้ให้คำปรึกษาจึงเป็นการช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้รู้ว่าทิศทางในกรที่จะนำตนเองอยู่ในแนวใด การนำนั้นย่อมอธิบายได้หลายกรณีกล่าวคือ ประการแรกการนำเป็นการกระทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เกิดการประทับใจ จากการคาดคะเนล่วงหน้าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต  ประการที่สองการนำหมายถึงการกระทำที่เฉพาะเจาะจงในการทำนายหรือคาดการล่วงหน้าว่าผู้มาขอรับคำปรึกษากำลังมีโครงการที่จะทำอะไรและต้องการที่จะให้มีการตอบสนองโดยได้รับการสนับสนุนตามความเหมาะสมอย่างไร

สำหรับการนำนั้นมีหลายประเภทดังนี้

ก. การนำโดยทางอ้อม  Indirect  Leading   การนำข้อนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เริ่มต้นให้มีการพูดคุยและมีความรับผิดชอบที่จะทำให้คำปรึกษาดำเนินไปด้วยความราบรื่น  แนวในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการนำโดยทางอ้อมมีดังนี้

1. การเข้าใจมุ่งหมายของการนำให้กระจ่างชัดเจน

2. การนำต้องเป็นการให้ความคิดโดยทั่วไปและให้มีความคลุมเครือพอสมควร

3. การยอมให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มีเสรีภาพที่จะเลือกตัดสินใจดำเนินการด้วยตนเองจากสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาได้กล่าวนำไว้

ข.การนำโดยตรง Direct  Leading  การนำตามวิธีนี้ใช้มากในระหว่างการให้คำปรึกษาดำเนินไปกล่าวคือวิธีการขมวดเน้นหรือเป็นการรวมหัวข้อที่จะพูดกันโดยที่มีความเฉพาะเจาะจง  กล่าวอีกข้อหนึ่งเป็นการนำที่มุ่งเน้นกระตุ้นให้ผู้มาขอรับปรึกษาได้มีการวิเคราะห์การทำให้เกิดความชัดเจนหรืออธิบายสิ่งที่ตนได้พูดในบางกรณีก็อาจจะรวมเอาข้อเสนอแนะต่างๆไว้ด้วย  แนวทางในการนำโดยตรงมีดังนี้

1. การพิจารณาจุดมุ่งหมายในการนำ

2. การระบุความมุ่งหมายให้เป็นคำพูดที่มีความเฉพาะเจาะจง มิใช่กล่าวอย่างรวมๆ

3. การยอมให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มีเสรีภาพที่จะติดตามสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษากล่าวนำไว้

ค.การเน้นจุดในการพูด  Focusing  จุดมุ่งหมายในการเน้นในการพูดก็เพื่อรวมหรือย่ำประเด็นที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้พูดโดยที่ผู้ให้คำปรึกษารู้สึกว่ามีคุณค่าแก่การให้คำปรึกษา  วิธีการเช่นนี้จะใช้เมื่อผู้มาขอรับคำปรึกษามีการพูดแบบน้ำท่วมทุ่งไม่มีจุดเด่นน่าสนใจ  สรุปแนวทางในการเน้นจุดในการพูดดังนี้

1.การใช้ความรู้สึกของผู้ให้คำปรึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับความสับสนวุ่นวายประกอบกับทิศทางของผู้มาขอรับคำปรึกษา  เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจเมื่อไรควรที่จะมีการเน้นจุดในการพูด

2.การพร้อมที่จะพิจารณาการส่งผลย้อนกลับจากผู้มาขอรับคำปรึกษาตามลำดับความสำคัญก่อนหลังของเรื่อง

3.การช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เพ่งเล็งความสนใจไปยังความรู้สึกของตนและผู้อื่น  ซึ่งอาจจะแฝงตัวซ่อนเร้นอยู่ในทุกรูปแบบของการอภิปลายขณะให้คำปรึกษา

ง. การซักถาม  Questioning  การซักถามนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการนำโดยมากมักกระทำในรูปของคำถามเปิดซึ่งจะช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้ถือเอาเป็นจุดเริ่มต้นในการสำรวจตัวเองต่อไป การซักถามนี้มิใช่ใช้เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างเดียวและก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถตอบคำถามด้วยคำว่า  ใช่หรือไม่ใช่แต่เป็นคำถามรูปปลายเปิดโดยมุ่งที่จะให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้รู้สึกเป็นอิสระในการที่จะศึกษาค้นคว้าให้กว้างขวางลึกซึ้งแล้วแต่ความต้องการ

ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับปัญหานี้ผู้มาขอรับคำปรึกษามักจะถามคำถามเพื่อให้ผู้ให้คำปรึกษาด้ช่วยเหลือตนได้หลายกรณีดังนี้

1. การถามแสดงความรู้สึกของผู้มาขอรับคำปรึกษามากกว่าการตั้งคำถามจริงๆ

2. การถามที่ต้องการความสนับสนุนหรือขอกำลังใจจากผู้ให้คำปรึกษา

3. การถามปัญหาส่วนตัว  เช่น  ค่านิยม  ทัศนคติ  ความเชื่อ และวิธีการแก้ปัญหาของผู้ให้ปรึกษา

4. คำถามที่แสดงถึงความวิตกกังวลของผู้มาขอรับคำปรึกษา

5. คำถามที่ผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ตีความหมายแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาเป็นผู้ตีความหมายแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษา

6. คำถามของผู้มาขอรับคำปรึกษามีลักษณะเป็นไปตามปกติวิสัยในการตอบของผู้ให้คำปรึกษา

ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวความคิดในการตั้งคำถามมีดังนี้

1.พยายามถามคำถามประเภทปลายเปิด

2.ต้องเป็นคำถามที่ต้องการจะดึงเอาความรู้สึกนึกคิดออกมายิ่งกว่าที่จะเป็นการให้ข่าวสารที่เพิ่มเติมแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษา

3. เป็นการถามคำถามซึ่งจะนำไปสู่การวิเคราะห์ตัวผู้มาขอรับคำปรึกษายิ่งกว่าที่จะเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้ให้คำปรึกษา

4. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถามปัญหาจากผู้มาขอรับคำปรึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบเป็นรายๆไป

จ. การสอบซัก  Probinng

หมายถึงการตั้งคำถามแบบตรงๆหลายๆคำถามเพื่อหาข้อสนเทศจากผู้มาขอรับคำปรึกษา ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรเร่งรีบในการสอบซักจนเกินไป เพราะจะทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาเกิดความไม่พร้อมที่จะพูดถึงปัญหาของตน พร้อมกันนั้นก็จะต่อต้านหรือทำลายสัมพันธภาพที่มีอยู่

ข้อควรปฏิบัติในการสอบซักมีดังนี้

1. คำตอบซักต้องไม่แนะคำตอบให้ผู้มาขอรับคำปรึกษา

2. ผู้ให้คำปรึกษาควรใช้คำตอบรับ เช่น ครับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาเกิดความรู้สึกการยอมรับหรือรับฟังสิ่งที่เขาได้พูด

3. ในกรณีที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาตอบไม่ชัดเจนควรสอบถามโดยการใช้คำถามกลางๆ

4. ถ้าผู้มาขอรับคำปรึกษาตอบไม่ทราบ ผู้ให้คำปรึกษาอาจแปลความหมายได้หลายอย่างต่อไปนี้ซึ่งอาจนำเอาไปเพื่อใช้สอบซักอีกก็ได้

ฉ.การวิเคราะห์อย่างคร่าวๆ  Tentative  Anaiysis

ทักษะข้อนี้คล้ายคลึงกับการวินิจฉัยสาเหตุ แม้ว่าจะมีข้อแตกต่างกันในแง่ของการใช้  กล่าวคือในแง่ของการวินิจฉัยสาเหตุผู้ให้คำปรึกษาจะศึกษาถึงข้อมูลอย่างละเอียดเท่าที่จะทำได้

ช.การวินิจฉัยหาสาเหตุ Diagnosis

หมายถึงทักษะการให้คำแนะนำโดยตรงซึ่งผู้ให้คำปรึกษาได้บอกให้แก่ผู้รับคำปรึกษาได้ทราบว่าสาเหตุปัญหาอยู่ตรงไหนทั้งนี้ภายหลังจากที่ได้ศึกษาถึงรายละเอียดตลอดจนข้อสนเทศเพื่อหาสมมติฐานของปัญหาแล้วจุดมุ่งหมายของเทคนิคนี้ก็เพื่อนำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับตนเอง

ซ.การประเมินผล Evaluation

หมายถึงการพิจารณาถึงคุณค่าต่างๆที่สัมพันธกับทางเลือกต่างๆรวมทั้งพิจารณาไตร่ตรองถึงผลได้ผลเสียจากการมาขอรับคำปรึกษาทักษะข้อนี้มีจุกมุ่งหมายให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เกิดการหยั่งเห็นตนเองและสามารถวางแผนตนเองได้ การประเมินผลจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อเมื่อใช้เกี่ยวกับปัญหาการตัดสินใจและทางเลือกในการปฏิบัติในรูปต่างๆโดยทั่วไปแล้วการประเมินผลใช้กันมากในการนำก่อนยุติการให้คำปรึกษารวมทั้งใช้ในการขจัดปัญหาข้อโต้แย้งต่างๆที่มีอยู่ในตัวผู้มาขอรับขอรับคำปรึกษา

ฌ.การชี้ให้รู้จักศีลธรรมอันดีงาม  Moralizing

เทคนิคข้อนี้ควรใช้เมื่อสร้างความสนิทสนมไว้เป็นอย่างดีวิธีการใช้อาจกระทำทางตรงหรือทางอ้อมทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยนำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมทางศีลธรรม  จริยธรรมในการดำเนินชีวิติและการกระทำตน ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษามีความสามารถสร้างความเข้าใจตนเองในทางสังคมได้เป็นอย่างดีในทางตรงกันข้ามถ้าเกิดความล้มเหลวก็จะเกิดการต่อต้านจากผู้มาขอรับคำปรึกษา และอาจจะทำให้สายสัมพันธ์ที่มีอยู่เกิดความผิดปกติขึ้นมา ดังนั้นก่อนใช้ควรคิดให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ให้คำปรึกษาที่มีประสบการณ์น้อย

ญ.  การชักชวน/การใช้ศิลปะการเกลี่ยกล่อม  Persuasion

ข้อนี้เป็นปัญหาที่ยังยุติไม่ได้ว่าควรจะเป็นเทคนิคของการให้คำปรึกษาหรือไม่เพราะเป็นการยึดเอาผู้ให้คำปรึกษาเป็นหลักอย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการให้คำปรึกษาจะขาดทักษะข้อนี้หาได้ไม่และโดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีหน้าที่การงานสูงหรือมีเอกทัคคะในสาขาวิชาการย่อมจะต้องรู้จักใช้เทคนิคข้อนี้ได้เป็นอย่างดี การชักชวนหรือศิลปะการเกลี้ยกล่อมเป็นการนำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษายอมรับทัศนะคติของผู้ให้คำปรึกษาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ข้อควรระวังในข้อนี้ก็คืออาจจะทำให้เกิดการขัดขืนเพราะต้องยอมด้วยความจำใจ

ฎ. การค้างความคิด  Incomplete Thought

ทักษะข้อนี้ผู้ให้คำปรึกษาตั้งใจที่จะยุติหรือพูดประโยคค้างไว้ไม่ให้จบทั้งนี้เพื่อนำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาคิดและได้พูดต่อให้สิ้นสุดกระแสความโดยปกติแล้วผู้ให้คำปรึกษาจะทิ้งส่วนประโยคที่เป็นใจความสำคัญของเรื่องไว้

ฏ.การมองปัญหาในแง่ของเวลา  Projection –Time

ทักษะข้อนี้เป็นสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาพยายามที่จะให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้ทดลองทำตนเองเข้าไปสู่ในสภาพการที่เป็นอนาคตหรือดีตทั้งนี้เพื่อทำให้สามารถมองเห็นปัญหาในแง่มุมต่างๆกันในกรณีนี้ทั้งผู้ให้และผู้รับคำปรึกษาจะเกิดการหยั่งเห็นถึงสาเหตุหรือผลประเด็นต่างๆที่ได้พูดคุยกันในการให้คำปรึกษา

ฐ. การมองปัญหาจากแง่มุมของบุคคลอื่น  ProkecionInterpersonl

ทักษะข้อนี้เป็นสิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาพยามยามที่จะนำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มองเห็นปัญหาของตนเองโดยการมองปัญหาจากแง่มุมของบุคลอื่นซึ่งอาจจะกระทำในรูปของการแสดงละครเหมือน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้ทำความกระจ่างแจ่มแจ้งในสถานการณ์นั้นๆทุกแง่ทุกมุมพร้อมทั้งเกดการหยังเห็นในแนวใหม่ต่อไป

ฑ. การยอมรับ  Acceptance

เป็นทักษะการนำแบบไม่นำทางโดยที่ผู้ให้คำปรึกษาพยามยามที่จะชี้ให้เห็นว่าตนเองสนใจในตัวผู้มาขอรับคำปรึกษามีความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้พูดหรืออธิบาย จุดมุ่งหมายของทักษะข้อนี้ก็เพื่อทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เกิดความพอใจมีความบูรณาการและไม่เสียสมดุลในตัว  โดยทั่งไปแล้วผู้ให้คำปรึกษาจะใช้คำพูดสั้นๆว่า ครับ  ใช่  หรือบางกรณีก็เพียงแต่ผงกศีรษะ

ฌ. การแสดงความเห็นชอบด้วย  Approval

ทักษะการนำข้อนี้เป็นวิธีการส่งเสริมหรือการให้กำลังใจแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษา ทั้งนี้เพื่อเขาจะได้ดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไปการแสดงออกซึ่งความเห็นชอบต่อผู้มาขอรับคำปรึกษานี้ย่อมกระทำได้โดยคำพูด กิริยาอาการ  น้ำเสียงหรือทาทาง  การใช้ทักษะข้อนั้นจะกระทำเมื่อผู้มาขอรับคำปรึกษากำลังตัดสินใจเลือกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คุณค่าใกล้เคียง  ข้อควรระวังคือวิธีการนี้ใช้ได้ดีเมื่อผู้ให้คำปรึกษามีอำนาจอยู่ในมือที่จะจัดการใดๆได้แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรใช้บ่อยจนเกนไปเพราะจะทำให้เกิดเป็นอันตรายได้มากกว่า

ณ. การทำให้เกิดความมั่นใจหรือกำลังใจ  Assurance

ทักษะข้อนี้เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากการแสดงความเห็นชอบด้วยจุดมุ่งหมายของการใช้ทักษะการนำในข้อนี้ก็เพื่อทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มีความรู้สึกสบายใจ มองเห็นตนเองรวมทั้งสามารถลกความวิตกกังวลได้ ยิ่งไปกว่านี้ก็ยังทำให้การอภิปลายยุติลงด้วยดี  การใช้เทคนิคนี้ควรระวังอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นจะกลายเป็นการดูถูกความรู้สึกหรือความสามรถของผู้มาขอรับคำปรึกษาได้

กลุ่มทักษะที่ 3การสะท้อนกลับ  Skill Cluster 3  Reflecting

การสะท้อนกลับเนื้อหา

การสะท้อนกลับประสบการณ์

การสะท้อนกลับแบบเลือก

การสะท้อนกลับแบบง่าย

การสะท้อนกลับความรู้สึก

สะท้อนกลับ

การสะท้อนกลับคือวิธีการอย่างหนึ่งที่จะบอกให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้ทราบว่าบุคคลทุกคนอยู่ในกรอบทิศทางแห่งการอ้างอิงซึ่งกันและกันและจะต้องยอมรับการเกี่ยวข้องที่มีอยู่ต่อกันด้วยการสะท้อนกลับมี  5  ประเภท

ข้อสรุปในการสะท้อนกลับมีดังนี้

1. การพิจารณาเนื้อหาสาระทั้งหมดของความรู้สึกที่ได้พูดจากเนื้อหา

2. การเลือกสรรหาสาระที่ก่อให้เกิดความกลมกลืนที่ดีทีสุดโดยการนำเอาเนื้อหาและความรู้สึกทั้งสองประการมาทำให้เกิดความบูรณาการรวมทั้งสามารถทำให้บรรลุความมุ่งหมาย

3. ให้มีการสะท้อนกลับทางประสบการณ์ที่พึ่งจะได้รับมาใหม่ๆ

4. การคอยจับตาดูเมื่อผู้มาขอรับคำปรึกษาแสดงอาการตอบโต้ในรูปของการปฏิเสธหรืยอมรับการสะท้อนกลับ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้มาขอรับคำปรึกษาการจะทำอะไรในขั้นตอนต่อไป

กลุ่มทักษะที่4 การสรุป  Skill Cluster 4 Summarizing

ทักษะในการสรุปนี้ประกอบด้วยสิ่งที่ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้แสดงออกอะไรออกมามีเนื้อหาสาระอะไรบ้างและได้แสดงความรู้สึกออกมาอย่างไรนอกจากนี้ยังรวมเอากระบวนการแสดงออกในส่วนที่เกี่ยวกับความมุ่งหมายจังหวะเวลา และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในตัวผู้มาขอรับคำปรึกษาด้วย  กล่าวอย่างง่ายๆว่าการสรุปนั้นจะต้องสรุปในความรู้สึกเนื้อหาและกระบวนการการอธิบายการสรุปทั้งสามประการนี้จะได้ทำรวมๆกันไปโดยไม่แยกออกเป็นส่วนๆสรุปในการให้คำปรึกษานั้นอาจถือว่าเป็นเรื่องของการรวบรวมของการศึกษาความรู้สึกและความคิดด้านต่างๆในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของตัวผู้มาขอรับคำปรึกษา

ในการสรุปการให้คำปรึกษานั้นอาจจะกระทำเป็นตอนเดียวหรือหลายตอนก็ได้แต่ความคิดหลักก็คือการหยิบยกเอาหลักสิ่งที่สำคัญสุดยอดของเนื้อหาและความรู้สึกออกมาให้ได้

จุดมุ่งหมายสำคัญของการสรุปพอแยกเป็น 2 นัย  เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษาได้เกิดความต้องการที่จะศึกษาถึงความคิดและความรู้สึกของตน  ประการที่สอง เป็นการทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้เกิดการตระหนักรู้ถึงความก้าวหน้าในการเรียนและการแก้ปัญหาตามหลักแล้วการสรุปจะช่วยให้การให้คำปรึกษาได้สิ้นสุดลงด้วย  แนวในการสรุปมีดังต่อไปนี้

1. ให้มีการรับฟังหัวข้อปัญหาต่างๆรวมทั้งการแสดงออกทางอารมณ์

2. การจับเอาเฉพาะประเด็น  แนวหลัก  และความรู้สึกต่างๆมาประมวนกันเข้าไว้เป็นหัวข้อกว้างๆ

3. การไม่เพิ่มเติมความคิดใหม่ของผู้ให้คำปรึกษาในการสรุป

4. ให้มีการตัดสินใจเลือกเอาระหว่างผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้สรุปให้ฟังหรือขอให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาเป็นผู้สรุปเอง

5. แนวในการสรุปดังได้กล่าวมาใน 4 หัวข้อข้างตนผู้ให้คำปรึกษาควรจะได้มีการพิจารณาจุดมุ่งหมายของตนเอง

กลุ่มทักษะที่ 5 การเผชิญหน้ากัน  Skill Cluster 5  Confronting

การเผชิญหน้ากันนี้นับว่าเป็นทักษะที่สลับซับซ้อนอ่างหนึ่งประกอบด้วย

1. การตระหนักถึงความรู้สึกของตน

2. ความสมรถที่จะอธิบายถึงความรู้สึกของตนเองพร้อมทั้งยินยอมให้ผู้อื่นมี่ส่วนร่วมรับรู้

3. การมีปฏิกิริยาต่อการส่งผลย้อนกลับในรูปของการออกความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้น

4. การคิดไตร่ตรองในรูปของการเผชิญหน้ากับตนเอง

5. การกล่าวย้ำในรูปของการเน้นและการทำให้เกิดความกระจ่างชัดเจน

6. การผสมผสานวิธีเพื่อสัมผัสความรู้สึกต่างๆ

ทักษะย่อยในการเผชิญหน้ากันมีดังต่อไปนี้

ซ. การกล่าวย้ำข้อความ

ฌ  การสัมพันธ์ติดต่อ

ง. การสำนึกรู้ถึงความรู้สึก

สรุปแนวทางในการสร้างทักษะเกี่ยวกับการสัมพันธ์ติต่อมีดังต่อไปนี้

1. การขอร้องให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้พูดทุกสิ่งทุกอย่างจากสิ่งที่คุณตระหนักรู้ในใจ

2. ให้มีการอธิบายความคิดที่ไหนบ่าออกมานั้นโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลและมีความต่อเนื่องกันแต่ประการใด

3. การใช้ผลการติดต่อสัมพันธ์เพื่อช่วยให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้มีการสืบค้นความรู้สึกของตนต่อไป หรือมีการอธิบายผลของการติดต่อสัมพันธ์ความรู้สึกกับคำเหล่านั้น

4. เมื่อมีการติดต่อสัมพันธ์กันหลายรูปหลายแบบดังนั้นจึงควรจะได้มีการหยิบยกเอาคำพูดคำใดคำหนึ่งที่ก่อให้เกิดอารมณ์จากคำกล่าวของผู้มาขอรับคำปรึกษา และขอร้องให้ผู้มาขอให้คำปรึกษาได้พูดอะไรก็ได้ออกมาอย่างอิสระในแง่ความคิดและความรู้สึกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

กลุ่มทักษะที่ 6 การแปลความหมาย  Skill Cluster  6  Interpreting

การแปลความหมายนี้เป็นกระบานการที่ผู้ให้คำปรึกษาได้มีการอธิบายความหมายเหตุการณ์ให้แก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาเพื่อว่าเขาจะได้มองเห็นปัญหาไปในอีกแง่มุมต่างๆกัน จุดมุ่งหมายของการแปลความหมายก็คือการสอนให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้แปลเหตุการณ์ในชีวิติของตนเองด้วยตัวของเขาเองในการเรียบเรียงข้อความใหม่ให้ได้ความตรงกันกับสิ่งที่พูดนั้นผู้ให้คำปรึกษามิได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกรอบแห่งการคิดภายในของผู้มาขอรับคำปรึกษาแต่การแปลความหมายจะเป็นการเสนอแนวคิดในการมองเห็นได้ว่าโดยปกติผู้ให้คำปรึกษามักจะครอบงำความคิดเห็นของผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือมีความคิดล้ำหน้าผู้มาขอรับคำปรึกษาอยู่เสมอ  แนวในการแปลความหมายมีดังนี้

1. การศึกษาถึงเนื้อหาข่าวสารขั้นมูลฐานของผู้มาขอรับคำปรึกษา

2. การเรียบเรียงถ้อยคำใหม่แต่ให้ความหมายคงเดิมเพื่อให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้พิจารณา

3. การให้คำอธิบายเพิ่มเติม

4. การใช้ภาษาที่ง่ายและให้มีความหมายใกล้เคียงมากที่สุดต่อเนื้อหาสาระจริงๆ

5. ให้การแนะนำในทำนองที่ว่าผู้ให้คำปรึกษากำลังเสนอแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับความหมายของประโยคหรืพฤติกรรมอย่างคร่าวๆ

6. มีความเป็นห่วงเป็นใยในปฏิกิริยาของผู้มาขอรับคำปรึกษาที่มีต่อการแปลความหมายของผู้ให้คำปรึกษา

7. จุดมุ่งหมายสำคัญของการแปลความหมายคือ  การสอนผู้มาขอรับคำปรึกคำปรึกษาให้รู้จักแปลความหมายด้วยตัวของตัวเองทั้งนี้ให้จำไว้ด้วยว่าไม่มีใครสามารถที่จะมองเห็นอะไรได้ดีเท่ากับตัวของผู้ให้คำปรึกษาเอง

กลุ่มทักษะที่  7  การให้ข่าวสาร Skill Cluster  7  Interpreting

การให้ข่าวสารหมายถึงการแจ้งข่าวสารให้แก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาหรือการบอกเล่าโดยที่เขาไม่ทราบมาก่อน  ทักษะนี้ใช้กันบ่อยมากที่สุดในการให้ข้อสนเทศทางการศึกษาและอาชีพ

วิธีการให้ข่าวสารนั้นอาจกระทำได้  2  นัยคือ  ให้ข้อเสนอแนะและการให้คำแนะนำการให้ข้อเสนอแนะนั้นผู้ให้คำปรึกษาจะเสนอทางเลือกหลายๆทางเพื่อผู้มาขอรับคำปรึกษาจะรุจักตัดสินใจเลือกด้วยตัวของเขาเองส่วนการให้คำแนะนำนั้นมีลักษณะบังคับให้ทำตามมากกว่ารายละเอียดของข้อเสนอแนะและการให้คำแนะนำมีดังนี้

การให้ข้อเสนอแนะ

ทักษะข้อนี้เป็นแบบไม่นำทาง  กล่าวคือเป็นการให้แนวคิดแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษายิ่งกว่าการแนะนำ  ผู้ให้คำปรึกษาจะเสนอแนะทางเลือกในการปฏิบัติแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาโดยไม่บอกให้เขาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยตรงทั้งนี้เป็นการเปิกโอกาสให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาได้รู้จักคิดพิจารณาตัดสินใจด้วยตัวของเขาเองซึ่งจะทำให้เกิดความงอกงามและสามารถเป็นอิสระรวมทั้งปกครองตนเองได้ในที่สุด

การให้คำแนะนำ

เป็นลักษณะการนำโดยการสั่งประเภทหนึ่งซึ่งผู้ให้คำปรึกษาจะบอกให้ผู้มาขอรับคำปรึกษาทราบถึงสิ่งที่เขาต้องกระทำ  ทักษะข้อนี้ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนเองเป็นพิเศษ การให้คำแนะนำนี้คล้ายกับการแหย่หรือการเร่งเร้า แต่มีลักษณะที่นุ่มนวลกว่าและในบางกรณีอาจจะเข้ากันได้กับการเสนอแนะทั้งนี้เพื่อการเสนอแนะเป็นการให้ข้อคิดแก่ผู้มาขอรับคำปรึกษาในลักษณะที่มีความเผด็จการน้อยกว่าข้อเสียที่ชัดเจนของการให้คำแนะนำก็คือทำให้ผู้มาขอรับคำปรึกษายอมรับตัวของผู้ให้คำปรึกษาแทนที่จะยอมรับเฉพาะแนวคิดเท่านั้น

ข้อสรุปทักษะในการให้คำแนะนำมีดังนี้

1. วิธีการให้ข่าวสารมีหลายประเภท

2.จะต้องให้คำบอกกล่าวหรือให้ทราบแหล่งข้อมูลต่างๆซึ่งผู้ให้คำปรึกษามีความเชี่ยวชาญรอบรู้

3.จะต้องไม่ใช้ข้อสอบทางการศึกษาหรือจิตวิทยาโดยปราศจากการฝึกฝนการใช้และรู้ข้อจำกัดในด้านต่างๆ

4.ต้องให้คำแนะนำในรูปที่เป็นการเสนอแนะให้มีทางเลือกที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ

ข้อสรุปในบทนี้ผู้เขียนได้กล่าวถึงทักษะสำคัญ  7  ประการโดยย้ำการเอาไปใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมที่ตนอยู่นอกจากนี้กล่าวถึงกลุ่มทักษะย่อยๆในทักษะดังกล่าวนั้นพร้อมทั้งแสดงตัวอย่างให้เห็นถึงการใช้รูปต่างๆของกระบวนการให้การสัมภาษณ์  จุดเด่นของบทนี้ก็อยู่ที่การส่งผลย้อนกลับภายหลังจากที่ใช้ทักษะนั้นๆไปแล้วทั้งนี้ตามหลักยุทธศาสตร์ของการให้คำปรึกษาดังที่กล่าวมาในบทต้นๆ

ทักษะในการให้คำปรึกษาว่าด้วยการแก้ไขปัญหาและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม                   

บุคคลที่มาขอรับคำปรึกษามัก จะเป็นผู้ที่ไม่มีความสบายใจด้วยเรื่องต่าง และหาได้ว่าตนจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมประการใดไม่ ซึ่งเรื่องนี้ในไม่ช้าผู้มาขอรับคำปรึกษาจะต้องสนใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และในที่สุดพฤติกรรมของเขาก็จะเปลี่ยนไปเองโดยไม่รู้สึกตัว ทั้งนี้เพราะการให้คำปรึกษาเป็นเรื่องของการเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยตรง ซึงอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่มองเห็นและในสิ่งที่มองไม่เห็นก็ได้ ตัวอย่างเช่น การที่บุคคลต้องทราบว่านเองเป็นคนอย่างไร มีความรู้สึกต่อบุคคลอื่นอย่างไร หรือมองโลกในแง่ไหน สิ่งเหล่านี้ย่อมทราบได้จากการรายงานของตัวเอง (self-report) ในลักษณะที่เฉพาะเจาะจง กล่าวอีกในหนึ่งว่าบุคคลจะต้องให้ความคิดเห็นในส่วนที่ตนเองคิดอย่างไร และรู้สึกอย่างไร

ทักษะที่จะกล่าวถึงในการปฏิบัติการให้คำปรึกษานี้มีอยู่ 2 ประการประการแรกคือการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเกี่ยวกับขบวนการและทักษะด้านต่างๆ ประการที่สองได้แก่ กลุ่มทักษะซึงจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเฉพาะเจาะจง และเป็นเรื่องของการเพิ่มพูนทักษะมากกว่าที่จะขจัดข้อบกพร่องให้หมดไป ตัวอย่างเช่นทักษะในการปรับปรุงการเรียน ทักษะทางสังคม และทักษะในการยอมรับพฤติกรรมที่ปรารถหนา ข้อสำคัญก็คือผู้ให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการทำให้บรรลุระดับปฏิบัติการที่สูงสุดตามลำดับ

ลักษณะและข้อสมมติของแนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษา

ลักษณะของแนวทางปฏิบัติในการให้คำปรึกษา

จุดสำคัญของแนวปฏิบัตินี้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มาขอรับคำปรึกษาโดยมีลักษณะเฉพาะเจอะจง ซึ่งในข้อนี้จะแตกต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วเพราะในบทต้นๆนั้นจะมุ่งเปลี่ยนแปลงความเข้าใจและความรู้สึกของผู้มาขอรับคำปรึกษา ความจริงนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยทั่วไปถือเป็นมาตรฐานสูงสุดเพื่อจะพิจารณาถึงความสำเร็จของการให้คำปรึกษาแบบต่างๆ

แนวปฏิบัติการในการให้คำปรึกษาตามที่กล่าวมานี้ เป็นยุทธศาสตร์แห่งการให้คำปรึกษาที่เรียกว่า การให้คำปรึกษาแบบพฤติกรรม ( behavioral counseling ) ซึ่งมีหลักการดังนี้

1. การประเมินพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และสภาพทางสภาพที่ทำให้ปัญหาทางพฤติกรรมนั้นดำเนินไป

2. มีการศึกษาถึงความสอดคล้องต้องกันระหว่างจุดหมายที่กล่าวไว้โดยเฉพาะเจาะจงและชัดเจนกับพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น

3. มีการใช้ทักษะเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ( change skill ) ดังจะกล่าวต่อไปรวมทักษะทุกอย่างที่ใช้ในการให้คำปรึกษาด้วย

4. การประเมินผลที่ออกมาตามจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้

5. การส่งผลข้อสนเทศย้อนกลับ ( feedback ) เพื่อการปรับปรุงกระบวนการของแนวปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์การให้คำปรึกษาแบบพฤติกรรมนี้จะย้ำการเรียนรู้ วิธการแก้ปัญหา เพื่อจะสามารถในการนำตนเองและเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้