ค ม อนำมาตรฐานส การปฏ บ ต spa part

  • 1. in Action สาหรับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 2556
  • 2. ปี หรือที่ เรียกว่ามาตรฐาน HA/HPH 2006 จัดทาเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 มีเนื้อหาหลักในด้านคุณภาพและความ ปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยและระบบงานสาคัญของโรงพยาบาล การสร้างเสริมสุขภาพ และคุณภาพการบริหาร จัดการองค์กรโดยรวม เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถทาความเข้าใจเนื้อหาของมาตรฐาน สามารถนามาตรฐานไปสู่การปฏิบัติได้ เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) จึงได้จัดทาคู่มือ SPA ขึ้น เป็นการขยายความกิจกรรมที่ควรดาเนินการสาหรับมาตรฐานแต่ละข้อ โดยอธิบายให้เห็นรูปธรรมของการ ปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน และให้แนวทางการประเมินตนเองอย่างกระชับซึ่งมุ่งให้ตอบเนื้อหาที่ได้จากผลของการ ปฏิบัติตามมาตรฐาน SPA in Action Part III นี้เป็นการนาคู่มือ SPA สาหรับมาตรฐานตอนที่ III กระบวนการดูแลผู้ป่วย มา จัดทาเป็นคาถามเริ่มต้นเพื่อให้โรงพยาบาลเข้าใจบริบทของตนเอง และนาไปสู่การดาเนินการปรับปรุงที่มีความ เฉพาะเจาะจงสาหรับโรงพยาบาล ทั้งนี้ผู้นาไปปฏิบัติควรนึกถึงวงล้อของระบบงานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันได้แก่ PDCA หรือ DALI (Design-Action-Learning-Improvement) อันได้แก่การออกแบบระบบ การปฏิบัติ ตามระบบที่ออกแบบไว้ การกากับติดตาม/ทบทวน/เรียนรู้ และการปรับปรุง การถามหาระบบการกากับติดตาม ในเรื่องต่างๆ นับว่าเป็นส่วนสาคัญที่จะทาให้วงล้อนี้หมุนไปอย่างต่อเนื่อง สรพ.หวังว่าความเข้าใจและการนามาตรฐานไปสู่การปฏิบัติ จะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีข้อมูลเชิงปฏิบัติต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) มิถุนายน 2556
  • 3. การประเมินผู้ป่วย (ASM).....................................................................................................................5 III-3.1 การวางแผนการดูแลผู้ป่วย (PLN.1).................................................................................................12 III-3.2 การวางแผนจาหน่าย (PLN.2)..........................................................................................................14 III-4.1 การดูแลทั่วไป (PCD.1)...................................................................................................................16 III-4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (PCD.2)................................................................18 III-5 การให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ผู้ป่วย / ครอบครัว (IMP).........................................................................20 III-6 การดูแลต่อเนื่อง (COC).....................................................................................................................22
  • 4. การเข้าถึงและเข้ารับบริการ III-1 กำรเข้ำถึงและเข้ำรับบริกำร (ACN) ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการที่จาเป็นได้ง่าย, กระบวนการ รับผู้ป่วยเหมาะกับปัญหาสุขภาพ / ความต้องการของผู้ป่วย ทันเวลา มีการประสานงานที่ดี ภายใต้ระบบและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล. (1) ชุมชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการของตน. ทีมผู้ให้บริการพยายามลด อุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ ในด้านกายภาพ ภาษา วัฒนธรรม และอุปสรรคอื่นๆ. ทีมผู้ให้บริการ ตอบสนองต่อผู้รับบริการอย่างรวดเร็ว. ระยะเวลารอคอยเพื่อเข้ารับบริการเป็นที่ยอมรับของชุมชนที่ใช้ บริการ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง บริการใดที่เป็นความต้องการสาคัญของชุมชน แต่ โรงพยาบาลยังไม่สามารถจัดให้บริการได้ ทีมนาและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาว่า รพ.ควร จัดบริการดังกล่าวหรือไม่ ถ้าไม่จะมีวิธีการให้ผู้ป่วย เข้าถึงบริการได้อย่างไร โรคใดบ้างที่การสื่อสารและให้ข้อมูลผ่านเทคโนโลยี สามารถช่วยดูแลผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องมา รพ. จัดให้มีระบบให้คาปรึกษาผ่านเทคโนโลยี สารสนเทศตามความเหมาะสม โรคใดบ้างที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วน แต่ ผู้ป่วยในบ้างพื้นที่มีปัญหาในการเดินทาง ประสานกับแหล่งทรัพยากรต่างๆ ในเรื่องการ สื่อสารและการเดินทาง/ขนย้าย ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้างที่โดดเดี่ยวตนเอง ไม่ยอมมารับ บริการ ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือไม่ถูกพามารับบริการ จัดให้มีบริการเชิงรุกหรือร่วมมือกับชุมชนในการ ค้นหาผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการในด้านกายภาพมี อะไรบ้าง ปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างกายภาพ อุปสรรคต่อการเข้าถึงในด้านภาษามีอะไรบ้าง จัดหาอุปกรณ์ช่วยสื่อสารหรือล่าม อุปสรรคต่อการเข้าถึงในด้านวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง ทาความเข้าใจ บ่งชี้ ตอบสนเอง อุปสรรคต่อการเข้าถึงด้านอื่นๆ มีอะไรบ้าง ปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสม ระยะเวลารอคอยก่อนที่จะได้รับการตรวจจาก แพทย์ที่ OPD ของแผนกต่างๆ เป็นเท่าไร กาหนดเป้าหมายที่เหมาะสม ปรับปรุงระบบเพื่อ บรรลุเป้าหมาย เช่น เพิ่มจุดบริการ กระจายผู้ป่วย ลดขั้นตอน ระยะเวลารอคอยก่อนที่จะได้รับการตรวจจาก แพทย์ที่ ER ในผู้ป่วยที่มีความเร่งด่วนต่างๆ เป็น เท่าไร (การตรวจขั้นต้น, การตัดสินสั่งการรักษา) กาหนดเป้าหมายที่เหมาะสม ปรับปรุงระบบเพื่อ บรรลุเป้าหมาย
  • 5. ดำเนินกำรปรับปรุง มีผู้ป่วยที่ต้องนัดคิวมาเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัย หรือรักษาอะไรบ้าง ต้องรอคิวนานเท่าไร ปรับปรุงเพื่อให้ระยะเวลารอคอยในคิวสั้นลง อาจ พิจารณาการส่งต่อหรือการสร้างความร่วมมือ มีขั้นตอนที่ไม่เกิดประโยชน์ในการเข้ารับบริการ ของผู้ป่วยอะไรบ้าง ใช้แนวคิด Lean เพื่อขจัดขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิด คุณค่าออกไป (2) ผู้ป่วยที่จาเป็นต้องได้รับการดูแลฉุกเฉินหรือเร่งด่วนได้รับการประเมินและดูแลรักษาเป็นอันดับแรก. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลฉุกเฉินหรือเร่งด่วน ที่ ER มีอะไรบ้าง วิเคราะห์ข้อมูลหรือตามรอยการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม ดังกล่าว ปรับปรุงให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลในเวลาที่ เหมาะสม อาจพิจารณานาแนวคิด Lean มาใช้ กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลฉุกเฉินหรือเร่งด่วน ที่ OPD มีอะไรบ้าง กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลฉุกเฉินหรือเร่งด่วน ที่ ward หรือหน่วยดูแลผู้ป่วยในมีอะไรบ้าง กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินหรือ เร่งด่วนมีอะไรบ้าง มีผู้ป่วยอะไรบ้างที่ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ที่มึ ความสามารถที่เหมาะสมโดยไม่ต้องผ่านการ ปรึกษาหลายขั้นตอน กาหนดขั้นตอนการขอคาปรึกษาที่เหมาะสม จัดให้ มีช่องทางการสื่อสารที่สะดวกในการเข้าถึง มีระบบในการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ ความรวดเร็วและผลที่ไม่พึงประสงค์เนื่องจากความ ล่าช้าในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มข้างต้นอย่างไร จัดให้มีระบบการติดตามและทบทวน (ถ้ายังไม่มี) และกาหนดความถี่ที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจ รพ. ให้บริการเป็นที่น่าไว้วางใจ (3) มีการประเมินความสามารถในการรับผู้ป่วยไว้ดูแลตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้. ถ้าไม่สามารถให้บริการแก่ ผู้ป่วยได้ ทีมผู้ให้บริการจะให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม อธิบายเหตุผลที่ไม่สามารถรับไว้ และช่วยเหลือผู้ป่วยในการหาสถานบริการสุขภาพที่เหมาะสมกว่า. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลไม่สามารถรับไว้ดูแลได้และมี โอกาสที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมาขอรับบริการมีอะไรบ้าง จัดระบบที่จะให้การดูแลเบื้องต้นและการประสาน เพื่อการส่งต่ออย่างเหมาะสม มีการกาหนดเกณฑ์สาหรับตัดสินใจอย่างไรว่าจะรับ หรือไม่รับผู้ป่วยไว้ดูแล ทบทวนเพื่อกาหนดเกณฑ์ที่ชัดเจน สื่อสารกับผู้ ปฏิบัติ ประเมินการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง มีการกาหนดแนวทางปฏิบัติเมื่อไม่สามารถรับ ผู้ป่วยไว้ดูแลได้อย่างไรในเรื่องการให้ความ ช่วยเหลือเบื้องต้น การให้คาอธิบายแก่ผู้ป่วยและ ครอบครัว การช่วยเหลือในการหา รพ.ที่จะส่งต่อ ทบทวนและกาหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ตาม รอยการปฏิบัติจริงเพื่อค้นหาโอกาสปรับปรุง และ ดาเนินการปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ประสานงานกับ รพ.ที่ส่งต่อ
  • 6. ดำเนินกำรปรับปรุง การประสานงานกับ รพ.ที่จะรับผู้ป่วย สถิติผู้ป่วยจาก OPD และ ER ที่โรงพยาบาลไม่ สามารถรับไว้ดูแลเป็นอย่างไร ผลการประเมินใน ประเด็นความเหมาะสมต่างๆ เป็นอย่างไร มองภาพรวมแล้วกาหนดลาดับความสาคัญของ ประเด็นที่ต้องปรับปรุง ทั้งในเรื่องโรคและขั้นตอน ต่างๆ มีระบบในการติดตามผลการดูแลในผู้ป่วยที่ไม่ สามารถรับไว้ดูแลหรือไม่ จัดให้มีระบบการติดตามผลจาก รพ.ที่รับส่งต่อ และ นาข้อมูลมาวิเคราะห์ (4) การรับย้ายหรือรับเข้าหน่วยบริการวิกฤตหรือหน่วยบริการพิเศษเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง อะไรคือเกณฑ์การรับย้ายหรือรับผู้ป่วยเข้าไว้ดูแล ในหน่วยบริการวิกฤตหรือหน่วยบริการพิเศษ ทบทวนให้เกณฑ์มีความเหมาะสมและเป็นที่ ยอมรับ มีระบบการประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร จัดให้มีระบบติดตามประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์ อย่างสม่าเสมอ มีระบบการทบทวนผลไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการ วิกฤติในเวลาที่เหมาะสมอย่างไร จัดให้มีระบบการทบทวน นาข้อมูลเข้ารวมกับระบบ รายงานอุบัติการณ์ และทา RCA เพื่อนาไปใช้ ปรับปรุงระบบ (5) ในการรับผู้ป่วยไว้ดูแล, มีการให้ข้อมูลที่เหมาะสมเกี่ยวกับสภาพการเจ็บป่วย การดูแลที่จะได้รับ ผลลัพธ์ และค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น แก่ผู้ป่วย / ครอบครัว อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย. มีกระบวนการขอ ความยินยอมจากผู้ป่วย / ครอบครัวก่อนที่จะให้บริการหรือกระทาหัตถการสาคัญ และสร้างความมั่นใจว่า ผู้ป่วย / ครอบครัว ได้รับข้อมูลที่จาเป็นอย่างเพียงพอด้วยความเข้าใจ มีเวลาที่จะพิจารณาก่อนตัดสินใจ และมีการบันทึกที่เหมาะสม. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีแนวทางการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเมื่อแรกรับไว้ดูแล หรือไม่ อย่างไร (ครอบคลุมข้อมูลอะไรบ้าง ใคร เป็นผู้ให้ข้อมูลแต่ละประเภท) จัดทาแนวทางถ้ายังไม่มี หรือปรับปรุงถ้าแนวทาง ยังไม่ครอบคลุมตามมาตรฐาน (สภาพการเจ็บป่วย การดูแลที่จะได้รับ ผลลัพธ์และค่าใช้จ่าย) กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาในการรับรู้และเข้าใจข้อมูลมี กลุ่มใดบ้าง มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร ปรับปรุงให้มั่นใจว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาในการรับรู้ สามารถเข้าใจข้อมูลที่จาเป็น มีระบบการสารวจความครอบคลุมในการให้ข้อมูล ความเข้าใจของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างไร จัดให้มีระบบการสารวจความครอบคลุมและ ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลถ้ายังไม่มี ข้อมูลสาคัญที่ผู้ป่วยจาเป็นต้องได้รับทราบก่อนที่ จะลงนามใน informed consent ทั่วไปมีอะไรบ้าง ผู้ป่วยได้รับและเข้าใจข้อมูลดังกล่าวดีเพียงใด ร่วมกันทบทวนข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องรับทราบ ปรับปรุงวิธีการให้ข้อมูลถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับข้อมูล หรือไม่เข้าใจข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลสาคัญที่ผู้ป่วยจาเป็นต้องได้รับก่อนที่จะลง ร่วมกันทบทวนข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องรับทราบ
  • 7. ดำเนินกำรปรับปรุง นามใน informed consent ก่อนที่จะทา invasive proceure มีอะไรบ้าง ผู้ป่วยได้รับและเข้าใจข้อมูล ดังกล่าวดีเพียงใด ปรับปรุงวิธีการให้ข้อมูลถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับข้อมูล หรือไม่เข้าใจข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลอะไรที่แพทย์จะต้องเป็นผู้ให้แก่ผู้ป่วยเอง ข้อมูลอะไรที่พยาบาลสามารถให้ข้อมูลแทนแพทย์ ได้ แนวทางที่จะให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลจากแพทย์ โดยตรงเมื่อจาเป็นคืออะไร ร่วมกันกาหนดข้อมูลที่แพทย์ต้องเป็นผู้ให้แก่ผู้ป่วย ให้ชัดเจน ปรับปรุงช่องทางและวิธีการให้ข้อมูลถ้า ผู้ป่วยไม่ได้รับ การทาหัตถการใดบ้าง ที่ควรมีการจัดทาสื่อเพื่อให้ ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นพิเศษ จัดทาสื่อเพื่อให้ข้อมูลสาหรับการทาหัตถการเฉพาะ เรื่องที่จาเป็น (ถ้ายังไม่มี) ข้อมูลอะไรที่ให้แก่ผู้ป่วยแล้วควรมีการบันทึกไว้ใน informed consent ด้วยเพื่อเป็นที่อ้างอิงในอนาคต เมื่อจาเป็น รวมตกลงแนวทาง ออกแบบฟอร์มให้เอื้อต่อการ บันทึกข้อมูลที่จาเป็นซึ่งมีความยืดหยุ่น กระตุ้น เตือน ตรวจสอบอย่างสม่าเสมอ เพื่อให้มีการบันทึก ข้อมูลดังกล่าว ทีมงานพอใจกับผลการแจ้งข่าวร้าย (โรคที่ไม่มีทาง รักษา, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์) แก่ผู้ป่วยและ ครอบครัวเพียงใด ปรับปรุงแนวทางการแจ้งข่าวร้ายและฝึกอบรม ทักษะที่จาเป็นให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง
  • 8. การประเมินผู้ป่วย III-2 กำรประเมินผู้ป่วย (ASM) ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินความต้องการและปัญหาสุขภาพอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และ เหมาะสม. ก. การประเมินผู้ป่วย (1) มีการประเมินผู้ป่วยครอบคลุมรอบด้านและประสานงานกันเพื่อลดความซ้าซ้อน, ผู้ประกอบวิชาชีพที่ รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยร่วมมือกันวิเคราะห์และเชื่อมโยงผลการประเมิน. มีการระบุปัญหาและความ ต้องการที่เร่งด่วนและสาคัญ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้างที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัย การประสานงานระหว่างวิชาชีพหรือระหว่าง หน่วยงานเพื่อการประเมินที่ครอบคลุม ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม/โรค ร่วมกันจัดทา แนวทางประเมินที่ส่งเสริมและเอื้อต่อกัน และลด ความซ้าซ้อน ซึ่งอาจจะเป็นการออกแบบบันทึก การกาหนดบทบาทที่ชัดเจน การมีข้อบ่งชี้ในการ ขอคาปรึกษาและระยะเวลาที่ต้องตอบสนองที่ ชัดเจน ข้อบ่งชี้ที่ต้องมีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกัน หรือประชุมร่วมกัน กิจกรรมการประสานและเชื่อมโยงผลการประเมิน ผู้ป่วยที่ใช้มากที่สุดคืออะไร พิจารณากิจกรรมการประสานและเชื่อมโยงผลการ ประเมินผู้ป่วยอื่นๆ ที่ยังใช้น้อยหรือไม่ได้ใช้ ว่าจะ นามาใช้ให้มากขึ้นได้อย่างไร จะมีข้อบ่งชี้ในการใช้ อย่างไร เช่น การตรวจเยี่ยมร่วมกัน กรใช้บันทึก ร่วมกัน การสรุปข้อมูลจาก รพ.ที่ส่งผู้ป่วย ฯลฯ ตัวอย่างปัญหาและความต้องการที่แร่งด่วนและ สาคัญมีอะไรบ้าง มีการนาข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ ในการตอบสนองปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับเวลา หรือไม่ ทบทวนว่ามีการบันทึกปัญหาและความต้องการ ดังกล่าวอย่างไร มีการนาไปใช้ประโยชน์อย่างไร ปรับปรุงเพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกและใช้ประโยชน์
  • 9. การประเมินแรกรับของผู้ป่วยแต่ละรายประกอบด้วย ประวัติสุขภาพ, การตรวจร่างกาย, การรับรู้ความ ต้องการของตนโดยผู้ป่วย, การประเมินปัจจัยด้านจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง การประเมินผู้ป่วยแรกรับตามมาตรฐานข้างต้น มี รายการใดที่ยังมีปัญหาในการประเมิน หรือประเมิน ได้ไม่สมบูรณ์ ทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางที่จะทาให้การ ประเมินในรายการดังกล่าวมีความสมบูรณ์ขึ้น แผนกที่มีการซักประวัติและตรวจร่างกายโดย แพทย์ที่สมบูรณ์ที่สุดคือแผนกใด วิเคราะห์ความสาเร็จของแผนกดังกล่าว และนา บทเรียนไปปรับปรุงในแผนกอื่นๆ หน่วยที่มีการประเมินการรับรู้ความต้องการโดย ผู้ป่วย การประเมินปัจจัยด้านจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ ที่สมบูรณ์ที่สุดคือหน่วยงานใด วิเคราะห์ความสาเร็จของหน่วยดังกล่าว และนา บทเรียนไปปรับปรุงในหน่วยอื่นๆ ปัญหาและความต้องการประเภทใดที่ควรได้รับการ ใส่ใจเป็นพิเศษ เช่น การกิน การนอน การขับถ่าย ความกังวล ร่วมกันหาวิธีคัดกรองปัญหาดังกล่าว และทาให้เป็น ระบบที่มีการปฏิบัติอย่างทั่วถึง มีระบบการประเมินความถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสมของการประเมินผู้ป่วยอย่างไร ทดลองตามรอยผู้ป่วยที่กาลังนอนอยู่ รพ. นาข้อมูล ที่ได้จากการตามรอยมาเทียบกับข้อมูลในเวช ระเบียน ร่วมกันพิจารณาว่าจะปรับปรุงอย่างไร (3) วิธีการประเมินที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและทรัพยากรที่เพียงพอ. มี การใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและทรัพยากรเพื่อชี้นาการประเมินผู้ป่วย ถ้ามี แนวทางดังกล่าว. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง กลุ่มโรคที่มักจะมีปัญหาการประเมินที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง หรือมีความล่าช้า มีอะไรบ้าง ทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแนวทางการประเมิน ที่เหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละกลุ่มโรค โดย เลือกสรร CPG ที่เหมาะสมมาใช้ กลุ่มผู้ป่วยที่จาเป็นต้องมีแนวทางในการประเมิน เฉพาะตามเอกลักษณ์ของปัญหาที่ รพ.ต้องให้การ ดูแลมีอะไรบ้าง เช่น ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยมาก, ผู้ป่วย สูงอายุที่อ่อนแอ, ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้ป่วย อื่นๆ ที่มีอาการเจ็บปวด, หญิงมีครรภ์ที่อยู่ระหว่าง การคลอด, ผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติทาง อารมณ์หรือจิตใจ, ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะติดยา และ/ หรือสุรา, เหยื่อที่ถูกกระทาทารุณหรือถูกทอดทิ้ง ทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแนวทางการประเมิน ที่เหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถระบุความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างตรง ประเด็นและครอบคลุม การประเมินด้วย investigation หรือ invasive procedure ใดบ้างที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ออกแบบระบบที่ปลอดภัยโดยคานึงถึงสิ่งแวดล้อม เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร วิธีการ และมาตรการ
  • 10. ดำเนินกำรปรับปรุง รองรับเมื่อเกิดปัญหา การประเมินใดบ้างที่อาจมีความจาเป็น แต่ไม่มี ให้บริการใน รพ. จัดระบบประสานงานหรือส่งต่อเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ การประเมินนั้นในเวลาที่เหมาะสม การประเมินในโรคใดบ้างที่ต้องการความเร่งด่วน เป็นพิเศษเนื่องจากมีผลต่อการตัดสินใจและผลลัพธ์ ทางคลินิก จัดระบบเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินในเวลาที่มี จากัด เช่น fast track การประเมินในโรคใดบ้างที่ต้องมีการแบ่งระดับ ความรุนแรงหรือระบุ staging ของโรค จัดระบบเพื่อให้สามารถแบ่งระดับความรุนแรงหรือ ระบุ staging ของโรคได้ โดยพิจารณา เครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร วิธีการ การสื่อสารและ ประสานงาน การนาผลไปใช้วางแผน การติดตาม ผู้ป่วยมารับการดูแลรักษา การประเมินภาวะใดบ้างที่มีผลต่อการเลือกใช้ยา หรือเทคโนโลยีที่มีราคาแพง จัดระบบเพื่อให้สามารถประเมินภาวะดังกล่าวได้ อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อให้การตัดสินใจ เป็นไปอย่างเหมาะสม การประเมินภาวะใดบ้างที่มีผลต่อการป้องกัน อุบัติการณ์ซี่งสามารถป้องกันได้ เช่น falling, pressure sore, suicide จัดระบบเพื่อให้สามารถตรวจพบภาวะเสี่ยง ดังกล่าวและนาไปใช้ในการวางแผนป้องกัน การคัดกรองภาวะใดบ้างที่ควรทาเพื่อส่งต่อไปรับ การประเมินอย่างละเอียดต่อไป เช่น ภาวะ โภชนาการ, ทันตกรรม, การได้ยิน, การเจ็บปวด จัดระบบให้มีการคัดกรองอย่างทั่วถึงด้วยวิธีที่เรียบ ง่าย และมีระบบส่งต่อเพื่อรับการประเมินอย่าง ละเอียด (4) ผู้ป่วยได้รับการประเมินภายในเวลาที่กาหนดโดยองค์กร. มีการบันทึกผลการประเมินในเวชระเบียน ผู้ป่วยและพร้อมที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลได้ใช้ประโยชน์จากการประเมินนั้น. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีการกาหนดเวลาที่ต้องประเมินและบันทึกผลการ ประเมินให้แล้วเสร็จหรือไม่ ทบทวนกาหนดเวลาให้เหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ ละกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยสังเกตอาการ, ผู้ป่วยในทั่วไป, ผู้ป่วยในวิกฤติ, ผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินที่รับไว้นอน ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งระบุกาหนดเวลาที่สั้น อาจ ระบุข้อมูลที่จาเป็นต้องบันทึกตามความเหมาะสม ข้อมูลการซักประวัติผู้ป่วยนอกที่แพทย์ได้ใช้ ประโยชน์จากบันทึกของพยาบาลมีอะไรบ้าง (เฉพาะกรณีที่มีการซักประวัติผู้ป่วยนอกโดย พยาบาล) ออกแบบระบบที่จะทาให้มีการบันทึกข้อมูลที่ได้ใช้ ประโยชน์เพื่อลดภาระงานที่ไม่จาเป็นของพยาบาล ข้อมูลสาคัญที่แพทย์เวรซึ่งไม่ใช่เจ้าของไข้ใช้ ร่วมกันออกแบบว่าจะทาให้ข้อมูลส่วนนั้นสามารถ
  • 11. ดำเนินกำรปรับปรุง ประโยชน์มากที่สุดคืออะไร บันทึกได้โดยง่าย ดูแล้วเข้าใจปัญหาโดยรวมของ ผู้ป่วยได้อย่างรวดรเว สามารถตัดสินใจได้โดยง่าย ข้อมูลสาคัญที่จะต้องใช้ในการจาหน่ายผู้ป่วยคือ อะไร เพื่อให้การดูแลที่บ้านครอบคลุมปัญหาของ ผู้ป่วยทั้งหมด ร่วมกันออกแบบว่าจะทาให้มีข้อมูลดังกล่าวอยู่ในที่ เดียวและใช้งานได้ง่ายอย่างไร การบันทึกข้อมูลที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเมื่อต้อง เปิดเผยเวชระเบียนแก่บุคคลภายนอกมีอะไรบ้าง ร่วมกันกาหนดแนวทางการบันทึกข้อมูลที่ควรและ ไม่ควรกระทา โดยคานึงถึงความเป็นจริง ความ สมบูรณ์ และการแปลความหมายโดย บุคคลภายนอก แผนกใดที่มีการใช้ข้อมูลข้ามสาขาวิชาชีพมากที่สุด ข้อมูลของวิชาชีพใดถูกใช้โดยวิชาชีพอื่น วิเคราะห์ความสาเร็จของแผนกดังกล่าว และนา บทเรียนไปปรับปรุงในแผนกอื่นๆ (5) ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินซ้าตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อประเมินการตอบสนองต่อการดูแลรักษา. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหรือปัญหาอะไรบ้างที่สามารถ ตรวจพบได้จากการมีระบบประเมินซ้าที่ดี ร่วมกันวางระบบเพื่อให้สามารถตรวจพบปัญหา ดังกล่าวได้อย่างทันการณ์ เช่น การออกแบบบันทึก vital sign ใหม่ที่ควบ early warning sign ไว้ด้วย ผู้ป่วยกลุ่มโรคใดหรือสภาวะใดบ้าง ที่การประเมิน ซ้าอย่างเป็นระบบมีความสาคัญสูง เช่น ผู้ป่วยที่ นอน ICU, ผู้ป่วยระดับ 3-4, DHF, traumatic brain injury, sepsis ร่วมกันออกแบบระบบการประเมินซ้าสาหรับผู้ป่วย แต่ละกลุ่มโรค โดยพิจารณาถึงสภาวะผู้ป่วย แผนการรักษา ความถี่ วิธีการประเมิน การบันทึก การปรับแผน ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้าง ที่การประเมินซ้าไม่จาเป็นต้อง บ่อยขนาดประเมินทุกวัน ร่วมกันกาหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการประเมิน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึงแนวทางการเฝ้าระวังเพื่อตรวจ พบปัญหาผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนถึงกาหนดเวลาที่ ต้องประเมินซ้า ปัญหาอะไรบ้างที่การติดตามการเปลี่ยนแปลงด้วย ความถี่ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจาเป็น เช่น ผู้ป่วยที่มา ด้วย progressive symptom และยังไม่สามารถให้ definite diagnosis ได้ (ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน) ร่วมกันกาหนดแนวทางและระยะเวลาที่เหมาะสม ในการประเมิน รวมทั้งการขอคาปรึกษาจากผู้ที่ เชี่ยวชาญกว่า นาเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มนี้มา ทบทวนเพื่อให้เห็นปัญหาในเชิงปฏิบัติ (6) ทีมผู้ให้บริการอธิบายผลการประเมินให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ผู้ป่วยกลุ่มใดที่อาจจะมีปัญหาในเรื่องการสื่อสารผล การประเมินผู้ป่วย ร่วมกันกาหนดแนวทางสื่อสารสาหรับผู้ป่วยแต่ละ กลุ่ม
  • 12. ดำเนินกำรปรับปรุง โรคที่จาเป็นต้องมีวิธีการสื่อสารเป็นพิเศษเพื่อให้ ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจผลการประเมินได้ง่ายมี อะไรบ้าง ทีมที่เกี่ยวข้องร่วมกันกาหนดประเด็นสาคัญและ แนวทางการสื่อสารสาหรับแต่ละกลุ่มโรค โรคใดบ้างที่ควร empower ให้ผู้ป่วยเข้าใจปัญหา และทางเลือกสาหรับแก้ปัญหาของตนเอง ทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกาหนดแนวทางที่เป็นไป ได้ เช่น counseling, การใช้เรื่องเล่า ข. การส่งตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค (1) ผู้ป่วยได้รับการตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคที่จาเป็นครบถ้วน หรือได้รับการส่งต่อไปตรวจที่อื่นใน เวลาที่เหมาะสม. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีการตรวจ investigate อะไรที่จาเป็นต้องส่งไป ตรวจที่อื่น หรือมีความไม่คล่องตัวในการได้รับ บริการ ร่วมกันวางระบบการส่งตรวจที่คล่องตัว รวมทั้งมี ระบบกากับติดตามคุณภาพ ความรวดเร็ว และการ ได้รับการตรวจที่จาเป็น มีโรคอะไรที่การตรวจ investigate ที่ รพ.มีอยู่ ยัง ไม่เพียงพอที่จะเอื้อต่อการวินิจฉัยโรคอย่างมี ประสิทธิภาพ ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันทีมนาพิจารณาว่าสมควรมีการ ขยายบริการดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร (2) มีการประเมินความน่าเชื่อถือของผลการตรวจประกอบการวินิจฉัยโรค โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับ สภาวะของผู้ป่วย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีการตรวจ investigate ใดบ้างที่แพทย์ผู้ส่งตรวจ มักจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการตรวจ ทีมที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาข้อมูลเพื่อนามา ปรับปรุง มีการตรวจ investigate อะไรที่หากเกิดความ คลาดเคลื่อนแล้วจะมีผลกระทบต่อ clinical outcome อย่างรุนแรง สร้างความมั่นใจว่าผลการตรวจ investigate ดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจ investigate อะไรบ้าง ที่อาจจะไม่ได้ทา โดยผู้ที่มีความชานาญหรือได้รับการฝึกฝนในเรื่อง นั้น เช่น lab, x-ray, GI series ทบทวนการตรวจ investigate ในกรณีดังกล่าวและ วางมาตรการว่าจะสร้างความมั่นใจในคุณภาพการ ตรวจอย่างไร (3) มีระบบสื่อสารและบันทึกผลการตรวจที่มีประสิทธิผล ทาให้มั่นใจว่าแพทย์ได้รับผลการตรวจในเวลาที่ เหมาะสม สามารถสืบค้นผลการตรวจได้ง่าย ไม่สูญหาย และมีการรักษาความลับอย่างเหมาะสม. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ช่องทางการสื่อสารผลการตรวจในกรณีที่ต้องการ ทบทวนความทันเวลาของการได้รับผลการตรวจ
  • 13. ดำเนินกำรปรับปรุง ผลเร่งด่วนเป็นอย่างไร เร่งด่วน และผลต่อการดูแลผู้ป่วย ช่องทางการสื่อสารผลการตรวจที่มีค่าวิกฤติเป็น อย่างไร ทบทวนความทันเวลาของการได้รับผลการตรวจที่ มีค่าวิกฤต และผลต่อการดูแลผู้ป่วย ผลการตรวจอะไรที่ได้รับการบันทึกในเวชระเบียน อะไรที่มิได้บันทึก มีความสะดวกในการใช้ผลการ ตรวจในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย อย่างไร ร่วมกันปรับปรุงเพื่อให้สะดวกในการใช้ผลการ ตรวจเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย ข้อมูลผลการตรวจอะไรบ้างที่ต้องเก็บรักษาเป็น ความลับ ทบทวนและทาให้มั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บ รักษาเป็นความลับ มีโอกาสที่ข้อมูลผลการตรวจ investigate จะสูญ หายในขั้นตอนใดบ้าง เพราะเหตุใด ทบทวนและทาให้มั่นใจว่าจะป้องกันการสูญหาย ของข้อมูลได้ (4) มีการอธิบายหรือส่งตรวจเพิ่มเติม เมื่อพบว่าผลการตรวจมีความผิดปกติ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง สถานการณ์ที่การอธิบายผลการตรวจที่มีความ ผิดปกติเป็นเรื่องยากที่จะทาความเข้าใจมีอะไรบ้าง วางแนวทางการอธิบายในลักษณะที่คนทั่วไป สามารถเข้าใจความหมายได้ง่าย เช่น การใช้ ถ้อยคา การใช้สื่อประกอบ รวมทั้งพิจารณา ความรู้สึกของผู้รับฟัง ผลการตรวจผิดปกติซึ่งยากต่อการอธิบายหรือต้อง ใช้ความละเอียดอ่อนหรือระมัดระวังในการให้ข้อมูล มีอะไรบ้าง วางแนวทางการอธิบายที่ชัดเจนทั้งในเรื่องผู้ให้ ข้อมูล สิ่งแวดล้อมของการให้ข้อมูล การนา ครอบครัวมาร่วมรับรู้ การดูแลทางด้านจิตใจของ ผู้ป่วยและครอบครัว มีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งตรวจเพิ่มเติมเมื่อ พบว่าผลการตรวจมีความผิดปกติในเรื่องอะไรบ้าง ทบทวนการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ทบทวน ความหลากหลายของการปฏิบัติในกรณีที่ยังไม่มี แนวทางเพื่อพิจารณาจัดทาแนวทางเพิ่มเติม
  • 14. การวินิจฉัยโรค (1) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง โดยมีข้อมูลเพียงพอเพื่ออธิบายเหตุผลของการวินิจฉัยโรค. มีการ ลงบันทึกการวินิจฉัยโรคภายในเวลาที่กาหนดไว้ และบันทึกการเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคเมื่อมีข้อมูล เพิ่มเติม. มีการทบทวนความเหมาะสมของการวินิจฉัยโรค และความสอดคล้องของการวินิจฉัยโรคของ แต่ละวิชาชีพในทีมผู้ให้บริการอย่างสม่าเสมอ . คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง การวินิจฉัยโรคที่ไม่เฉพาะเจาะจงหรือการ วินิจฉัยโรคตามอาการที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ร่วมกันวางแนวทางเพื่อให้มีการวินิจฉัยโรคที่ เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โรคที่มักจะเป็นปัญหาในการวินิจฉัยโรค เช่น วินิจฉัยผิด วินิจฉัยคลาดเคลื่อน วินิจฉัยล่าช้า มีระบบในการทบทวนความเหมาะสมของการ วินิจฉัยโรคและข้อมูลสนับสนุนการวินิจฉัยโรค อย่างไร ร่วมกันจัดระบบทบทวน เช่น เปรียบเทียบการ วินิจฉัยโรคเมื่อแรกรับและการวินิจฉัยโรคเมื่อ จาหน่าย, เปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคของ โรงพยาบาลกับโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ, ทบทวน ผู้ป่วยที่มาตรวจซ้าหลายๆ ครั้งด้วยโรคเดิม, ทบทวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง มีระบบในการทบทวนความสอดคล้องของการ วินิจฉัยโรคระหว่างวิชาชีพอย่างไร ร่วมกันจัดระบบทบทวนและใช้ประโยชน์จากการ ทบทวน
  • 15. – 3. การวางแผน III-3.1 กำรวำงแผนกำรดูแลผู้ป่วย (PLN.1) ทีมผู้ให้บริกำรจัดทำแผนกำรดูแลผู้ป่วยที่มีกำรประสำนกันอย่ำงดีและมีเป้ำหมำยที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหำ / ควำมต้องกำรด้ำนสุขภำพของผู้ป่วย. (1) การวางแผนดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างเชื่อมโยงและประสานกันระหว่างวิชาชีพ แผนก และหน่วยบริการ ต่างๆ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง โรคอะไรบ้างที่จาเป็นต้องวางแผนดูแลผู้ป่วยอย่าง เชื่อมโยงและประสานกันระหว่างวิชาชีพและ หน่วยงานต่างๆ กาหนดข้อบ่งชี้ แนวทางการวางแผนร่วมกัน รวมทั้งรูปแบบการสื่อสารและการบันทึก (2) แผนการดูแลผู้ป่วยตอบสนองต่อปัญหา / ความต้องการของผู้ป่วยที่ได้จากการประเมินอย่างเป็นองค์ รวม. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง แผนการดูแลที่ใช้อยู่มีกี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบ สามารถตอบสนองปัญหาของผู้ป่วยได้อย่าง ครอบคลุมเป็นองค์รวมได้ดีเพียงใด ทบทวนและเลือกสรรรูปแบบของแผนการดูแล ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม สามารถ ตรวจสอบความครบถ้วนของแผนในการตอบสนอง ปัญหา/ความต้องการของผู้ป่วย แผนการดูแลผู้ป่วยที่สอดแทรกอยู่ในคาสั่งการ รักษาหรือบันทึกต่างๆ เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการใช้ ประโยชน์ในการดูแลและประเมินผลเพียงใด พิจารณาปรับปรุงให้แผนการดูแลมีความชัดเจน และง่ายต่อการใช้ โดยไม่เป็นภาระมากเกินไป (3) มีการนาหลักฐานวิชาการหรือแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการดูแลผู้ป่วย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีโรคอะไรบ้างที่แผนการดูแลผู้ป่วยเป็นไปตาม หลักฐานวิชาการ (scientific evidence) หรือ CPG, มีโรคอะไรบ้างที่ควรนาหลักฐานวิชาการหรือ CPG มาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดูแลผู้ป่วยให้มาก ยิ่งขึ้น ทีมที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาทางนา CPG มาเป็น แนวทางในการวางแผนดูแล ใช้เครื่องมือที่ง่ายต่อ การปฏิบัติ เช่น flow chart ช่วยตัดสินใจ, แบบ บันทึก, CareMap (4) ผู้ป่วย / ครอบครัวมีโอกาสตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาหลังจากได้รับข้อมูลที่เพียงพอ และร่วมในการวาง แผนการดูแล.
  • 16. ดำเนินกำรปรับปรุง มีโรคอะไรบ้างที่มีทางเลือกในวิธีการรักษาที่ควรให้ ผู้ป่วย / ครอบครัวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ, แนวทางที่ทีมงานให้ข้อมูลและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วย / ครอบครัวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนั้นได้ผลดี เพียงใด วางแนวทางให้ข้อมูลที่จาเป็นแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว ทาให้มั่นใจว่าเป็นการเลือกด้วยความเข้าใจ (5) แผนการดูแลผู้ป่วยครอบคลุมเป้าหมายที่ต้องการบรรลุและบริการที่จะให้เพื่อบรรลุเป้าหมาย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง รูปแบบของแผนการดูแลผู้ป่วยในแผนกใดหรือ ผู้ป่วยกลุ่มใด ที่มีการระบุเป้าหมายการดูแลและ กิจกรรมบริการเพื่อบรรลุเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน ศึกษารูปแบบที่ดี และร่วมกันหาแนวทางขยายผล (6) มีการสื่อสาร / ประสานงานระหว่างสมาชิกของทีมผู้ให้บริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการนา แผนการดูแลผู้ป่วยไปสู่การปฏิบัติที่ได้ผลในเวลาที่เหมาะสม โดยสมาชิกของทีมผู้ให้บริการมีความเข้าใจ บทบาทของผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง รูปแบบของการสื่อสารและประสานงานที่ดีเพื่อให้มี การปฏิบัติตามแผนการดูแลผู้ป่วยมีอยู่ในการดูแล ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้าง ศึกษารูปแบบที่ดี และร่วมกันหาแนวทางขยายผล (7) มีการทบทวนและปรับแผนการดูแลผู้ป่วยเมื่อมีข้อบ่งชี้จากสภาวะหรืออาการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนไป. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง โรคหรือสภาวะอะไรบ้างที่มักจะต้องมีการทบทวน และปรับแผนการดูแลผู้ป่วย (เช่น การติดเชื้อ) กาหนดข้อบ่งชี้ รวมถึงแนวทางการทบทวนและ ปรับแผนการดูแลผู้ป่วยให้มีความชัดเจน
  • 17. กำรวำงแผนจำหน่ำย (PLN.2) มีการวางแผนจาหน่ายผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง และได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม กับสภาพปัญหาและความต้องการ หลังจากจาหน่ายจากโรงพยาบาล. (1) มีการกาหนดแนวทาง ข้อบ่งชี้ และโรคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสาคัญสาหรับการวางแผนจาหน่าย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง โรคอะไรบ้างที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสาคัญสาหรับการ วางแผนจาหน่าย กาหนดแนวทางการวางแผนจาหน่ายสาหรับโรค ดังกล่าว (2) มีการพิจารณาความจาเป็นในการวางแผนจาหน่ายสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย ตั้งแต่เริ่มแรกที่เป็นไปได้. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้างที่ทีมสามารถรับรู้ปัญหาที่จะ เกิดขึ้นหลังจาหน่ายได้ตั้งแต่แรกรับ ปัญหา เหล่านั้นคืออะไร ร่วมกันกาหนดแนวทางการรับรู้ความจาเป็นในการ วางแผนจาหน่ายตั้งแต่แรกรับ ออกแบบระบบ บันทึกหรือแบบตรวจสอบเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวไม่ ถูกละเลยเมื่อจะจาหน่ายผู้ป่วย (3) แพทย์ พยาบาล และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ป่วยและครอบครัว มีส่วนร่วมในการวางแผนจาหน่าย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง หน่วยงานใด แผนกใด ที่นาแพทย์ พยาบาล วิชาชีพอื่น ผู้ป่วย/ครอบครัว มามีส่วนร่วมในการ วางแผนจาหน่าย ศึกษาปัจจัยแห่งความสาเร็จและร่วมกันขยายผล (4) มีการประเมินและระบุปัญหา / ความต้องการของผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นหลังจาหน่าย และประเมินซ้าเป็นระยะ ในช่วงที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลอยู่ในโรงพยาบาล. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีหน่วยงานใดที่มีรูปแบบในการระบุปัญหา/ความ ต้องการของผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นหลังจาหน่าย ที่ เอื้ออานวยต่อการวางแผนจาหน่าย ศึกษารูปแบบที่ดีและร่วมกันขยายผล (5) มีการปฏิบัติตามแผนจาหน่ายในลักษณะที่เชื่อมโยงกับแผนการดูแลระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล ตาม หลักการเสริมพลัง เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพและความมั่นใจในการจัดการดูแลสุขภาพของ ตนเอง. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ทักษะอะไรที่ต้องใช้ความพยายามของทั้งสองฝ่าย ประเมินสัมฤทธิผลของการเสริมสร้างทักษะเหล่านี้
  • 18. ดำเนินกำรปรับปรุง (ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ) ในการเสริมพลังให้ ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถจัดการดูแลสุขภาพ ของตนเอง แก่ผู้ป่วย/ครอบครัว ปรับปรุงวิธีการเตรียมความ พร้อมผู้ป่วย/ครอบครัว ขอให้นึกถึงสิ่งที่สามารถทาร่วมกันหรือเชื่อมโยงกัน ระหว่างการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการ เตรียมความพร้อมเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตนเองที่บ้าน ออกแบบกิจกรรมการดูแลที่สามารถทาได้อย่าง เชื่อมโยงกัน (6) มีการประเมินผลและปรับปรุงกระบวนการวางแผนจาหน่าย โดยใช้ข้อมูลจากการติดตามผู้ป่วยและข้อมูล สะท้อนกลับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีระบบติดตามผลการดูแลผู้ป่วยหลังจากออกจาก โรงพยาบาลอย่างไร (ทั้งจากผู้ป่วยโดยตรงและจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) จัดให้มีระบบติดตามผล นาข้อมูลจากการติดตาม ผลมาปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อม ผู้ป่วยและพัฒนาบุคลากร ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้างที่มักจะมีปัญหาการดูแลตนเองที่ บ้านหรือต้องกลับมา admit ซ้า พิจารณาว่าจะเตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวให้มี ความพร้อมในการดูแลตนเองมากขึ้นอย่างไร รวมทั้งจัดระบบสื่อสารและสนับสนุนที่เหมาะสม
  • 19. – 4. การดูแลผู้ป่วย III-4.1 กำรดูแลทั่วไป (PCD.1) ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลอย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตาม มาตรฐานวิชาชีพ. (1) มีการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปลอดภัย ทันเวลา โดยมอบหมายความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย ให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม. การดูแลในทุกจุดบริการเป็นไปตามหลักปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับใน ปัจจุบัน. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ความล่าช้าในการดูแลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดขึ้นมี อะไรบ้าง วิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและวางแนวทาง ป้องกัน กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง และที่เป็น ข้อกาหนดว่าต้องปฏิบัติโดยผู้ที่มีคุณวุฒิเหมาะสมมี อะไรบ้าง สร้างความมั่นใจอย่างไรว่ากิจกรรมดังกล่าวได้รับ การปฏิบัติโดยผู้มีคุณวุฒิที่กาหนดไว้ แนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในเรื่องใดบ้างที่อาจ ถูกละเลยไม่ได้รับการปฏิบัติตาม จัดระบบติดตามกากับการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว (2) มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ โดยคานึงถึงศักดิ์ศรีและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ความ สะดวกสบายและความสะอาด การป้องกันอันตราย / ความเครียด / เสียง / สิ่งรบกวนต่างๆ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง อันตราย ความเครียด เสียง สิ่งรบกวนต่างๆ ต่อ ผู้ป่วยมีอะไรบ้าง สารวจเพิ่มเติมและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อลด อันตรายและสิ่งรบกวนดังกล่าว สิ่งที่ไม่เอื้อต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยมี อะไรบ้าง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม โอกาสพัฒนาเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ เยียวยา เช่น การมองเห็น แสง เสียง ความ ปลอดภัย สิ่งเร้า ความสะอาด ความสะดวกสบายมี อะไรบ้าง สารวจเพิ่มเติมและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (3) ทีมผู้ให้บริการดาเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง โอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บต่อผู้ป่วยมี อะไรบ้าง วางแนวทางป้องกันและติดตามกากับ
  • 20. ทีมผู้ให้บริการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติ หรือภาวะฉุกเฉิน อย่างเหมาะสมและปลอดภัย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติ ภาวะฉุกเฉิน ที่มี โอกาสพบมีอะไรบ้าง วางระบบเพื่อให้ตรวจพบและจัดการภาวะดังกล่าว อย่างรวดเร็ว (5) ทีมผู้ให้บริการตอบสนองต่อความต้องการหรือปัญหาของผู้ป่วยในลักษณะองค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตสังคม. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ปัญหาด้านอารมณ์ จิตสังคมที่พบบ่อยมีอะไร วางแนวทางประเมินที่มีความไว และตอบสนอง อย่างเหมาะสม (6) มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม เพื่อความต่อเนื่องในการดูแล. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ทีมงานที่มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและ ประสานการดูแลผู้ป่วยที่ดีคือทีมใดบ้าง ศึกษาปัจจัยแห่งความสาเร็จและนาไปขยายผล
  • 21. กำรดูแลผู้ป่วยและกำรให้บริกำรที่มีควำมเสี่ยงสูง (PCD.2) ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและให้บริการที่มีความ เสี่ยงสูงอย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ. (1) ทีมผู้ให้บริการวิเคราะห์ผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูง และร่วมกันจัดทาแนวทางการดูแลผู้ป่วยใน สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าว. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในความรับผิดชอบมี อะไรบ้าง เช่น ผู้ป่วยโรคติดต่อ ผู้ป่วยที่มีภูมิ ต้านทานต่า ผู้ป่วยที่ถูกผูกยึด ผู้สูงอายุ ผู้ทุพพล ภาพ ร่วมกันจัดทาแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ ดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลวิชาการที่เหมาะสม ระบุการ ดูแลที่ต้องใส่ใจเป็นการเฉพาะ สิ่งที่ต้องบันทึกเพื่อ สื่อสารกันในทีม การติดตามประเมินผู้ป่วย คุณสมบัติหรือทักษะพิเศษของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการดูแล ความพร้อมและการใช้ เครื่องมืออุปกรณ์พิเศษ บริการที่มีความเสี่ยงสูงในความรับผิดชอบมี อะไรบ้าง เช่น การให้เลือด การฟอกไต การให้ยา เคมีบาบัด (2) บุคลากรได้รับการฝึกอบรม เพื่อนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงมาสู่การปฏิบัติ ด้วยความเข้าใจ. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง อุบัติการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่เคย พบหรือมีโอกาสพบมีอะไรบ้าง วิเคราะห์ training need สาหรับทีมผู้ให้การดูแล กลุ่มต่างๆ และดาเนินการฝึกอบรม (3) การทาหัตถการที่มีความเสี่ยง จะต้องทาในสถานที่ที่เหมาะสม มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและผู้ช่วยที่ จาเป็น. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง การทาหัตถการที่มีความเสี่ยงสูงในความ รับผิดชอบมีอะไรบ้าง ร่วมกันจัดทาแนวทางการทาหัตถการดังกล่าว โดย ใช้ข้อมูลวิชาการที่เหมาะสม ระบุผู้มีคุณสมบัติที่จะ ทาหัตถการดังกล่าวได้ ระบุการจัดเตรียมสถานที่ เครื่องมือ และผู้ช่วยที่เหมาะสม (4) มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย และดาเนินการแก้ไขหรือ ปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้ทันท่วงที. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง โรคหรือสภาวะที่อาการของผู้ป่วยมีโอกาส เปลี่ยนแปลงและจาเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังการ เปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมมีอะไรบ้าง ระบุสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและวิธีการเฝ้าระวังที่ เหมาะสม ทบทวนผู้ป่วยที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ว่ามี
  • 22. ดำเนินกำรปรับปรุง การเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยน แผนการรักษาในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ การช่วยฟื้นคืนชีพนอก ICU เกิดขึ้นในผู้ป่วยหรือ สภาวะการณ์ใด มีการกาหนด early warning sign ที่จะเป็นสัญญาณเตือนว่าผู้ป่วยอาจมีการ เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างไร ปรับปรุงให้มี early warning sign เข้าไปอยู่ใน บันทึกสัญญาณชีพ และชี้นาการปฏิบัติที่ควร เกิดขึ้น (5) เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ, มีความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญกว่ามา ช่วยทีมผู้ให้บริการอย่างทันท่วงทีในการประเมินผู้ป่วย การช่วย stabilize ผู้ป่วย การสื่อสาร การให้ ความรู้ และการย้ายผู้ป่วยถ้าจาเป็น. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง มีการจัดทีม Rapid Response Team (RRT) อย่างไร วิเคราะห์แรงหนุนแรงต้านในการจัดให้มี RRT จัด ให้มีระบบตอบสนองผู้ป่วยที่เหมาะสมกับบริบท ของ รพ. (6) ทีมผู้ให้บริการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วย เหล่านี้ เพื่อนามาปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วย. คำถำมเพื่อตรวจสอบตนเอง ดำเนินกำรปรับปรุง ภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใน ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมีแนวโน้มเป็นอย่างไร ทบทวนความไวในการตรวจจับหรือบ่งชี้เหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์ และการนาผลการวิเคราะห์แนวโน้ม ของภาวะแทรกซ้อนมาปรับปรุงระบบ

Spaใน HA คืออะไร

HA มีคาย่อเพิ่มเติมที่ควรรู้ SPA สรพ. พยายามปรับรูปแบบการประเมินตนเองให้ง่ายขึ้น เป็นรูปธรรมจับต้องได้มากขั้น โดยเปลี่ยนแนว ทางการเดิมการเขียนแบบประเมินตนเอง Self Assessmentเป็น SPA โดยแต่ละบทจะมีรายละเอียด มาตรฐาน (ซึ่งมีการขยายความมาตรฐานครอบคลุมแนวคิดที่ทีมงานควรศึกษาให้เข้าใจ) กิจกรรมที่ควรดาเนินการ (เป็น เหมือน ...