ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่ ๑)

ทะเบียนจารึก (ศิลปากร, กรม. ๒๕๓๓ : ๑๙)

อักษร                     ไทยสุโขทัย

ภาษา                     ไทย

ศักราช                   พุทธศักราช ๑๘๓๕

จารึกอักษร              จำนวน ๔ ด้าน ด้านที่ ๑ และ ๒ มีด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ และ ๔ มีด้านละ ๒๗ บีีทัด

วัตถุจารึก                หินทรายแป้ง

ลักษณะวัตถุ            หลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทรงกระโจม หรือทรงยอ

ขนาดวัตถุ               กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๑ เซนติเมตร

บัญชีทะเบียนวัตถุ    สท.๑ (สท./๑) คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางปนะวัติศาสตร์, สำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๒๑) เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า "ศิลาจารึกหลักที่ ๑"

พบเมื่อ                   พุทธศักราช ๒๓๗๖

สถานที่พบ              เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อ.เมือง จ.สุโขทัย

ผู้พบ                      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ปัจจุบันอยู่ที่            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่          ในหนังสือประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๑, ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑, ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑. จารึกพ่อขุนรามคำแหง และจารึกสุโขทัย

ประวัติ (ศิลปากร, กรม. ๒๕๓๓ : ๑๙ - ๒๐)

ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ที่มา http://watphopratabchang.igetweb.com/index.php?mo=18&display=view_single&pid=64659)

           ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ ๑) ถูกค้นพบโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ขณะผนวชได้เด็จจารึกธุดงค์ไปทางหัวเมืองเหนือ ในปีพุทธศักราช ๒๓๗๖ ได้ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่เมืองเก่าสุโขทัย ดังปรากฏในสมุดจดหมายเหตุ สมุดไทยฉบับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ ที่ได้มาจากราชเลขาธิการในพระบรมหาราชวัง (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง) ว่า

ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์

(ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13562)

          "เมื่อศักราช ๑๑๙๕ [พ.ศ. ๒๕๓๗] ปีมเสง เบญจศก จะเสด็จขึ้นไปประภาสเมืองเหนือ มัศการเจตียสฐานต่าง ๆ ...ครั้น ณ วันขึ้นหกค่ำกลับมาลงเรือ เจ็ดค่ำเวลาเที่ยงถึงท่าธานี เดินขึ้นไปเมืองศุโขทัย ถึงเวลาเยน อยู่ที่นั้นสองวัน เสด็จไปเที่ยวประภาษ พบแท่นสีลาแห่งหนึ่งอยู่ริมเนินปราสาท ก่อไปไว้เปนแท่นหักพังลงมา ตะแคงอยู่ที่เหล่านั้น ชาวเมืองเครพย์ สำคัญเป็นสานเจ้า เขามีมวสมโพธทุกปี...รับสั่งให้ฉลองลงมา ก่อเป็นแทนขึ้นไว้ใต้ต้นมะขามที่วัดสมอรายกับเสาสีลาที่จารึกเปนหนังสือเขมร" (ศิลปากร, กรม. ๒๕๓๓ : ๗)

          ทรงโปรดให้นำลงมาที่กรุงเทพฯ พร้อมกับจารึกวัดป่ามะม่วง (อักษรขอม ภาษาเขมร) และพระแท่นมนังคศิลาบาตร เก็บรักษาไว้ที่วัดราชาธิวาสเป็นแห่งแรก ต่อมาเมื่อเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ทรงโปรดให้ย้ายศิลาจารึกทั้ง ๒ หลักไปด้วย เมื่อทรงเสวยราชย์ ในปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ แล้ว  โปรดเกล้าฯ ให้นำศิลาจารึกไปตั้งที่ศารารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึง พุทธศักราช ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจารึกทั้ง ๒ หลักไปรวมไว้กับศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ที่พบในภายหลังซึ่งเก็บไว้ที่ตึกถาวรวัตถุหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่ทำการหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ส่วนพระแท่นมนังคศิลาบาตรยังคงอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน 

          ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเหล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้วพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหนังสือตัวเขียนและสาลาจารึกมาเก็บไว้ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมานในพระราชวังบวรสถานมงคล และใช้เป็นที่ทำการของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครด้วย ส่วนตึกถาวรวัตถุใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์และพระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิราวุธ

ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ที่เก็บศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

(ที่มา http://www.thaitambon.com/tambon/ttrvtypetlist.asp?PLC=31)

          ต่ือมาในปรพุทธศักราช ๒๕๐๙ กรมศิลปากรได้ย้ายศิลาจารึกทั้งหมดกลับไปไว้ ณ หอพระสมุดวชิราวุธตามเดิม จนกระทั่งปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ จึงได้เคลื่อนย้ายศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงไปเก้บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนำออกตั้งแสดงในส่วนขอห้องแสดงพิพิธภัณฑ์สมัยสุโขทัย ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๒ จนถึงพุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้ย้ายไปแสดง ณ ห้องแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย ในพระที่นั่งศิวโมกขพิมานจนถึงปัจจุบัน

การศึกษาและการตีพิมพ์ (ศิลปากร, กรม. ๒๕๓๓ : ๗ - ๑๓)

          ผู้อ่านศิลาจารึกเป็นคนแรกคือพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพุทธสักราช ๒๓๗๙ โดยมีคณะนักปราชราชบัณฑิตในความควบคุมของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นแม่กองคัดอักษรศิลาจารึก

ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

เซอร์ จอห์น เบาริ่ง

(Sir. John Bowring)

ราชทูตอังกฤษเข้มาประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔

ผู้ลงนามในสนธิสัญาเบาริ่ง พ.ศ. ๒๓๙๕

นับเป็นจุดเริ่มของการเปิดประเทศไทยกับนานาชาติ

(ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87)

          เมื่อ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง เข้ามาในเมืองไทยเมื่อศักราช ๒๓๙๘ ได้รับพระราชทานสำเนาคัดอักษรพิมพ์หินของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พร้อมด้วยคำแปลงเป็นภาษาอังกฤษบางคำ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง ได้นำตัวอย่างลงพิมพ์ในหนังสือ The Kingdom and peple of Siam พร้อมทั้งพระราชทานให้กับคณะทูตฝรั่งเศสอีกด้วย  สำเนาจารึกพิมพ์หินชุดนี้เก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส มีคำอธิบายภาษาอังกฤษเขียนไว้ว่า

          "สำเนาจารึกสยามสมัยโบราณ ต้นฉบับมีอายุราว คริสตศักราช ๑๑๙๓ ปรากฏว่า จารึกไว้บนเสาหินในเมืองสุโขทัยโบราณ ซึ่งเป็นพระนครหลวงของสยามในครั้งนั้น ตีพิมพ์ ณ โรงพิมพ์หลวงด้วยเครื่องพิมพ์หิน กรุงเทพฯ" (ศิลปากร, กรม. ๒๕๓๓ : ๙)

          คำอ่านศิลาจารึกบางตอนได้ปรากฏอยู่ในสมุดไทยขอสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ต่อมาได้ตีพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ ๓๖ เดือนกันยายน ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐, จ.ศ.๑๒๕๙) หน้า ๓๕๓๔ ให้ชื่อเรื่องว่า อภินิหารการประจักษ์

         ต่อมาหนังสือ เรื่องเมืองศุโขทัย ตีพิมพืคำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และคำแปล พร้อมกับศิลาจารึกเมืองสุโขทัยและกำแพงเพชร อีก ๒ หลัก แต่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์และสำนักพิมพ์

ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย  

(ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E)      

         เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ทรงดำริจัดพิมพ์หนังสือเรื่องราวที่เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไทย เ็ป็นหนังสือชุดประชุมพงศาวดาร ได้รวบรวมศิลาจารึกที่เกี่ยวกับสุโขทัยไว้ด้วย พิมพ์ครั้งแรกในชุดนี้เมื่อ ๒๔๕๗

ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดสุโขทัย

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์

(George Coedès)

(ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%8C)

         ต่อมาได้มีการจ้างศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (George Coedès) นักประวัติศาสตร์ โบราณคดี และนักภาษาศาสตร์ (มีความสามารถทางภาษาศาสตร์และอักษรของประเทศต่าง ๆ ทางตะวันออก) ชาวฝรั่งเศส เข้ามาเป็นบรรณารักษ์ใหญ๋ คณะกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณฯ ท่านได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจสอบและสิลาจารึกหลักต่าง ๆ รวมถึงศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงด้วย หอสมุดวชิรญาณได้ให้พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในงานฉลองทำบุญอายุครบ ๔ รอบของพระยาราชนุกุล (อวบ เปาโรหิตย์) ชื่อหนังสือ ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ ๑ มีทั้งภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส

          นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการมากมายทั้งไทยและต่างชาติได้ทำการศึกษาศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมากมายเช่น ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร, ศ. ฉ่ำ ทองคำวรรณ, ยุวดี ทองคำวรรณ, เพ็ญศรี บ้านไกรทอง, พิชัย สันตภิรมย์, Adof Bastian ชาวเยอรมนี, Yoneo Ishii ชาวญี่ปุ่น เป็นต้น อีกทั้งยังมีการตีพิมพ์ บทวิเคราะห์ วิจารณ์ เกี่ยวกับศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมากมายทั้งในด้านบวกและด้านลบ

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มรดกไทย มรดกโลก

          หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักฐานที่ทรงคุณค่าต่าง ๆ คือ ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์
          เนื้อความที่ปรากฏบนหลักศิลาจารึกบ่งบอกถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงหลักการเมืองการปกครอง ความเชื่อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยนั้น ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุดเริ่มแรกของประเทศไทย ที่พวกเราคนรุ่นหลังสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับรู้เอาไว้ และนำความรู้เหล่านั้นมาประยุคใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต
         ด้วยความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางวัฒนะธรรม องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนะธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก้ ได้จดทะเบียนให้เป็น เอกสารทางความทรงจำแห่งโลก (Memory of the world) เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
        หลักฐานหรือเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของประเทศไทย มีหลายชิ้นที่มีความเป็นมาอย่างพิษดารมากมาย บางชิ้นเกือบจะสูญเสียไปอย่างไม่ได้ตั่งใจ บางชิ้นค้นพบด้วยความบังเอิญ ถ้าพวกเราคนไทยลองศึกษาการได้มาของเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ เหล่านั้นจะรู้ว่า ประเทศของของเรามีบุญหนักหนา เหมือนกับว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรบางอย่างช่วยไม่ให้สิ่งเหล่านั้นสูญหายไป และได้ช่วยดลให้มีคนไปค้นเจอ
        แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อเราได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นที่ศึกษาและเป็นมรดกของประเทศแล้ว พวกเราก็ควรที่จะศึกษาอย่างจริงจัง ที่สำคัญควรที่จะช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ให้อยู่คู่กับประเทศไทยไปอย่างยาวนาน

* ปรับปรุงใหม่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓

เรียบเรียง : วาทิน ศานติ์ สันติ

ที่มา : ป้ายแสดงข้อความ หน้าหลักศิลาจารึกหลังที่หนึ่ง ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร.

ศิลปากร, กรม. ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง. กรุงเทพฯ :หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ๒๕๓๓.

http://watphopratabchang.igetweb.com/index.php?mo=18&display=view_single&pid=64659. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://www.thaitambon.com/tambon/ttrvtypetlist.asp?PLC=31. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13562. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B9%8C. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87. สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓.