คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

บทที่1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย

สาระสำคัญ

นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ และเป็นมรดก

ทางวัฒนธรรม การศึกษานาฏศิลป์จึงเป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง
ซึ่งนอกจากแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้วนาฏศิลป์ยังเป็นแหล่ง
รวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน การศึกษาความรู้พื้นฐาน
เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย สุนทรียภาพและการแต่งกาย
ของนาฏศิลป์ไทย จึงเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมให้บุคคลผู้นั้นเป็นเยาวชนที่ดี
ในอนาคต สามารถที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์และถ่ายทอดต่อไปได้

สาระการเรียนรู้

ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ เป็นคำสมาส แยกเป็น 2 คำ คือ “นาฏ” กับคำว่า “ศิลปะ”

        “นาฏ” หมายถึง การฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ
นับแต่การฟ้อนรำพื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น รำโทน รำวง ตลอดจนขึ้นไป
ถึงการฟ้อนที่เรียกว่า ระบำของนางรำ ระบำเดี่ยว ระบำคู่ ระบำชุม

        “ศิลปะ” ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สร้างอย่างประณีต ดีงาม
และสำเร็จสมบูรณ์ ศิลปะเกิดขึ้นด้วยทักษะ คือ ความชำนาญในการปฏิบัติ

ความเป็นมาของนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ก็มีวิวัฒนาการมาจาการเอาชนะธรรมชาติเช่นเดียวกับศิลปะอื่น ๆ
ซึ่งก็มีวิวัฒนาการเป็นขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์อย่างใดก็แสดงอารมณ์นั้นออกมา
เช่น ดีใจก็ตบมือ หัวเราะ เสียใจ ก็ร้องไห้

ขั้นที่ 2 เมื่อมนุษย์เจริญขึ้นรู้จักใช้กิริยาแทนคำพูดอย่างที่เรียกว่า
“ภาษาใบ้” เช่น กวักมือเข้า หมายถึง ให้เข้ามาหา โบกมือออก หมายถึง ให้ออกไป

ขั้นที่ 3 ต่อมาพวกนักปราชญ์ได้ดัดแปลงกิริยาเหล่านี้ ประดิษฐ์ท่าทาง
ใช้แทนคำพูดให้สวยงามแสดงความรื่นเริงสนุกสนาน โดยมีกฎเกณฑ์ส่วน
สัดงดงามตรึงตาตรึงใจเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นตามยุคตามสมัย
และความนิยม

ดังนั้นคำว่า “นาฏศิลป์” นอกจากจะหมายถึง การฟ้อนรำหรือระบำแล้ว
ยังต้องถือเอาความหมายของการร้องและการบรรเลงเข้าร่วมด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่า

 

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

                         “นาฏศิลป์” หมายถึง ศิลปะการละครและฟ้อนรำ

นาฏศิลป์ประจำชาติไทย ได้แก่ โขน ละคร และระบำ ทั้ง 3 ประเภท
นี้เป็นของที่มีมาแต่โบราณรักษาแบบแผนถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี
และได้ปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้นตามลำดับ แม้ว่าแต่เดิมเราจะได้มาจากชาติ
อื่นก็ตามแต่ก็ได้รับการปรับปรุงจนเป็นรูปลักษณะของไทย และเข้ากับรสนิยมของ
คนไทยก็ถือว่าเป็นของไทย

ประโยชน์ในการศึกษาวิชานาฏศิลป์

ประโยชน์โดยทางตรง

ใช้เป็นวิชาชีพ ผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์ อย่างจัดเจน ชำนิชำนาญ สามารถยึด
เป็นอาชีพได้ เพราะในกิจกรรมต่าง ๆ วิชานาฏศิลป์เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่เสมอ

เป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิชานาฏศิลป์นั้น
ในขณะฝึกหัดนัยว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างดีเยี่ยม ได้บริหารร่างกายทั่วทุกส่วน

ประโยชน์ทางอ้อม

         ได้ชื่อว่าเป็นชาวไทยที่สมบูรณ์ รู้จักวัฒนธรรมของชาติตน การเรียนรู้วิชานาฏ
ศิลป์ในปัจจุบัน ชาวต่างประเทศให้ความสนใจมาก ได้เข้ามาสนใจศึกษาค้นคว้า
แต่พวกเราชาวไทยถ้าหากไม่สนใจแล้ว วัฒนธรรมในแขนงนี้ก็จะตกไปอยู่ในมือ
ต่างชาติ ต่อไปเมื่อเราต้องการศึกษาก็คงจะต้องอาศัยข้อมูลจากพวกเขา แล้วอย่างนี้
จะได้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมไทยได้อย่างไร พวกเราชาวไทยควรศึกษาศิลปวัฒนธรรมของ
เราเองไว้ให้ดี จะได้ชื่อว่าเป็นชาวไทยที่แท้จริง

มีจิตใจอ่านโยน นาฏศิลป์ช่วยให้ผู้เรียนมีจิตใจอ่อนโยน มีสติ และมีสมาธิที่ มั่นคง
ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสามารถในขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ
ได้ผลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นช่วยผ่อนคลายและความเครียดของจิตใจ
ดังจะเห็นได้ว่า ศิลปินในแขนงนี้มีอายุยืนยาว มีสุขภาพดีเป็นส่วนมาก

ช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้งดงามยิ่งขึ้น ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์จะมีลักษณะพิเศษเห็นได้
เด่นชัด อาทิ ขณะเวลานั่ง หรือ ยืน จะสง่างาม เพราะได้รับการฝึกฝนวิธีการนั่งยืนมาเป็น
อย่างดี ในขณะเดียวกันเป็นผู้ที่รู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตื่นตระหนก และกล้าที่จะแสดงออก
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผลจากประสบการณ์ในการแสดงทั้งสิ้น

ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนน้อย นาฏศิลป์ มีคุณประโยชน์ต่อผู้เรียนอเนกอนันต์
ประการไม่สามารถนำมาบรรยายได้หมด บางอย่างเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด บางอย่างเป็นสิ่งที่
ซ่อนอยู่ ผู้ที่ศึกษาเท่านั้นจึงจะเห็นประโยชน์ พวกเราเยาวชนไทยผู้ซึ่งในอนาคตจะเป็นผู้
ที่มีส่วนในการพัฒนาและบริหารประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ควรจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและศึกษา ศิลปวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ดนตรีให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

 สุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์

สุนทรียภาพ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.2525 หมายถึง ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ ที่แต่ละบุคคลสามารถเข้าใจ
และรู้สึกได้ หรือความเข้าใจและรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรือ
งานศิลปะซึ่งในที่นี้หมายถึง ความงามในงานศิลปะทางด้านการแสดงนาฏศิลป์

ในการศึกษาทางด้านสุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์นั้น เป็นไปตามหลักการ

ทางสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับความรู้สึกในการรับรู้ความงาม ได้แก่
หลักเกณฑ์ด้านความงาม ลักษณะต่าง ๆ ของความงาม คุณค่าต่าง ๆ ของความงามและ
รสนิยม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาความเป็นอยู่ พฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์ ในด้าน
ความรู้สึก การตอบสนองต่อสิ่งสวยงามและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมวลชน โดยมีความ
สัมพันธ์กับประสบการณ์โดยตรงที่สร้างความพอใจและมีผลต่อความรู้สึกเฉพาะตน
ตลอดจนมีการสอบสวน และเปิดเผยหลักเกณฑ์ความงามให้เห็นเด่นชัด ได้ด้วย

ดังนั้น การศึกษาด้านสุนทรียภาพของงานนาฏศิลป์จึงหมายถึง การศึกษาและ
พิจารณาในเรื่องการแสดงท่าทาง อากัปกิริยา การร่ายรำของศิลปะแห่งการละคร
และการฟ้อนรำ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับดนตรีที่เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้การแสดง
นาฏศิลป์มีความสมบูรณ์จึงต้องนำความงามทางด้านดนตรีในการแสดงนาฏศิลป์
มาพิจารณาร่วมกันด้วยทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาและประเมินค่าความงามของการ
แสดงนาฏศิลป์มีความถูกต้อง และครอบคลุมตามหลักการนาฏศิลป์ ตลอดจนเป็น
ไปตามหลักการทางสุนทรียศาสตร์ด้วย

        นาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วย ระบำ รำ ฟ้อน โขน และละคร ซึ่งเป็นงานศิลปะ
ที่มีคุณค่า และมีรูปแบบของความงามหรือสุนทรียะ 3 ด้าน สุนทรียะทางวรรณกรรม
สุนทรียะทางดนตรี และการขับร้อง และสุนทรียะทางท่ารำ ดังนี้

1. สุนทรียะทางวรรณกรรม หมายถึง ความงามทางตัวอักษร โดยเฉพาะคำ
ประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ที่มีความงามทางตัวอักษรของกวีหรือผู้ประพันธ์ที่มี
ศิลปะในการใช้ถ้อยคำซึ่งก่อให้เกิดการโน้มน้าว ความรู้สึกในแง่ของคติสอนใจ
ที่มีคุณประโยชน์ในการเสริมสร้างปัญญา โดยความงามของวรรณคดีประเภท
ร้อยกรองนั้นประกอบด้วย ความงามของเนื้อหาสาระและศิลปะการใช้ถ้อยคำ
การเล่นคำ เล่นอักษร เล่นสระ และเล่นเสียง ให้มีรสสัมผัสนอกและสัมผัสใน
เพื่อช่วยในการเสริมคุณค่าทางสุนทรียะของนาฏศิลป์ไทยิ่งขึ้น ดังพิจารณา
ได้จากบทร้อยกรองในวรรณคดีไทยเหล่านี้

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่
     
คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

ตัวอย่างวรรณคดี จากเรื่องอิเหนา ตอนลานางจินตรหรา ที่ให้สุนทรียะใน
ด้านความรู้สึกและแง่คิดในด้านความรัก

โอ้ว่าอนิจจาความรัก                                       พึ่งประจักษ์ดังสายน้ำไหล

ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป                                               ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา

สตรีใดในพิภพจบแดน                                                      ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า

ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา                                                     จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์

โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก                                                         เพราะเชื่อสิ้นหลงรักจึงช้ำจิต

จะออกชื่อลือชั่วไปทั่วทิศ                                                  เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร

ตัวอย่างวรรณคดี จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ให้สุนทรียะในด้านความรู้สึก
และอารมณ์ที่เป็นภาพพจน์

ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก                                         ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล

สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย                                                      แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา

เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น                                          แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา

แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญา                                   โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง

2. สุนทรียะทางดนรีและการขับร้อง ความงามที่ได้จากดนตรีและการขับร้อง
นั้นต้องอาศัยทั้งผู้บรรเลง ผู้ร้อง และผู้ฟัง เนื่องจากในเพลงไทยมักจะมีทั้งการ
บรรเลงดนตรีและการขับร้องไว้ด้วยกัน ตลอดจนมีผู้ฟังเพลงที่มาช่วยกันสร้าง
สุนทรียะทางดนตรีและการขับร้องร่วมกัน โดยแต่ละฝ่ายต้องอาศัยหลักการดังต่อไปนี้

2.1 สุนทรียะจากผู้บรรเลงดนตรี ผู้บรรเลงจะต้องมีความรู้ความชำนาญในการ
ร้องและการส่งให้คำร้องมีความแตกฉานที่จะช่วยให้การแสดงมีความสมจริงยิ่งขึ้น
สามารถรักษาลีลาจังหวะได้ตรงตามสถานการณ์และอารมณ์ ตลอดจนมีกลเม็ดใ
นการบรรเลงที่ไม่ซ้ำซาก จนทำให้คนเบื่อหน่าย ซึ่งควรมีการเปลี่ยนทำนองให้
แปลกแหวแนวออกไปบ้าง อย่างไรก็ตามการบรรเลงที่ใช้เครื่องดนตรีชนิดเดียว
จะให้รสสัมผัสและสุนทรียะได้ดีกว่า และง่ายกว่าการบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรี
หลาย ๆ ชนิด แต่ทั้งนี้ผู้บรรเลงจะต้องมีความชำนาญด้วย ดังเห็นได้จากผู้บรรเลง
ระนาดเดี่ยว หรือจะเข้เดี่ยว เป็นต้น

2.2 สุนทรียะจากผู้ร้อง ผู้ขับร้องเพลงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการร้องเพลง
โดยฝึกใช้ระดับเสียงที่เหมาะสมกับเสียงของตน มีวิธีการ้องที่ถูกต้องตามทำนอง
และจังหวะของเพลง ร้องได้ชัดเจนถูกอักขระ ร้องตรงกับระดับเสียงของดนตรี
ฝึกหายใจให้ถูกต้อง จะทำให้เสียงไม่ขาดห้วน ในด้านการศึกษาเนื้อเพลงควรมี
การแบ่งวรรคตอนให้พอดีกับความหมายตามอักขรวิธี และตีความเพื่อใส่อารมณ์
และความรู้สึกลงในบทเพลง เมื่อถึงเวลาแสดง ผู้ร้องจะต้องมีความมั่นใจในการ
แสดงออกรู้จักใช้เสียงและอารมณ์ตามบทบาทของตัวละครรวมทั้งสังเกตอารมณ์ผู้ฟังด้วย

2.3 สุนทรียะจากผู้ฟัง โดยผู้ฟังจะต้องมีความพร้อมในการฟังด้วยการมีศรัทธา
มีสมาธิในการฟัง และมีความรู้พื้นฐานในการฟังบ้าง นอกจากนี้ควรมีการศึกษา
เนื้อเพลง และทำนองเพลงเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งความสามารถสร้างอารมณ์
ให้คล้อยตามไปกับผู้บรรเลงดนตรีและ ผู้ร้องตลอดจนควรทำใจให้สบายเพลิดเพลิน
และพยายามติดตามถ้อยคำตามบทร้องให้ตลอดทั้งเพลงด้วย

3. สุนทรียะของท่ารำ ความงามของท่ารำอย่างมีสุนทรียะนั้นพิจารณาได้จาก
ความถูกต้องตามแบบแผนของท่ารำ ได้แก่ ท่ารำถูกต้อง จังหวะถูกต้อง สีหน้า
อารมณ์ความรู้สึกที่สอดคล้องไปกับท่ารำ ทำนองเพลงและบทบาทตามเนื้อเรื่อง
ท่ารำสวยงาม มีความแตกฉานด้านท่ารำ มีท่วงทีลีลาเป็นเอกลักษณ์ของตน
ถ่ายทอดท่ารำออกมาได้เหมาะสมตรงตามฐานะและบทบาทที่ได้รับไม่มากหรือ
น้อยเกินไป สิ่งเหล่านี้เป็นการชมและพิจารณาการแสดงที่เป็นชั้นสูง ผู้ชมเองก็จะ
ต้องมีเกณฑ์และประสบการณ์ในการชมนาฏศิลป์ไทยไม่น้อยไปกว่าผู้แสดงเช่นกัน

การแสดงนาฏศิลป์ที่มีสุนทรียภาพทางวรรณกรรม ดนตรี การขับร้อง และท่ารำ
เป็นการผสมผสานความงามของศิลปะเหล่านี้ให้หลอมรวมกันเป็นหนึ่ง ซึ่งต้องมีทั้ง
ความกลมกลืนในด้านความอ่อนช้อย ต่อเนื่องสอดคล้องเข้ากันได้ดี อันเป็นการสะท้อน
ถึงอารมณ์ของเรื่องราวมีความขัดแย้งในด้านของแง่คิด หรือคติสอนในที่มีความสมจริง
ตามเรื่อง หากแต่ผู้ชมแต่ละคนอาจได้รับแง่คิดที่มากน้อยแตกต่างกัน ตามประสบการณ์
ในการรับรู้ของแต่ละคน และมีจุดเน้นของเรื่องราวหรือสาระสำคัญของเรื่องที่นำไปสู่ผู้
ชมการแสดงได้อย่างชัดเจน ก่อให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งทางจิตใจกับงานนาฏ
ศิลป์นั้น ๆ อันจะนำไปสู่งานนาฏศิลป์ที่มีคุณค่าแห่งสุนทรียภาพอย่างแท้จริง

นาฏศิลป์กับบทบาททางสังคม

นาฏศิลป์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สร้างสรรค์สุนทรียะด้านจิตใจและอารมณ์
ให้กับคนในสังคม และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่สามารถสะท้อนภาพ
วิธีชีวิตและกิจกรรมของคนในสังคม ทั้งที่เป็นกิจกรรมส่วนตัวและกิจกรรมส่วนรวม
ดังพิจารณาได้จากบทบาทของนาฏศิลป์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใน
ด้านต่าง ๆ ดังนี้

                1. บทบาทในพิธีกรรมรัฐพิธีและราชพิธี การแสดงนาฏศิลป์ใน
พิธีกรรมต่าง ๆ สามารถแสดงถึงความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติของภูติฝีปีศาจ
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น การฟ้อนรำในพิธีลำผีฟ้า เพื่อรักษาโรค หรือ
สะเดาะเคราะห์ของภาคอีสาน การฟ้อนผีมดผีเม็งในภาคเหนือ ที่จะมีผู้หญิง
มาเข้าทรงและฟ้อนรำร่วมกันเป็นหมู่เพื่อการสะเดาะเคราะห์หรือรักษาโรค
การแสดงแก้บนในลักษณะละครแก้บน หรือลิเกแก้บน เป็นต้น และยังมีการฟ้อน
รำบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบูชาครูบาอาจารย์ต่าง ๆ เช่น การรำไหว้ครูมวยไทย
การรำอายุธบนหลังช้าง การำถวายมือในพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ เป็นต้น

                2. บทบาทในการสร้างสรรค์ มนุษย์มีการพบปะสังสรรค์กันในโอกาสต่าง ๆ
ทั้งในหมู่เครือญาติ เพื่อนฝูง และคนในสังคม หรือท้องถิ่นเดียวกัน เช่น
ในงานวันเกิด งานประเพณี และงานเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น ดังเห็นได้จากงานบุญ
ประเพณีสงกรานต์ หรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ จะมีการแสดงนาฏศิลป์ต่าง ๆ เช่น
การฟ้อนรำ โขน ลิเก เป็นต้น ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้คนในท้องถิ่นทั้งหญิงและชาย
ได้พบปะสังสรรค์และสนุกสนานกับการแสดงต่าง ๆ ร่วมกัน

3. การสื่อสาร นาฏศิลป์เป็นกระบวนการหนึ่งทางการสื่อสารที่ทำให้มนุษย์
สามารถเข้าใจกันได้โดยใช้ภาษาท่าทาง หรือท่ารำที่มีความหมายจากการเคลื่อน
ไหวร่างกายประกอบการพูดหรือการเล่าเรื่องต่าง ๆ หรือภาษาท่าทางในละครใบ้
ที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจได้โดยการแสดงออทางสีหน้า อารมณ์และ
ดนตรีประกอบที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้เข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งท่าทางหรือท่ารำต่าง ๆ นี้
อาจกำหนดขึ้นจากการเลียนแบบลักษณะธรรมชาติ เช่น กิริยาท่าทางของมนุษย์
หรือสัตว์และท่าทางที่มนุษย์กำหนดขึ้นจากข้อมูลทางวัฒนธรรม เช่น เทวรูป
ภาพจำหลัก เป็นต้น

4. บทบาทในทางการศึกษา นาฏศิลป์เป็นการศึกษาทางด้านศิลปะ
แขนงหนึ่งที่พัฒนา ควบคู่มากับความเจริญของมนุษย์ โดยเฉพาะความเจริญ
ทางด้านศิลปะวัฒนธรรมที่มีการสร้างสรรค์ และทำนุบำรุงศิลปะให้รุ่งเรือง
ด้วยการสร้างสถาบันการศึกษาด้านนาฏศิลป์ เช่น วิทยาลัยนาฏศิลป์ของกรม
ศิลปากร ที่เน้นการเรียนการสอนด้านนาฏศิลป์ให้กับนักเรียนนักศึกษาของไทย
และโรงเรียนสอนการแสดงหรือการรำนาศิลป์ขององค์กรเอกชนต่าง ๆ ที่จัด
การเรียนขึ้นเป็นระยะสั้น ๆ ให้กับเยาวชนไทยหรือผู้สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการ
เสริมสร้างบุคลิกภาพ ความกล้าแสดงออก และคุณภาพชีวิตของผู้ศึกษา
รวมทั้งยังเป็นการสร้างนาฏยศิลปินให้มีความเชี่ยวชาญ และสามารถใช้นาฏ
ศิลป์เป็นอาชีพเลี้ยงตนเองได้

5. บทบาทในการอนุรักษ์ และเผยแพร่เอกลักษณ์ของชาติ นาฏศิลป์เป็นการ
แสดงเอกลักษณ์ ประจำชาติอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องหมายแสดงถึงศิลปวัฒนธรรม
ที่มีลักษณะเฉพาะโดดเด่น หรือแตกต่างจากชนชาติอื่น ๆ โดยเฉพาะนาฏศิลป์
ไทยที่มีเอกลักษณ์ด้านท่ารำ เครื่องแต่งกาย และดนตรีไทยประกอบการแสดง
ซึ่งยังมีความหลากหลายในแต่ละท้องถิ่นของประเทศ ได้แก่ ใน ภาคกลาง
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ก็มีการแสดงนาฏศิลป์ที่แตกต่าง
กันออกไป โดยแต่ละท้องถิ่นใดมีการเผยแพร่งานนาฏศิลป์ของท้องถิ่นออกไป
ให้กว้างไกล ทั้งในท้องถิ่นใกล้เคียงและในต่างประเทศที่อยู่ห่างไกล เพื่อส่ง
เสริมการท่องเที่ยว และการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เช่น ในงานเทศ
กาลศิลปวัฒนธรรมและมหกรรมนานาชาติ ตลอดจนให้การสนับสนุนการสร้างสรรค์
ผลงานนาฏศิลป์ให้เพิ่มพูนและสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งนับเป็นภารกิจของ
คนในท้องถิ่นหรือประเทศชาตินั้น ๆ ที่ต้องมาร่วมมือกัน โดยเริ่มจากความรัก
ความชื่นชม และภาคภูมิใจในงานนาฏศิลป์ไทย ของเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกา
ที่มาจัดแสดงนาฏศิลป์ที่โรงละครแห่งชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความชื่นชมในงาน
นาฏศิลป์ของชาติตน ที่แม้จะอยู่ถึงต่างประเทศก็ยังห้าการทำนุบำรุงรักษา
และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของบรรพบุรุษให้คงอยู่ และเป็นที่แพร่หลายต่อไป

6. บทบาทในการส่งเสริมพลานามัย นาฏศิลป์เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย
ให้สวยงาม และมีความหมาย ต้องใช้การฝึกหัดและฝึกซ้อมให้จดจำท่าทางต่าง ๆ
ได้ จึงเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่มีการใช้กำลังยกแขน ขา มือ หรือเคลื่อน
ไหวศีรษะและใบหน้า เพื่อให้เกิดท่าทางและความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน เช่น
การรำกระบี่กระบอง เซิ้ง การรำดาบสองมือ การรำพลอง การำง้าว ก็เป็นการผสม
ผสานท่าทางนาฏศิลป์กับศิลปะการกีฬาแบบไทย ๆ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมี
การเต้นแอโรบิก หรือการเต้นออกกำลังกายประกอบเพลง ซึ่งเป็นการนำนาฏ
ศิลป์มาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย และความแข็งแรงให้กับร่างกาย

การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์เพื่อสืบสานภูมิปัญญาไทย

การแสดงนาฏศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็น ระบำ รำ ฟ้อน โขน และละคร
ล้วนเป็นการแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ หรือภูมิปัญญาของคนไทย
ในด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผ่านการเรียนรู้ฝึกฝนถ่ายทอดกันมายาวนาน
จนเป็นมรดกของชาติที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน

จากการศึกษาความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย พบว่า ที่เริ่มต้นมาจากการ

เลียนแบบธรรมชาติ เช่น ท่าทางของมนุษย์และสัตว์ในอิริยาบถต่าง ๆ แล้วนำมา
เป็นแบบอย่างในการแสดงท่ารำ หรือ ท่าทางประกอบการแสดง ตลอดจนการ
แสดงอารมณ์ และความรู้สึกผ่านทางแววตา และใบหน้าในการแสดงที่เป็น
ธรรมชาติ และสามารถสื่อความหมายให้เข้าใจร่วมกันได้ ต่อมา ได้มีการ
ประดิษฐ์ท่าทางการแสดงและการร่ายรำให้อ่อนช้อยงดงาม และมีความซับซ้อนมากขึ้น
ตลอดจนการสร้างสรรค์องค์ประกอบทางนาฏศิลป์ ทั้งทางด้านบทละคร ฉาก
การแต่งกาย การแต่งหน้า อุปกรณ์การแสดง ดนตรีประกอบ และศิลปะการแสดง
ให้สอดคล้องกลมกลืน และมีความสัมพันธ์กันเป็นความงามหรือเกิดสุนทรียะ
ทางนาฏศิลป์ที่สมบูรณ์

ประเภทของนาฏยศัพท์

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่2. กิริยาศัพท์หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็ง
  • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
  • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ
3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ดหมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ – พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์ลักษณะต่างๆ ของนาฏยศัพท์  แบ่งตามการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ ๑. ส่วนศีรษะ   เอียง  คือ การเอียงศีรษะ ต้องกลมกลืนกับไหล่และลำตัวให้เป็นเส้นโค้ง ถ้าเอียงซ้ายให้หน้าเบือนทางขวาเล็กน้อย ถ้าเอียงขวาให้หน้าเบือนทางซ้ายเล็กน้อย   ลักคอ  คือ การเอียงคนละข้างกับไหล่ที่กดลง ถ้าเอียงซ้ายให้กดไหล่ขวา ถ้าเอียงขวาให้กดไหล่ซ้าย  เปิดคาง  คือ ไม่ก้มหน้า เปิดปลายคางและทอดสายตาตรงสูงเท่าระดับตาตนเอง  กดคาง  คือ ไม่เชิดหน้าหรือเงยหน้ามากเกินไป๒. ส่วนแขน      วง คือ การเหยียดมือให้ตึงทั้งห้านิ้ว แต่นิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย การตั้งวงที่สวยงาม ต้องหักข้อมือเข้าหาลำแขนบนให้มาก ทอดลำแขนให้ส่วนโค้งพองามและงอศอกเล็กน้อยวงบน คือ ยกแขนไปข้างลำตัว ทอดศอกโค้ง มือแบ ตั้งปลายนิ้วขึ้นวงพระปลายนิ้วอยู่ระดับศีรษะ ส่วนวงนางปลายนิ้วจะอยู่ระดับหางคิ้วและวงแคบกว่า

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

 วงกลาง คือ การยกส่วนโค้งของลำแขนให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

วงหน้า คือ ส่วนโค้งของลำแขนที่ทอดโค้งอยู่ข้างหน้า วงพระผายกว้างกว่านางปลายนิ้วอยู่ระดับแก้ม วงนางปลายนิ้วอยู่ระดับปาก

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

 วงพิเศษ คือ อยู่ระหว่างวงบนและวงกลาง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

วงบัวบาน คือ ยกแขนขึ้นข้างลำตัว ให้ศอกสูงระดับไหล่ หักศอกให้แขนท่อนล่างพับเข้าหาตัว ตั้งฉากกับแขนท่อนบน มือแบหงายปลายนิ้วชี้ไปข้างๆ ตัววงนางจะแคบกว่าวงพระ

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

วงล่าง คือ การตั้งวงระดับต่ำที่สุด โดยทอดส่วนโค้งของลำแขนลงข้างล่างอยู่ระดับเอว โดยตั้งมือตรงหัวเข็มขัด ตัวพระกันศอกให้ห่างตัว

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

๓. ส่วนมือ มือแบ  คือ นิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย ติดกัน ตึงนิ้ว หัวแม่มือ กาง หลบไปทางฝ่ามือ หักข้อมือไปทางหลังมือ         แต่มีบางท่าที่ หักข้อมือไปทางฝ่ามือ เช่น ท่าป้องหน้า มือจีบ  คือ การกรีดนิ้ว โดยเอานิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจรดกัน ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ ให้ตึงนิ้ว นิ้วกลาง นาง ก้อย กรีดห่างกัน หักข้อมือไปทางฝ่ามือ จีบแบ่งเป็น ๕ ลักษณะ จีบหงาย  คือ การหงายฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น ถ้าอยู่ระดับหน้าท้องเรียกว่า จีบหงายชายพก

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

 จีบคว่ำ  คือ การคว่ำฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ลง หักข้อมือเข้าหาลำแขน

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

 จีบส่งหลัง  คือ การส่งแขนไปข้างหลัง ตึงแขน พลิกข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น แขนตึงและส่งแขนให้สูงไปด้านหลัง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

 จีบปรกหน้า  คือ การจีบที่คล้ายกับจีบหงาย แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้าทั้งแขนและมือชูอยู่ด้านหน้า ตั้งลำแขนขึ้น ทำมุมที่ข้อพับตรงศอก หันจีบเข้าหาหน้าผาก

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

 จีบปรกข้าง  คือ การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะ ลำแขนอยู่ข้าง ๆ ระดับเดียวกับวงบน
คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่
จีบล่อแก้ว คือ ลักษณะกิริยาท่าทางคล้ายจีบ ใช้นิ้วกลางกดข้อที่ ๑ ของนิ้วหัวแม่มือ

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

หักปลายนิ้วหัวแม่มือคล้ายวงแหวน นิ้วที่เหลือเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน๔. ส่วนลำตัว ทรงตัว  คือ การยืนให้นิ่ง เป็นการใช้ลำตัวตั้งแต่ศีรษะ ตลอดถึงปลายเท้าในท่าที่สวยงามไม่เอนไปทางใดทางหนึ่งขณะที่ยืนเผ่นตัว  คือ กิริยาอาการทรงตัวชนิดหนึ่ง มาจากท่าก้าวเท้า แล้วส่งตัวขึ้น โดยการยกเข่าตึงเท้าหนึ่งยืนรับน้ำหนักอีกเท้าหนึ่งอยู่ข้างๆดึงไหล่  คือ การรำหลังตึง หรือดันหลังขึ้น ไม่ปล่อยให้ไหล่ค่อมกดไหล่  คือ กิริยากดไหล่โน้มตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำพร้อมกับการเอียงศีรษะ กดลงเฉพาะไหล่ ไม่ให้สะโพกเอียงไปด้วยตีไหล่  คือ การกดไหล่ แล้วบิดไหล่ข้างที่กดไปข้างหลังกล่อมไหล่  คือ กดไหล่ แล้วบิดไหล่ข้างที่กดมาข้างหน้ายักตัว  คือ กิริยาของลำตัวส่วนเกลียวหน้า ยักขึ้นลง ไหล่จะขึ้นลงตามไปด้วย แต่สะโพกอยู่คงที่และลักคอด้วยดึงเอว  คือ กิริยาของเอวด้านหลังตั้งขึ้นตรง ไม่หย่อนตัว ๕. ส่วนเข่าและขา เหลี่ยม   คือ ลักษณะของเข่าที่แบะห่างกัน เมื่อก้าวเท้า พระต้องกันเข่าให้เหลี่ยมกว้าง ส่วนนางก้าวข้างต้องหลบเข่า ไม่ให้มีเหลี่ยมจรดเท้า  คือ อาการของเท้าข้างใดข้างหนึ่งที่วางอยู่ข้างหน้า น้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหลังเท้าหน้าจะใช้เพียงปลายจมูกเท้า แตะเบาๆไว้กับพื้น (จมูกเท้า คือ บริเวณเนื้อโคนนิ้วเท้า)แตะเท้า  คือ การใช้ส่วนของจมูกเท้าแตะพื้น แล้ววิ่งหรือก้าว ขณะที่ก้าว ส่วนอื่นๆ ของเท้าถึงพื้นด้วยซอยเท้า  คือ กิริยาที่ใช้จมูกเท้าวางกับพื้น ยกส้นเท้าน้อยๆ ทั้ง ๒ ข้าง แล้วย่ำซ้ายขวาถี่ๆจะอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ก็ได้ขยั่นเท้า  คือ เหมือนซอยเท้า ต่างกันที่ขยั่นเท้าต้องไขว้เท้า แล้วทำกิริยาเหมือนซอยเท้าถ้าขยั่นเคลื่อนที่ไปทางขวาก็ให้เท้าซ้ายอยู่หน้า ถ้าขยั่นเคลื่อนที่ไปทางซ้ายก็ให้เท้าขวาอยู่หน้าฉายเท้า  คือ กิริยาที่ก้าวหน้า แล้วต้องการลากเท้าที่ก้าวมาพักไว้ข้างๆ ให้ใช้จมูกเท้าจรดพื้นไว้เผยอส้นนิดหน่อย แล้วลากมาพักไว้ในลักษณะเหลื่อมเท้า โดยหันปลายเท้าที่ฉายมาให้อยู่ด้านข้างประเท้า  คือ อาการที่สืบเนื่องจากการจรดเท้า โดยยกจมูกเท้าขึ้น ใช้สันเท้าวางกับพื้นย่อเข่าลงพร้อมทั้งแตะจมูกเท้าลงกับพื้น แล้วยกเท้าขึ้น ตบเท้า  คือ กิริยาของการใช้เท้าคล้ายกับประเท้า แต่ไม่ต้องยกเท้าขึ้น ห่มเข่าตามจังหวะที่ตบเท้าอยู่ตลอดเวลายกเท้า  คือ การยกเท้าขึ้นไว้ข้างหน้า เชิดปลายเท้าให้ตึง หักข้อเท้าเข้าหาลำขา ตัวพระกันเข่าออกไปข้างๆส่วนสูงระดับเข่าข้างที่ยืน ตัวนางไม่ต้องกันเข่า ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเข่าข้างที่ยืน ชักส้นเท้าและเชิดปลายนิ้วก้าวเท้า   ก้าวหน้า คือ การวางฝ่าเท้าลงบนพื้นข้างหน้า โดยวางส้นเท้าลงก่อน ตัวพระจะก้าวเฉียงไปข้างๆตัวเล็กน้อยเฉียงปลายเท้าไปทางนิ้วก้อย กันเข่าแบะให้ได้เหลี่ยม ส่วนตัวนางวางเท้าลงข้างหน้า ไม่ต้องกันเข่าปลายเท้าเฉียงไปทางนิ้วก้อยเล็กน้อย  ก้าวข้าง  คือ การวางเท้าไปข้างๆตัว ปลายเท้าเฉียงไปทางนิ้วก้อยมาก ตัวนางต้องหลบเข่าตามไปด้วยกระทุ้ง  วางเท้าไว้ข้างหลังด้วยจมูกเท้า แล้วใช้จมูกเท้ากระทุ้งลงกับพื้น แล้วกระดกขึ้น หรือยกไปข้างหน้ากระเทาะ  คือ อาการของการใช้เท้าคล้ายกระทุ้ง แต่ไม่ต้องกระดกเท้า ใช้จมูกเท้ากระทุ้งเป็นจังหวะหลายๆ ครั้งกระดก       กระดกหลัง  กระทุ้งเท้าแล้วถีบเข่าไปข้างหลังมากๆ ให้เข่าทั้งสองข้างแยกห่างจากกัน ให้ส้นเท้าชิดก้นมากที่สุด หักปลายเท้าลง ย่อเข่าที่ยืน ตัวพระต้องกันเข่าด้วย    

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

      กระดกเสี้ยว  คล้ายกระดกหลัง แต่เบี่ยงขามาข้างๆและไม่ต้องกระทุ้งเท้า มักทำเนื่องต่อจากการก้าวข้าง หรือท่านั่งกระดกเท้า 

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

4.กำเนิดของนาฏศิลป์พื้นบ้านแต่ดั้งเดิมมักจะเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมอื่น เช่นปรากฏในพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ ประเพณีบางอย่าง มิได้มีจุดประสงค์มุ่งความบันเทิงเป็นสำคัญมาแต่แรก เช่น การฟ้อนผีมด มาจากพิธีกรรมบูชาผีปู่ย่า หรือผีบรรพบุรุษ เป็นต้น การศึกษานาฏศิลป์พื้นบ้าน จึงต้องรู้ถึงประวัติความเป็นมา หรือจุดมุ่งหมายแต่เดิม ตลอดจนพัฒนาการที่แปรเปลี่ยนมาสู่รูปแบบในยุคปัจจุบันด้วย

     

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่
  

การแสดงนาฏศิลป์ไทย4ภาค

การแสดงนาฏศิลป์ไทยภาคใต้

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

โนรา   เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้  มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า   มโนห์รา

ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลายตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และจังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน   จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน

จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น  ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ    เช่น   ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี   ท่ามัจฉา   ท่ากวางเดินดง    ท่านกแขกเต้าเข้ารัง  ท่าหงส์บิน  ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ  ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด  ท่ากระต่ายชมจันทร์  ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มี  ท่าพระลักษมณ์แผลงศร  พระรามน้าวศิลป์  และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร   ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ  ของโนรา    ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย

ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย  เพราะการทรงตัว  การทอดแขน  ตั้งวงหรือลีลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน  ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว  ดังนี้

ช่วงลำตัว     จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ     หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า     ไม่ว่าจะรำท่าไหน  หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้เสมอ

ช่วงวงหน้า   วงหน้า  หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ

ช่วงหลัง      ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย

การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  การรำโนรานั้น  ลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจาก   ย่อลำตัวแล้วเข่าจะต้องย่อลงด้วย

วิธีการแสดง  การแสดงโนรา   เริ่มต้นจากการลงโรง   (โหมโรง)กาดโรงหรือกาดครู  (เชิญครู)  “พิธีกาดครู”  ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก  ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู  เชิญครูมาคุ้มกันรักษา  หลายตอนมีการรำพัน  สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา  เป็นต้น

ลิเกป่า

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เป็นการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้  เดิมเรียกว่า  ลิเก  หรือ ยี่เก  เมื่อลิเกของภาคกลางได้รับการเผยแพร่สู่ภาคใต้จึงเติมคำว่า  ป่า  เพื่อแยกให้ชัดเจน  เมื่อประมาณ  ๓๐  ปีที่ผ่านมาลิเกป่าได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง  แถบพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะจังหวัดกระบี่  ตรัง พังงา  ส่วนทางฝั่งทะเลตะวันออก     ที่เป็นแหล่งความเจริญก็มีลิเกป่าอยู่แพร่หลาย  เช่น อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อำเภอสะทิงพระ  จังหวัดสงขลา  และอำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  ปัจจุบันได้เสื่อมความนิยมลงจนถึงขนาดหาชมได้ยาก

ลิเกป่า  มีชื่อเรียกต่างออกไป  คือ

–  แขกแดง  เรียกตามขนบการแสดงตอนหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของลิเก คือ  การออกแขก“แขกแดง”  ตามความเข้าใจของชาวภาคใต้หมายถึงแขกอินเดีย  หรือแขกอาหรับ  บางคนเรียกแขกแดงว่า “เทศ”  และ    เรียกการออกแขกแดงว่า  “ออกเทศ”

–  ลิเกรำมะนา  เรียกตามชื่อดนตรีหลักที่ใช้ประกอบการแสดงคือ  รำมะนา  ซึ่งชื่อนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากแสดงชนิดหนึ่งของมาลายูที่ใช้กลอง  “ราบานา”  เป็นหลักอีกต่อหนึ่งก็ได้

–  ลิเกบก  อาจเรียกชื่อตามกลุ่มชนผู้เริ่มวัฒนธรรมด้านนี้ขึ้น  โดยชนกลุ่มนี้อาจมีสภาพวัฒนธรรมที่ล้าหลังอยู่ก่อน  เพราะ “บก”  หมายถึง  “ล้าหลัง”  ได้ด้วยลิเกบก  จึงหมายถึงของคนที่ด้อยทางวัฒนธรรม  ชื่อนี้ใช้เรียกแถบจังหวัดสงขลา

มะโย่ง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เป็นศิลปะการแสดงละครอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม   กล่าวกันว่า มะโย่งเริ่มแสดงในราชสำนักเมืองปัตตานี  เมื่อประมาณ  ๔๐๐  ปีมาแล้ว  จากนั้นได้แพร่หลายไปทางรัฐกลันตัน

วิธีการแสดง    การแสดงมะโย่งเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยหัวหน้าคณะมะโย่งทำพิธีไหว้ครู  คือไหว้บรรพบุรุษผู้ฝึกสอนวิธีการแสดงมะโย่ง    เครื่องบูชาครูก็มีกำนัลด้วยเงิน ๑๒ บาท เทียน ๖ แท่ง

การไหว้ครูนั้นถ้าเล่นธรรมดา   อาจไม่ต้องมีการไหว้ครูก็ได้     แต่ถ้าเล่นในงานพิธี  หรือเล่นในงานทำบุญต่ออายุผู้ป่วยก็ต้องมีพิธีไหว้ครู   จะตัดออกไม่ได้

โอกาสที่แสดง  ตามปกติมะโย่งแสดงได้ทุกฤดูกาล   ยกเว้นในเดือนที่ถือศีลอด  (ปอซอ)  ของชาวไทยมุสลิม   การแสดงมักแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น  งานฮารีรายอ

รองเง็ง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ  เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่งเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ ๑๐ – ๑๕ นาที  ระหว่างที่พักนั้นสลับฉากด้วยรองเง็ง  เมื่อดนตรีขึ้นเพลงรองเง็ง  ฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่กันเอง   เพื่อให้เกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้น   มีการเชิญผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย   ภายหลังมีการจัดตั้งคณะรองเง็งแยกต่างหากจากมะโย่ง  ผู้ที่ริเริ่มฝึกรองเง็ง  คือ ขุนจารุวิเศษศึกษากร ถือว่าเป็นบรมครูทางรองเง็ง  เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง  แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง  ๗  เพลงเท่านั้น

วิธีการแสดง          การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ   ลำตัว  และลีลาการร่ายรำ   ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง  และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน

การแต่งกาย   ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง   สวมหมวกไม่มีปีก    หรือใช้หมวกแขกสีดำ  นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน   สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า  ซอแกะ

เครื่องดนตรี และเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง  มีเพียง  ๓  อย่าง คือ

๑.    รำมะนา

๒.  ฆ้อง

๓.   ไวโอลิน

โอกาสที่แสดง    เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธีต่างๆ   ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง  เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ  ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ  เช่น  งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ

ภาคเหนือ
จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ นอกจากมีของที่เป็น “คนเมือง” แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า – ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)เป็นต้น
ฟ้อนสาวไหม

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก  ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน   ในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ได้ขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง

ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมนำมาแสดง จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมา คณะครูนาฎศิลป์จึงได้เลือกสรรโดยใช้เพลง “ซอปั่นฝ้าย” ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับท่ารำ การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้

ฟ้อนผาง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เป็นศิลปะการฟ้อนที่มีมาแต่โบราณ เป็นการฟ้อนเพื่อบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ลีลาการฟ้อนดำเนินไปตามจังหวะของการตีกลองสะบัดชัย มือทั้งสองจะถือประทีปหรือผางผะตี้บ แต่เดิมใช้ผู้ชายแสดง ต่อมานายเจริญ จันทร์เพื่อน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ดำริให้คณะครูอาจารย์หมวดวิชานาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำให้เหมาะสมกับผู้หญิงแสดง โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายมานพ ยาระณะ ศิลปินพื้นบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดท่าฟ้อนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่ารำโดยมีนายปรีชา งามระเบียบอาจารย์ 2 ระดับ 7รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่(ฝ่ายกิจกรรม) เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ท่ารำ

การแต่งกายและทำนองเพลง

ลักษณะการแต่งกายแต่งแบบชาวไทยลื้อ สวมเสื้อป้ายทับข้าง เรียกว่า “เสื้อปั๊ด” หรือ “เสื้อปั๊ดข้าง”ขลิบริมด้วยผ้าหลากสีเป็นริ้ว นุ่งผ้าซิ่นเป็นริ้วลายขวาง ประดับด้วยแผ่นเงิน รัดเข็มขัดเงินเส้นใหญ่ ติดพู่แผงเงิน ใส่ต่างหูเงินและสวมกำไลข้อมือเงิน

สำหรับทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุดฟ้อนผางให้ชื่อว่า “เพลงฟ้อนผาง” แต่งโดยนายรักเกียรติ ปัญญายศ อาจารย์ 3 ระดับ 8 หมวดวิชาเครื่องสายไทย

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ฟ้อนแพน

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

ฟ้อนแฟนหรือลาวแพนซึ่งเป็นชื่อเพลงดนตรีไทยในจำพวกเพลงเดี่ยว ซึ่งนักดนตรีใช้เป็นเพลงสำหรับเดี่ยวอวดฝีมือในทางดุริยางคศิลป์เช่นเดียวกับเพลงเดี่ยวอื่นๆ แต่เดี่ยวลาวแพนนี้มีเครื่องดนตรีเหมาะสมแก่ทำนองจริง ๆ อยู่เพียง 2 อย่างคือจะเข้และปี่ในเท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีอื่นก็ทำได้น่าฟังเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีเสน่ห์เท่าจะเข้และปี่ใน เพลงนี้บางทีเรียกกันว่า “ลาวแคน”

การประดิษฐ์ท่ารำที่พบหลักฐานนำมาใช้ในละคร เรื่อง พระลอ พระราชนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำกาหลง ท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยเค้าท่าฟ้อนของภาคเหนือและภาคอีสานเป็นแบบอย่าง และดัดแปลงให้เหมาะสมกลมกลืนกับทำนองเพลง การฟ้อนลาวแพนในละครเรื่องพระลอเป็นการฟ้อนเดี่ยว ต่อมาจึงมีผู้นำเอาไปใช้ในการฟ้อนหมู่ โดยเอาท่าฟ้อนเดี่ยวมาดัดแปลงเพิ่มเติมแก้ไขให้เหมาะสมกับการรำหลาย ๆ คน ปัจจุบันการฟ้อนลาวแพนมีทั้งการแสดงที่เป็นหญิงล้วนและชายหญิง บางโอกาสยังเพิ่มเติมแต่งบทร้องประกอบการแสดงได้อีกด้วย

ระบำซอ

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เป็นฟ้อนประดิษฐ์ของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาของรัชกาลที่ 5 เป็นการผสมผสานการแสดงบัลเล่ต์ของทางตะวันตกกับการฟ้อนแบบพื้นเมือง ใช้การแต่งกายแบบหญิงชาวกะเหรี่ยง โดยมีความหมายว่า ชาวเขาก็มีความจงรักภักดี

ต่อพระมหากษัตริย์ไทย ใช้เพลงทางดนตรีไทย หลายเพลงประกอบการแสดง เช่น เพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่ง ลาวกระแต ลาวดวงดอกไม้ ลาวกระแซ มีคำร้องทำนองซอยิ้นที่แต่งเป็นคำสรรเสริญ ใช้แสดงในการสมโภชช้างเผือกของรัชกาลที่ 7ครั้งเมื่อเสด็จเลียบมณฑลพายัพ ปัจจุบันได้มีการลดจำนวนนักแสดงลงและตัดเพลงบางท่อนออกเพื่อให้เหมาะสมในการแสดงในโอกาสต่างๆ

ระบำชาวเขา

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เป็นการแสดงของชาวเขาเผ่าลิซู หรือลีซอโดยเป็นระบำชุดที่ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่าง ๆ ชุดที่ใช้ได้รับการประยุกต์มาจากเครื่องแต่งกายที่ชาวเผ่าลิซูใช้ในชีวิตประจำวัน

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงคือ ขลุ่ยไม้ไผ่ สะล้อ และพิณ

ฟ้อนขันดอก

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เป็นฟ้อนประดิษฐ์ใหม่ มีลีลาท่าฟ้อนได้มาจากการใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ปัจจุบันฟ้อนชนิดนี้ใช้ฟ้อนในงานพิธีมงคล เพลงที่ใช้ในการประกอบการแสดงใช้เพลงกุหลาบเชียงใหม่ ลีลาท่าฟ้อนอ่อนช้อยเข้ากับความอ่อนหวานของท่วงทำนองเพลง

ฟ้อนที

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

คำว่า “ที” หมายถึง “ร่ม” เป็นคำภาษา “ไต” ใช้เรียกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน “ที” ทางภาคเหนือมีลักษณะและรูปทรงแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด “ที” ที่ชาวแม่ฮ่องสอนนิยมใช้มีรูปทรงสวยนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการรำได้ฟ้อนทีเป็นผลงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จัดแสดงในงานนิทรรศการและการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียติมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ การแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฎศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่ผสมกับท่ารำไตของแม่ฮ่องสอน มีการแปรแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม เช่น การถือร่ม การกางร่ม การหุบร่ม เป็นต้น

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึ่งใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ขลุ่ย กรับคู่ กลองพื้นเมือง

การแต่งกาย มุ่งเน้นความสวยงามของเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมภาคเหนือ แบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบหญิงไทลื้อ และแบบหญิงล้านนาแบบไทลื้อ นุ่งซิ่นลายขวาง เสื้อปั๊ด เกล้าผมสูงประดับดอกไม้เงิน ผ้าเคียนศีรษะประดับกำไลข้อมือ ต่างหูแบบล้านนา นุ่งซิ่นตีนจก ผ้าคาดเอว เสื้อเข้ารูปแขนยาว เกล้าผมมวยตั้งกระบังผมหน้าสูง ประดับดอกไม้เงิน เครื่องประดับมีเข็มขัด กำไลข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู

การแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที

การแสดงภาคอีสาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี

การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น

เซิ้งสวิง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรี ที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดเซิ้งสวิง ได้แก่ กลองยาว กลองแต๊ะ แคน ฆ้องโหม่ง กั๊บแก๊บ ฉิ่ง ฉาบ กรับ

การแต่งกาย

ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้อง

หญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ มือถือสวิง

เซิ้งโปงลาง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทางส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า “ขอลอ” หรือ “เกาะลอ” ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า “หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ” ชื่อ “ขอลอ” ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า “โปงลาง” และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม

การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น

เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ

เซิ้งตังหวาย

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

เซิ้งตังหวาย เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีขอขมาของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังนิยมแสดงในงานนักขัตฤษ์และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติของภาคอีสาน ครูนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด กรมศิลปากร ได้ประยุกต์และจัดกระบวนรำขึ้นใหม่ รวม 12 ท่า จากท่ารำแม่บทอีสาน

โดยผู้แสดงแต่งกายห่มผ้าคาดอก นุ่งซิ่นฝ้ายมัดหมี่มีเชิง เกล้าผมสูง

เครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ โปงลาง แคน พิณ ซอ กั๊บแก๊บ ฉิ่ง และฉาบ

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการรำ และการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต และเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนมากเป็นการละเล่นประเภทการร้องโต้ตอบกันระหว่าง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบในการร้องด้นกลอนสด เช่น ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ เพลงเหย่อย รำเถิดเทิง ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และ โหม่ง

การละเล่นพื้นเมืองภาคกลาง

ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง

ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง  และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง และยักตัว

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่  รำวง  รำเหย่ย  เต้นกำรำเคียว  เพลงเกี่ยวข้าว  รำชาวนา  เพลงเรือ  เถิดเทิง  เพลงฉ่อย  รำต้นวรเชษฐ์  เพลงพวงมาลัย

เพลงอีแซว  เพลงปรบไก่  รำแม่ศรี

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์

การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง   ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรม และเกษตรกรรม ทำให้เป็นภาคที่มีความสมบูรณ์ ประชาชนมีความเป็นอยู่สุขสบาย การแสดงหรือการละเล่น ที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปในลักษณะที่สนุกสนาน หรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกัน เช่น เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว หรือเป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่

– รำโทน เป็นการรำ และการร้องของชาวบ้าน โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นการร้อง และการรำไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนหรือท่ารำที่กำหนดแน่นอน

– รำกลองยาว เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดยมีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง

– ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน

– เต้นกำรำเคียว เป็นการแสดงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นกันตามท้องนา ผู้แสดงทั้งชายและหญิงถือเคียวมือหนึ่งถือถือรวงข้าว ร้องเกี้ยวพาราสีกันอย่างสนุกสนาน

– รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชาย-หญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชาย-หญิง ออกรำทีละคู่
ภาคกลาง

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่

ประวัติความเป็นมาของเพลงลำตัด     ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลูกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะ

คุณค่าของนาฏศิลป์ไทยมีอะไรบ้าง

นาฏศิลป์ไทยมีคุณค่ามากในฐานะที่เป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนง ปลูกฝังจริยธรรม และเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงความเป็นอารยประเทศ อาทิ ศิลปะแขนงวิจิตรศิลป์หรือ ประณีตศิลป์ เป็นศิลปะแห่งความงามที่มุ่งหมายเพื่อสนองความต้องการทางสติปัญญา อารมณ์ ก่อให้เกิดความสะเทือนใจ หรือมุ่งแสดงสุนทรียะโดยตรง

ละคร มีคุณค่าต่อผู้ชมด้านใดบ้าง

ผลงานนาฏศิลป์และการละครมีประโยชน์ต่อผู้ชม โดยเรื่องราวในบทละครที่ผู้แสดงถ่ายทอดออกมา สามารถให้แง่คิด เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิต คุณธรรมในการดำรงชีวิต รวมทั้งสะท้อนค่านิยมและสภาพสังคมในยุคสมัยนั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็นการกล่อมเกลานิสัยด้วยสิ่งที่เป็นสุนทรีย์ นั่นคือ ศิลปะสวยงามของการแสดงนาฏศิลป์และการละครค่ะ

คุณค่าของละครคืออะไร

ละครเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้ชมละคร เพราะสามารถเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงบุคลิกภาพด้านมารยาทสังคม ท่าทาง การพูด รวมถึงคุณธรรม จริยธรรม ที่ละครได้สอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่่องอีกทั้งผู้เขียนบทละครจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้

นาฏศิลป์มีคุณค่าในเรื่องความมีระเบียบเรียบร้อยอย่างไร

นาฏศิลป์ทำให้ผู้เรียนทุกคนมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะเรามีครู การเรียนนาฏศิลป์ทุกครั้งต้องไหว้ครู ระลึกถึงครู นาฏศิลป์ทำให้เรามีระเบียบวินัยโดยเฉพาะการฝึกซ้อม เราลงมือปฏิบัติโดยไม่จำเป็นต้องท่องจำ แต่มันซึมซับจากการลงมือปฏิบัติจริง การเรียนจึงต้องเรียนของเก่าก่อนแล้วจึงจะสามารถนำมาประยุกต์เป็นของใหม่ หรือสร้างสรรค์การ ...