การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่างประหยัดคือ

Show
    • ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา
    • ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี
    • ในการหุ่งต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร
    • ในระหว่างอบอาหารอย่าเปิดตู้อบบ่อย ๆ
    • ถอดเต้าเสียบทันทีเมื่อปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย
    • ควรหรี่ไฟและปิดฝาหม้อในกรณีที่ต้องเคี่ยว
    • ควรใช้พาหนะก้นแบนขนาดพื้นที่ก้นเหมาะกับพื้นที่หน้าเตาและใช้พาหนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี หากเป็นไปได้ให้ใช้กับเตาไฟฟ้าซึ่งมีขายทั่วไปอยู่แล้ว
    • ควรปิดฝาภาชนะให้สนิทขณะตั้งเตา

    เครื่องทำน้ำอุ่น

    • ปรับปุ่มความร้อนให้เหมาะสมกับร่างกาย
    • ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
    • หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที
    • ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น
    • ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้
    • ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง
    • ใช้เครื่องขนาดพอสมควร
    • ปรับความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น
    • ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
    • ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
    • ควรใช้น้ำอุ่นที่ได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์

    เครื่องปรับอากาศ

    การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

    โดยทั่วไป เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน มักมีการใช้พลังงานสูงแทบทุกชนิด ดังนั้น ผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดให้เหมาะสมและถูกวิธี เพื่อท าให้เกิดความประหยัดและคุ้มค่า ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ทั่วไปในครัวเรือน ดังนี้

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำร้อนขึ้น โดยอาศัยการพาความร้อนจาก

    ขดลวดความร้อน (Electrical Heater) ขณะที่กระแสน้ำไหลผ่าน ส่วนประกอบหลักของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า คือ

    1. ตัวถังน้ำ จะบรรจุน้ำซึ่งจะถูกทำให้ร้อน
    1. ขดลวดความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนกับน้ า
    1. อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิของน้ำถึงระดับที่ตั้งไว้

    การดูแลรักษาและความปลอดภัย

    1. หมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบความปลอดภัยของเครื่อง
    1. ตรวจดูระบบท่อน้ าและรอยต่ออย่าให้มีการรั่วซึม
    1. เมื่อพบความผิดปกติในการทำงานของเครื่อง ควรให้ช่างผู้ชำนาญตรวจสอบ
    1. ต้องมีการต่อสายดิน

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

    1. เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้ส าหรับบ้านทั่วไปเครื่องทำน้ำอุ่น

    ไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 4,500 วัตต์ก็น่าจะเพียงพอ ซึ่งจะช่วยทั้งประหยัดไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าและปั๊มน้ำ

    1. ตั้งอุณหภูมิน้ าไม่สูงจนเกินไป (ปกติอยู่ในช่วง 35 - 45 C)
    1. ใช้หัวฝักบัวชนิดประหยัดน้ า จะช่วยประหยัดน้ าได้ถึง ร้อยละ 25 - 75
    1. ใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะสามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่าชนิดที่ไม่มีถังน้ าภายใน ร้อยละ 10 - 20
    1. ปิดวาล์วน้ำและสวิตช์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
    1. ไม่เปิดเครื่องตลอดเวลาขณะฟอกสบู่อาบน้ำ หรือขณะสระผม

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ในการต้มน้ำให้ร้อน ประกอบด้วยขดลวดความร้อน(Electrical Heater) อยู่ด้านล่างของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า และอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ(Thermostat) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะเกิดความร้อน และถ่ายเทไปยังน้ำภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงจุดเดือด จากนั้นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรหลักออกไป แต่ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดความร้อน และแสดงสถานะนี้โดยหลอดไฟสัญญาณอุ่นจะสว่างขึ้น เมื่ออุณหภูมิของน้ำร้อนภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าลดลงจนถึงจุด ๆ หนึ่ง อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดความร้อนเต็มที่ทำให้น้ำเดือดอีกครั้งกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าโดยทั่วไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมีขนาดความจุตั้งแต่ 2 - 4ลิตร และใช้กำลังไฟฟ้าระหว่าง 500 - 1,300 วัตต์

    การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

    1. เลือกซื้อรุ่นที่มีตรามาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
    1. ใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการหรือไม่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ เพราะจะทำให้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเกิดความเสียหาย
    1. ระวังอย่าให้น้ำแห้ง หรือปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดที่กำหนด เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
    1. ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้น้ำร้อนแล้ว เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ควรเสียบปลั๊กตลอดเวลา แต่หากมีความต้องการใช้น้ าร้อนเป็นระยะ ๆ ติดต่อกัน เช่น ในที่ทำงานบางแห่งที่มีน้ำร้อนไว้สำหรับเตรียมเครื่องดื่มต้อนรับแขก ก็ไม่ควรถอดปลั๊กออกบ่อย ๆ เพราะทุกครั้งเมื่อดึงปลั๊กออกอุณหภูมิของน้ำจะค่อย ๆ ลดลง กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าไม่สามารถเก็บความร้อนได้นาน เมื่อจะใช้งานใหม่ก็ต้องเสียบปลั๊ก และเริ่มต้มน้ าใหม่ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน
    1. อย่านำสิ่งใด ๆ มาปิดช่องไอน้ำออก
    1. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ
    1. ไม่ควรตั้งไว้ในห้องที่มีการปรับอากาศ

    การดูแลรักษากระติกน้ำร้อนไฟฟ้าให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น ลดการใช้พลังงานลงและป้องกันอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

    1. หมั่นตรวจดูสายไฟฟ้าและขั้วปลั๊กให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอ109

    2. ควรนำน้ำที่สะอาดเท่านั้นมาต้ม มิฉะนั้นผิวในกระติกน้ าร้อนไฟฟ้าอาจเปลี่ยนสีเกิดคราบสนิมและตะกรัน

    3. หมั่นทำความสะอาดตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าด้านใน อย่าให้มีคราบตะกรัน ซึ่งจะเป็นตัวต้านทาน การถ่ายเทความร้อนจากขดลวดความร้อนไปสู่น้ำทำให้เวลาในการต้มน้ำเพิ่มขึ้นเป็นการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์

    4. เมื่อไม่ต้องการใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ควรล้างด้านในให้สะอาด แล้วคว่ำลงเพื่อให้น้ำออกจากตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า แล้วใช้ผ้าเช็ดด้านในให้แห้ง

    5. การทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า

    - ตัวและฝากระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้หมาดแล้วเช็ดอย่างระมัดระวัง

    - ฝาปิดด้านใน ใช้น้ำหรือน้ำยาล้างจานล้างให้สะอาด

    - ตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าด้านใน ใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดให้ทั่ว ล้างให้สะอาดด้วยน้ำโดยอย่าราดน้ำ ลงบนส่วนอื่นของตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า นอกจากภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเท่านั้น อย่าใช้ของมีคมหรือฝอยขัดหม้อขูดหรือขัดตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าด้านใน เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดออกได้

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    3. พัดลม พัดลมที่ใช้ในบ้านเป็นอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการหมุนเวียนอากาศ และระบายความ ร้อนภายในบ้าน ซึ่งในปัจจุบันพัดลมที่ใช้มีหลากหลายลักษณะและประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนประกอบหลักของพัดลม ได้แก่ ใบพัด ตะแกรงคลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตช์ ควบคุมการท างาน และกลไกควบคุมการหมุนและส่าย ดังรูป

    การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

    1. เลือกซื้อพัดลมที่เป็นระบบธรรมดา เพราะจะประหยัดไฟกว่าระบบที่มีรีโมทคอนโทรล หรือระบบไอน้ำ

    2. เลือกซื้อยี่ห้อและรุ่นที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และมีฉลากเบอร์5

    3. เลือกที่มีขนาดใบพัดและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการใช้งาน

    1. เลือกใช้ความแรงของลมให้เหมาะกับความต้องการ ความแรงของลมยิ่งมากยิ่งเปลืองไฟ
    1. ปิดพัดลมทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
    1. ในกรณีที่พัดลมมีระบบรีโมทคอนโทรลอย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้เพราะจะมีไฟฟ้าเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดเวลา
    1. ควรวางพัดลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจากบริเวณรอบ ๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบพัดลมมีการถ่ายเทดีไม่ร้อนหรืออับชื้น ก็จะได้รับลมเย็น รู้สึกสบาย และยังท าให้มอเตอร์สามารถระบายความร้อนได้ดีเป็นการยืดอายุการใช้งานอีกด้วย

    การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ าเสมอ จะช่วยให้พัดลมท างานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยยืดอายุการทำงาน มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

    1. หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับ และต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหัก ชำรุด หรือโค้ง งอ ผิดส่วน จะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงของลมลดลง
    1. หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ ามันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะท าให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้น

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นภาพด้วยวงจร อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อน มีส่วนประกอบ ดังนี้ 111 1) ส่วนประกอบภายนอก คือ ตัวโครงที่ห่อหุ้มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จอภาพซึ่งจะมี การเคลือบสารพิเศษทางด้านใน ปุ่มหรือสวิตช์ต่าง ๆ และช่องต่อสายอากาศ เป็นต้น 2) ส่วนประกอบภายใน คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวรับเปลี่ยนสัญญาณที่มาในรูป ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นภาพและเสียง ส่วนประกอบของจอภาพและระบบเสียงรวมทั้งล าโพง เป็นต้น

    ปริมาณพลังงานที่โทรทัศน์ใช้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและขนาดของจอภาพ โดยขนาด จอภาพของโทรทัศน์ระบุด้วยความยาวเส้นทแยงของมุมจอภาพ โทรทัศน์แต่ละขนาดและแต่ละ ประเภทจะมีการใช้ไฟฟ้าแตกต่างกัน ยิ่งขนาดจอภาพใหญ่ก็จะใช้ก าลังไฟฟ้ามาก

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

    1. การเลือกใช้โทรทัศน์ควรค านึงถึงความต้องการในการใช้งาน โดยพิจารณาจากขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้า สำหรับเทคโนโลยีเดียวกัน โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ ยิ่งกินไฟมากขึ้น
    1. อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ เพราะโทรทัศน์จะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงระบบภายในอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟ และอาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะเกิดฟ้าแลบได้
    1. ปิดและถอดปลั๊กทันทีเมื่อไม่มีคนดู หากชอบหลับหน้าโทรทัศน์บ่อย ๆ ควรใช้โทรทัศน์ รุ่นที่ตั้งเวลาปิดโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยประหยัดไฟฟ้า
    1. หากชมโทรทัศน์ช่องเดียวกันควรดูด้วยกัน ประหยัดทั้งค่าไฟ และอบอุ่นใจได้อยู่ด้วยกันทั้งครอบครัว
    1. เลิกเปิดโทรทัศน์ล่วงหน้าเพื่อรอดูรายการที่ชื่นชอบ เปิดดูรายการเมื่อถึงเวลาออกอากาศ
    1. ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างมากเกินไป และไม่ควรเปลี่ยนช่องบ่อย เพราะจะทำให้หลอดภาพมีอายุการใช้งานลดลง และสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยไม่จ าเป็น

    การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้โทรทัศน์เกิดความคงทนภาพที่ได้คมชัด และมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

    1. ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้สะดวก
    1. หมั่นทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกาะบนจอภาพโดยใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเครื่องโทรทัศน์ส่วนจอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือน้ำยาล้างจานผสมกับน้ำเช็ดเบา ๆ จากนั้นเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง และต้องถอดปลั๊กออกก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง

    5. เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใช้กันแทบทุกครัวเรือน หากเปรียบเทียบกับ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เตารีดจัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ก าลังไฟฟ้าสูง การทราบแนวทางการเลือกซื้อ และใช้งานอย่างถูกวิธีจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ ในท้องตลาดเตารีดสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ เตารีดแบบธรรมดา แบบมีไอน้ า และแบบกดทับ ส่วนประกอบและการท างานเตารีดมีส่วนประกอบส าคัญ 3 ส่วน คือ

    1. ไส้เตารีดไฟฟ้า ท ามาจากโลหะผสมระหว่างนิกเกิลและโครเมียม ท าหน้าที่ให้ ก าเนิดความร้อนเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า โดยความร้อนจะมากหรือน้อยขึ้นกับส่วนผสมของโลหะ และความยาวขดลวด
    1. เทอร์มอสแตต ท าหน้าที่ปรับความร้อนของไส้เตารีดให้เท่ากับระดับที่ได้ตั้งไว้
    1. แผ่นโลหะด้านล่างของเตารีด ท าหน้าที่เป็นตัวกดทับเวลารีด และกระจายความร้อน

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การเลือกซื้อและการใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

    ในการใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างประหยัดพลังงาน เราไม่ควรที่จะลดปริมาณความร้อนที่ใช้ในการรีดลง แต่ควรใช้เตารีดไฟฟ้า รีดผ้าอย่างรวดเร็วที่ระดับความร้อนที่เหมาะสมกับความหนาและชนิดของผ้า รวมทั้งควรปฏิบัติดังนี้

    1. เลือกซื้อเฉพาะเตารีดไฟฟ้าที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และมีฉลากเบอร์ 5
    1. เลือกซื้อขนาดและก าลังไฟฟ้าให้เหมาะกับความต้องการและลักษณะการใช้งาน

    3)ควรเก็บผ้าที่รอรีดให้เรียบร้อย และให้ผ้ายับน้อยที่สุด

    4)ควรแยกประเภทผ้าหนาและผ้าบาง เพื่อความสะดวกในการรีด

    1. ควรรวบรวมผ้าที่จะรีดแต่ละครั้งให้มากพอ การรีดผ้าครั้งละชุดท าให้สิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก
    1. ไม่ควรพรมน้ ามากจนเกินไป เพราะจะท าให้สูญเสียความร้อนจากการรีดมาก
    1. ควรเริ่มรีดจากผ้าบาง ๆ หรือต้องการความร้อนน้อยก่อน จากนั้นจึงรีดผ้าที่ต้องการความร้อนสูง และควรเหลือผ้าที่ต้องการความร้อนน้อยส่วนหนึ่ง ไว้รีดในตอนท้าย
    1. ควรถอดปลั๊กก่อนเสร็จสิ้นการรีด 3 - 4 นาท

    1. ตรวจดูหน้าสัมผัสเตารีดไฟฟ้า หากพบคราบสกปรก ให้ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเช็ดออก เพราะคราบสกปรกจะเป็นตัวต้านทานความร้อน ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้นในการเพิ่มความร้อน

    2. สำหรับเตารีดไฟฟ้าไอน้ำ น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำกลั่นเพื่อป้องกันการเกิดตะกรัน ซึ่งตะกรันจะเป็นสาเหตุของการเกิดความต้านทานความร้อน

    3. เมื่อเกิดการอุดตันของช่องไอน้ำซึ่งเกิดจากตะกรัน เราสามารถกำจัดได้โดยเติมน้ำส้มสายชูลงในถังเก็บน้ำของเตารีดไฟฟ้าไอน้ำ แล้วเสียบสายไฟให้เตารีดร้อนเพื่อทำให้น้ำส้มสายชูกลายเป็นไอ จากนั้นเติมน้ำลงไป เพื่อล้างน้ำส้มสายชูออกให้หมด แล้วจึงใช้แปรงเล็ก ๆทำความสะอาดช่องไอน้ำ

    4. การใช้เตารีดไฟฟ้าไปนาน ๆ แม้ว่าจะไม่เกิดการเสียหายชำรุด ก็ควรมีการตรวจหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในบางอย่าง รวมทั้งสายไฟที่ต่อกันอยู่ซึ่งอาจชำรุด เสื่อมสภาพ ทำให้วงจรภายในทำงานไม่สมบูรณ์

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    6. ตู้เย็น ตู้เย็น เป็นอุปกรณ์ที่มีใช้แพร่หลายในครัวเรือน เป็นอุปกรณ์ท าความเย็นเพื่อถนอม อาหารโดยการลดอุณหภูมิตู้เย็นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นการเลือกและใช้ ตู้เย็นอย่างเหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก

    อุปกรณ์หลัก ๆ ที่ทำให้ภายในตู้เย็นเกิดความเย็น ประกอบด้วย

    1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ในการอัดและดูดสารท าความเย็นให้หมุนเวียนในระบบของตู้เย็น

    2. แผงทำความเย็น มีหน้าที่กระจายความเย็นภายในตู้เย็น

    3. แผงระบายความร้อน เป็นส่วนที่ใช้ระบายความร้อนของสารทำความเย็นแผงระบายความร้อนนี้ติดตั้งอยู่ด้านหลังของตู้เย็น

    4. ตัวตู้เย็นทำจากโลหะ และอัดฉีดโฟมอยู่ระหว่างกลาง เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนจากภายนอก โดยปกติเราระบุขนาดของตู้เย็นเป็นคิว หรือลูกบาศก์ฟุต

    5. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิสวิตช์โอเวอร์โหลด พัดลมกระจายความเย็น ฯลฯความเย็นของตู้เย็นเกิดขึ้นจากระบบทำความเย็น เมื่อเราเสียบปลั๊กไฟฟ้าให้กับตู้เย็นคอมเพรสเซอร์จะดูดและอัดไอสารท าความเย็นให้มีความดันสูงขึ้น และไหลไปยังแผงระบาย ความร้อนเพื่อถ่ายเทความร้อนสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก จากนั้นจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวไหลผ่านวาล์วควบคุมสารท าความเย็นเพื่อลดความดัน ไหลต่อไปที่แผงท าความเย็นเพื่อดูดความร้อนจากอาหารและเครื่องดื่มที่แช่อยู่ในตู้เย็น ณ จุดนี้สารทำความเย็นจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ และกลับไปยังคอมเพรสเซอร์เพื่อเริ่มวงจรทำความเย็นใหม่อีกครั้ง

    การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

    1. เลือกซื้อตู้เย็นที่ได้รับการรับรองฉลากเบอร์5
    1. เลือกซื้อประเภทและขนาดให้เหมาะกับความต้องการและลักษณะการใช้งาน
    1. ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการเปิด - ปิดตู้เย็น เพราะเมื่อเปิดตู้เย็นความร้อนภายนอกจะไหลเข้าตู้เย็น ทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในตู้เย็นให้คงเดิมตามที่ตั้งไว้
    1. ถ้าอุณหภูมิโดยรอบสูงขึ้น ปริมาณความร้อนจะถูกถ่ายเทเข้าไปในตู้เย็นมากขึ้นเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบทำความเย็น ดังนั้นจึงไม่ควรติดตั้งตู้เย็นใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อนใด ๆ หรือรับแสงอาทิตย์โดยตรง
    1. ไม่เก็บอาหารในตู้เย็นมากเกินไป เพราะจะทำให้อุณหภูมิในตู้เย็นไม่สม่ำเสมอควรให้มีช่องว่าง เพื่อให้อากาศภายในไหลเวียนได้สม่ำเสมอ
    1. ถ้านำอาหารที่มีอุณหภูมิสูงไปแช่ในตู้เย็นจะส่งผลกระทบดังนี้

    (6.1) ทำให้อาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงเสื่อมคุณภาพหรือเสียได้

    (6.2) หากตู้เย็นกำลังทำงานเต็มที่จะทำให้ไอสารทำความเย็นก่อนเข้าเครื่องอัดร้อนจนไม่สามารถทำหน้าที่หล่อเย็นคอมเพรสเซอร์ได้เพียงพอ และส่งผลให้อายุคอมเพรสเซอร์สั้นลง

    (6.3) สูญเสียพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

    1. เมื่อดึงปลั๊กออกแล้วไม่ควรเสียบปลั๊กใหม่ทันที เพราะเมื่อเครื่องหยุด สารทำความเย็นจากส่วนที่มีความดันสูงจะไหลไปทางที่มีความดันต่ าจนความดันภายในวงจรเท่ากันดังนั้นถ้าคอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานทันทีสารทำความเย็นยังไหลกลับไม่ทัน เครื่องจึงต้องออกแรงฉุดมากเพื่อเอาชนะแรงเฉื่อยและแรงเสียดทาน ซึ่งจะส่งผลให้มอเตอร์ของเครื่องอัดทำงานหนักและเกิดการช ารุดหรืออายุการใช้งานสั้นลง

    1. สำหรับตู้เย็นที่มีแผงระบายความร้อนควรทำความสะอาดแผงระบายความร้อนตู้เย็นสม่ำเสมอ ถ้ามีฝุ่นเกาะสกปรกมาก จะระบายความร้อนไม่ดีมอเตอร์ต้องทำงานหนัก เปลืองไฟมากขึ้น

    2. อย่าให้ขอบยางประตูมีจุดช ารุดหรือเสื่อมสภาพ เพราะความร้อนจะไหลเข้าตู้เย็นทำให้มอเตอร์ต้องท างานหนักและเปลืองไฟฟ้ามาก ตรวจสอบโดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยางประตูแล้วปิดประตูถ้าสามารถเลื่อนกระดาษไปมาได้แสดงว่าขอบยางเสื่อมสภาพ ควรติดต่อช่างมาเปลี่ยนขอบยาง

    3. อุปกรณ์ระบายความร้อน จะติดตั้งอยู่ด้านหลังตู้เย็น เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดีควรวางตู้เย็นให้มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 10 ซม. ด้านบนอย่างน้อย 30 ซม. ด้านข้างอย่างน้อย 2 - 10 ซม.

    หลอดไฟ เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างที่มีใช้กันทุกครัวเรือน ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการ ดำรงชีวิต นอกจากประโยชน์ในเรื่องแสงสว่างแล้ว ยังสามารถใช้ในการตกแต่ง และสร้าง บรรยากาศอีกด้วย โดยหลอดไฟที่ใช้กันอยู่มีหลายชนิด มีคุณสมบัติในการให้แสงสว่างและทาง ไฟฟ้าต่างกัน ดังนั้นหากผู้ใช้รู้จักเลือกใช้หลอดไฟอย่างเหมาะสม จะทำให้สามารถประหยัด พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายได้มาก เพื่อให้สามารถเลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง ผู้ใช้ควรรู้จักคุณสมบัติ ของหลอดไฟก่อน ซึ่งคุณสมบัติของหลอดไฟต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วนมากมักจะมีบอกอยู่ที่ข้างกล่อง หรือฉลากกำกับผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อจึงควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติดังกล่าว เพื่อเลือกซื้อ 119 หลอดไฟประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ต่อไปนี้คือ ชนิด คุณสมบัติและลักษณะการใช้ของ หลอดไฟประเภทต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในบ้านพักและอาคารต่าง ๆ

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    นอกจากชนิดของหลอดดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหลอดไฟชนิดอื่น ๆ อีกมากมายให้ผู้ ใช้ได้เลือกใช้ตามลักษณะหรือวัตถุประสงค์ของงาน เช่น ไฟส่องสว่างในรูปแบบต่าง ๆ ไฟประดับ และตกแต่ง เป็นต้น

    การเลือกซื้อและการใช้อย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน

    1. ส ารวจรูปทรงของหลอดไฟ เพื่อก าหนดการใช้งาน ทิศทางการให้แสง และองศาของแสง
    1. ส ารวจขั้วหลอดที่ใช้ซึ่งมีแบบขั้วเกลียว ขั้วเกลียวเล็ก ขั้วเข็ม หรือขั้วเสียบ
    1. ตรวจสอบว่า ต้องมีอุปกรณ์ใดที่ใช้กับหลอดไฟ หรือ โคมไฟ เช่น หม้อแปลง บัลลาสต์ สวิตช์หรี่ไฟ เป็นต้น
    1. พิจารณาคุณสมบัติของหลอดไฟ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยคุณสมบัติของหลอดไฟที่ต้องน ามาพิจารณา มีดังนี้

    - ค่าฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux) เป็นปริมาณแสงสว่างทั้งหมดที่ได้

    จากแหล่งก าเนิดแสง มีหน่วยวัดเป็นลูเมน (lm)

    - ค่าความสว่าง (Illuminance) เป็นปริมาณแสงสว่างที่ตกกระทบบนวัตถุ(lumen) ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร (lm/sq.m.) หรือ ลักซ์(Lux) นั่นเองโดยทั่วไป อาจเรียกว่า ระดับความสว่าง (Lighting level) จึงเป็นตัวที่บอกว่าแสงที่ได้เพียงพอหรือไม่

    - ค่าความเข้มการส่องสว่าง (Luminous Intensity) เป็นความเข้มของแสงที่ส่องออกมาจากวัตถุ โดยทั่วไปจะวัดเป็นจ านวนเท่าของความเข้มที่ได้จากเทียนไข 1 เล่ม จึงมีหน่วยเป็นแคนเดลา (Candela, cd)

    - ค่าความส่องสว่าง (Luminance) เป็นตัวที่บอกปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุ (candela) ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร (cd/sq.m.) บางครั้งจึงอาจเรียกว่า ความจ้า (Brightness)

    - ค่าประสิทธิผล (Efficacy) เป็นปริมาณแสงสว่างที่ออกมาต่อก าลังไฟฟ้าที่ใช้ มีหน่วยวัดเป็น ลูเมนต่อวัตต์(lm/w) หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูง แสดงว่า หลอดนี้ให้ปริมาณแสงออกมามากแต่ใช้ก าลังไฟฟ้าน้อย

    - ค่าความถูกต้องของสี(Colour Rendering, Ra หรือ CRI) เป็นค่าที่ใช้บอกว่าหลอดไฟประเภทต่าง ๆ เมื่อแสงส่องสีไปบนวัตถุจะท าให้สีของวัตถุนั้นผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ไม่มีหน่วยแต่มักเรียกเป็น เปอร์เซ็นต์ (%) ตามค่าความถูกต้อง เช่น แสงอาทิตย์มีค่า Ra = 100 เพราะแสงอาทิตย์ให้สเปกตรัมครบทุกสี เมื่อส่องไปบนวัตถุจะไม่เห็นความผิดเพี้ยนของสีเป็นต้น

    - ค่าอุณหภูมิสีของแสง (Color Temperature) สีของแสงที่ได้จากหลอดไฟเทียบกับสีที่เกิดจากการเผาวัตถุด าอุดมคติให้ร้อนที่อุณหภูมินั้น มีหน่วยเป็นเคลวิน (K) อุณหภูมิสีเป็นตัวที่บอกว่าแสงที่ได้มีความขาวมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีค่าอุณหภูมิสีของแสงต่ าแสงที่ได้จะออกมาในโทนเหลืองหรือแดง ถ้ามีค่าอุณหภูมิสีของแสงสูงแสงที่ได้จะออกมาในโทนขาวกว่า ในท้องตลาดทั่วไปมีให้เลือก 3 โทนสีนอกจากนี้แล้วสิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติม คือ โทนสีของอุณหภูมิสีของแสง เพื่อให้สามารถได้แสงตามต้องการ โดยโทนสีของหลอดไฟในปัจจุบัน มีดังนี้

    - สีวอร์มไวท์ (Warm White) ให้แสงสีแดงออกโทนส้ม เป็นโทนสีร้อนโทนอบอุ่น ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ ต่ ากว่า 3,000 เคลวิน

    - สีคูลไวท์ (Cool White) ให้แสงสีจะเริ่มออกมาทางสีขาว เป็นโทนสีที่ดูเย็นสบายตา ดูค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์ ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 3,000 -4,500 เคลวิน

    - สีเดย์ไลท์ (Day Light) ให้แสงสีโทนออกขาวอมฟ้า แต่คล้ายแสงธรรมชาติตอนเวลากลางวัน ดังนั้นค่าความถูกต้องของสีจึงมีมากกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์หรือสีคูลไวท์ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 4,500 - 6,500 เคลวิน ขึ้นไป

    1. พิจารณาถึงค่าความสว่างที่เหมาะสม โดยสมาคมไฟฟ้าและแสงสว่างแห่งประเทศไทย ได้มีการก าหนดค่าความส่องสว่างที่เหมาะสมของแต่ละห้องในบ้าน ดังตาราง

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    1. พิจารณาโดยค านึงถึงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า หลอดไฟแต่ละชนิดจะใช้ พลังงานไฟฟ้าแตกต่างกัน โดยหลอด LED จะประหยัดไฟฟ้ามากที่สุด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบการ ใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายของหลอดไฟทั้ง 3 แบบ ได้ดังตาราง

    การใช พล งงานไฟฟ าในช ว ตประจ าว น ม.ต น

    1. ควรเลือกซื้อหลอด LED หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ที่มีฉลากเบอร์ 5เนื่องจากกินไฟน้อย และมีอายุการใช้งานนาน
    1. เลือกใช้หลอดไฟที่ได้มาตรฐาน
    1. ลดจ านวนหลอดไฟในบริเวณที่อาศัยแสงธรรมชาติได้
    1. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะท างาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุด แทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อท างาน
    1. ปิดสวิตช์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน

    1. หมั่นท าความสะอาดหลอดไฟ เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรท าความสะอาดอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปีหรือทุก ๆ 3 เดือน