สถานการณ์การย้ายถิ่นของโลก

สถานการณ์การย้ายถิ่นของโลก

ความรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสทำให้จำนวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนวหน้าที่เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การขาดแคลนกำลังคนในภาคสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนายังถูกซ้ำเติมด้วยการย้ายถิ่นของบุคลาการทางแพทย์เพื่อไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย ทำให้หลายประเทศเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าความรุนแรงของการระบาดใหญ่ในครั้งนี้ได้คร่าชีวิตบุคลากรทางการแพทย์ไปแล้วอย่างน้อย 115,000 ราย เฉพาะภายในเดือนพฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมา

การเสียชีวิตและการย้ายถิ่นฐานของบุคลากรทางการแพทย์ แม้เพียงหนึ่งคนสำหรับในประเทศที่มีระบบสุขภาพมีความเปราะบางมากอยู่แล้ว เช่น ประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ย่อมก่อให้เกิดช่องว่างทางความรู้ที่สามารถช่วยรักษาชีวิตคนไว้ได้ โดยปัจจัยที่ทำให้กำลังคนภาคสุขภาพไหลออกจากภูมิลำเนาไปทำงานในประเทศที่ร่ำรวย คือ เพื่อแสวงหาสภาพแวดล้อมในการทำงานและค่าตอบแทนที่ดีกว่า

ในประเทศพัฒนาแล้ว สัดส่วนของแพทย์และพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมจากต่างประเทศ หรือเกิดที่ต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ตามข้อมูลสรุปจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม พบว่า แพทย์เกือบ 25% และพยาบาล 16% ในกลุ่มประเทศสมาชิกมีภูมิลำเนาจากประเทศอื่น และรายงานยังพบความพยายามของประเทศร่ำรวยในการดึงดูดกำลังคนจากประเทศกำลังพัฒนาเพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศตนมากขึ้น

ข้อมูลของ OECD แสดงให้เห็นว่า จำนวนพยาบาลที่ทำงานในประเทศชั้นนำมาจากฟิลิปปินส์มากที่สุด ในขณะที่แพทย์และพยาบาลจากอินเดียมีการย้ายถิ่นไปยังประเทศร่ำรวยมากเป็นอันดับสอง และด้วยอัตราการย้ายถิ่นของแพทย์และพยาบาลจากประเทศในแอฟริกาและละตินอเมริกาบางประเทศสูงถึง 50% อาจหมายความว่าแพทย์ที่เกิดในประเทศเหล่านี้กำลังทำงานในประเทศกลุ่ม OECD มากกว่าในประเทศภูมิลำเนา

ในระบบสุขภาพที่เปราะบาง การสูญเสียองค์ความรู้เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนหรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีเสียชีวิตอาจส่งผลกระทบในระยะยาว และการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการย้ายถิ่นของแพทย์สร้างต้นทุนให้ประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อยมากถึง 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และทำให้ตัวเลขการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั่วโลกจึงเร่งหาทางเพื่อปกป้องการสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ไปกับการระบาดใหญ่ และสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่ย้ายไปทำงานประเทศอื่น โดยเฉพาะผู้หญิง ที่เป็นกำลังสำคัญในภาคบริการด้านสุขภาพและการดูแลทั่วโลก

Women in Global Health เครือข่ายระหว่างประเทศที่สนับสนุนความเท่าเทียมได้ร่วมกันเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า “สัญญาทางสังคมฉบับใหม่สำหรับบุคลากรหญิงในภาคสุขภาพและการดูแล” หรือ ‘Gender Equal Health and Care Workforce Initiative’ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง WHO Women in Global Health และรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างนโยบายในการปกป้องกำลังคนด้านสาธารณสุข

ทางกลุ่มได้เรียกร้องให้มีการตั้งคำถามถึงสภาพแวดล้อมการทำงานและความเท่าเทียมกันระหว่างบุคลากรด้านสุขภาพหญิงชายในที่ทำงาน การได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม การเลือกปฏิบัติและการใช้ความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงการให้คุณค่าและการตอบแทนบุคลากรหญิงในภาคสุขภาพและการดูแลอย่างเป็นรูปธรรม

การย้ายถิ่นฐานของกำลังคนด้านการแพทย์ เกี่ยวข้องกับ SDGs ใน
- #SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ใน ส่งเสริมเพิ่มการใช้งบประมาณด้านสุขภาพ การสรรหา การพัฒนา การฝึกฝน การรักษา ‘กำลังคน’ ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (3.c)
- #SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ ใน ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิง (5.1)
- #SDG8 งานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ใน การบรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมและมีผลตอบแทนที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน (8.5) ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกกลุ่ม (8.8) 

ที่มา : Migration and Covid deaths depriving poorest nations of health workers (The Guardian)

Last Updated on กรกฎาคม 21, 2021

จำนวนครั้งที่เข้าชม: 325

แนะแนวเรื่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมัยการย้ายถิ่น
สถานการณ์การย้ายถิ่นของโลก

แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่าย

เวลาประมาณ ค.ศ.375–568 หรือหลังจากนั้น[1]
สถานที่ทวีปยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
เหตุการณ์การบุกรุกของชนเผ่าในช่วงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (อังกฤษ: Migration Period หรือ Barbarian Invasions, เยอรมัน: Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี ค.ศ. 300 ถึงปี ค.ศ. 700 ในทวีปยุโรป,[2] ที่เป็นช่วงที่คาบระหว่างยุคโบราณตอนปลายไปจนถึงยุคกลางตอนต้น การโยกย้ายครั้งนี้มีสาเหตุมาจากทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสถานะภาพของจักรวรรดิโรมันและที่เรียกว่า “พรมแดนบาร์บาเรียน” ชนกลุ่มที่อพยพโยกย้ายในยุคนี้ก็ได้แก่ชนกอธ, แวนดัล, บัลการ์, อาลัน, ซูบิ, ฟรีเซียน และ แฟรงค์ และชนเจอร์มานิค และ ชนสลาฟบางกลุ่ม

การโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คน--แม้ว่าจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของ “สมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน” โดยตรง--ก็ยังคงดำเนินต่อไปจนหลังจาก ค.ศ. 1000 โดยการรุกรานไวกิง, แมกยาร์, ชนเตอร์คิค และการรุกรานของมองโกลในยุโรปซึ่งมีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อทางตะวันออกของยุโรป

ช่วงแรก: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงแรกระหว่าง ค.ศ. 300 ถึง ค.ศ. 500[แก้]

สมัยนี้ได้รับการบันทึกเป็นบางส่วนโดยนักประวัติศาสตร์กรีกและโรมัน และยากต่อการยืนยันจากหลักฐานทางโบราณคดี แต่ระบุว่าชนเจอร์มานิคเป็นผู้นำของบริเวณต่างๆ เกือบทั้งหมดที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้การครอบครองของจักรวรรดิโรมันตะวันตก [3]

วิซิกอธเข้ารุกแรนดินแดนโรมันหลังจากการปะทะกับฮั่นในปี ค.ศ. 376 แต่สถานภาพของชนอิสระของวิซิกอธอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในปีต่อมาองค์รักษ์ของฟริติเกิร์นผู้นำของวิซิกอธก็ถูกสังหารระหว่างที่พบปะกับ ลูพิซินัสนายทหารโรมันที่มาร์เชียโนโพลิส[4] วิซิกอธจึงลุกขึ้นแข็งข้อ และในที่สุดก็เข้ารุกรานอิตาลีและตีกรุงโรมแตกในปี ค.ศ. 410 ก่อนที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรไอบีเรียและก่อตั้งอาณาจักรของตนเองที่รุ่งเรืองอยู่ได้ราว 200 ปี หลังจากนั้นการตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่เป็นของโรมันก็ตามมาด้วยออสโตรกอธที่นำโดยพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชผู้ทรงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอิตาลีด้วยพระองค์เอง

ในบริเวณกอลชนแฟรงค์ผู้ซึ่งผู้นำเป็นพันธมิตรของโรมันอย่างเหนียวแน่นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนโรมันอย่างสงบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 และโดยทั่วไปก็เป็นที่ยอมรับว่าเป็นประมุขของชาวโรมัน-กอล จักรวรรดิแฟรงค์ผู้ต่อต้านการรุกรานจากชนอลามานนิ, เบอร์กันดี และวิซิกอธเป็นส่วนสำคัญที่กลายมาเป็นฝรั่งเศสและเยอรมนีต่อมา

การตั้งถิ่นฐานของแองโกล-แซ็กซอนในบริเตนเริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากอิทธิพลของโรมันบริเตนสิ้นสุดลง[5]

ช่วงที่สอง: การโยกย้ายถิ่นฐานช่วงที่สองระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 700[แก้]

ช่วงนี้เป็นช่วงของการเข้ามตั้งถิ่นฐานของชนสลาฟกลุ่มต่างๆ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะในบริเวณเจอร์มาเนีย ชนบัลการ์ที่อาจจะมีรากฐานมาจากกลุ่มชนเตอร์กิคที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 พิชิตดินแดนทางตะวันตกของบอลข่านของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ส่วนชนลอมบาร์ดที่มาจากชนเจอร์มานิคก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลีในบริเวณที่ปัจจุบันคือลอมบาร์ดี

ในช่วงแรกของสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ กองทัพรอชิดีนพยายามเข้ามารุกรานยุโรปตะวันออกเฉียงใต้โดยทางเอเชียไมเนอร์ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แต่ก็ไม่สำเร็จและในที่สุดก็พ่ายแพ้ในการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลต่อกองทัพของพันธมิตรของจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลการ์ระหว่างปี ค.ศ. 717-ปี ค.ศ. 718 ระหว่างสงครามคาซาร์–อาหรับ คาซาร์หยุดยั้งการขยายดินแดนของมุสลิมเข้ามาในยุโรปตะวันออกโดยทางคอเคซัส ในขณะเดียวกันมัวร์ (ผสมระหว่างอาหรับและเบอร์เบอร์) ก็เข้ามารุกรานยุโรปทางยิบรอลตาร์โดยอุมัยยะห์ และยึดดินแดนจากราชอาณาจักรวิซิกอธในคาบสมุทรไอบีเรียในปี ค.ศ. 711 ก่อนที่จะมาถูกหยุดยั้งโดยชนแฟรงค์ในยุทธการตูร์ในปี ค.ศ. 732 ยุทธการครั้งนี้เป็นการสร้างพรมแดนถาวรระหว่างอาณาจักรในกลุ่มคริสตจักรและอาณาจักรในดินแดนมุสลิมในช่วงหนึ่งพันปีต่อมา ในช่วงสองสามร้อยปีต่อมามุสลิมก็พิชิตดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีได้เป็นบางส่วนแต่ก็มิได้รวมตัวเข้ากับดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย

อ้างอิง[แก้]

  1. Allgemein Springer (2006), der auch auf alternative Definitionen außerhalb der communis opinio hinweist. Alle Epochengrenzen sind letztlich nur ein Konstrukt und vor allem durch Konvention begründet. Vgl. auch Stefan Krautschick: Zur Entstehung eines Datums. 375 – Beginn der Völkerwanderung. In: Klio 82, 2000, S. 217–222 sowie Stefan Krautschick: Hunnensturm und Germanenflut: 375 – Beginn der Völkerwanderung? In: Byzantinische Zeitschrift 92, 1999, S. 10–67.
  2. Precise dates given may vary; often cited is 410, the sack of Rome by Alaric I and 751, the accession of Pippin the Short and the establishment of the Carolingian Dynasty.
  3. Also Jordanes(6th century), an Alan or Goth by birth, wrote in Latin.
  4. cf. Wolfram (2001, pp. 127ff.)
  5. cf. Dumville (1990)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ประวัติศาสตร์ยุโรป
  • การพลัดถิ่น
  • ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน