การทำเกษตรแนวด ง vertical farm ม ความแตกต างจากการทำการเกษตรท เราเคยเป นอย างไร

Upward Farms วางแผนสร้างฟาร์มแนวตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยจะใช้ของเสียจากปลามาเป็นปุ๋ย เพิ่มกำลังผลิตได้นับเท่าตัว และกลายเป็นความหวังในวิกฤตการณ์ด้านอาหาร เมื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น

ฟาร์มแนวตั้งคือการปลูกพืชในรูปแบบวางซ้อนกัน และใช้พลังงานจากแสงไฟประดิษฐ์แก่พืชในการสังเคราะห์แสง รูปแบบการจัดวางแนวตั้งทำให้สามารถปลูกพืชได้มากขึ้นในพื้นที่เท่ากัน และนั่นเป็นเพียงข้อดีข้อแรกเท่านั้น ฟาร์มแนวตั้งยังมีการควบคุมด้วยระบบ AI ทำให้กำหนดทุกอย่างได้แม่นยำตั้งแต่อุณหภูมิไปจนถึงความชื้น ประหยัดทรัพยากรด้วยรูปแบบฟาร์มที่ไม่ต้องกังวลถึงการสูญเสียน้ำที่ไม่จำเป็น และทำให้ผลผลิตออกดอกออกผลอย่างสม่ำเสมอกว่าเกษตรกรรมดั้งเดิม

ข้อเสียของฟาร์มแนวตั้งคือราคา แสงแดดจากธรรมชาติที่ไม่มีบิลค่าไฟมีราคาถูกกว่าแสงไฟประดิษฐ์แบบไม่ต้องเปรียบเทียบ ฟาร์มแนวตั้งส่วนใหญ่ยังต้องใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ ระบบน้ำ และเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้การปลูกพืชรูปแบบนี้เต็มไปด้วยต้นทุนที่สูงกว่าเดิม

เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ฟาร์มแนวตั้ง 2 แห่ง ของ Upward ในบรูกลิน ไม่ได้ปลูกพืชเพียงอย่างเดียวแต่มีฟาร์มปลาในตัวด้วย ซึ่งของเสียจากปลาจะถูกกรองออกจากถังและใช้แทนปุ๋ยสังเคราะห์ บริษัทฟาร์มแนวตั้งแดนลุงแซมเปิดเผยว่าวิธีการนี้ทำให้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และมีผลอย่างมากต่อการตั้งราคาให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Upward ได้ประกาศแผนการสร้างฟาร์มแนวตั้งขนาด 250,000 ตารางฟุต ในรัฐเพนซิลเวเนีย ที่จะพร้อมเดินเครื่องผลิตพืชออกมาในปี 2023 และกลายเป็นฟาร์มแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเช่นเดียวกับฟาร์มที่อื่นของบริษัท ฟาร์มแห่งนี้จะผลิตทั้งพืชผักและปลา ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของฟาร์มจะช่วยกระจายสินค้าไปยังผู้คนได้เร็วมากขึ้นด้วย

“ฟาร์มแห่งนี้จะทำให้เราเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา ที่มีประชากรอาศัยอยู่ราวหนึ่งร้อยล้านคนได้ภายในวันเดียว จากที่เคยใช้เวลาราวหนึ่งสัปดาห์จากการจัดจำหน่ายจากฟาร์มในแถบชายฝั่งตะวันตก” Jason Green ซีอีโอของ Upward ตั้งเป้ากระจายสินค้าให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น

แม้พืชผลส่วนใหญ่ของโลกยังคงปลูกในฟาร์มแบบดั้งเดิม แต่การทำฟาร์มแนวตั้งอาจกลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญที่จะเลี้ยงปากท้องผู้คนในอนาคต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศัตรูตัวฉกาจของการทำฟาร์มแบบดั้งเดิม แม้เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยพัฒนาพืชผลให้เหมาะกับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งกว่าเดิม แต่ความสามารถของฟาร์มแนวตั้งในการผลิตที่มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม จะมีบทบาทมากขึ้นเมื่อประชากรโลกสูงขึ้นในอนาคต

สวนผักในตัวอาคารที่เรียกว่า Vertical Farming ของบริษัท AeroFarms ในรัฐ New Jersey ต่างจากสวนผักแบบดั้งเดิมที่เราเห็นกันทั่วไป เพราะตั้งอยู่ภายในตัวอาคารที่อยู่ในตัวเมือง Newark

บริษัทนี้ปลูกผักใบเขียวได้ตลอดทั้งปี โดยใช้เเสงจากหลอดไฟระบบ LED ที่ประหยัดและทนทานกว่า ใช้ระบบให้สารอาหารผ่านทางรากที่เรียกว่า aeroponic mist และใช้ผ้าในการปลูกซึ่งยังนำไปหมุนเวียนใช้ใหม่ได้

นาย David Roseberg ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของบริษัท AeroFarms กล่าวว่า การตัดสินใจพัฒนาการเพาะปลูกผักใบเขียวเเบบใหม่นี้ เป็นผลดีต่อทั้งบริษัทและต่อสิ่งเเวดล้อม

วิธีปลูกผักในร่มนี้ลดการใช้น้ำลงมาได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ และภายในราว 16 วัน สวนผักในตัวอาคารของบริษัทให้ผลผลิตต่อหนึ่งตารางฟุต สูงกว่าการปลูกในไร่นาทั่วไปถึง 80 เท่าตัว การปลูกผักในตัวอาคารของบริษัท AeroFarms ยังใช้ปุ่ยน้อยกว่าการปลูกผักวิธีดั้งเดิมถึงครึ่งหนึ่งและไม่ใช้สารเคมีฆ่าเเมลง

บริษัท AeroFarms ดำเนินธุรกิจปลูกผักในร่มเเล้วใน 4 ทวีปด้วยกัน และสวนผักในอาคารพื้นที่รวม 65,000 ตารางเมตรภายในตัวเมือง Newark กำลังจะเริ่มดำเนินการในเร็ววันนี้ ทางบริษัทได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตให้สูงขึ้น และจะขยายธุรกิจปลูกผักในร่มออกไปทั่วโลก

นาย Marc Oshima หัวหน้าฝ่ายการตลาดบริษัท AeroFarms กล่าวว่า ทางบริษัทมองว่าเมืองใหญ่เป็นโอกาสทางธุรกิจปลูกผักในร่ม โดยดูปัจจัยของความหนาเเน่น จำนวนประชากร และผู้บริโภคผักใบเขียว

สวนผักในร่มของบริษัทยังมีห้องทดลองชิมผักอีกด้วย Alina Zolotareva นักโภชนาการอาหารที่บริษัท AeroFarms กล่าวว่า เป้าหมายของเธอคือการกระตุ้นให้คนอเมริกันรับประทานผักใบเขียวกันมากขึ้น เพื่อผลดีต่อสุขภาพ ดังนั้นรสชาดของผักจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

เธอกล่าวว่าชาวอเมริกันรับประทานผักน้อย ทางบริษัทจึงมุ่งผลิตผักที่มีรสชาดหลากหลายเพื่อทำให้ผักกินง่ายและไม่น่าเบื่อ

โรงเรียนมัธยมต้น Phillip’s Academy ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสวนผักของบริษัท ก็ได้นำวิธีปลูกผักใบเขียวในร่มไปทดลองในโรงเรียนเเล้ว เพื่อเก็บผลผลิตผักที่ได้เข้าโครงการอาหารกลางวันที่โรงเรียน

จากความเชื่อที่ว่า “อีก 50 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มจาก 6.2 พันล้านคนไปเป็น 9.5 พันล้านคน แต่ในขณะที่ปัจจุบันเรากลับใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเกษตรไปแล้วถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถึงตอนนั้นการเกษตรแบบเดิมจะเลี้ยงคนทั้งโลกได้อย่างไร” จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการทำเกษตรกรรมแนวดิ่ง (Vertical Farming) ของ Prof. Dickson Despommier แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำเกษตรแนวด ง vertical farm ม ความแตกต างจากการทำการเกษตรท เราเคยเป นอย างไร

เพราะการทำเกษตรในปัจจุบันนั้นอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากเมือง นั่นหมายถึงต้องมีการขนส่ง ทำให้ต้องใช้พลังงานมาก รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

การย้ายไร่นามาอยู่บนอาคารในเมืองเป็นการผลิตที่ใกล้ผู้บริโภคและสามารถควบคุมให้มีการรบกวนต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด อีกทั้งจะเกิดแรงงานในภาคการเกษตรรูปแบบใหม่ โดยการเกษตรแบบแนวดิ่งกลางเมืองใหญ่จะผลิตอาหารที่สังคมชนบทเคยผลิตด้วยวิธีการที่ควบคุม พืชผลจะไม่ถูกรบกวนโดยสภาพอากาศ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนเนื่องจากไม่ต้องมีการขนส่งผลผลิตจากชนบทเข้ามาสู่เมือง เมื่อพื้นที่การทำเกษตรแนวราบมีความจำเป็นน้อยลง เราจึงสามารถปล่อยพื้นที่ดังกล่าวกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วยการสร้างพื้นที่ป่าบนผืนเกษตรที่ทิ้งแล้ว เพื่อให้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศต่อไป

เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อทำฟาร์มในอาคารนั้นมีตั้งแต่การติดแผง Solar Cell ที่อยู่เหนือยอดตึกซึ่งสามารถหมุนตามดวงอาทิตย์ได้ รวมไปถึงกังหันลมที่ช่วยดักลมเพื่อนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้า พืชผักเหลือทิ้งหรือมูลสัตว์ที่เลี้ยงในอาคารจะถูกนำมาทำพลังงานชีวมวล รูปทรงของอาคารถูกออกแบบให้เป็นทรงกระบอกเพื่อให้แสงสว่างส่องเข้ามาอย่างมีประสิทธิภาพ กระจกจะถูกเคลือบด้วย Nano Titanium เพื่อให้สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ โดยอาคารจะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ Smart Farm ซึ่งจะทำให้อาคารนี้ทำการเพาะปลูกพืชได้ 24 ชม. ทั้งปี พืชที่ปลูกนั้นจะไม่ใช้ดิน แต่จะปลูกโดยการจุ่มรากในน้ำหรืออากาศ แล้วสเปรย์ความชื้นกับสารอาหารให้ จึงทำให้สามารถเรียงแปลงปลูกซ้อนๆ กันได้ และน้ำที่เกิดจากการคายน้ำของพืชจะมีความบริสุทธิ์สูง เราสามารถดักจับความชื้อแล้วนำน้ำมารวมกันบรรจุขวดขายได้ โดยน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมในอาคารนี้ สามารถกรองและนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อรดน้ำให้พืชได้

การทำเกษตรแนวด ง vertical farm ม ความแตกต างจากการทำการเกษตรท เราเคยเป นอย างไร
การทำเกษตรแนวด ง vertical farm ม ความแตกต างจากการทำการเกษตรท เราเคยเป นอย างไร
การทำเกษตรแนวด ง vertical farm ม ความแตกต างจากการทำการเกษตรท เราเคยเป นอย างไร

การออกแบบทั้งหมดที่กล่าวมาอาจฟังแล้วดูเหมือนความเพ้อฝัน แต่แนวคิดดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป เพราะเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้มีการลงนามข้อตกลงระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนานยาง แห่งสิงคโปร์ (NTU) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านวิศวกรรมชั้นนำของเอเชียกับบริษัทแพลนทากอน (Plantagon) ซึ่งเป็นบริษัทที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรกรรมแนวดิ่ง เกษตรกรรมในเมือง โดยมีเป้าหมายจะให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีเกษตรแนวดิ่งและเกษตรในเมืองของเอเชีย

หากการเกษตรแนวดิ่งในไทยเกิดขึ้นจริงบ้าง งานนี้เกษตรกรไม่ต้องง้อน้ำฝนจากธรรมชาติอีกต่อไป อีกทั้งตะไคร้คงไม่ต้องปักอีกแล้ว เพราะได้ป่าคืนน้ำไม่ท่วมแน่นอน เอ้า รอลุ้นกันอีกทีว่าตื่นจากความฝันแล้วความจริงจะเป็นยังไงต่อไป...เรื่องดีๆ แบบนี้ขอเอาใจช่วย

การทำเกษตรแนวดิ่ง (Vertical Farm) มีความแตกต่างจากการทำการเกษตรที่เราเคยเห็นอย่างไร

เกษตรแบบใหม่ จะเปลี่ยนการเกษตรจากที่เคยทำในแนวราบในชนบท มาเป็นการเกษตรแบบแนวดิ่งกลางเมืองใหญ่ Vertical Farming จะ ผลิตอาหารที่สังคมชนบทเคยผลิต ด้วยวิธีการที่ควบคุม พืชผลจะไม่ถูกรบกวนโดยสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็น พายุฝน ภัยแล้ง ดินเสีย การเกษตรแบบไม่ใช้ดินจะดันยอดผลผลิตขึ้นไปอีก 5-30 เท่า นอกเหนือไปจากนี้ Vertical Farming ...

การทำเกษตรแนวดิ่งมีความแตกต่างอย่างไร

การเกษตรแนวตั้ง หรือ Vertical Farm หมายถึง การปลูกพืชเป็นชั้น ๆ มีการให้น้ำ อาหาร และแสงโดยการควบคุมจากมนุษย์ ปลูกในโรงเรือนที่มีหลังคา มีตาข่ายป้องกันแมลงเข้ามากัดกินผลผลิต ปลูกพืชได้โดยไม่จำกัดฤดูกาล และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

การทำเกษตรแนวดิ่งมีประโยชน์อย่างไร

ฟาร์มแนวตั้งนี้สร้างขึ้นเพื่อทดแทนภาวะขาดแคลนอาหารในประเทศ และลดภาระการนำเข้าพืชผักผลไม้จากต่างประเทศ ข้อดีของฟาร์มแนวตั้งคือช่วยประหยัดพื้นที่เพาะปลูกได้มากกว่า ลดการใช้น้ำได้ถึง 95% และลดระยะทางในการขนส่ง ซึ่งส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ตัวการทำให้โลกร้อน

การเกษตรแบบแนวดิ่งช่วยแก้ปัญหาด้านใดได้ดีที่สุด

การเกษตรแนวดิ่งยังช่วยย้ายแหล่งผลิตอาหารไปตั้งอยู่ในพื้น ที่ระแวกเดียวกันกับที่อยู่ของผู้บริโภค ซึ่งเท่ากับไม่เพียงช่วยลดต้นทุนการผลิตอาหารแล้วยังช่วยลด การปลดปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการขนส่งได้อีกด้วย