ม อ เท า ปาก primary secondary tertiary

โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร? โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร Enterovirus 71 (EV71) Coxasackie Virus

ส่งผลให้มีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ถือได้ว่าเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย

โรคมือ เท้า ปาก สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่จะพบได้น้อยกว่า และอาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก


สังเกตอาการโรค มือ เท้า ปาก

เด็กๆ ที่เป็นโรคมือเท้าปาก จะมีอาการ…

• มีไข้ อ่อนเพลีย

• มีแผลในปาก

• ผื่นเป็นจุดแดงขึ้นที่มือ เท้า (อาจมีผื่นตามลำตัว แขนและขาร่วมด้วย)

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะใช้ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 3-7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการโดยมีอาการเริ่มต้น คือ เด็กจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียสเป็นอาการนำก่อน จากนั้นจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมาภายใน 1-2 วัน ได้แก่ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย และจะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนัง บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน

โรคมือ เท้า ปาก กี่วันหาย?

โรคมือ เท้า ปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรครุนแรงได้ เช่น ก้านสมองอักเสบ หัวใจอักเสบ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสสายพันธุ์ 71 (EV71) ทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการที่อาจเป็นภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก และชัก หากพบอาการเหล่านี้ ควรรีบพาพบแพทย์โดยด่วน!!!

(อาการแทรกซ้อนจะไม่สัมพันธ์กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มที่พบตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า)

ม อ เท า ปาก primary secondary tertiary

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อไหม? ติดต่อได้อย่างไร?

โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย และจากการสัมผัสทางอ้อมผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำ และอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค โดยส่วนใหญ่มักพบการแพร่ระบาดในโรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก

โรคมือ เท้า ปาก สามารถเป็นซ้ำได้อีก ถ้าได้รับเชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กับที่เคยเกิด เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นของผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของไวรัสเอนเทอโรเช่นเดียวกันก็ตาม


มีวิธีการรักษา และป้องกันอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว อาการโรค มือ เท้า ปาก จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยแพทย์จะดูแลรักษาตามอาการ เช่น การให้รับประทานยาแก้ไข้ ในรายที่เพลียมากแพทย์อาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด ยารักษาแผลในปาก และให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่จำเป็น ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

อย่างที่ทราบกันว่าโรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้ผ่านการรับเชื้อไวรัสจากทางเดินอาหาร น้ำมูก น้ำลาย และจากการหายใจเอาเชื้อที่แพร่จากผู้ป่วยเข้าไป คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขอนามัยให้กับเด็กๆ

  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
  • สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ให้เด็กๆ ล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
  • ทำความสะอาดของเล่น
  • ดูแลความสะอาดของน้ำดื่มและอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ
  • ไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
  • หากเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดเรียน และพักรักษาให้หายป่วยเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื้อยังเด็กคนอื่นๆ และผู้ปกครองต้องรีบแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบ และที่สำคัญต้องหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลาน หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรพาเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว

เสริมเกราะป้องกันด้วยวัคซีน

โรคมือ เท้า ปาก ระบาด! ป้องกันได้ ด้วยวัคซีนป้องกัน โรคมือเท้าปาก (EV71) โดยแนะนำให้รับวัคซีนในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม เว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1 เดือน

วัคซีนป้องกัน “โรคมือเท้าปาก” รุนแรง จากไวรัส EV71 (EntroVac)

  • ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมือเท้าปากที่มาจากการติดเชื้อ EV71 ได้ 97.3%
  • ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV71 ที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 88.0%
  • ประสิทธิภาพการป้องกันโรคมือเท้าปากรุนแรงจากเชื้อ EV71 ได้ 100%

*อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้หลังรับวัคซีน: ปวด บวม แดง คัน บริเวณที่ฉีด, ไข้, คลื่นไส้ อาเจียน, ถ่ายเหลว, ปวดศีรษะ)

**สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน

***วัคซีนนี้ไม่สามารถใช้เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่มีสาเหตุจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสชนิดอื่น (รวมถึง Coxasackie Virus A16 และอื่นๆ)

ม อ เท า ปาก primary secondary tertiary
แพทย์หญิงเรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ


อ้างอิงข้อมูลจาก

สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย , กระทรวงสาธารณสุข, แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี – อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ , แพทย์หญิงเรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ, PIDST Gazette (2022)

เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย โดยปกติจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อซิฟิลิสหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาภายหลังได้ การดำเนินโรคในขั้นต้นโดยทั่วไปจะเริ่มจากบาดแผล ซึ่งมักพบบริเวณอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ลักษณะของแผลจะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ (Painless sore) หรือเรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) การแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นสามารถเกิดได้ผ่านทางการสัมผัสบาดแผลนี้กับผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ โรคซิฟิลิสอาจเป็นปัญหาที่ตรวจพบได้ยาก เนื่องจากการดำเนินโรคหลังจากได้รับเชื้อแล้ว เชื้อแบคทีเรียสามารถหลบซ่อนตัวอยู่เงียบๆ ภายในร่างกายเราได้เป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะมีอาการแสดงขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งระยะนี้เรียกว่าระยะแฝง (Latent phase) หากเราสามารถตรวจพบการติดเชื้อนี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ และหลังจากรักษาจนหายขาดแล้ว เราจะไม่เป็นโรคซิฟิลิส เว้นแต่ว่าจะได้รับเชื้อจากผู้ติดเชื้อรายอื่น

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

ซิฟิลิสเกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้ผ่านทางรอยขีดข่วนหรือบาดแผลเล็กๆ บนผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ การแพร่กระจายของเชื้อชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะแรก ซึ่งเป็นระยะที่มีแผลริมแข็ง (Chancre) หรือในระยะที่สอง ซึ่งจะมีอาการแสดงคือมีผื่นขึ้น หรือแม้แต่ในช่วงแรกๆ ของระยะแฝง (Early latent phase) ซึ่งไม่มีอาการแสดงใดๆ เลยก็ตาม

หลายคนมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการติดต่อของเชื้อซิฟิลิส ในความเป็นจริงเชื้อชนิดนี้จะไม่ติดต่อผ่านทางการใส่เสื้อผ้าร่วมกัน ใช้ห้องน้ำร่วมกัน รับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกัน หรือแม้แต่จากลูกบิดประตู สระว่ายน้ำ อ่างอาบน้ำ หรือการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนี้ มีการติดเชื้อบางกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก สามารถเกิดได้จากการสัมผัสโดยตรงกับบริเวณที่มีการติดเชื้ออยู่ขณะนั้น เช่น ผ่านทางการจูบ เป็นต้น

โรคติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิด (Congenital Syphilis)

ซิฟิลิสสามารถติดต่อผ่านทางแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอดได้ การติดเชื้อกรณีนี้จะเรียกว่าโรคติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิด (Congenital syphilis) ซึ่งนับเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง และมีผลร้ายแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้ การติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิดนี้สามารถทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือเกิดการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้ นอกจากนี้การติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิดยังสามารถส่งผลให้มีอาการหูหนวก ตาบอด มีความผิดปกติทางโครงสร้างต่างๆ รวมถึงความผิดปกติทางระบบประสาทในเด็กได้ ซึ่งหากเราสามารถตรวจพบและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการให้ยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน (Penicillin) จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้

ม อ เท า ปาก primary secondary tertiary

อาการของโรคซิฟิลิส (Syphilis) และการวินิจฉัยโรคซิฟิลิส

การติดเชื้อซิฟิลิสจะมีการดำเนินของโรคเป็นระยะๆ แต่ละระยะจะมีอาการต่างกันไป ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยระยะที่หนึ่ง (Primary stage) ระยะที่สอง (Secondary stage) ระยะแฝง (Latent stage) และระยะที่สาม (Tertiary stage) อย่างไรก็ตามโรคซิฟิลิสไม่ได้จำเป็นต้องมีลำดับการดำเนินโรคตามที่กล่าวเสมอไป อาจมีการสลับ หรือมีระยะทับซ้อนกันได้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อซิฟิลิสบางคนอาจได้รับเชื้อไปเป็นระยะเวลานานหลายปีโดยไม่ได้รู้ตัวเลยก็เป็นได้

โรคซิฟิลิสระยะที่หนึ่ง (Primary Syphilis)

โรคซิฟิลิสมักจะแสดงอาการเริ่มต้นจากการมีแผลเล็กๆ ที่เรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) โดยแผลริมแข็งจะเกิดขึ้นหลังจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 สัปดาห์ สำหรับผู้ชายแผลริมแข็งมักจะเกิดในบริเวณปลาย หรือลำอวัยวะเพศ ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่ทันสังเกต หรือไม่รู้ตัวว่ามีแผลเกิดขึ้น เนื่องจากแผลนี้จะไม่มีอาการปวด และแผลอาจซ่อนอยู่ภายในช่องคลอด หรือทวารหนัก จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยบางรายไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อซิฟิลิสได้ แผลริมแข็งนี้โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงตำแหน่งเดียว แต่ก็มีบางส่วนที่มีแผลหลายตำแหน่ง โดยแผลริมแข็งจะสามารถหายเองได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ แม้ไม่ได้ทำการรักษาใดๆ ก็ตาม

โรคซิฟิลิสระยะที่สอง (Secondary Syphilis)

หลังจากที่แผลริมแข็งหายไปไม่นาน ผู้ป่วยซิฟิลิสอาจมีผื่นขึ้นได้ ผื่นนี้มักจะขึ้นบริเวณลำตัว แต่ก็สามารถกระจายไปทั่วร่างกาย รวมถึงมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าได้เช่นเดียวกัน หรือบางครั้งอาจมีแผลนูนบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย โดยปกติผื่นจากซิฟิลิสจะไม่มีอาการคัน แต่อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้

  • อาการปวดกล้ามเนื้อ
  • ไข้
  • เจ็บคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต

อาการต่างๆ เหล่านี้สามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เช่นเดียวกัน

โรคซิฟิลิสระยะแฝง (Latent Stage)

หากไม่ได้รักษา ซิฟิลิสระยะที่สอง (Secondary stage) สามารถดำเนินต่อไปเป็นระยะแฝง (Latent stage) ได้ ในระยะแฝงผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อซิฟิลิสเลย โดยระยะแฝงนี้อาจกินระยะเวลาได้นานเป็นปี

โรคซิฟิลิสระยะสาม (Tertiary stage)

ซิฟิลิสระยะแฝง (Latent stage) อาจมีการดำเนินโรคต่อเนื่องไปสู่ระยะสาม (Tertiary stage) โดยมีอัตราส่วนผู้ติดเชื้อประมาณ 15-30% จากผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้ทำการรักษาทั้งหมดจะพัฒนามาสู่ระยะนี้ อาการของซิฟิลิสระยะที่สาม การติดเชื้ออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมอง ระบบประสาท ตา หัวใจ เส้นเลือด ตับ หรือกระดูกและข้อต่อ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ จะเกิดขึ้นหลายปีหลังจากติดเชื้อแต่ไม่ได้รักษา

โรคซิฟิลิสโดยกำเนิด (Congenital Syphilis) และลักษณะจมูกแบบซิฟิลิส (Syphilis Nose)

สตรีมีครรภ์สามารถแพร่เชื้อซิฟิลิสจากตนเองไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ทั้งผ่านทางรกและติดเชื้อระหว่างการคลอด โดยส่วนใหญ่ทารกที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน บางส่วนอาจมีผื่นขึ้นที่บริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้าได้ ในเวลาต่อมาทารกที่ติดเชื้อซิฟิลิสอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินผิดปกติ มีโครงสร้างฟันผิดปกติ หรือมีรูปร่างจมูกผิดปกติ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวเรียกว่า จมูกแบบซิฟิลิส (Syphilis nose) หรือจมูกอานม้า (Saddle nose) ซึ่งส่วนของดั้งจมูกจะแฟบบุ๋มลงไป

ม อ เท า ปาก primary secondary tertiary

การตรวจและวินิจฉัยโรคซิฟิลิส

แพทย์จะตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อ โดยใช้วิธีเจาะเลือดหาแอนติบอดี (Antibody) ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา โดยแอนติบอดีต่อเชื้อซิฟิลิสนี้จะคงอยู่ในร่างกายเราได้เป็นเวลานานหลายปี ทำให้การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถบ่งบอกการติดเชื้อในอดีตได้ ในซิฟิลิสระยะต้นและระยะที่สอง แพทย์อาจเก็บตัวอย่างเซลล์ (Cell) จากบริเวณบาดแผลหรือบริเวณผื่นเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจมีการติดเชื้อเป็นโรคซิฟิลิสระยะที่สาม และมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาทเกิดขึ้น อาจมีความจำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) เพื่อนำน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid) ไปตรวจหาความผิดปกติต่อไป

ผลกระทบที่เกิดจากซิฟิลิส

หากไม่ได้รับการรักษา ซิฟิลิสสามารถส่งผลต่อหัวใจและสมอง และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ จากรายงานการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซิฟิลิสมีความเกี่ยวข้องกับโรคเส้นเลือดแดงโป่งพอง (Arterial aneurysm) การอักเสบของเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Inflammation of aorta) ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงหลักของร่างกาย และยังมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อลิ้นหัวใจได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ซิฟิลิสยังเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบไหลเวียนโลหิตอีกหลายประการ ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน หรือฉีกขาด (Stroke)
  • โรคเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ (Meningitis)
  • การได้ยินผิดปกติ
  • การมองเห็นผิดปกติ
  • โรคความจำเสื่อม

การติดเชื้อซิฟิลิส ยังมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) อีกด้วย จากรายงานการศึกษาระบุว่า ผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อซิฟิลิสทางการมีเพศสัมพันธ์ มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ได้มากถึง 2-5 เท่าของคนทั่วไป โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่บาดแผลริมแข็งในโรคซิฟิลิสมีเลือดออก และทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ ในผู้หญิงซิฟิลิสเป็นปัญหาสำคัญในช่วงที่ตั้งครรภ์ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า อาจทำให้เกิดการติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิด และมีผลทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และการเสียชีวิตของทารกได้ในช่วงไม่กี่วันหลังคลอด และท้ายที่สุดผู้ป่วยที่ติดเชื้อซิฟิลิสอาจเกิดตุ่มหรือก้อนเนื้อขนาดใหญ่ที่เรียกว่า กัมม่า (Gummas) ซึ่งกัมม่าสามารถเกิดได้ทั้งบริเวณผิวหนัง กระดูก หรืออวัยวะภายในก็ได้ โดยจะเกิดในระยะหลังของการติดเชื้อ (Late stage of infection)

การรักษาโรคซิฟิลิส

หากพบอาการป่วยของโรคนี้ ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยไม่มีผลแทรกซ้อนในระยะยาว

ข้อแนะนำ วิธีรักษาสำหรับโรคซิฟิลิส คือ การใช้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ในช่วงการรักษาแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะจบการรักษา และผลตรวจเลือดของผู้ป่วยก็ต้องได้รับการยืนยันว่าหายขาดแน่นอนแล้ว

นอกจากนี้ คู่นอนควรเข้ามารับการตรวจและรักษาอย่างครบถ้วน ผู้ป่วยควรรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV) เนื่องจากการป่วยเป็นโรคซิฟิลิสนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีที่สูงขึ้นกว่าเดิมด้วย

ม อ เท า ปาก primary secondary tertiary

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ หากพบว่าการติดเชื้อของผู้ป่วยอยู่ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี จะสามารถหยุดการลุกลามของโรคได้ด้วยการฉีดยาเพนิซิลลินเพียง 1 เข็ม แต่ถ้าผู้ป่วยมีการติดเชื้อเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี อาจต้องรับการยาฉีดชนิดนี้มากขึ้นอีก เมื่อพบว่าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลินแพทย์ก็จะเสนอการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ แต่กระนั้นยาเพนิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวที่มีข้อมูลในการป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด

ปฏิกิริยาจาริช-เฮิร์กไซเมอร์ (Jarisch-Herxheimer Reaction)

ผู้ป่วยอาจพบเจออาการที่เรียกว่า ปฏิกิริยาจาริช-เฮิร์กไซเมอร์ ในวันแรกของการรักษาโรคซิฟิลิส อาการที่เป็นผลจากปฏิกิริยาดังกล่าว มีดังนี้

  • มีไข้และหนาวสั่น
  • คลื่นไส้
  • ปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อและข้อกระดูก
  • ปวดศีรษะ

ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายไปเองภายใน 1-2 วันหลังแสดงอาการ

ควรไปตรวจซิฟิลิสหรือไม่?

การเข้ารับการตรวจถือเป็นวิธีเดียวที่จะทราบได้อย่างชัดเจนว่าคุณเป็นซิฟิลิสหรือไม่

คุณควรได้รับการตรวจ หากคุณหรือคู่ของคุณแสดงอาการของโรคซิฟิลิส หรือถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน คุณไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าไม่มีซิฟิลิสเพียงเพราะคุณรู้สึกแข็งแรงดีเท่านั้น เช่นเดียวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ วิธีเดียวที่จะรู้แน่ชัด คือ การเข้ารับการตรวจ

หากคุณสังเกตเห็นอาการเจ็บบริเวณอวัยวะเพศ หรือพบว่ามีอาการอื่นๆ ของซิฟิลิส คุณควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ การเข้ารับการตรวจนั้นถือเป็นความคิดที่ดี หากคุณเคยมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือถ้ามีคนที่คุณเคยมีเพศสัมพันธ์ด้วยนั้นเป็นโรคซิฟิลิส (แม้ว่าคุณจะไม่สังเกตเห็นอาการใดๆ ก็ตาม)

โดยทั่วไปคนที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ประมาณปีละครั้ง คุณสามารถสอบถามแพทย์ได้ว่าคุณควรจะต้องตรวจหาเชื้อซิฟิลิสหรือไม่ สิ่งที่ดีที่สุดภายหลังการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็คือ เมื่อผ่านการตรวจไปแล้วและไม่พบเชื้อใดๆ คุณก็จะสบายใจ ไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคต่างๆ หรือไม่ และยิ่งถ้าตรวจแล้วพบว่าคุณมีเชื้อซิฟิลิสอยู่จริงๆ คุณยิ่งควรทราบผลนั้นทันที เพื่อที่จะได้รับยาและกำจัดเชื้อออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด

สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจซิฟิลิส

คุณสามารถเข้าตรวจเชื้อซิฟิลิสได้แม้ว่าคุณจะมีแผลหรืออาการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือไม่มีอาการใดๆ เลยก็ตาม โดยปกติพยาบาลหรือแพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปทดสอบหาเชื้อซิฟิลิส หากคุณมีแผลบริเวณอื่นๆ ที่เปิดอยู่แล้ว พวกเขาอาจเก็บตัวอย่างของเหลวจากแผลนั้นด้วยก้านสำลีและนำไปทดสอบ

การเข้าตรวจโรคอาจจะดูน่ากลัวและน่าอาย แต่ขอบอกว่าคุณควรจะทำใจให้สบาย การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ และเป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพของคุณ นอกจากนี้หากพบเชื้ออยู่จริง ข่าวดีก็คือโรคซิฟิลิสสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ดังนั้นหากคุณรู้ผลเร็ว คุณก็ยิ่งจะกำจัดมันได้ง่ายขึ้นและไวขึ้นด้วย

การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิส

แม้ว่าการรักษาโรคซิฟิลิสจะสามารถป้องกันการเกิดผลกระทบที่ตามมาภายหลังได้ แต่อาการหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ไม่สามารถย้อนกลับได้ ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อตั้งแต่แรก โดยมีวิธีต่างๆ ดังนี้

  • งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์เฉพาะสามี-ภรรยา / คู่นอนของตนเองคนเดียวเท่านั้น
  • ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ (การใช้ถุงยางอนามัยสามารถลดการติดเชื้อซิฟิลิสได้ แต่ตัวถุงยางอนามัยต้องครอบคลุมบริเวณแผลด้วย) หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมา หรือยาเสพติดประเภทต่างๆ (การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมา หรือการใช้ยาเสพติดต่างๆ มีผลทำให้ขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ และอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันได้