หลักสูตรนิติศาสตร์ รามคําแหง 2564 เทียบโอน

นิติศาสตร์ | บริหารธุรกิจ | รัฐศาสตร์ | เศรษฐศาสตร์ | ศึกษาศาสตร์ | สื่อสารมวลชน | พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | มนุษยศาสตร์ | วิทยาศาสตร์

Show

ส่วนภูมิภาค

เปิดรับสมัคร 4 คณะ สอบใกล้บ้านที่ศูนย์สอบ 41 แห่ง ทั่วประเทศ

ส่วนภูมิภาคมีที่ใด และสนามสอบใดบ้างคลิก

นิติศาสตร์ | รัฐศาสตร์ | บริหารธุรกิจ | สื่อสารมวลชน

ส่วนกลาง หรือ ส่วนภูมิภาค สมัครเรียนที่ไหนดี ? Click !

ประเภทที่รับสมัคร

นักศึกษาพรีดีกรี(Pre-Degree)

ระบบการเรียนสะสมหน่วยกิตของม.รามคำแหงล่วงหน้า เพียงแค่ตอนนี้จบ ม.3 แล้ว และกำลังเรียนม.ปลายสายสามัญ, ปวช., กศน.ม.ปลาย (หรือเทียบเท่า) ก็สะสมหน่วยกิตล่วงหน้าของรามคำแแหงก่อนได้

พรีดีกรีคืออะไร ? อ่านเพิ่มเติมคลิก!


นักศึกษา ป.ตรี ภาคปกติ(ไม่เทียบโอนหน่วยกิต)

สมัครยื่นสมัครโดยใช้วุฒิการศึกษา ตั้งแต่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า (กศน.ม.6 หรือ ปวช. ก็สมัครได้) ไม่ใช้คะแนนสอบ GAT/PAT, ONET, GPAX, ไม่เข้าร่วมระบบ TCAS
*นิสิต/นักศึกษาระดับอุดมศึกษาสถาบันอื่น สมัครภาคปกติ(ไม่เทียบโอนหน่วยกิต) เรียนควบคู่สองสถาบันได้


นักศึกษา ป.ตรี ภาคปกติ(เทียบโอนหน่วยกิต)

รับสมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิตแบ่งตามผู้มีสิทธิเทียบโอนประเภทต่าง ๆ ทั้งที่จบปริญญาใบแรกแล้ว และโอนย้ายสถาบันฯ

ช่องทางการรับสมัครและวันรับสมัคร

ภาค 2/2565 รับสมัครเฉพาะส่วนกลางเท่านั้น

สมัครออนไลน์

10 ตุลาคม – 21 พฤศจิกายน 65
สมัครได้ที่เว็บไซต์ https://iregis2.ru.ac.th
*สมัครได้ทั้งผู้ที่เทียบโอนฯและไม่เทียบโอนหน่วยกิต

ขั้นตอนการสมัครออนไลน์

สมัครที่มหาวิทยาลัย (Walk-in)

18 – 21 พฤศจิกายน 65 (ทุกวัน)
ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก(กรุงเทพฯ) 8:30-15:30 น.
*สมัครได้ทั้งผู้ที่เทียบโอนฯและไม่เทียบโอนหน่วยกิต

สมัครวิธีนี้สะดวกและรวดเร็วที่สุด🤗

สมัครทางไปรษณีย์

10 ตุลาคม – 11 พฤศจิกายน 65
*ผู้สมัครที่ต้องการเทียบโอนหน่วยกิตห้ามสมัครผ่านทางไปรษณีย์

วิธีสมัครทางไปรษณีย์

หมายเหตุ
ผู้สมัครที่ต้องการเทียบโอนหน่วยกิต สามารถสมัครได้ผ่านระบบออนไลน์หรือสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น (ห้ามสมัครผ่านระบบไปรษณีย์)

ระเบียบการรับสมัคร และใบสมัคร

การรับสมัครครั้งนี้ไม่มีการจำหน่ายระเบียบการรับสมัคร ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดระเบียบการรับสมัครได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายโดยกดปุ่มที่ปรากฎอยู่ในช่องนี้
หากสมัครผ่านระบบออนไลน์ใบสมัครจะอยู่ในระบบแล้ว / หากสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย(Walk-in) สามารถรับใบสมัครได้ ณ จุดรับสมัครที่มหาวิทยาลัย

ระเบียบการฯ ส่วนกลาง 2565

ระเบียบการฯ ส่วนภูมิภาค 2565

หลักสูตรทั้งหมด

หลักฐานการสมัคร

ค่าใช้จ่าย

เทียบโอนหน่วยกิต

✓ หลักสูตร ภาคปกติ และพรีดีกรี

  • ภาคปกติ ส่วนกลาง 25 บาท/หน่วยกิต
  • ป.ตรี/พรีดีกรี ส่วนภูมิภาค 50 บาท/หน่วยกิต
  • สมัครได้เลย ไม่ใช้คะแนน GAT/PAT, ONET, GPAX ไม่เข้าระบบ TCAS
  • เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วยได้
  • ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน*
  • นำวุฒิ ม.3 สมัครสะสมหน่วยกิตด้วยระบบพรีดีกรี ควบคู่กับการเรียนชั้น ม.ปลาย(หรือเทียบเท่า)ได้
  • เรียนรามคำแหงควบคู่กับมหาวิทยาลัยอื่นพร้อมๆกันได้

  • มหาวิทยาลัยอื่นแล้วไม่จบ โอนหน่วยกิตมาเรียนต่อที่รามคำแหงได้
  • เรียนดี เทอมต่อไปเรียนฟรีไปเลย !
  • เรียนแล้วไม่ตรงใจ เปลี่ยนคณะสาขาวิชาได้
  • อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ด้วยสื่อออนไลน์
  • มีคณะให้เลือกเรียนเยอะกว่าเมื่อสมัครเรียนที่ส่วนกลาง
  • สอบใกล้บ้านที่ศูนย์สอบ 41 แห่ง เมื่อสมัครเรียนส่วนภูมิภาค
  • ไม่เข้าห้องเรียนก็ได้ จัดสรรเวลาเรียน/เวลาทำงานด้วยตนเอง

*เราสนับสนุนให้นักศึกษาทุกคนเข้าชั้นเรียน(ในสถานการณ์ปกติที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19) เพื่อรับการเรียนรู้และประสบการณ์การสอนจากคณาจารย์ โดยเฉพาะนักศึกษาที่เรียนในกลุ่มวิชาการสอน(คณะศึกษาศาสตร์) กลุ่มวิชาปฏิบัติการ(คณะวิทยาศาสตร์ คณะสื่อสารมวลชน และอื่นๆ) เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีที่สุด

ข้อมูลสำคัญสำหรับผู้สมัคร

  • ส่วนกลาง
  • ส่วนภูมิภาค

วันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

วันเปิดเทอม(เริ่มบรรยาย)

เปิดเทอม 2/2565 : วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565

ค่าใช้จ่ายในการสมัคร

  • สมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติ ไม่เกิน 3,750 บาท*
  • สมัครเป็นนักศึกษาระบบพรีดีกรี ไม่เกิน 3,100 บาท*
    *อัตราค่าใช้จ่ายที่ปรากฎนี้ เป็นอัตราค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนสูงสุด ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน

หมายเหตุ
  • *อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ที่ปรากฎข้างต้นเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดแปรผลตามหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนเรียนวิชาน้อยค่าใช้จ่ายจะน้อยลงด้วย โดยค่าใช้จ่ายนี้ประกอบด้วย(1)ค่าบำรุงการศึกษา, (2)ค่าธรรมแรกเข้าเป็นนักศึกษา, (3)ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, (4)ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา, (5)ค่าบริการสารสนเทศ, (6)ค่าหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน, (7)ค่าธรรมเนียมการสอบ(เฉพาะผู้สมัครส่วนภูมิภาค)
  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ไม่รวม ค่าหนังสือ ชุดนักศึกษา ประกันภัย ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาจะซื้อเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้
  • ดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ทั้งหมด คลิกที่นี่
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไม่มีหอพักนักศึกษา(หอใน)ให้บริการ แต่มีโครงการ “หอพักติดดาว” เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยและผู้ให้บริการหอพักเอกชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมากและบางนา ประเมินคุณภาพหอพักเป็นระดับต่างๆ คลิกที่นี่

เอกสาร/หลักฐานการสมัคร

หลักฐานที่ใช้สมัครเป็นนักศึกษาใหม่

1. กรณีสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย

นักศึกษาภาคปกติ, เทียบโอนหน่วยกิต
  1. ใบสมัคร (ม.ร.2)*
  2. แบบแสดงความยินยอมในการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล* 
  3. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้วหรือ 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  4. สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ (กรณีเทียบโอนหน่วยกิต ให้เตรียมสำเนา 4 ฉบับ)
    “วุฒิการศึกษาต้องระบุการจบหลักสูตรและวันที่สำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น”
    4.1 กรณีเปลี่ยนชื่อ, สกุล, คำนำหน้านาม, ยศ ให้แนบสำเนาการเปลี่ยนดังกล่าว ให้เท่ากับจำนวนวุฒิการศึกษาและเย็บติดกันเป็นชุด (ถ้ามี)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
  6. ใบรับรองแพทย์ (“ใบรับรองแพทย์ทั่วไป” ขอได้ทั้งจากคลินิกหรือโรงพยาบาล ของรัฐหรือเอกชนแห่งใดก็ได้)
  7. แผ่นระเบียนประวัตินักศึกษา (ม.ร.25)*

หมายเหตุ
* = มหาวิทยาลัยจะแจกเอกสารนี้ให้แก่ผู้สมัคร ณ จุดรับสมัคร

โอนย้ายสถาบัน(ไม่จบการศึกษาจากสถาบันเดิม)
  1. ใบสมัคร (ม.ร.2)*
  2. แบบแสดงความยินยอมในการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล* 
  3. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้วหรือ 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  4. สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ (ปพ.1 จบม.6)
    “วุฒิการศึกษาต้องระบุการจบหลักสูตรและวันที่สำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น”
    4.1 กรณีเปลี่ยนชื่อ, สกุล, คำนำหน้านาม, ยศ ให้แนบสำเนาการเปลี่ยนดังกล่าว ให้เท่ากับจำนวนวุฒิการศึกษาและเย็บติดกันเป็นชุด (ถ้ามี)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
  6. ใบรับรองแพทย์ (“ใบรับรองแพทย์ทั่วไป” ขอได้ทั้งจากคลินิกหรือโรงพยาบาล ของรัฐหรือเอกชนแห่งใดก็ได้)
  7. แผ่นระเบียนประวัตินักศึกษา (ม.ร.25)*
    หลักฐานที่ประกอบการเทียบโอนหน่วยกิตโอนย้ายสถาบัน
    – สำเนาใบลาออกจากสถาบันเดิม
    – สำเนาทรานสคริปท์(Transcipt) หรือคำอธิบายรายวิชา (Course Description) จำนวน 4 ชุด

หมายเหตุ
* = มหาวิทยาลัยจะแจกเอกสารนี้ให้แก่ผู้สมัคร ณ จุดรับสมัคร

นักศึกษาระบบพรีดีกรี (Pre-Degree)
  1. ใบสมัคร (ม.ร.2)*
  2. แบบแสดงความยินยอมในการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล* 
  3. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้วหรือ 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  4. สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ
    “วุฒิการศึกษาต้องระบุการจบหลักสูตรและวันที่สำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น”
    หากผู้สมัครกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, กศน.ม.ปลาย, ปวช. ให้ยื่นสำเนาวุฒิจบ ม.3 สมัครเรียน (ใบ ปพ.1 ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา หรือประกาศนียบัตรจบฯ(ปพ.2)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
  6. แผ่นระเบียนประวัตินักศึกษา (ม.ร.25)*

หมายเหตุ
* = มหาวิทยาลัยจะแจกเอกสารนี้ให้แก่ผู้สมัคร ณ จุดรับสมัคร


2. เอกสารประกอบการสมัครทางอินเทอร์เน็ต

สำหรับผู้ที่ทำการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ทางระบบอินเทอร์เน็ต จะต้องอัพโหลดเอกสารการสมัครเข้าสู่ระบบรับสมัคร

  1. รูปถ่าย (นามสกุลไฟล์ .JPG ขนาด 2×1.5 นิ้ว หรือ ความละเอียดอย่างน้อย 230×220 Pexel ขนาดไม่เกิน 4MB)
  2. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงลายมือชื่อ (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  3. สำเนาวุฒิการศึกษา ด้านหน้า/ด้านหลัง (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/สกุล (ถ้ามี) (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  5. กรณีเทียบโอน ให้เตรียม สำเนาใบแสดงผลการเรียน(Transcript), คำอธิบายรายวิชา(Course Descriptoin)กรณีโอนย้ายสถาบัน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  6. กรณีใช้วุฒิการศึกษาต่างประเทศ ให้เตรียม แบบยินยอมเปิดเผยข้อมูลทางการศึกษา(Authirization Form), แบบที่อยู่สถานศึกษาเดิม(School Address) ดูแบบฟอร์มต่างๆได้จากระเบียบการรับสมัครฯ (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)

ให้ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ก่อนทำการอัพโหลดเอกสารประกอบการสมัคร
โปรดตรวจสอบว่าเอกสารมีความถูกต้อง ชัดเจน ไม่มัว ไม่ขาดส่วนสำคัญ ก่อนอัพโหลดเพื่อประโยชน์ของตัวท่าน

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนกลาง

  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนกลาง ประกอบด้วย 2 วิทยาเขต ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่
    • วิทยาเขตหัวหมาก (รามฯ 1) เป็นที่ทำการหลักของมหาวิทยาลัย และเป็นที่ทำการของคณะทุกคณะ ตั้งอยู่ที่ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมากเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร (ติดกับการกีฬาแห่งประเทศไทย และราชมังคลากีฬาสถาน)
    • วิทยาเขตปัจฉิมสวัสดิ์ หรือ บางนา (รามฯ 2)เป็นสถานที่เรียน มีห้องเรียนของกลุ่มวิชาพื้นฐาน ตั้งอยู่ที่ แขวงดอกไม้ เขตประเวศกรุงเทพมหานคร

คณะที่เปิดรับสมัคร

  • ผู้ที่สนใจจะสมัครเรียนเป็นนักศึกษา ภาคปกติ ส่วนกลาง จะสามารถเลือกเรียนในหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ ได้แก่
    • คณะนิติศาสตร์
    • คณะบริหารธุรกิจ
    • คณะรัฐศาสตร์
    • คณะมนุษยศาสตร์
    • คณะศึกษาศาสตร์
    • คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    • คณะเศรษฐศาสตร์
    • คณะวิทยาศาสตร์
    • คณะสื่อสารมวลชน
      สามารถดูรายละเอียดของ หลักสูตร/คณะ/สาขาวิชา ที่เปิดรับสมัครได้จาก”ระเบียบการรับสมัคร” หรือ คลิกที่นี่
  • นอกจากนี้ยังมีคณะที่เปิดหลักสูตรพิเศษ(ภาคพิเศษ/โครงการพิเศษ) อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์,คณะทัศนมาตรศาสตร์, คณะศิลปกรรมศาสตร์,คณะธุรกิจการบริการ ฯลฯ  ซึ่งคณะเหล่านี้แยกส่วนการศึกษากับภาคปกติ และไม่ใช้ระบบการรับสมัครเดียวกัน หากสนใจศึกษาภาคพิเศษโปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากคณะที่สนใจศึกษาต่อโดยตรงหรือ คลิกที่นี่

นักศึกษาที่สมัครเรียนใหม่ จะได้เรียนที่ใด ?

นักศึกษาส่วนกลาง

  • ถ้าต้องการเดินทางมาเรียนที่มหาวิทยาลัย(On-site) นักศึกษาใหม่จะได้เรียนที่ใด ?
    • คนที่สมัครแบบไม่เทียบโอนเทียบโอนหน่วยกิต
      คนที่สมัครแบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต ในภาคเรียนแรกนี้จะได้เรียนวิชากลุ่มศึกษาทั่วไป(วิชาพื้นฐาน) ซึ่งห้องเรียนของกลุ่มวิชานี้จะอยู่ที่ ม.รามคำแหง บางนา (รามฯ2) เป็นส่วนใหญ่
    • คนที่สมัครแบบเทียบโอนเทียบโอนหน่วยกิต
      คนที่ที่เทียบโอนหน่วยกิต มักจะเทียบโอนกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป(วิชาพื้นฐาน)ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่ภาคเรียนแรกนี้จะเริ่มได้เรียนในกลุ่มวิชาเอกได้เลย ซึ่งวิชาในกลุ่มวิชาเอกส่วนใหญ่จะใช้ห้องเรียนที่ ม.รามคำแหง หัวหมาก (รามฯ1)
    • เวลาเรียน
      การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรภาคปกติ ส่วนกลาง จัดการเรียนเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ (เวลา 7.20-17.20 น. ตามตารางบรรยาย)
  • ถ้าต้องการเรียนผ่านสื่อออนไลน์ ทำอย่างไร
    มหาวิทยาลัยมีสื่อการเรียนผ่านระบบออนไลน์ให้นักศึกษาเลือกใช้ หากไม่สารถเดินทางมาเรียนที่มหาวิทยาลัย หรือในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่
    • Cyber Classroom ถ่ายทอดสดคำบรรยายจากห้องเรียน
    • Course On-demand(M-Learning) วิดีโอคำบรรยายย้อนหลัง
    • สื่อการสอนจากอาจารย์ผู้สอน(ติดต่อได้ผ่านระบบออนไลน์)
    • หนังสือ/ตำราเรียนศึกษาด้วยตนเอง ซื้อหนังสือของวิชานั้นๆไปศึกษาอ่านด้วยตนเอง
  • นักศึกษาใหม่ควรทำ “ตารางเรียน” เพื่อวางแผนการเรียนในแต่ละเทอม
    สำหรับภาคเรียนแรกนี้นักศึกษาใหม่(โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เทียบโอนหน่วยกิต) อาจจะยังไม่เข้าใจตารางเรียนของมหาวิทยาลัย หากดำเนินการสมัครเสร็จสินแล้วจึงขอแนะนำให้จัดทำตารางเรียนของตนเองดังนี้ คลิก –> “วิธีทำตารางเรียนสำหรับนักศึกษาสมัครใหม่”

การสอบไล่

มหาวิทยาลัยจะกำหนดวันสอบไล่ปลายภาค และวันสอบอื่นๆ ให้นักศึกษาทราบจากปฏิทินการศึกษาล่วงหน้า

  • การสอบไล่ปลายภาคเรียนที่ 2/2565 – สอบที่มหาวิทยาลัย(On-site)
    นักศึกษาจะต้องมาสอบที่มหาวิทยาลัย (กรุงเทพฯ เท่านั้น : รามฯ1 หรือ รามฯ2)
    จัดให้วันจันทร์-อาทิตย์ (หยุดเฉพาะวันนักขัตฤกษ์)

วันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

ส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัครครั้งต่อไป ภาคเรียนที่ 1/2566 (กลางปี พ.ศ.2566)

วันเปิดเทอม(เริ่มบรรยาย)

ส่วนภูมิภาค เปิดรับสมัครครั้งต่อไป ภาคเรียนที่ 1/2566 (กลางปี พ.ศ.2566)

ค่าใช้จ่ายในการสมัคร

  • สมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติ ไม่เกิน 4,730 บาท*
  • สมัครเป็นนักศึกษาระบบพรีดีกรี ไม่เกิน 4,080 บาท*
    *อัตราค่าใช้จ่ายที่ปรากฎนี้ เป็นอัตราค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนสูงสุด ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน

หมายเหตุ
  • *อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ที่ปรากฎข้างต้นเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุดแปรผลตามหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนเรียนวิชาน้อยค่าใช้จ่ายจะน้อยลงด้วย โดยค่าใช้จ่ายนี้ประกอบด้วย(1)ค่าบำรุงการศึกษา, (2)ค่าธรรมแรกเข้าเป็นนักศึกษา, (3)ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา, (4)ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา, (5)ค่าบริการสารสนเทศ, (6)ค่าหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน, (7)ค่าธรรมเนียมการสอบ(เฉพาะผู้สมัครส่วนภูมิภาค)
  • อัตราค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ไม่รวม ค่าหนังสือ ชุดนักศึกษา ประกันภัย ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาจะซื้อเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้
  • ดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ทั้งหมด คลิกที่นี่

เอกสาร/หลักฐานการสมัคร

หลักฐานที่ใช้สมัครเป็นนักศึกษาใหม่

1. กรณีสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย

นักศึกษาภาคปกติ, เทียบโอนหน่วยกิต
  1. ใบสมัคร (ม.ร.2)*
  2. แบบแสดงความยินยอมในการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล* 
  3. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้วหรือ 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  4. สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ (กรณีเทียบโอนหน่วยกิต ให้เตรียมสำเนา 4 ฉบับ)
    “วุฒิการศึกษาต้องระบุการจบหลักสูตรและวันที่สำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น”
    4.1 กรณีเปลี่ยนชื่อ, สกุล, คำนำหน้านาม, ยศ ให้แนบสำเนาการเปลี่ยนดังกล่าว ให้เท่ากับจำนวนวุฒิการศึกษาและเย็บติดกันเป็นชุด (ถ้ามี)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
  6. ใบรับรองแพทย์ (“ใบรับรองแพทย์ทั่วไป” ขอได้ทั้งจากคลินิกหรือโรงพยาบาล ของรัฐหรือเอกชนแห่งใดก็ได้)
  7. แผ่นระเบียนประวัตินักศึกษา (ม.ร.25)*

หมายเหตุ
* = มหาวิทยาลัยจะแจกเอกสารนี้ให้แก่ผู้สมัคร ณ จุดรับสมัคร

โอนย้ายสถาบัน(ไม่จบการศึกษาจากสถาบันเดิม)
  1. ใบสมัคร (ม.ร.2)*
  2. แบบแสดงความยินยอมในการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล* 
  3. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้วหรือ 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  4. สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ (ปพ.1 จบม.6)
    “วุฒิการศึกษาต้องระบุการจบหลักสูตรและวันที่สำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น”
    4.1 กรณีเปลี่ยนชื่อ, สกุล, คำนำหน้านาม, ยศ ให้แนบสำเนาการเปลี่ยนดังกล่าว ให้เท่ากับจำนวนวุฒิการศึกษาและเย็บติดกันเป็นชุด (ถ้ามี)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
  6. ใบรับรองแพทย์ (“ใบรับรองแพทย์ทั่วไป” ขอได้ทั้งจากคลินิกหรือโรงพยาบาล ของรัฐหรือเอกชนแห่งใดก็ได้)
  7. แผ่นระเบียนประวัตินักศึกษา (ม.ร.25)*
    หลักฐานที่ประกอบการเทียบโอนหน่วยกิตโอนย้ายสถาบัน
    – สำเนาใบลาออกจากสถาบันเดิม
    – สำเนาทรานสคริปท์(Transcipt) หรือคำอธิบายรายวิชา (Course Description) จำนวน 4 ชุด

หมายเหตุ
* = มหาวิทยาลัยจะแจกเอกสารนี้ให้แก่ผู้สมัคร ณ จุดรับสมัคร

นักศึกษาระบบพรีดีกรี (Pre-Degree)
  1. ใบสมัคร (ม.ร.2)*
  2. แบบแสดงความยินยอมในการเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล* 
  3. รูปถ่ายสี ขนาด 2 นิ้วหรือ 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  4. สำเนาวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ
    “วุฒิการศึกษาต้องระบุการจบหลักสูตรและวันที่สำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น”
    หากผู้สมัครกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, กศน.ม.ปลาย, ปวช. ให้ยื่นสำเนาวุฒิจบ ม.3 สมัครเรียน (ใบ ปพ.1 ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา หรือประกาศนียบัตรจบฯ(ปพ.2)
  5. บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงที่ยังไม่หมดอายุ
  6. แผ่นระเบียนประวัตินักศึกษา (ม.ร.25)*

หมายเหตุ
* = มหาวิทยาลัยจะแจกเอกสารนี้ให้แก่ผู้สมัคร ณ จุดรับสมัคร


2. เอกสารประกอบการสมัครทางอินเทอร์เน็ต

สำหรับผู้ที่ทำการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ทางระบบอินเทอร์เน็ต จะต้องอัพโหลดเอกสารการสมัครเข้าสู่ระบบรับสมัคร (โปรดเตรียมไฟล์เอกสารเพื่ออัพโหลด รองรับเฉพาะไฟล์ JPG./PDF. ขนาดไม่เกิน 4 MB)

  1. รูปถ่าย (นามสกุลไฟล์ .JPG ขนาด 2×1.5 นิ้ว หรือ ความละเอียดอย่างน้อย 230×220 Pexel ขนาดไม่เกิน 4MB)
  2. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงลายมือชื่อ (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  3. สำเนาวุฒิการศึกษา ด้านหน้า/ด้านหลัง (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/สกุล (ถ้ามี) (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  5. กรณีเทียบโอน ให้เตรียม สำเนาใบแสดงผลการเรียน(Transcript), คำอธิบายรายวิชา(Course Descriptoin)กรณีโอนย้ายสถาบัน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)
  6. กรณีใช้วุฒิการศึกษาต่างประเทศ ให้เตรียม แบบยินยอมเปิดเผยข้อมูลทางการศึกษา(Authirization Form), แบบที่อยู่สถานศึกษาเดิม(School Address) ดูแบบฟอร์มต่างๆได้จากระเบียบการรับสมัครฯ (นามสกุลไฟล์ .PDF ขนาดไม่เกิน 4MB)

ให้ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ก่อนทำการอัพโหลดเอกสารประกอบการสมัคร
โปรดตรวจสอบว่าเอกสารมีความถูกต้อง ชัดเจน ไม่มัว ไม่ขาดส่วนสำคัญ ก่อนอัพโหลดเพื่อประโยชน์ของตัวท่าน

หมายเหตุ:

กรณีสมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิต ให้นักศึกษามาดำเนินการติดต่อคณะเรื่องเทียบโอนหน่วยกิต
เมื่อทราบรหัสประจำตัวนักศึกษา และสามารถพิมพ์ใบเสร็จลงทะเบียนเรียนได้เรียบร้อยเเล้ว
เอกสารที่ต้องนำมาติดต่อคณะ
1. วุฒิการศึกษาที่ใช้ในการสมัครเรียน
– นักศึกษา 8 สมัครใหม่
– นักศึกษาที่หมดสถานภาพการเป็นนักศึกษา (เพราะไม่ได้ลงทะเบียนเรียนติดต่อกัน 2 ภาคเรียน)
– เคยศึกษาเป็นรายกระบวนวิชา (Pre-Degree)
*จากมหาวิทยารามคำแหง ให้นำทรานสคริปต์ (Transcript) ไม่จบมาด้วย*

2. กรณีเทียบโอนประเภทย้าย-โอนจากสถาบันอื่น (ไม่สำเร็จการศึกษา)
– ใบรับรองผลการศึกษา(Transcript) จากสถาบันเดิม พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
– คำอธิบายรายวิชา (Course Description) 1 ชุด
– ใบลาออกจากสถาบันเดิม 1 ฉบับ

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนภูมิภาค

  • “สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ” คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ตั้งอยู​่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เป็นจุดบริการนักศึกษา, ห้องเรียน, ห้องสอบ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่
    • ภาคเหนือ (เชียงราย, เชียงใหม่, แพร่)
    • ภาคกลาง (สุโขทัย, ลพบุรี, เพชรบูรณ์, อุทัยธานี)
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดรธานี, นครพนม, หนองบัวลำภู, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, อำนาจเจริญ, นครราชสีมา, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ)
    • ภาคตะวันออก (ปราจีนบุรี)
    • ภาคตะวันตก (กาญจบุรี)
    • ภาคใต้ (พังงา, นครศรีธรรมราช, ตรัง, สงขลา)
  • นักศึกษาที่สมัครเรียนใหม่จะได้เรียนที่ใด ?
    มหาวิทยาลัยจัดห้องเรียนทุกกระบวนวิชาให้กับนักศึกษาส่วนภูมิภาคในรูปแบบเทปคำบรรยาย
    – หากนักศึกษาประสงค์จะเข้าฟังบรรยาย สามารถเข้าไปฟังบรรยายตามตารางเรียน ณ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ 23 แห่งทั่วประเทศ
    – ฟังคำบรรยาย ผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ www.ru.ac.th/th/page?view=Media
    *มหาวิทยาลัยไม่บังคับให้นักศึกษาเข้าฟังบรรยาย

รายชื่อ ม.รามคำแหงในจังหวัดต่างๆ และรายชื่อศูนย์สอบทั่วประเทศ Click!

คณะที่เปิดรับสมัคร

  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดหลักสูตรปริญญาตรี ภาคปกติ ส่วนภูมิภาค ใน 4 คณะ/สาขาวิชา คือ
    • คณะนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์
    • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ
    • คณะรัฐศาสตร์ กลุ่มวิชาบริหารรัฐกิจ
    • คณะสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อสารมวลชน

นักศึกษาที่สมัครเรียนใหม่ จะได้เรียนที่ใด ?

  • นักศึกษาที่สมัครเรียนใหม่ จะได้เรียนที่ใด ?
    • ในสถานการณ์ปกติ(ไม่มีโควิด-19) – ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน
      มหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่วนภูมิภาค จะจัดห้องบรรยายทุกกระบวนวิชา ณ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ 23 แห่ง โดยใช้รูปแบบเทปวิดีโอคำบรรยายจากอาจารย์ผู้สอน นักศึกษาสามารถเข้าฟังบรรยายตามเวลาที่ระบุไว้ใน “ตารางคำบรรยาย”
    • เรียนผ่านระบบออนไลน์
      มหาวิทยาลัยมีสื่อการเรียนผ่านระบบออนไลน์ เช่น ถ่ายทอดสดคำบรรยายจากห้องเรียน(Cyber Classroom), วิดีโอคำบรรยายย้อนหลัง(Course On-demand) โดยเข้าไปที่ www.ru.ac.th/Media
    • ศึกษาด้วยตนเอง
      หลักสูตรปริญญาตรี ภาคปกติ และพรีดีกรี ส่วนใหญ่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน ดังนั้นนักศึกษาสามารถใช้สื่อออนไลน์/หนังสือ/ตำราเรียน เพื่อศึกษาด้วยตนเองก็ได้
  • เวลาเรียน
    การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรภาคปกติ ส่วนภูมิภาค
    จัดการเรียนเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ (เวลา 8.00-16.20 น. ตามตารางบรรยาย)
    เป็นการบรรยายผ่านสื่อวิดีโอ ถ่ายทอดสัญญาจากรามคำแหงหัวหมาก ไปยังห้องเรียนของสาขาวิทยบริการฯ 23 แห่ง, หากนักศึกษาไม่ต้องการเข้าเรียน ณ สาขาวิทยบริการฯ สามารถเข้าฟังบรรยายออนไลน์ หรือใช้สื่อการเรียนรูปแบบอื่นๆแทนได้

การสอบไล่

มหาวิทยาลัยจะกำหนดวันสอบไล่ปลายภาค และวันสอบอื่นๆ ให้นักศึกษาทราบจากปฏิทินการศึกษาล่วงหน้า

  • การสอบไล่ปลายภาคเรียนที่ 1/2565 – สอบที่มหาวิทยาลัย(On-site)
    นักศึกษาจะต้องมาสอบที่ศูนย์สอบของมหาวิทยาลัยรามคำแหงแห่งต่าง ๆ 41 แห่ง โดยนักศึกษาเป็นผู้เลือกศูนย์สอบเองตามความสะดวก แห่งใดก็ได้​ (ยกเว้นกรุงเทพฯ) โดยเปลี่ยนศูนย์สอบได้ทุกภาคเรียน (รายชื่อศูนย์สอบ คลิก)
    จัดให้สอบเฉพาะเสาร์-อาทิตย์

รายชื่อ ม.รามคำแหงในจังหวัดต่างๆ และรายชื่อศูนย์สอบทั่วประเทศ Click!

รูปแบบและสื่อการเรียน

รูปแบบการเรียน ระดับปริญญาตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดรูปแบบการศึกษาแบบ Hybrid คือ อาจารย์จัดบรรยายในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยเป็นหลักสำหรับนักศึกษาที่สะดวกเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย และมีสื่ออื่น ๆ เป็นสื่อเสริม กรณีที่นักศึกษาไม่สะดวกเข้าชั้นเรียน ดังนี้

บรรยายในห้องเรียน

มหาวิทยาลัยมีห้องบรรยายทุกระบวนวิชา นักศึกษาสามารถเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยเพื่อเข้าฟังบรรยายได้


ถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลัง

ถ้าไม่ว่าง/ไม่สะดวกเข้าห้องเรียน ก็ยังใช้สื่อ Cyber Classroom ถ่ายทอดสดการบรรยายจากห้องเรียน เข้าใช้งานได้ที่ CyberClassroom.ru.ac.th
หรือ Course on-demand วิดีโอคำบรรยายย้อนหลัง ให้บริการรูปแบบคลิปวิดีโอ ผ่านเว็บไซต์ www.m-learning.ru.ac.th
*ให้บริการเฉพาะกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป*

หนังสือ/ตำราเรียน

ตำรา/หนังสือเรียน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
– สั่งซื้อออนไลน์ที่ RU-Press Bookstore
– ซื้อด้วยตนเองได้ที่ ศูนย์หนังสือ ม.รามคำแหง อาคารสำนักพิมพ์ ชั้น 3 ดูวันเปิดจำหน่ายคลิก


วิดีโอจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา

DVD บรรยายสรุป จำหน่ายวิดีโอคำบรรยายรูปแบบ DVD หรือสำเนาผ่าน USB Drive และ Google Drive ณ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก (ให้บริการบางกระบวนวิชา) รายละเอียด คลิก

โปรดทราบ: เมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้นสื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ไม่บังคับ

คนดังที่เป็นแรงบันดาลใจ

…ถือว่าเราประสบความสำเร็จอีกขั้นนึงในชีวิต และเป็นความตั้งใจอยู่แล้วว่า อยากจะจบปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ เพราะมีความสนใจ มีความใฝ่ฝันตอนเด็กว่าอยากเป็นนักการฑูต…

อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (ทับทิม)

มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์

เรียนที่ ม.ราม รับผิดชอบได้ด้วยตัวเอง เราอ่านหนังสือเองได้ ที่นี่มีเรียนออนไลน์ด้วย มีหลายๆวิชาต้องเข้าไปเรียนด้วย โดยรวมแล้วรับผิดชอบตัวเองได้ดี
(ปอ อรรณพ เรียนจบปริญญาตรี ภายใน 3 ปีครึ่ง ขณะนี้กำลังเรียนต่อปริญญาโท รัฐศาสตร์ รามคำแหง)

อรรณพ ทองบริสุทธิ์ (ปอ AF/MasterChef)

บัณฑิตคณะสื่อสารมวลชน

…โบว์ดีใจมากๆ ที่เรียนจบแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ดีใจกับเรา แต่ไม่ค่อยแสดงออก โบว์ใช้เวลาเรียน 4 ปี จบตามเกณฑ์ ที่ผ่านมาเรียนหนักพอสมควร เพราะทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย โชคดีมีเพื่อนช่วย เลยไม่เคยรู้สึกท้อเรื่องเรียน…

เมลดา สุศรี (โบว์)

บัณฑิตคณะสื่อสารมวลชน

…มหาวิทยาลัยให้โอกาสกับทุกคนค่ะ ตั้งใจว่าหลังจากนี้จะมุ่งเรียนปริญญาโทในสาขาวิชาที่หลากหลายออกไป ที่มองไว้น่าจะเป็นคณะบริหารธุรกิจ เพราะชื่อมั่นว่าการเรียนหลากหลายสาขาวิชาจะช่วยให้เราสามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้รอบด้านด้วย…

พรพิมล เฟื่องฟุ้ง (เปาวลี)

บัณฑิตคณะสื่อสารมวลชน

หมดเขตรับสมัครแล้ว

สมัครออนไลน์ 10 ตุลาคม – 21 พฤศจิกายน 2565
*ส่วนกลางเท่านั้น*

เข้าเว็บไซต์รับสมัคร

ดูขั้นตอนการสมัคร คลิกที่นี่


หลักสูตรป.ตรี ภาคปกติ และพรีดีกรี ที่น่าสนใจ

ภาคปกติ และพรีดีกรี สมัครผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ iregis2.ru.ac.th ได้เลย
หลักสูตร ป.ตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรีทั้งหมด คลิกที่นี่

  • หลักสูตรนิติศาสตร์ รามคําแหง 2564 เทียบโอน

    เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์

  • หลักสูตรนิติศาสตร์ รามคําแหง 2564 เทียบโอน

    เคมีเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์

  • หลักสูตรนิติศาสตร์ รามคําแหง 2564 เทียบโอน

    งานสายเศรษฐศาสตร์เป็นได้มากกว่าที่คิด คณะเศรษฐศาสตร์

  • หลักสูตรนิติศาสตร์ รามคําแหง 2564 เทียบโอน

    ประชาสัมพันธ์ 2


คำถามที่พบบ่อย : FAQ

การรับสมัครนี้เป็นระบบ TCAS หรือไม่ ? คัดเลือกอย่างไร ?

ข้อมูลในเว็บไซต์นี้เป็นข้อมูลการรับสมัคร ป.ตรี(ภาคปกติ) และพรีดีกรี ไม่ใช่ระบบ TCAS

ความแตกต่างของระบบการรับสมัครทั้งสองแบบ ดังตาราง (ถ้าตารางทับซ้อนกันให้หมุนจอเป็นแนวนอน)

ระบบรับสมัครของมหาวิทยาลัยระบบ TCASระดับที่เปิดรับสมัครปริญญาตรี ภาคปกติ และพรีดีกรี
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคปริญญาตรีสาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร9 คณะหลัก กว่า 60 สาขาวิชาเฉพาะ 6 คณะ ใน 13 สาขาวิชาเท่านั้นช่องทางการสมัครสมัครผ่านระบบของมหาวิทยาลัย
www.iregis2.ru.ac.thสมัครผ่านระบบ my TCAS
www.mytcas.comวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาไม่มีการสอบคัดเลือก
สมัครเสร็จสิ้นจะได้สถานภาพนักศึกษาทันทีคัดเลือกตามรอบที่่กำหนดไว้ 4 รอบ คือ
Portfolio / Quota / Admission / รับตรงดูรายละเอียดการรับสมัครดูได้เลยที่เว็บไซต์ที่คุณเปิดอยู่ตอนนี้ได้เลยwww.aroundram.com/tcas65

สมัครแล้วเป็นนักศึกษาเลยหรือเปล่า ?

ใช่ ถ้าสมัครเสร็จทุกขั้นตอนแล้ว ก็จะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษาเลย รอเข้าเรียนตอนเปิดเทอมได้เลย*

ทั้งนี้ การจะมีสถานภาพการเป็นนักศึกษา ต้องดำเนินการสมัครให้เสร็จสิ้น/ครบถ้วน/ตามกำหนดเวลา ทุกขั้นตอนก่อนด้วย

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบไม่เทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 5-7 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. ชำระเงินค่าสมัครและค่าลงทะเบียนเรียน
4. อัพโหลดหลักฐานส่วนตัว, หลักฐานการศึกษา, หลักฐานการชำระเงินเข้าสู่ระบบ
5. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย (เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายใน 5-7 วันทำการ)

ขั้นตอนการสมัครแบบออนไลน์ แบบเทียบโอนหน่วยกิต (เสร็จสิ้นภายใน 5-7 วันทำการ)
1. กรอกข้อมูลการสมัครในระบบรับสมัคร
2. เลือกวิชาลงทะเบียนเรียน
3. อัพโหลดหลักฐานการศึกษาเข้าสู่ระบบ ให้จนท.ตรวจสอบวิชาการเทียบโอน
4. จนท.อนุมัติวิชาการลงทะเบียนเรียน
5. ชำระเงิน และอัพโหลดเอกสารอื่นๆเข้าสู่ระบบ
6. รอการตรวจสอบจากมหาวิทยาลัยครั้งสุดท้าย หากหลักฐานครบถ้วน มหาวิทยาลัยก็จะออกรหัสประจำตัวนักศึกษาและใบเสร็จชำระเงินให้ ซึ่งพอถึงตรงนี้ก็มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาแล้ว รอเปิดเทอมเรียนได้เลย

ขั้นตอนการสมัคร แบบเทียบโอน/ไม่เทียบโอน ที่มหาวิทยาลัย (เสร็จสิ้นภายในวันที่สมัคร)
1. กรอกข้อมูลการสมัคร
2. ตรวจสอบหลักฐานการสมัคร
4. ออกรหัสประจำตัวนักศึกษา
5. ลงทะเบียนเรียน/เลือกวิชาเทียบโอนหน่วยกิต
6. ชำระเงิน มีสถานภาพการเป็นนักศึกษาทันที ใช้เวลาการสมัครทุกกระบวนการประมาณ 1 ชม. เสร็จสิ้นภายในวันที่สมัคร

การรับสมัครพร้อมเทียบโอนหน่วยกิตประเภทต่าง ๆ

หลักสูตรนิติศาสตร์ รามคําแหง 2564 เทียบโอน
ภาพหน้าจอ ขั้นตอนการสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลการเทียบโอนหน่วยกิต (กดปุ่มนี้)

การชำระเงินค่าสมัคร

ผู้สมัครผ่านระบบออนไลน์

         เมื่อถึงขั้นตอนการเลือกวิชาลงทะเบียนเรียน ให้ผู้สมัครสังเกตตัวเลือก “ช่องทางการชำระเงิน” ที่อยู่ด้านล่างของหน้าเว็บไซต์ โดยสามารถเลือกวิธีการชำระเงินค่าสมัครได้ 1 วิธี จาก 4 ช่องทาง ดังนี้

  • ชำระเงินผ่านการแสกน QR Code Payment ด้วยแอปพลิเคชันธนาคารใดก็ได้
  • ชำระเงินผ่านเค้าน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ (พิมพ์ใบชำระเงินในขั้นตอนการรับสมัคร และนำไปยื่นชำระเงินที่ธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้น)
  • ชำระเงินผ่านเค้าน์เตอร์เซอร์วิซ ในร้าน 7-Eleven ((พิมพ์ใบชำระเงินในขั้นตอนการรับสมัคร และนำไปยื่นร้านเซเว่นอีเลฟเว่นสาขาใดก็ได้)
  • ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต กรอกข้อมูลบัตรเครดิตและทำตามขั้นตอนการชำระเงินในเว็บไซต์
สมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย

         เมื่อถึงขั้นตอนสุดท้ายผู้สมัครจะต้องชำระเงินที่มหาวิทยาลัย โดยวิธีการชำระด้วยเงินสด หรือชำระผ่านบัตรเครดิต(ธนาคารทหารไทย)

ภาคเรียนต่อ ๆ ไป ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ?

นักศึกษาส่วนกลาง (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา นศ.ภาคปกติ 800 บาท / พรีดีกรี 500 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต ภาคปกติ หน่วยละ 25 บาท / พรีดีกรี หน่วยละ 50 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,125 – 1,450 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,050-1,700 บาท สำหรับพรีดีกรี

นักศึกษาส่วนภูมิภาค (ภาคปกติและพรีดีกรี)

ค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระในการลงทะเบียนเรียน ประกอบด้วย
(1) ค่าบำรุงการศึกษา 600 บาท / พรีดีกรี 300 บาท
(2) ค่าบริการสารสนเทศ 100 บาท
(3) ค่าหน่วยกิต หน่วยละ 50 บาท ทั้งภาคปกติและพรีดีกรี
(4) ค่าธรรมการสอบ วิชาละ 60 บาท
ถ้าลงทะเบียนเรียนหลายวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
สรุป ภาคเรียนต่อ ๆ ไป จะมีค่าใชัจ่าย 1,330-2,700 บาท สำหรับภาคปกติ และ ค่าใช้จ่าย 1,030-2,320 บาท สำหรับพรีดีกรี

อยากลงทะเบียนเรียนเพิ่ม/สับเปลี่ยนวิชา แก้ไขการลงทะเบียนเรียน ทำอย่างไร ?

อยากลงทะเบียนเรียนเพิ่ม/สับเปลี่ยนวิชา แก้ไขการลงทะเบียนเรียน ทำอย่างไร ?

หากนักศึกษาที่สมัครใหม่ ต้องการลงทะเบียนเรียนเพิ่ม, สับเปลี่ยนวิชา หรือแก้ไขวิชาที่ได้ทำการยืนยันการลงทะเบียนในขั้นตอนการสมัครไปเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการขอแก้ไขการลงทะเบียนเรียนโดยการ “บอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา” ได้ 1 ครั้ง ผ่านระบบ e-Service ตามกำหนดการที่มหาวิทยาลัยแจ้งไว้ในปฏินการศึกษา

การบอกเลิก-บอกเพิ่ม คืออะไร
คือการแก้ไขการลงทะเบียนเรียน หากพบว่า อยากลงทะเบียนเรียนเพิ่มอีก 1,2,3,… วิชา หรือ ต้องการนำวิชาใดๆออกไปและนำวิชาใหม่มาทดแทน โดยคำนวณหน่วยกิตแล้วต้องอยู่ระหว่าง 9-22 หน่วยกิต

ตัวอย่างที่ 1 ตอนแรก ลงทะเบียนเรียนไป 12 หน่วยกิต จำนวน 4 วิชา ประกอบด้วย
– วิชา A (จำนวน 3 หน่วยกิต)
– วิชา B (จำนวน 3 หน่วยกิต)
– วิชา C (จำนวน 3 หน่วยกิต)
– วิชา D (จำนวน 3 หน่วยกิต)
แต่ต้องการลงทะเบียนเรียนวิชา E, F, G เพิ่มเติมก็ได้ โดยแจ้ง “บอกเพิ่ม” วิชาจำนวน 3 วิชาดังกล่าว แต่คำนวณหน่วยกิตแล้วต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต

ตัวอย่างที่ 2 ตอนแรก ลงทะเบียนเรียนไป 12 หน่วยกิต จำนวน 4 วิชา ประกอบด้วย
– วิชา A (จำนวน 3 หน่วยกิต)
– วิชา B (จำนวน 3 หน่วยกิต)
– วิชา C (จำนวน 3 หน่วยกิต)
– วิชา D (จำนวน 3 หน่วยกิต)
แต่พบว่า ไม่ต้องการเรียนวิชา D อีกต่อไปแล้ว แต่จะเปลี่ยนเป็นวิชา E (จำนวน 3 หน่วยกิตเท่าเดิม) เข้ามาแทน กรณีนี้ก็สามารถทำได้ โดยแจ้ง “บอกเลิก” วิชา D ออกไป และแจ้ง “บอกเพิ่ม” วิชา E เข้ามาแทน โดยคำนวณหน่วยกิตสรุปแล้วเท่าเดิม (ไม่สามารถบอกเลิกวิชา D ออกไปเฉยๆนะ แต่ต้องมีวิชาอื่นเข้ามาแทนด้วย)

เมื่อทราบข้อมูลแล้ว ไม่ต้องห่วงเลยว่าวิชาที่เราลงทะเบียนตอนสมัครนั้นจะแก้ไขไม่ได้ ตอนนี้ขอให้ดำเนินการสมัครให้เสร็จสิ้นทุกขั้นตอน วางแผนว่าจะสับเปลี่ยน หรือนำวิชาใดเข้า/ออกแบบไหนได้เลย และรอกำหนดการ “บอกเลิก-บอกเพิ่มกระบวนวิชา” ได้เลย

บอกเลิก-บอกเพิ่ม ทำได้ตอนไหน ดูได้จากปฏิทินการศึกษา คลิกเลย

เรียนกี่ปีจึงจะจบการศึกษา ?

เรียนกี่ปีจึงจะจบการศึกษา…

เรื่องระยะเวลาการเรียน…เป็นเรื่องที่บอกไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับตัวเอง
หลาย ๆ คนบอกว่า “ม.รามฯ เข้าง่าย ออกยาก” อาจจะจริงและไม่จริง เพราะที่รามคำแหง(ป.ตรี ภาคปกติ) นักศึกษาทุกคนจะต้องวางแผนการเรียน จัดสรรเวลาเรียนด้วยตนเอง ถ้าวางแผนการลงทะเบียนเรียนได้ดี เข้าสอบได้ตลอด และสอบผ่านได้ทุกวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละเทอม ถ้าทำได้ดีแบบนี้ 2 ปีครึ่ง หรือ 3 ปีก็เรียนจบรามคำแหงได้

…สอบผ่านได้เยอะ ก็จบได้ไว…

ที่รามคำแหง เราต้องใช้ “แผนกำหนดการศึกษา” ของแต่ละสาขาวิชา เป็นตัวกำหนดว่าเราต้องสอบผ่านวิชาอะไรบ้าง ถ้าสอบผ่านตามที่กำหนดได้ทั้งหมดก็จบการศึกษาได้ เช่น สาขาวิชานิติศาสตร์ มีวิชาในแผนกำหนดการศึกษาจำนวน 140 หน่วยกิต หมายความว่า เราต้องสอบให้ผ่านครบ 140 หน่วยกิตจึงจบการศึกษาได้ โดยค่อยๆแบ่งลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียนไปเรื่อย ๆ

ปีการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง มี 3 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1, ภาคเรียนที่ 2 และภาคฤดูร้อน และวนแบบนี้ใหม่ในปีการศึกษาถัดไป / โดยภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละ 21 หน่วยกิต และภาคฤดร้อนสามารถสอบสะสมได้ 9 หน่วยกิต เมื่อลองรวมๆแล้ว ถ้าเราสอบผ่านทุกวิชาที่ลงทะเบียนเรียน เราอาจสะสมหน่วยกิตได้ 51 หน่วยกิต/ปีการศึกษา และถ้าเรียนนิติศาสตร์ 140 หน่วยกิต เราก็มีโอกาสจบได้ภายใน 2 ปีครึ่ง (ภาพด้านล่างคือ “แผนกำหนดการศึกษา(บางส่วน)” ของคณะนิติศาสตร์65)

หลักสูตรนิติศาสตร์ รามคําแหง 2564 เทียบโอน
แล้วทำไมบางคนจึงใช้เวลานานจึงจะสำเร็จการศึกษา

ด้วยปัจจัยระหว่างการศึกษาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนทำงานไปด้วยไม่มีเวลาเข้าสอบ บางคนสอบตกสอบไม่ผ่าน บางคนไม่ได้ลงทะเบียนเรียน ข้อจำกัดในเวลาเรียนและเวลาสอบ จึงทำให้เวลาการที่คาดการณ์ไว้ผิดไปจากเดิม ทั้งนี้การวางแผนการลงทะเบียนเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อระยะเวลาการเรียน

เทียบโอนหน่วยกิตก็เหมือนได้ออกตัวก่อนสตาร์ท

ผู้ที่สมัครแบบเทียบโอนหน่วยกิต ไม่ว่าจะสมัครด้วย ปวส. หรือจบป.ตรี มาก่อนแล้วก็จะสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ส่วนหนึ่ง เช่น วุฒิปวส.อาจเทียบโอนหน่วยกิตได้ 40 หน่วยกิต(โดยประมาณ) เท่ากับว่า เหลือหน่วยกิตที่ต้องเรียนสะสมอีก 100 หน่วยกิต(ดังตัวอย่างสาขาวิชานิติศาสตร์) ก็จะช่วยลดระยะเวลาเรียนลงไปอีก แต่จะเรียนแค่อีก 2 ปีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการวางแผนการเรียน และการสอบผ่านของตัวนักศึกษาเอง

เวลาเรียนแบบดับเบิ้ล ++

หากนักศึกษาลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่อง หรือรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาไม่ขาด จะสามารถลงทะเบียนเรียนได้ยาวนานเป็น 2 เท่าของระยะเวลาหลักสูตร เช่น หลักสูตร 4 ปี ลงทะเบียนเรียนต่อเนื่องได้ 8 ปีการศึกษา และ หลักสูตร 5 ปี ลงทะเบียนเรียนต่อเนื่องได้ 10 ปีการศึกษา

วิธีทำ “ตารางเรียน” สำหรับนักศึกษาใหม่

สมัครเสร็จแล้ว ตารางเรียนทำยังไง ?

หลักจากที่ทำการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่เรียบร้อยแล้ว นักศึกษาใหม่ทุกท่านสามารถจัดทำ “ตารางเรียน” ส่วนบุคคลเอาไว้ใช้ประกอบหากต้องการมาเรียนที่มหาวิทยาลัย และตารางเรียนที่จะแนะนำวิธีการทำนี้ จะมีรายละเอียดการสอบ/วันสอบไล่ปลายภาคของเราอยู่ด้วย

อ่านวิธีการทำตารางเรียนของตัวเองได้ที่นี่ >> คลิก <<

หนังสือ/ตำราเรียน ซื้อได้ที่ไหน ? ราคาเท่าไหร่ ?

ราคาหนังสือ

ตรวจสอบราคาหนังสือ/ตำราเรียนของมหาวิสามารถตรวจสอบราคาหนังสือแต่ละเล่มได้ที่เว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ ม.ร. http://www.rupress.ru.ac.th/bookstore/ และทำการค้นหาชื่อหนังสือตามรหัสวิชาตามที่ต้องการ

ม.รามคําแหง รับเทียบโอนไหม

ยื่นเทียบโอนด้วยวุฒิปริญญาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง 50 บาท/หน่วยกิต ยื่นเทียบโอนจากระบบพรีดีกรีเป็นนักศึกษาภาคปกติ 50 บาท/หน่วยกิต

จ่ายค่าเทียบโอน รามคําแหง ที่ไหน

ติดต่อคณะเพื่อคำนวฯค่าเทียบโอนส่วนที่เหลือ.
ติดต่อ สวป. ชั้น 6 เพื่อคำนวณค่าปรับ.
จ่ายเงินที่กองคลัง ตึกอธิการบดี ชั้น 1..
นำใบเสร็จไปยื่นที่ สวป. ชั้น 6 และที่คณะอีกครั้งเพื่อยินยันการชำระเงิน.

นิติศาสตร์ รามคําแหง มีวิชาอะไรบ้าง

น้อง ๆ ที่เรียนในคณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง จะต้องเรียนทั้งหมด 139 หน่วยกิต ดังนี้ วิชาทั่วไป 30 หน่วยกิต (วิทย์, คณิต, อังกฤษ, สังคม) กลุ่มวิชาบังคับ 94 หน่วยกิต (วิชากฎหมาย) กลุุ่มวิชาเลือก 9 หน่วยกิต (วิชากฎหมาย)

เทียบโอนหน่วยกิต รามทำยังไง

ให้ทำการสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอเทียบโอนหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรี โดยเตรียมหลักฐานต่อไปนี้มาในวันสมัครด้วย - สำเนาวุฒิการศึกษา (ม.6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป) ระบุวันสำเร็จการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ - สำเนาทะเบียนทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 3 ฉบับ