ต วอย างว ธ ส อสารและการใช ภาษาในการประช ม

ในการทำงานนั้น การสื่อสารเป็นทักษะที่ใช้เป็นประจำไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทหัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หลายครั้งปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของผู้ส่งสารและผู้รับสาร ดังนั้นหากมีทักษะในการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ได้งานตามต้องการ ทำงานได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงและมีความสุขในการทำงาน คนในองค์กรมีความร่วมมือกัน ความขัดแย้งน้อยลงค่ะ

อ.ภญ.ธันยพร (ก้อย) มองว่าทักษะนี้เป็นทักษะที่สำคัญ และฝึกฝนได้ จึงตั้งใจที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ และชวนทุกท่านมาฝึกฝนกันค่ะ

สื่อสาร ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ หมายถึง นำถ้อยคำ ข้อความ หรือหนังสือ เป็นต้น ของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยมีสื่อนำไป ในบทความนี้จะเน้นเรื่อง two-way communication หรือการสื่อสาร 2 ทาง ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ผู้รับสารมีการตอบสนอง มีปฏิกิริยาตอบกลับไปยังผู้ส่งสาร เช่นโต้ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดกัน เป็นต้น

ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. การเป็นผู้ฟังที่ดี

การฝึกเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฝึกสื่อสาร หากเราฝึกฟัง โดยการมีสติ อยู่กับปัจจุบัน ตั้งใจฟังคนตรงหน้าอย่างตั้งใจ และจริงใจ ไม่พูดแทรก จะทำให้คู่สนทนารู้สึกว่าเราใส่ใจ และอยากที่จะเล่า และเราเองก็จะรับรู้สารสำคัญที่เขาต้องการสื่อ ในทางตรงกันข้าม หากเราชอบที่จะพูดแบ่งปัน และฟังน้อย หรือตัดบทเวลาพูดอื่นพูด หรือพูดสวน/ พูดแทรก อาจทำให้คู่สนทนารู้สึกไม่ดี ไม่อยากคุยด้วย ไม่อยากฟัง รู้สึกว่าไม่ให้ความสำคัญหรือให้เกียรติเขาน้อย รวมถึงไม่อยากร่วมมือด้วย หากมาขอความช่วยเหลือค่ะ

2. การสื่อสารด้วยอวัจนภาษา (Non-verbal communication)

ในการสื่่อสาร วัจนภาษา คือ คำพูดมีผลเพียง 7% ส่วนที่เหลืออีก 93% คือ อวัจนภาษา ได้แก่ ภาษากาย และน้ำเสียง มีผลต่อการสื่อสารถึง 55% และ 38% ตามลำดับ(จากงานวิจัยของนักจิตวิทยา Albert Mehrabian)

ภาษากาย เช่น การยิ้ม การสบตา ท่านั่งสบายๆ ผ่อนคลาย เอนมาข้างหน้า เป็นภาษากายที่ดีในการสื่อสารค่ะ ส่วนน้ำเสียงจะสะท้อนถึงความรู้สึกภายในของผู้พูด

3. การเปิดใจ

การสื่อสารที่ดีจะเกิดขึ้นได้นั้น เราต้องเปิดใจที่จะรับฟังมุมมองหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันค่ะ

4. การถามคำถาม

การถามคำถามแสดงถึงความสนใจในการฟัง และช่วยในการเช็คความเข้าใจในเนื้อความ หรือเข้าใจรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นค่ะ

คำถามมีหลายรูปแบบ เช่น

  • คำถามปลายเปิด เช่น อะไร อย่างไร ช่วยให้เราได้รายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่น คุณมีมุมมองอย่างไรกับเรื่องนี้
  • คำถามปลายปิด เช่น ใช่หรือไม่ เราสามารถนำมาใช้ในการเช็คความถูกต้องของเนื้อความที่เราได้ยินได้ เช่น คุณต้องการสรุปรายงานการประชุมภายในศุกร์นี้ใช่หรือไม่

5. ความเป็นมิตร

ความเป็นมิตรจะแสดงออกผ่านน้ำเสียงและสีหน้า หากคู่สนทนารู้สึกถึงความเป็นมิตร เขาจะเปิดใจที่จะรับฟัง และเสนอความเห็น/ตอบอย่างจริงใจ ไม่ปิดบังค่ะ

6. ความมั่นใจ

ความมั่นใจจะแสดงออกทางน้ำเสียง หากน้ำเสียงหนักแน่น มั่นใจ จะส่งผลให้ผู้ฟังเชื่อในสิ่งที่คุณพูด

7. การให้เกียรติคู่สนทนา

การให้เกียรติคู่สนทนา เช่น สบตา ตั้งใจฟัง หลีกเลี่ยงการรับโทรศัพท์ในขณะที่คุยกับผู้อื่น ไม่ทำอย่างอื่นไปด้วยขณะที่สนทนา เช่น พิมพ์ข้อความในมือถือ เป็นต้น

8. การให้ feedback

การให้ feedback ได้แก่ การสะท้อนในสิ่งที่ดีในตัวคู่สนทนา หรือการกระทำที่ดี หรือการสะท้อนเพื่อให้มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หรือการชม เป็นการสะท้อนให้มีกำลังใจมากขึ้นค่ะ

หลังจากอ่านแล้ว เราอาจประเมินว่าทักษะข้อไหนที่เราทำได้ดี และข้อไหนที่เราทำได้ดีน้อยสุด อยากเริ่มพัฒนาก่อน แล้วฝึกที่ข้อนั้นๆ ก่อนค่ะ

อ.ก้อย หวังว่าบทความนี้จะช่วยพัฒนาให้มีการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นและมีความสุขในการทำงานนะคะ

การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน

ความหมายของการสื่อสาร คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication)หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

บริบททางการสื่อสาร ความสำคัญของการสื่อสาร การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้

1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร

2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ

องค์ประกอบของการสื่อสาร องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้ 1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ผู้พูด ผู้เขียน กวี ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ โฆษกรัฐบาล องค์การ สถาบัน สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ บริษัท สถาบันสื่อมวลชน เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ

2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี

3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร

4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร

5. เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร

2. สาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น

2.1 รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ

2.2 เนื้อหาของสาร (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน

2.3 การจัดสาร (message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม

3. สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป ดังนี้ (สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542: 6 )

เกณฑ์การแบ่ง ประเภทของสื่อ

ตัวอย่าง

1. แบ่งตามวิธีการเข้า และถอดรหัส

สื่อวัจนะ (verbal) สื่ออวัจนะ (nonverbal)

คำพูด ตัวเลข สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง หนังสือพิมพ์ รูปภาพ

2. แบ่งตามประสาทการรับรู้

สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง

นิตยสาร เทป วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์

3. แบ่งตามระดับการสื่อสาร หรือจำนวนผู้รับสาร

สื่อระหว่างบุคคล สื่อในกลุ่ม สื่อสารมวลชน

โทรศัพท์ จดหมาย ไมโครโฟน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์

4. แบ่งตามยุคสมัย

สื่อดั้งเดิม สื่อร่วมสมัย สื่ออนาคต

เสียงกลอง ควันไฟ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล วีดิโอเทกซ์

5. แบ่งตามลักษณะของสื่อ

สื่อธรรมชาติ สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อระคน

อากาศ แสง เสียง คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว วิทยุ วีดิทัศน์ ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน หนังสือ ใบข่อย

6. แบ่งตามการใช้งาน

สื่อสำหรับงานทั่วไป สื่อเฉพาะกิจ

จดหมายเวียน โทรศัพท์ วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์

7. แบ่งตามการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร

สื่อร้อน สื่อเย็น

การพูด การอ่าน

4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ฟังรายการวิทยุ กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

หลักในการสื่อสาร การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้ (ภาควิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบรี, 2542: 13-14)

1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร

2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร

3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น

4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน

5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง

6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร

7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร คณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551: 17) กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้

1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ

2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ

4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน

5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน

6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น

ประเภทของการสื่อสาร การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย ๆ ประเภท โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ตามตารางดังนี้

เกณฑ์การแบ่ง

ประเภทของการสื่อสาร

ตัวอย่าง

1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร

1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)

- การพูดกับตัวเอง - การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ - การร้องเพลงฟังเอง - การคิดถึงงานที่จะทำ เป็นต้น

1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication)

- การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป - การพูดคุย - การเขียนจดหมาย - การโทรศัพท์ - การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น

1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (large group communication)

- การอภิปรายในหอประชุม - การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง - การปราศรัยในงานสังคม - การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม - การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม เป็นต้น

1.4 การสื่อสารในองค์กร (organizational communication)

- การสื่อสารในบริษัท - การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ - การสื่อสารในโรงงาน - การสื่อสารของธนาคาร เป็นต้น

1.5 การสื่อสารมวลชน (mass communication)

การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้ คือ - หนังสือพิมพ์, นิตยสาร - วิทยุ - โทรทัศน์ - ภาพยนตร์ เป็นต้น

2.การเห็นหน้ากัน

2.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (face to face communication)

- การสนทนาต่อหน้ากัน - การประชุมสัมมนา - การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า - การเรียนการสอนในชั้นเรียน - การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น

2.2 การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า (interposed communication)

- เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด คือ - หนังสือพิมพ์ - วิทยุ - โทรทัศน์ - วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด - จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร - อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

3. ความสามารถในการโต้ตอบ

3.1 การสื่อสารทางเดียว (one-way communication)

การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ - วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์ - โทรเลข/โทรสาร - ภาพยนตร์ เป็นต้น

3.2 การสื่อสารสองทาง (two-way communication)

- การสื่อสารระหว่างบุคคล - การสื่อสารในกลุ่ม - การพูดคุย / การสนทนา เป็นต้น

4. ความแตกต่างระหว่าง ผู้รับสารและผู้ส่งสาร

4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)

- ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ - คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน เป็นต้น

4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)

- การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ - ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา เป็นต้น

4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ (international communication)

- การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต - การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล เป็นต้น

5. การใช้ภาษา

5.1 การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)

- การพูด, การบรรยาย - การเขียนจดหมาย, บทความ เป็นต้น

5.2 การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)

- การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด - อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา และปริภาษา เป็นต้น

อุปสรรคในการสื่อสาร อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร

1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ

1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม

1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม

1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร

1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร

1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร

2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร

2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป

2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน

2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ

2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน

3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง

3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ

3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี

3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร

4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร

4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ

4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร

4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร

4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร

4.5 ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป

ที่มาของข้อมูล : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/Chapter1.html

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารธุรกิจ

คำกล่าวที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” นั่นหมายความว่า มนุษย์ไม่อาจดำรงชีวิตโดยลำพังได้จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงต้องมีการสื่อสารเพื่อส่งความนึกคิดและความรู้สึกให้ผู้อื่นที่ต้องเกี่ยวข้องพึ่งพาได้รับรู้ เข้าถึง และเกิดอาการตอบสนอง ซึ่งความนึกคิดและความรู้สึกนั้นเราเรียกกันว่า “สาร” หรือบางบริบทเรียกกันว่า ความหมาย สาระ ใจความ เป็นต้น

การสื่อสาร จึงหมายถึง กระบวนการที่มนุษย์เชื่อมโยงความนึกคิดและความรู้สึกให้ถึงกัน เพื่อให้เกิดการตอบสนองในเชิงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

ในการประกอบธุรกิจ นอกจากจะมีความพร้อมทางปัจจัยธุรกิจที่เรียกกันว่า 4M คือ คน (Man) ทุน (Money) การจัดการ (Management) และวัตถุดิบ (Material) แล้วยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายด้านที่เป็นองค์ประกอบย่อยและมีความสำคัญในทางสนับสนุนและส่งเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ การติดต่อสื่อสารก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะทุกกระบวนการของการจัดการกับปัจจัยทางธุรกิจย่อมต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อให้ได้มา ให้เปลี่ยนแปลง ให้เกิดขึ้น เป็นต้น และนำมาซึ่งความสำเร็จในทางธุรกิจ จึงถือได้ว่าหากไม่มีการสื่อสารก็คงยังไม่มีการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น ดังเช่น การจัดการด้านการตลาด ก็จะเริ่มต้นที่การจัดให้มีองค์กรทางการตลาด การจัดหาบุคลากร การปฏิบัติการทางการตลาด ซึ่งเราจะเห็นว่าต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อสั่งการ ประสานใจ จูงใจ ติดต่อ ประชาสัมพันธ์ ในทุกขั้นตอน เป็นต้น

จุดประสงค์ของการสื่อสารในองค์กรธุรกิจ

องค์กรธุรกิจมีความแตกต่างกันในด้านจุดประสงค์ขององค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารแตกต่างกันไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถแยกแยะถึงจุดประสงค์ของการสื่อสารในองค์กรธุรกิจได้ดังต่อไปนี้

1. สื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารให้ผู้รับสารได้รับรู้ข่าวสารเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ซึ่งอาจจะออกมาในรูปของความศรัทธา เกิดค่านิยม ความชอบ เป็นต้น ได้แก่ การแนะนำองค์กร การโฆษณาสินค้า การประกาศ การต้อนรับ และการรับรอง เป็นต้น

2. สื่อสารเพื่อการติดต่อ เป็นการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางธุรกิจการงาน ได้แก่ การสอบถาม ขอความช่วยเหลือ ขออนุญาต ขออนุมัติ และการสั่งซื้อ เป็นต้น

3. สื่อสารเพื่อสั่งการ เป็นการสื่อสารที่มักเกิดจากการสื่อสารแนวลง เพื่อให้เกิดการปฏิบัติและการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ คำสั่งผู้บังคับบัญชา การแถลงนโยบาย การเสนอแนะ รวมถึงการสื่อสารตอบรับจากผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นการเสนอแนะ การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

4. สื่อสารไมตรีจิต เป็นการสื่อสารเพื่อสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคลทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กร เพื่อความราบรื่นในธุรการงาน ได้แก่ การแสดงความรู้สึกในโอกาสต่างๆ การเชิญร่วมเป็นเกียรติ การแนะนำบุคคล เป็นต้น

5. สื่อสารเพื่อให้ความรู้และแรงจูงใจ เป็นการสื่อสารเพื่อให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้มีความรู้ด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น หรือเกิดกำลังใจในการทำงาน ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้ การสัมมนา การอบรม และการปฐมนิเทศ เป็นต้น

  1. สื่อสารเพื่อวิจัยหรือการสืบสวนสอบสวน เป็นการสื่อสารเพื่อหาคำตอบ หรือให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ได้แก่ การทำรายงานทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การทำแบบสอบถาม เป็นต้น

    7. สื่อสารเพื่อรายงานและปรับความเข้าใจ เป็นการสื่อสารเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นปัญหาต่อองค์กร ต่อบุคคลในองค์กร หรือระหว่างองค์กร ได้แก่ การปรับความเข้าใจ การชี้แจง และการเสนอรายงาน เป็นต้น

  2. สื่อสารเพื่อประสานงาน เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงานอย่างมีประสิทธิผล ได้แก่ การประชุมวางแผน การเสนอนโยบาย และการเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น
  3. สื่อสารเพื่อนิติกรรม เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดข้อตกลงและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ได้แก่ การเจรจาเพื่อตกลงทำสัญญา การทำสัญญา การทวงหนี้ และการฟ้องร้อง เป็นต้น

    10. สื่อสารเพื่อบันเทิง เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดความรื่นเริงผ่อนคลาย ได้แก่ การแสดงบนเวที การขับร้อง กิจกรรมนันทนาการ การเสนอข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จุลสาร และการแสดงทอล์คโชว์ เป็นต้น

    หลักการเบื้องต้นในการสื่อสารธุรกิจ

    การสื่อสารในองค์กรธุรกิจมีความละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง แตกต่างจากการสื่อสารทั่วไป ฉะนั้นจึงควรคำนึงถึงหลักการเบื้องต้น ดังนี้

    1. มีความรับผิดชอบ การสื่อสารโต้ตอบในวงการธุรกิจย่อมมีผลที่ได้รับกลับมาเสมอ ไม่ว่าผลจะออกมาในทางบวกหรือลบ ผู้สื่อสารต้องรับผิดชอบและถือว่าเป็นคุณธรรมของการสื่อสารที่สำคัญ ฉะนั้น ก่อนสื่อสารผู้สื่อสารจะต้องศึกษาค้นคว้าไตรตรองถึงความถูกต้องผลได้ผลเสีย โดยคำนึงถึงเหตุผล ความถูกต้องทางกฎหมาย ความถูกต้องทางศีลธรรม ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี และถูกต้องตามสถานการณ์

    2. มีความประณีต การสื่อสารที่ประณีตหมายถึงการเลือกสรรถ้อยคำสำนวนภาษาและการเลือกเนื้อหาสาระต้องมีความรอบคอบ ละเอียดอ่อน แม้ส่วนใหญ่จะใช้สำนวนภาษาสั้นง่าย และเป็นทางการก็ตาม แต่เมื่อผลลัพธ์ที่ได้มีค่ามากมาย จึงจำเป็นต้องประณีตทั้งถ้อยคำและสำนวน ความกระชับ ความไพเราะ สุภาพ และการเลือกวัสดุอุปกรณ์จะต้องได้รับผลทางบวก

    3. เหมาะสม การสื่อสารในทางธุรกิจจะต้องคำนึงถึงกาลเทศะ บุคคล จุดประสงค์ กฎระเบียบ และสถานการณ์ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดการใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาและกำหนดเรื่องราวที่จะนำมาสื่อสาร โดยอาจจะถามตนเองเสมอว่าสื่อถึงใคร โอกาสใด สถานการณ์เป็นอย่างไร เพื่ออะไร หรือคำนึงถึงวิธีการสื่อสาร ตลอดจนคำนึงถึงวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กัน