กรดฟอร ม ก ท ผสมแล วอย ได ก ว น

ในแต่ละวันถ้าเรารับประทานผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล หรือน้ำผลไม้ แสดงว่าเรารับประทานกรดเข้าสู่ร่างกายแล้ว และขณะเดียวกันหากเราล้างห้องน้ำด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำก็แสดงว่าเราใช้กรดในการทำความสะอาดเช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์หลายอย่างมีกรดเป็นส่วนประกอบ กรด คืออะไร มีสมบัติอย่างไร และเกิดปฏิกิริยาอย่างไรจะได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้

กรดฟอร ม ก ท ผสมแล วอย ได ก ว น

ภาพที่ 1 acid ที่มา จาก https://pixabay.com/th/ , Clker-Free-Vector-Images

สมบัติของกรด

กรด คืออะไร เราจะทราบได้จากการทดสอบหรือการทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งกรดเป็นสารประกอบที่มีสมบัติเฉพาะตัว คือ กรดเป็นสารที่มีรสเปรี้ยว ทำปฏิกิริยากับหินปูนหรือคาร์บอเนต สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง

กรด แบ่งได้ 2 ประเภทคือ กรดอินทรีย์ กรดอนินทรีย์

*กรด มี 2 ชื่อคือ กรดไฮโดร กับกรดออกซี่

Hydro = HCl* HBr HI HF HCN ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง “ไฮโดร” นำหน้าแล้วตามด้วยสารที่ตามมา

*HCl = ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ หรือ กรดเกลือ

Oxy = HNO3 H2SO4 HClO3 H2CO3 * ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง “อิก” ลงท้ายเสมอ * H2CO3 ไม่เสถียรจะแตกตัวให้ H2O, CO2

รสเปรี้ยว ถ้าเราเคยชิมวิตามินซี รสเปรี้ยวของกรดก็เป็นเช่นนั้น โดยวิตามีนซีมีองค์ประกอบหลักคือ กรดแอสคอร์บิก ส่วนผลไม้ตะกูลส้ม เช่น มะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ก็มีความเป็นกรดเช่นเดียวกัน โดยมีกรดที่ชื่อว่ากรดซิตริก (Critic acid) ผสมอยู่ ในผลไม้อื่นๆ เช่น มะเขือเทศ เชอร์รี่ และแอปเปิลก็เป็นกรด น้ำส้มสายชูที่ใช้ปรุงอาหารก็ประกอบด้วยสารละลายกรดอะซิติกในน้ำ น้ำชาก็เช่นเดียวกันแม้กระทั่งนมบูด แต่การตรวจสอบความเป็นกรดของสารคงไม่ใช่การชิมเพื่อทดสอบรสชาติ แม้ว่าสารที่เป็นกรดมักมีรสเปรี้ยวแต่ก็ไม่ได้หมายความสารที่ไม่ได้มีรสเปรี้ยวไม่แสดงสมบัติความเป็นกรด

ปฏิกิริยากับโลหะ เมื่อเรานำโลหะมาทำปฏิกิริยากับกรดจะเกิดฟองแก๊สเกิดขึ้นซึ่งฟองที่เกิดขึ้นคือแก๊สไฮโดรเจน มีโลหะบางชนิดเท่านั้นที่ทำปฏิกิริยากับกรดได้ เช่น แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก เป็นต้น ขณะที่เกิดปฏิกิริยาขึ้นโลหะก็จะละลายไปในสารละลาย การสังเกตนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่จัดกรดว่าเป็นสารกัดกร่อน (Corrosive) ซึ่งหมายถึงกรดสามารถ “กัด” วัสดุอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างปฏิกิริยาเป็นดังนี้

Mg(s) + HCl(aq) --> MgCl2(aq) + H2(g)

ปฏิกิริยากับคาร์บอเนต กรดทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนตในลักษณะเฉพาะตัว คาร์บอเนตไอออนประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนและอะตอมออกซิเจนเชื่อมต่อกัน และมีประจุเป็นลบ เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนตจะเกิดแก๊สเกิดขึ้น

นักธรณีวิทยาใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับสารประกอบคาร์บอเนตเพื่อระบุว่าหินชนิดใดเป็นหินปูน หินปูนเป็นหินที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต(CaCO3) เป็นองค์ประกอบ เมื่อหยดสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ที่เจือจางลงบนหินปูน จะเกิดฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นพิจารณาดังสมการแสดงดังปฏิกิริยา

2HCl(aq) + CaCO3(s) --> CaCl2(aq) + CO2(g) + H2O(g)

ปฏิกิริยานี้ใช้ระบุว่าหินชนิดใดเป็นหินปูน แนวประการรังเป็นรูปแบบหนึ่งของหินปูนที่พบในทะเล แนวโครงสร้างที่ใหญ่โตของปะการังเกิดจากการสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตห่อหุ้มของสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ชอล์ก็เป็น หินปูนอีกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากส่วนที่แข็งของสัตว์ทะเลขนาดจิ๋วที่ผ่านการทับถมเป็นชั้นหนาขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าชั้นเหล่านี้ก็จะอัดแน่นจนแข็งตัวกลายเป็นชอล์ก

ปฏิกิริยากับอินดิเคเตอร์ ถ้าเราทำกิจกรรมใช้กระดาษลิตมัสทดสอบสารบางชนิด กระดาษลิตมัสเป็นตัวอย่างหนึ่งของตัวตรวจสอบกรด - เบส ซึ่งอินดิเคเตอร์ก็คือสารประกอบที่มีสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ จะเปลี่ยนสีเมื่อสัมผัสกับสารละลายกรด - เบส เช่น น้ำส้มสายชูและน้ำมะนาวจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นแดง

\>>>> สมบัติของอินดิเคเตอร์ >>>>>>

1. อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดมีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีจำกัด

2. อินดิเคเตอร์โดยทั่วไปจะมีสารที่ให้สีแตกต่างกัน

3. สีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนไปเมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง

เนื่องจากอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดเปลี่ยนสีในช่วง pH จำกัดทำให้การตรวจหาค่า pH ของสารละลายไม่สะดวก จึงได้มีการนำอินดิเคเตอร์หลายชนิดที่มีช่วง pH ต่อเนื่องมาผสมกันในอัตราส่วนพอเหมาะ โดยสามารถเปลี่ยนสีในช่วง pH ของสารละลายได้กว้าง เรียกว่า ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ (Universal indicator)

ตัวอย่างการเปลี่ยนสีของเมทิลเรด ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีสมบัติเป็นกรดอ่อนเมื่ออยู่ในรูปโมเลกุล (HIn) ซึ่งเป็นรูปกรด (acid form) จะมีสีแดง และเมื่ออยู่ในรูปไอออน (In–) ซึ่งอยู่ในรูปเบส (base form) หรือเป็นคู่เบสจะมีสีเหลือง เมื่ออยู่ในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายจึงมีภาวะสมดุล

ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ คือ อินดิเคเตอร์ที่เกิดจากการนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆ ชนิด ซึ่งเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่าง ๆ กันมาผสมกัน อินดิเคเตอร์นี้สามารถเปลี่ยนสีได้ในสารละลายที่มี pH ต่างกันเกือบทุกค่า มีในรูปแบบกระดาษ เรียกว่ากระดาษ pH และนอกจากนั้นยังมีในรูปเป็นสารละลาย ดังนั้นจึงนิยมใช้ ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์หาค่า pH โดยการประมาณของสารละลายต่าง ๆ ได้โดยเติมอินดิเคเตอร์ชนิดนี้ลงในสารละลายที่ต้องการหาค่า pH แล้วเทียบสีที่ปรากฏกับแถบสีข้าง ๆ กล่อง จะทำให้ทราบค่า pH ของ สารนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ แสดงดังภาพ

กรดฟอร ม ก ท ผสมแล วอย ได ก ว น

ภาพที่ 2 แสดงยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ ที่มา: http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/chemistry5_2/lesson4/lesson4_2.php

กรดฟอร ม ก ท ผสมแล วอย ได ก ว น

ภาพตารางแสดงตัวอย่างอินดิเคเตอร์ธรรมชาติบางชนิด ที่มา: http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/chemistry5_2/lesson4/lesson4_2.php

จากตารางจะเห็นว่าช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดจะมีค่าแตกต่างกัน และสีที่เปลี่ยนก็จะแตกต่างกันไปตามชนิดของอินดิเคเตอร์ ช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์อธิบายได้ ดังนี้ เช่น

เมทิลออเรนจ์ มีช่วง pH การเปลี่ยนสีอยู่ระหว่าง 3.2 - 4.4 โดยสีที่เปลี่ยน คือ แดง – เหลือง หมายความว่า

- ถ้านำเมทิลออเรนจ์ไปทดสอบสารที่มี pH ต่ำกว่า 3.2 จะปรากฏสีแดง

- ถ้านำเมทิลออเรนจ์ไปทดสอบสารที่มี pH มากกว่า 4.4 จะปรากฏสีเหลือง

- ถ้านำเมทิลออเรนจ์ไปทดสอบสารที่มี pH อยู่ระหว่าง 3.2 – 4.4 จะปรากฏสีส้ม

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2551).หนังสือเรียนเคมีพื้นฐานและเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

แฟรงค์ เดวิด วี. (2547). ชุดสำรวจโลกวิทยาศาสตร์ ปฏิกิริยาเคมี. กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชัน อินโดไชน่า.

Formaldehyde อันตรายไหม

เมื่อสัมผัสฟอร์มัลดีไฮด์จะเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน ผื่นแดง หากสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังไหม้เป็นสีขาว หากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มัลดีไฮด์ในปริมาณมาก จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง หมดสติ ระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว อาจทำให้เสียชีวิต

ข้อเสียของ Formaldehyde มีอะไรบ้าง

ผลกระทบต่อสุขภาพ ฟอร์มาลดีไฮด์อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา จมูก และลำคอ การได้รับสารในปริมาณมากอาจทำให้ เกิดมะเร็งบางชนิดได้ ผลกระทบทางระบบประสาท มีความเสี่ยงต่อโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ ถ้าหากสูดดมเข้าไป มีแนวโน้มเกิด แผลในทางเดินอาหาร และตับ

Formaldehyde คือสารอะไร

Formaldehyde (ฟอร์มาลดีไฮด์) เป็นสารเคมีกลิ่นฉุนรุนแรง ไม่มีสี และติดไฟได้ง่าย มักใช้เป็นส่วนประกอบในวัสดุก่อสร้าง ผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน ไม้อัด กาว และวัตถุที่ใช้ทำเป็นฉนวน ใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ และใช้รักษาสภาพศพมนุษย์ไม่ให้เน่าสลาย เป็นต้นด้านการรักษา Formaldehyde ถูกใช้เป็นยาต้านไวรัสเฉพาะที่ ใช้รักษาหูดที่ฝ่ามือ ...

ฟอร์มาลดีไฮด์ มีชื่อ Iupac ว่าอย่างไร

ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีสูตรเคมี CH2O หรือ HCHO มันเป็นอัลดีไฮด์รูปง่ายที่สุด และรู้จักในชื่อเป็นระบบว่า เมทานาล ชื่อสามัญของสารนี้ เช่น ฟอร์มาลิน ฟอร์มาลดีไฮด์ (เมทานาล) ชื่อตาม IUPAC. Methanal.