อ่อนเพลียไม่มีแรงเป็นเพราะอะไร

 ดังนั้น ปัญหาเรื่องอาการอ่อนเพลียอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ จึงเป็นเรื่องที่พบบ่อยและเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ การดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการรับประทานอาหาร ควบคู่กับการหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยคำนึงอยู่เสมอว่า วัยผู้สูงอายุไม่ใช้วัยที่ต้องปล่อยให้ทุกอย่างเสื่อมตามวัย และชราและร่วงโรยไปตามปกติ แต่คำนึงและตระหนักเสมอว่า วัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่จะต้องให้การดูแลเป็นพิเศษไม่แตกต่างจากวัยเด็ก เพื่อให้ผู้สูงอายุในครอบครัวได้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่กับลูกหลานให้สมควรแก่การตอบแทนพระคุณที่ท่านได้ทำสิ่งต่างๆมากมายให้ลูกหลานตลอดไป

ร่างกายอ่อนเพลีย (Fatigue) คือ ความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือขาดพลังงานของร่างกาย แต่ไม่ใช่ความรู้สึกง่วงนอน การง่วงนอนอาจเป็นอาการของความเหนื่อยล้า แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเหนื่อยล้า

อาการอ่อนเพลียเป็นอาการทั่วไปของปัญหาสุขภาพที่อาจจะไม่ส่งผลมาก ไปจนถึงกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ส่วนมากเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์

หากพักผ่อนและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอแล้วความเหนื่อยล้าไม่หายไป เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพจิต ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และรักษาต่อไป

อ่อนเพลียไม่มีแรงเป็นเพราะอะไร

ร่างกายอ่อนเพลียเกิดจากอะไร

มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย เราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ได้ดังนี้

  • ปัจจัยจากพฤติกรรมประจำวัน
  • ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพกาย
  • ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพจิต

ปัจจัยจากพฤติกรรมประจำวัน

  • ออกแรงมากเกินไป
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ภาวะน้ำหนักเกิน
  • เครียด
  • เบื่อหน่าย
  • ซึมเศร้า
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาซึมเศร้า หรือยากล่อมประสาท
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • ยาเสพติด เช่น โคเคน
  • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเกินขนาด
  • รับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์

ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพกาย

  • โรคโลหิตจาง
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • การติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
  • โรคแอดดิสัน ที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย
  • ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
  • นอนไม่หลับ
  • เบื่ออาหาร
  • ภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ
  • หัวใจล้มเหลว
  • โรคมะเร็ง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • โรคถุงลมโป่งพอง

ความเหนื่อยล้าเป็นอาการทั่วไปของความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และโรคอารมณ์ที่แปรปรวนตามฤดูกาล

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์

ควรรีบพบแพทย์เมื่อพบว่าร่างกายเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • ไม่พบสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า
  • มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ
  • ไวต่ออุณหภูมิที่เย็น
  • วูบบ่อยๆ
  • สงสัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า

หากพยายามแก้ไขสาเหตุจากพฤติกรรม เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ และความเครียด แต่อาการเหนื่อยล้าไม่หายไปและยังคงดำเนินต่อไปนานกว่า 2 สัปดาห์ จำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร่งด่วน

และหากอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ถือว่ารุนแรงและควรพบแพทย์

  • เลือดออกทางทวารหนัก
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ปวดช่วงอก
  • เป็นลม
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หายใจถี่
  • ปวดช่องท้องรุนแรง
  • มีความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
  • มีความคิดที่จะทำร้ายบุคคลอื่น

วิธีการรักษาอาการอ่อนเพลีย

แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่สอดคล้องกับสาเหตุของความอ่อนเพลียดังนี้

  • เวลาที่เริ่มมีอาการและเวลาที่อาการดีขึ้น
  • อาการอื่น ๆ ที่คุณเคยพบ
  • ปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ
  • ที่มาของความเครียด
  • ยาที่ใช้

หากแพทย์สงสัยว่า มีอาการป่วยที่เป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า จำเป็นจะต้องทดสอบทางการแพทย์บางอย่างเพิ่ม เช่น การตรวจเลือดหรือปัสสาวะ

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแล้วจะทำให้ความอ่อนเพลียหายไป

คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่จะช่วยลดความเหนื่อยล้า

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น โยคะ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาเสพติดอื่น ๆ 

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียข และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้