การ เขียน เมล ล์ ส่ง งาน

ช่วงนี้ก็อาจมีหลายคนที่กำลังมองหางานกันอยู่ แต่ก็สงสัยว่าทำไมไม่เห็นมีการตอบกลับหรือเงียบหายเลย ในทางหนึ่งเราอาจจะยังเป็นคนที่ไม่ใช่ก็ได้ (เศร้าเฉย) แต่ในอีกทางก็อาจต้องลองกลับมารีเช็กกันใหม่ว่าตอนเราส่งใบสมัครงาน เราเขียนอีเมลหรือทำเรซูเม่กันแบบไหนนะ

เพราะการส่งอีเมลกับการทำเรซูเม่คือการสร้างความประทับใจแรกให้กับบริษัทที่ยังไม่รู้จักเรามาก่อนเลย ดังนั้นนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราอาจจะต้องจริงจังกับการส่งใบสมัครงานกันหน่อยเนอะ

การ เขียน เมล ล์ ส่ง งาน

ส่งอีเมลแบบไหน?

ทุกวันนี้เราอาจไม่ต้องไปยื่นใบสมัครงานถึงบริษัท แค่ส่งผ่านอีเมลก็ถึงมือบริษัทได้ง่ายๆ แต่ว่าเมลของเราจะถูกปัดตกมั้ย ก็ต้องลองมาดูว่าเราเขียนอีเมลไปหาบริษัทยังไงกันบ้าง เพราะนี่คือ first impresstion ที่ทางบริษัทจะได้รู้จักกับคุณ และโปรดลบการเขียนอีเมลตอบกลับจากอาจารย์บางคนที่อาจพิมพ์มาหาเราในสมัยเรียนว่า ok krab / good job ka su su ไปได้เลย 

1. ใช้ชื่ออีเมลที่เป็นทางการ ไม่ควรเป็นอีเมลที่มีการใช้ฉายา หรือใส่ตัวอักษรแปลกๆ อย่าง fasai_lnwzaa หรือ nongfasai007 เพราะจะทำให้เราดูไม่จริงจังและสูญเสียภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือไป

2. เขียนหัวข้ออีเมลให้ชัดเจน หากบางบริษัทกำหนดว่าต้องเขียนหัวข้อแบบไหนก็ให้ทำตามรูปแบบของบริษัทนั้นๆ แต่ถ้าไม่ได้กำหนเมา เราก็ควรเขียนหัวข้อว่า สมัครงาน ตำแหน่ง … เพื่อแจ้งให้บริษัททราบ

3. เขียนอธิบายตัวเองคร่าวๆ เป็นใคร จบจากที่ไหน ทำอะไรอยู่ ทำไมสนใจสมัครตำแหน่งนี้ และจะติดต่อกลับได้ยังไง โดยเป็นภาษาที่ทางการ เพื่อให้บริษัทได้รู้จักคุณคร่าวๆ เพราะหากไม่เขียนอะไรมาเลย ก็มีโอกาสง่ายมากที่จะโดนปัดตกทันที

4. เช็กให้ดีว่าแนบไฟล์เรซูเม่หรือผลงานที่เกี่ยวข้องแล้วเรียบร้อยหรือยัง และชื่อไฟล์ควรใช้ให้เป็นทางการ แจกแจงว่าไฟล์นี้คืออะไร เพื่อไม่ให้ทางบริษัทต้องเสียเวลามาเดาสุ่มว่าไฟล์ไหนคืออะไร และผลงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องเกี่ยวข้องจริงๆ และเลือกมาเท่าที่เรารู้สึกว่าโดดเด่นจนบริษัทต้องว้าววววว (ไม่ควรเกิน 5-6 ผลงาน) และไฟล์ที่แนบมาก็ไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะบริษัทอาจปิดใจระหว่างรอโหลดไฟล์ขนาดมหึมาของคุณก็ได้

5. สุดท้าย! ตรวจสอบความถูก-ผิดของตัวอักษรด้วยนะ

ทำเรซูเม่แบบไหน?

เรซูเม่ เป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะถือว่าเป็นหน้าเป็นตาแทนตัวเราที่บริษัทจะได้ทำความรู้จักอย่างแท้จริง ดังนั้นการทำเรซูเม่ให้น่าอ่าน น่าสนใจ ก็อาจจะทำให้ทางบริษัทประทับใจเราได้ แล้วเราควรจะใส่อะไรลงไปในเรซูเม่บ้างนะ?

1. ชื่อ-นามสกุล ประวัติส่วนตัว เช่น วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล สิ่งเหล่านี้ควรใส่เพื่อให้บริษัทได้รู้จักเราคร่าวๆ ว่าเป็นใคร มาจากไหน แต่ไม่ต้องถึงขั้นใส่น้ำหนัก ส่วนสูง กรุ๊ปเลือด (ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งนะ บางที่ก็อาจจะจำเป็นแหละ) 

2. ประวัติการศึกษา ซึ่งอย่างน้อยควรใส่ระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย แต่จะเพิ่มระดับประถมศึกษาก็ได้เช่นกัน โดยบอกรายละเอียดเล็กน้อยว่าเรียนสาขาไหน เกรดเฉลี่ยเท่าไหร่

3. ประสบการณ์การทำงาน เป็นส่วนสำคัญมากๆ เพราะทางบริษัทจะได้รับรู้ว่าเราเคยทำอะไรมาก่อน เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัครมั้ย และทำให้ทางบริษัทสามารถมองเห็นทักษะหรือความสนใจบางอย่างจากประสบการณ์ของเราได้ เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม ประสบการณ์ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากเป็นเด็กจบใหม่ อาจจะใส่งานที่ทำในมหาวิทยาลัย รางวัลที่เคยได้รับ หรือการฝึกงานที่เคยไปร่วมก็ได้ เพื่อที่อย่างน้อยบริษัทจะได้เห็นว่าเรามีความพยายามและความสนใจในเรื่องไหนบ้าง

4. ทักษะ เป็นอีกส่วนที่สำคัญโดยเราจะต้องประเมินตัวเองว่าเรามีทักษะอะไรบ้างที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน โดยอาจจะแบ่งเป็น Hard Skill กับ Soft Skill ในส่วนของ Hard Skill นั้นมีข้อควรระวังคือไม่ควรใช้เป็นสเกลหลอดพลัง เพราะจะเทียบเกณฑ์ได้ยากว่าหลอดนี้สัดส่วนเทียบกับอะไร ระดับไหน อย่างง่ายสุดก็คือใช้เกณฑ์ทั่วไป ดีมาก ดี พอใช้ หรือจะดีที่สุดหากมีคะแนนจากการสอบ เช่น ทักษะภาษาอังกฤษ ก็ใส่คะแนน Toeic ได้เลย 

5. งานอดิเรก สิ่งนี้อาจช่วยให้บริษัทประเมินได้ว่าเรามีความสนใจอะไรบ้าง เหมาะกับตำแหน่งงานมั้ย หรือเวลาที่ไม่ใช่งานเรามีการเรียนรู้หรือทำอะไรอย่างอื่นอีก ถือเป็นการทำความรู้จักคนคนหนึ่งให้มากขึ้น

6. รูปถ่าย ไม่ควรใช้รูปเซลฟี่ และควรเป็นรูปหน้าตรง ในบางบริษัทที่มีความยืดหยุ่น อาจเลือกภาพที่ยิ้มแย้มได้ ไม่ต้องถ่ายในสตูดิโอก็ได้ ขอแค่ให้เห็นหน้าชัดๆ เห็นแล้วรู้ว่าหน้าตาเป็นไงก็พอ

นอกจากที่บอกไปข้างบนแล้ว บางแห่งอาจต้องการให้เราใส่บุคคลอ้างอิงด้วย ซึ่งอาจเป็นเจ้านายจากที่ทำงานเก่า หรือเด็กจบใหม่ก็อาจเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ในคณะ แล้วถ้ายังพอมีที่เหลือๆ ก็อาจจะใส่เป้าหมายในการทำงานจากตำแหน่งที่เราสมัครเพื่อสร้างความมุ่งมั่นไปด้วยก็ได้เหมือนกันนะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรซูเม่นี้ก็ไม่ควรมีความยาวเกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ไม่มีการเอาการ์ตูน หรือทำสีสันฉูดฉาดเกินไป หากไม่ได้สมัครตำแหน่งที่ต้องการความครีเอทีฟจริงๆ การใช้พื้นหลังสีขาวนั้นปลอดภัยที่สุดแล้วล่ะ

นี่เป็นคำแนะนำคร่าวๆ ซึ่งแต่ละบริษัทก็อาจจะมีข้อกำหนดที่ต่างกันไป เราเองก็ควรจะประเมินว่าตำแหน่งที่เราสมัคร บริษัทที่เราเลือกจะทำงานด้วยเขาเป็นแบบไหน เพื่อสร้างความประทับใจให้ตรงจุด เราเป็นกำลังใจให้คนที่กำลังตามหางานนะ 🙂

illustration by Monsicha Srisuantang

You might also like

Share this article


Email-to-professor-cover

การส่งอีเมลหาอาจารย์นั้นสำคัญมาก การเขียนจดหมายถึงอาจารย์ แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นนักเรียน/นักศึกษาแบบไหน เป็นมารยาทสำคัญในการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์

  • วิธีสมัคร Gmail ใหม่แบบง่าย ๆ
วิธีเขียนจดหมายหรือส่งอีเมลถึงอาจารย์

ตัวอย่างวิธีเขียนจดหมายถึงอาจารย์

  1. เรียน อาจารย์
  2. เรื่อง ขอนัดหมายเข้าพบ/ขอให้ลงนามในเอกสาร…/ขอความกรุณาปลดล็อกระบบลงทะเบียน/หรืออื่น ๆ
  3. ดิฉัน/กระผม นางสาว…/นาย…รหัสนิสิต… ซึ่งเป็นนิสิตในที่ปรึกษา/ซึ่งลงทะเบียนในรายวิชา…หมู่เรียน… มีความประสงค์…เนื่องจาก
  4. ดังนั้นจึงขออนุญาต…/ขอความกรุณาอาจารย์ เพื่อโปรด…
  5. ขอแสดงความนับถือ นาย/นางสาว เบอร์

คําลงท้าย Email

  • ขอแสดงความนับถือ
  • นาย/นางสาว
  • เบอร์โทรศํพท์ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีเร่งด่วน

ตัวอย่างเขียน Email ถึงอาจารย์

เรียน อาจารย์ศรีสุวรรณ แสงจันทร์

ขอนัดหมายเข้าพบ เพื่อเรียนปรึกษาเรื่องการลงทะเบียนเรียน แต่ทราบว่าอาจารย์ติดประชุม กระผมขออนุญาติมาพบอาจารย์อีกครั้งในวันพรุ่งนี้ เวลา 11.00 น. หากอาจารย์ไม่ว่างในเวลานั้น ขอความกรุณาอาจารย์ โปรดระบุเวลาให้กระผมด้วย

ขอแสดงความนับถือ

นาย สุด ความสามารถ

เบอร์โทรศํพท์ 080-000000000

Back to top button