ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท

(ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน): วัดอุดมธานี, หลวงพ่อปากแดงที่วัดพราหมณี, ป่าไผ่วัดจุฬาภรณ์วนาราม, ศาลพระรูปมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตองครักษ์, เขื่อนขุนด่านปราการชล

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
ธง

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
ตรา

คำขวัญ:

นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครนายกเน้นสีแดง

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครนายกเน้นสีแดง

ประเทศ

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
ไทยการปกครอง • ผู้ว่าราชการ สุภกิณห์ แวงชิน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) พื้นที่ • ทั้งหมด2,122.0 ตร.กม. (819.3 ตร.ไมล์)อันดับพื้นที่อันดับที่ 67ประชากร

(พ.ศ. 2564)

• ทั้งหมด260,433 คน • อันดับอันดับที่ 72 • ความหนาแน่น122.73 คน/ตร.กม. (317.9 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 40รหัส ISO 3166TH-26 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้สุพรรณิการ์ • ดอกไม้สุพรรณิการ์ • สัตว์น้ำปลาตะเพียนทองศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้งถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000 • โทรศัพท์0 3731 4575เว็บไซต์http://www.nakhonnayok.go.th/

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง (บางหน่วยงานจัดให้อยู่ในภาคตะวันออก) ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ประวัติศาสตร์[แก้]

สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองสมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่ตำบลดงละคร แต่นครนายกนั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อปี พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมืองและให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทน ในช่วง พ.ศ. 2486-2489 นครนายกได้โอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ

ในเอกสารโบราณ[แก้]

จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2382 - 2387 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศคือ บาทหลวงปาเลอกัวซ์ และ ดาเวนพอร์ท เดินทางมาถึงเมืองนครนายก และได้บันทึกว่า เมืองนครนายกมีพลเมืองประมาณ 5,000 คน ส่วนมากเป็นชาวลาว และมีชาวสยามอยู่ด้วย ราษฎรประกอบอาชีพในการปลูกข้าวและหาของป่าส่งไปขายที่กรุงเทพ

ที่มาของชื่อ[แก้]

ที่มาของชื่อนครนายกนั้นไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ แนวคิดหลักของที่มาของชื่อมีดังนี้

  • จังหวัดนครนายกเดิมชื่อบ้านนาแต่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดนครนายก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่ดอนทำนา หรือทำการเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้ผล มีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิมทำให้มีคนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ และเรียกเมืองนี้จนติดปากว่า เมืองนา-ยก ภายหลังจึงกลายเป็นนครนายกจนทุกวันนี้
  • สมัยก่อนรัชกาลที่ 5 การปกครองส่วนภูมิภาคถูกแบ่งเป็นสมุหนายกและสมุหกลาโหม โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายกปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ พื้นที่เดิมของจังหวัดนครนายกนั้นเป็นพื้นที่ที่เคยอยู่สังกัดกับสมุหกลาโหมแต่ภายหลังถูกโอนให้อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก พื้นที่ตรงนี้จึงได้ชื่อว่านครนายกนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ภูมิศาสตร์[แก้]

จังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 14 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101 องศาตะวันออก มีระยะทางจากจากกรุงเทพมหานครตามถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ผ่านอำเภอองครักษ์ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
แม่น้ำนครนายก

สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชันในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกับทิวเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดคือ ยอดเขาเขียวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า "ที่ราบกรุงเทพฯ"

ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินเหนียวเหมาะแก่การ ทำนา ทำสวนผลไม้ และการอยู่อาศัย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

  • คำขวัญประจำจังหวัด: นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ
  • ตราประจำจังหวัด: รูปช้างชูรวงข้าว
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นสุพรรณิการ์ (Cochlospermum religiosum)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกสุพรรณิการ์
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาตะเพียนทอง (Barbonymus altus)
  • ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
    ตราประจำจังหวัดนครนายก
  • ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
    ต้นสุพรรณิการ์และดอกสุพรรณิการ์ ซึ่งเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดตามลำดับ
  • ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
    ปลาตะเพียนทอง สัตว์น้ำประจำจังหวัด

การเมืองการปกครอง[แก้]

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
แผนที่อำเภอในจังหวัดนครนายก

การปกครองส่วนภูมิภาคของจังหวัดนครนายกแบ่งออกเป็น 4 อำเภอ 41 ตำบล 403 หมู่บ้าน

ข้อมูลอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครนายก

ชั้น หมายเลข อำเภอ ประชากร (พ.ศ. 2564) พื้นที่ (ตร.กม.) ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) รหัสไปรษณีย์ ระยะทางจาก อำเภอเมืองนครนายก 1 1 อำเภอเมืองนครนายก 101,741 728.1 139.74 26000, 26001 - 3 2 อำเภอปากพลี 24,294 519.1 46.80 26130 10 2 3 อำเภอบ้านนา 69,267 388.4 178.34 26110 17 3 4 อำเภอองครักษ์ 65,129 486.4 133.90 26120 31 รวม 260,431 2,122.0 122.73

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
ภาพตัวเมืองนครนายก

จังหวัดนครนายกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 46 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองนครนายก, เทศบาลตำบล 5 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 39 แห่ง โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดนครนายกมีดังนี้

  • เทศบาลเมืองนครนายก อำเภอเมืองนครนายก
  • เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก
  • เทศบาลตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี
  • เทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา
  • เทศบาลตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา
  • เทศบาลตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

ลำดับ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง 1 พระพิบูลย์สงคราม (จอน) 1 กุมภาพันธ์ 2445 13 กรกฎาคม 2449 2 พระกรุงศรีบริรักษ์ (สุ่ม) 13 กรกฎาคม 2449 23 กุมภาพันธ์ 2450 3 พระพนมสารนรินทร์ (กลึง) 23 กุมภาพันธ์ 2450 11 มกราคม 2451 4 พระเสนานิคมพินิจ (ม.ร.ว. ชุบ นพวงศ์) 15 มีนาคม 2451 14 กรกฎาคม 2458 5 พระยานายกรชนวิมลภักดี (เจริญ ปริยานนท์) 14 กรกฎาคม 2458 5 พฤษภาคม 2470 6 พระศรีนครคาม (ทอง สุทธพินทุ) 5 พฤษภาคม 2470 16 กรกฎาคม 2471 7 หม่อมเจ้าธงไชยสิริพันธ์ ศรีธวัช 13 สิงหาคม 2471 28 กุมภาพันธ์ 2476 8 หลวงศรีนรานุบาล (สมุทร สาขากร) 5 มีนาคม 2476 30 เมษายน 2478 9 หลวงบรรณสารประสิทธิ์ (สิทธิ โรจนวิภาต) 13 พฤษภาคม 2478 1 สิงหาคม 2481 10 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) 6 สิงหาคม 2481 1 พฤษภาคม 2482 11 หลวงภูวนาทนรานุบาล (สนิท มหามุสิก) 5 พฤษภาคม 2482 16 พฤศจิกายน 2482 12 ขุนธรรมรัฐธุราทร (โกมล โรจน์สุนทร) 16 พฤศจิกายน 2482 1 พฤษภาคม 2484 13 ขุนไมตรีประชารักษ์ (กิมเซ็ง วัลยกุล) 5 พฤษภาคม 2484 31 ธันวาคม 2485 14 นายชุณห์ นกแก้ว 1 พฤศจิกายน 2489 1 กันยายน 2490 15 ขุนวรคุตคณารักษ์ (บุญฤทธิ์ วรคุตตานนท์) 2 กันยายน 2490 1 มกราคม 2491 16 ขุนสนิทประชากร (สนิท สนิทประชากร) 2 มกราคม 2491 8 มิถุนายน 2496 17 นายนวน มีชำนาญ 10 มิถุนายน 2496 21 กรกฎาคม 2497 18 นายประพนธ์ ณ พัทลุง 22 กรกฎาคม 2497 26 เมษายน 2498 19 นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ (ไชยพันธุ์) 27 เมษายน 2498 8 ตุลาคม 2502 20 นายแสวง รุจิรัต 9 ตุลาคม 2502 30 มิถุนายน 2503 21 นายประทวน อรรถโกวิท กรกฎาคม 2503 30 กันยายน 2510 22 นายอนันต์ พยัคฆันตร์ 1 ตุลาคม 2510 16 พฤศจิกายน 2510 23 นายสมอาจ กุยยกานนท์ 16 ธันวาคม 2510 30 กันยายน 2515 24 นายจำรูญ ปิยัมปตระ 1 ตุลาคม 2515 1 มกราคม 2519 ลำดับ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง 25 นายเมธี ส.ศรีสุภาพ 1 มกราคม 2519 30 กันยายน 2521 26 นายสนิท รุจิณรง 1 ตุลาคม 2521 30 กันยายน 2523 27 นายกริช เกตุแก้ว 1 ตุลาคม 2523 30 กันยายน 2525 28 นายธานี โรจนาลักษณ์ 1 ตุลาคม 2525 30 กันยายน 2527 29 นายปัญญา ฤกษ์อุไร 1 ตุลาคม 2527 30 กันยายน 2531 30 นายสุชาญ พงษ์เหนือ 1 ตุลาคม 2531 30 กันยายน 2532 31 ร้อยตรีพูลศักดิ์ สัตยานุรักษ์ 1 ตุลาคม 2532 15 มิถุนายน 2534 32 นายประกิต เทพชนะ 16 มิถุนายน 2534 25 มกราคม 2536 33 คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช 26 มกราคม 2536 5 มิถุนายน 2541 34 ดร.พีรพล ไตรทศาวิทย์ 6 มิถุนายน 2541 30 กันยายน 2542 35 นายประกิต กันยาบาล 1 ตุลาคม 2542 30 กันยายน 2544 36 นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ 1 ตุลาคม 2544 30 กันยายน 2547 37 นายรัชทิน ศยามานนท์ 1 ตุลาคม 2547 30 กันยายน 2548 38 นายปานชัย บวรรัตนปราณ 1 ตุลาคม 2548 12 พฤศจิกายน 2549 39 นายเจตน์ ธนวัฒน์ 13 พฤศจิกายน 2549 6 พฤษภาคม 2551 40 นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ 6 พฤษภาคม 2551 15 มีนาคม 2552 41 นายปรีชา กมลบุตร 16 มีนาคม 2552 30 กันยายน 2553 42 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ 1 ตุลาคม 2553 13 มกราคม 2555 43 ดร.สุรชัย ศรีสารคาม 23 กุมภาพันธ์ 2555 18 ตุลาคม 2556 44 ดร.ทวี นริสศิริกุล 30 ตุลาคม 2556 30 กันยายน 2558 45 ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ 1 ตุลาคม 2558 30 กันยายน 2559 46 ดร.ประดิษฐ์ ยมานันท์ 1 ตุลาคม 2559 30 กันยายน 2560 47 นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ 1 ตุลาคม 2560 30 กันยายน 2563 48 นายอำพล อังคภากรณ์กุล 1 ตุลาคม 2563 30 กันยายน 2565 49 นายบัญชา เชาวรินทร์ 2 ธันวาคม 2565 30 กันยายน 2566 50 นายสุภกิณห์ แวงชิน 1 ตุลาคม 2566 ปัจจุบัน

การศึกษา[แก้]

ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
หอพระ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

ในจังหวัดนครนายก มีสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์นครนายก อำเภอเมืองนครนายก
  • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมืองนครนายก
  • โรงเรียนเตรียมทหาร อำเภอบ้านนา
  • ศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นครนายก อำเภอบ้านนา
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ อำเภอองครักษ์
  • วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา อำเภอองครักษ์

สถานที่สำคัญวัดที่สำคัญ[แก้]

วัดโพธิ์ไทร ต.บ้านใหญ่ อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก

ตั้งวัดเมื่อ 2300 ปลายสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

สถานที่ ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่แสง ( พระครูญาณนายก )

เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ไทร เจ้าคณะจังหวัดองค์แรกของจังหวัด พระอุปัชฌาย์

องค์แรกของจังหวัดนครนายก ( ญาครู ญาชา )

วัดคีรีวัน

  • วัดโพธินายก
  • วัดอุดมธานี (พระอารามหลวง)
  • วัดวังกระโจม อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก สถานที่ประดิษฐาน พระพุทธมงคลนายก พระประธานในอุโบสถ ศิลปะสุโขทัย ท่านเจ้าคุณนรฯ ประกอบพิธีปั้นหุ่นด้วยตนเอง และเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททองพระพุทธรูป ณ ประรำพิธีมณฑล วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ พร้อมทั้งทรงเจิม พระสุหร่าย เบิกพระเนตร และพระราชทานนามว่า "พระพุทธมงคลนายก" จากนั้นอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดวังกระโจม เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2508
  • วัดศรีเมือง วัดโบราณติดกำแพงเมืองนครนายก
  • วัดถ้ำสาริกา
  • วัดเจดีย์ทอง
  • วัดเขานางบวช รอยพระพุทธบาทจำลอง
  • วัดบุญนาครักขิตาราม หลวงพ่อเศียรนคร
  • วัดป่าศรีถาวรนิมิต
  • วัดพราหมณี (พระอารามหลวง) หลวงพ่อปากแดง
  • วัดเขาทุเรียน วัดที่ทาด้วยสีชมพูทั้งวัด
  • วัดคีรีวัน พระแก้วมรกตจำลององค์ใหญ่
  • วัดสะแกซึง
  • วัดพระธรรมจักร
    ว ดป าศร ถาวรน ม ต นครนายก แผนท
    พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน สถานที่ท่องเที่ยว
  • น้ำตกวังตะไคร้
  • น้ำตกสาริกา
  • น้ำตกนางรอง
  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน
  • อุทยานพระพิฆเนศ
  • ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ
  • วีฟาร์ม
  • สะพานทุ่งนามุ้ย
  • เอเดนฟาร์ม

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

พระสงฆ์ พระภิกษุ

  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) – สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และอดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร และวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
  • พระราชพรหมคุณ (สวาท สุภาจาโร) - เจ้าคณะจังหวัดนครนายก เจ้าอาวาสวัดพราหมณี พระอารามหลวง
  • พระครูวิมุตยาภรณ์ (เกิด ปริมุตฺโต) (หลวงพ่อเกิด) – พระเกจิอาจารย์ดัง และท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก
  • พระครูพิศาลธรรมประยุต (เกิด ปุณณปัญโญ) – พระเกจิอาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสะพาน จังหวัดนครนายก
  • หลวงปู่สนธิ์ สุมโน – อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาคอกสุมมนาราม จังหวัดนครนายก (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
  • หลวงปู่สี ฐานิโย – อดีตเจ้าอาวาสวัดพระฉาย (เขาชะโงก) จังหวัดนครนายก (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
  • หลวงปู่ชื่น – อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาหัวนา จังหวัดนครนายก (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
  • หลวงพ่อแดง – อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าแห จังหวัดนครนายก (ร่างเป็นหิน)
  • พระครูเขมาจารคุณ (หลวงพ่อบุญถม เขมจาโร สุขทวี) อดีตเจ้าอาวาสวัดวังกระโจม อ.เมือง จ.นครนายก (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
  • พระครูปลัดมานัส ญาณมานโส – พระสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครนายก
  • พระครูอดิสัยกิจจาทร (สุข ปุญญวันโต)อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านนา อดีตเจ้าอาวาสวัดทางกระบือ (สรีระไม่เน่าเปื่อย)
  • พระครูสุตธรรมาภรณ์ (สำราญ ญาณวุฑฺโฒ) รองเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ฝ่ายมหานิกาย นักการเมือง

จังหวัดนครนายกมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก คือ พระยาวิเศษสิงหนาท (หร่าย รัตนกสิกร)

  • พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม – อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  • ศาสตราจารย์พิเศษ เดช บุญ-หลง – อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิชัย กิตติธเนศวร – อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ทวีเกียรติ ดุษฎีธรรม - อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก อดีตประธานสภาจังหวัดนครนายก
  • สมาน ศรีงาม – เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ และจัดรายการวิทยุทางคลื่น F.M. 92.25
  • ประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ – สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  • อภัย จันทนจุลกะ – อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  • ประเสริฐ เสือสวย (กำนันเสริฐ) – กำนันตำบลพรหมณี อ.เมือง จ.นครนายก เป็นเจ้าของ หจก.กุศลส่งวัสดุก่อสร้าง จำกัด ทำธุรกิจบ่อดินและเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ฉายา “ขุนแผนนครนายก” บันเทิง
  • สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ – นางงาม, นักแสดง
  • สมัคร ผลประเสริฐ – นักแสดง, นักการเมือง, พิธีกรรายการโทรทัศน์
  • กันตพัฒน์ เพิ่มพูนพัชรสุข – นักร้อง นักแสดง
  • พรปวีณ์ เทพมงคล – นักแสดง
  • กานท์ การุณวงศ์ – นักแต่งเพลง นักดนตรี
  • กาเหว่า เสียงทอง – นักร้อง
  • จุ๋มจิ๋ม เข็มเล็ก – อดีตนักแสดงตลก
  • รพีภัทร เอกพันธ์กุล – นักแสดง, พิธีกร, นักร้อง
  • ดร. ไสว บุญมา – อดีตเศรษฐกรอาวุโส (Senior Country Economist) ธนาคารโลก (World Bank) ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ
  • นุ้ย เชิญยิ้ม – นักแสดง, พิธีกร, ผู้กำกับ
  • โหน่ง ชะชะช่า – นักแสดง, พิธีกร
  • อารี ประธาน – นักร้อง
  • ปฏิมา สำเร็จ – อดีตแชมป์ศึกวันดวลเพลง เด็ก นักกีฬา
  • เทพไชยา อุ่นหนู – นักสนุกเกอร์อาชีพ
  • วิษณุ ฮวดประดิษฐ์ – นักกีฬาบอคเซียพาราทีมชาติไทย

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อวัดในจังหวัดนครนายก
  • รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครนายก

อ้างอิง[แก้]

  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 3 วันที่ 2 ตุลาคม 2566 ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 24 มกราคม 2565.