การกระจายสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตามข้อใด

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมค้าปลีกมีการพัฒนาการเติบโตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งร้านค้าปลีกเหล่านี้จำเป็นต้องมีการสั่งสินค้าเข้าร้านเพิ่มมากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการกระจายสินค้า

บริษัท พรอคเตอร์แอนด์แกรมเบิล (P&G) ได้ส่งมอบสินค้ามายังร้านค้าที่เป็นModern Trade โดยผ่านการจัดส่งจากโรงงานมายังศูนย์กระจายสินค้าของผู้ค้าปลีกโดยใช้ระบบ Cross-Dock หรือจัดส่งให้ผู้ค้าปลีกโดยตรง โดยผ่านทางแนวคิดใหม่เช่น ผ่านทางระบบ VMI เพื่อตอบสนองลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             2) อุตสาหกรรมสิ่งทอ
             ผู้จัดส่งสิ่งทอได้ใช้เทคนิคการตอบสนองที่รวดเร็ว (Quick Response) เพื่อลดช่วงเวลาโดยใช้การสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ความจำเป็นสำหรับคำสั่งซื้อ และการส่งมอบที่รวดเร็วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการไม่เพียงแต่ระดับค้าปลีก แต่ยังรวมไปถึงผู้ผลิต ซึ่งจะต้องมีกระบวนการผลิตที่สั้งลงเพื่อตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น
             3) อุตสาหกรรมยานยนต์
              ส่วนใหญ่มักมีรูปแบบการเก็บรถยนต์ในจำนวนมาก เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกแบบ และสีตามที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นเมื่อมีการผลิตรุ่นใหม่ออกมา ทำให้รถรุ่นเก่าที่ยังอยู่ในสต๊อกตกรุ่นไป ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นได้จัดการปัญหาเหล่านี้โดยจะมีการแสดงรถยนต์เพียงไม่กี่แบบ เพื่อใช้เป็นแบบตัวอย่างให้กับลูกค้า หลังจากที่ลูกค้าเลือกแบบแล้ว แบบและสีที่ลูกค้าต้องการจะถูกส่งไปบยังโรงงานเพื่อที่จะผลิตตามความต้องการของลูกค้า โดยจะใช้เวลาส่งมอบไม่เกินสองสัปดาห์ ความพยายามที่จะลดช่วงเวลาในการสั่งซื้อ และส่งมอบรถยนต์มีเป้าหมายเพื่อที่จะตัดสต๊อกส่วนเกินออกไป
การนำ e-Commerce มาใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่งซึ่งจะทำให้การสั่งซื้อรถยนต์สามารถทำได้ผ่านทาง Website โดยลูกค้าสามารถเลือกรุ่น และ Optionต่างๆที่ต้องการ
อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อการจำหน่ายรถยนต์ คือการจำหน่ายรถยนต์อาจจะไม่ใช่แหล่งสร้างกำไรอีกต่อไป แต่จะเป็นการให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อและการให้บริการหลังการขาย ซึ่งอาจจะสร้างกำไรได้มากกว่า

(1) กลุ่มผู้ค้าส่ง
บทบาทของผู้ค้าส่งกำลังจะเปลี่ยนไป ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตจะเป็นผู้ดำเนินการศูนย์กระจายสินค้าในการที่จะจัดเก็บแยกประเภทสินค้า และส่งต่อไปยังลูกค้า การขนส่งโดยตรงไปยังผู้จำหน่ายอาจจะถูกเปลี่ยนโดยรวมสินค้าคงคลังไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์อื่น ๆ ต่อไป ในขณะที่กลุ่มสินค้าบางประเภทเช่น สินค้าประเภทเวชภัณฑ์ อุปกรณ์สำนักงานและสุขภัณฑ์ ยังจำเป็นต้องใช้ผู้กระจายสินค้าเช่นเดิม
(2) ศูนย์กระจายสินค้า
ศูนย์กระจายสินค้าในอุตสาหกรรมค้าปลีกอาจจะเลือกที่จะจัดเก็บสินค้าคงคลังเพื่อใช้ในการจัดส่งในแต่ละท้องถิ่น การนำเทคนิค Cross-Dockเข้ามาใช้หรือแม้แต่การบรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆไว้บน Pallet เพื่อทำการส่งไปยังร้านค้าปลีกต่าง ๆ หรือจะเป็นการนำระบบบริหารคลังสินค้ามาใช้ในการควบคุมสินค้าคงตลัง
(3) ระบบโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมค้าปลีก
เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งและข้อมูลในหลายๆ แง่มุม ระบบการขนส่งที่มีความรวดเร็ว และมีต้นทุนที่ต่ำจะช่วยให้ระบบการเติมเต็มสินค้าทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ระบบข้อมูลจะช่วยทำให้ธุรกิจสามารถควบคุมสินค้าคงคลัง กระบวนการสั่งซื้อ และการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ที่มา : http://supersambea.blogspot.com/2008/11/5.html)
(4) การบูรณาการแนวคิดการกระจายสินค้า
ความสนใจนี้จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม โดยจะมี 4 ขั้นตอนของการบูรณาการดังนี้

  1.            การควบคุมสโตร์แต่ละแห่ง
  2.            การควบคุมศูนย์กระจายสินค้า
  3.            การควบคุมสำนักงานใหญ่
  4.            ส่งมอบแบบทันเวลาพอดี

รูปแบบต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการเคลื่อนย้ายจากสถานที่ต่าง ๆ มาเป็นการรวมศูนย์ที่ใดที่หนึ่ง การสร้างความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งสินค้าและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายของศูนย์กระจายสินค้าโดนประสานเข้ากับระบบการขนส่ง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบเดิม ๆ ที่มักจะเผชิญหน้ากัน
(5) การเปลี่ยนแปลง และเครือข่ายการจัดส่งสินค้า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเรื่องเครือข่ายการกระจายสินค้า การใช้แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนรวมของการกระจายสินค้าควรเป็นคำตอบในการระบุ และอธิบายจำนวนของศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กับคุณภาพของการให้บริการด้วยต้นทุนต่าง ๆ ที่รวมเข้ากับต้นทุนการกระจายสินค้ามีดังนี้คือ

  1.         ต้นทุนการขนส่ง
  2.         ต้นทุนสินค้าคงคลัง
  3.         ต้นทุนในการบริหารคลังสินค้า
  4.         ต้นทุนในการให้บริการ

ต้นทุนการขนส่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ระบบขนส่งแบบปฐมภูมิซึ่งจะทำการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยังศูนย์กระจายสินค้า และระบบขนส่งแบบทุติยภูมิซึ่งจะทำการขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังลูกค้า ซึ่งต้นทุนแบบปฐมภูมิจะลดน้อยลงเมื่อมีศูนย์กระจายสินค้าลดลง ในทางตรงกันข้ามต้นทุนแบบทุติยภูมิกลับมีค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องใช้ปริมาณรถในการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น

ต้นทุนสินค้าคงคลังจะรวมถึงต้นทุนที่ใช้ในการเคลื่อนย้าย และต้นทุนที่ใช้ในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง
              ต้นทุนในการบริหารคลังสินค้า จะรวมต้นทุนคงที่ต่าง ๆ เช่นอาคาร รถบรรทุก และอุปกรณ์ต่าง ๆ การนำเอาศูนย์กระจายสินค้าแบบรวมศูนย์มาใช้จะช่วยให้องค์กรนั้นสามารถลดต้นทุนของสิ่งก่อสร้างให้ต่ำลง นอกจากนี้การใช้ระบบอัตโนมัติในการดำเนินการจะทำให้เกิดการประสานงาน และการควบคุมที่ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นต้นทุนสำหรับศูยน์กระจายสินค้าจะลดลงเมื่อมีจำนวนของศูนย์กระจายสินค้าลดน้อยลง
(6) ตลาดระหว่างประเทศ
มีหลายประเด็นในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศมีอิทธิพลกับการกระจายสินค้าซึ่งควรได้รับการแก้ไข สิ่งหนึ่งคือการเปรียบเทียบระหว่างบทบาทในการควบคุมองค์กรในระดับโลก หรือภูมิภาคต่าง ๆ และการควบคุมในแต่ละประเทศ รวมทั้งประเด็นที่ว่าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ควรจะเน้นในระดับท้องถิ่น หรือในระดับโลก เพราะการมุ่งเน้นในระดับใดระดับหนึ่งจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป
(7) โครงสร้างของการกระจายระหว่างประเทศ
โครงสร้างการกระจายสินค้าในแต่ละท้องถิ่นควรจะถูกให้บริการสินค้าแบบรวมศูนย์ หรือเน้นในแต่ละท้องถิ่น ทางแก้ปัญหาสองประการไม่ว่าจะเป็นการกระจายสินค้าไปยังสาขาท้องถิ่นโดยใช้ศูนย์กระจายสินค้าของเอง หรือเพื่อที่จะเน้นสินค้าคงคลังในศูนย์กระจายสินค้าของแต่ละภูมิภาค
รูปแบบแบบหนึ่งคือการที่สินค้าจะเคลื่อนย้ายโดยตรงจากการผลิตไปยังลูกค้าโดยไม่มีการใช้ตัวกลาง หรือจุดที่ต้องทำการจัดเก็บสินค้า จะทำให้เกิดต้นทุนที่ต่ำ และมีการขนส่งและระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในมุมมองของห่วงโซ่อุปทาน ขอบเขตในการควบคุมโดยองค์กรที่รับผิดชอบการขายในแต่ละท้องถิ่นที่มีการกระจายสินค้า ในระบบ Classical Systemจะให้อิสระและการควบคุมการปฏิบัติการในแต่ละท้องถิ่น แต่ก็จะแยกส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญออกจากห่วงโซ่อุปทานออกจากกัน ทำให้มีการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มมากขึ้น และเกิดปัญหาในเรื่องของการปะปนกันของผลิตภัณฑ์ใหม่และเก่า
(8) Scale และ Cross – Docking
ความต้องการของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนไป ผู้บริโภคมักจะนิยมซื้อสินค้าจากจุดเดียว แต่มีสินค้าให้เลือกมากมายหลายชนิด ทำให้ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ร้านค้าปลีกทั่วไปที่มีขนาดกลาง ถึงขนาดเล็กประสบกับภาวะที่ย่ำแย่ ในขณะที่ร้านดิสเคาน์สโตร์ต่าง ๆ มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ปริมาณสินค้าจำนวนมาก ๆ ที่มีในร้านขายปลีกจะมีอิทธิพลต่อการกระจายสินค้าเนื่องจากจำนวนสินค้าที่มีปริมาณมากขึ้นมีการจัดส่งสินค้าไปยังร้านค้าผ่านระบบ Cross-Dock ณ ศูนย์กระจายสินค้าของร้านค้าปลีก ซึ่งจะทำให้Supplier สามารถเคลื่อนย้าย และขนส่งสินค้าเหล่านี้ได้ง่ายมากขึ้น
(9) การแยกการจำหน่ายออกจากการกระจายสินค้า
ปกติแล้วการกระจายสินค้าในท้องถิ่นต่าง ๆ มักอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายขายในแต่ละสาขา บริษัทหลายแห่งพบว่าการจัดการกระจายสินค้าแบบรวมศูนย์จำเป็นต้องมีการแยกหน้าที่ของผ่ายขายออกจากกิจกรรมอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงโดยทำการกระจายสินค้าโดยตรงจากศูนย์กระจายสินค้า และส่งทางรถบรรทุกไปยังจุดปล่อยสินค้าในแต่ละประเทศซึ่งทำให้มีการปรับปรุงมากขึ้น โดยสามารถลดสินค้าคงคลังได้ประมาณ 1 ใน 3 การปรับปรุงยอดขายนำไปสู่การขยายตัวของศูนย์กระจายสินค้าซึ่งสามารถรับคำสั่งซื้อ โดยคำสั่งซื้อเหล่านี้มาจากฝ่ายขายและส่งไปยังศูนย์กระจายสินค้าขั้นที่สอง เมื่อศูนย์กระจายสินค้าได้ส่งมอบสินค้าแล้ว ศูนย์อำนวยการจะส่ง Invoice ไปให้กับลูกค้า และให้ลูกค้าไปชำระเงินผ่านทางธนาคารในท้องถิ่นนั้น ๆ
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ และการเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยที่ลดลงของทั้งศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์อำนวยการ ระบบนี้ทำให้ฝ่ายขายถูกแยกออกมาจากการปฏิบัติหน้าที่แบบเก่า หันเน้นการให้บริการกับลูกค้ามากขึ้น
(10) ธุรกิจค้าปลีกระหว่างประเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ และการลดขั้นตอนการตรวจสอบตามเขตแดนจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกกลายเป็นสากลมากขึ้น  โครงสร้างอำนาจต่อรองในธุรกิจค้าปลีกไม่เพียงแต่เปลี่ยนส่วนแบ่งทางการตลาดเท่านั้น แต่รวมไปถึงการเปลี่ยนโครงสร้างของเครือข่ายการกระจายสินค้า ผู้ค้าปลีกที่มีอำนาจต่อรองสูงยิ่งต้องมีการใช้ข้อมูลรวมกันมากขึ้น และรวดเร็วขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นระบบ EDI นอกจากนั้นยังอยากให้มีการส่งมอบสินค้าไปบังศูนย์กระจายสินค้าของตนโดยใช้การรวบรวมสินค้าต่าง ๆ เข้าด้วยกันแล้วทำการส่งมอบพร้อมกัน
การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบการสั่งซื้อโดยเน้นที่ลูกค้าเป็นหลัก ผู้ค้าปลีกสามารถลดสินค้าคงคลังของตน เพิ่มการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง ทำให้เงินมีการหมุนเวียนดีขึ้น ส่วนSupplier จะได้รับข้อมูลที่สามารถคาดการณ์สำหรับการวางแผนการผลิตที่ดีขึ้น
(11) การเติบโต และขยายตัวของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การนำเอาระบบ e-Commerce เข้ามาใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการต่อโครงสร้าง และกระบวนการกระจายสินค้า ซึ่งระบบนี้จะเป็นการสร้าง Demand หรือความต้องการซึ่งเป็นผลในคำสั่งซื้อของลูกค้า และความพึงพอใจหลังการส่งมอบสินค้า การจัดส่งและการเติมเต็มสินค้า
ระบบการเติมเต็ม (Fulfillment) จะเกี่ยวข้องกับคำสั่งซื้อของลูกค้า การส่งมอบสินค้าจาก Supplier หรือศูนย์กระจายสินค้าไปยังลูกค้า การจัดสถานะของข้อมูล และการติดตามผลหลังการขาย ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือระบบSoftware รวมถึงต้นทุนที่ใช้ในการติดตั้งกี่ฝึกอบรมและการดำเนินการด้วย
(12) โครงสร้างของระบบการเติมเต็มสินค้าโดยผ่านการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ระบบการเติมเต็มจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปซึ่งตลาดจะต้องทำการพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (ที่มา :http://supersambea.blogspot.com/2008/11/5.html)

  1. 10 ขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรกระจายสินค้าและขนส่ง
                  ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งกำไรที่เพิ่มมากขึ้น มีส่วนแบ่งการตลาดที่มากขึ้น ดังนั้น แต่ละหน่วยงานภายในองค์กรจำเป็นต้องมีการปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะหน่วยงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชนจำเป็นต้องปรับตัวเช่นกัน ด้วยเหตุดังกล่าวกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ในปัจจุบัน จึงพยายามมุ่งเน้นประเด็นหลักๆ ที่สำคัญได้แก่ การลดต้นทุน (Cost Reduction) การลดการลงทุน (Capital Reduction) และการปรับปรุงการให้บริการ (Service Improvement)
    กิจกรรมด้านการกระจายสินค้าและการขนส่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทั้งการลงทุนด้านทรัพยากร การบริหารทรัพยากร และส่งผลกระทบโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้า จากการศึกษาต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทยพบว่า ประเทศไทยมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูงมากกว่าร้อยละ 25 และต้นทุนดังกล่าวจะสูงขึ้นหากเป็นกลุ่มเอสเอ็มอี โดยในส่วนดังกล่าวมีส่วนของสินค้าคงคลังถึงร้อยละ 47 ของต้นทุนด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด ดังนั้น การวางแผนและการจัดการที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยให้การจัดการสินค้าคงคลังรวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าและขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดการด้านทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
    1) การจัดการอาคาร ที่ดิน ขนาดของคลัง จำนวนและรูปแบบหน้าท่ารับจ่าย และ Yard
    2) อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Material Handling อาทิ Dock Levelerรถยก รถตัก รถขนย้าน Pallet, Conveyor และรถขนส่งชนิดต่างๆ
    3) ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับคลังและหน้าท่ารับจ่าย พนักงานขับรถ เด็กติดรถของ Outsourcing
    4) ระบบงาน ระบบไอที ระบบข้อมูลและระบบเอกสารต่างๆ

แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในการกระจายสินค้าและขนส่งมีได้หลายแนวทาง ดังนั้น ในบทความนี้จะได้นำเสนอแนวทางแบบง่ายๆ ไว้ 10 ขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งเป้าหมายของการพัฒนาการกำหนดตัวชี้วัด (Target Setting)
2) ลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้า (Reduce Distance)
3) เพิ่มขนาดของหน่วยเก็บ/หยิบสินค้า (Increase the size of Unit)
4) ใช้ประโยชน์เที่ยวกลับของอุปกรณ์การขนย้าย/รถขนส่ง (Seek round trips opportunities)
5) สนับสนุนให้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Encourage the Process of Change)
6) เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่า (Embrace Technology)
7) พัฒนาคุณภาพมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ (Improve Packaging)
8) ลดจำนวนการหยิบ ยก ตักเคลื่อนย้าย (Reduce Number of handling)
9) ปรับจำนวนความแตกต่าง ผันแปรของปริมาณให้ใกล้เคียงกัน (Smooth the variation in flow)
10) ใช้บริการด้านโลจิสติกส์จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Logistics Outsource)

         ขั้นตอนที่ 1 การตั้งเป้าหมายของการพัฒนาการกำหนดตัวชี้วัด (Target Setting) ด้วยการตั้งเป้าหมายของการพัฒนา การกำหนดตัวชี้วัดต่างๆ เช่น เป้าหมายการให้บริการ การควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ ซึ่งในส่วนให้เน้นกรอบเป้าหมายกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ทั้งสามด้านได้แก่ การลดต้นทุน การลดเงินลงทุน การปรับปรุงการบริการ ตัวอย่างมาตรฐานการกระจายสินค้า ได้แก่

ตารางที่ 12.1 มาตรฐานการกระจายสินค้า

Key Performance IndicatorIndexความรวดเร็วและถูกต้องในการรับสินค้าภายใน 1 ช.ม.99%ความแม่นยำในการเก็บสินค้าในตำแหน่งที่กำหนด98%ความรวดเร็วและ แม่นยำในการเบิกจ่ายสินค้าภายใน 3 ช.ม.100%ความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าภายใน 24 ช.ม.98%สินค้าต้องไม่บุบ ยุบ เสียหาย จากการขนย้ายถึงลูกค้า99%ค่าใช้จ่ายการดำเนินการไม่เกิน 2 %ของยอดขายสินค้า<2%

อย่างไรก็ตามพึงระลึกไว้เสมอว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เพราะหากการกำหนดเป้าหมายไม่สอดคล้องกับความคาดหวังของลูกค้า จะทำให้การกำหนดเป้าหมายสูญเปล่า

ขั้นตอนที่ 2 การลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้า (Reduce Distance)อันได้แก่ การจัดให้สินค้าหมุนเร็วอยู่ใกล้หน้าท่ารับจ่าย การพัฒนาระบบโครงข่ายการกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพ การยุบคลังที่มีหลายแห่งเหลือแห่งเดียวหรือน้อยแห่ง ที่เป็นจุดที่ตั้งที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มสะดวกและประหยัดในการรวบรวมและกระจายสินค้าไปยังลูกค้า

ขั้นตอนที่ 3 การเพิ่มขนาดของหน่วยเก็บ/หยิบสินค้า (Increase the size of Unit) ด้วยการเก็บ การเคลื่อนย้ายในระดับหีบ กล่อง หรือระดับ Pallet หรือการใช้ Container เพื่อขนถ่ายสินค้าให้เร็วและได้ปริมาณคราวละมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การใช้ประโยชน์เที่ยวกลับของอุปกรณ์การขนย้าย/รถขนส่ง (Seek round trips opportunities) ได้แก่การวางแผนการจัดเก็บ การหยิบให้สอดคล้องกัน การลดปัญหาลดเที่ยวเปล่าโดยการทำ Backhaul เช่น ส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง และขากลับให้ขนวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์กลับคลัง นอกจากนี้ควรแสวงหาการใช้ Distribution network จากบริษัทคู่ค้าที่มีอยู่

ขั้นตอนที่ 5 สนับสนุนให้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Encourage the Process of Change) เช่นการทำงานในระบบกะ การใช้อุปกรณ์ทดแทน การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานเช่น การใช้ระบบ Priority ได้แก่ การจัดให้มีCustomer Service Level Agreement (CSLA) การศึกษาตามหลัก 80/20 การใช้ระบบ Cross Docking หรือการจ่ายสินค้าตรงจากโรงงาน เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 6 เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่า (Embrace Technology)เช่นการใช้ระบบบาร์โค้ด ระบบ RFID การใช้ระบบงานหรือ Software เพื่อวางแผนการกระจายสินค้าและการขนย้าย อย่างไรก็ตามพึงระลึกเสมอว่าการเปิดรับเทคโนโลยีต้องสอดรับกับต้นทุนและ Return on Investment (ROI) ขององค์กร

ขั้นตอนที่ 7 พัฒนาคุณภาพมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ (Improve Packaging)ด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่สำคัญได้แก่ 1) ทำหน้าที่ด้าน Storage Support ในการปกป้องและเก็บรักษาสินค้าไม่ให้ได้รับความเสียหายและให้เกิดความสะดวกในระหว่างการจัดเก็บ 2) ทำหน้าที่Transport Support เพื่อให้เกิดความสะดวกและมีความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายเพื่อการขนส่ง 3) ทำหน้าที่ Cost Reduction ในการทำให้ประหยัดเนื้อที่ ทั้งเพื่อการเก็บรักษาและเพื่อการขนย้ายสินค้าหรือการขนส่งเนื่องจากสามารถจัดวางเรียงทับซ้อนกันในทางสูง ซึ่งหากไม่มีบรรจุภัณฑ์ก็ไม่สามารถที่จะทำได้

ขั้นตอนที่ 8 ลดจำนวนการหยิบ ยก ตักเคลื่อนย้าย (Reduce Number of handling) ด้วยการใช้อุปกรณ์ในการขนย้ายที่เหมาะสม หยิบได้ในคราวละมากๆ หรือเปลี่ยนวิธีการหยิบสินค้าจาก Order Picking มาเป็น Batch Picking เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 9 ปรับจำนวนความแตกต่าง ผันแปรของปริมาณให้ใกล้เคียงกัน (Smooth the variation in flow) เช่น การมอบหมายงานให้พนักงานสามารถทำงานทั้งรับสินค้า (Receipt) และจ่ายสินค้า (Dispatch) ให้เป็นทีมเดียวกันซึ่งทำให้สามารถบริหารบุคคลากรที่หน้าท่ารับ-จ่ายได้มีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยปรกติจะมีปริมาณการจ่ายสินค้าจำนวนมากในช่วงเช้า ในขณะที่มีปริมาณการรับสินค้าจำนวนมากในช่วงบ่าย เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 10 ใช้บริการด้านโลจิสติกส์จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Logistics Outsource) โดยมุ่งหวังที่จะลดต้นทุนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าการดำเนินการเอง เช่น การจ้าง 3rd Party ในการขนส่งสินค้าแทนการจัดส่งเอง ซึ่งช่วยให้บริษัทลดต้นทุนจากการลงทุนในการซื้อรถเพื่อการขนส่ง การจัดตั้ง Hub โดยสามารถใช้ของ Outsource ได้ และการว่าจ้างพร้อมทั้งต้นทุนในการบริหารจัดการพนักงานขนส่งที่ต้องมีจำนวนมากและทำงานอยู่ไกลจากสำนักงาน เป็นต้น

ขั้นตอนในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในการกระจายสินค้าและขนส่งสินค้าที่นำเสนอในบทความในที่นี้เป็นเพียงบทเริ่มต้นเพื่อการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพเท่านั้น ยังมีสิ่งจำเป็นในอีกหลายๆ ส่วนที่จะต้องพิจารณา เช่นกระบวนการวางแผนและการจัดการ กอปรกับการจัดการองค์กรก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (ที่มา :http://supersambea.blogspot.com/2008/11/5.html)

  1. บทสรุป

การกระจายสินค้าเป็นเรื่องของการเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จรูปจากแหล่งผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย และผู้ใช้สินค้าหรือชิ้นส่วนทางอุตสาหกรรม ซึ่งในการบริหารจัดการกระจายสินค้า เป็นเรื่องของการวางแผนเพื่อพัฒนากระบวนการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการขนส่งหนึ่งครั้ง ซึ่งมีการคำนึงถึงองค์ประกอบของการกระจายสินค้าทั้ง 5 คือ 1) ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าและคลังสินค้า 2) การจัดการวัสดุ 3) การควบคุมสินค้าคงเหลือ 4) การดำเนินงานเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ และ 5) หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายสินค้าไปยังลูกคา โดยใช้วิธีการขนส่งในลักษณะของ พิกกี้แบ๊ค (Piggy Back) หรือ ฟิชชี่แบ๊ค (Fishy Back ) ที่เป็นเรื่องของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

ในเรื่องของความความซับซ้อนของการกระจายสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลต่อความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน และประเภทของลูกค้าโดยเน้นตลาดที่แตกต่างกันไป ขณะที่สินค้ามีวงเวียนชีวิตสั้น การส่งเสริมการตลาดจะยิ่งมีความจำเป็นขึ้น มีแรงกดดันเกี่ยวกับราคามากขึ้น จึงทำให้ต้องมีการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการมีผลิตภัณฑ์หลากหลายมากเกินไป และความผันผวนของช่องทางการกระจายสินค้าในท้องถิ่น

สำหรับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เกิดขึ้นกับระบบการกระจายสินค้าระดับโลกจะเป็นเรื่องของการขจัดรูปแบบของช่องทางการกระจายสินค้าแบบเดิม ๆ ที่ก่อให้เกิดระบบที่มีการตอบสนองที่ช้าทำให้ระดับการให้บริการต่ำ และยิ่งมีระดับความต้องการสูงจะส่งผลให้สินค้าขาดสต๊อก รวมทั้งระดับการหมุนเวียนสินค้าคงคลังต่ำก่อให้เกิดต้นทุนการจัดเก็บที่สูงมากขึ้น ซึ่งในระบบการกระจายสินค้าแบบใหม่จะทำให้เกิดการบริการที่รวดเร็วขึ้นและมีต้นทุนในเปลี่ยนแปลงที่ลดต่ำลง การเก็บสินค้าคงคลังจะถูกเก็บไว้ที่ส่วนกลางโดยมีระดับการจัดเก็บที่น้อยลง ขจัดการสร้างหรือใช้ศูนย์กระจายสินค้าโดยหันมาใช้ศูนย์กระจายสินค้าจากส่วนกลางหรือการกระจายสินค้าโดยตรงไปยังลูกค้า ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยขจัดกิจกรรมหรือขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากรวบรวมและจัดการบริหารใหม่ที่ลดระยะเวลาในกระบวนการทำให้ได้มากขึ้น

ซึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรกระจายสินค้าและขนส่ง ได้มีการกำหนดขั้นตอนการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรกระจายสินค้าและขนส่งเอาไว้ 10 ขั้นตอนซึ่งได้แก่ 1) การตั้งเป้าหมายของการพัฒนาการกำหนดตัวชี้วัด (Target Setting) ด้วยการตั้งเป้าหมายของการพัฒนา การกำหนดตัวชี้วัดต่างๆ 2) การลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้า (Reduce Distance) อันได้แก่ การจัดให้สินค้าหมุนเร็วอยู่ใกล้หน้าท่ารับจ่าย การพัฒนาระบบโครงข่ายการกระจายสินค้าให้มีประสิทธิภาพ การยุบคลังที่มีหลายแห่งเหลือแห่งเดียวหรือน้อยแห่ง 3) การเพิ่มขนาดของหน่วยเก็บ/หยิบสินค้า (Increase the size of Unit) ด้วยการเก็บ การเคลื่อนย้ายในระดับหีบ กล่อง หรือระดับ Pallet หรือการใช้ Container เพื่อขนถ่ายสินค้าให้เร็วและได้ปริมาณคราวละมากขึ้น 4) การใช้ประโยชน์เที่ยวกลับของอุปกรณ์การขนย้าย/รถขนส่ง (Seek round trips opportunities) ได้แก่การวางแผนการจัดเก็บ การหยิบให้สอดคล้องกัน การลดปัญหาลดเที่ยวเปล่าโดยการทำ Backhaul 5) สนับสนุนให้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Encourage the Process of Change) เช่นการทำงานในระบบกะ การใช้อุปกรณ์ทดแทน การเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงาน 6) เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่า (Embrace Technology) เช่นการใช้ระบบบาร์โค้ด ระบบ RFIDการใช้ระบบงานหรือ Software เพื่อวางแผนการกระจายสินค้าและการขนย้าย7) พัฒนาคุณภาพมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ (Improve Packaging) ด้วยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 8) ลดจำนวนการหยิบ ยก ตักเคลื่อนย้าย (Reduce Number of handling) ด้วยการใช้อุปกรณ์ในการขนย้ายที่เหมาะสม หยิบได้ในคราวละมากๆ 9) ปรับจำนวนความแตกต่าง ผันแปรของปริมาณให้ใกล้เคียงกัน (Smooth the variation in flow) เช่น การมอบหมายงานให้พนักงานสามารถทำงานทั้งรับสินค้า (Receipt) และจ่ายสินค้า (Dispatch) ให้เป็นทีมเดียวกันซึ่งทำให้สามารถบริหารบุคคลากรที่หน้าท่ารับ-จ่ายได้มีประสิทธิภาพ และขั้นตอนที่ 10) ใช้บริการด้านโลจิสติกส์จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Logistics Outsource) โดยมุ่งหวังที่จะลดต้นทุนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าการดำเนินการเอง เช่น การจ้าง 3rd Party ในการขนส่งสินค้าแทนการจัดส่งเอง

 

  1. เอกสารอ้างอิง

1) ชัยวัฒน์ ชูตระกูร. 2557. การกระจายตัวสินค้าหมายถึง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.l3nr.org/posts/372152. 3 มีนาคม 2557.

2) การจัดการการกระจายสินค้า. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://supersambea.blogspot.com/2008/11/5.html. 3 มีนาคม 2557

ระบบการขนถ่ายวัสดุ
(Material Handling System)

              ระบบการขนถ่ายวัสดุเป็นระบบที่เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโซ่อุปทานองค์กร ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งมีกระบวนการผลิตหรือกระบวนการแปลงสภาพจากปัจจัยนำเข้า (Input)ได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด โดยผ่าน กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process)เป็นขั้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ได้แก่ กระบวนการผลิตในโรงงาน การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า การค้าปลีก การค้าส่ง การติดต่อสื่อสาร และสุดท้ายจนมาเป็น ผลผลิต (Output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกัน อันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิต สินค้า (Goods) และบริการ (Service)โดยภายในกระบวนการแปลงสภาพปัจจัยนำเข้าให้กลายเป็นสินค้าและบริการดังกล่าว เมื่อพิจารณาในแง่ของการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม มักจะเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลากับการเคลื่อนที่ การเคลื่อนย้ายวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยนำเข้า (Input), กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output) โดยการเคลื่อนย้ายดังกล่าวเรียกกันว่า การขนถ่ายวัสดุ (Material Handling) ที่จะลำเลียงส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่การนำวัตถุดิบมาถึงโรงงาน ผ่านกระบวนการผลิต จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ หากขาดการขนถ่ายวัสดุแล้วการผลิตจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้นการวิเคราะห์การขนถ่ายวัสดุจึงไม่ได้หมายถึงการกำจัดการขนถ่ายให้หมดไป หากแต่จะพยายามลดปัญหาให้น้อยลง โดยสรุปก็คือทำอย่างไรให้เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัด ฉะนั้น การขนถ่ายวัสดุ (Material Handling) จึงเป็นเรื่องของกระบวนการผลิตขององค์กรที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการบริหารโซ่อุปทานในการผลิตของโรงงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิภาพ (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ซึ่งในการจัดทำหนังสือเล่มนี้เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลระบบสารสนเทศ และหนังสือที่มีความน่าสนใจหลาย ๆ แหล่งข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความรู้ในระบบการขนถ่ายวัสดุต่างๆ ซึ่งกำหนดขอบเขตในการรวบรวมองค์ความรู้ดังต่อไปนี้

  1. ความหมายของระบบการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System)
  2. องค์ประกอบสำคัญของการขนถ่ายวัสดุ
  3. ขอบเขตการขนย้ายวัสดุ
  4. จุดมุ่งหมายและประโยชน์ของการขนถ่ายวัสดุ
  5. กิจกรรมและพื้นที่ที่น่าสนใจของการขนถ่ายวัสดุ
  6. ระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling)
  1. ความหมายของระบบการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System)

ระบบการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System) คือ การจัดเตรียมสถานที่ทำงานให้มีตำแหน่งประจำของวัสดุแต่ละชนิด และการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายวัสดุเหล่านั้น เพื่อนำไปผ่านกระบวนการหรือกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า ทั้งนี้ต้องอำนวยความสะดวกต่อการผลิต ซึ่งการที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ต้องอาศัยทักษะและความรู้ในการสรรหาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการขนถ่ายวัสดุการใช้ให้เหมาะสมกับงาน (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภาพที่ 10.1 กระบวนการในระบบการขนถ่ายวัสดุ

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

นอกจากความรู้และทักษะในการเลือกใช้แล้วยังต้องมีความรู้และทักษะในการออกแบบสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วย โดยองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาในการขนถ่ายวัสดุ ได้แก่ การเคลื่อนที่ (Motion) เวลาที่ต้องขนถ่าย (Time) ปริมาณในการขนถ่าย (Quantity) และเนื้อที่ที่จะใช้สำหรับอุปกรณ์ในการขนถ่าย (Space) (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภาพที่ 10.2 องค์ประกอบที่ต้องพิจารณาในการขนถ่ายวัสดุ

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

การขนถ่ายวัสดุ (Material Handling)จึงเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ และสินค้าคงคลังในระหว่างการผลิต รวมถึงการขนย้ายตัวสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ภายในโรงงานหรือคลังสินค้า เพื่อลดระยะทาง ปริมาณการเคลื่อนย้ายให้ได้มากที่สุด โดยแก้ไขกระบวนการที่เป็นคอขวดให้มีการไหลได้ดีขึ้น เป็นวิธีการที่จะประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนหนึ่งของโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากการเคลื่อนย้ายวัสดุแต่ละครั้งสถานประกอบการต้องหาวิธีการลดจำนวนการเคลื่อนย้ายวัตถุต่าง ๆ ให้มากที่สุด เนื่องจากทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย จะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายวัตถุต่าง ๆ ดังนั้นหากสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านนี้ก็จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นลดลงด้วย และยังเป็นการบริหารโซ่อุปทานของสินค้าได้ด้วย

วิธีการเคลื่อนย้ายวัสดุของโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบถึงแม้ว่า การเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ และสินค้าคงคลังในระหว่างการผลิต รวมถึงการขนย้ายตัวสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วจะไม่ได้เป็นขั้นตอนการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโดยตรง แต่การบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายโดยการจัดระบบการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System) ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่แต่ละโรงงานอุตสาหกรรมต้องหาวิธีการที่ดีที่สุดเพราะเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมมีสินค้า พื้นที่การผลิต พื้นที่เก็บวัสดุ สินค้า หรือกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน ฉะนั้น การจัดระบบการขนถ่ายวัสดุจึงแตกต่างกันหรืออาจเหมือนกันได้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ว่าเป็นวิธีไหนที่ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถบริหารกิจกรรมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมการขนถ่ายขนย้ายเนื่องจากการดำเนินการขนถ่ายอย่างไร้ประสิทธิภาพอาจก่อให้เกิดปัญหาการขนย้ายสินค้าโดยไม่จำเป็น ปัญหาสินค้าสูญหายเสียหาย ปัญหาความพอใจของลูกค้าลดลง ปัญหาความล่าช้าในการผลิต ปัญหาคนงานและเครื่องจักรถูกปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่ได้ทำงาน (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

  1. องค์ประกอบสำคัญของการขนถ่ายวัสดุ
    ในระบบการขนถ่ายวัสดุ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ

1) การเคลื่อนที่เป็นการเคลื่อนย้ายวัสดุสินค้าจาก จุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือ คือการเคลื่อนย้าย วัสดุ – สินค้าจากจุดต้นทาง (จุดที่เอาของขึ้น) ไปยังจุดปลายทาง (จุดที่เอาของลง) ซึ่งการเคลื่อนย้ายของวัสดุสินค้าแต่ละ ประเภทย่อมมีการเคลื่อนที่ ที่แตกต่างกันไปทำอย่างไรจึงจะให้วิธีการเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า

2) เวลา นับเป็นปัจจัยที่สำคัญตัวหนึ่ง เป็นตัวที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการเคลื่อนที่ว่า สูงต่ำแค่ไหน ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตต่างก็อาศัยเวลาเป็นตัวกำหนดการทำงาน ทั้งการป้อนวัตถุดิบและเอาชิ้นงาน ออกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องนอกจากนั้นเวลายังเป็น กำหนดการของการเคลื่อนที่โดยอาจควบคุมที่ จุดต้นทาง หรือจุดปลายทางก็ได้แล้วแต่กรณี

3) ปริมาณ วัสดุ-สินค้าที่ต้องเคลื่อนที่ต้องสัมพันธ์กับปริมาณความต้องการของจุดต่างๆ ต้องสอดคล้องกับเวลาที่เหมาะสมของระบบ และประหยัดค่าใช้จ่าย

4) เนื้อที่ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเคลื่อนที่เพราะว่าการเคลื่อนที่หรือการขนถ่ายวัสดุ จำเป็นต้องใช้เนื้อที่สำหรับตั้งกลไกของระบบการขนถ่ายวัสดุที่มีประสิทธิภาพ ต่อไป

องค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการดังกล่าวต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน เพราะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของ การขนถ่ายวัสดุที่จะนำไปสู่ระบบการขนถ่ายวัสดุที่มีประสิทธิภาพต่อไป (ที่มา : อนุชา หิรัญวัฒน์)

ภาพที่ 10.3 การขนถ่ายวัสดุกับองค์ประกอบที่สำคัญ

(ที่มา : อนุชา หิรัญวัฒน์)

         งานการขนถ่ายวัสดุ ประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ

(1) งานเคลื่อนย้ายวัสดุ คือ การเคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตำแหน่งที่ทำงาน เอง หรือระหว่างตำแหน่งที่ทำงาน ระหว่างเครื่องจักร ระหว่างแผนก ระหว่างโรงงาน หรือ ระหว่างอาคาร ตลอดจนการขนวัสดุขึ้นและลง

(2) งาน เก็บพัสดุ คือ การเก็บพักวัตถุดิบที่ส่งเข้ามาก่อนป้อนเข้ากระบวนการผลิต การ เก็บพักวัสดุในขั้นตอนงานผลิต ตลอดจนการเก็บผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปก่อนที่ จะส่งออกไปยังผู้ใช้

  1. ขอบเขตการขนย้ายวัสดุ
    ในการขนย้ายวัสดุนั้นเราสามารถดำเนินการได้หลายขอบเขตซึ่งสามารถแบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้

         1)  การขนย้ายบริเวณพื้นที่ทำงาน

การขนย้ายประเภทนี้ เป็นลักษณะของการทำงานที่ต้องการมาขนย้ายวัสดุเข้าออกในพื้นที่การทำงาน จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการผลิตเกิดขึ้น อาทิ พื้นที่การประกอบสินค้า พื้นที่การผลิตชิ้นงานเพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิตต่อไป ทำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดเวลาหรือมีความถี่มากในการขนย้าย เพราะบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่จำกัด บางโรงงานไม่สามารถนำวัสดุเพื่อประกอบชิ้นงานมารวมไว้ได้มาก จะต้องทยอยการเคลื่อนย้ายวัสดุมาต่อเนื่อง เพื่อมิให้เกิดปัญหาคอขวด (Bottle Neck) ในการผลิต (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภาพที่ 10.4กระบวนการขนย้ายบริเวณพื้นที่ทำงาน

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

         2) การขนย้ายภายในสายการผลิต

ในกระบวนการผลิตโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process หรือ Continuous Flow Production)เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวในปริมาณที่มากมายอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะอย่าง ซึ่งมักจะเป็นการผลิตหรือแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นตอนต่อไป เช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตสารเคมี การทำกระดาษ ฯลฯ ทำให้มีสถานีการผลิตหลายแห่งด้วยกัน (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภาพที่ 10.5กระบวนการการขนย้ายภายในสายการผลิต

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

         3) การขนย้ายระหว่างสายการผลิต

เมื่อกกระบวนการผลิตในโรงงานเสร็จสิ้นจนได้วัตถุดิบเพื่อใช้ประกอบในขั้นตอนต่อไป การขนส่งวัสดุก็จะเริ่มขึ้นเพื่อนำชิ้นงานไปยังกระบวนการผลิตในสายการผลิตถัดไป ทั้งนี้ การขนย้ายระหว่างสายการผลิตจะไม่ได้คำนึงถึงการขนถ่ายภายในของแต่ละสายการผลิต เช่นการขนถ่ายวัสดุจากสายการผลิตไปยังสถานประกอบการ เป็นต้น (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภาพที่ 10.6กระบวนการการขนย้ายระหว่างสายการผลิต

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

         4) การขนย้ายระหว่างฝ่ายในโรงงาน

โรงงานอุตสาหกรรมมักจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของทุกฝ่าย ตั้งแต่การวางแผนเริ่มการผลิตซึ่งต้องมีความเกี่ยวข้องกับลูกค้าที่ได้สั่งซื้อสินค้าของโรงงาน ฝ่ายขายซึ่งมีหน้าที่ประสานงานกับลูกค้าว่าจะเป็นลูกค้าระดับองค์กร หรือลูกค้าทั่วไปจะต้องมีหน้าที่ส่งคำสั่งซื้อรวมมาให้กับฝ่ายผลิตเพื่อที่จะวางแผนการผลิต เมื่อฝ่ายผลิตทราบปริมาณความต้องการของลูกค้าในสินค้าแล้วก็จะเริ่มกระบวนการวางแผนการผลิตในโรงงานเพื่อให้สามารถทำการผลิตได้ทันตามที่ลูกค้าต้องการ แต่ก่อนจะเริ่มต้นการผลิตก็ต้องมีการสั่งซื้อวัสดุ หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยส่งข้อมูลไปยังฝ่ายจัดซื้อเพื่อวางแผนการสั่งซื้อตามระบบของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่ให้ทันตามความต้องการของฝ่ายผลิตและเริ่มการผลิตสินค้าจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปนำสินค้าดังกล่าวมายังคลังสินค้าเพื่อรอส่งมอบให้กับฝ่ายขาย เพื่อส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าต่อไป

ฉะนั้น การดำเนินกิจกรรจะเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายในโรงงานและเกี่ยวข้องกับการขนย้ายระหว่างฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายขาย (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภาพที่ 10.7กระบวนการขนย้ายระหว่างฝ่ายในโรงงาน

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

         5) การขนย้ายระหว่างโรงงาน 

ในการผลิตสินค้าบางชนิดในอุตสาหกรรมนั้น ได้แบ่งเป็นหลายโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า ชิ้นส่วนที่นำมาประกอบรวมเป็นสินค้าสำเร็จรูป โรงงานหนึ่งอาจทำหน้าที่ในการผลิตชิ้นส่วนเพื่อป้อนให้กับอีกโรงงานเพื่อนำมาใช้ในการผลิตจนเป็นสินค้าสำรูปรูป (Finish Goods) เรื่องดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับการขนย้ายระหว่างโรงงานจนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

โดยเฉพาะถ้าเป็นกรณีที่อยู่ต่างพื้นที่กัน การขนย้ายจึงเกี่ยวข้องกับการขนส่ง (Transportation) โดยตรงการจัดการระบบโลจิสติกส์จึงต้องถูกนำมาใช้ในการขนย้ายระหว่างโรงงาน ซึ่งลักษณะการขนย้ายระหว่างโรงงาน โดยโรงงานต้นน้ำ (Down Stream) ที่ทำหน้าที่ในการผลิตวัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้ในการผลิตจึงต้องมีแผนกที่จะขนส่งสินค้า วัตถุดิบดังกล่าว เพื่อนำไปส่งให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องนำสินค้า วัตถุดิบดังกล่าวใช้ไปผลิตต่อ ก็จะมีแผนกรับสินค้ารองรับอยู่แล้ว โดยปกติโรงงานอุตสาหกรรมมีกิจกรรมการขนย้ายการรับการส่งสินค้าหรือวัตถุดิบอยู่แล้ว (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภายที่ 10.8กระบวนการขนย้ายระหว่างโรงงาน

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

6) การขนย้ายระหว่างองค์กร

เมื่อผู้ผลิตสินค้าได้ทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูปออกมาแล้วการขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าวจึงเกิดขึ้น หลายบริษัทได้ดำเนินการใช้บริการผู้ให้บริการด้านการขนส่งสินค้า เพื่อตัดปัญหาเรื่องต้นทุนและการดำเนินการออกไปโดยมักใช้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่งสินค้าเพื่อส่งสินค้าไปยังลูกค้าต่อ ๆ ไป โดยการขนย้ายในระดับบริษัทที่แต่ละบริษัทก็ทำหน้าที่เพิ่มมูลค่าเพื่อผลกำไรของตนเอง (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภายที่ 10.9กระบวนการขนย้ายระหว่างองค์กร

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

7) การขนย้ายในระบบการขนส่ง

การขนย้ายในระบบการขนส่งถือว่าเป็นลักษณะการขนส่งที่ครบกระบวนซัพพลายเชนของการบริหารการผลิต ที่เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบที่ได้มาจากผู้ผลิตวัตถุดิบ (Suppliers) ขนย้ายไปยังไปโรงงานผู้ผลิตสินค้า (Manufacturers)เพื่อนำมาทำการผลิตสินค้าเกิดการขนย้ายภายในโรงงานในขณะที่เริ่มต้นกระบวนการผลิต โดยเมื่อทำการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป ก็จะขนย้ายสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตไปตัวแทนจำหน่ายเพื่อนำไปจำหน่ายและกระจายให้กับผู้ค้าส่งและจากผู้ขายส่งไปยังผู้ค้าปลีก จากผู้ค้าปลีกไปยังสุดท้ายคือ ลูกค้าที่บริโภคสินค้า นอกจากนั้นในกระบวนการผลิต นอกจากนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเราก็มักจะพบปัญหาการผลิตซึ่งยังมีของเสียหรือเศษวัสดุ ของเสียจากโรงงานที่ยังต้องมีการกำจัดให้หมดไปตามมาตรฐานที่ทางภาครัฐกำหนดไว้(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภายที่ 10.10กระบวนการขนย้ายในระบบการขนส่ง

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

  1. จุดมุ่งหมายและประโยชน์ของการขนถ่ายวัสดุ

จุดมุ่งหมายและประโยชน์ของการขนถ่ายวัสดุที่มีประสิทธิภาพดีกว่า สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประการ คือ
1) การลดต้นทุน อาจพูดได้เป็น 2 ความหมาย กล่าวคือ ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ ในการขนถ่ายวัสดุ และลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิตที่จะส่งเสริมให้ระบบการผลิตใช้เวลาการผลิตน้อยที่สุด สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อการลดต้นทุนคือ
(1) ลดการขนถ่ายวัสดุที่ใช้แรงงาน แล้วใช้อุปกรณ์ทำงานแทน
(2) ลดแรงงานที่ทำการขนถ่ายโดยตรงแต่จะใช้คนมาควบคุมการใช้อุปกรณ์แทน
(3) ลดแรงงานรองที่ใช้ในการขนถ่ายออกบ้าง เช่น พนักงานตรวจรับ-ส่งของ พนักงานควบคุมการผลิตพนักงานตรวจสอบด้านคุณภาพ พนักงานซ่อมบำรุง คือพวกที่ไม่ได้ทำการขนถ่ายโดยตรง
(4) ลดปริมาณความสูญเสียหรือความเสียหายของวัสดุ โดยการขนถ่ายอย่างระมัดระวัง
(5) ลดพนักงานบัญชี เสมียน ที่เกี่ยวข้องและช่วยในระบบงานขนถ่ายวัสดุ ให้เหลือน้อยที่สุด
(6) ลดจำนวนวัสดุที่ค้างอยู่ในระบบการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด โดยพยายามให้วัสดุไหลผ่านไปเร็วที่สุด
(7) ลดอุปกรณ์ช่วยบางอย่างออกบ้าง เช่น ภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ป้องกัน ถาด ชั้น นั่นคือการที่ใส่ของในภาชนะ บรรจุหลายๆ ที่ ต้องเสียเวลาการตรวจสอบหลายครั้ง

2) การเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน
(1) สามารถใช้เนื้อที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่น พื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางของซ้อนกันได้หลายๆ ชั้น เป็นการใช้เนื้อที่ในแนวสูงด้วย
(2) ปรับปรุงผังโรงงานเพื่อลดระยะทางการขนถ่ายวัสดุและยังเป็นการลดความสูญเสียเนื้อที่ด้วย
(3) สามารถใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์ให้สูงที่สุด เช่น รถบรรทุก ควรมีวัสดุ-สินค้า บรรทุกทั้งขาไปและขากลับ และไม่ควรเสียเวลาในการจอดรอคอยเพื่อการเอาของขึ้น-ลง นานเกินไป
(4) การเอาของขึ้นและลงจากเครื่องกลขนถ่ายเร็วที่สุด

3) การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(1) ปรับปรุงด้านความปลอดภัยของคนงาน วัสดุ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
(2) ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้การทำงานง่ายและสะดวกสบาย
(3) สภาพของงานเบา อาจใช้พนักงานหญิง ทำให้ค่าแรงถูกกว่า
4) การปรับปรุงเพื่อส่งเสริมการขาย
(1) การให้บริการที่รวดเร็วถูกต้องและตรงกำหนดเวลาของลูกค้า
(2) เป็นการช่วยเหลือลูกค้า โดยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
(3) ช่วยเพิ่มปริมาณการขาย โดยการจัดตั้งสาขาหรือตัวแทนให้อยู่ใกล้ตลาดมากที่สุด (ที่มา : ชัยพร วงศ์พิศาล)

  1. กิจกรรมและพื้นที่ที่น่าสนใจของการขนถ่ายวัสดุ
                ในระบบการขนถ่ายวัสดุ ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลายประการซึ่งผู้ออกแบบและวางผัง โรงงานควรคำนึงถึง ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กิจกรรมดังกล่าวได้แก่
    1) วิธีการขนถ่ายวัสดุ
    2) วิธีการเก็บวัสดุ-สินค้าในคลัง
    3) เทคนิคการเอาของขึ้นและลงจากเครื่องกลขนถ่าย
    4) วิธีการบรรจุหีบห่อไปขายลูกค้า
    5) วิธีการบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่งและป้องกันสินค้า
    6) การทดสอบผลของการบรรจุหีบห่อ
    7) มาตรฐานและคุณลักษณะเฉพาะของการขนถ่ายวัสดุ
    8) การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้เครื่องกลขนถ่าย
    9) การเลือกเครื่องกลขนถ่ายที่สามารถใช้ได้ทั้งการขนถ่ายและการเก็บในคลัง
    10) การเลือกอุปกรณ์ช่วยสำหรับงานขนถ่าย
    11) ภาชนะใส่ของสำหรับใช้ในโรงงาน ใช้เก็บในคลัง ใช้ในการบรรจุหีบห่อ และใช้ในการส่งออกไปจำหน่าย
    12) การซ่อมและบำรุงรักษาอุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุ
    13) ความปลอดภัยในการขนถ่ายของคนและสินค้า
    14) การฝึกอบรมบุคลากรที่ทำงานขนถ่าย
    15) การศึกษาค่าใช้จ่ายด้านการขนถ่ายวัสดุและวิธีการควบคุม
    16) ควรมีข้อมูลที่ทันสมัยในเรื่องเกี่ยวกับเครื่องกลขนถ่ายและแนวทางปฏิบัติ

หากได้ทำการวิเคราะห์ถึงกิจกรรมการขนถ่ายวัสดุดังกล่าว จะทำให้มองเห็นภาพกว้างๆ ทั้งระบบ และมองเห็นกลไกการพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมเหล่านั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
นอกจากจะให้ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ของการขนถ่ายวัสดุแล้วผู้วางแผนผัง โรงงานควรได้พิจารณาถึงพื้นที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายวัสดุด้วย ทั้งนี้เพื่อจะได้ดำเนินการวางผังโรงงาน ให้สอดคล้องกับระบบการขนถ่ายวัสดุ พื้นที่เหล่านั้นได้แก่
1) พื้นที่ทำการบรรจุหีบห่อ
2) พื้นที่เอาของขึ้นรถบรรทุกของแผนกส่งของ
3) ระบบการขนส่งจากผู้ส่งของ
4) พื้นที่ของกิจกรรมการเอาของลง
5) พื้นที่ทำงานด้านการตรวจรับของ
6) คลังวัสดุ-สินค้า
7) จำนวนวัสดุที่จะส่งไปยังฝ่ายผลิต
8) พื้นที่สำหรับเป็นที่พักของในกระบวนการผลิต
9) พื้นที่การขนถ่ายวัสดุในกระบวนการผลิต
10) พื้นที่ทำงานด้านการขนถ่าย
11) พื้นที่การขนถ่ายวัสดุระหว่างแผนก
12) พื้นที่การขนถ่ายวัสดุภายในแผนก
13) พื้นที่การขนถ่ายวัสดุระหว่างโรงงาน
14) ความสัมพันธ์ของการขนถ่ายวัสดุกับหน่วยงานสนับสนุน
15) แผนกบรรจุหีบห่อ (ผู้บริโภค)
16) คลังสินค้าสำเร็จรูป
17) แผนกบรรจุสินค้า (ป้องกันสินค้า)
18) การเอาของขึ้นและการส่งออก
19) ระบบการขนส่งไปยังลูกค้า
20) ระบบการขนส่งภายในโรงงาน
21) ความสัมพันธ์ด้านการเก็บข้อมูล (ที่มา : อนุชา หิรัญวัฒน์)

  1. ระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling)
                 เมื่อทราบถึงลักษณะขอบเขตการขนย้ายวัสดุสินค้าแล้ว โรงงานอุตสาหกรรมเองก็ต้องหาวิธีการและการเลือกใช้ระบบการเคลื่อนย้ายซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือการขนย้ายอยู่หลายอย่างที่สามารถจัดหาและนำมาพัฒนาสร้างเป็นระบบของโรงงานอุตสาหกรรมได้ ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายวัสดุสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้

1) การเคลื่อนย้ายโดยเครื่องจักร เป็นระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุที่ได้มีการนำเอาเครื่องมือในการขนย้ายหลายชนิดเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องจักรแบบธรรมดาที่ไม่ได้มีกลไกซับซ้อนมากนัก เครื่องมือขนย้ายที่มีการใช้กันมากในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายวัสดุ ได้แก่
(1) รถยก (Forklift Truck)  เป็นเครื่องมือที่สามารถยกของและย้ายของนำไปกองได้ทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง รถยกนี้มีหลายแบบและหลายขนาด แต่โดยทั่วไปจะมี 4 ล้อ ขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า บังคับเลี้ยวด้วยล้อหลัง ยกของด้วยส้อมที่ติดอยู่ด้านหน้า และยกของขึ้นด้วยระบบไฮดรอลิก สามารถยกของได้สูงประมาณ 20 ฟุต รถยกนี้เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุระยะทางใกล้ ๆ เช่น ภายในโรงงานและต้องใช้แรงงานคนประกอบในการจัดเก็บของที่ขนย้ายด้วย ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายที่มีระยะทางไกล และไม่ใช้กับการเคลื่อนย้ายวัสดุที่มิใช่เป็นสิ่งของที่มีรูปทรงมาตรฐาน หรือวัสดุที่ไม่มีการบรรจุภัณฑ์เพื่อการเคลื่อนย้าย (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภายที่ 10.11ลักษณะรถยก (Forklift Truck)

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)
(2) รถลากจูงประกอบรถพ่วง (Tractor-trailer) เป็นเครื่องมือที่ประกอบด้วย รถพ่วง 4 ล้อ ที่มีลักษณะคล้ายรถเข็นหรือเกวียนหลาย ๆ คันเชื่อมต่อกันที่จุดต่อ เคลื่อนที่โดยการใช้แรงคนเพียงคนเดียวหรือรถลากจูงเพียง 1 คัน ก็สามารถลากจูงรถพ่วงได้หลายคัน รถลากจูงประกอบนี้ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสามารถขนวัสดุได้ทีละหลายชนิด(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

ภายที่ 10.12ลักษณะรถลากจูงประกอบรถพ่วง (Tractor-trailer)

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)
(3) ปั้นจั่น (Crane) เป็นเครื่องจักรที่มีกำลังในตัวเอง ใช้ทำการยกสิ่งของได้ในพื้นที่จำกัดซึ่งเครื่องมือหรือเครื่องจักรประเภทอื่นเข้าไม่ถึง ปั้นจั่นมี 2 ชนิดคือ ปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนไม่ได้และชนิดคานยกหมุนได้ ปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนไม่ได้โดยปกติจะติดตั้งอยู่บนรถแทรกเตอร์ โดยมีคานยกยื่นออกมาเหนือล้อหน้า คานยกสามารถหันเหได้โดยการหมุนตัวของรถแทรกเตอร์ ส่วนปั้นจั่นชนิดคานยกหมุนได้จะติดตั้งอยู่บนรถ เรียกว่า รถปั้นจั่น ซึ่งคานยกที่ติดตั้งอยู่สามารถหมุนได้โดยที่ตัวรถไม่ได้หมุน (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)
ภาพที่ 10.13 ลักษณะปั้นจั่น (Crane)

(ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)
(4) รางเลื่อน (Conveyor) เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในการขนย้ายวัสดุ รางเลื่อนนี้ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับยานพาหนะใด รางเลื่อนมีหลายชนิดทั้งที่มีกำลังขับเคลื่อนและชนิดที่ไม่มีกำลังขับเคลื่อน รางเลื่อนชนิดที่มีกำลังขับเคลื่อน ได้แก่ รางเลื่อนชนิดสายพาน (Belt Conveyor) ซึ่งมีลักษณะเป็นสายพานวงรอบ ไม่มีปลายสุด ติดตั้งอยู่บนโครงเหล็กขับเคลื่อนด้วยแรงฉุดของเครื่องยนต์หรือไฟฟ้ารางเลื่อนชนิดที่ไม่มีกำลังขับเคลื่อน ได้แก่ รางเลื่อนที่หมุนโดยแรงงานคน หรือรางเลื่อนที่อาศัยแรงถ่วงของโลก เช่น รางเลื่อนชนิดใช้ล้อกลิ้ง (Wheel Conveyor) และรางเลื่อนชนิดลูกกลิ้ง (Roller Conveyor) (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

  1. อุปกรณ์ลำเลียงแบบต่อเนื่อง(conveyor)เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ(Material handling) ซึ่งมีอยู่หลายแบบหลายชนิดด้วยกันและในปัจจุบันมีวางวางขายในท้องตลาดมากกว่า 570 ชนิดซึ่งยังมีอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุชนิดใหม่ๆ ออกวางจำหน่ายอย่างต่อเนื่องและจะยกตัวอย่าง อุปกรณ์ลำเลียงแบบต่อเนื่องที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในงานอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้
    1) สายพานลำเลียง (belt conveyor)

ภายที่ 10.14 รางเลื่อนชนิดสายพาน (Belt Conveyor)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)
2) กระพ้อลำเลียง (bucket conveyor)

ภายที่ 10.15 กระพ้อลำเลียง (bucket conveyor)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)
3) โซ่ลำเลียง (chain conveyor)

ภายที่ 10.16 โซ่ลำเลียง (chain conveyor)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)

4) อุปกรณ์ขนถ่ายด้วยลม (pneumatic conveyor)

ภายที่ 10.17 อุปกรณ์ขนถ่ายด้วยลม (pneumatic conveyor)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)

         ส่วนประกอบของสายพานลำเลียงมีอยู่ 5 ส่วนหลัก ๆดังนี้
1) สายพาน (Belt) เป็นส่วนรองรับวัสดุขนถ่ายและทำให้วัสดุขนถ่ายที่อยู่บนสายพานนั้นเคลื่อนที่ตามสายพานไปด้วย ดังภาพที่ 10.18

ภาพที่ 10.18 แสดงภาพการขนวัสดุบนสายพาน (Belt)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)
2) ลูกกลิ้ง (Idlers) เป็นตัวรองรับสายพานอีกทีหนึ่ง ลูกกลิ้งนี้จะมี 2ชนิด คือ
(1) ลูกกลิ้งด้านลำเลียงวัสดุ (Carrying Idlers)
(2) ลูกกลิ้งด้านสายพานกลับ (Return Idlers)

ภาพที่ 10.19 ลูกกลิ้งด้านลำเลียงวัสดุ (Carrying Idlers)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)

ภาพที่ 10.20 ลูกกลิ้งด้านสายพานกลับ (Return Idlers)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)

3) ล้อสายพาน (Pulleys) เป็นตัวรองรับ และขับสายพาน และควบคุมแรงดึงในสายพาน

ภาพที่ 10.21 ล้อสายพาน (Pulleys)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)

4) ชุดขับ (Drive) เป็นตัวส่งกำลังขับให้กับล้อสายพาน เพื่อขับสายพานและวัสดุขนถ่ายให้เคลื่อนที่

ภาพที่ 10.22 ชุดขับ (Drive)

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)

5) โครงสร้าง (Structure) เป็นส่วนรองรับและรักษาแนวของลูกกลิ้ง (Idlers) และล้อสายพาน (Pulleys) และรองรับเครื่องขับสายพาน

ภาพที่ 10.23 ชุดโครงสร้างของลูกกลิ้ง

(ที่มา : บริษัท สายพานไทย จำกัด)

นองจากส่วนประกอบหลัก ๆ ของระบบสายพานลำเลียงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีอุปกรณ์ช่วย (Accillary Equipment) ได้แก่
– อุปกรณ์ปรับความตึงสายพาน (Belt take – ups) ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบใช้คนปรับ
– อุปกรณ์ทำความสะอาด
– ชุดป้องกันสายพานเสียหายใต้รางป้อนวัสดุ (Tramp – Iron Protection)
– ตัวส่งวัสดุออก (Trippers) และเครื่องกวาด (Plows)
– ระบบป้องกันสภาพอากาศ (Weather Protection)

2) การเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ เป็นความพยายามที่จะใช้ความเป็นอัตโนมัติ ทดแทนการลงทุนในแรงงานคนที่มีอยู่ค่อนข้างมากในระบบการ                  เคลื่อนย้ายโดยใช้เครื่องจักรระบบการเคลื่อนย้ายอัตโนมัตินี้ได้นำเอาเครื่องมือเครื่องจักรมาประกอบกันจนเป็นระบบการทำงาน ที่มีความซับซ้อนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์จัดโปรแกรมควบคุมการทำงานของชุดเครื่องจักร การใช้ระบบเคลื่อนย้ายอัตโนมัติจะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและประหยัดเวลา
ในปัจจุบันนี้ เครื่องจักรในระบบเคลื่อนย้ายอัตโนมัติที่ใช้กันอยู่มี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นระบบเคลื่อนย้ายวัสดุตามสายพานตั้งแต่เป็นวัสดุนำเข้าผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนเป็นวัสดุนำออก เช่น ระบบเคลื่อนย้ายที่ใช้ในการบรรจุน้ำอัดลม ตั้งแต่เริ่มนำขวดเปล่าเข้ามา จนกระทั่งบรรจุใส่ลังพร้อมจะส่งไปจำหน่าย เป็นต้น ส่วนชนิดที่สองเป็นระบบเคลื่อนย้ายอัตโนมัติที่จัดทำขึ้นสำหรับใช้เคลื่อนย้ายวัสดุขึ้นเก็บในที่สูง โดยเครื่องจักรจะทำงานอัตโนมัติในการเก็บของและนำของออกจากที่เก็บ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายเป็นจำนวนมาก โรงงานอุตสาหกรรมคงต้องหาวิธีและจัดการระบบการขนย้ายรวมทั้งการพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการขนย้ายวัสดุเข้ามาใช้ในองค์กร โดยไม่เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีศักยภาพต่ำกับปริมาณวัสดุ หรือสินค้าที่ต้องการขนส่งทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพในการขนย้าย หรือการเลือกอุปกรณ์ขนส่งที่ไม่เหมาะสมกับปริมาณงานทำให้สูญเสียต้นทุน เพราะการพิจารณาใช้อุปกรณ์ช่วยในการขนถ่ายวัสดุถือเป็นการลงทุนในอุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุนั้นไม่ได้ช่วยเพิ่มค่า (Add Value) แก่สินค้าที่ผลิตแต่อย่างใด เพียงแต่การเลือกใช้อุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น เพิ่มความคล่องตัวและทำให้เกิดความต่อเนื่องในการผลิต ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อวัสดุในระหว่างขนถ่าย
ซึ่งทั้งนี้ จะมีผลกระทบไปสู่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และนำไปสู่การลดต้นทุนในการผลิตและผลกำไรโดยรวม จากแนวทางข้างต้นในระบบการเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling) ทั้งการเคลื่อนย้ายโดยเครื่องจักร และการเคลื่อนย้ายโดยอัตโนมัติ เราสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการขนย้ายตามลักษณะงานได้ดังต่อไปนี้

(1) งานเคลื่อนย้ายบ่อย ระยะทางไม่ไกลมากนัก
ในลักษณะงานที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้งหรือต่อเนื่องขณะที่มีการผลิต และมีระยะทางในการขนย้ายที่ระยะทางไม่ไกลมากนัก การใช้รางเลื่อน (Conveyor) เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในการขนย้ายวัสดุ และมีความเหมาะสมกับลักษณะการเคลื่อนย้ายลักษณะนี้ เพราะลักษณะของอุปกรณ์ง่ายต่อการทำงาน เช่น ทั้งสามารถทำงานด้วยเครื่องจักรขับเคลื่อน เช่น รางเลื่อนสายพาน หรือรางเลื่อนที่แบบใช้แรงงานคนหรือแรงงานที่ใช้แรงโน้มถ่วง ได้แก่ รางเลื่อนที่ เช่น รางเลื่อนชนิดใช้ล้อกลิ้ง (Wheel Conveyor) และรางเลื่อนชนิดลูกกลิ้ง (Roller Conveyor) สามารถใช้กับงานที่เคลื่อนย้ายได้บ่อย ๆ และต้องใช้ระยะทางไม่มาก เนื่องจากถ้ามีระยะทางไกลเกินไปจะเกี่ยวข้องกับต้นทุนของรางเลื่อนที่ต้องเพิ่มมากขึ้นตามระยะทาง การเลือกใช้รางเลื่อนกับพื้นที่ไกลเกินไปอาจไม่เหมาะสมมากนัก ต้องเลือกใช้อุปกรณ์อื่นที่เหมาะสมเข้ามาใช้แทน
(2) งานเคลื่อนย้ายที่สามารถเปลี่ยนแปลงการขนย้ายได้
ในความเป็นจริงการขนย้ายในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีลักษณะที่มีการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ เพื่อความเหมาะสมกับงานและเวลาที่ใช้ การใช้ Industrial Vehicles จะมีความเหมาะสม โดยมีทั้งแบบลากจูง ใช้แรงดัน หรือขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ เช่น รถเข็น รถลากจูงแบบมีขบวนพ่วง รถยกปากส้อม ฯลฯ อุปกรณ์ประเภทนี้สามารถใช้เคลื่อนย้ายทั้งแบบหนึ่งจุดเริ่มต้น-หนึ่งจุดหมาย (Single Load) ซึ่งการขนย้ายแต่ละครั้งมีจุดเริ่มต้น และที่หมายเพียงอย่างละจุดเท่านั้น อุปกรณ์ที่ใช้อาจเป็นรถเข็น หรือรถยกปากส้อม และการเคลื่อนย้ายแบบหลายจุดเริ่มต้น-หลายจุดหมาย (Multiple Loads) ซึ่งจะมีหลายจุดเริ่มต้น และหลายจุดหมายในแต่ละครั้งของการขนย้าย เช่น อาจมีการหยิบของจากหลาย ๆ จุด ไปส่งยังหลาย ๆ ที่ โดยอุปกรณ์ในการขนย้ายได้แก่ รถลากจูงแบบมีพ่วง หรือรถเข็น
(3) งานที่ต้องการการจัดเก็บและเรียกใช้วัสดุหลากหลายแบบ ในหิ้งจัดเก็บที่หนาแน่นมาก ๆ
การใช้อุปกรณ์แบบ Automated storage/retrieval systems (AS/RS)จะใช้ในการขนย้ายวัสดุ โดยการนำวัสดุไปเก็บ (Store) และนำวัสดุออกมา (Retrieve) แบบอัตโนมัติ จากที่จัดเก็บประเภทหิ้งจัดเก็บ (Storage Rack) โดยมีตำแหน่ง/บริเวณที่เครื่อง AS/RS มารับวัสดุไปจัดเก็บ (Pickup Station) และจุดที่นำวัสดุจากหิ้งจัดเก็บไปส่งเมื่อวัสดุนั้นถูกเรียกใช้ (Deposit Station) อุปกรณ์แบบ AS/RS จะมีทั้งแบบใช้ AS/RS เครื่องเดียวต่อการจัดเก็บ 1 ช่องทาง (Aisle) ใช้ AS/RS เครื่องเดียวต่อการจัดเก็บหลายช่องทาง หรือใช้ AS/RSหลายเครื่องในการจัดเก็บ 1 ช่องทาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของพื้นที่จัดเก็บ ความถี่ในการจัดเก็บและเรียกใช้วัสดุ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ
(4) งานที่ต้องจัดวัสดุเป็นชุด แยกออกจากกัน
อุปกรณ์ Carousels อุปกรณ์ประเภทนี้มีลักษณะการเคลื่อนคล้ายกับประเภท Conveyor คือ เคลื่อนไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่อุปกรณ์ประเภทนี้จะหมุนวนรอบ เช่น การเคลื่อนย้ายที่มีหิ้งหรือชั้นเก็บของไปตามสายพานเป็นรอบ ลักษณะการเคลื่อนมีทั้งแบบหมุนวนในแนวราบและในแนวดิ่ง
การใช้อุปกรณ์แบบ Automated storage/retrieval systems (AS/RS) จะใช้ในการขนย้ายวัสดุ โดยการนำวัสดุไปเก็บ (Store) และนำวัสดุออกมา (Retrieve) แบบอัตโนมัติ จากที่จัดเก็บประเภทหิ้งจัดเก็บ (Storage Rack) โดยมีตำแหน่ง/บริเวณที่เครื่อง AS/RS มารับวัสดุไปจัดเก็บ (Pickup Station) และจุดที่นำวัสดุจากหิ้งจัดเก็บไปส่งเมื่อวัสดุนั้นถูกเรียกใช้ (Deposit Station) อุปกรณ์แบบ AS/RS จะมีทั้งแบบใช้ AS/RS เครื่องเดียวต่อการจัดเก็บ 1 ช่องทาง (Aisle) ใช้ AS/RS เครื่องเดียวต่อการจัดเก็บหลายช่องทาง หรือใช้ AS/RSหลายเครื่องในการจัดเก็บ 1 ช่องทาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของพื้นที่จัดเก็บ ความถี่ในการจัดเก็บและเรียกใช้วัสดุ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ
อุปกรณ์ Carousels อุปกรณ์ประเภทนี้มีลักษณะการเคลื่อนคล้ายกับประเภท Conveyor คือ เคลื่อนไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่อุปกรณ์ประเภทนี้จะหมุนวนรอบ เช่น การเคลื่อนย้ายที่มีหิ้งหรือชั้นเก็บของไปตามสายพานเป็นรอบ ลักษณะการเคลื่อนมีทั้งแบบหมุนวนในแนวราบและในแนวดิ่ง
(5) งานที่สามารถควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ความมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์ Automated Guided Vehicle Systems (AGV) อุปกรณ์ประเภท AGV มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภท Industrial Truck แตกต่างที่AGV ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ และถูกกำหนดเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจน ไม่ต้องใช้คนขับ การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภท AGV มักต้องลงทุนสูง ทั้งค่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม การติดตั้งเส้นทางซึ่งอาจมีการฝังสายไว้ใต้พื้นตามเส้นทาง และตัวรถ AGV เอง การควบคุมอุปกรณ์ประเภท AGV สามารถควบคุมได้หลาย ๆ คันโดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเพียงชุดเดียว และ AGVแต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เช่น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันเอง หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจร หากอีกคันยังอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ
(6) งานจำกัดพื้นที่ ไม่ได้ทำการขนย้ายเป็นประจำ วัสดุมีขนาดรูปร่างขนาดต่างกัน
อุปกรณ์ประเภทปั้นจั่นและลูกรอก มีความเหมาะสมกับลักษณะงานที่มีความจำกัดสำหรับพื้นที่ในแนวราบ การขนถ่ายกระทำเป็นครั้งคราวไม่จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และวัสดุที่ถูกขนถ่ายมีรูปร่างที่แตกต่างไม่แน่นอน เช่น การขนย้ายชิ้นส่วนขนาดใหญ่ในโรงงานที่มีพื้นที่ในแนวราบที่จำกัดสามารถใช้ลูกรอกติดตั้งบนเพดานเพื่อการขนย้าย ในบางครั้งอุปกรณ์ประเภทนี้สามารถใช้ในการขนย้ายวัสดุที่มีน้ำหนักมาก เช่น แม่พิมพ์ เครื่องจักร ชิ้นงานขนาดใหญ่ ฯลฯ
(7) งานที่มีปริมาณมาก อยู่ที่สูง
งานชนิดนี้ควรใช้หุ่นยนต์ ที่มีการควบคุมสั่งการทำงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัตโนมัติสามารถทำงานได้หลายรูปแบบมีปริมาณงานจำนวนมากต่อเนื่องหรือจะเป็นงานที่อยู่ในที่ค่อนข้างสูง เช่น การเคลื่อนหรือหมุนวัสดุในการเชื่อมชิ้นส่วน
ฉะนั้น การจัดการระบบการขนถ่ายวัสดุถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในองค์กรการผลิต ถึงแม้ว่า การขนถ่ายวัสดุจะไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าก็ตาม แต่ก็มีผลต่อการบริการการผลิตของโรงงานได้เช่นกัน การจัดระบบการขนย้ายหรือการเคลื่อนย้าย วัสดุ วัตถุดิบ สินค้า ฯลฯ โรงงานอุตสาหกรรมจะต้องพิจารณาให้รอบคอบในการเลือกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถลดปัญหาการหยุดกระบวนการผลิต การซ่อมบำรุง ลดต้นทุนในการผลิต และความสูญเสียในรูปแบบของพลังงานที่ใช้ระยะยาวของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ภาพรวมซัพพลายเชนขององค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ที่มา : บูรณะศักดิ์ มาดหมาย)

  1. บทสรุป
                 จะเห็นได้ว่า การขนถ่ายเป็นกิจกรรมที่สัมพันธ์กับกระบวนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกทั้งสัมพันธ์ กับเวลา ความเร็ว ความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การขนถ่ายวัตถุดิบไปยัง โรงงานผ่านกระบวนการผลิต จนได้ เป็นผลิตภัณฑ์ออกมา จนกระทั่งถึงมือลูกค้า
    เราอาจมองปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากสมการการขนถ่ายวัสดุที่พยายามแยกแยะปัญหาเพื่อการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ วัสดุ การเคลื่อนที่และวิธีการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบการขนถ่ายที่มีประสิทธิภาพ
    การขนถ่ายนับเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญของโรงงานที่ผู้บริหารควรได้ตระหนักและให้ความสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่แปรผันโดยตรงกับเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่สูงขึ้นและต้นทุนที่ต่ำลง อีกทั้งยังสามารถเสริมให้กระบวนการผลิตทำงานได้ใกล้เคียงกับความสามารถที่มีอยู่
    ตามที่ได้กล่าวมาเพื่อมุ่งหวังที่จะชี้ให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของการขนถ่ายวัสดุ เพื่อเป็นข้อมูล พื้นฐานในการวิเคราะห์การขนถ่ายวัสดุอย่างเป็นระบบ (Systematic Handling Analysis : SHA) ต่อไป
  1. 8.เอกสารอ้างอิง

1) บูรณะศักดิ์ มาดหมาย. 2557. ระบบการขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโซ่อุปทานองค์กร. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=19078&section=9. 21 กุมภาพันธ์ 2557.

2) อนุชา หิรัญวัฒน์. 2557. ความหมายและองค์ประกอบสำคัญของการขนถ่ายวัสดุ.  (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://www.thaimht.net/knowledge_detail.php?id=15. 21 กุมภาพันธ์ 2557.

3) ชัยพร วงศ์พิศาล. 2557. ความสำคัญของการขนถ่ายวัสดุ.  (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.pnkreis.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=418828&Ntype=3. 21 กุมภาพันธ์ 2557.

4) บริษัท สายพานไทย จำกัด. 2557. อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ (Material handling). (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://www.thaiconveyorbelt.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=12. 21 กุมภาพันธ์ 2557.