โปรแกรม คำนวณ ปูน ปูกระเบื้อง

ถามไถ่กันเข้ามาที่กองบรรณาธิการบ้านและสวนอยู่บ่อยครั้งว่า เมื่อคิดจะซื้อกระเบื้องเซรามิกมาใช้งานปูพื้นห้องน้ำโรงจอดรถ หรือใช้กรุผนังห้องนั่งเล่นที่บ้าน แต่ไม่รู้ว่าจะต้องใช้กระเบื้องทั้งหมดกี่แผ่นกลัวซื้อไปแล้วจะไม่พอต้องเสียเวลากลับไปซื้อใหม่ หรือหากกระเบื้องเหลือมากเกินไปก็สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แถมยังเป็นภาระต้องหาที่เก็บกระเบื้องอีกต่างหาก วิธีคำนวณกระเบื้อง

วันนี้ผมมีคำแนะนำ วิธีคำนวณกระเบื้อง มาฝากกัน

1. เลือกขนาดกระเบื้องให้เหมาะสมกับพื้นที่

โปรแกรม คำนวณ ปูน ปูกระเบื้อง

กระเบื้องมีให้เลือกมากมายหลายขนาด นอกจากจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้ว ยังมีรูปทรงอื่นๆให้เลือกอีกหลายชนิด อาทิ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 8 X10 นิ้ว, 10X16 นิ้วฯลฯ โดยจุดเด่นของกระเบื้องแบบนี้ก็คือ เหมาะกับการปูในพื้นที่กว้างๆ แต่จริงๆแล้วก็ไม่มีขนาดตายตัวว่าต้องใช้กระเบื้องขนาดเท่าใด จะใช้แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพียงเราเลือกขนาดกระเบื้องให้เหมาะสมกับห้องนั้นๆ เช่น ห้องนั่งเล่นที่เราจะปูพื้นมีขนาดใหญ่ เราก็สามารถเลือกใช้กระเบื้องที่มีขนาดใหญ่ได้ อาทิ 12 X 24 นิ้ว, 24X24 นิ้ว แต่ถ้าเป็นห้องขนาดเล็ก ขนาดของแผ่นกระเบื้องก็ควรเล็กลงตามไปด้วย เพราะถ้าใช้กระเบื้องแผ่นใหญ่อาจดูเทอะทะไป ทำให้ห้องดูไม่สวยงาม

2. เลือกกระเบื้องที่อยู่ในกระบวนการผลิตเดียวกัน

โปรแกรม คำนวณ ปูน ปูกระเบื้อง

สิ่งสำคัญของการเลือกซื้อกระเบื้องที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เราควรเลือกซื้อกระเบื้องที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตเดียวกันมาปูพื้นหรือกรุผนังพร้อมๆกัน โดยตัวเลข (Lot) การผลิตนั้นจะเขียนหรือพิมพ์ติดไว้ที่ข้างกล่อง การที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะว่า การผลิตกระเบื้องนั้น ถึงแม้จะเป็นลวดลายเดียวกัน สีเหมือนกัน ยี่ห้อเดียวกัน แต่ถ้าต่างล็อตการผลิตแล้ว แผ่นกระเบื้องก็จะมีความต่างกันพอสังเกตได้ ดังนั้นถ้าอยากให้พื้นหรือผนังของเราออกมาสวยงาม เรียบเนียนเป็นแนวเดียวกัน ควรเลือกซื้อกระเบื้องที่มีเลข Lotชุดเดียวกันจะดีที่สุด

3. หลักการคำนวณง่ายๆ ในการเลือกกระเบื้องให้ได้จำนวนเหมาะกับพื้นที่ห้อง

โปรแกรม คำนวณ ปูน ปูกระเบื้อง

โปรแกรม คำนวณ ปูน ปูกระเบื้อง

โปรแกรม คำนวณ ปูน ปูกระเบื้อง

สูตรคำนวณพื้นที่ (พื้นที่ = ด้านกว้าง X ด้านยาว)

ตัวอย่างเช่น เราจะปูพื้นกระเบื้องในห้องขนาดกว้าง 5 เมตร และยาว 10 เมตร เมื่อนำสูตรมาใช้ก็จะคำนวณพื้นที่ได้ 50 ตารางเมตร (5X10 = 50) และโดยส่วนใหญ่แล้วกระเบื้อง 1 กล่อง ปกติจะปูได้ 1 ตารางเมตร ดังนั้นเท่ากับว่าเราต้องใช้กระเบื้องตามพื้นที่จริงจำนวน 50 ตารางเมตรหรือ 50 กล่อง แต่อย่างไรก็ดีควรจะซื้อเผื่อไว้ใช้แก้ไขงานอีกประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนที่จะใช้งานจริง และเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้เก็บกระเบื้องส่วนที่เหลือไว้สำหรับกรณีมีการซ่อมแซมในอนาคตเพื่อให้ได้กระเบื้องที่เป็นรุ่นและเฉดสีเดียวกัน

TIP

จดชื่อรุ่นสินค้า ปีที่ผลิต หรือเก็บรหัสที่ข้างกล่องไว้ด้วย เผื่อกระเบื้องที่ซื้อไปปูแล้วเสียหายหรือปูแล้วไม่พอ ก็สามารถหาซื้อใหม่ได้ และเทียบเฉดสีและล็อตในการผลิตเพื่อให้ได้เฉดสีที่ตรงกัน เพราะอย่างลืมว่าการเผากระเบื้องในแต่ละครั้ง เฉดสีอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ดังนั้นหากเทียบล็อตการผลิตให้ใกล้เคียงที่สุดก็อุ่นใจได้ว่าสีจะไม่เพี้ยนมาก


วิธีเลือกกระเบื้องพื้นห้องน้ำ ให้ปลอดภัย

[DAILYGUIDE] ทำความรู้จัก ” กระเบื้องปูพื้น “

เลือก กระเบื้องปูพื้น ให้เหมาะกับการใช้งาน

ติดตามข้อมูลดีๆจากบ้านและสวนได้ที่นี่


ใครก็ตามที่วางแผนจะ ปูกระเบื้อง ห้องใหม่ เพื่อตกแต่งรีโนเวทบ้านให้สวยงามน่าอยู่มากขึ้น การคำนวณพื้นที่ปูกระเบื้องเป็นเรื่องแรกสุดที่จะต้องทำ เพื่อให้เราทราบว่าจะต้องซื้อกระเบื้องจำนวนเท่าไร จึงเพียงพอ ไม่มากไปจนสิ้นเปลืองงบประมาณ และไม่น้อยไปจนกระเบื้องไม่พอ ต้องเสียเวลาไปซื้อเพิ่มแถมอาจได้กระเบื้องคนละล็อตที่ทำให้สีเพี้ยนด้วย

ซึ่งหลาย ๆ คนที่อาจกำลังรู้สึกว่าการคำนวณพื้นที่ ปูกระเบื้อง เป็นเรื่องยากนั้น จริง ๆ แล้วมันง่ายกว่าที่คิด โดยมีเทคนนิคแนวทางสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

1.กว้าง x ยาว สูตรหาพื้นที่ปูกระเบื้องที่เป็นสี่เหลี่ยม

ไม่ว่าจะพื้น หรือ ผนัง วิธีการในการคำนวณพื้นที่ ปูกระเบื้อง ก็คือสูตร ความกว้าง คูณกับ ความยาวนั่นเอง เป็นสูตรที่เราคุ้นเคยกันตั้งแต่เด็ก ๆ ยกตัวอย่างเช่น ห้องกว้าง 10 เมตร ยาว 5 เมตร พื้นที่ห้องนี้จะเท่ากับ 10 x 5 คือ 50 ตารางเมตรนั่นเอง

2.ถ้าพื้นที่เป็นวงกลม ให้ใช้สูตรหาพื้นที่วงกลมได้เลย

สำหรับใครที่พื้นที่ต้องการปูกระเบื้องเป็นวงกลมนั้น ก็อาจสงสัยว่า แล้วจะคำนวณเป็นตารางเมตรอย่างไร คำตอบก็ไม่ได้ยากเกินไปหรือไกลเกินตัว เพราะสมัยเด็ก ๆ เราก็เคยเรียนกันถึงสูตรการหาพื้นที่วงกลมนั่นก็คือ พายอาร์ยกกำลัง 2 โดยค่าพายนั้นจะเท่ากับ 3.14 ส่วนค่าอาร์ ก็คือรัศมี เท่ากับว่าเราก็วัดเส้นผ่านศูนย์กลางพื้นที่วงกลมที่เราต้องการจะปูกระเบื้อง แล้วคูณ 2 ก็ได้ เพราะ เส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2R นั่นเอง

ดังนั้น ถ้าพื้นที่ห้องที่เป็นวงกลมของเรา มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 10 เมตร รัศมีของพื้นที่ห้องวงกลมนี้ก็จะเท่ากับ 5 เมตร เมื่อต้องการคำนวณพื้นที่วงกลมห้องนี้ก็จะได้เท่ากับ 3.14 x 5 x 5 = 78.50 ตารางเมตรนั่นเอง

3.เมื่อได้พื้นที่แล้ว ก็นำพื้นที่กระเบื้องไปหารหาจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้

หลังจากคำนวณพื้นที่แล้ว เราจะทราบได้ว่าต้องใช้กระเบื้องจำนวนกี่แผ่น และคิดเป็นเงินเท่าไร ก็ต้องหาพื้นที่กระเบื้องที่ต้องการปูให้ได้ก่อน ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้ต้องคำนวณเลย เพราะที่กล่องกระเบื้องแต่ละชนิด แต่ละขนาดจะบอกเราเอาไว้อยู่แล้วว่าใช้ปูพื้นที่ได้กี่ตารางเมตร เช่น ถ้ากระเบื้องกล่องที่เราอยากซื้อไม่ว่าจะมีกี่แผ่นก็ตาม แต่ระบุว่า ปูได้ 1 ตารางเมตร แล้วพื้นที่เรามีขนาด 10 ตารางเมตร ก็เท่ากับเราต้องใช้กระเบื้อง 10 กล่อง

แต่ถ้าอยากคำนวณแบบเป็นแผ่น ก็นำความกว้างของกระเบื้อง คูณกับความยาว จะได้พื้นที่กระเบื้อง แต่อย่าลืมแปลงหน่วยเป็นเมตรก่อน เช่น กระเบื้องกว้าง 40 ซม. ยาว 40 ซม. แปลงเป็นเมตรก็จะได้กว้างยาวเท่ากับ 0.4 เมตร ขนาดพื้นที่กระเบื้องจะเท่ากับ 0.4 x 0.4 = 0.16 ตารางเมตรต่อแผ่น แล้วถ้าพื้นที่ที่ต้องการปูคือ 120 ตารางเมตร จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้จะได้เท่ากับ 120 หาร 0.16 คือ 750 แผ่นนั่นเอง

4.ไม่ว่าจะคำนวณได้เท่าไร ก็ควรซื้อเผื่อไว้ด้วยเสมอ

แม้เราจะสามารถคำนวณพื้นที่และจำนวนกระเบื้องได้อย่างแม่นยำแค่ไหน แต่เวลาจะตัดสินใจซื้อจริง ถ้าซื้อตามจำนวนที่คำนวณได้เป๊ะ ๆ นั้น ถือว่าพลาดอย่างแรง เพราะแม้แต่ช่างผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ก็ยังไม่กล้ามั่นใจว่าจะไม่ปูเสีย จะไม่เกิดกรณีกระเบื้องแตกหักชำรุดเลยในระหว่างการปู

ดังนั้น เวลาจะซื้อกระเบื้องจึงควรซื้อเผื่อมากกว่าที่คำนวณได้เสมอประมาณ 3-5% เพื่อหากเกิดความเสียหายจะได้มีกระเบื้องพร้อมปูเลย ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อใหม่ และไม่ต้องเสี่ยงได้กระเบื้องคนละรุ่น คนละล็อต คนละสี จนทำให้ความสวยงามในการปูนั้นลดน้อยลง

หลาย ๆ คนมักรู้สึกว่า ไหน ๆ ก็ต้องจ้างช่างปูกระเบื้องอยู่แล้ว ก็ให้ช่างทำหน้าที่คำนวณพื้นที่และคำนวณปริมาณจำนวนกระเบื้องที่ใช้ไปเลยทีเดียวจะได้จบ ๆ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่เพียงเราจำเป็นต้องตระหนักไว้ด้วยนิดหนึ่งว่าถ้าเจอช่างที่ไม่ซื่อสัตย์ ก็อาจถูกโกงในการคำนวณแล้วเบิกงบประมาณในการปูกระเบื้องซื้อกระเบื้องเกินได้

การที่เราคำนวณพื้นที่กระเบื้อง พื้นที่ห้องที่ต้องการปูกระเบื้องเป็น ก็จะทำให้เราสามารถตรวจสอบความถูกต้องในการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือไม้ก็อาจจัดการทุกอย่างเองตั้งแต่คำนวณซื้อ ปูติดตั้งเองได้ โดยไม่ต้องง้อช่างเลยก็ได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากขึ้น แต่เราก็ต้องมั่นใจพอสมควรว่า จะปูกระเบื้องได้อย่างถูกต้องและไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

โปรแกรม คำนวณ ปูน ปูกระเบื้อง