การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

วิทยาการคำนวณ ป.5 หน่วย 2 เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่าย

ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 5
หน่วยที่ : 2
เรื่อง : การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่าย
สาระ : สาระที่ 4 เทคโนโลยี
ตัวชี้วัด :
ว 4.2 ป.5/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่ายตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข

วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน บูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรมการคาดการณ์ผลลัพธ์ การตรวจหาข้อผิดพลาด     การพัฒนาแอปพลิเคชันหรือพัฒนาโครงงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง

*เนื้อหาและรูปภาพการ์ตูนลิปดาโพล่านี้คือตัวอย่างหนังสือวิทยาการคำนวณ เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทอิมเมจิเนียริ่ง เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ไม่อนุญาตให้นำภาพประกอบไปใช้ในเชิงธุรกิจหรือแสวงหาผลกำไรต่าง ๆ หากต้องการนำเนื้อหาและรูปภาพไปใช้รบกวนติดต่อทีมงานก่อนทุกครั้ง เพื่อส่งเรื่องให้ทางผู้บริหารพิจารณาอนุมัติ

1.Computer เป็นเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถคิดเองได้เหมือนกับมนุษย์แต่สามารถ เก็บข้อมูลประมวลผลข้อมูล และแสดงผลข้อมูล ดังนั้นเมื่อต้องการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ต้องออกแบบและเขียนโปรแกรมตามกระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

2.Program การออกแบบโปรแกรมเป็นการเขียนขั้นตอนหรือลำดับการทำงาน อัลกอริทึม (Algorithm) เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจโดยการออกแบบโปรแกรมโดยการใช้อัลกอริทึมนั้นต้องเรียงลำดับขั้นตอน (Order) อย่างละเอียดเป็นขั้นตอนไม่สลับกันโดยสามารถออกแบบโปรแกรมได้หลายแบบ เช่น การเขียนข้อความ สตอรี่บอร์ด (Storyboard) หรือ ผังงาน(Flowchart)

3.Computer Languages เมื่อออกแบบโปรแกรมเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการ เลือกภาษาที่เหมาะสมกับงาน โดยคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้หลายภาษา เช่น ภาษา HTML Java  ใช้สำหรับการเขียนเว็บเพจ ทำเกม หรือ ภาษา Scratch และ Python เป็นภาษาสำหรับใช้งานเบื้องต้น

4.Debugging คือการหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมซึ่งหากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่งเมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

5.If then เป็นการกำหนดเงื่อนไขเป็นการสร้างรูปแบบเหตุผลหรือตรรกะในการให้โปรแกรมตัดสินใจตามเงื่อนไขในการดำเนินการกับเหตุการณ์นั้นๆ โดยถ้าเกิดเหตุการณ์หรือตามเงื่อนไขที่กำหนด แล้วโปรแกรมจะดำเนินการตามเงื่อนไขและได้ผลลัพธ์ตามที่ถูกกำหนด

6.Variable การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นไว้ โดยจะจัดเก็บไว้ในตัวแปร (Variable) ซึ่งก็คือ  การระบุค่า หรือ การตั้งค่าข้อมูลเข้า (Input) เพื่อนำมาประมวลผล(Process) ตามเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลออกหรือผลลัพธ์ของปัญหา(Output)

  • การออกแบบโปรแกรม
  • การกำหนดค่าตัวแปร
  • การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Debugging)
  • กิจกรรมท้าให้ลอง
  • เทคโนโลยีงานสร้างสรรค์

คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร          

ก่อนจะออกแบบโปรแกรม ผู้เรียนต้องเข้าใจก่อนว่า คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร คอมพิวเตอร์ เป็นเพียงเครื่องจักร ที่รับข้อมูล ทำการประมวลผลข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด และจะแสดงผลลัพธ์ออกมา ดังนั้นหากต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ถูกต้องจะต้องออกแบบโปรแกรมให้ละเอียด เป็นขั้นตอน ไม่สลับขั้นตอน กำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน เพื่อจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

การออกแบบโปรแกรม (Program)

เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนการแก้ปัญหา ซึ่งจะต้องแสดงลำดับของการทำงานอย่างละเอียด ชัดเจน เป็นขั้นตอน และเป็นลำดับโดยการเรียงลำดับไม่ควรสลับตำแหน่งการทำงานเพราะอาจจะได้ผลลัพธ์ของการทำงานที่ผิดพลาดได้ โดย การออกแบบโปรแกรมสามารถทำได้โดยเขียนเป็นข้อความหรือผังงาน

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนข้อความ

การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ เป็นการแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานด้วยการเขียนข้อความบอกเล่า โดยจำเป็นต้องเขียนให้ ละเอียด ชัดเจน เป็นขั้นตอนเข้าใจง่าย ได้ผลลัพธ์ให้เปรียบเทียบการเขียนขั้นตอนการต่อหุ่นยนต์ 2 แบบด้านล่าง

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนผังงาน (Flowchart)

คือ การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งสัญลักษณ์จะแสดงลักษณะของการทำงาน สัญลักษณ์จะถูกเชื่อมการแสดงลำดับขั้นโดยใช้ลูกศรเพื่อแสดงลำดับขั้นการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการทำงาน ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียน   ผังงาน มีรายละเอียดความหมายของ ลักษณะการทำงานดังต่อไปนี้

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

ตัวอย่าง การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน

แผนผังแสดงขั้นตอนของโปรแกรมการสร้างหุ่นยนต์ จะทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายกว่าการอธิบายข้อความ หากเกิดข้อผิดพลาดก็สามารถแก้ไขโปรแกรมได้ง่ายขึ้น

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การกำหนดค่าตัวแปร (Variable) คือ การระบุค่า หรือ การตั้งค่าข้อมูลเข้า เพื่อนำมาประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลออกหรือผลลัพธ์ของปัญหา

การกำหนดชื่อและค่าของตัวแปร

ชื่อของตัวแปร        สามารถกำหนดเป็น                             ข้อมูลตัวอักษร

ค่าของตัวแปร        สามารถกำหนดเป็น                             ตัวอักษรหรือตัวเลข ก็ได้

เปรียบเทียบได้กับ                 ชื่อของกล่องเก็บข้อมูล คือ ชื่อของตัวแปร

ของที่อยู่ในกล่อง คือ ค่าของตัวเแปร

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

1.คลิกคำสั่ง Data ซึ่งเป็นชุดคำสั่งกำหนดค่าตัวแปร

2.คลิกเลือกคำสั่ง Make a Variable จะมีหน้าต่าง New Variable (ตัวแปร)

3.การกำหนดชื่อของตัวแปร(Variable name) ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข

4.เป็นการกำหนดให้ค่าตัวแปรนี้มีความสัมพันธ์กับตัวละครใด ซึ่งจะมีทั้งแบบตัวละครทั้งหมด (For all sprites) และสำหรับตัวละครนี้เท่านั้น (For this sprite only)

5.Set คือกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวแปร จากตัวอย่างเป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวแปร เวลา เริ่มต้นที่ 0

6.Change คือ กำหนดค่าที่จะเปลี่ยนแปลงของตัวแปรนั้น โดยจากตัวอย่างเป็นการกำหนดให้เปลี่ยนแปลงครั้งละ 1

7.Show variable แสดงตัวแปรคือ การแสดงตัวแปรที่จะแสดงบนพื้นที่ทำงาน

8.Hide variable ซ่อนตัวแปรคือ การซ่อนค่าตัวแปรที่จะแสดงบนพื้นที่ทำงาน

การออกแบบโปรแกรมที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขในโปรแกรม Scratch 

การกำหนดเงื่อนไขเป็นการสร้างรูปแบบหรือตรรกะวิธีการตัดสินใจในการดำเนินการใดๆ กับเหตุการณ์นั้น โดยถ้าเกิดเหตุการณ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นจริง ตัวละครหรือฉากจะดำเนินการตามที่ถูกกำหนด (If…then….) และ หากไม่เป็นจริง ตัวละครหรือฉากจะดำเนินการตามที่ถูกกำหนดไว้ (If…then….else….)

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

ตัวอย่างการใช้เหตุผลเชิงตรรกะมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหา

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

ตัวอย่าง โปรแกรมสร้างรูปเรขาคณิตตามค่าข้อมูลเข้า

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

ตัวอย่างการใช้เหตุผลเชิงตรรกะมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหา

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

ตัวอย่างการออกแบบโปรแกรมตรวจสอบเลขคู่ เลขคี่

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

โปรแกรมรับข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงแสดงผลความสมส่วนของร่างกายจากค่า BMI

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนบางครั้งจะเกิดปัญหาขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรมในแต่ลำดับขั้นของคำสั่งนั้นเรียกว่า ข้อผิดพลาด (Bug) การหาและแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดจะเรียกว่า การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Debugging) โดย หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลััพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การตรวจสอบข้อผิดพลาดโดยการตรวจสอบการทำงานทีและคำสั่งและทำการแก้ไข

1.ตัวละครแมวเดินไปชนขอบแล้วไม่เด้ง ตรวจสอบไม่พบคำสั่งให้ชนแล้วเด้งกลับ

2.ตัวละครไม่กลับทิศทาง ตรวจสอบยังไม่ได้กลับทิศทางของตัวละครเมื่อชน

3.ตรวจสอบคำสั่งเมื่อชนสีส้มแล้วแสดงข้อความสีส้มค้าง ไม่มีการกำหนดเวลาแสดงไว้

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

4.ทำการเพิ่มคำสั่งลงไปก่อนมีการตรวจสอบเงื่อนไข

5.เปลี่ยนคำสั่งให้ตัวละครแมว เมื่อชนแล้วทำการกลับทิศทาง

6.เปลี่ยนคำสั่งแสดงข้อความให้มีแบบกำหนดเวลาในการแสดงข้อความ 2 วินาที

ตัวอย่างโปรแกรมสั่งให้ตัวละครทำตามเงื่อนไขที่กำหนด

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

ผิดพลาดไปถึงไหนเนี่ยทำไมโปรแกรมทำงานไม่ได้นะ

ลิปดากำลังเขียนโปรแกรมแต่มีข้อผิดพลาด คุณพ่อ เข้ามาแล้วถามว่าโปรแกรมที่ต้องการคืออะไร แล้วจึงช่วยลิปดาแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม ลิปดาจึงขอบคุณ คุณพ่อ อธิบายว่า ลิปดาควรจะออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนอัลกอริทึมก่อนแล้วจึงลงมือเขียนโปรแกรมและควรฝึกแยกย่อยปัญหา หารูปแบบปัญหาเพื่อจะหาสาเหตุของข้อผิดพลาดได้ดียิ่งขึ้น จนกลายเป็นทักษะนะครับ

ภารกิจ : 1. ให้คุณครูออกแบบโปรแกรม Scratch ที่มีข้อผิดพลาด

  1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  2. กลุ่มใดทำได้เร็วที่สุดและถูกต้องที่สุดเป็นผู้ชนะ

วัสดุอุปกรณ์ : 1. คอมพิวเตอร์โปรแกรม Scratch 2. อุปกรณ์เครื่องเขียน

รวบรวมข้อมูล : การฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมสำคัญอย่างไร

วางแผน ออกแบบ : ให้ออกแบบและวางแผนการเขียนโปรแกรมที่มีข้อผิดพลาด

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

เกมแยกขยะ

ระบุปัญหา : ทุกๆ ปีจะมีวันสิ่งแวดล้อม คือวันที่ 5 มิถุนายน ปีนี้ลิปดาและเพื่อนๆ จึงคิดจะช่วยกันสร้างเกมแยกประเภทขยะเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงการแยกขยะ โพล่าจึงแนะนำว่าเราควรสร้างเรื่องราวเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาด้วย

ภารกิจ : 1. ให้นักเรียนสร้างเกมเกี่ยวกับการแยกขยะโดยให้มีเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาการแยกขยะในตอนต้นก่อนเริ่มเข้าเกม

  1. ให้ออกแบบโปรแกรมก่อนลงมือเขียนโปรแกรมโดยใช้ผังงาน
  2. นำเสนอผลงานพร้อมจัดการประกวดผลงาน

วัสดุอุปกรณ์ : 1. คอมพิวเตอร์และโปรแกรม Scratch  2. อุปกรณ์เครื่องเขียน

รวบรวมข้อมูล : นักเรียนเข้าใจการออกแบบและเขียนโปรแกรมรับค่าข้อมูลเข้า และสั่งให้ตัวละครทำตามเงื่อนไขที่กำหนด

ออกแบบและวางแผน

ร่วมกันวางแผนและออกแบบโปรแกรมโดยใช้โปรแกรม Scratch

ลงมือปฏิบัติ และ ทดสอบชิ้นงาน

ให้นักเรียนลงมือทำแผนที่กำหนดไว้

ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

  1. นักเรียนสามารถทำภารกิจนี้สำเร็จหรือไม่
  2. นักเรียนพบปัญหาจากการทำภารกิจนี้หรือไม่
  3. นักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม

การเขียนข้อความเพื่ออธิบายการ ทำงาน ของโปรแกรม