หน งส อเร ยนคณ ตศาสตร ม.1 หล กส ตร 61

“เริ่มต้นมาในบทนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนเรื่องของจำนวนเต็ม ซึ่งเป็นจำนวนที่เราได้เจอบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งพวก 1, 2, 3, 4, … ที่เรียกว่าจำนวนเต็มบวก (เรียกจำนวนนับ หรือจำนวนธรรมชาติก็ได้) หรือ พวก -1, -2, -3, … ที่เรียกว่าจำนวนเต็มลบ หรือ 0 ที่เรียกชื่อเต็มของมันก็คือจำนวนเต็มศูนย์นั่นเอง

สนุกไปกับการเปรียบเทียบจำนวนเต็มต่าง ๆ ตอบให้ได้ว่า ใครมากใครน้อยกว่ากัน และนำเอาจำนวนเต็มเหล่านั้น มาบวก มาลบ มาคูณ มาหารกัน และช่วงท้ายของบทนี้น้องจะได้เรียนสมบัติของเลขหนึ่ง เลขศูนย์ และนำความรู้เรื่องจำนวนเต็มในบทนี้ไปฝึกใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์กัน”

บทที่ 2 การสร้างทางเรขาคณิต

เนื้อหาประกอบด้วย

  • รูปเรขาคณิตพื้นฐาน
  • การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
  • การสร้างรูปเรขาคณิต

พี่เอ๋แนะนำ

“ใครเป็นนักสร้างรูป ฝันจะเป็นสถาปนิก, วิศวกร เตรียมตัวไว้ เพราะบทนี้เราจะเรียนเรื่องการสร้างรูปเรขาคณิตกัน เริ่มต้นจากน้องจะได้เรียนพื้นฐานทางเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็น จุด เส้นตรง ส่วนของเส้นตรง รังสี และมุม

จากนั้นเรียนเกี่ยวกับการใช้วงเวียนและไม้บรรทัด สร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น การสร้างส่วนของเส้นตรงหรือมุม ให้เท่ากับที่กำหมดมาให้ การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงหรือมุม การสร้างเส้นตั้งฉาก และสร้างรูปเรขาคณิต เช่น การสร้างสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม เป็นต้น”

บทที่ 3 เลขยกกำลัง

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ความหมายของเลขยกกำลัง
  • การคูณและการหารเลขยกกำลัง
  • สัญกรณ์วิทยาศาสตร์

พี่เอ๋แนะนำ

“บทนี้น้องจะได้เรียนพื้นฐานของเลขยกยกกำลัง โดยเริ่มต้นจากการเรียนเกี่ยวกับความหมายของเลขยกกำลัง การคูณและการหารเลขยกกำลัง ซึ่งน้องจะได้เรียนสมบัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้เรียนเรื่องเลขยกกำลังใน ม.2 ง่ายยิ่งขึ้น

ช่วงท้ายของบทนนี้น้องจะได้เรียนเรื่องเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้สามารถเขียนเลขจำนวนมาก ๆ ให้สั้นขึ้นได้โดยใช้เลขยกกำลัง”

บทที่ 4 ทศนิยมและเศษส่วน

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม
  • การบวกและการลบทศนิยม
  • การคูณและการหารทศนิยม
  • เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน
  • การบวกและการลบเศษส่วน
  • การคูณและการหารเศษส่วน
  • ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน

พี่เอ๋แนะนำ

“ในชีวิตประจำวัน นอกจากเราจะเจอกับจำนวนเต็มบ่อย ๆ แล้ว เรายังเจอกับพวกทศนิยมและเศษส่วนมาด้วยเช่นกัน

ในบทนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าประจำหลักของทศนิยม ค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมและเศษส่วน การเปรียบเทียบทศนิยมและเศษส่วน การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยมและเศษส่วน ความสัมพันธ์ระหว่างทศนิยมและเศษส่วน ปิดท้ายด้วยเรื่องของการนำความรู้เกี่ยวกับทศนิยมและเศษส่วนมาใช้แก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ได้”

บทที่ 5 รูปเรขาคณิต 2 มิติและ 3 มิติ

เนื้อหาประกอบด้วย

  • หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ
  • ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และภาพด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ

พี่เอ๋แนะนำ

“ในบทนี้ รูปเรขาคณิตสองมิติ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ตกกระป๋องไป เพราะตัวละครหลักของบทนี้คือ ปริซึม ทรงกระบอก พีระมิด กรวย ทรงกรม และรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ เราจะเรียนเกี่ยวกับหน้าตัดต่าง ๆ ของพวกมัน คลี่รูปสามมิติออกมาเป็นอย่างไร นอกจากนี้เราจะฝึกมอง รูปเรขาคณิตสามมิติจากมุมมองต่าง ๆ ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนอีกด้วย”

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ในแต่ละบทเรียน

หน งส อเร ยนคณ ตศาสตร ม.1 หล กส ตร 61

บทที่ 1 สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

เนื้อหาประกอบด้วย

  • การเตรียมความพร้อมก่อนรู้จักสมการ
  • สมการและคำตอบของสมการ
  • การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
  • โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

พี่เอ๋แนะนำ

“ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมการพื้นฐานสมการหนึ่ง นั่นคือ สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เช่น 3x+5=20, 7k=10-3k, 6+3y =3(y+2) เป็นต้น

โดยเริ่มต้นจากการทบทวนศัพท์ต่าง ๆ เช่น ตัวแปร ค่าคงตัว นิพจน์พีชคณิต สมการ คำตอบของสมการ และการแก้สมการ จากนั้นเรียนรู้สมบัติต่าง ๆ ฝึกฝนการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวจากง่ายไปยาก และฝึกการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา ใช้ความรู้ในบทนี้แก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพื่อแก้ปัญหาได้”

บทที่ 2 อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

เนื้อหาประกอบด้วย

  • อัตราส่วน
  • สัดส่วน
  • ร้อยละ
  • บทประยุกต์

พี่เอ๋แนะนำ

“นี่คือหนึ่งในบทที่ออกข้อสอบเยอะที่สุด ทั้งในสนามสอบแข่งขันต่าง ๆ และสนามสอบเข้า ม.4 โรงเรียนชั้นนำ โดยในบทนี้น้องจะได้เรียนเกี่ยวกับความหมายของอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ (เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ยังมีศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตราส่วน สัดส่วนตรง สัดส่วนผกผัน อัตราส่วนทองคำ เป็นต้น

น้องจะได้ฝึกการทำโจทย์มากมายในบทนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์ปัญหาที่มีเรื่องราวให้เราวิเคราะห์ และตีความออกมา ปิดท้ายด้วยโจทย์แนวประยุกต์ เช่น เรื่องการเปลี่ยนหน่วยอุณหภูมิ การย่อ/ขยาย และเรื่องของภาษี”

บทที่ 3 กราฟและความสัมพันธ์เชิงเส้น

เนื้อหาประกอบด้วย

  • คู่อันดับและกราฟของคู่อันดับ
  • กราฟและการนำไปใช้
  • ความสัมพันธ์เชิงเส้น

พี่เอ๋แนะนำ

“บทนี้เป็นหนึ่งในบทพื้นฐานที่ไม่ยากมากนัก น้องจะได้เรียนเกี่ยวกับความหมายของคู่อันดับ การเขียนและอ่านกราฟของคู่อันดับบนระนาบในระบบพิกัดฉาก การอ่านและแปลความหมายกราฟต่าง ๆ ตลอดจนเรียนการเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองชุดในรูปแบบต่าง ๆ ได้”

บทที่ 4 สถิติ (1)

เนื้อหาประกอบด้วย

  • คำถามทางสถิติ
  • การเก็บรวบรวมข้อมูล
  • การนำเสนอข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล

พี่เอ๋แนะนำ

“บทนี้เป็นการปูพื้นฐานสถิติ เพื่อนำไปสู่การเรียนสถิติในขั้นที่สูงขึ้นไป จึงยังไม่ยากมากนัก และไม่ค่อยมีการคำนวณ น้องจะได้เรียนเกี่ยวกับความหมาย และกระบวนการของสถิติ คำถามทางสถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ การนำเสนอข้อมูล เช่น แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง กราฟเส้น และแผนภูมิรูปวงกลม ปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูล”