กาพย์ยานี 11 บาทหนึ่งมีกี่คำ

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง ๆ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบของฉันลักษณ์ พร้อมกับให้ดูตัวอย่างของ
กาพย์ยานี 11 ประกอบไปด้วย เพื่อความเข้าใจที่สมบูรณ์ น้อง ๆ จะได้ลองไปแต่งด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนของวันนี้ได้เลย

กาพย์ยานี 11 บาทหนึ่งมีกี่คำ

กาพย์ยานี 11 คืออะไร?

กาพย์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง นิยมใช้แต่งบทสั้น ๆ หรือใช้แต่งคำประพันธ์ร่วมกับกาพย์ และฉันท์ประเภทอื่น ๆ เพื่อความไพเราะ  โดยกาพย์ยานี 11 จะมีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่าย และสามารถเลือกสรรคำมาแต่งได้หลากหลาย เพียงแต่ต้องมีเสียงที่คล้องจองกัน ดังนั้น เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าโครงสร้างฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11 มีรูปร่างหน้าตาประมาณไหน

ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11

กาพย์ยานี 11 บาทหนึ่งมีกี่คำ

องค์ประกอบของกาพย์ยานี 11 ใน 1 บท จะมีแบ่งออกเป็นวรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ รวมเป็น 11 คำ ใน 1 บทจะมี 2 บาท บาทละ 2 วรรค รวมเป็น 4 วรรค ส่วนวิธีสัมผัสจะมีเพียงแค่ 2 คู่ และอาจมีการเชื่อมสัมผัสกับบทถัดไปด้วย โดยจะมีลักษณะของการเชื่อมสัมผัส ดังต่อไปนี้

กาพย์ยานี 11 บาทหนึ่งมีกี่คำ

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทต้นจะไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป และจะสัมผัสแบบเดียวกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งกาพย์ยานีสามารถแต่งให้มีความยาวต่อกันกี่บทก็ได้ไม่จำกัด

ตัวอย่างการแต่งกาพย์ยานี 11

ธรรมชาติแมกไม้งาม             มองฟ้าครามในยามเย็น

ต้องตาทุกคราเห็น                 คงไว้เป็นเช่นภาพฝัน

ออกเที่ยวเลี้ยวลัดเลาะ          มองหมู่เกาะอัศจรรย์

ความสุขเปี่ยมอนันต์              เพียงเราได้ออกเดินทาง

จะเห็นว่าในแต่ละวรรคจะมีการสัมผัสกันหลัก ๆ อยู่เพียง 2 คู่ อย่างคำว่า “งาม” ที่ไปสัมผัสกับคำว่า “คราม” คำว่า “เย็น” ในวรรคที่ 2 จะไปสัมผัสกับคำว่า “เห็น” ในวรรคที่ 3 ส่วนคำว่า “ฝัน” ในวรรคที่ 4 ก็จะไปสัมผัสกับคำว่า “อัศจรรย์” ในวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

บทส่งท้าย

จบไปแล้วสำหรับเนื้อหาการเรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 หวังว่าหลังจากเรียนจบบทเรียนวันนี้ไปแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจ และแต่งกาพย์ยานี 11 ได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญคือน้อง ๆ ต้องหมั่นเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยใหม่ ๆ ด้วย จะได้เลือกใช้คำได้หลากหลายขึ้น ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่จุใจอยากจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติม หรือทบทวนอีกก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

กาพย์กาพย์มี ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ที่จะกล่าว ณ ที่นี้

กาพย์ยานี ๑๑

คณะ ของกาพย์ยานี มีดังนี้

กาพย์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียก ว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละ บาทมี ๒ วรรค คือ วรรคแรก และวรรคหลัง

พยางค์

ในแต่ละบาทมี ๑๑ พยางค์ หรือ ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๖ พยางค์ จึงเขียนเลข ๑๑ ไว้หลังกาพย์ยานี

กาพย์ยานี 11 บาทหนึ่งมีกี่คำ

กาพย์ยานี 11 บาทหนึ่งมีกี่คำ


สัมผัส มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ยานีดังนี้ก.สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสในแผนกาพย์ยานี
๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคแรก ตามปกติสัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคหลัง แต่อาจอนุโลมให้สัมผัสกับคำที่ ๑ ของวรรคหลัง ก็ได้ (โผน-โจน)

๒) คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทเอก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบาทโท (ฟอง-พอง)

๓) คำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทโท ของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลัง ในบาทเอกของบทที่ ๒ (กัน-ขัน)

ข.สัมผัสใน (ไม่บังคับ)
๔) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ ในบทที่ ๑ และ บทที่ ๒ ได้แก่คำที่เขียนเส้นโยงไว้ในแต่ละ บทคือ สิงห์-วิ่ง, คลื่น-ฝืน, ยิ่ง-สิงห์, ท่อง-ล่อง และคา-หน้า, เขม้น-เห็น, มังกร-ถอน, หน้า-วา เป็นสัมผัสที่ช่วยให้ไพเราะ

๕) สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร ได้แก่ เผ่น-โผน, ฝืน-ฝ่า-ฟอง, แถว-ท่อง, ขบ-ขัน, พาย-พัน

กาพย์ฉบัง ๑๖คณะ คณะของกาพย์ฉบังมีดังนี้
กาพย์ฉบังบทหนึ่งมีเพียง ๑ บาท แต่มี ๓ วรรค คือ วรรคต้น วรรกลาง และวรรคท้าย พยางค์พยางค์หรือคำในวรรคต้นมี ๖ คำ วรรกลางมี ๔ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทั้งบทมี ๑๖ คำ จึงเขียนเลข ๑๖ ไว้หลังกาพย์ฉบัง

กาพย์ยานี 11 บาทหนึ่งมีกี่คำ


สัมผัส

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์ฉบังดังนี้

ก.สัมผัสนอก(บังคับ) โปรดสังเกตเส้นโยงสัมผัสประกอบ

๑) ในบทที่ ๑ คำสุดท้ายของวรรคต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคกลาง (บูชา-มารดา)

๒) คำสุดท้ายของวรรคท้ายในบทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคต้นในบทที่ ๒ (ตน-กมล) และในบทต่อ ๆ ไปก็มีสัมผัสทำนองเดียวกับข้อ ๑ และ ข้อ ๒

ข.สัมผัสใน

(ไม่บังคับ)

๓) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ มีในบทที่ ๑ วรรคท้าย คือ กำเนิด-เกิด ในบทที่ ๒ วรรคท้าย คือ มหา-สาครินทร์ ในบทที่ ๔ วรรคท้าย คือ วิชา-อาทร ภาษา-จริยา-สง่าศรี

๔)สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษรมีดังนี้

บทที่ ๑ ข้า-ขอ บิดร-มารดา ก่อ-กำเนิด-เกิด บทที่ ๒ กตัญญู-ยึด มั่น-กมล บทที่ ๓ ข้า-ขอ-คุณ สั่ง-สอน บทที่ ๔ ถ่าย-ทอด-อาทร ภาษา-สง่าศรี