งบอกความหมายและความสำค ญของส อท ม ต อการส อสารและการเร ยนการสอน

โรงเรียนมุ่งพัฒนานักเรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

ความสำคัญของภาษา

1. ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร

การสื่อสารจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื้อหาของสาร

จะไม่สามารถถ่ายทอดได้ถ้าไม่มีภาษา จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษาคือตัวนำสาร ภาษาที่ผู้ส่งสาร

และผู้รับสารใช้จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ภาษาในการเสนอ สารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร ในด้านความรู้และทักษะการใช้ภาษา จะทำให้เกิดการรับรู้และ เข้าใจตรงกัน ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร จะมี 2 ลักษณะ คือ 1.1 ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ 1) วัจนภาษา (verbal language) คือ ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียงและลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็น ภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษาหรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคม ต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร ต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษาและความเหมาะสมกับลักษณะการสื่อสาร, ลักษณะงาน, สื่อและผู้รับสาร เป้าหมาย 2) อวัจนภาษา (non - verbal language) คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ เป็นภาษาซึ่งแฝงอยู่ในถ้อยคำ กิริยาอาการต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ แปลความหมาย เช่น น้ำเสียง การตรงต่อเวลา การยิ้มแย้ม การสบตา การเลือกใช้ เสื้อผ้า ช่องว่างของสถานที่ กาลเวลา การสัมผัส ลักษณะตัวอักษร เครื่องหมาย วรรคตอน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำ แต่ก็สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้ ในการ สื่อสารมักมีอวัจนภาษาเข้าไปแทรกอยู่เสมอ อาจตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษา อวัจนภาษาไม่สามารถแยกเด็ดขาดจากวัจนภาษา ผู้ส่งสารมักใช้วัจนภาษาและ อวัจนภาษาประกอบ เช่น บอกว่า "มา" พร้อมทั้งกวักมือเรียก เป็นต้น วัจนภาษาและ อวัจภาษามีความสัมพันธ์กันดังนี้ 1. ใช้อวัจนภาษาแทนคำพูด หมายถึง การใช้อวัจนภาษาเพียงอย่างเดียว ให้ความหมายเหมือนถ้อยคำภาษาได้ เช่น กวักมือ สั่นศีรษะ เป็นต้น 2. ใช้อวัจนภาษาขยายความ เพื่อให้รับรู้สารเข้าใจยิ่งขึ้น เช่นพูดว่า "อยู่ในห้อง" พร้อมทั้งชี้มือไปที่ห้อง ๆ หนึ่ง แสดงว่าไม่ได้อยู่ห้องอื่น 3. ใช้อวัจนภาษาย้ำความให้หนักแน่น หมายถึง การใช้อวัจนภาษาประกอบ วัจนภาษาในความหมายเดียวกัน เพื่อย้ำความให้หนักแน่นชัดเจน ยิ่งขึ้น เช่น พูดว่า เสื้อตัวนี้ใช่ไหม พร้อมทั้งหยิบเสื้อขึ้นประกอบ 4. ใช้อวัจภาษาเน้นความ หมายถึง การใช้อวัจภาษาย้ำบางประเด็นของวัจนภาษา ทำให้ความหมายเด่นชัดขึ้น เช่น พาดหัวหนังสือพิมพ์ ใช้ตัวอักษรตัวโตพิเศษ แสดงว่า เป็นเรื่องสำคัญมาก 5. ใช้อวัจนภาษาขัดแย้งกัน หมายถึง การใช้ภาษาที่ให้ความหมายตรงข้ามกับ วัจนภาษา ผู้รับสารมักจะเชื่อถือสารจากอวัจนภาษาว่าตรงกับความรู้สึกมากกว่า เช่น พูดว่า "โกรธไหมจ๊ะที่ผมมาช้า" ผู้รับสารตอบว่า "ไม่โกรธหรอกค่ะ" พร้อมกับมีสีหน้า บึ้งตึง ผู้ส่งสารก็รู้ได้ทันทีว่ายังโกรธอยู่ 6. ใช้อวัจภาษาควบคุมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร หมายถึง การใช้กิริยา ท่าทาง สายตา น้ำเสียงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร เช่น การยิ้มแย้มแจ่มใส การแสดงความดีใจที่ได้พบกัน อวัจนภาษามีผลในด้านการสร้างความรู้สึกได้มากกว่าวัจนภาษา การใช้ อวัจนภาษาจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องระมัดระวัง ถ้ารู้จักเลือกใช้อวัจภาษาเพื่อเสริมหรือเน้นหรือแทนวัจนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นู่ 1.2 ระดับภาษาในการสื่อสาร การใช้ภาษาสื่อสารต้องให้เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ และสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล ระดับภาษาเป็นตัวกำหนดความเหมาะสม ช่วยให้เกิดผลดีในการสื่อสาร ระดับภาษาแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 1) ระดับพิธีการ ภาษาระดับนี้ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรผู้ส่งสารมุ่งแสดงออก ให้เห็นถึงความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ความทรงภูมิปัญญา ฯลฯไม่มุ่งประโยชน์ที่จะให้ผู้รับสาร ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น หากจะมีการกล่าวตอบก็ต้องกระทำ อย่างเป็นพิธีการในฐานะผุ้แทนกลุ่มเท่านั้น 2) ระดับทางการ ภาษาระดับนี้มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการสื่อสาร โดยตรงเช่นกัน ผู้ส่งสารมุ่งเสนอข่าวสารแนวคิดและทรรศนะ ไปสู่กลุ่มรับสารขนาดใหญ่ เช่น การแถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชน การให้โอวาทต่อคณะบุคคล การเขียน บทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ การเขียนบทความทางวิชาการ 3) ระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการปรึกษาหารือกิจธุระระหว่างบุคคล หรือกลุ่มบุคคล มีการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้ส่งสาร ภาษาระดับนี้จะใช้ในการประชุมกลุ่ม การปรึกษางาน การวางแผนร่วมกัน การเขียนบทความ แสดงทรรศนะในหนังสือพิมพ์ การเสนอรายการสารคดีกึ่งวิชาการ 4) ระดับสนทนา อาจเรียกว่า ระดับลำลอง ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสื่อสาร กับเพื่อนสนิท อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่มหรือเข้าใจความหมายตรงกันในกลุ่มเท่านั้น 5) ระดับกันเอง ภาษาระดับนี้จะใช้ในวงจำกัด ใช้ระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย กันมาก ๆ สถานที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว เช่น ที่บ้านในห้องที่เป็นสัดส่วนของตน โดยเฉพาะ ถ้อยคำที่ใช้อาจมีคำแสลง คำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ภาษาระดับนี้ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร