การ ฉาย แสง มะเร ง ต อ ม ล กหมาก

การรักษาด้วยการฉายรังสีในผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็งนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การฉายรังสี การผ่าตัด การให้ยามุ่งเป้า เคมีบำบัดและการรักษาด้วยฮอร์โมน แพทย์จะเป็นผู้ประเมินการรักษาที่เหมาะสม โดยอาจจะให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการรักษาด้วยการฉายรังสี ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยแพทย์รังสีรักษา แพทย์จะอธิบายถึงบทบาทของรังสีรักษา ข้อดี-ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษา และภายหลังจากเสร็จสิ้นการรักษา

การรักษาด้วยการฉายรังสีมี 2 แบบ

  • รังสีรักษาระยะไกลจากภายนอก เช่น เครื่องฉายรังสี
  • รังสีรักษาระยะใกล้ เช่น การฝังแร่, โหลดแร่ อิริเดียม-192

*ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งปากมดลูก

ผลข้างเคียง

  • ผลข้างเคียงของการฉายรังสีจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ และมักจะไม่รุนแรง ในการรักษามะเร็งเต้านม อาจเกิดรอยแดงหรือสีผิวคล้ำขึ้น ตรงบริเวณหน้าอกที่ได้รับการฉายรังสี ในขณะที่มะเร็งในช่องปากจะมีอาการ เจ็บปากเจ็บคอในช่วงฉายรังสีได้ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้อง อาจรู้สึกมวนท้อง เป็นต้น อาการชั่วคราวเหล่านี้มักเริ่มในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ของการฉายรังสี และอาจมีอาการต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์หลังฉายรังสีครบ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ซึ่งระดับความมากน้อยขึ้นกับตัวบุคคล บริเวณที่ฉายรังสี และการได้รับการรักษาอื่น ๆ เช่น ยาเคมีบำบัด ร่วมด้วย เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย ควรพยายามพักผ่อนให้มากขึ้นและผ่อนคลายความเครียด ในช่วงระหว่างการรักษา หลังการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยอาจจะต้องพบกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านมะเร็งหลายท่าน เช่น ศัลยแพทย์ แพทย์รังสีรักษา และอายุรแพทย์ด้านมะเร็ง ผู้ป่วยสามารถซักถาม ถึงข้อมูลการรักษาได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยมักต้องได้รับการรักษาหลายอย่างร่วมกัน เช่น โรคมะเร็งเต้านม ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก จากนั้นผู้ป่วย อาจได้รับการฉายรังสีและเคมีหรือฮอร์โมนบำบัดเพิ่มเติม เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ที่อาจหลงเหลืออยู่ในร่างกาย

การตรวจทุกสัปดาห์ ช่วงระหว่างการฉายรังสี ควรพบแพทย์รังสีรักษาทุกสัปดาห์ โดยแพทย์จะประเมินการตอบสนองต่อการรักษา ผลข้างเคียง พร้อมแนะนำวิธีปฏิบัติตัว และตอบคำถามที่ผู้ป่วยและญาติสงสัย

  • ในช่วงฉายรังสีผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลียจึงควรพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่ยังสามารถออกกำลังกายหรือทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่เหนื่อยเกินไปได้ตามปกติ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • ในช่วงการรักษาควรทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้พลังงานสูง เช่น ไข่ขาว เนื้อสัตว์ ปลา และควรดื่มน้ำมาก ๆ

บริเวณที่ฉายรังสีจะมีความบอบบางเป็นพิเศษ และอาจเกิดการอักเสบได้จึงควรดูแล และปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ทำความสะอาดบริเวณที่ฉายรังสีด้วยน้ำอุ่นทุกวัน งดการฟอกสบู่เพราะจะทำให้บริเวณที่ขีดเส้นไว้ลบเลือน
  • หลีกเลี่ยงการใช้โลชั่น น้ำหอม แป้ง และเครื่องสำอางค์ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
  • ไม่ประคบร้อน-เย็น บริเวณที่ฉายรังสี
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด ควรสวมเสื้อผ้าหรือ หมวก เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด

จัดทำโดย พว.วณิชยา ธีรติวาณิชย์ พยาบาลแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ที่ปรึกษา นพ.ยงยุทธ คงธนารัตน์ แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ประวัติแพทย์

นพ.ธีรกุล จิโรจน์มนตรี แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ประวัติแพทย์

  • โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็งแคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา
  • 529 หมู่ 3 ต.หนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
  • 033-046333

การ ฉาย แสง มะเร ง ต อ ม ล กหมาก

  • เกี่ยวกับเรา
    • เกี่ยวกับเรา
    • วิสัยทัศน์
    • ผู้บริหาร
  • บริการของเรา
    • ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • รังสีรักษา (การฉายแสง)
    • เคมีบำบัด และยามุ่งเป้า
    • กัญชาทางการแพทย์
    • การดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยมะเร็ง
    • ไตเทียม
    • บริการด้านโภชนาการ
  • บทความสุขภาพ
    • บทความสุขภาพ
    • บทความกัญชาทางการแพทย์
    • สาระสุขภาพ
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ถามตอบ

การ ฉาย แสง มะเร ง ต อ ม ล กหมาก

SBRT รังสีร่วมพิกัด มะเร็งต่อมลูกหมาก

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินปัสสาวะที่สงสัยมะเร็งต่อมลูกหมากควรได้รับการตรวจวินิจฉัยดังนี้

  • การตรวจทางทวารหนักโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • การตรวจเลือดดูระดับ PSA ซึ่งใช้ในการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตัดชิ้นเนื้อร่วมกับอัลตร้าซาวด์เพื่อดูผลทางพยาธิวิทยา

จากนั้นจะได้ผลการวินิจฉัยและบอกถึงความรุนแรงของโรค ที่เรียกว่า GLEASON SCORE จำนวนชิ้นเนื้อที่เจอเซลล์มะเร็ง พร้อมกับการเอกเรย์เพื่อดูการลุกลามของโรคในการกำหนดระยะโรค

ในอดีตการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากจะเป็นการผ่าตัดมาพัฒนาโดย การใช้รังสีชนิดฝังไม่ว่าจะเป็นโอโอดีนหรืออิริเดียมส่วนการฉายรังสีจะใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งต่ำและจำนวนครั้งสูงถึง 39 ครั้งหรือ 7-8 สัปดาห์ ในปัจจุบันพบว่าเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากตอบสนองได้ดีต่อปริมาณรังสีสูง จึงมีการใช้จำนวนครั้งการรักษาน้อยลง วิธีหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบันเรียกว่า SBRT หรือรังสีร่วมพิกัดเสมือนผ่าตัด ซึ่งสามารถที่จะทำให้การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากใช้การฉายรังสีเพียง 5 ครั้งเท่านั้น ทำให้ได้ปริมาณรังสีที่สูงในขณะที่ผลการรักษาดีและปลอดภัย ในปัจจุบันได้เป็นทียอมรับ SBRT เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและได้ผลในกลุ่มที่มีความเสี่ยงกลางต่ำ (LOW INTERMEDIAYE RISK) โดยประวัติการรักษาด้วย SBRT เริ่มตั้งแต่ปี 2000 ในปัจจุบันมีรายงานที่เปรียบเทียบถึงผลการรักษามากมาย

และมีบางรายงานที่แสดงถึงการใช้ SBRT ที่ได้ผลที่ดีกว่าใช้การรักษาโดยฉายรังสี ปริมาณต่ำระยะเวลา 7-8 สัปดาห์ ส่วนใหญ่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอยู่ในระหว่างการศึกษาและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การที่จะเลือกว่าใช้ SBRT หรือไม่ แพทย์รังสีมะเร็งวิทยา จะเป็นผู้ที่เปรียบเทียบวิธีการรักษาเพื่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการฝั่งแร่ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อเลือดออก ติดเชื้อ อยู่โรงพยาบาลนานหรือใส่สายปัสสาวะ

โดยสรุปการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากควรได้รับการดูแลร่วมกันของศัลยแพทย์รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ เพราะจะมีข้อบ่งชี้ ที่แตกต่างกัน SBRT เป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้แทนที่การผ่าตัดหรือการฉายรังสีระยะยาว

ศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร

เมื่อคลิ๊ก "อนุญาตทั้งหมด" ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ของเรา นโยบายคุกกี้ของเราจะอธิบายความหมายของคุกกี้ว่าทำงานอย่างไร เหตุผลของการใช้คุกกี้และรวมถึงวิธีการลบคุกกี้เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านโดยท่านสามารถศึกษานโยบายคุกกี้ของเราเพิ่มเติมได้ที่ นโยบาย Cookie