ใบ งาน การ จม การ ลอย

แผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

หน่วยของเล่น-ของใช้  ระดับชั้นอนุบาล 3

กิจกรรม จมและลอย

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

1. สามารถบอกความหมายของการจมและการลอยได้ 

2.เพื่อฝึกทักษะการสังเกตและสำรวจ การจมและการลอย ของวัตถุได้

 3.สามารถคาดคะเนและทดลองการจมการลอยของวัตถุ

4.ลงความเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุได้

สาระที่ควรเรียนรู้

การจมและการลอยของวัตถุ

ประสบการณ์สำคัญ

การจมและการลอยของวัตถุขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุชิ้นนั้น ถ้าวัตถุใดที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำก็จะทำให้วัตถุนั้นลอยน้ำ แต่ถ้าวัตถุใดที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็จะทำให้วัตถุชิ้นนั้นจมน้ำ

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

ขั้นที่  1  ขั้นกำหนดปัญหา

ครู: แนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์พร้อมใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากรู้   “เมื่อนำของเล่นหรือของใช้ไปลอยน้ำจะเกิดผลเหมือนกันหรือไม่ เด็กๆลองคิดดูซิคะ

ขั้นที่  2  ขั้นตั้งสมุมติฐาน

เด็กๆ คาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ของปัญหา  เช่น เมื่อนำของเล่นที่เป็นพลาสติกไปลอยน้ำของเล่นจะลอยน้ำ

ขั้นสอน 

ขั้นที่  3  เก็บรวบรวมข้อมูล

ให้เด็กทดลองการจมและการลอย ของเล่นและของใช้ที่ทำจากวัสดุต่างๆ

เด็ก:ลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ

เด็กสังเกตและเก็บข้อมูลของการจามและการลอยของเล่นของใช้ต่างๆ

ครู:คอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ

ขั้นที่  4  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผลจากกระบวนการทดลอง  ดังนี้

  1.)ของเล่นและของใช้ที่เด็กนำมาทดลอง มีลักษณะอย่างไรบ้าง

 2.) ของเล่นและของใช้ที่เด็กๆนำไปลอยน้ำ เด็กๆว่าของชิ้นจมน้ำและของชิ้นไหนลอยน้ำคะ

3)เด็กว่าสิ่งของต่างๆที่นำมาลอยน้ำ ทำไมถึงจมน้ำและทำไมถึงลอยน้ำคะ

ขั้นสรุป

ขั้นที่  5  ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

ของเล่นหรือของใช้ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จะทำให้วัตถุนั้นลอยน้ำแต่ถ้าวัตถุชิ้นไหนที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็จะทำให้วัตถุนั้นจมน้ำ เช่น ช้อนอลูมิเนียมมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ก็จะจมน้ำ ฝาขวดน้ำที่ทำจากพลาสติกมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำก็จะทำให้ลอยน้ำ

สื่อ/และแหล่งเรียนรู้

1.อ่างแก้วใส่น้ำหรืออ่างพลาสติกใส

2.ของเล่นหรือของใช้ที่ทำจากวัสดุต่างๆ

3.  แบบบันทึกข้อมูลการจมและการลอยของวัตถุ

การประเมินผล

1.สังเกตการบอกความหมายของการจมและการลอย

2.สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

3.สังเกตจากการตอบคำถามในการคาดคะเนของการจมและการลอยของวัตถุ

4.สังเกตการแสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุต่างๆ

โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง ลอยได้ จมได้

กิจกรรมบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

                     ระดับชั้นเตรียมอนุบาล ห้อง 1/1   

       ภาคเรียนที่ 1   ปีการศึกษา 2560

ผู้รับผิดชอบโครงงาน

นางธัญญา  ชาที

 ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

.................................................................................................

ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

โครงงานปฐมวัย

เรื่อง ลอยได้ จมได้

คณะทำงาน

1.   เด็กชายนาวา         เสือสกุล

2.  เด็กหญิงสุพรรณา      ศรีชะรัง

3.  เด็กชายนฤบดินทร์    กลิ่นกาหลง

4.  เด็กหญิงกานต์วิชญา  กว้างขวาง

5.  เด็กหญิงจิรัชยาภรณ์  แซ่ล้อ

ครูที่ปรึกษา

คณะครูประจำชั้น เตรียมอนุบาล1/1

นางธัญญา                 ชาที

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเกาะสีชัง กองการศึกษา สังกัดเทศบาลตำบลเกาะสีชัง

คำนำ

               โครงงานปฐมวัย เรื่อง ลอยได้ จมได้  จัดทำโดยสำรวจสิ่งของที่สามารถลอยบนผิวน้ำได้จากสิ่งรอบตัวเรา เพื่อวิเคราะห์และหาเหตุผลว่าทำไมถึงลอยได้หรือเพราะเหตุใดจึงไม่ลอย

               ขอขอบพระคุณครูประจำชั้นที่ให้ความรู้และแนะนำการจัดทำโครงงาน และขอขอบคุณคุณพ่อและคุณแม่ที่สนับสนุนให้กำลังในการทำงาน และขอบคุณเพื่อนในห้องเตรียมอนุบาล 1/1 ที่ให้ความร่วมมือในจัดทำโครงงานครั้งนี้

คณะทำงาน

ที่มาและความสำคัญของโครงการ

               ในฤดูฝนมีฝนตกหนักเกือบทุกวันทำให้มีน้ำขังบริเวณลานหน้าห้องเรียน  ครูจะตั้งถังน้ำไว้ นักเรียนมองเห็นสิ่งของบางอย่างลอยบนน้ำจึงเกิดความสงสัยว่ามีสิ่งใดที่สามารถลอยบนน้ำได้บ้าง

               คณะผู้จัดทำจึงสนใจอยากสำรวจว่าสิ่งของอะไรบ้างที่สามารถลอยบนน้ำได้ 

วัตถุประสงค์

  •  เพื่อสำรวจสิ่งของใดที่สามารถลอยบนน้ำได้
  •  เพื่อใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการหาคำตอบได้
  •  เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ได้
  •  เพื่อให้เด็กได้ฝึกฝนการคิดอย่างเป็นระบบในกระบวนการวิทยาศาสตร์และการทำงานเป็นกลุ่ม
  •  เด็กสามารถบันทึกผลการทดลอง และนำเสนอผลการทดลองได้

คำนิยาม

               สิ่งของ  หมายถึง   สิ่งที่มองเห็นและสามารถจับหรือสัมผัสได้  เช่น  ดินสอ  กรรไกร   กระดาษ   ยางลบ  ลวดเสียบกระดาษ  เหรียญห้าบาท    ยางวง   บล็อกพลาสติก   ก้อนหิน  หลอด    ใบไม้    ดินน้ำมัน สีเทียน  เส้นผม เป็นต้น

วิธีการดำเนินงาน

วัสดุอุปกรณ์

               1.  สิ่งของที่ใช้ทดลอง

               2.  ดินสอ

               3.  กระดาษ เอ 4

 ขั้นตอนการทำงาน

  • ขอคำปรึกษาดำเนินงานจากคุณครู
  • รวบรวมสิ่งของกับเพื่อน ๆ ในชั้นอนุบาล 1/2 
  • สังเกตสิ่งของที่ลอยน้ำ และจมน้ำ
  • สรุปผลการดำเนินงาน
  • นำเสนอผลงาน

 ผลการดำเนินงาน 

                 จากการสำรวจสิ่งของใดบ้างที่สามารถลอยบนน้ำได้โดยรวบรวมจากสิ่งของที่หาได้ภายในบริเวณของห้องเรียนและนอกห้องเรียนมีจำนวนทั้งหมด  14 อย่าง สังเกตแยกสิ่งของที่สามารถลอยน้ำได้และสิ่งของที่จมน้ำนั้นปรากฏผลดังต่อไปนี้                           

สิ่งของที่ลอยน้ำ

สิ่งของที่จมน้ำ

1.      ดินสอ

2.      กระดาษ

3.      ยางวง  

4.      บล็อกพลาสติก  

5.      หลอด

6.      ใบไม้

7.      สีเทียน

8.      เส้นผม 

1.      ยางลบ

2.      ไม้บรรทัด

3.      เหรียญห้าบาท

4.      ลวดเสียบกระดาษ

5.      ก้อนหิน 

 6.      ดินน้ำมัน

สรุปผลการดำเนินงาน

             ผลการสำรวจและสังเกตสิ่งของใดบ้างที่สามารถลอยบนน้ำได้  พบว่า มีสิ่งของที่สามารถลอยบนน้ำได้ มี จำนวน 8 อย่าง คือ  ดินสอ     กระดาษ     ยางวง   บล็อกพลาสติก  หลอด   ใบไม้   สีเทียน   และเส้นผม 

          สิ่งของที่ไม่สามารถลอยบนน้ำได้หรือจมน้ำมีจำนวน 6 อย่าง  คือ  ยางลบ       ไม้บรรทัด       เหรียญห้าบาท     ลวดเสียบกระดาษ    ก้อนหิน  ดินน้ำมัน

ประโยชน์

               นักเรียนสามารถค้นข้อสงสัยและหาคำตอบได้ด้วยตนเองและเข้าใจลักษณะของสิ่งของที่สามารถลอยน้ำ  และจมน้ำได้

ข้อเสนอแนะ

1. ควรแจ้งผลการสำรวจให้เพื่อนห้องอื่นทราบผลการดำเนินงานในครั้งนี้ด้วย

2. ควรสนับสนุนการดำเนินงานโครงงานที่นักเรียนอยากรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนากระบวนการคิดและการวางแผนงานซึ่งมีความสำคัญต่อนักเรียนมากในการศึกษาเรียนรู้ในระดับสูงต่อไป 

ภาคผนวก

แผนการจัดประสบการณ์

กิจกรรม จมได้และลอยได้

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

1. สามารถบอกความหมายของการจมและการลอยได้ 

2.เพื่อฝึกทักษะการสังเกตและสำรวจ การจมและการลอย ของวัตถุได้

 3.สามารถคาดคะเนและทดลองการจมการลอยของวัตถุ

4.ลงความเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุได้

สาระที่ควรเรียนรู้

การจมและการลอยของวัตถุ

ประสบการณ์สำคัญ

การจมและการลอยของวัตถุขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุชิ้นนั้น ถ้าวัตถุใดที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำก็จะทำให้วัตถุนั้นลอยน้ำ แต่ถ้าวัตถุใดที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็จะทำให้วัตถุชิ้นนั้นจมน้ำ

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

ขั้นที่  1  ขั้นกำหนดปัญหา

ครู: แนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์พร้อมใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากรู้   “เมื่อนำของเล่นหรือของใช้ไปลอยน้ำจะเกิดผลเหมือนกันหรือไม่ เด็กๆลองคิดดูซิคะ

ขั้นที่  2  ขั้นตั้งสมุมติฐาน

เด็กๆ คาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ของปัญหา  เช่น เมื่อนำของเล่นที่เป็นพลาสติกไปลอยน้ำของเล่นจะลอยน้ำ

ขั้นสอน 

ขั้นที่  3  เก็บรวบรวมข้อมูล

ให้เด็กทดลองการจมและการลอย ของเล่นและของใช้ที่ทำจากวัสดุต่างๆ

เด็ก: ลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ

เด็กสังเกตและเก็บข้อมูลของการจามและการลอยของเล่นของใช้ต่างๆ

ครู: คอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ

ขั้นที่  4  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผลจากกระบวนการทดลอง  ดังนี้

  • ของเล่นและของใช้ที่เด็กนำมาทดลอง มีลักษณะอย่างไรบ้าง

  2.) ของเล่นและของใช้ที่เด็กๆนำไปลอยน้ำ เด็กๆว่าของชิ้นจมน้ำและของชิ้นไหนลอยน้ำคะ

  3.) เด็กว่าสิ่งของต่างๆที่นำมาลอยน้ำ ทำไมถึงจมน้ำและทำไมถึงลอยน้ำคะ

ขั้นสรุป

ขั้นที่  5  ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

ของเล่นหรือของใช้ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จะทำให้วัตถุนั้นลอยน้ำแต่ถ้าวัตถุชิ้นไหนที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็จะทำให้วัตถุนั้นจมน้ำ เช่น ช้อนอลูมิเนียมมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ก็จะจมน้ำ ฝาขวดน้ำที่ทำจากพลาสติกมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำก็จะทำให้ลอยน้ำ

สื่อ/และแหล่งเรียนรู้

1.ถังน้ำ แก้วใส่น้ำ หรืออ่างพลาสติกใส

2.ของเล่นหรือของใช้ที่ทำจากวัสดุต่างๆ

3.แบบบันทึกข้อมูลการจมและการลอยของวัตถุ

การประเมินผล

1.สังเกตการบอกความหมายของการจมและการลอย

2.สังเกตจากการร่วมกิจกรรม

3.สังเกตจากการตอบคำถามในการคาดคะเนของการจมและการลอยของวัตถุ

4.สังเกตการแสดงความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุต่างๆ

ใบ งาน การ จม การ ลอย