ประชากร กับ กลุ่ม ตัวอย่าง ต่าง กัน อย่างไร

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกันไหม

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของงานวิจัย ซึ่งหากปราศจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างแล้วเราก็ไม่สามารถที่ดำเนินการวิจัยได้ เพราะประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยที่ให้ข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และแปลผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ มารู้จักกับประชากรและกลุ่มตัวอย่างค่ะว่าแตกต่างกันอย่างไร

ประชากร(

Population)หมายถึง สมาชิกทั้งหมดที่เราสนใจศึกษา ซึ่งอาจเป็นวัตถุ สิ่งของ หรือบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายในการวิจัย เช่นจำนวนนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียน จำนวนครัวเรือนในตำบล... เป็นต้น

ประเภทของประชากร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ประชากรที่มีจำนวนจำกัด(Finite population) หรือประชากรที่พอจะนับจำนวนได้เช่น จำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าข้ามในปีการศึกษา 2554 จำนวนสัตว์ในฟาร์มโชคชัย เป็นต้น

2. ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด(Infinite population) หรือประชากรที่ไม่สามารถนับจำนวนได้แน่นอน หรืออาจนับได้แต่เสียเวลาและไม่จำเป็น เช่นจำนวนเมล็ดข้าวในยุ้งข้าว จำนวนเม็ดทราย เป็นต้น

ประชากรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. ประชากรที่มีลักษณะเป็นเอกพันธ์ (Homogeneous population)

หมายถึงมีคุณลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน เช่นครูเพศเดียวกัน อาชีพเดียวกัน หรือพืชชนิดเดียวกัน2. ประชากรที่มีลักษณะเป็นวิวิธพันธ์ ( Heterogeneous population) หมายถึงประชากรที่สมาชิกในหน่วยมีคุณลักษณะต่างกัน เช่นครูต่างเพศกัน คนทำงานอาชีพต่างกัน หรือพืชคนละชนิดกัน

กลุ่มตัวอย่าง (Sample)หมายถึงกลุ่มย่อยหรือบางส่วนของประชากรที่เราเลือกมาเป็นตัวแทนในการศึกษาเพื่อสรุปอ้างอิงไปยังประชากร โดยกลุ่มตัวอย่างจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรและมีขนาดที่เหมาะสม

ทำไมเราจึงต้องศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง

ในการศึกษาข้อมูลจากประชากรนั้นเราต้องศึกษาจากจำนวนประชากรทุกหน่วยและทั้งหมด(universe) แต่บางกรณีก็ไม่สามารถศึกษาจากประชากรได้ทั้งหมด ส่วนมากนักวิจัยจึงมักจะศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพราะ

1. ประหยัดเวลา และงบประมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพราะกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อยกว่า

2. การศึกษาบางเรื่องไม่จำเป็นต้องศึกษาจากประชากร เพราะได้ข้อมูลไม่แตกต่างกัน เช่น การทดสอบคุณภาพของน้ำอัดลม เราไม่จำเป็นต้องเปิดทดสอบทุกหน่วยหรือการตรวจเลือดคนไข้ แพทย์ก็สามารถใช้เลือดเพียงแค่บางหยดได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เลือดทุกหยดในตัวคนไข้

3. ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือ เพราะมีจำนวนน้อยเราจึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขข้อผิดพลาดได้

4. ได้ข้อมูลที่ทันสมัย และรายงานผลการวิจัยได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลน้อย

5. ใช้ในกรณีที่เราไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่ชัด เช่นจำนวนวัยรุ่นที่ติดยาเสพติด หรือจำนวนผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น

6. ลดปัญหาด้านการบริหารงานวิจัย (ผศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2549) เช่นจำนวนเจ้าหน้าที่ งบประมาณ วัสดุ สถานที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นต้น

ในการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์นั้น ผู้วิจัยจะต้องมีกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลจะนำพามาซึ่งคำตอบของเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังศึกษาอยู่

ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายความต่างระหว่าง “ประชากร” กับ “กลุ่มตัวอย่าง” ให้ฟังในแบบที่เข้าใจง่ายๆ

ประชากร

สำหรับประชากรในงานวิจัยจะหมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตทั้งหมดของเรื่องที่ศึกษา อาจเป็นสัตว์ หรือคน ก็ได้ เช่น

– ประชากรเสือในสวนสัตว์เขาเขียว – ประชากรนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร – ประชากรที่เข้าใช้บริการห้างเซ็นทรัล เขตบางนา กรุงเทพมหานคร – ประชากรพนักงานในบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน)

ซึ่งในงานวิจัยสามารถแยก ประชากร ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

1. ประชากรที่มีจำนวนจำกัด ประชากรกลุ่มนี้จะมีจำนวนที่แน่นอน เช่น

– นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือ – นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต

ซึ่งประชากรกลุ่มนี้จะมีจำนวนที่แน่นอนซึ่งผู้วิจัยสามารถสอบถามสถานที่ ที่จะศึกษาได้เลย หรืออาจมีข้อมูลเผยแพร่ในข้อมูลเว็บไซต์ของโรงเรียนหรือมหาลัยนั้นอยู่แล้ว

2. ประชากรที่ไม่จำกัดจำนวน ประชากรกลุ่มนี้เราจะไม่สามารถทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนได้เลยเนื่องจากมีตัวเลขประชากรที่ไม่คงที่ เช่น

– ประชากรที่เข้าใช้บริการห้างเซ็นทรัล เขตบางนา กรุงเทพมหานคร (ห้างจะมีผู้ใช้บริการเข้าออกตลอดเวลาจนกว่าห้างจะปิด) – ประชากรพนักงานในบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) (พนักงานบริษัทจะมีการย้ายเข้า-ย้ายออกทุกเดือน)

เมื่ออ่านบทความมาถึงจุดตรงนี้แล้ว ผู้วิจัยคงจะทราบแล้วว่าประชากรของท่านคือ กลุ่มใดต่อไปเรามาศึกษากลุ่มตัวอย่างกันค่ะ

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ กลุ่มประชากรกลุ่มหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจจะศึกษา กลุ่มนั้นจริงๆ

ยกตัวอย่างเช่น หากกลุ่มประชากรของท่านคือ ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยรังสิต ดังนั้นขนาดกลุ่มตัวอย่างของท่าน อาจจะศึกษา กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าที่สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้จึงไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่ชัด (ซึ่งจะอยู่ในประเภทประชากรไม่จำกัดจำนวน)
หรือ หากกลุ่มประชากรของท่านคือ ประชากรนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ จำนวน 550 คน ที่เข้าเรียนในปีการศึกษา 2562 ดังนั้นขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan แล้วจึงได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 226 คน ในการนำไปวิเคราะห์ผล

ประชากร กับ กลุ่ม ตัวอย่าง ต่าง กัน อย่างไร

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มประชากรคือ กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่จะศึกษา เมื่อท่านทราบกลุ่มประชากรที่จะศึกษาแล้ว จึงจะสามารถนำกลุ่มประชากรกลุ่มนั้นมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบของการศึกษาทั้งหมดได้ ซึ่งกลุ่มประชากรกลุ่มนั้นเรียกว่า กลุ่มตัวอย่าง หากสงสัยวิธีการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโปรดติดตามบทความต่อไป >>> วิธีการกลุ่มตัวอย่าง อย่างละเอียด ที่นี่มีคำตอบ!

ประชากรกลุ่มตัวอย่างมีอะไรบ้าง

(1)กลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sample) (2)กลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sample) (3)กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) กลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sample) หมายถึง การเก็บตัวอย่างไม่ยุงยากซับซ้อนหรือเสียค่าใช้จ่ายมากนัก เช่นโทรศัพท์ถามความเห็น การออกจดหมายส่งแบบสอบถาม เป็นต้น

กลุ่มประชากรกับกลุ่มเป้าหมายต่างกันอย่างไร

ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยของข้อมูลทั้งหมดทุกหน่วยที่อยู่ในขอบข่ายที่ ต้องการศึกษา ซึ่งเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ และพืช ประชากรเป้าหมาย (Target pupulation) หมายถึง ประชากรที่ผู้วิจัยนำผลการวิจัยมา

กลุ่มประชากรหมายถึงอะไร

ประชากร(Population)คือ กลุ่มของสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต ทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา มี 2ชนิดคือ 1. ประชากรที่สามารถหาจ านวนได้แน่นอน 2. ประชากรที่ไม่สามารหาจ านวนได้ ตัวอย่าง (Sample) คือ บางส่วนของประชากร ซึ่งประกอบด้วย

ประชากรหมายถึงอะไรยกตัวอย่าง

ประชากร หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตเดียวกันที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หนึ่ง ๆ คำว่าประชากรนี้จะใช้กับสิ่มีชีวิตชนิดใดๆก้ได้ เช่นประชากรนก ประชากรเสือ หรือประชากรพืช แต่ในที่นี้เราหมายถึง ประชากรมนุษย์