Self check-in suvarnabhumi airport ม สายการบ นไหนบ าง

แต่ช่วงนี้เห็นมีข่าวแถวตรวจขาออก และ ตม.ขาออก แถวยาว จึงมีคนตกเครื่องเยอะที่สุวรรณภูมิ เลยว่าจะทำการ check-in online ไปครับ

แต่ผมมีข้อสงสัยคือถ้าเราทำออนไลน์ไปเราต้องปริ้นอะไรไปไหมครับ และต้องไปรับ ticket ที่ไหนครับ หรือรับที่เคาร์เตอร์เดียวกันกับที่ drop กระเป๋าสำหรับคนทำออนไลน์มาหรือเปล่าครับ

สุดท้ายมันจะช่วยย่นระยะเวลาได้จริงๆไหมครับ ตั้งแต่มีโควิดไม่ได้ไปสนามบินเลย 3 ปี เลยไม่รู้ว่ามันยาวขนาดที่เขาว่าจริงไหม เพราะรอบนี้ไปพร้อมครอบครัวมีคนแก่ด้วยกลัวพาวิ่งไม่ทันครับ

| รวมโปรตั๋วเครื่องบิน | โปรตั๋วเครื่องบินในประเทศ| ไปใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังไงไม่ให้งงเป็นไก่ตาแตก! ด้วยทิปส์การใช้สนามบนิสุวรรณภูมิแบบง่ายๆ ที่เจาะจงเรื่องการจอดรถและเคาน์เตอร์เช็คอินโดยเฉพาะ

Self check-in suvarnabhumi airport ม สายการบ นไหนบ าง

ขอบคุณภาพประกอบจาก: ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จุดศูนย์รวมของนักเดินทางที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย เป็นสนามบินแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยที่สวยงาม ทันสมัย และยิ่งใหญ่ จนอาจเรียกได้ว่าสุวรรณภูมิ คือมหานครย่อมๆ ของเหล่านักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลก แต่ด้วยความใหญ่โตมโหฬารของสนามบินแห่งนี้เองก็อาจจะทำให้คุณประสบปัญหากับความไม่คุ้นชินในการใช้บริการ และหลงได้ง่ายๆ โดยเฉพาะก่อนเข้าเกตที่ไม่มีใครให้คุณถามว่าต้องไปตรงไหนและทำอย่างไร! แต่ไม่เป็นไร เสิร์ชเอ็นจิ้น Skyscanner มาช่วยคุณให้เข้าเกตได้อย่างสบายใจแล้ว

จอดรถที่สนามบินสุวรรณภูมิ

การเดินทางเข้าสู่สนามบิน

การเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมินั้นมีหลายรูปแบบ แต่สำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวนั้นจะมีถนนอยู่ 2 เส้นทางหลักที่คุณใช้บริการได้ดังนี้

1. ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (กรุงเทพ-ชลบุรี สายใหม่) หรือที่เรียกกันว่ามอเตอร์เวย์ เส้นทางนี้ถือเป็นถนนสายหลักที่ตรงถึงหน้าประตูอาคารผู้โดยสารทางทิศเหนือของสนามบิน เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ (ถนนพระราม 9 หรือทางพิเศษศรีรัช) จากภาคเหนือ (ถนนกาญจนาภิเษก บางนา-บางปะอิน) จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ทางหลวงหมายเลข 304 ฉะเชิงเทรา-นครราชสีมา) และจากภาคตะวันออก (มอเตอร์เวอร์ ชลบุรี-พัทยา)

2. ทางพิเศษบูรพาวิถี (ถนนบางนา-ตราด) เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ตรงเข้าสู่สนามบินจากทางทิศใต้ โดยจะผ่านถนนเลียบรันเวย์สนามบินฝั่งตะวันออก ก่อนบรรจบเข้าสู่ทางต่างระดับเพื่อเข้าอาคารผู้โดยสารทางทิศเหนือจากมอเตอร์เวย์ เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากสมุทรปราการหรือชลบุรี (ถนนบางนา-ตราด) จากรุงเทพฯ (ถนนสุขุมวิท หรือทางพิเศษเฉลิมมหานคร) และจากภาคใต้ (ถนนกาญจนาภิเษก บางนา-พระราม 2)

อาคารที่จอดรถของสนามบินสุวรรณภูมิ

สนามบินสุวรรณภูมิให้บริการจอดรถตลอด 24 ชั่วโมง รองรับรถได้รวมมากกว่า 6,000 คัน โดยแบ่งพื้นที่จอดรถออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

พื้นที่จอดรถหน้าอาคารผู้โดยสาร ประกอบด้วยอาคารจอดรถ 6 ชั้น 2 อาคาร (Zone 2 และ 3) มีทางเชื่อมตรงเข้าสู่ชั้น 3 ของอาคารผู้โดยสารอย่างสะดวกสบาย และยังมีลานจอดรถกลางแจ้งด้านข้างอาคารจอดรถอีก 2 ลานจอด (Zone 1 และ 4) คิดอัตราค่าจอดรถสูงสุดวันละ 250 บาท โดยที่จอดรถนี้คุณสามารถเดินทางมาจอดรถได้จากทางแยกต่างระดับก่อนเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร ซึ่งคุณจะเห็นที่จอดรถนี้หน้าอาคารผู้โดยสารเลย และยังเป็นที่จอดรถที่ใกล้อาคารผู้โดยสารมากที่สุด เหมาะสำหรับคนที่ต้องรีบเข้าไปใช้บริการ แต่ก็มีราคาค่าจอดรถแพงที่สุดเช่นกัน

พื้นที่จอดรถระยะยาว ประกอบด้วยลานจอดรถกลางแจ้งขนาดใหญ่ 2 ลานจอด ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์การขนส่งสาธารณะบริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของสนามบิน โดยจะมีรถชัตเทิลบัสรับ-ส่งถึงอาคารผู้โดยสารฟรี คิดอัตราค่าจอดรถสูงสุดวันละ 140 บาท หากคุณมาจากเส้นทางพิเศษบูรพาวิถี หรือถนนบางนา-ตราด ก็จะผ่านลานจอดรถระยะยาวก่อนขึ้นสู่ทางต่างระดับเข้าอาคารผู้โดยสาร หากมาจากทางทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) เมื่อเข้าสู่ทางต่างระดับเข้าพื้นที่สนามบินแล้วให้ชิดซ้ายลงทางแยกต่างระดับแรก ซึ่งจะมีป้ายบอกอย่างชัดเจน แต่หากจะใช้บริการลานจอดรถระยะยาว ควรเผื่อเวลาเดินทางอีกอย่างน้อย 30 นาทีสำหรับการรอและเดินทางต่อเข้าสู่สนามบิน

อัตราค่าจอดรถสนามบินสุวรรณภูมิ

.tftable { font-size: 11px; color:

34363d;

width: 100%; border-width: 1px !important; border-color:

fff !important;

border-collapse: collapse; }

.tftable th { font-size: 11px; background-color:

21C4D9;

line-height: 18px; border-width: 1px !important; border-style: solid; border-color:

fff !important;

padding: 6px; text-align: left; vertical-align: top; color:

ffffff;

}

.tftable tr { background-color:

E8EBED;

border-width: 1px !important; border-style: solid; border-color:

fff !important;

vertical-align: top; }

.tftable td { font-size: 11px; line-height: 18px; border-width: 1px; padding: 6px; border-style: solid; border-color:

fff !important;

vertical-align: top; float: none !important; width: auto !important; }

.tftable .tfrequirement { font-size: 11px; color:

34363D;

background:

83E000;

border-width: 1px; border-style: solid; border-color:

fff;

vertical-align: top; }

ชั่วโมงที่จอด พื้นที่จอดรถหน้าอาคารผู้โดยสาร พื้นที่จอดรถระยะยาว 0-1 25 20 2 50 40 3 80 60 4 110 80 5 145 100 6 180 120 7-24 250 140

จะเห็นได้ว่าสนามบินสุวรรณภูมิคิดค่าจอดรถเป็นชั่วโมง และ เศษของชั่วโมงก็จะคิดเป็น 1 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการจอดรถในศูนย์การค้าโดยทั่วไป แต่จะคิดค่าจอดรถตามลำดับขั้นใหม่ทุกวัน เช่นคุณจอดรถในพื้นที่จอดหน้าอาคารผู้โดยสารตั้งแต่เวลา 13:00 น. ถึง 17:00 น. ของวันรุ่งขึ้น ก็จะคิดค่าจอดรถ 360 บาท ตามเวลาจอด 1 วัน (250 บาท) กับอีก 4 ชั่วโมง (110 บาท)

อย่าลืม! เก็บบัตรจอดรถไว้กับตัวในที่ปลอดภัยเสมอ อย่าทำหายระหว่างเที่ยวเชียวล่ะ ไม่งั้นจะโดนปรับและต้องหาเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของรถให้วุ่นวายจนหมดสนุกแน่นอน

ที่จอดรถในสนามบินสุวรรณภูมิ ควรจอดรถที่ไหนดี

จะจอดรถที่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณเผื่อเวลาในการเดินทางไว้มากแค่ไหน เพราะทั้ง 2 ที่จอดรถนั้นไม่มีข้อจำกัดว่าต้องจอดรถได้ไม่เกินกี่วัน หรือต้องจอดเกินกี่วันขึ้นไป หากคุณเผื่อเวลาในการเดินทางมากก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วยการใช้พื้นที่จอดรถระยะยาว ซึ่งมีรถชัตเทิลบัสสาย A ซึ่งวิ่งรับ-ส่งในพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว 4 จุดเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีความถี่ของรถดังนี้

ช่วงเวลาเดินรถ ความถี่รอบรถ 05:00 – 08:00 น. (ชั่วโมงเร่งด่วน) ทุก 7 นาที 08:00 – 16:00 น. ทุก 10 นาที 16:00 – 18:00 น. (ชั่วโมงเร่งด่วน) ทุก 7 นาที 18:00 – 00:00 น. ทุก 10 นาที 00:00 – 05:00 น. ทุก 20 นาที

หากต้องการเร่งด่วนกว่านี้ก็สามารถเดินขึ้นรถชัตเทิลบัสสาย Express ซึ่งมีรอบรถถี่กว่าสาย A และไม่มีจุดแวะรับ-ส่งระหว่างทางจากศูนย์การขนส่งสาธารณะถึงอาคารผู้โดยสาร ดังนั้นสำหรับการใช้พื้นที่จอดรถระยะยาว คุณจำเป็นต้องเผื่อเวลาเพิ่มอีกประมาณ 30-60 นาทีในการเดินทาง แต่ถ้าหากคุณมีเวลาไม่เพียงพอก็ต้องใช้พื้นที่จอดรถหน้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งใช้เวลาเดินเท้าเข้าอาคารเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น แต่ก็ต้องแลกกับค่าจอดรถที่แพงกว่าด้วยเช่นกัน

เช็คอินที่สนามบินสุวรรณภูมิ

เช็คอินตรงไหน

Self check-in suvarnabhumi airport ม สายการบ นไหนบ าง

หลังจากที่คุณจอดรถเสร็จเรียบร้อยแล้ว (หรือเดินทางมาด้วยระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ) คุณก็จะเข้าสู่อาคารผู้โดยสารของสนามบินซึ่งเคยติดอันดับอาคารผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว และความใหญ่กับความหลงมักจะเป็นของคู่กันเสมอ! ดังนั้นข้อควรจำแรกสำหรับการมาใช้บริการที่สนามบินแห่งนี้คือ เคาน์เตอร์เช็คอินทั้งหมด อยู่ที่ชั้น 4 ของอาคารผู้โดยสาร ซึ่งเป็นชั้นที่มีถนนต่างระดับเทียบด้านหน้าอาคารนั่นเอง

อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ จะไปซ้ายหรือขวาดี

ภายในชั้น 4 ของอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมินั้นแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งด้วยกัน เมื่อคุณหันหน้าเข้าอาคาร ฝั่งซ้าย (1) ของคุณจะเป็นฝั่งทางเข้าอาคารเทียบเครื่องบินของผู้โดยสารในประเทศ ส่วนฝั่งกลาง (2) จนถึงฝั่งขวา (3) จะเป็นทางเข้าของผู้โดยสารระหว่างประเทศ ส่วนเคาน์เตอร์เช็คอินบางสายการบินอาจจะไม่ตรงกันกับทางเข้าโซนนัก แต่เคาน์เตอร์เช็คอินของการบินไทยและบางกอกแอร์เวย์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเที่ยวบินในประเทศหลักของสนามบินนี้ก็อยู่ฝั่งซ้ายทั้งหมด

เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบินต่างๆ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

เคาน์เตอร์เช็คอินและโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องของสนามบินสุวรรณภูมินั้นมีทั้งหมด 20 แถว เรียงลำดับจากซ้ายไปขวาตั้งแต่ A-W (ไม่มีแถว I / O / V) โดยสนามบินจะมีหน้าจอขนาดใหญ่ระบุแถวเช็คอินของแต่ละเที่ยวบินที่กำลังจะเดินทางในช่วงนี้ ซึ่งคุณจำเป็นต้องตรวจสอบรายละเอียดจากหน้าจอก่อนเข้าเคาน์เตอร์ให้ถูกต้อง แต่ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่าสายการบินอะไรอยู่แถวที่เท่าไหร่เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหากัน

ชื่อสายการบิน ตัวย่อ แถว ประตู แอโรฟล็อต (Aeroflot) SU P 7 แอร์อัสตานา (Air Astana) KC U 8 แอร์ออสทรอล (Air Austral) UU S 5 แอร์ไชน่า (Air China) CA U 10 แอร์ฟรานซ์ (Air France) AF P 7 แอร์อินเดีย (Air India) AI W 10 แอร์มาเก๊า (Air Macau) NX N 5 แอร์มาดากัสการ์ (Air Madagascar) MD G 4 อัลอิตาเลีย (Alitalia) AZ Q 8 ออลล์นิปปอนแอร์เวย์ (All Nippon Airways) NH L 6 เอเชียน่าแอร์ไลน์ (Asiana Airlines) OZ K 5 ออสเตรียนแอร์ไลน์ (Austrian Airlines) OS G 4 บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) PG F 3 บิมานบังคลาเทศแอร์ไลน์ (Biman Bangladesh Airlines) BG W 10 บริติชแอร์เวย์ (British Airways) BA N 7 เซบูแปซิฟิก (Cebu Pacific) 5J Q 8 คาเธ่ย์แปซิฟิก (Cathay Pacific) CX M 6 ไชน่าแอร์ไลน์ (China Airlines) CI S 9 ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (China Eastern Airlines) MU U 10 ไชน่าเซาเทิรน์แอร์ไลน์ (China Southern Airline) CZ U 10 เดลต้าแอร์ไลน์ (Delta Airlines) DL N 7 ดรุ๊กแอร์ (Druk Air) KB W 10 อียิปต์แอร์ (Egypt Air) MS Q 8 เอลอัลอิสราเอลแอร์ไลน์ (El Al Israel Airlines) LY W 10 เอมิเรตส์ (Emirates) EK T 9 เอติฮัดแอร์เวย์ (Etihad Airways) EY Q 8 เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (Ethiopian Airlines) ET U 10 เอวาแอร์(EVA Air) BR Q/R 8 ฟินน์แอร์ (Finnair) AY G 4 การูดาอินโดนีเซีย (Garuda Indonesia) GA G 4 กัลฟ์แอร์ (Gulf Air) GF U 10 ไห่หนานแอร์ไลน์ (Hainan Airlines) HU Q 8 ฮ่องกงแอร์ไลน์ (Hongkong Airlines) HX N 7 อิหร่านแอร์ (Iran Air) IR K 5 เจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines) JL R 8 เชจูแอร์ (Jeju Air) 7C S 9 เจ็ทแอร์เวย์ (Jet Airways) 9W P 7 เจ็ทสตาร์แอร์เวย์ (Jetstar Airways) JQ E 3 จินแอร์ (Jinair) LJ P 7 เคแอลเอ็ม (KLM) KL P 7 เคนยาแอร์เวย์ (Kenya Airways) KQ W 10 โคเรียนแอร์ (Korean Air) KE M 6 คูเวตแอร์ (Kuwait Airways) KU R 8 ลาวแอร์ไลน์ (Lao Airlines) QV R 8 ลุฟธันซา (Lufthansa) LH G 4 มาเลเซียแอร์ไลน์ (Malaysia Airlines) MH M 6 มาฮานแอร์ (Mahan Air) W5 N 7 เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์เนชั่นแนล (Myanmar Airways International) 8M N 7 เนปาลแอร์ไลน์ (Nepal Airlines) RA W 10 โอมานแอร์ (Oman Air) WY T 9 ปากีสถานแอร์ไลน์ (Pakistan Airlines) PK L 6 ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ (Philippine Airlines) PR N 9 แควนตัส (Qantas) QF N 7 กาตาร์แอร์เวย์ (Qatar Airways) QR Q 8 รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ (Royal Brunei Airlines) BI U 10 รอยัลจอร์นาเดียน (Royal Jordanian) RJ Q 9 สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ (Scandinavian Airlines) SK K 5 เซี่ยงไฮ้ แอร์ไลน์ (Shanghai Airlines) FM S 9 สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines) SQ K 5 ศรีลังกันแอร์ (Sri Lankan Airlines) UL S 9 สวิส (Swiss) LX G 4 การบินไทย (Thai Airways) – Premium TG A/B 1 การบินไทย (Thai Airways) – Economy TG C/H/J 3 การบินไทย (Thai Airways) – Group TG D 2 ไทเกอร์แอร์เวย์ (Tiger Airways) TR L 6 เตอร์กิชแอร์ไลน์ (Turkish Airlines) TK U 10 เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ (Turkmenistan Airlines) T5 D 3 ยูเครนอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (Ukraine International Airlines) TK W 10 ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (United Airlines) UA L 6 อุซเบกิสถานแอร์เวย์ (Uzbekistan Airways) HY W 10 เวียดเจ็ทแอร์ (Vietjet Air) VJ E 3 เวียดนามแอร์ไลน์ (Vietnam Airlines) VN L 6 เซียะเหมินแอร์ไลน์ (Xiamen Airlines) MF L 7

อย่าลืม! เช็คหมายเลขเคาน์เตอร์เช็คอินที่หน้าจอแสดงรายการเที่ยวบินก่อนใช้บริการจริงทุกครั้ง เนื่องจากตำแหน่งแถวหรือหมายเลขเคาน์เตอร์ของสายการบินอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการบริหารจัดการของสนามบิน

โหลดกระเป๋า

ปกติแล้วช่องเช็คอินและโหลดกระเป๋านั้นคือช่องเดียวกัน ยกเว้นแต่ในกรณีสายการบินใหญ่ที่อาจมีการแบ่งแยกช่องสำหรับผู้โดยสารแบบหมู่คณะ (กรุ๊ปทัวร์) กับผู้โดยสารที่ยังไม่ได้เช็คอิน และผู้โดยสารที่เช็คอินแล้วผ่านหน้าเว็บไซต์หรือตู้อัตโนมัติออกจากกัน หากมีการแบ่งช่องแบบนี้ ใครที่เช็คอินมาก่อนแล้วก็ต่อแถวช่องโหลดกระเป๋าแล้วเดินตัวปลิวผ่านด่านตรวจหนังสือเดินทางแล้วเข้าเกตได้ทันที ส่วนใครที่ยังไม่ได้ทำอะไร ก็ต่อให้ตรงตามเคาน์เตอร์ที่สายการบินจัดให้เพื่อความรวดเร็วในการใช้บริการ

อย่าลืม! ห้ามใส่แบตเตอรี่เสริมหรือวัตถุที่ติดไฟได้ในกระเป๋าที่จะโหลดใต้ท้องเครื่องเป็นอันขาด เดี๋ยวกระเป๋าถูกกักไปไม่ถึงปลายทางไม่รู้ด้วยนะ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดและน้ำหนักกระเป๋าขึ้นเครื่อง

ขึ้นเครื่องประตูไหนต้องรู้

Self check-in suvarnabhumi airport ม สายการบ นไหนบ าง

โดยปกติแล้วพนักงานเช็คอินจะออกตั๋วโดยสารและแจ้งให้ทราบถึงประตูทางออกขึ้นเครื่องที่คุณต้องไปขึ้นเครื่องก่อนสิ้นสุดขั้นตอนการเช็คอินทุกครั้ง แต่ในบางกรณีที่คุณอาจใช้เว็บเช็คอินล่วงหน้าหลายวัน ทางสายการบินอาจจะยังไม่สามารถระบุประตูทางออกขึ้นเครื่องให้ได้ ดังนั้นเมื่อเช็คอินเรียบร้อยอย่าลืมสอบถามอีกครั้ง หรือสามารถดูได้จากหน้าจอแสดงรายการเที่ยวบิน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดประตูทางออกขึ้นเครื่องก็จะบุอย่างชัดเจน เช่นถ้าระบุว่า D6 ก็หมายความว่าคุณต้องไปอาคารเทียบเครื่องบิน D ประตูที่ 6 แล้วก็เดินชิลขึ้นเครื่องได้แบบไม่มีหลงแน่นอน

เพียงเท่านี้คุณก็ขับรถไปจอดพร้อมเช็คอินเดินทางที่สนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างง่ายดายและไม่มีหลงอีกต่อไป! แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ ทางสนามบินก็มีเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ที่ช่วยแนะนำวิธีการใช้บริการให้กับคุณได้ แต่สุดท้ายและท้ายที่สุด คุณต้องไปลืมที่จะไปถึงสนามบินให้ตรงเวลา ยิ่งถ้าเป็นมือใหม่ไม่ค่อยได้ใช้สนามบินนี้ล่ะก็ เผื่อเวลาได้อีกยิ่งดีเลยล่ะ