การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

คณะนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย จัดแข่งขันตอบปัญหาทางกฏหมายระดับมัธยมปลาย

ในโอกาสครบรอบ 60 ปีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะนิติศาสตร์ ได้จัดการแข่งขันตอบปัญหาทางกฎหมาย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2565 เพื่อเป็นการเสริมประสบการณ์และความรู้ทางด้านกฎหมายให้แก่นักเรียนที่สนใจด้านกฎหมาย และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะนิติศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มน้องๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมากยิ่งขึ้น โดยมี รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวต้อนรับผู้เข้าแข่งขัน ทั้งนี้มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 50 โรงเรียน ซึ่งผลการแข่งขันมีดังนี้ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง (ทีม 1) , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนา รัชดา (ทีม 2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร (ทีม 2) โดยมี ผศ.ดร.ณัฐริกา แชน คณบดีคณะนิติศาสตร์ และ ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เป็นผู้มอบรางวัล ณ ห้องปฏิบัติการ Event Lab อาคาร 23 ชั้น 7 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

การแข งข นกฎหมาย ม.ท กษ ณ ระด บม.ปลาย

โดยเปิดการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายในช่วงแรกให้แก่ผู้ที่สนใจซึ่งต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาอื่นมาแล้ว (หรือที่เรียกว่า “ภาคบัณฑิต”) ก่อนที่จะจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีให้แก่นักเรียนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีภูมิลำเนาหรือศึกษาอยู่ในภาคเหนือของประเทศ การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีมาตรฐานภายใต้หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวกันกับที่ท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิต การถ่ายทอดความรู้เป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายในสาขาต่าง ๆ ทั้งที่ประจำอยู่ที่ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง

ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีการบริหารจัดการภายใต้หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุงใหม่) พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สร้างความโดดเด่นให้แก่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง โดยกำหนดให้มี “สาขากฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Law and Sustainable Development)” ซึ่งเป็นสาขากฎหมายใหม่และเปิดการเรียนการสอนเฉพาะที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เท่านั้น

ในสาขากฎหมายใหม่นี้ประกอบไปด้วยรายวิชาต่าง ๆ ทางด้านกฎหมายเกือบ 20 วิชา โดยมุ่งหวังที่จะสร้างนักกฎหมายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น มุ่งสร้างนักกฎหมายที่ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนรุ่นหลัง ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่จำกัดอย่างเห็นและตระหนักถึงคุณค่า การให้ความสำคัญแก่การรักษาสภาพเศรษฐกิจที่ดี ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำลายเศรษฐกิจของประเทศอื่น และการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์โดยส่วนใหญ่ของสังคม อีกทั้งรักษาไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลก ซึ่งหลักการนี้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและการอยู่ร่วมกันบนโลกอย่างสันติสุขภายใต้การให้ความสำคัญโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN)

โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน ณ คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เป็นหลักสูตรเดียวกันกับหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่เปิดสอน ณ คณะนิติศาสตร์ ศูนย์รังสิต อันประกอบด้วยการศึกษารายวิชารวมกันไม่น้อยกว่า 146 หน่วยกิต ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี

คณะนิติศาสตร์ ศูนย์ลำปางรับนักศึกษาที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาประมาณปีละ 200 คนโดย โดยเปิดรับสมัคร 2 รอบดังต่อไปนี้

  • รอบที่ 2 โควต้าพื้นที่ (ศูนย์ลำปาง) รับนักเรียน/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ใน เขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง พิษณุโลก นครสวรรค์ แพร่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และ อุทัยธานี และ เขตพื้นที่ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี รอบที่่ 3 Admissions แบ่งเป็น Admission 1 (สอบตรงนิติ มธ.) และ Admission 2 (Admission เดิม) นอกจากนี้การเรียนการสอนที่จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ยังเน้นความผูกพัน ความใกล้ชิด และความอบอุ่นระหว่างคณาจารย์ประจำศูนย์ลำปางและนักศึกษาที่เข้ามาเรียนประมาณ 200 คนในแต่ละปี เน้นการใช้ชีวิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ บรรยากาศร่มรื่น และปราศจากความเร่งรีบจากสภาพการจราจรที่แออัดในเมืองใหญ่ นักศึกษานิติศาสตร์ ศูนย์ลำปางทุกคนจะมีเวลาอย่างเพียงพอในการบริหารจัดการทั้งเรื่องการเรียน กิจกรรม และการพักผ่อนได้อย่างลงตัวโดยปราศจากความกังวลในเรื่องคุณภาพการศึกษาและโอกาสในการประกอบอาชีพซึ่งมีอยู่อย่างเท่าเทียมกันในทุกศูนย์การศึกษา