43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน

ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: อนุสรณ์สถานแห่งชาติ, นิทรรศการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ, เครื่องเล่นทอร์นาโดที่ดรีมเวิลด์, มหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, สระน้ำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
ธง

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
ตรา

คำขวัญ:

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีเน้นสีแดง

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีเน้นสีแดง

ประเทศ

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
ไทยการปกครอง • ผู้ว่าราชการ ภาสกร บุญญลักษม์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) พื้นที่ • ทั้งหมด1,525.856 ตร.กม. (589.136 ตร.ไมล์)อันดับพื้นที่อันดับที่ 70ประชากร

(พ.ศ. 2564)

• ทั้งหมด1,190,060 คน • อันดับอันดับที่ 16 • ความหนาแน่น779.93 คน/ตร.กม. (2,020.0 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 4รหัส ISO 3166TH-13 ชื่อไทยอื่น ๆเมืองปทุมสัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้ทองหลางลาย • ดอกไม้บัวหลวง • สัตว์น้ำปลาบู่ทรายศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้งเลขที่ 1 ถนนปทุมธานีเฉลิมพระเกียรติ ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000 • โทรศัพท์0 2581 3886, 0 2581 6038เว็บไซต์www.pathumthani.go.th

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัดคือเทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดคือเทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี

ประวัติศาสตร์[แก้]

จังหวัดปทุมธานีมีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนายรายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคกอีก และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน จากชุมชนขนาดเล็ก บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในเวลาต่อมา

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสามโคก เป็น เมืองประทุมธานี และเมื่อ พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการสะกดชื่อใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" กลายเป็น จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอดังเช่นปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

จังหวัดปทุมธานีตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยและเป็น 1 ใน 5 จังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดข้างเคียง คือ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร อำเภอบางประอิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแค และอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกและอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางบัวทองและอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

การเมืองการปกครอง[แก้]

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

จังหวัดปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 7 อำเภอ 60 ตำบล 529 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด - ตำบล - หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดปทุมธานี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดปทุมธานี แผนที่

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
ลำดับ ชื่ออำเภอ พื้นที่ (ตร.กม.) ห่างจากศาลากลางจังหวัด (ก.ม.) ก่อตั้ง (พ.ศ.) ตำบล หมู่บ้าน ประชากร (คน) (พ.ศ. 2564) 1 เมืองปทุมธานี 120.151 - 14 81 214,639 2 คลองหลวง 299.152 22.1 7 71 292,194 3 ธัญบุรี 112.124 18.1 6 12 214,091 4 หนองเสือ 413.632 57.9 7 69 55,353 5 ลาดหลุมแก้ว 188.12 17.9 7 61 70,454 6 ลำลูกกา 297.71 39.4 8 114 287,399 7 สามโคก 94.967 8.1 11 58 56,020

  1. เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
  2. รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  3. เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

พื้นที่จังหวัดปทุมธานีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 65 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง เทศบาลตำบล 18 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 36 แห่ง

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
เขตเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่ (ตร.กม.) ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2562) ทั้งตำบล บางส่วน รวม เทศบาลนคร 1

เทศบาลนครรังสิต

21.42

2554 ธัญบุรี 1 – 1

85,260

เทศบาลเมือง 2 (1)

เทศบาลเมืองปทุมธานี

08.89

2479 เมืองปทุมธานี 1 – 1

23,633

3 (2)

เทศบาลเมืองคูคต

11.53

2539 ลำลูกกา – 1 1

44,274

4 (3)

เทศบาลเมืองท่าโขลง

60.81

2544 คลองหลวง – 2 2

78,108

5 (4)

เทศบาลเมืองคลองหลวง

43.19

2547 คลองหลวง – 2 2

62,615

6 (5)

เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์

43.08

2547 ธัญบุรี 2 – 2

31,350

7 (6)

เทศบาลเมืองลำสามแก้ว

11.65

2550 ลำลูกกา – 1 1

66,003

8 (7)

เทศบาลเมืองบางคูวัด

20.47

2554 เมืองปทุมธานี 1 – 1

28,349

9 (8)

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ

15.07

2554 ธัญบุรี 1 – 1

32,708

10 (9)

เทศบาลเมืองลาดสวาย

31.10

2554 ลำลูกกา 1 – 1

65,906

11 (10)

เทศบาลเมืองบางกะดี

8.30

2563 เมืองปทุมธานี 1 – 1

13,987

เทศบาลตำบล 12 (1)

เทศบาลตำบลธัญบุรี

32.62 2542 ธัญบุรี 2 – 2

62,990

13 (2)

เทศบาลตำบลลำลูกกา

14.60 2542 ลำลูกกา – 2 2

18,377

14 (3)

เทศบาลตำบลลำไทร

02.74 2542 ลำลูกกา – 1 1

2,657

15 (4)

เทศบาลตำบลหนองเสือ

15.66 2542 หนองเสือ – 1 1

2,901

16 (5)

เทศบาลตำบลบางหลวง

05.51 2542 เมืองปทุมธานี – 3 3

7,019

17 (6)

เทศบาลตำบลบางเตย

23.41 2542 สามโคก – 1 1

10,828

18 (7)

เทศบาลตำบลระแหง

18.74 2542 ลาดหลุมแก้ว – 1 1

10,445

19 (8)

เทศบาลตำบลหลักหก

11.21 2550 เมืองปทุมธานี 1 – 1

21,883

20 (9)

เทศบาลตำบลคลองพระอุดม

14.64 2551 ลาดหลุมแก้ว 1 – 1

7,995

21 (10)

เทศบาลตำบลสามโคก

05.87 2554 สามโคก 1 – 1

6,963

22 (11)

เทศบาลตำบลคูขวาง

15.15 2554 ลาดหลุมแก้ว 1 – 1

6,000

23 (12)

เทศบาลตำบลบางเดื่อ

10.81 2554 เมืองปทุมธานี – 1 1

14,756

24 (13)

เทศบาลตำบลบางขะแยง

06.21 2554 เมืองปทุมธานี 1 – 1

14,557

25 (14)

เทศบาลตำบลบางพูน

09.42 2554 เมืองปทุมธานี 1 – 1

25,509

26 (15)

เทศบาลตำบลบ้านใหม่

09.19 2554 เมืองปทุมธานี 1 – 1

14,447

27 (16)

เทศบาลตำบลบ้านกลาง

09.32 2554 เมืองปทุมธานี 1 – 1

12,326

28 (17)

เทศบาลตำบลเชียงรากใหญ่

10.53 2563 สามโคก 1 – 1

6,260

29 (18)

เทศบาลตำบลหนองสามวัง

064.9 2563 หนองเสือ 1 – 1

11,131

  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ลำดับ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง 1 พระอารักษ์ประชาราษฎร์ (จำปี) พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2448 2 หม่อมเจ้าขจรศุภสวัสดิ์ 31 ธันวาคม 2448 7 พฤษภาคม 2454 3 พระยาพิทักษ์ทวยหาร (ทองคำ กฤษณามระ) 7 พฤษภาคม 2454 18 พฤศจิกายน 2457 4 พระยาปทุมธานี (ฟื้น กฤษณบัตร์) 18 พฤศจิกายน 2457 25 ตุลาคม 2467 5 พระยาสมุทรศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์) 25 ตุลาคม 2467 8 กันยายน 2469 6 พระบริรักหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม) 20 ธันวาคม 2469 พ.ศ. 2471 7 พระบริรักษ์นครเขตต์ (ท้องย้อย กฤษณจินดา) พ.ศ. 2471 พ.ศ. 2473 8 พระประแดงบุรี (สิงห์โต สาริกานนท์) พ.ศ. 2473 พ.ศ. 2474 9 พระยาสุรินทร์ฤๅชัย (จันทร์ ตุงคสวัสดิ์) พ.ศ. 2474 ตุลาคม 2476 10 พระศรีนคตรคาม (ทอง สุทธพินทุ) 25 ตุลาคม 2476 7 มีนาคม 2478 11 หลวงนรกิจกำจร (ชื้น วรคามิน) 7 มีนาคม 2478 27 ตุลาคม 2480 12 หลวงทรงสรการ (เล็ก กนิษฐสุด) 7 ธันวาคม 2480 1 พฤษภาคม 2484 13 หลวงอุตรดิตถาภิบาล (เนื่อง ปานิกบุตร) 1 พฤษภาคม 2484 7 กันยายน 2487 14 นายถนอม วิบูลย์มงคล 4 กันยายน 2487 24 เมษายน 2488 15 นายพรหม สูตรสุคนธ์ ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 16 หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม) 31 กรกฎาคม 2488 20 สิงหาคม 2490 17 หลวงบรรณศาสน์สาธร (สง่า คุปตรักษ์) 20 สิงหาคม 2490 12 ธันวาคม 2490 18 นายจำลอง อัศวเวหา 23 ธันวาคม 2490 1 กันยายน 2493 19 ขุนนครรัฐเขตต์ 13 มีนาคม 2493 30 เมษายน 2494 20 ขุนบริบาลบรรพตเขตต์ 1 พฤษภาคม 2494 19 กรกฎาคม 2495 21 นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์ 19 กรกฎาคม 2495 22 พฤษภาคม 2496 22 นายเชวง ไชยสุด 22 พฤษภาคม 2496 7 มีนาคม 2497 23 นายบุญยฤิทธิ์ นาคีนพคุณ 8 มีนาคม 2497 22 พฤษภาคม 2500 24 นายขจรัส ธารีสาร 22 พฤษภาคม 2500 1 กรกฎาคม 2506 25 นายพูนสวัสดิ์ กำลังงาม 22 กรกฎาคม 2506 14 เมษายน 2507 26 นายเกษม สุขุม 15 พฤษภาคม 2507 19 กุมภาพันธ์ 2508 27 นายพล จุฑางกูร 1 มีนาคม 2508 16 พฤศจิกายน 2510 28 นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ 16 พฤศจิกายน 2510 8 ตุลาคม 2511 29 นายเยือน สมานนท์ 15 ตุลาคม 2511 1 ตุลาคม 2514 30 นายกำเกิง สุรการ 1 ตุลาคม 2514 30 กันยายน 2515 รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี (ต่อ) ลำดับ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง 31 นายสุวิทย์ ยิ่งวรพันธ์ 1 ตุลาคม 2515 30 กันยายน 2516 32 นายเอนก พยัคฆันตร 1 ตุลาคม 2516 4 ตุลาคม 2517 33 พลตรี วิทย์ นิ่มนวล 1 ตุลาคม 2517 30 กันยายน 2519 34 นายสุธี โอบอ้อม 1 ตุลาคม 2519 30 กันยายน 2521 35 หม่อมหลวงภัคศุก กำภู 8 ตุลาคม 2521 27 มิถุนายน 2524 36 นายสำรวย พึ่งประสิทธิ์ 27 มิถุนายน 2524 30 กันยายน 2528 37 นายชูวงศ์ ฉายะบุตร 1 ตุลาคม 2528 30 กันยายน 2531 38 นายนิวัฒน์ พิบูลย์ 1 ตุลาคม 2531 30 กันยายน 2532 39 นายยุวรัตน์ กมลเวชช 1 ตุลาคม 2532 30 กันยายน 2534 40 นายประสงค์ รณะนันท์ 1 ตุลาคม 2534 21 กรกฎาคม 2535 41 ร้อยเอก ศรีรัตน์ หริรักษ 22 กรกฎาคม 2535 30 กันยายน 2537 42 นายไพฑูรย์ บุญวัฒน 1 ตุลาคม 2537 30 กันยายน 2540 43 นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา 1 ตุลาคม 2540 31 พฤษภาคม 2541 44 คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช 1 มิถุนายน 2541 30 กันยายน 2543 45 นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ 1 ตุลาคม 2543 30 กันยายน 2546 46 นายวิจิตร วิชัยสาร 1 ตุลาคม 2546 1 ตุลาคม 2547 47 นายนิวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว 1 ตุลาคม 2547 1 ตุลาคม 2548 48 นายนเรศ จิตสุจริตวงศ์ 1 ตุลาคม 2548 1 ตุลาคม 2549 49 นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล 13 พฤศจิกายน 2549 30 ตุลาคม 2551 50 นายปรีชา บุตรศรี 30 ตุลาคม 2551 30 กันยายน 2553 51 นายธานี สามารถกิจ 1 ตุลาคม 2553 9 มกราคม 2554 52 นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า 10 มกราคม 2554 25 ตุลาคม 2554 53 นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล 26 ตุลาคม 2554 30 กันยายน 2555 54 นายศิริพงษ์ ห่านตระกูล 8 ตุลาคม 2555 30 กันยายน 2556 55 นายพงศธร สัจจชลพันธ์ 1 ตุลาคม 2556 30 กันยายน 2558 56 นายสุรชัย ขันอาสา 1 ตุลาคม 2558 30 กันยายน 2560 57 นายพินิจ บุญเลิศ 1 ตุลาคม 2560 30 กันยายน 2563 58 นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม 1 ตุลาคม 2563 30 กันยายน 2564 59 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร 1 ตุลาคม 2564 21 มิถุนายน 2566 60 นายภาสกร บุญญลักษม์ 1 ตุลาคม 2566 ปัจจุบัน

ประชากร[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดปทุมธานีปีประชากร±% 2549 856,790— 2550 896,843+4.7% 2551 929,250+3.6% 2552 956,376+2.9% 2553 985,643+3.1% 2554 1,010,898+2.6% 2555 1,033,837+2.3% 2556 1,053,158+1.9% 2557 1,074,058+2.0% 2558 1,094,249+1.9% 2559 1,111,376+1.6% 2560 1,129,115+1.6% 2561 1,146,092+1.5% 2562 1,163,604+1.5% 2563 1,176,412+1.1% 2564 1,190,060+1.2%อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เศรษฐกิจ[แก้]

43 12 ม.9 พ ชอ ดม ลำล กกา ปท มธาน
ห้างสรรพสินค้าโลตัส ในอำเภอเมืองปทุมธานี

จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีพื้นที่การเกษตร 506,678 ไร่ หรือร้อยละ 53.03 ของพื้นที่จังหวัด (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2546) ในปัจจุบัน นอกจากการเกษตรแล้ว จังหวัดยังเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีนิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่ทั้งจังหวัด โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมเกือบร้อยละ 70 ของจังหวัดมาจากภาคอุตสาหกรรม (สำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2543)

พื้นที่การเกษตรมีอยู่ในทุกอำเภอ และมีมากที่สุดในเขตอำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอคลองหลวงตามลำดับ โดยพื้นที่ของจังหวัดจะมีการทำการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นที่นา ไม้ผล และไม้ยืนต้น ตามลำดับ

จังหวัดปทุมธานีมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 2,064,288 บาทต่อปี นับว่าสูงเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง ชลบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และจังหวัดภูเก็ต มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 118,489 ล้านบาท รายได้สูงสุดขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 69.32 คิดเป็นมูลค่า 82,136 ล้านบาท รองลงมา คือ ภาคบริการ ร้อยละ 7.688 คิดเป็นมูลค่า 9,102 ล้านบาท และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ร้อยละ 5.12 คิดเป็นมูลค่า 6,071 ล้านบาท โดยพื้นที่เขตอำเภอคลองหลวงมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่นมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว และ อำเภอสามโคก ส่วนพื้นที่ที่มีโรงงานน้อยที่สุดได้แก่ อำเภอหนองเสือ

ตลาดขายส่งที่สำคัญในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดพูนทรัพย์ ตลาดรังสิต นอกจากนี้ ยังมีนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร อำเภอคลองหลวง, สวนอุตสาหกรรมบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี, และเทคโนธานี อำเภอคลองหลวง (ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ตั้งของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

  • โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส
  • โรงพยาบาลปทุมธานี
  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • โรงพยาบาลบางประกอก รังสิต 2
  • โรงพยาบาลการุญเวชปทุมธานี (โรงพยาบาลนวนครเดิม)
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิตแม่และเด็ก
  • โรงพยาบาลปทุมเวช
  • โรงพยาบาลคลองหลวง
  • โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว
  • สถาบันธัญญารักษ์
  • โรงพยาบาลลำลูกกา
  • โรงพยาบาลสามโคก
  • โรงพยาบาลธัญบุรี
  • โรงพยาบาลประชาธิปัตย์
  • โรงพยาบาลหนองเสือ
  • โรงพยาบาลแพทย์สมภพ
  • ศูนย์การแพทย์เวชพิทักษ์
  • โรงพยาบาลภัทรธนบุรี
  • โรงพยาบาลเมืองปทุม
  • ศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล รังสิต
  • โรงพยาบาลราชวิถี รังสิต
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา
  • โรงพยาบาลธนบุรีบูรณา

การศึกษา[แก้]

รายชื่อสถาบันการศึกษาในจังหวัดปทุมธานีมีดังนี้

  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์บางกะดี
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ชมรม นศ.มสธ.ปทุมธานี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศูนย์กลางคลอง6 และศูนย์รังสิต
  • มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาเขตปทุมธานี
  • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  • มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์นพวงศ์
  • มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล
  • มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • วิทยาลัยการปกครอง
  • สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1
    • วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี
    • วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี
    • วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีแหลมทอง โรงเรียน ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี สถาบันวิจัย
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • ศูนย์วิจัยแห่งชาติ
    • ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
    • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
    • ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)
    • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
  • สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.)
  • สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
  • ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
  • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม เก็บถาวร 2011-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ศวฝ.)
  • สถาบันนวัตกรรม ทีโอที (ทีโอที)

กีฬา[แก้]

  • สมาคมกีฬาจังหวัดปทุมธานี (สก ปท.)
  • สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
  • สโมสรฟุตบอลแบงค็อก ยูไนเต็ด
  • สโมสรกีฬาราชประชา

ดูเพิ่ม[แก้]

  • จังหวัดธัญบุรี
  • รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี

อ้างอิง[แก้]

  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 3 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
  • ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  • ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=13&statType=1&year=64 2564. สืบค้น 11 มกราคม 2565.
  • ติดต่อหน่วยงาน - เว็บไซด์จังหวัดปทุมธานี เก็บถาวร 2022-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2.pathumthani.go.th สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  • "Population Statistics 2008". Department of Provincial Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28. Pathum Thani town population 18,843; Rangsit town population 76,843
  • สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). "รหัสพื้นที่ อำเภอ อ้างอิง จากกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ปี 2553 รหัสจังหวัดบึงกาฬยังไม่แน่ชัด รอการปรับปรุงข้อมูลจากกรมการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.codi.or.th/gis/index.php?option=com_phocadownload&view=category&id=7:2011-05-06-08-03-29&Itemid=10 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • พื้นที่ของแต่ละอำเภอในจังหวัดปทุมธานี เว็บไซต์โครงการลดการใช้พลังงานในภาครัฐ สำนักนโยบาย และแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน e-report.energy.go.th สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
  • "ค้นหาระยะทาง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.novabizz.com/Map/%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ. เก็บถาวร 2014-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  • เทศบาลนครรังสิต. "ข้อมูลภาพรวมของเทศบาลนครรังสิต." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rangsit.org/local2.php เก็บถาวร 2013-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • เทศบาลเมืองปทุมธานี. " ประวัติความเป็นมาของเทศบาลเมืองปทุมธานี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nmt.or.th/pathum/MuangPathum/Lists/List39/AllItems.aspx เก็บถาวร 2014-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • เทศบาลเมืองคูคต. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://khukhot.go.th/index.php?page=about&name=condition สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (5 ก): 4–6. 6 มีนาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
  • เทศบาลเมืองท่าโขลง. "ข้อมูลทั่วไปในเทศบาล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaklong-phathumtani.go.th/th/page/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5_16.html เก็บถาวร 2014-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองท่าโขลง พ.ศ. ๒๕๔๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (93 ก): 25–26. 9 ตุลาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
  • เทศบาลเมืองคลองหลวง. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.khlongluang.go.th/center/website/management/website_dragdrop/index_menu.php?site=130&page_id=1183&control= เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง เก็บถาวร 2009-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษที่ 84 ง วันที่ 14 กันยายน 2548 หน้า 6
  • "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 78 ง): 1–2. 19 กรกฎาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
  • เทศบาลเมืองลำสามแก้ว. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lamsamkaeo.go.th/data.php?menu_id=28 เก็บถาวร 2014-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำสามแก้ว และจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองลำสามแก้ว. 19 กรกฎาคม 2550.
  • เทศบาลเมืองบางคูวัด. " ลักษณะที่ตั้ง เนื้อที่ อาณาเขต." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bkw.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539407903 สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองบางคูวัด.
  • เทศบาลเมืองบึงยี่โถ. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buengyitho.go.th/aboutus.htm เก็บถาวร 2012-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองบึงยี่โถ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (พิเศษ 13 ง): 44. 11 มกราคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2014-04-10.
  • เทศบาลเมืองลาดสวาย. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ladsawai.go.th/about/15/[ลิงก์เสีย] สืบค้น 10 เมษายน 2557.
  • กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองลาดสวาย.
  • เทศบาลเมืองบางกะดี. "ลักษณะที่ตั้ง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bangkadi.go.th/public/location/data/index/menu/24 เก็บถาวร 2014-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 8 กันยายน 2563.
  • "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองบางกะดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 204 ง): 10. 8 กันยายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2020-09-08.
  • "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอเมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลตำบลเชียงรากใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 112 ง): 2. 13 พฤษภาคม 2563. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.