สายไฟฟ ามหานคร 37 3 ม.7 ซ.คอกควาย ถ.พระราม2 ท อย

โครงการมีระยะทางทั้งหมด 185 กิโลเมตร 44 สถานี เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ–ใต้ ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง, รังสิต, ปทุมธานีและอยุธยา) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอนและมหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอกตามแนวคิดการขยายผังเมือง รองรับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ พื้นที่ชุมชนบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทราที่กำลังมีการเติบโตในอัตราสูง เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี ไปยังเมืองมหาวิทยาลัยบริเวณรังสิต อยุธยา เชื่อมโยงไปยังบ้านภาชี

ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็นหลายส่วน ประกอบด้วยช่วงบางซื่อ–รังสิต ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราวจนกว่าจะได้เอกชนดำเนินการใน พ.ศ. 2570 โดยช่วงรังสิต–มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และช่วงบางซื่อ–หัวลำโพง อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดประมูลการก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2565 ส่วนช่วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์–บ้านภาชี และช่วงหัวลำโพง–มหาชัย–ปากท่อ ยังเป็นเพียงแผนงาน

ภาพรวม[แก้]

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทางวิ่งทั้งระดับดิน (At grade level) ยกระดับ และใต้ดิน ผสมกันตลอดเส้นทาง ดำเนินการโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในลักษณะของการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางหลักในแนวเหนือที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายเหนือ และใต้ที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายแม่กลอง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี ผ่านนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และมหาวิทยาลัยรังสิต ผ่านตัวเมืองรังสิตเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งเหนือ จากนั้นยกระดับขึ้นเหนือพื้นดินเข้าสู่พื้นที่กองทัพอากาศอันเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานดอนเมือง เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครย่านบางซื่อ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จากนั้นลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อวิ่งผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานียมราช รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมที่สถานียศเส และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีหัวลำโพง แล้วมุ่งหน้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พื้นที่ฝั่งธนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีคลองสาน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ จากนั้นยกระดับขึ้นกลับเป็นทางยกระดับเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งใต้ตามทางรถไฟสายแม่กลอง เข้าสู่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อผ่านตัวเมืองมหาชัยแล้วมุ่งหน้าข้ามแม่น้ำท่าจีน เพื่อมุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรสงคราม และตลาดร่มหุบแม่กลอง เพื่อข้ามแม่น้ำแม่กลอง วิ่งคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 เข้าสู่จังหวัดราชบุรี เพื่อสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีรถไฟปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้ที่จะมุ่งหน้าสู่ภาคใต้ต่อไป รวมระยะทางทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน[แก้]

ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด ภาชี / ไผ่ล้อม / กระจิว ภาชี พระนครศรีอยุธยา ข้าวเม่า อุทัย หนองปลิง นครหลวง บ้านเกาะ / หอรัตนไชย / กะมัง / เกาะเรียน พระนครศรีอยุธยา ขนอนหลวง / บ้านโพธิ์ / บางกระสัน / เชียงรากน้อย บางปะอิน คลองหนึ่ง คลองหลวง ปทุมธานี ประชาธิปัตย์ ธัญบุรี หลักหก เมืองปทุมธานี สีกัน / สนามบิน / ดอนเมือง ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ตลาดบางเขน หลักสี่ ลาดยาว / จตุจักร จตุจักร บางซื่อ บางซื่อ สามเสนใน พญาไท สวนจิตรลดา ดุสิต รองเมือง ปทุมวัน มหาพฤฒาราม / บางรัก บางรัก คลองต้นไทร / คลองสาน คลองสาน บางยี่เรือ / ตลาดพลู ธนบุรี บางค้อ / บางขุนเทียน จอมทอง คลองบางบอน / บางบอนใต้ บางบอน แสมดำ บางขุนเทียน บางน้ำจืด / คอกกระบือ / โคกคาม / มหาชัย / ท่าฉลอม / ท่าจีน / บางกระเจ้า / บ้านบ่อ / บางโทรัด / กาหลง / นาโคก เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร ลาดใหญ่ / บางแก้ว / แม่กลอง / ท้ายหาด / บางขันแตก เมืองสมุทรสงคราม สมุทรสงคราม สวนหลวง / ปลายโพงพาง / วัดประดู่ อัมพวา วัดยางงาม / ปากท่อ ปากท่อ ราชบุรี

แนวเส้นทาง[แก้]

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา มีแนวเส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ตลอดจนจังหวัดบริวารใกล้เคียง มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ในแนวเหนือ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งขึ้นไปทางเหนือตามแนวทางรถไฟสายเหนือไปจนพ้นพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน รถไฟฟ้าจะวิ่งข้ามทางพิเศษศรีรัช และถนนรัชดาภิเษกช่วงใกล้ ๆ กับทางแยกต่างระดับรัชวิภา จากนั้นเมื่อผ่านสถานีวัดเสมียนนารีไป แนวเส้นทางจะวิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ด้วยการคร่อมบนถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งปรับแก้มาจากแนวเส้นทางเดิมเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างร่วมกับโครงการโฮปเวลล์เดิม ระหว่างทางจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน, รถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง คือสายเหนือ, สายอีสาน และสายเชื่อม 3 สนามบิน ที่สถานีดอนเมืองบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงกลับไปวิ่งตามทางรถไฟสายเหนือตลอดทางจนกระทั่งสิ้นสุดเส้นทางในส่วนเหนือที่สถานีรถไฟบ้านภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในแนวใต้ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานียมราช ก่อนผุดขึ้นมาอยู่ในแนวถนนเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานียศเส และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีหัวลำโพง จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับลงใต้ดินและวิ่งแนวตรงมาทางใต้ตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมแล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ ใกล้ ๆ กับศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี เข้าสู่ฝั่งธนบุรี และลอดใต้โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ เข้าสู่ถนนเจริญรัถ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีคลองสาน จากนั้นวิ่งใต้ถนนเจริญรัถไปจนถึงวงเวียนใหญ่เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ แล้ววิ่งต่อตามแนวทางรถไฟสายแม่กลอง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกครั้งที่สถานีวุฒากาศ จากนั้นจึงไต่ระดับกลับขึ้นมาเป็นรถไฟฟ้ายกระดับแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีมหาชัยใหม่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นเส้นทางจะข้ามแม่น้ำท่าจีนแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วยกระดับข้ามแม่น้ำแม่กลองแล้ววิ่งต่อในแนวขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 แล้วสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีรถไฟปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น[แก้]

สายไฟฟ ามหานคร 37 3 ม.7 ซ.คอกควาย ถ.พระราม2 ท อย

รายชื่อสถานี[แก้]

ชื่อสถานี รหัสสถานี ขบวนที่จอด จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง รถไฟฟ้า รถทางไกล รังสิตRN10● ● 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ปทุมธานี หลักหก (มหาวิทยาลัยรังสิต)RN09● - ดอนเมืองRN08● ●สายซิตี้ สถานีดอนเมือง (กำลังก่อสร้าง) กรุงเทพมหานคร การเคหะRN07● - หลักสี่RN06● -สายสีชมพู สถานีหลักสี่ ทุ่งสองห้องRN05● - บางเขนRN04● -สายสีน้ำตาล สถานีบางเขน (โครงการ) วัดเสมียนนารีRN03● - จตุจักรRN02● - กรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลาง)RN01 RS01● ●สายสีแดงอ่อน (สถานีร่วม) สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ สายซิตี้ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)

กล่องนี้:

  • ดู
  • คุย
  • แก้

รูปแบบของโครงการ[แก้]

ทางวิ่งและขบวนรถ[แก้]

สายไฟฟ ามหานคร 37 3 ม.7 ซ.คอกควาย ถ.พระราม2 ท อย
สายไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่เหนือราง

  • เป็นระบบไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น (1) ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีหัวลำโพง - สถานีวงเวียนใหญ่ รถไฟฟ้าจะลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวถนนบริเวณใต้ถนนกำแพงเพชร 5 หลังออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และจะลดระดับลงเรื่อย ๆ จนถึงความลึกระดับเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-อิสรภาพ ที่ 30 เมตรจากผิวถนน และ 7 เมตรจากใต้ท้องน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อลอดข้ามสู่ฝั่งธนบุรี เมื่อพ้นสถานีคลองสานรถไฟฟ้าจะเพิ่มระดับกลับมาอยู่ที่ 12 เมตรที่สถานีวงเวียนใหญ่ ก่อนพ้นเป็นรถไฟระดับดินที่สถานีตลาดพลู (2) ช่วงเข้า-ออกสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ทางวิ่งจะยกระดับที่ความสูงประมาณ 7 เมตรแล้วจะไต่ระดับความสูงขึ้นไปที่ 17 เมตรก่อนเข้าสถานีจตุจักร (3) ช่วงเข้าสถานีดอนเมือง รถไฟฟ้าจะยกระดับขึ้นจาก 17 เมตรเป็น 19 เมตร เพื่อเข้าชานชาลาชั้น 4 ของสถานีดอนเมือง และ (4) ช่วงดอนเมือง - รังสิต - บ้านภาชี หลังจากออกจากสถานีดอนเมือง รถไฟฟ้าจะค่อยๆ ลดระดับกลับมาอยู่ที่ 17 เมตร แล้วค่อยลดระดับลงไปที่ระดับดินเข้าสถานีหลักหก จากนั้นจะยกระดับกลับไปที่ความสูง 12 เมตรเพื่อเข้าสถานีรังสิต และลดระดับกลับลงมาเป็นระดับดินผสมกับสถานียกระดับไปจนถึงสถานีปลายทางบ้านภาชี
  • ขนาดราง 1 เมตร (Meter guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.86 เมตร ยาว 20 เมตร ต่อตู้ สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน โดย แบบ 6 ตู้จะยาว 121.2 เมตร และ แบบ 4 ตู้จะยาว 81.2 เมตร ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีจ่ายไฟต้นทางบางซื่อของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 18,213 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ[แก้]

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดิมของโรงรถจักรบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบริเวณทางทิศใต้ของสถานีคอกควายและสถานีบ้านนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางจะอยู่ในสำนักงานบริหารโครงการสายสีแดง บริเวณอาคารผู้โดยสารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สถานี[แก้]

สายไฟฟ ามหานคร 37 3 ม.7 ซ.คอกควาย ถ.พระราม2 ท อย
ชานชาลาสถานีดอนเมืองในปี 2564

ในระยะแรก (ธรรมศาสตร์รังสิต - หัวลำโพง) มีทั้งหมด 18 สถานี (ไม่รวมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 9 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับ 8 สถานี และสถานีระดับดิน 1 สถานี และสถานีส่วนต่อขยาย 9 สถานี

ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ บางส่วนของโครงการใช้โครงสร้างเดิมของโครงการโฮปเวลล์เป็นเสายึดโครงสร้างของโครงการ

ขบวนรถไฟฟ้า[แก้]

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทวิ่งชานเมืองรุ่น เอ-ซีรีส์ 1000 ที่เป็นรุ่นสั่งเฉพาะ โดยอาศัยเค้าโครงต้นแบบจาก ฮิตาชิ เอที 100 เมโทร มีทั้งหมด 15 ขบวน 90 ตู้ ต่อพ่วงขบวนละ 6 ตู้ ผลิตโดย ฮิตาชิ จุผู้โดยสารได้สูงสุด 1,366 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร) มีความเร็วสูงสุด 152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบอัตโนมัติมาตรฐานยุโรป (ETCS) ระดับที่ 1 ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ส่วนต่อขยาย[แก้]

ส่วนต่อขยายด้านเหนือ[แก้]

ส่วนต่อขยายรังสิต – ธรรมศาสตร์รังสิต[แก้]

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ: การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน: อำเภอเมืองปทุมธานี, อำเภอธัญบุรีและอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
  • สถานี: สถานี 4 สถานี ระยะทาง 10.3 กิโลเมตร
  • เปิดให้บริการ: ประมาณปี พ.ศ. 2569
  • สถานะปัจจุบัน: อยู่ในระหว่างการเร่งรัด โดยให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เร่งดำเนินงานโยธาและระบบราง คาดการณ์ว่าจะก่อสร้าง พ.ศ. 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2569

ส่วนต่อขยายธรรมศาสตร์รังสิต – บ้านภาชี[แก้]

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ: การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน: อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอนครหลวง อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • สถานี: สถานี 9 สถานี ระยะทาง 28 กิโลเมตร
  • เปิดให้บริการ: ภายในปี พ.ศ. 2572
  • สถานะปัจจุบัน: ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ในระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และเตรียมเปิดประมูลงานก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2566 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2572

รายชื่อสถานี[แก้]

รหัสสถานี สถานี โครงสร้าง กม.ที่ ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง รถไฟฟ้า รถทางไกล รังสิต – ธรรมศาสตร์รังสิตRN10รังสิต ยกระดับ ระดับดิน 38+400 ● ● จังหวัดปทุมธานีRN11คลองหนึ่ง ระดับดิน ● -RN12มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ● -RN13เชียงราก ● -RN14ธรรมศาสตร์รังสิต ● - ธรรมศาสตร์รังสิต – บ้านภาชี RN15นวนคร ระดับดิน 38+400 ● - จังหวัดปทุมธานีRN16เชียงรากน้อย 44+300 ● - จังหวัดพระนครศรีอยุธยาRN17บางปะอิน 50+400 ● -RN18บ้านโพ 55+200 ● -RN19อยุธยา 63+500 ● ● รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน, รถไฟความเร็วสูงสายเหนือRN20บ้านม้า 67+100 ● -RN21มาบพระจันทร์ 71+400 ● -RN22พระแก้ว 77+800 ● -RN23บ้านภาชี 90+469 ● ●

ส่วนต่อขยายด้านใต้[แก้]

ส่วนต่อขยายกรุงเทพอภิวัฒน์ - ปากท่อ[แก้]

ช่วงกรุงเทพอภิวัฒน์ - หัวลำโพง[แก้]
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตบางซื่อ เขตพญาไท เขตดุสิต เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • สถานี : สถานี 6 สถานี ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
  • เปิดให้บริการ : ภายใน พ.ศ. 2571
  • สถานะปัจจุบัน : ถูกรวมงานโยธาบางส่วนไว้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรอเปิดประมูลงานโยธาบางช่วงใน พ.ศ. 2565
ช่วงหัวลำโพง - มหาชัย[แก้]
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตบางรัก เขตคลองสาน เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตบางบอน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
  • สถานี : สถานี 17 สถานี ระยะทาง 36 กิโลเมตร
  • เปิดให้บริการ : ภายในปี พ.ศ. 2580
  • สถานะปัจจุบัน : กำลังปรับแก้ช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ให้เป็นแนวเส้นทางใต้ดินและทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่
ช่วงมหาชัย - ปากท่อ[แก้]
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร, อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
  • สถานี : สถานี 17 สถานี ระยะทาง 56 กิโลเมตร
  • เปิดให้บริการ :
  • สถานะปัจจุบัน : โครงการศึกษาส่วนต่อขยายเพื่อเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดราชบุรี เพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟทางคู่ช่วงศาลายา-ปากท่อ-ปาดังเบซาร์ (ทางรถไฟสายใต้) ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

รายชื่อสถานี[แก้]

รหัสสถานี สถานี โครงสร้าง กม. จากบางซื่อ ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง รถไฟฟ้า รถทางไกล จังหวัด กรุงเทพอภิวัฒน์ - หัวลำโพงRS01 RN01กรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลาง) ยกระดับ 0+000 ● ●สายสีแดงอ่อน (สถานีร่วม) สายสีน้ำเงิน สายซิตี้ กลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง) กรุงเทพมหานครRS02สามเสน ใต้ดิน 3+040 ● -RS03แยกราชวิถี n/a ● -สายสีแดงอ่อน (สถานีร่วม) RS04ยมราช 5+580 ● -สายสีส้ม ยมราช (โครงการ)RS05ยศเส ใต้ดิน 6+750 ● -สายสีลม ยศเส (โครงการ)RS06หัวลำโพง 7+500 ● ●สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง หัวลำโพง - มหาชัย อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาRS07คลองสาน ใต้ดิน 9+360 ● ●สายสีทอง คลองสาน กรุงเทพมหานครRS08วงเวียนใหญ่ 11+420 ● ●สายสีลม สายสีม่วง วงเวียนใหญ่ (โครงการ)RS09ตลาดพลู ระดับดิน 12+980 ● ●สายสีลม ตลาดพลูRS10วุฒากาศ ยกระดับ 14+120 ● ●สายสีลม วุฒากาศRS11นางนอง ● ●RS12เอกชัย 10 ● ●RS13วัดไทร 17+140 ● ●RS14วัดสิงห์ 18+440 ● ●RS15เอกชัย 48 ● ●RS16ตลาดบางบอน ● ●RS17รางโพธื์ ●RS18เอกชัย 75 ● ●RS19วงแหวนบางบอน ●RS20บางบอน 3 ●RS21บางบอน 5 ●RS22วัดโพธิ์แจ้ ●RS23พระราม 2 ● - สมุทรสาครRS24วัดบ้านขอม ● -RS25โรงพยาบาลเอกชัย ● -RS26มหาชัย 45+090 ● ● มหาชัย - ปากท่อ สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนRS27นิคมสมุทรสาคร ยกระดับ ● ● สมุทรสาครRS28ท่าฉลอม ● -RS29สีคต 51+800 ● -RS30บางกระเจ้า 53+760 ● -RS31บ้านบ่อ 55+680 ● ●RS29บางโทรัด 58+080 ● -RS32บ้านกาหลง 60+670 ● -RS33บ้านนาขวาง 62+490 ● -RS34บ้านนาโคก 64+830 ● ●RS35บ้านเขตเมือง 68+700 ● - สมุทรสงครามRS36ลาดใหญ่ 72+590 ● -RS37บางตะบูน 68+100 ● -RS38แม่กลอง 70+800 ● ● สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองRS39บางขันทอง ยกระดับ 77+500 ● - สมุทรสงครามRS40ปลายโพงพาง 83+200 ● - ราชบุรีRS41วัดเพลง 87+600 ● -RS42ปากท่อ ระดับดิน 92+600 ● ●สายใต้

แผนการก่อสร้าง[แก้]

อ้างอิงตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา แบ่งออกเป็นช่วงๆ ดังนี้

ระยะที่ ช่วง ระยะทาง สถานะ 1 ธรรมศาสตร์-บางซื่อ 36 กม. เปิดให้บริการช่วง กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต และเตรียมเปิดประมูลช่วง รังสิต-ธรรมศาสตร์ 2 กรุงเทพอภิวัฒน์ - หัวลำโพง 11 กม. รวมงานโยธาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 3 หัวลำโพง - บางบอน 18 กม. เตรียมเปิดประมูล 4 บางบอน - มหาชัย 20 กม. เลื่อนการดำเนินการออกไปอย่างไม่มีกำหนด 5 มหาชัย - แม่กลอง 34 กม. ทบทวนการศึกษา 6 แม่กลอง - ปากท่อ 22 กม. 7 ธรรมศาสตร์ - บ้านภาชี 22 กม. ยังเป็นเพียงแค่แผนงาน ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน จะดำเนินการก่อสร้างสถานีอยุธยาให้แล้วเสร็จก่อน

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในแผนงานสถานียศเสกับสถานีหัวลำโพงถูกกำหนดเป็นสถานีใต้ดินเพื่อมุ่งหน้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยความลึกระดับเดียวกับสายเฉลิมรัชมงคล แต่ในระหว่างรอความชัดเจนเรื่องส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-มหาชัย รฟท. จะสร้างเป็นระดับดิน โดยใช้ประโยชน์จากทางรถไฟและสถานีกรุงเทพเดิมที่มีอยู่แล้วไปก่อน เมื่อเริ่มก่อสร้างจริงจะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสถานีใต้ดินเต็มรูปแบบ

อ้างอิง[แก้]

  • "พระราชทานชื่อ รถไฟสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ "นครวิถี-ธานีรัถยา" และ "สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์"". ผู้จัดการออนไลน์. 29 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2022.
  • รฟท.รับมอบ “รถไฟฟ้าสายสีแดง” ชุดแรก 1 พ.ย.62 พร้อมทดสอบเดินรถไตรมาส 3/63 วันที่ 21/10/2019
  • aof (2021-06-25). "ยาหอม "สายสีแดง มธ.รังสิต" มาปี68 ธรรมศาสตร์ จ่อ MOU คมนาคมผุด TOD". ประชาชาติธุรกิจ.
  • ""ศักดิ์สยาม" หารืออธิการบดี มธ.สร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต". mgronline.com. 2021-06-25.
  • "จี้เร่งสร้างรถไฟสายสีแดงไป มธ.ศูนย์รังสิต". dailynews. 2021-06-25.
  • "ส่องความคืบหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ถึงไหนแล้ว". thansettakij.com. ช่วงบางซื่อ - มักกะสันและช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง เก็บถาวร 2020-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.otp.go.th สืบค้นเมื่อ 04-04-2563.