The great depression in 1930s ความพยายาม ในการแก้ปัญหา

The great depression in 1930s ความพยายาม ในการแก้ปัญหา

The great depression in 1930s ความพยายาม ในการแก้ปัญหา

บทความนี้ BottomLiner เขียนสรุปภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งเป็นวิกฤตที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามโลก

ไฮไลท์

  1. รูปเป็นดัชนี Dow Jones ในปี 1926 – 1947
  2. สหรัฐพิมพ์เงินเองโดยไม่ใช้ทองคำค้ำประกัน
  3. วิกฤตครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามโลก

ความขัดแย้งหรือสงคราม เป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่ามนุษย์ยังมีความคิดแบบเดิมเสมอ โดยเฉพาะหลังเกิดความฝืดเคืองของเศรษฐกิจขั้นรุนแรง

เศรษฐกิจบูมในยุค 1920

การเติบโตต่อเนื่องของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วง 1920-1928 ทำให้ผู้คนสุขสบาย และตามมาด้วยการใช้จ่ายที่มากเกินตัว เกิดหนี้สะสมทั้งในส่วนของคนทั่วไปและบริษัท เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจยังโต บริษัทสร้างกำไรได้ง่ายจากการกู้เงินมาลงทุนสร้างโรงงานใหม่และขายของเพิ่มขึ้น ทางด้านตลาดหุ้นในยุคนี้บูมสุด ๆ Valuation หลายตัวพุ่งทะลุเพดาน มีการกู้ margin มาลงทุนมากโขซึ่งก็ไม่ใช้เรื่องแปลกเพราะตลาดหุ้นขึ้นมาเยอะซะทุกคนต่างมองบวก

ขึ้นดอกเบี้ยชะลอเงินเฟ้อ

เมื่อเศรษฐกิจโตดี Fed จึงเริ่ม Tightening เพื่อชะลอเงินเฟ้อ ซึ่งในช่วงแรกนักลงทุนรายย่อยกลัวแต่ผ่านไปสักพักพบว่าเศรษฐกิจยังโตและตลาดหุ้นก็เดินหน้าต่อ แต่ความจริงได้เฉลย “หลังดอกเบี้ยขึ้นมาสักพัก” เหล่า Smart Money ในยุคนั้นโยกเงินออกจากทรัพย์สินเสี่ยงเพราะ Upside จำกัด หันมาถือ Bond ที่ให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น กระทบดัชนี Dow Jones ร่วงจากเกือบ 400 จุด มาเหลือ 200 จุด ภายใน 3 เดือน (ปี 1929) สร้างความปั่นป่วนไปทั้งตลาดหุ้น ลามไปถึงการเทขายตราสารหนี้เสี่ยงสูง (คล้าย High-yield ในยุคนี้) กลับกันตราสารหนี้เสี่ยงน้อยของบริษัทคุณภาพดีและพันธบัตรรัฐบาลถูกคนรุมซื้อจากเม็ดเงินที่หนีมาจากทรัพย์สินเสี่ยง “Our economy is strong” เศรษฐกิจยังดี เป็นประโยคยอดฮิตของรัฐบาลและ Fed ในช่วงนั้น ซึ่งเป็นเรื่องไม่จริง

The great depression in 1930s ความพยายาม ในการแก้ปัญหา

ตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มแย่

ยอดขายค้าปลีกและภาคการผลิตไม่ดีเหมือนเคย ทำให้บริษัทหลายแห่งขอกู้จากธนาคารยากขึ้น อีกฝั่งนักลงทุนต่อรองอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ให้สูงขึ้น จึงเกิดภาวะขาดแคลนเงินหมุนเวียนในบริษัทยิ่งซ้ำเติมก้อนหนี้ที่สูงอยู่แล้ว กระแสข่าวเศรษฐกิจฝืดเคืองสะพัดไปทั้งสหรัฐ ทำให้ผู้คนลดการใช้จ่ายและประหยัดอดออมกว่าเดิม แม้เป็นเรื่องดี แต่ในมุมมองทั้งประเทศการพร้อมใจกันประหยัดทำให้กระทบภาคการบริโภคค่อนข้างหนัก และตามที่บอกไปด้านบนว่าในช่วงบูมของเศรษฐกิจ มีโรงงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายกลายเป็นกำลังการผลิตส่วนเกินไม่มีการใช้งาน และที่แย่คือส่วนใหญ่เป็นการกู้มาลงทุน เนื่องจากการค้าขายระหว่างประเทศเชื่อมโยงกันบ้างในยุคนั้น แม้ไม่มากแต่การชะลอตัวในสหรัฐได้ลามให้โรงงานในอังกฤษ ยุโรปต้องปลดคนงาน เกิดคนว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบยอดค้าปลีกในอังกฤษและยุโรปเหมือนกัน เรียกได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจมาเยือนยุโรปกระทบเป็นลูกโซ่ลามไปทั่วโลก

ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

ปัญหาความกินดีอยู่ดีเป็นฟางเส้นสุดท้ายให้เกิดการลุกฮือของกลุ่มชนชั้นในสังคม เพราะความโกรธในจิตใจถูกนักการเมืองหรือผู้นำการประท้วงราดน้ำมันลงง่าย ๆ ซึ่งในปลายปี 1932 สหรัฐมีเลือกตั้งประธานาธิบดีพอดี ด้วยสภาพเศรษฐกิจอันย่ำแย่ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนขั้วจาก Republican กลายมาเป็น Franklin D. Roosevelt ของพรรค Democrat โดยนโยบายหาเสียงหลักๆไม่ได้มีอะไรซับซ้อนนัก เน้นไปที่การเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า เพราะของเดิมมันเละเทะมาก (เรื่องนี้มาเกิดขึ้นซ้ำในวิกฤตปี 2008 ที่ Obama ชนะเลือกตั้งด้วยคำคมหาเสียงสั้น ๆ เท่ ๆ “CHANGE”) เมื่อได้ประธานาธิบดีคนใหม่ การทำงานแนวใหม่ก็เปิดกว้าง เพราะไม่ต้องแบกความผิดไว้เหมือนรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งตอนนี้นักการเงินชั้นนำของประเทศถูกนำมาช่วยวางแผนหาทางรอดจากวิกฤต ซึ่งส่วนใหญ่ชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าต้องนำเงินสดหรือสภาพคล่องมาให้ธนาคารหลัก ๆ ของประเทศให้ได้ หลังจากนั้นสภาพคล่องจะถูกส่งต่อไปยังบริษัททั่วไปผ่านการกู้เงินหรือออกหุ้นกู้ เศรษฐกิจจึงจะกลับมาเดินหน้าได้อีกรอบ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่ารัฐบาลก็ไม่มีเงินเหมือนกัน แต่เกิดไอเดียเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์กับทองคำ เพื่อที่ Fed จะสามารถพิมพ์เงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้อิสระ (ก่อนหน้านั้นเงินดอลลาร์ถูกผูกกับทอง ใครถือ USD นำมาแลกทองคำกับรัฐบาลได้เลย) จึงเกิดนโยบายอัดมาชุดใหญ่ยกเลิกการผูกเงินดอลลาร์กับทองคำ เปิดโอกาสให้ Fed พิมพ์เงินเองและส่งต่อให้ธนาคารหลัก ๆ ได้เลย ตามมาด้วยการอัดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจแพ็คใหญ่ดันให้สหรัฐฟื้นตั้งแต่ปี 1933 ยุติภาวะล้มเหลวทางการเงิน

พ้นวิกฤตแต่ความโกรธของประชาชนยังอยู่

“แก้แค้น 10 ปีก็ไม่สาย” อาจจะเป็นคำคมของคนยุคนั้นด้วย เพราะแม้วิกฤตจะผ่านไปแล้ว แต่ความขัดแย้งของคนในสังคมยังสูงอยู่ ลามไปถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น นาซีเยอรมันได้ฮิตเลอร์เป็นผู้นำในปี 1933 ทำให้หลังจากนี้ไม่นานเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939 โดยเหมือนกับทุกครั้งก่อนสงครามใหญ่ ก่อนหน้านั้นจะมีสงครามการค้า, กีดกันไม่ส่งมอบทรัพยากรให้ประเทศคู่อริ, ยึดทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้าม เกิดขึ้นก่อน BottomLiner ขอเรียกเรื่องแบบนี้ว่า “มนุษย์ยังมีความคิดแบบเดิมเสมอ” รอติดตามสถานการณ์ตลาดหุ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ในตอนหน้าครับผม

ลงทุนใน Megatrend ที่ใช่ บนเวลาที่ถูกต้อง โดย Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ ในระดับที่ควบคุมได้ โดย BottomLiner
ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner

BottomLiner

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/pfbid037RcKPAQMqKvNovZDdnwQkG3CquXR7Me6LoqimxuEaRGfGej5nxwQU55hxpZstKRzl

The great depression in 1930s ความพยายาม ในการแก้ปัญหา

ผู้เขียน

The great depression in 1930s ความพยายาม ในการแก้ปัญหา

BottomLiner

BottomLiner - บทสรุปการลงทุน เพจที่เน้นการแชร์ความรู้ เรื่องการลงทุนแบบนอกตำรา